jobsDB – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 28 Feb 2024 12:29:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 JobsDB เปิดข้อมูลตลาดงานปี 2566 พนักงานไทยได้ “เงินเดือน” เพิ่มขึ้นชนะเงินเฟ้อ…แต่ “โบนัส” ลดลง https://positioningmag.com/1464294 Wed, 28 Feb 2024 10:51:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464294
  • JobsDB สำรวจตลาดงานไทยปี 2566 พบผู้ประกอบการ 80% ขึ้น “เงินเดือน” ให้พนักงาน ปรับขึ้นเฉลี่ย 6.69% เอาชนะเงินเฟ้อ แต่ลดโบนัสลงเหลือเฉลี่ย 1.5 เดือน
  • ตลาดงานปี 2567 มีแนวโน้มที่ดี 51% ของผู้ประกอบการมีแผนจะรับพนักงานเพิ่มในช่วงครึ่งปีแรกนี้ และมีเพียง 1% ที่มีแผนปรับลดพนักงาน
  • JobsDB เปิดรายงานการจ้างงาน ผลตอบแทน และสวัสดิการปี 2567 โดยมีการสำรวจไปในช่วงเดือนกันยายน ปี 2566 มีการสำรวจผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการจ้างงานในไทย 758 ราย และแบ่งการสำรวจตามขนาดบริษัทได้ดังนี้ บริษัทขนาดเล็ก (ไม่เกิน 50 คน) สัดส่วน 35% บริษัทขนาดกลาง (51-99 คน) สัดส่วน 16% และบริษัทขนาดใหญ่ (100+ คน) สัดส่วน 49%

    ภาพรวมพบว่าเมื่อปีก่อน 99% ของบริษัทที่สำรวจมีการจ้างพนักงานใหม่อย่างน้อย 1 อัตรา ที่น่าสนใจคือ  เทรนด์รูปแบบวิธีการจ้างงานพบว่า บริษัททุกขนาดมีการจ้าง “พนักงานตามสัญญาจ้าง / พนักงานชั่วคราวแบบเต็มเวลา” เพิ่มขึ้นมากกว่ารูปแบบการจ้างงานแบบอื่นๆ ซึ่งสะท้อนได้ว่าบริษัทต้องการความยืดหยุ่น และมีโปรเจกต์พิเศษที่ต้องการตำแหน่งรับผิดชอบชั่วคราว

    JobsDB

    ฟากการลดจำนวนพนักงานนั้น ปี 2566 มีผู้ประกอบการ 19% ที่ลดจำนวนพนักงานไป เทรนด์เลิกจ้างชะลอตัวเล็กน้อยจากปี 2565 ที่มีบริษัท 20% ที่ลดพนักงาน

    ด้าน 5 อันดับแรกประเภทงานที่มีการจ้างงานเพิ่มมากที่สุดเมื่อปี 2566 ได้แก่ 1) ธุรการและทรัพยากรบุคคล 2) บัญชี 3) การขาย/พัฒนาธุรกิจ 4) การตลาด/การสร้างแบรนด์ และ 5) วิศวกร

     

    นายจ้างขึ้น “เงินเดือน” ให้มากกว่าเงินเฟ้อ

    สำหรับเทรนด์ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ JobsDB พบว่า เมื่อปี 2566 มีนายจ้าง 80% ที่ “ขึ้นเงินเดือน” ให้กับพนักงาน และในกลุ่มบริษัทที่ขึ้นเงินเดือนมีการปรับขึ้นเฉลี่ย 6.69% ซึ่งถ้าเทียบกับอัตราเงินเฟ้อประเทศไทยในปี 2565 ที่ปรับขึ้นมา 6.08% ทำให้การขึ้นเงินเดือนเมื่อปีก่อนเอาชนะเงินเฟ้อที่พนักงานเคยเสียเปรียบไปได้ (*อัตราเงินเฟ้อเมื่อปี 2566 อยู่ที่ 1.2% ข้อมูลจากสภาพัฒน์)

    ทว่า การให้ “โบนัส” นั้นปรับลดลง โดยเมื่อปี 2566 บริษัทมีการให้โบนัสเฉลี่ย 1.5 เดือนเท่านั้น เทียบกับปี 2565 ที่ให้เฉลี่ย 1.8 เดือน

    ด้านการ “เลื่อนขั้น” ให้พนักงาน ปีก่อนมีบริษัท 62% ที่เลื่อนตำแหน่งให้พนักงาน และกลุ่มพนักงานที่ได้เลื่อนขั้นจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเฉลี่ย 10.6%

     

    เทรนด์ปี 2567 ส่วนใหญ่ยังรับพนักงานเพิ่ม

    มาถึงแนวโน้มของปี 2567 ผลสำรวจนี้พบว่า 51% ของบริษัทที่สำรวจมีนโยบายรับพนักงานเพิ่มในช่วงครึ่งปีแรกนี้ 48% เน้นการดูแลพนักงานที่มีอยู่หรือไม่มีแผนจะรับเพิ่ม มีแค่ 1% เท่านั้นที่วางแผนจะลดจำนวนพนักงาน

    เงินเดือน

    น่าสนใจว่าบริษัทที่มีแนวโน้มจะรับพนักงานใหม่มากที่สุดนั้นคือ “บริษัทขนาดเล็ก” มี 54% ที่จะเปิดรับเพิ่ม ในทางกลับกัน “บริษัทขนาดใหญ่” นั้นมี 4% ที่วางแผนจะปลดพนักงานซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาด

    JobsDB มองว่าเทรนด์การรับพนักงานประเภทสัญญาจ้างหรือชั่วคราวจะยังมาแรง เพราะบริษัทมองเหตุผล 3 อันดับแรกที่ทำให้ต้องการพนักงานรูปแบบการจ้างแบบนี้คือ 1) เหมาะกับช่วงขยายธุรกิจ 2) การจัดการจำนวนพนักงานสามารถเพิ่มหรือลดได้ และ 3) เป็นการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน

    ]]>
    1464294
    ‘HR’ จะรับมืออย่างไรในวันที่ ‘พนักงาน’ มั่นใจว่ายังไงก็หางานใหม่ได้ https://positioningmag.com/1421493 Wed, 01 Mar 2023 14:57:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421493 ดูเหมือนจะหมดยุค กอดงานที่รัก แล้ว เพราะจากการสำรวจของ JobStreet (จ๊อบสตรีท) และ JobsDB (จ๊อบส์ดีบี)ภายใต้กลุ่มบริษัท SEEK (ซีค) ได้จัดทำร่วมกับ Boston Consulting Group (BCG) และ The Network เผยให้เห็นว่า 70% ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง เชื่อว่า พวกเขามีอำนาจในการต่อรอง

    70% มั่นใจว่าหางานใหม่ได้

    ในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 มีทั้งบริษัทที่ได้ผลกระทบในเชิงบวก และก็มีหลายบริษัทที่ได้ผลกระทบในเชิงลบ ทำให้พนักงานประจำหลายคนเลือกที่จะกอดงานที่รักไว้ให้แน่น ๆ เพราะไม่อยากตกงาน แต่หลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายลง แม้เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย เห็นการเลย์ออฟพนักงานโดยเฉพาะในบริษัทเทคโนโลยี แต่พนักงานในปัจจุบันกลับพร้อม หางานใหม่ และคนที่กำลัง มองหางาน เขามีความมั่นใจว่า ยังไงก็หางานได้

    โดยจากผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามยังคงรู้สึกมั่นใจที่จะมองหาโอกาสใหม่ ๆ แม้จะกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่บ้าง แต่มีสัดส่วนถึง 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มองว่า อำนาจในการเจรจาต่อรองในตำแหน่งงานต่าง ๆ ยังคงเป็นของพวกเขา โดยมีจำนวนผู้สมัครงานทั่วภูมิภาคถึง 74% ที่ได้รับ การติดต่อเรื่องตำแหน่งงานใหม่ ๆ ปีละหลายครั้ง และ 36% ได้รับการติดต่อทุกเดือน ส่วนใน ประเทศไทย ตัวเลขเหล่านี้ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 68% และ 34% ตามลำดับ

    พร้อมปฏิเสธข้อเสนอหากเจอประสบการณ์ไม่ดีตอนสัมภาษณ์

    อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจก็คือ 59% ของผู้สมัครงาน พร้อมจะทำงานกับบริษัทที่มีกระบวนการสรรหาที่ดี และ 39% เลือกจะปฏิเสธข้อเสนอ หากเจอประสบการณ์ที่ไม่ดีในตอนสัมภาษณ์หรือสรรหาคน ซึ่งสิ่งที่ผู้สมัครอยากมีคือ สามารถเจรจาต่อรอง เปิดใจ มีพื้นที่ให้เขาแสดงความเป็นตัวตน ไม่ได้มองเขาเป็นหุ่นยนต์หรือกระดาษ ความมีการสนทนาเหมือนการทำความรู้จักตั้งแต่เริ่มเลย

    อยากเปลี่ยนงาน

    Work Life Balance สิ่งที่แรงงานมองหาอีกครั้ง

    ผู้ตอบแบบสอบถาม 71% มองว่า สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคือ งานที่มั่นคงและความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามในไทยมีสัดส่วนมากถึง 77% ที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าปัจจัยอันดับ 1 ในการพิจารณาเมื่อตัดสินใจหางานใหม่ก็คือ เงิน (22%) ตามด้วย ความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน (17%) นอกจากนี้จำนวนวันลาหยุดและความมั่นคงของงานเป็นปัจจัยอันดับ 3 ที่ผู้สมัครงานให้ความสำคัญ

    ทั้งนี้ 3 เหตุผลแรกที่ทำให้ผู้สมัครงานเริ่มมองหางานใหม่คือ

    1. ต้องการมองหาตำแหน่งที่น่าสนใจกว่าหรือตำแหน่งสูงขึ้นกว่าเดิม (49%)
    2. งานที่ทำอยู่ปัจจุบันมีโอกาสในการเติบโตน้อย (30%)
    3. เงินเดือนและสวัสดิการในปัจจุบันยังไม่น่าพอใจ (27%)

    “ความคาดหวังของผู้คนที่มีต่องานเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้สมัครงานส่วนใหญ่ไม่ต้องการใช้ชีวิตเพื่อทำงานอีกต่อไปแต่พวกเขาต้องการทำงานเพื่อใช้ชีวิต” ซาการ์ โกเอล พาร์ตเนอร์และผู้ช่วยผู้อำนวยการ BCG กล่าว

    เงินเดือนไม่ช่วยยื้อ

    ปัจจุบัน ความมั่นคง ขององค์ไม่ใช่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะยื้อให้พนักงานอยู่กับองค์กร แต่เป็น การเรียนรู้ ในที่ทำงานนั้น ๆ เพราะเขามองว่าการเปลี่ยนแปลงมันเร็วมาก ดังนั้น การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เขามองหา องค์กรที่ทำให้เขามีความสามารถมากขึ้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้เขาอยู่กับองค์กรต่อไป ซึ่งผู้ประกอบการต้องเข้าใจว่าอัตราเงินเดือนที่สูงอาจเป็นหนทางหนึ่งในการดึงดูดคนมีความสามารถ อย่างไรก็ตาม เงินเดือนดังกล่าวไม่อาจรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้ในระยะยาว

    “ปัจจุบันพนักงานจะอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งนานเฉลี่ย 2 ปีครึ่ง คนที่ทำงานนาน 30-40 ปีในที่เดียวปัจจุบันเป็นอะไรที่ว้าวมาก และในอนาคตคงไม่ได้เห็นอีกแล้ว เพราะตอนนี้คนมั่นใจว่าเขาจะสามารถหางานใหม่ได้ สิ่งที่เขาต้องการคือ Work Life Balance และองค์กรที่เพิ่มสามารถเพิ่มความสามารถให้เขา”

    Work Life Balance = Hybrid Work

    Work Life Balance เปลี่ยนไปตามตลาดแรงงาน ปัจจุบันก็คือ Hybrid Work โดย 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า พวกเขาต้องการทำงานแบบไฮบริด เขาไม่ต้องทำงานในออฟฟิศ 5 วัน/สัปดาห์ มีเพียง 22% ที่ ต้องการเข้าออฟฟิศ 100%

    สำหรับประเทศไทย ผู้สมัครงานมากถึง 72% ต้องการการทำงานแบบ Hybrid ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกถึง 18% และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง 10%

    “คนรุ่นใหม่ไม่ได้ไม่อยากเข้าออฟฟิศเลย เขายังอยากเข้าออฟฟิศบ้างไม่ใช่ทุกวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาอยากมีส่วนร่วมกับองค์กรกับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน แต่เขาแค่ไม่อยากเข้าออฟฟิศ 5 วัน/สัปดาห์”

    ตลาดแรงงานไทยกำลังขาดภาคบริการ

    ในขณะที่ทั่วภูมิภาคต้องการแข่งงานด้านไอที แต่สำหรับประเทศไทย นางสาวดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ JobsDB Thailand (จ๊อบส์ ดีบี ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สายงานไอทีไม่ใช่อันดับ 1 ที่ตลาดแรงงานไทยต้องการ แต่เป็น สายงานผู้ใช้แรงงาน (58%) และ ภาคธุรกิจบริการ (57%) เนื่องจากการท่องเที่ยวที่กลับมาเติบโตอย่างมาก

    ส่วนไอทีตลาดก็ยังมีความต้องการเป็นจำนวนมาก สะท้อนจากจำนวนการเสนองานต่อสัปดาห์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมล้วนปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นในปัจจุบัน

    ภาคบริการตอนนี้ต้องไปหาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน คนที่เคยทำงานบริการตอนนี้ก็หันไปทำธุรกิจส่วนตัว หรืออยู่ตัวกับงานใหม่ทำให้เขาไม่กลับมา ซึ่งโจทย์ของผู้ประกอบการตอนนี้คือ ต้องคอยพัฒนาสกิลใหม่ ดังนั้น ธุรกิจบริการเริ่มมีแนวคิดในการจัดอบรม หรือเปิดสถาบันฝึกวิชาชีพให้กับงานภาคบริการ เพื่อให้พร้อมทำงานได้เลย”

    6 ข้อองค์กรและ HR ต้องปรับตัว

    1. ก้าวข้ามอคติ เพื่อเพิ่มกลุ่มผู้สมัครงานที่มีความสามารถ เช่น เลือกจากประสบการณ์แม้เรียนจบไม่ตรงสาย
    2. ปรับวิธีในการเข้าถึงผู้สมัครที่แตกต่างกัน
    3. สร้างความประทับใจระหว่างกระบวนการสรรหา ซึ่ง HR เปรียบเสมือนหน้าตาขององค์กร
    4. เลือกใช้เครื่องมือทางดิจิทัลให้เหมาะสม เพราะปัจจุบันผู้สมัครเข้าหาองค์กรผ่านหลายช่องทาง ทั้งเว็บไซต์จัดหางาน ทั้งยื่นตรงที่องค์กร
    5. วัฒนธรรมองค์กรที่ใช่ เพราะนอกเหนือจากการทำงานแบบไฮบริด และค่าตอบแทน วัฒนธรรมองค์กรก็เป็นอีกสิ่งที่ผู้สมัครให้ความสำคัญ
    6. ปลดล็อกผู้ที่มีความสามารถในองค์กร โดยควรมีแผนการเพิ่มศักยภาพ มีสวัสดิการที่ดี เพราะต้นทุนในการหาพนักงานใหม่สูงกว่าการรักษาพนักงานเดิม
    ]]>
    1421493
    ตลาดงาน 2565 “ไอที” ยังคงเป็น “มนุษย์ทองคำ” นายจ้างไทยแย่งตัวสู้กับต่างประเทศ https://positioningmag.com/1389904 Thu, 23 Jun 2022 11:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389904
  • JobsDB เปิดผลสำรวจ พบการจ้างงานฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆ ในปีนี้ หลังเศรษฐกิจฟื้นหลัง COVID-19 คลี่คลาย ภาคการผลิตเดินเครื่องเพิ่ม
  • “มนุษย์ทองคำ” ยังคงเป็นสาย “ไอที” จากความต้องการของทุกธุรกิจ รองลงมาคือสายวิศวะ การตลาด บัญชี
  • อาชีพด้านดิจิทัลเป็นที่ต้องการทั่วโลก และการทำงานแบบ “ไฮบริด” หรือ ทำงานทางไกล (remote work) ยิ่งทำให้องค์กรไทยต้องแย่งตัวมนุษย์ไอทีแข่งกับต่างประเทศมากขึ้น
  • เปิดผลสำรวจจาก JobsDB เกี่ยวกับตลาดงานปี 2565 โดย “ดวงพร พรหมอ่อน” กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์การจ้างงานในช่วง COVID-19 ปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นมาก หลังจากเคยมีอัตราการว่างงานเพิ่มสูงสุดในช่วงไตรมาส 3/63 จากนั้นอัตราว่างงานไต่ขึ้นลงมาตลอด ค่าเฉลี่ยอัตราว่างงานจะอยู่ที่ 2%

    จนกระทั่งนายจ้างเริ่มมั่นใจว่าสถานการณ์การระบาดจะส่งผลกระทบต่ำหลังการฉีดวัคซีน ทำให้เมื่อต้นปี 2565 จึงมีการกลับมาประกาศรับสมัครงานเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    JobsDB ไอที
    “ดวงพร พรหมอ่อน” กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด

    แน่นอนว่า ตลาดงานจะมีธุรกิจและอาชีพที่มีตำแหน่งงานว่างมากกว่าตลาด โดยมีรายละเอียดดังนี้

    5 ธุรกิจที่ประกาศรับสมัครงานสูงสุด
    1. ธุรกิจไอที
    2. ธุรกิจขายส่งขายปลีก
    3. ธุรกิจการเงิน ธนาคาร
    4. ธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์
    5. ธุรกิจขนส่ง
    5 อาชีพที่ประกาศรับสมัครงานสูงสุด
    1. งานไอที
    2. งานขาย งานบริการลูกค้า งานพัฒนาธุรกิจ
    3. งานวิศวกรรม
    4. งานการตลาด ประชาสัมพันธ์
    5. งานบัญชี

    นอกจากนี้ จะมีบางธุรกิจที่ถือว่าเติบโตร้อนแรงมากในช่วงหลังเกิด COVID-19 และมีผลต่อการจ้างงานบางประเภท บางพื้นที่ เป็นพิเศษ ดังนี้

    1. พลาสติก กระดาษ ปิโตรเคมี – เพราะการเดลิเวอรีทำให้มีการใช้แพ็กเกจจิ้งและการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยเฉพาะกระดาษที่มีการใช้เพิ่มถึง 300% ตำแหน่งงานที่ต้องการมากที่สุดจึงเป็นวิศวกรรม และเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกของประเทศมากที่สุด
    2. ไอที Digital Transformation เกิดขึ้นในทุกธุรกิจ หลังจากผู้บริโภคใช้บริการผ่านดิจิทัลเพิ่มขึ้น 30% มนุษย์ไอทีจึงเป็นหัวใจสำคัญ แม้แต่บริษัทขนาดเล็กก็ต้องการตัวมนุษย์ไอทีมาก โดย 60% ของประกาศงานด้านไอที มาจากบริษัทที่มีพนักงานน้อยกว่า 50 คน และบริษัทเหล่านี้ยอมทุ่มลงทุนด้านไอทีเพื่อสู้กับบริษัทใหญ่
    3. การผลิต – หลังจาก COVID-19 คลี่คลาย การลงทุนฟื้นตัว มีการเพิ่มกำลังผลิต และทำให้ความต้องการพนักงานระดับเจ้าหน้าที่สูงขึ้นถึง 79.5% โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรี
    4. การแพทย์และเภสัชกรรม – นวัตกรรมพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) มาแรง และมีการวิจัยเพิ่มขึ้น ทำให้งานด้านวิทยาศาสตร์และวิจัยมีตำแหน่งงานเพิ่ม 95%

     

    “ไอที” มนุษย์ทองคำที่บริษัทต้องหาทางยื้อไว้ให้ได้

    เห็นได้ชัดว่าสายงานไอทีติดทุกผลการสำรวจไม่ว่าจะในแง่มุมใด โดยถ้าแยกย่อยออกมา กลุ่มงานดิจิทัลที่ต้องการตัวกันมากที่สุด เช่น โปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักวิทยาศาสตร์/วิเคราะห์ดาต้า ไอทีอินฟราสตรักเจอร์ ความปลอดภัยไซเบอร์ เป็นต้น

    Technology security concept safety digital protection system

    คนทำงานสายนี้เป็นที่ต้องการสูงมาก ทำให้มีโอกาสเปลี่ยนงานสูงกว่าสายอื่น โดยเฉลี่ยสายงานอื่นมักจะเปลี่ยนงานทุกๆ 2-3 ปี แต่ไอทีจะเปลี่ยนงานทุกๆ 1-2 ปี

    ไม่เพียงแต่ในไทยเท่านั้น แต่ตลาดต่างประเทศก็ต้องการตัวสายดิจิทัล ซึ่งทำให้ถ้าหากคนดิจิทัลคนนั้นมีทักษะด้านภาษาสูงก็สามารถหางานได้กว้างกว่าเดิม

    ยิ่งในยุคหลัง COVID-19 ซึ่งการทำงานแบบไฮบริดหรือทำงานทางไกล (remote work) สามารถทำได้และได้รับการยอมรับ ก็ยิ่งทำให้คนสายงานดิจิทัลหางานต่างประเทศได้มากขึ้น เพราะสำหรับคนที่กังวลเรื่องการย้ายถิ่นที่อยู่ก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป ในกรณีคนดิจิทัลไทยนั้น มีนายจ้างต่างประเทศสนใจจ้างข้ามแดนจากหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย รัสเซีย จีน อินโดนีเซีย

    ไอที
    ข้อมูลโดย JobsDB

    ดังนั้น JobsDB จึงแนะนำนายจ้างไทยที่ต้องการให้มนุษย์ไอทีต้องการทำงานกับองค์กรได้นาน หรือดึงดูดคนดิจิทัลใหม่ๆ เข้ามา ต้องเข้าใจอินไซต์ของคนในสายอาชีพนี้ว่า นอกจากผลตอบแทนที่เหมาะสมแล้ว พวกเขายังมีสิ่งที่ต้องการหลักๆ ดังนี้

    • 57% ต้องการให้มีวิธีการทำงานแบบไฮบริด ไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน โดย 95% ต้องการทำงานจากที่ไหนก็ได้อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ และมีถึง 25% ที่ต้องการทำงานแบบ Fully Remote Work คือไม่ต้องเข้าออฟฟิศเลย นั่นหมายความว่า องค์กรต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมให้คนทำงานจากนอกออฟฟิศ และมีวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการประชุมและทำงานออนไลน์ได้
    • คนไอทีกังวลด้านการพัฒนาทักษะเป็นพิเศษ ทำให้องค์กรที่ดึงดูดคืองานที่เปิดโอกาสให้พัฒนาทักษะใหม่เสมอ และสนับสนุนการเพิ่มประสบการณ์ เช่น โอกาสไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ
    • มีวัฒนธรรมองค์กรยอมรับความหลากหลายและเท่าเทียม ไม่กีดกันทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา

    โดยสรุปแล้ว คนสายงานดิจิทัลไม่ได้พิจารณาการทำงานจากค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการสมดุลชีวิตที่ดี การทำงานยืดหยุ่น และอยู่ในองค์กรที่ส่งเสริมตนเอง มีวัฒนธรรมองค์กรที่ทันสมัยด้วย

    ส่วนคนทำงานสายอาชีพอื่นก็ต้องเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลให้กับตนเอง มีการ Upskill/Reskill เพราะหากอาชีพถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรหรือซอฟต์แวร์ได้ และไม่สามารถปรับตัวไปเป็นผู้ควบคุมดูแลเครื่องจักรหรือใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้ ก็จะเสี่ยงเป็นอาชีพที่ตกงานในอนาคต (JobsDB มีคอร์สเรียนฟรีเพื่อเสริมทักษะคนทำงานด้านต่างๆ เช่น ความรู้พื้นฐานดิจิทัล ภาษาอังกฤษธุรกิจ ในชื่อโครงการ UpLevel คลิกที่นี่)

    ]]>
    1389904
    JobsDB ออกนโยบายไม่จำกัด “เพศ อายุ เชื้อชาติ สถานภาพสมรส” ในทุกประกาศงาน เริ่ม 1 ม.ค. 65 https://positioningmag.com/1367774 Mon, 20 Dec 2021 06:34:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367774 จ๊อบส์ดีบี (JobsDB) ประกาศนโยบายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประกาศรับสมัครงาน โดยไม่ระบุข้อจำกัดทางเพศ อายุ เชื้อชาติ สถานภาพสมรส ฯลฯ เพื่อให้เกิดการจ้างงานที่เสมอภาค เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

    วันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมานี้ นับเป็น ‘วันสิทธิมนุษยชนสากล’ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อให้ความสำคัญกับสิทธิพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับ ด้วยความเป็นธรรมและเสมอภาคกัน จ๊อบส์ดีบี (JobsDB) จึงขอร่วมเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในตลาดงานประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประกาศรับสมัครงาน โดยไม่ระบุข้อจำกัดทางเพศ อายุ เชื้อชาติ สถานภาพสมรส ฯลฯ เพื่อให้เกิดการจ้างงานที่เสมอภาค และทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

    ในปัจจุบัน หลายบริษัททั้งภาครัฐ และเอกชนได้ร่วมรณรงค์และจัดตั้งนโยบายการจ้างงาน และการทำงานอย่างเป็นธรรมให้กับพนักงาน ทั้งนี้ เพื่อรักษาสิทธิมนุษยชน และสร้างความเสมอภาคในการได้รับโอกาสการจ้างงานให้เกิดขึ้นภายในองค์กร

    จ๊อบส์ดีบี (JobsDB) จึงจัดตั้งนโยบายให้ผู้ประกอบการลงประกาศรับสมัครงานโดยไม่จำกัดอายุ เพศ เชื้อชาติ สัญชาติ สถานภาพสมรส และปัจจัยอื่น ๆ ที่สื่อถึงการเลือกปฏิบัติในประกาศงานทุกตำแหน่งที่เปิดรับ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

    Photo : Shutterstock

    นโยบายนี้ได้รับการชื่นชมจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สำหรับการแสดงเจตนารมณ์อย่างจริงจังเพื่อช่วยขับเคลื่อนสู่สังคมแห่งความเสมอภาค ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าว นอกจากจะช่วยองค์กรให้ได้ผู้หางานที่มีประสบการณ์ ความรู้ และความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จของผู้หางานทุกคนทุกกลุ่มในประเทศไทยที่ล้วนมีความสามารถแตกต่างหลากหลายเฉพาะบุคคล

    พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า

    “ปัจจุบัน สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ขณะเดียวกันคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถก็เริ่มเข้าสู่ตลาดงานมากขึ้น ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป มาพร้อมกับวิถีชีวิตและบทบาทของผู้คนในสังคมที่เปลี่ยนแปลง ผู้คนในปัจจุบันมีความรู้ความเข้าใจ และเปิดรับความหลากหลายและความแตกต่างระหว่างบุคคลมากขึ้น จ๊อบส์ดีบี (JobsDB) ในฐานะแพลตฟอร์มหางานชั้นนำของเอเชีย เรามุ่งมั่นที่จะเชื่อมต่อผู้ประกอบการและผู้หางาน โดยให้ความสำคัญที่ประสบการณ์ และความรู้ความสามารถของผู้หางานเป็นหลัก เพื่อการหางานที่มีประสิทธิภาพและผลักดันการจ้างงานในระยะยาวโดยคำนึงถึงความเท่าเทียมกัน การขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้มองข้ามข้อจำกัดด้านสถานภาพทางสังคม ถือเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สู่ความเสมอภาคในการจ้างงานอย่างยั่งยืนในอนาคต”

    ]]>
    1367774
    โควิดระลอก 4 ทำประกาศงานหาย ‘เกือบครึ่ง’ คนเลิกสน ‘work life balance’ ขอแค่มี ‘เงินเดือน’ https://positioningmag.com/1345262 Wed, 04 Aug 2021 16:45:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345262 ในปี 2020 ภาพรวมการจ้างงานได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างเลี่ยงไม่ได้ แม้จะเริ่มเห็นสัญญาณบวกในช่วงครึ่งปีของปี 2021 แต่หลังจากเจอการระบาดระลอก 4 ทำให้การจ้างงานในไทยต้องเจอกับความท้าทายอีกครั้ง โดย พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด ได้ออกมาประเมินภาพรวมการจ้างงานไทยในช่วงครึ่งปีหลังที่อาจจะแย่กว่าปีที่ผ่านมา

    ระลอก 4 ทำประกาศงานหายเกือบครึ่ง

    ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา GDP ประเทศไทยสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ขณะที่อัตราว่างงานจะอยู่ในระดับ 1% แต่จากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ GDP ไทยปี 2020 ติดลบ -6.1% ขณะที่อัตราการว่างงานไตรมาสที่ 1 ของปี 2021 สูงสุดในประเทศไทยเมื่อเทียบกับ 5 ปีย้อนหลัง และสูงที่สุดตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิดอยู่ที่ 1.96%

    แม้ว่าปี 2021 จะมีการคาดการณ์ว่า GDP จะเติบโตได้ 1.8% และความต้องการแรงงานในประเทศไทยทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่น ๆ ในช่วงครึ่งปีแรกจะกลับมาฟื้นขึ้นมา 6.7% แต่การระบาดระลอก 4 อาจฉุดให้ภาพรวมทั้งปีทรงตัวเท่าปีที่แล้วหรือติดลบมากกว่า

    “ถ้าสถานการณ์ของระลอก 4 ไม่ดีขึ้นอาจจะส่งผลต่อภาพรวมการจ้างงานทั้งปี ที่อาจจะเทียบเท่าหรือแย่กว่าปีที่ผ่านมา โดยจำนวนการประกาศงานทั้งปีอาจจะลดลงถึง 50%”

    ทั้งนี้ หากย้อนดูจำนวนประกาศงานออนไลน์ในประเทศไทย (รวม Marketplace และ Aggregator) ที่ได้ผลกระทบจาก COVID-19 ในแต่ละระลอกพบว่า

    ระลอกแรกลดลง -35.6%

    ระลอกสองลดลง -45.5%

    ระลอกสามลดลง -12.5%

    ระลอกสี่ลดลง -48.3%

    งานขายต้องการมากสุดครึ่งปีแรก

    ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 พบว่า กลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่

    • สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ (15.3%)
    • สายงานไอที คิดเป็น (14.8%)
    • สายงานวิศวกรรม (10.0%)

    ในขณะที่กลุ่มสายงานที่มีจำนวนประกาศงานเติบโตขึ้นมากที่สุด ได้แก่

    • สายงานการจัดซื้อ (+43.0%)
    • สายงานขนส่ง (+37.4%)
    • สายงานประกันภัย (+36.4%)

    ในด้านการฟื้นตัวของภาคธุรกิจโดยพิจารณาจำนวนความต้องการแรงงาน พบว่า ธุรกิจที่มีสัดส่วนจำนวนประกาศงานสูงสุด ได้แก่

    • กลุ่มธุรกิจไอที (9.6%)
    • กลุ่มธุรกิจการผลิต (6.2%)
    • กลุ่มธุรกิจการค้าปลีก-ส่ง (5.5%)

    ธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่

    • กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (+52.6%)
    • กลุ่มธุรกิจประกันภัย คิดเป็น (+48.0%)
    • กลุ่มธุรกิจการผลิต คิดเป็น (+41.7%)

    ในส่วนของยอดจำนวนใบสมัครงานเพิ่มขึ้น 12% แต่จากตำแหน่งงานที่เปิดรับมากขึ้น ทำให้อัตราการแข่งขันลดลงในเชิงจำนวนอยู่ที่ 80 ใบสมัครต่อ 1 ประกาศงาน ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่ 100 ใบสมัครต่อ 1 ประกาศงาน อย่างไรก็ตาม ในช่วง ครึ่งปีหลัง มีโอกาสที่การแข่งขันจะมากกว่า 80 ใบสมัครต่อ 1 ประกาศงาน แน่นอนเพราะประกาศงานลดลง

    ทั้งนี้ หากสถานการณ์การระบาดปีหน้าดีขึ้น ตลาดการจ้างงานจะกลับมาแน่นอน โดยกลุ่มงานบริการทั้งงานโรงแรมและร้านอาหารมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นบวกสูงสุดเป็นอันดับ 1 จากปัจจุบันที่ 5% รองลงมาเป็น สายงานการผลิต และ งานขาย

    บาลานซ์ไม่สน สนแต่เงินเดือน

    ในช่วงครึ่งปีแรก ค่าจ้าง ได้รับผลกระทบน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการลดเงินเดือนลงตั้งแต่ช่วงปี 2020 แล้ว แต่ยังประเมินไม่ได้ว่าการระบาดระลอก 4 จะส่งผลกระทบกับเรื่องเงินเดือนมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม กลุ่มสายงานเฉพาะทาง เงินเดือนยังไม่มีผลกระทบ

    ทั้งนี้ จากการสำรวจความเห็นคนทำงานกว่า 2 แสนคน ใน 190 ประเทศ จาก 20 กลุ่มอาชีพ เกี่ยวกับ วิถีชีวิตเปลี่ยน พนักงานต้องการทำงานแบบไหน และ เจาะลึกความต้องการ งานอะไรที่คนทำงานอยากทำมากที่สุดพบว่า

    ในปี 2018 ก่อนเกิดโควิดแรงงานไทยจะให้ความสำคัญกับ ความสมดุลของชีวิตและงาน เป็นอันดับ 1 ในการเลือกงาน แต่ในยุคนี้แรงงานไทยให้ความสำคัญกับ เงินเดือนค่าตอบแทน เป็นอันดับ 1 จากที่เคยอยู่อันดับที่ 5 นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับเรื่อง CSR และ ความหลากหลายทางเพศ ในองค์กรมากขึ้น โดย 53% จะไม่ทำงานกับบริษัทที่ไม่มี CSR และ 63% จะไม่ทำงานกับองค์กรที่ไม่ยอมรับความเท่าเทียม ความหลากหลายทางเพศ

    ในส่วนขอทัศนคติเรื่องการทำงานแบบ Virtual เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยคนทำงานสามารถปรับตัวกับการทำงานแบบ Virtual ได้ดีและต้องการจะทำงานในลักษณะนี้มากขึ้นเมื่อ COVID-19 คลี่คลาย โดย 73% เลือกที่จะทำงานแบบผสมผสานระหว่างออฟฟิศและ Virtual ขณะที่ความต้องการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศแบบเต็มเวลาลดลงเหลือแค่ 7%

    “ต่อไปเทรนด์การทำงานจะเป็นไฮบริดมากขึ้น แต่คงไม่เท่ากับการตอนมีการระบาดที่ Work From Home 100% ดังนั้น การเช่าออฟฟิศยังคงมีอยู่”

    เด็กจบใหม่ยิ่งกระทบหนัก

    เนื่องจากบริษัทต้องการลงทุนให้คุ้มค่าที่สุด ดังนั้น จะเลือกจ้างคนที่มีประสบการณ์มากกว่าเด็กจบใหม่ เพราะมีความเข้าใจในเรื่องธุรกิจมากกว่า สามารถทำงานได้หลากหลายกว่า ขณะที่เด็กจบใหม่ต้องใช้เวลาสอน ดังนั้น ช่วงโควิดถือเป็นช่วงที่เสียเปรียบสำหรับเด็กจบใหม่ อาจต้อง UpSkill ตัวเองเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

    อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ทักษะใหม่จาก การปฏิบัติงานจริง ยังคงเป็นช่องการ Upskill / Reskill ที่ดีที่สุดของคนทำงาน นอกจากนี้ยังเริ่มสนใจหาแหล่งเรียนรู้จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งแบบออนไลน์ และไปเรียนที่สถาบัน โดยการ Upskill ผ่านสถาบันการศึกษาออนไลน์มีการเติบโตสูงขึ้น 58% จากปี 2018 ส่วนการ Upskill ผ่านแอปพลิเคชันเติบโต 48%

    ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าคน Gen Z / Gen Y เปิดรับการ Upskill / Reskill เพื่อ Career Path ที่เติบโตขึ้น โดยทักษะที่ต้องการ Upskill / Reskill ได้แก่ 1. ไอที 2. ภาษา 3. ทักษะการเป็นผู้นำ

    ]]>
    1345262
    มองตลาดแรงงานไทย แข่งดุอัตรา 1 : 100 แถม ‘ต่างชาติทักษะสูง’ จ่อแย่งงาน https://positioningmag.com/1325506 Mon, 29 Mar 2021 15:08:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325506 ปกติแล้วอัตราการว่างงานไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1% แต่เพราะวิกฤต COVID-19 ทำให้อัตราว่างงานพุ่งสูงถึง 2% โดยภาพรวมตลาดประกาศงานในไทยช่วงเดือนมกราคมหายไป 35.6% ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคมหายไป 37.9% เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปี 2019 โดย ‘จ๊อบส์ ดีบี’ (JobsDB) ก็ได้ออกมาเปิดข้อมูลการประเมินแนวโน้มทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤต COVID-19 ว่าจะฟื้นมากน้อยแค่ไหนไปดูกัน

    ไตรมาสแรกส่งสัญญาณบวก

    หลังจากที่ถูกพิษ COVID-19 ถล่มเศรษฐกิจซึ่งแน่นอนว่ากระทบกับภาพรวมการจ้างงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ในที่สุดก็เริ่มเห็นสัญญาณบวก โดย พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 สามารถเติบโต 24.65% เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดในเดือนธันวาคมที่การระบาดระลอก 2 ขณะที่ตลาดงานครึ่งปีแรกคาดว่าจะเติบโตได้ 5% ในกลางปี 2564 แต่จะกลับไปฟื้นตัวเท่ากับก่อนวิกฤตการณ์ COVID–19 อาจต้องรอถึงต้นปี 2565 หากไม่มีการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้น

    กลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่
    • สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ (16.0%)
    • สายงานไอที (14.7%)
    • สายงานวิศวกรรม (9.8%)
    กลุ่มสายงานที่มีจำนวนประกาศงานเติบโตขึ้นมากที่สุด ได้แก่
    • สายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ (29.7%)
    • สายงานขนส่ง (24.7%)
    • สายงานการผลิต (20.8%)

    ด้านกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุด ได้แก่
    • กลุ่มธุรกิจประกันภัย (42.9%)
    • กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (41.9%)
    • กลุ่มธุรกิจการผลิต (37.7%)

    “กลุ่มงานขายและการผลิตแสดงให้เห็นถึงสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนสายงานไอทียังคงมีความต้องการสูงต่อเนื่อง ด้านสายงานขนส่งได้รับแรงผลักดันจากพฤติกรรมช้อปออนไลน์ ที่น่าห่วงคือ สายงานภาคท่องเที่ยว, โรงแรมยังติดลบ -20% เทียบไตรมาส 1 ปี 64 กับครึ่งปีหลังปี 63”

    ตลาดฟื้นแต่ยังแข่งสูง

    ในแต่ละเดือนพบว่ามีใบสมัครงานกว่า 1 ล้านใบต่อเดือน เติบโต 20% โดยอัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีอัตราส่วนที่ 1 ต่อ 100 ใบสมัคร โดยส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่เพียงในกลุ่มงานที่เงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยหางานมากขึ้นการแข่งขันยิ่งสูง

    คนไทยอยากออก ต่างชาติอยากเข้า

    จากแบบสำรวจ “ถอดรหัสลับ จับทิศทางความต้องการคนทำงานยุคใหม่” (Global Talent Survey) ฉบับที่ 1 ที่จ๊อบส์ ดีบีร่วมมือกับบริษัท บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) และ เดอะ เน็ตเวิร์ก (The Network) พบว่า กว่า 57% ของคนทำงานทั่วโลกยินดีที่จะทำงานให้กับบริษัต่างประเทศ และ 50% ของคนไทยยินดีที่จะทำงานในต่างประเทศเช่นกัน โดยไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 35 จากประเทศทั่วโลกที่คนทำงานต่างชาติสนใจอยากเข้ามาทำงาน ขยับขึ้นมาจากอันดับ 43 และ 39 ในปี 2014 และ 2018

    จากปี 2018 ที่แรงงานต่างชาติที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมาที่ใช้แรงงาน แต่ปี 2020 กลับเป็นชาวต่างชาติที่มีทักษะสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากเติบโตของบริษัทในประเทศที่ขยายมาสู่ประเทศไทย ซึ่งงานต่างชาติจะเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ งานข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร โปรแกรมเมอร์ นักพัฒนา งานที่พักโรงแรม และบริการด้านอาหาร งานวิทยาศาสตร์ การบริหารและการบริการ

    สำหรับแรงงานต่างชาติที่สนใจอยากมาทำงานในประเทศไทย ได้แก่ 1. สิงคโปร์ 2. มาเลเซีย 3. จีน 4. อินโดนีเซีย 5. รัสเซีย ส่วน 3 อันดับประเทศที่คนไทยอยากไปทำงานด้วยมากที่สุด ได้แก่ 1. ออสเตรเลีย 2. ญี่ปุ่น 3. สิงคโปร์

    นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมหันมาทำงานแบบ เวอร์ชวล (Virtual Talent Pool) มากขึ้นในทุกสายงาน โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพที่จะมาเป็นกุญแจสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มธุรกิจที่จะหาคนทำงานที่ตรงตามความต้องการจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน

    “ต่างชาติพร้อมที่จะเข้ามาเพราะบริษัทต่างชาติเริ่มขยายเข้ามาในไทย อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศที่ต่างชาติชอบ ทั้งอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ขณะที่เด็กไทยรุ่นใหม่ก็พร้อมจะไปทำงานที่ต่างประเทศเพื่อความก้าวหน้า ต้องการเงินเดือนสูง แต่อนาคตก็มีโอกาสกลับมาทำงานในไทย”

    ทักษะใหม่ที่มาพร้อม COVID-19

    นอกจากนี้ ยังพบว่า มีสายงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤตการณ์ COVID-19 อาทิ นักพัฒนาเอไอ, ที่ปรึกษาด้านบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล, ผู้เชี่ยวชาญ Business Transformation รวมถึง Growth Officer

    เด็กจบใหม่ไม่ตรงสายงาน

    ปัญหาความต้องการจ้างงานที่ไม่สอดคล้องกับภาคการศึกษาที่ผลิตบุคลากรสู่ตลาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ โดยจะเห็นว่ากลุ่มไอทีสามารถผลิตออกมาได้น้อยกว่าความต้องการ ขณะที่กลุ่มของมาร์เก็ตติ้งหรือนิเทศศาสตร์กลับผลิตออกมาได้มากกว่าความต้องการ ขณะที่ปัจจุบัน ภายใน 1-2 ปีเท่านั้นที่เทรนด์การทำงานปรับเปลี่ยน เริ่มเห็นตำแหน่งงานใหม่ ๆ ขณะที่การเรียนมหาวิทยาลัยใช้เวลา 4 ปี ดังนั้นจะเห็นว่าปัญหานี้กำลังใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

    “ตลาดไทยมีความต้องการแรงงานทักษะสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ 70% ของแรงงานอยู่ในกลุ่มทักษะปานกลาง-ต่ำ และไม่มีการเปลี่ยนเเปลงในระยะเวลาหลายสิบปี ขณะที่ต่างชาติก็พร้อมเข้ามาแย่งงานคนไทย นี่จึงเป็นอีกโจทย์ที่ต้องเร่งแก้ในตลาดแรงงานไทย”

    ]]>
    1325506
    จับชีพจร “ตลาดเเรงงานไทย” ตกงานมากสุดในรอบ 11 ปี ธุรกิจ “เจ๊ง” พุ่ง คนอายุน้อยไม่มีงานทำ https://positioningmag.com/1300013 Mon, 05 Oct 2020 10:55:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300013 วิกฤตเศรษฐกิจ COVID-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาดแรงงาน นำไปสู่การ “ตกงาน” ของคนจำนวนมากในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ถึง 7.5 แสนคน คิดเป็นกว่า 1.95% ต่อกำลังแรงงานรวม ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี เเละยังมีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวจำนวนสูงถึง 2.5 ล้านคน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ คนรุ่นใหม่เสี่ยงตกงานยาว รับค่าจ้างต่ำ ธุรกิจ “ทนไม่ไหว” ปิดกิจการพุ่ง

    ตลาดเเรงงานไทย ทรุดซ้ำ “เเผลเก่า” 

    ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบทวิเคราะห์ “ประเมิน 4 สัญญาณความอ่อนแอของตลาดแรงงานไทย หลังคลายล็อกดาวน์” ไว้อย่างน่าสนใจ

    โดยมองว่า ตลาดแรงงานไทยมีความอ่อนแออยู่แล้วตั้งแต่ก่อนวิกฤต จากจำนวนผู้มีงานทำและจำนวนชั่วโมงทำงานเฉลี่ย ที่มีแนวโน้มลดลงตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงาน และการออกจากกำลังแรงงาน ตามแนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สะท้อนว่ารายได้จากการทำงานของคนไทยในภาพรวม…ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก

    และเมื่อเข้าสู่ช่วงวิกฤต COVID-19 ที่เศรษฐกิจทรุดตัวลงรุนแรงในช่วงครึ่งแรกปี 2020 ตลาดแรงงานที่มีความอ่อนแออยู่เป็นทุนเดิม ยิ่งได้รับแรงกดดันเพิ่มมากขึ้น แม้ล่าสุดตลาดแรงงานจะเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้นบ้างจากอัตราการว่างงานที่ลดลง แต่สถานการณ์โดยรวมก็ยังถือว่า “ซบเซา” กว่าในอดีตอยู่ค่อนข้างมาก สะท้อนจาก 4 สัญญาณความอ่อนแอที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ 

    (1) อัตราการว่างงานของแรงงานในระบบประกันสังคมยังคงเพิ่มสูงขึ้น
    (2) กลุ่มแรงงานอายุน้อย 15-24 ปี ยังมีปัญหาการว่างงานในระดับสูง
    (3) จำนวนแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวยังสูงกว่าในอดีตมาก
    (4) สัดส่วนการทำงานต่ำระดับยังคงเพิ่มขึ้น

    Photo by Lauren DeCicca/Getty Images

    คนหันไป “ทำงานนอกระบบ-รายได้น้อยลง” มากขึ้น

    ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2020 ที่เศรษฐกิจไทยอยู่ ณ จุดต่ำสุดและมีการล็อกดาวน์ในวงกว้าง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจำนวนมากต้องหยุดชะงัก สถานการณ์ในตลาดแรงงานจึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในทันที

    โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 7.5 แสนคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้าถึงเกือบเท่าตัว โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ว่างงานในทุกอุตสาหกรรม ส่งผลให้อัตราการว่างงานในภาพรวมเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 2.0% ต่อกำลังแรงงานรวม จากเพียง 1.0% ในไตรมาสก่อนหน้า ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี

    ทั้งนี้หลังจากที่รัฐบาลได้มีการคลายล็อกดาวน์ หลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงได้กลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ทิศทางของอัตราการว่างงานในช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งผ่านพ้นการล็อกดาวน์ไปแล้วกลับยังคงอยู่ในแนวโน้มถดถอย โดยอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปอยู่ที่ 2.2% ด้วยจำนวนผู้ว่างงานสูงถึง 8.3 แสนคน

    อัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคม 2020 ลดจากจุดสูงสุดเพียงเล็กน้อย และยังอยู่ในระดับสูง โดยอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคม ยังอยู่ที่ 1.9% ต่อกำลังแรงงานรวม จากจำนวนผู้ว่างงานที่ลดลงมาอยู่ที่ 7.2 แสนคน

    อย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคม ยังถือเป็นอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับที่สูงหากเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต (ช่วงปี 2013-2019) ที่อยู่ที่เพียงราว 1.0% ต่อกำลังแรงงานรวม สะท้อนว่าตลาดแรงงานยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะปกติ

    แรงงานในระบบประกันสังคม ปัญหาการว่างงานยังคงเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานตามระบบประกันสังคมในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 3.9% ต่อแรงงานประกันสังคมมาตรา 33 ทั้งหมด เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากอัตราการว่างงานในไตรมาส 2 และเดือนกรกฎาคมปีนี้ที่อยู่ที่ 2.8% และ 3.7% ตามลำดับ

    “การสวนทางกันของการว่างงานในระบบที่เพิ่มขึ้นกับการว่างงานภาพรวมที่ลดลงอาจกำลังบ่งชี้ว่า ลูกจ้างในระบบที่ตกงานมีการย้ายไปสู่การเป็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น เช่น อาชีพอิสระ งานรับจ้าง หรือธุรกิจส่วนตัว ซึ่งอาจมีรายได้ที่น้อยกว่า ได้รับสวัสดิการที่ครอบคลุมน้อยกว่าหรือไม่มีเลย รวมไปถึงโอกาสในการเข้าถึงการอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่น้อยกว่าแรงงานในระบบ” 

    คนรุ่นใหม่…เสี่ยงตกงาน ยอมรับค่าจ้างต่ำ  

    ความน่ากังวลหนึ่งที่สำคัญคือ การว่างงานของแรงงานอายุน้อย (อายุ 15-24 ปี) ของไทย อยู่ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มอายุอื่นมาโดยตลอด

    ในวิกฤต COVID-19 ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยอัตราการว่างงานของกลุ่มแรงงานอายุน้อยได้เพิ่มขึ้นไปเป็น 8.6% ต่อกำลังแรงงานอายุน้อยทั้งหมดในไตรมาส 2 ปี 2020 และเพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่องไปที่ระดับ 9.8% ในเดือนกรกฎาคม สอดคล้องกันกับสิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศอย่าง สหรัฐฯ ที่การจ้างงานของแรงงานอายุน้อย ก็ได้รับผล
    กระทบมากกว่าแรงงานกลุ่มอายุอื่น ๆ

    “แรงงานอายุน้อย ส่วนใหญ่ยังไม่มีประสบการณ์ทำงานและการว่างงาน จะทำให้เกิดการขาดช่วงของการสร้างทักษะและสั่งสมประสบการณ์จากการทำงาน เสียเปรียบในการแข่งขันหางานกับกลุ่มแรงงานอายุมากกว่าที่มีประสบการณ์การทำงานที่มากกว่า ซึ่งอาจยอมลดค่าจ้างของตนเองเพื่อให้ได้งานโดยเร็ว” 

    กลับไปทำงานไม่ได้… ยอด “หยุดงานชั่วคราว” ยังพุ่ง 

    จำนวนผู้ที่ยังมีงานทำแต่ต้องหยุดงานชั่วคราว (furloughed workers) ที่มีจำนวนถึง 2.5 ล้านคนในช่วงล็อกดาวน์ลดลงบ้างแต่ยังสูงกว่าระดับปกติ ในไตรมาส 2 ปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดแรงงานได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจ มาตรการล็อกดาวน์ และการหยุดชะงักของกิจกรรมการผลิต ทำให้หลายกิจการมีการพักงานลูกจ้าง

    “คนทำงานอิสระจำนวนมากไม่สามารถออกไปประกอบอาชีพได้ ส่งผลให้จำนวนผู้ที่ยังมีงานทำแต่ต้องหยุดงานชั่วคราว (furloughed workers) จึงเพิ่มขึ้นไปอยู่สูงถึง 2.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่กว่า 82.4% ระบุว่าไม่ได้รับค่าจ้าง”

    อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการผ่อนคลายล็อกดาวน์ หลายกิจการได้กลับมาดำเนินการตามปกติ ส่งผลให้จำนวน furloughed workers ก็ลดลงไปอยู่ที่ 7.5 และ 4.4 แสนคน ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ตามลำดับ

    Photo : Shutterstock

    แต่จำนวน furloughed workers ในช่วง 2 เดือนล่าสุดก็ยังถือว่าอยู่สูงกว่าหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวนอยู่ที่เพียงราว 1-1.5 แสนคนเท่านั้น ส่วนหนึ่งคาดว่ามีสาเหตุมาจากการที่หลายกิจการยังไม่สามารถกลับมาดำเนินกิจการได้เท่าศักยภาพในอดีต จึงยังไม่สามารถดูดซับแรงงานที่ต้องหยุดงานในช่วงล็อกดาวน์ได้หมด

    การเพิ่มขึ้นของจำนวน furloughed workers นับเป็นอีกความน่ากังวลของตลาดแรงงานไทย เพราะบางส่วนอาจกลายเป็นคนตกงานได้ในท้ายที่สุด หากกิจการขาดสภาพคล่องจนต้องลดคนหรือปิดกิจการ

    ช่วงโมงการทำงานลด – รายได้ลด

    แนวโน้มของสัดส่วนการทำงานต่ำระดับที่มากขึ้นจากช่วงล็อกดาวน์ ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ในไตรมาส 2 งานเต็มเวลา (งานที่ทำตั้งแต่ 35 ถึงไม่เกิน 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) และงานล่วงเวลา (งานที่ใช้เวลาทำมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไปหรืองานโอที) มีจำนวนลดลงรวมกันสูงถึง 4.8 ล้านคน

    ขณะที่จำนวนงานต่ำระดับ (งานที่ทำเกิน 0 ถึงไม่เกิน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) รวมถึงจำนวนการหยุดงานชั่วคราวกลับเพิ่มสูงขึ้นมากถึง 4.1 ล้านคนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

    ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม งานเต็มเวลาและล่วงเวลาก็ยังคงลดลง ขณะที่งานต่ำระดับยังคงเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉลี่ยงานเต็มเวลาและล่วงเวลาลดลงประมาณ 2.1 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่งานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึง 1.9 ล้านคน

    แนวโน้มดังกล่าวนี้ เป็นอีกหนึ่งเครื่องชี้ที่สะท้อนถึงกำลังในการจ้างงานของภาคเอกชนที่ถดถอยลง จึงไม่สามารถจ้างงานเต็มเวลาและล่วงเวลาในจำนวนที่มากเท่าในช่วงก่อนหน้าได้  รวมถึงอาจเป็นผลของการ “ออกนอกระบบ” ของแรงงานที่เคยทำงานประจำที่มีชั่วโมงทำงานสูงกว่า ไปสู่งานอิสระที่มักมีชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนี้สะท้อนว่ารายได้ของแรงงานมีแนวโน้มลดลง และยังไม่ฟื้นตัว

    อนาคตตลาดแรงงานไทย – ธุรกิจแห่ปิดกิจการ 

    ปัญหาการว่างงานจะยังคงอยู่ในระดับสูงและ “ฟื้นตัวได้ไม่เร็ว” จากแนวโน้มการปิดกิจการของภาคธุรกิจที่ยังเร่งตัว ในช่วงวันที่ มกราคม – 28 สิงหาคม 2020 มีจำนวนธุรกิจที่แจ้งเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ารวมทั้งสิ้นราว 1.4 หมื่นราย เพิ่มขึ้น 9.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ถึงแม้จะมีการคลายมาตรการล็อกดาวน์ไปแล้ว การปิดกิจการก็ยังเพิ่มในอัตราที่เร่งขึ้น

    โดยในช่วงเดือนมิถุนายนกรกฎาคม การปิดกิจการขยายตัวที่ 29.2%YOY และในช่วง 28 วันแรกของเดือนสิงหาคม ก็ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราเร่งที่ 34.5%YOY

    คาดว่าเป็นผลมาจากการขาดรายได้ของกิจการขณะที่สภาพคล่องมีไม่เพียงพอ กิจการที่ปิดตัวลงนี้จะส่งผลทำให้แรงงานในกิจการนั้น ๆ ต้องว่างงานลง ขณะที่กำลังการดูดซับแรงงาน (จ้างงาน) ของภาคธุรกิจมีลดน้อยลงตามภาวะเศรษฐกิจที่มีส่วนทำให้การเปิดกิจการของภาคธุรกิจก็ลดน้อยลงตามไปด้วย โดยในช่วงวันที่ มกราคม – 28 สิงหาคม 2020 จำนวนการจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ลดลง -12.5%YOY

    สอดคล้องกับข้อมูลประกาศรับสมัครงานบนเว็บไซต์ Jobsdb.com ที่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 27 ก.ย.-3 ต.ค.) จำนวนประกาศรับสมัครงานเฉลี่ยยังต่ำกว่าช่วงสัปดาห์ก่อนมีมาตรการปิดเมือง (วันที่ 21-27 มี.ค.) ถึง -20.8%

    โดยต่ำกว่าในทุกอุตสาหกรรมและระดับเงินเดือน สะท้อนให้เห็นว่าภาวะการจ้างงานยังคงซบเซาเป็นวงกว้าง แม้ว่ามาตรการล็อกดาวน์จะถูกผ่อนคลายลงมากแล้วก็ตาม

    คาดว่าในระยะข้างหน้ารายได้ภาคธุรกิจยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่พึ่งพารายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ต้องรอความชัดเจนในด้านการพัฒนาวัคซีน และการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศ ส่งผลให้แนวโน้มการเปิด-ปิดกิจการจะยังคงซบเซา และกระทบต่อการจ้างงานในระยะถัดไป

    EIC มองว่า ความล่าช้าในการฟื้นตัวของตลาดแรงงานนี้จะส่งผลให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวช้า กระทบกับความสามารถในการชำระหนี้ และยังอาจส่งผลให้ศักยภาพการแข่งขันของประเทศในระยะยาวลดลง นโยบายภาครัฐจะมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ทั้งมาตรการในระยะสั้นเพื่อประคับประคองการจ้างงาน และนโยบายเชิงโครงสร้างเพื่อจัดสรรแรงงานที่จะมีการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนอุตสาหกรรม (relocate) เป็นจำนวนมาก รวมถึงพัฒนาทักษะแรงงานให้มีผลิตภาพ (productivity) สูง และสอดคล้องกับความต้องการภาคธุรกิจในอนาคต

    “ตลาดแรงงานไทยยังอยู่ในภาวะซบเซา การประคับประคองตลาดแรงงานเป็นสิ่งจำเป็น โดยการเพิ่มทักษะและปรับทักษะ (upskill and reskill) ของแรงงานเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ต้องทำควบคู่ เพื่อยกระดับแรงงานไทยในระยะยาว ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้”

     

     

    ]]>
    1300013
    JobsDB ประเทศไทย ปรับกลยุทธ์แพลตฟอร์มเป็น “ทาเลนต์ พาร์ตเนอร์” ใช้ AI ช่วยหางาน https://positioningmag.com/1285262 Fri, 26 Jun 2020 08:36:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285262 วิสัยทัศน์บอสใหม่ JobsDB ประเทศไทย ปรับงานบริการลูกค้าให้เป็น “ทาเลนต์ พาร์ตเนอร์” เจาะองค์กรขนาดเล็กถึงกลางให้ดึงดูดพนักงานมากขึ้น ได้พนักงานภายใน 30 วัน ใช้เทคโนโลยี AI เก็บข้อมูลคนหางานเพื่อป้อนตำแหน่งงานให้ตรงใจ ได้งานเร็วขึ้น 6 เท่า

    “พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์” ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือแพลตฟอร์มจัดหางาน JobsDB พรลัดดาขึ้นมารับตำแหน่งนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยย้ายมาจาก บริษัท ไอคาร์ เอเชีย ประเทศไทย ที่เธอเป็นผู้จัดการประจำประเทศอยู่เกือบ 4 ปี เป็นบริษัทบริหารแพลตฟอร์มซื้อขายรถยนต์มือสอง ที่รู้จักกันดี เช่น one2car.com

    ที่ผ่านมา JobsDB มีประกาศตำแหน่งงานใหม่ 10,000 กว่าประกาศต่อเดือน แบ่งตำแหน่งประกาศ 50% เป็นตำแหน่งในบริษัทขนาดเล็ก (มีพนักงานไม่เกิน 50 คน) และ 50% เป็นบริษัทขนาดกลางถึงใหญ่ (มีพนักงาน 51-500 คน หรือ มากกว่า 500 คน)

    โดยพรลัดดากล่าวว่า แพลตฟอร์ม JobsDB มีความแข็งแกร่งในตลาดแรงงานกลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ และดึงดูดประกาศหางานจากองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่ได้มาก ความแข็งแกร่งในจุดนี้จะยังคงไว้ต่อไป แต่จะเพิ่มกลยุทธ์การปรับงานบริการลูกค้า (customer service) ให้เป็น “ทาเลนต์ พาร์ตเนอร์” กับบริษัทที่มาลงประกาศกับ JobsDB จากเดิมที่เป็นบอร์ดประกาศหางานให้เท่านั้น

    “พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์” ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด

    พรลัดดาอธิบายว่า จุดมุ่งหมายของการเป็นตัวกลางจัดหางานคือ “จับคู่” ระหว่างบริษัทที่ต้องการคนกับคนที่กำลังหางานอยู่ได้สำเร็จ ซึ่งปกติแล้วองค์กรขนาดเล็กถึงกลางจะมีความลำบากมากกว่าบริษัทใหญ่ในการหาคน เพราะบริษัทอาจจะไม่เป็นที่รู้จักมากนัก

    ทำให้ JobsDB ต้องการจะเป็นทาเลนต์ พาร์ตเนอร์ ช่วยแนะนำให้คำปรึกษาบริษัทขนาดเล็กถึงกลางในการประชาสัมพันธ์บริษัท หาจุดเด่นของบริษัทมาใช้ในการประกาศงาน เพื่อดึงดูดให้คนสนใจเข้ามาสมัคร

    “ทาเลนต์ พาร์ตเนอร์จะสำคัญกับองค์กรขนาดกลางถึงเล็กมาก เพราะบริษัทใหญ่ที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว แค่ลงรับสมัครงานก็มีคนส่งประวัติเข้าไปจน HR แทบจะสกรีนไม่ทัน แต่บริษัทกลางถึงเล็กอาจจะต้องใช้แบนเนอร์ช่วย ลงสิทธิประโยชน์พนักงานที่น่าสนใจ เพิ่มการพีอาร์บริษัทให้คนเข้าใจ” พรลัดดากล่าว

    เป้าหมายคร่าวๆ คือบริษัทนั้นๆ ควรจะได้พนักงานภายใน 30 วัน เนื่องจากอายุประกาศหนึ่งรอบบน JobsDB มีระยะเวลาเท่านี้ บริษัทไม่ควรจะต้องลงประกาศซ้ำ

    ฝั่งคนหางานทำ JobsDB มีการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของคนหางานว่าต้องการงานลักษณะใด ตำแหน่งใด เงินเดือนเท่าไหร่ ผ่านการติดตามว่าคนคนนั้นเลือกคลิกดูข้อมูลตำแหน่งงานแบบไหน และถ้ามีการฝากประวัติไว้กับแพลตฟอร์ม ก็สามารถสแกนข้อมูลนี้มาใช้ประมวลได้ด้วย จากนั้นจะเสนอตำแหน่งงานให้ผู้ที่กำลังหางานอยู่ได้ตรงใจมากขึ้น นำไปสู่การได้งานทำเร็วขึ้น 6 เท่า

    ด้านธุรกิจจัดหางานปี 2563 พรลัดดากล่าวว่า เป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจ ช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์ COVID-19 ทำให้หลายบริษัทมีนโยบายงดรับพนักงานเพิ่ม ซึ่งกระทบกับธุรกิจจัดหางานไปด้วย แต่หลังโรคระบาดเริ่มคลี่คลาย ผลสำรวจของบริษัทพบว่านายจ้าง 88% จะกลับมารับสมัครงานใหม่ในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้แนวโน้มบริษัท JobsDB ดีขึ้นเช่นกัน

    ]]>
    1285262
    สัญญาณตลาดแรงงานเริ่มฟื้น! งาน “โลจิสติกส์” มาแรง “ไอที-ขาย” ยังต้องการสูงสุด https://positioningmag.com/1281913 Wed, 03 Jun 2020 16:58:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281913 จ๊อบส์ ดีบีเปิดข้อมูล ดีมานด์แรงงานเดือนพ.ค. เริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด รับคลายล็อกเฟส 3 โดยที่สายงานไอที งานขาย ยังมีความต้องการสูงสุด ด้านธุรกิจโลจิสติกส์ คว้าแชมป์ดีมานด์เติบโต 23%

    โลจิสติกส์รับคนเพิ่มสูงสุด

    จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) เผยภาพรวมความต้องการงานทั่วประเทศไทย 3 เดือนตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม แม้จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จนส่งผลกระทบในหลายภาคส่วนจนทำให้เกิดอัตราคนว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น

    แต่ในวิกฤตดังกล่าวพบว่ามีภาคธุรกิจที่ยังคงมีความต้องการแรงงาน อาทิ ธุรกิจไอที ธุรกิจขายปลีก ธุรกิจบริการด้านการเงิน ธุรกิจจัดจำหน่าย ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ

    ล่าสุดข้อมูลสิ้นเดือนพฤษภาคมพบสัญญาณการรับสมัครงานเพิ่มขึ้นใน 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่

    • ธุรกิจโลจิสติกส์ เพิ่มขึ้น 23%
    • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้น 13%
    • ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจการตลาด ธุรกิจประชาสัมพันธ์ เพิ่มขึ้น 6%
    • ธุรกิจประกันภัย เพิ่มขึ้น 5%
    • ธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก เพิ่มขึ้น 2%

    ไอที-ขาย ดาวรุ่ง รับ New Normal

    พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า

    “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจรวมถึงธุรกิจเกือบทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นฝั่งองค์กร ผู้ประกอบการ ตลอดจนฝั่งคนหางาน แต่ในวิกฤตดังกล่าวก็ยังพบว่ามีธุรกิจหลายประเภทที่ยังมีความต้องการแรงงาน เพื่อมาช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถข้ามผ่านสถานการณ์ดังกล่าวไปได้ ด้วยเหตุนี้ จ๊อบส์ ดีบี จึงได้เผยภาพรวมความต้องการคนทำงานทั่วประเทศไทยช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2563″

    5 ธุรกิจที่ยังมีความต้องการคนทำงาน

    • ธุรกิจไอที (Information Technology)
    • ธุรกิจการผลิต (Manufacturing)
    • ธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก (Wholesale / Retail)
    • ธุรกิจบริการด้านการเงิน (Financial Services)
    • ธุรกิจ Trading ธุรกิจจัดจำหน่าย (Trading and Distribution)

    5 สายอาชีพที่ยังคงมีความต้องการคนทำงาน

    • งานขาย งานบริการลูกค้า งานพัฒนาธุรกิจ (Sales, CS & Business Devpt)
    • งานไอที (Information Technology)
    • งานวิศวกรรม (Engineering)
    • งานการตลาด งานประชาสัมพันธ์ (Marketing/Public Relations)
    • งานธุรการ งานทรัพยากรบุคคล (Admin & HR)

    จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลุ่มธุรกิจ และสายงานไอทีเป็นกลุ่มที่มีความต้องการคนทำงานสูง เนื่องจากหลายองค์กรมีการปรับตัวรับ New Normal รวมถึงการทำงานให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่าย มีการเตรียมความพร้อมรับคนกลับมาทำงานหลังภาพรวมต่าง ๆ เริ่มส่งสัญญาณในทิศทางที่ดีขึ้น

    5 กลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนประกาศงานลดลง 

    • ธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism/Travel Agency)
    • ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจบริการ ธุรกิจจัดเลี้ยง (Hospitality/Catering)
    • ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจสถาปัตยกรรม (Architecture/Building/Construction)
    • ธุรกิจยานยนต์ (Motor Vehicles)
    • ธุรกิจวิศวกรรมก่อสร้าง-ธุรกิจวิศวกรรมโยธา-ควบคุมอาคาร (Engineering – Building, Civil, Construction/Quantity Survey)

    สมัครงานเพิ่มขึ้น 20%

    สำหรับภาพรวมของฝั่งคนหางาน พบว่าในเดือนพฤษภาคมผู้สมัครงานมีจำนวนการสมัครงานเพิ่มขึ้น คิดเป็น 20% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ทั้งจากคนทำงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ รวมถึงผู้สมัครงานบางส่วนเริ่มมีความเชื่อมั่นในสถานการณ์และมองหาโอกาสในการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งพิจารณาจากใบสมัครเติบโตสูง พบว่า

    • ธุรกิจ Trading ธุรกิจจัดจำหน่าย เพิ่มขึ้น 32%
    • ธุรกิจสารเคมี พลาสติก กระดาษ ปิโตรเคมี เพิ่มขึ้นสูงถึง 13%
    • ธุรกิจไอที เพิ่มขึ้น 10%
    • ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจจัดเลี้ยง เพิ่มขึ้น 2%

    5 กลุ่มสายงานเป็นที่ต้องการของผู้สมัครงานสูง

    • อีคอมเมิร์ซ เพิ่มขึ้น 75%
    • งานขาย งานบริการลูกค้า งานพัฒนาธุรกิจ เพิ่มขึ้น 3%
    • งานบัญชี เพิ่มขึ้น 3%
    • งานไอที เพิ่มขึ้น 3%
    • งานการตลาด งานประชาสัมพันธ์ เพิ่มขึ้น 2%
    ]]>
    1281913