Sinovac – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 26 Oct 2021 07:31:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘จีน’ จะเริ่มฉีดวัคซีนในเด็ก ‘3 ขวบ’ หลังเจอการระบาดระลอกใหม่ https://positioningmag.com/1358280 Tue, 26 Oct 2021 06:37:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358280 หลังจากสกัดการระบาดของ COVID-19 จนเป็นศูนย์ไปได้ไม่นาน ล่าสุด จีนก็เจอการแพร่ระบาดขนาดเล็กในมณฑลกานซู, เขตปกครองตนเองมองโกเลีย ทำให้ผู้อยู่อาศัยในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในได้รับคำสั่งให้อยู่แต่ภายในบ้าน และต้องปิดสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่งในมณฑลกานซูทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ล่าสุด ได้มีแผนที่จะฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 3-11 ปีอีกด้วย

ที่ผ่านมา ประชากรชาวจีน 76% ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว และทางการยังคงนโยบายที่ไม่ยอมให้มีการแพร่ระบาด ดังนั้น จึงมีแผนที่จะฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 3 ขวบ ในอย่างน้อย 5 มณฑลของจีน โดยมาตรการดังกล่าวทำให้จีนกลายเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่เริ่มให้วัคซีนแก่เด็กที่อายุน้อย อาทิ คิวบาได้เริ่มให้วัคซีนกับเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี สหรัฐฯ และหลายประเทศในยุโรปอนุญาตให้ฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 12 ปี และตอนนี้ สหรัฐฯ กำลังเดินหน้าฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 5-11 ปี

สำหรับการฉีดวัคซีนให้กับเด็กอายุ 3-11 ปีนี้ จีนยังคงอนุมัติวัคซีนสองชนิด คือ Sinopharm จากสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่งและ Sinovac โดยที่ผ่านมา จีนเพิ่งฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปเท่านั้น

ทั้งนี้ วัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดของจีนคือ Sinopharm และ Sinovac ได้แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการป้องกันโรคร้ายแรงและการแพร่เชื้อไวรัส โดยอ้างอิงจากข้อมูลสาธารณะ แต่การป้องกันสายพันธุ์เดลตา ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัด แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะบอกว่าสามารถปกป้องได้ก็ตาม

ที่ผ่านมา จีนได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ การกักกัน และการทดสอบภาคบังคับสำหรับการค้นหาเชื้อไวรัสตลอดการระบาดใหญ่ และได้ขจัดกรณีการติดเชื้อในท้องถิ่นส่วนใหญ่ออกไป นอกจากนี้ ยังเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน โดยรับวัคซีนแล้วทั้งสิ้น 1.07 พันล้านคน จากประชากร 1.4 พันล้านคน

วัคซีน covid-19

แม้ Sinopharm และ Sinovac จะมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศและทั่วโลก แต่ผู้ปกครองบางคนก็ไม่มั่นใจเกี่ยวกับวัคซีน โดยอ้างข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนว่ามีประสิทธิภาพน้อยกว่า โดย หวัง ลู่ ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองฝูโจว ทางตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน กล่าวว่า เธอไม่ได้เร่งรีบเพื่อให้ลูกชายวัย 3 ขวบของเธอไปฉีดวัคซีน

“ฉันแค่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน ดังนั้นฉันจึงไม่ต้องการให้เขาฉีดวัคซีน อย่างน้อยที่สุด ฉันก็ไม่อยากเป็นคนแรก” หวางกล่าว

ขณะที่มีผู้ปกครองคนอื่น ๆ ไม่กังวล เนื่องจากมีคนถูกฉีดไปแล้วหลายคน โดย Wu Cong คุณแม่ของเด็กอายุ 7 ขวบกล่าวว่า โรงเรียนของลูกสาวในเซี่ยงไฮ้ยังไม่ได้แจ้งการฉีดวัคซีนใด ๆ ให้พวกเขาทราบ แต่คิดว่ามันไม่ต่างจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่มากนัก มีคนฉีดวัคซีนแล้วมากมาย เลยไม่ต้องกังวลอะไรมาก

Source

]]>
1358280
‘ซิโนเเวค’ เร่งเพิ่มกำลังผลิต ทุ่มลงทุน 2,000 ล้านบาท ตั้งศูนย์วิจัย-โรงงานวัคซีนในชิลี https://positioningmag.com/1345474 Thu, 05 Aug 2021 10:01:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345474 ซิโนเเวค’ (Sinovac) ประกาศเเผนลงทุนใหม่ ทุ่มงบเกือบ 2,000 ล้านบาท ตั้งศูนย์วิจัยโรงงานวัคซีนหลายชนิดในชิลี

โดยบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค’ เอกชนผู้ผลิตยารายใหญ่ในจีน เดินหน้าขยายฐานการผลิต เตรียมเปิดโรงงานบรรจุและปิดผนึกวัคซีนในประเทศโซนลาตินอเมริกาอย่างชิลีด้วยเงินลงทุนราว 60 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1,983 ล้านบาท)

ชิลี เป็นประเทศสามารถกระจายฉีดวัคซีนให้ประชาชนเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ส่วนใหญ่ใช้วัคซีน CoronaVac ของซิโนเเวค ที่จัดส่งไปแล้วกว่า 19.6 ล้านโดส โดยขณะนี้มีประชากรมากกว่า 60% ที่ฉีดวัคซีนแล้ว จากประชากรทั้งประเทศราว 19 ล้านคนเเต่ก็ยังมียอดติดเชื้ออยู่ในระดับสูง

โดยโรงงานเเห่งใหม่นี้ จะตั้งอยู่ใกล้เขตซันติอาโก เมืองหลวงของชิลี คาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ ภายในไตรมาสแรกของปีหน้า นอกจากนี้ ซิโนแวคยังมีแผนสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา ที่เมืองอันโตฟากัสตา ทางตอนเหนือของชิลีด้วย

ที่ผ่านมา ผู้บริหารซิโนเเวคได้ลงพื้นที่ในชิลีเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนหลากหลายชนิด ทั้งวัคซีนโควิด-19 วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ

รัฐบาลชิลี ‘เดิมพัน’ กับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของซิโนแวคไว้สูงมาก อย่างการให้ทุนบางส่วนกับธุรกิจในท้องถิ่นที่ร่วมทดลองใช้วัคซีน CoronaVac เเละมีเเผนจัดซื้อวัคซีนต่อเนื่องอีก 60 ล้านโดสในช่วง 3 ปีข้างหน้า

กระทรวงสาธารณสุขชิลี ยังระบุด้วยว่า กำลังมีการพิจารณาที่จะฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หรือ ‘Booster Shots’ เพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์ ’เดลตา’ ที่กำลังเร่งอัตราการติดเชื้อทั่วโลก

ทั้งนี้ จากข้อมูลที่เผยแพร่โดยรัฐบาลชิลี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา บ่งชี้ว่า วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค มีประสิทธิภาพที่ 58.5% ในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการในประชาชนชาวชิลีที่ได้รับวัคซีน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม ขณะที่วัคซีนของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพ 87.7% และแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิภาพ 68.7% 

การศึกษาของชิลีครั้งนี้ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มประชากรต่างๆ ที่ทั้งได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ได้รับ 1 เข็ม หรือยังไม่ได้ฉีดวัคซีน โดยกลุ่มประชากรที่ศึกษาฉีดซิโนแวค 8.6 ล้านคน ฉีดไฟเซอร์/ไบออนเทค 4.5 ล้านคน และฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2.3 ล้านคน

 

ที่มา : Reuters (1) (2) , SCMP 

 

]]>
1345474
ผลวิเคราะห์ชี้ 5 ใน 6 ประเทศที่มีการ ‘ติดเชื้อโควิดสูง’ ได้รับ ‘วัคซีนจีน’ https://positioningmag.com/1341457 Fri, 09 Jul 2021 06:33:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341457 การวิเคราะห์ของเว็บไซต์ CNBC ระบุว่า ในบรรดาประเทศที่มี ‘อัตราการฉีดวัคซีนสูง’ และ ‘อัตราการติดเชื้อ COVID-19 สูง’ ส่วนใหญ่พึ่งพา ‘วัคซีนที่ผลิตในประเทศจีน’ โดยการหาข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพวัคซีนจากจีน เนื่องจากการมาของตัวแปรเดลต้าที่แพร่เชื้อได้ดีกว่า

CNBC ระบุ 36 ประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่มากกว่า 1,000 รายต่อล้านคน ณ วันที่ 6 กรกฎาคม โดยใช้ตัวเลขจาก Our World in Data ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงองค์การอนามัยโลก รัฐบาล และนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด จากนั้น CNBC ระบุประเทศในกลุ่ม 36 ที่มีประชากรมากกว่า 60% ได้รับวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 โดส

จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยโควิดรายสัปดาห์ซึ่งปรับตามจำนวนประชากรยังคง เพิ่มสูงขึ้น ในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลกอย่างน้อย 6 ประเทศ และ 5 ประเทศ ในนั้นต้อง พึ่งพาวัคซีนจากประเทศจีน ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เซเชลส์, มองโกเลีย, อุรุกวัย และชิลี ส่วนอีกหนึ่งประเทศหนึ่งที่เหลือคือ สหราชอาณาจักรที่ไม่ได้รับวัคซีนจากจีนเป็นหลัก

  • มองโกเลีย เปิดเผยว่าประเทศได้รับวัคซีน 2.3 ล้านโดส เป็น Sinopharm ตามด้วย สปุตนิก วี ของรัสเซีย 80,000 โดส และ Pfizer-BioNTech ประมาณ 255,000 โดส
  • ชิลี ฉีดวัคซีน 16.8 ล้านโดสจาก Sinovac Biotech ได้ Pfizer-BioNTech 3.9 ล้านโดส และวัคซีนอีก 2 ชนิดในปริมาณที่น้อยกว่า 2 รายแรก
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เซเชลส์ พึ่งพาวัคซีน Sinoarm อย่างมากในช่วงเริ่มต้น แต่แต่ละแห่งเพิ่งเปิดตัววัคซีนอื่น ๆ
  • อุรุกวัย มีวัคซีนของ Sinovac เป็นหนึ่งในสองวัคซีนที่ใช้กันมากที่สุด ร่วมกับ Pfizer-BioNTech
  • สหราชอาณาจักร ได้วัคซีน Moderna, AstraZeneca-Oxford, Pfizer-BioNTech และ Janssen ผู้ติดเชื้อในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแพร่กระจายของโรคเดลต้าที่แพร่ระบาดมากขึ้น

ทั้งนี้ มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้นในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูง เพราะ วัคซีนไม่ได้ให้การป้องกัน 100% ดังนั้น ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนยังสามารถติดเชื้อได้ ในเวลาเดียวกัน ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถเจาะภูมิคุ้มกันของวัคซีนได้ดีขึ้น

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

อย่างไรก็ตาม นักระบาดวิทยามองว่า ประเทศต่าง ๆ ไม่ควรหยุดใช้วัคซีน จากประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่จำนวนของวัคซีนมีจำกัดในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง โดยหลายประเทศที่อนุมัติวัคซีนโดย Sinopharm และ Sinovac ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่ร่ำรวยกว่าสำหรับวัคซีนที่พัฒนาในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

แม้จะบอกว่าไม่ควรหยุดใช้วัคซีนจากจีน แต่เมื่อเดือนที่ผ่านมา คอสตาริกาปฏิเสธการส่งมอบวัคซีนที่พัฒนาโดยซิโนแวค หลังจากสรุปว่าไม่ได้ผลเพียงพอ แม้องค์การอนามัยโลกอนุมัติวัคซีนจาก Sinopharm และ Sinovac เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินก็ตาม

ทั้งนี้ ประสิทธิผลของวัคซีนจีนทั้งสองชนิดนั้นมีผลออกมาว่าต่ำกว่าของ Pfizer – BioNTech และ Moderna ซึ่งทั้งสองวัคซีนมีประสิทธิภาพมากกว่า 90% โดยวัคซีนของ Sinopharm มีประสิทธิภาพ 79% ในการต่อต้านการติดเชื้อโควิดตามอาการ WHO กล่าว แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนในบางกลุ่ม เช่น คนอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังไม่ชัดเจน ประสิทธิภาพของการยิง Sinovac นั้นอยู่ระหว่างประมาณ 50-80% ขึ้นอยู่กับประเทศที่ถูกจัดขึ้นในการทดลอง

Source

]]>
1341457
WHO รับรองใช้วัคซีน ‘ซิโนเเวค’ กรณีฉุกเฉินเเล้ว เเนะใช้กับกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป https://positioningmag.com/1334962 Tue, 01 Jun 2021 16:05:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334962 WHO ประกาศรับรองใช้วัคซีนซิโนเเวค’ (Sinovac) กรณีฉุกเฉินแล้ว เเนะนำใช้สำหรับกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป

องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแถลงการณ์ในวันที่ 1 มิ.. 2021 อนุมัติวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตโดยบริษัทซิโนแวค ไบโอเทคสำหรับใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน นับเป็นวัคซีนโควิดจากประเทศจีนตัวที่ 2 หลังวัคซีนซิโนฟาร์ม’ (Sinopharm) ผ่านรับรองดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา

นอกจากนี้ WHO ยังอนุมัติให้วัคซีนซิโนแวค เข้าร่วมโครงการ COVAX จัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับประเทศยากจนด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังเผชิญปัญหาขาดเเคลนวัคซีน เนื่องจากอินเดียระงับการส่งออก เพราะยอดติดเชื้อในประเทศพุ่งสูงเข้าขั้นวิกฤต

แถลงการณ์ของ WHO ระบุว่า คณะผู้เชี่ยวชาญอิสระได้แนะนำให้ใช้วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค กับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป โดยให้โดสที่ 2 ห่างจากโดสแรก 2-4 สัปดาห์ และไม่จำกัดอายุของผู้ฉีดวัคซีน เนื่องจากตามข้อมูลชี้ว่า มีแนวโน้มที่วัคซีนซิโนเเวคจะมีผลการป้องกันในผู้สูงอายุ

คณะที่ปรึกษาด้านเทคนิคของ WHO ได้เริ่มประชุมกันเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม เเละตัดสินใจอนุมัติเรื่องนี้หลังจากได้ตรวจสอบข้อมูลทางคลินิกล่าสุด เกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงแนวทางปฏิบัติในการผลิตของบริษัทเเล้ว

ทั้งนี้ วัคซีนซิโนแวค เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccines) ซึ่งผลิตโดยการนำเชื้อไวรัสมาเพาะเลี้ยงแล้วทำให้เชื้อตาย เมื่อนำมาฉีดร่างกายจะตอบสนองแบบธรรมชาติ เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันต้านเชื้อโควิด ปัจจุบันมีการจัดหาวัคซีนนี้มากกว่า 600 ล้านโดสทั้งในจีนและต่างประเทศ โดยเฉพาะในโซนแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา

สำหรับประสิทธิภาพของซิโนแวคนั้น สามารถป้องกันโรคที่แสดงอาการได้ 51% ป้องกันอาการรุนแรงและอาการป่วยหนักถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลได้ 100%

Reuters รายงานว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุมกันโรคขององค์การอนามัยโลก (SAGE) ระบุในเอกสารทบทวนประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวคก่อนหน้านี้ว่า จากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในหลายประเทศ ซิโนแวคมีผลป้องกันโควิด-19 ระหว่าง 51% ถึง 84%

ส่วนกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย เปิดเผยเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ว่าจากการศึกษาบุคลากรทางการแพทย์ 120,000 คนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค พบว่ามีประสิทธิภาพป้องกันอาการของโรค 94%

โดยวัคซีนป้องกันโควิด-19 -ของซิโนแวค เป็นวัคซีนชนิดที่ 7 ของโลก ที่ผ่านการรับรองโดยองค์การอนามัยโลก ต่อจาก วัคซีนไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค (Pfizer-BioNTech) , วัคซีนแอสตร้าเซนเนกา (AstraZeneca) , วัคซีนโควิชิลด์ที่ผลิตในอินเดีย (Covishield) , วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson), วัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) และวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm)

 

 

ที่มา : Reuters , WHO 

]]>
1334962
ผู้ผลิตวัคซีน อาจโกยรายได้ปีนี้ เกือบ 6 ล้านล้านบาท ‘ซิโนฟาร์ม-ซิโนแวค’ สัดส่วน 25% https://positioningmag.com/1334373 Fri, 28 May 2021 08:30:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334373 ในปีนี้ บริษัทวิจัยประเมินว่า บรรดาผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลก อาจทำรายได้สูงสุดเเตะ 190,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 6 ล้านล้านบาท โดยสองบริษัทจีนอย่าง Sinopharm (ซิโนฟาร์ม) เเละ Sinovac (ซิโนเเวค) โกยสัดส่วนรายได้ไปถึง 25%

Airfinity บริษัทด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ รายงานตัวเลขคาดการณ์รายได้จากการจำหน่ายวัคซีนป้องกันโควิด-19’ ของ 9 บริษัทใหญ่ เช่น Pfizer (ไฟเซอร์) เเละ Moderna (โมเดอร์นา) ของสหรัฐฯ Sinovac Biotech และ Sinopharm Group ของจีน

โดยระบุว่า กรณีการผลิตเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้ผลิตวัคซีนทั้งหลายจะทำรายได้ราวสูงสุดถึง 190,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5.9 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ สองบริษัทจากประเทศจีน จะมีสัดส่วนรายได้อย่างน้อย 1 ใน 4 (ราว 25%)

เเต่หากเกิดข้อจำกัดด้านการผลิตและปัญหาการขาดแคลน อาจทำให้ตัวเลขรายได้ของปีนี้ ลดลงมาอยู่ที่ 115,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.59 ล้านล้านบาท)

วัคซีนโควิด-19 ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนของรัฐบาลต่างๆ เพื่อฟื้นฟูสังคม และหลีกเลี่ยงต้นทุนทางเศรษฐกิจที่จะเสียหายหลายล้านล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงวัคซีนของประเทศยากจนหลายแห่ง ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากภาระค่าใช้จ่าย และการกักตุนวัคซีนในประเทศร่ำรวย

Rasmus Bech Hansen ซีอีโอของ Airfinity ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่านี่เป็นตลาดที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตัวเลขเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ใช่ว่าทุกประเทศจะสามารถจัดหาวัคซีนที่จำเป็นได้ เพราะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากเพื่อฉีดวัคซีนให้ประชากรทั้งหมด

Photo : Shutterstock

Airfinity ย้ำว่า การคาดการณ์รายได้ ขึ้นอยู่กับราคาและการที่บริษัทต่างๆ จะบรรลุเป้าหมายการผลิตและการจัดส่งหรือไม่ โดยขณะนี้มีบางบริษัทกำลังเผชิญปัญหานี้อยู่

ปัจจัยเหล่านี้ อาจทำให้จำนวนวัคซีนที่ผลิตได้จริงในปีนี้ น้อยกว่าที่เหล่าผู้ผลิตคาดการณ์ไว้ถึง 42% เเละอาจทำให้รายได้รวม ลดลงเหลือเพียง 97,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

ยกตัวอย่าง เช่น การผลิตวัคซีนของ Novavax (โนวาเเวกซ์) ในสหรัฐฯ ที่ประกาศจะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้มากกว่า 2,000 ล้านโดสในปีนี้ แต่ทาง Airfinity ประเมินว่าจะสามารถผลิตได้เพียง 400 ล้านโดส

จีนกำลังมีบทบาทสำคัญในการกระจายวัคซีนทั่วโลก หลังคู่เเข่งอย่างอินเดียต้องเจอกับวิกฤตการระบาดขั้นสาหัสทำให้ต้องระงับการส่งออกวัคซีนไปต่างประเทศชั่วคราว

Airfinity ประเมินว่า บริษัทจีนอย่าง Sinovac อาจทำรายได้จากการจำหน่ายวัคซีนมากถึง 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Sinopharm จะทำได้ 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้ทั้งสองบริษัท ทำรายได้ไปแล้วอย่างน้อยแห่งละ 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่ผ่านมา เราเคยมองว่าการส่งออกวัคซีนของจีนเป็นเครื่องมือนโยบาย ทำให้ตัวเลขรายได้ที่เเท้จริงกลับถูกมองข้ามไปจริงๆ เเล้วราคาวัคซีนของจีนไม่ได้ถูกขนาดนั้น” Bech Hansen กล่าวว่า 

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

ด้านรายได้ของ Pfizer และ Moderna บริษัทวิจัยประเมินว่า อาจทำรายได้ถึง 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ แต่ตัวเลขจริงอาจจะลดลงกว่านั้น

โดย Pfizer เองตั้งเป้าจะจำหน่ายวัคซีนที่ร่วมพัฒนากับ BioNTech ของเยอรมนีได้ราว 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน Moderna ตั้งเป้าว่าจะทำรายได้ราว 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับราคาของวัคซีนเเต่ละเจ้า ตามรายงานของ Airfinity ระบุว่า

  • Sinovac และ Sinopharm อยู่ที่โดสละ 12-23 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 375-720 บาท) 
  • Pfizer อยู่ที่โดสละ 12-14.50 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 375-453 บาท)
  • Moderna อยู่ที่โดสละ 18-32 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 563 – 1,000 บาท)
  • AstraZeneca อยู่ที่โดสละ 3.50-5.25 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 109 – 164 บาท)

ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาการซื้อขายวัคซีนที่เเตกต่างกันทำให้คาดการณ์ตัวเลขยอดขายได้ยาก เนื่องจากผู้ผลิตจะกำหนดราคา ตามระดับรายได้ของประเทศนั้นๆ เช่นกลุ่มลูกค้าประเทศร่ำรวย บริษัทจะขายให้เเพงกว่าประเทศรายได้ต่ำหรือปานกลางนั่นเอง

 

 

ที่มา : Bloomberg

 

]]>
1334373
กรณีศึกษา ‘ชิลี’ ยังมีผู้ติดเชื้อพุ่ง 9,000 ราย แม้ประชากร 40% จะฉีดวัคซีน Sinovac แล้วก็ตาม https://positioningmag.com/1328348 Tue, 20 Apr 2021 05:31:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328348 การรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ของ ชิลี เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนมากที่สูงสุดแห่งหนึ่งของโลก แต่การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เริ่มทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกินกว่าจะควบคุม ซึ่งมีทั้งปัจจัยจากการกลายพันธุ์ของไวรัส, การเดินทางที่มากขึ้น และการไม่เว้นระยะห่าง

ปัจจุบันเกือบ 40% ของประชากรทั้งหมดของประเทศแถบอเมริกาใต้ได้รับวัคซีน COVID-19 อย่างน้อยหนึ่งครั้งตามสถิติที่รวบรวมโดย Our World in Data ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งรวมถึงประเทศ ‘ชิลี’

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ชิลีกำลังเผชิญกับปัญหาผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อวันที่ 9 เมษายนมีผู้ติดเชื้อสูงกว่า 9,000 รายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การแพร่ระบาดเริ่มขึ้น ซึ่งสูงกว่าจุดสูงสุดในปีที่ผ่านมาที่มีผู้ติดเชื้อ 7,000 ราย

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นล่าสุดของประเทศส่วนหนึ่งเป็นเพราะไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังมีการผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ ประชาชนยังไม่ระวังตัวเอง โดยไม่เว้นระยะห่างและไม่สวมหน้ากากอนามัย เนื่องจากวัคซีนทำให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัย

ที่ผ่านมา รัฐบาลที่นำโดย ประธานาธิบดีเซบาสเตียน ปิเนรา ได้สั่งปิดพรมแดนของประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายนของปี 2563 แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นเล็กน้อยก็ตาม และช่วงปลายปีที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลายก็ได้เปิดพรหมแดนแก่ผู้โดยสารระหว่างประเทศอีกครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการเปิดร้านค้า, ร้านอาหาร และรีสอร์ตในช่วงวันหยุดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่การเปิดตัวการฉีดวัคซีนของประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้า แต่การแพร่กระจายของสายพันธุ์ที่รุนแรงมากขึ้น เช่น สายพันธุ์ P.1 ซึ่งพบครั้งแรกในนักเดินทางจากบราซิลทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน เนื่องจากการใช้วัคซีนของ CoronaVac เป็นวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัท Sinovac ของจีน

โดยข้อมูลระยะสุดท้ายของวัคซีนโควิดของ CoronaVac นั้นแตกต่างกันไป โดยการทดลองของบราซิลพบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพมากกว่า 50% ซึ่งมีประสิทธิภาพน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับ Pfizer-BioNTech, Moderna และ Oxford-AstraZeneca ในขณะที่นักวิจัยชาวตุรกีรายงานว่ามีประสิทธิภาพสูงถึง 83.5%

ขณะที่การศึกษาที่เผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยชิลีเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมารายงานว่า CoronaVac ได้ผล 56.5% ในสองสัปดาห์หลังจากได้รับยาครั้งที่ 2 แต่การฉีดเพียง 1 ครั้ง จะมีประสิทธิภาพเพียง 3% เท่านั้น ส่งผลให้ชิลีและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างกำลังพิจารณาที่จะฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม

“วัคซีนจะไม่หยุดการแพร่ระบาดของโรคนี้ มันไม่เพียงพอที่จะปกป้องคนที่มีความเสี่ยง ดังนั้น ไม่ใช่แค่ต้องเร่งฉีดวัคซีน แต่ต้องมีกลยุทธ์ที่ครอบคลุมและใช้มาตรการด้านสาธรณสุขที่ได้ผล” Carissa Etienne ผู้อำนวยการ PAHO กล่าว

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

เมื่อวันที่ 14 เมษายนทวีปอเมริการายงานว่ามีผู้ติดเชื้อโควิดมากกว่า 1.3 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตเกือบ 36,000 คน ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตามข้อมูลที่รวบรวมโดยหน่วยงานด้านสุขภาพของสหประชาชาติ จนถึงปัจจุบัน ทวีปอเมริกามีผู้ป่วย 58.8 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.4 ล้านคนทำให้เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดในโลก

นอกเหนือจากข้อจำกัดที่ผ่อนคลายในบางพื้นที่แล้ว Etienne ยังกล่าวอีกว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่และสามารถแพร่เชื้อได้สูง ปัจจุบัน บราซิล, โคลอมเบีย, เวเนซุเอลา, เปรู และบางพื้นที่ของโบลิเวียกำลังมีอัตราการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้น ส่วนปารากวัย, อุรุกวัย, อาร์เจนตินา และชิลีกำลังประสบกับการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วย COVID-19

Source

]]>
1328348
มาเลเซีย เตรียมฉีดวัคซีนโควิด ให้ ‘ชาวต่างชาติ’ ในประเทศ รวมผู้ลี้ภัย-เข้าเมืองผิดกฎหมาย https://positioningmag.com/1319012 Thu, 11 Feb 2021 10:42:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319012 รัฐบาลมาเลเซีย เตรียมจะฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศ รวมถึงผู้อพยพและผู้เดินทางเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วย

โดยย้ำว่า จะให้ความสำคัญในการฉีดวัคซีนให้กับชาวมาเลเซียก่อน ส่วนกำหนดการฉีดวัคซีนให้กับชาวต่างชาตินั้นจะมีการประกาศในภายหลัง

การฉีดวัคซีนถือเป็นการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม โดยสภาพเเวดล้อมที่ปลอดภัยจาก COVID-19 จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในมาเลเซียจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้มีภูมิคุ้มกันไวรัสนี้

การตัดสินใจดังกล่าว มีขึ้นหลังจากการพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราการติดเชื้อ COVID-19 ของเเรงงานต่างชาติที่อยู่ในมาเลเซียที่มีอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง เกษตรกรรมและการผลิต ซึ่งการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มแรงงานต่างชาติ นับว่ามีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากต้องมีขั้นตอนการรักษาและการกักตัว

แรงงานต่างชาติ เป็นส่วนหนึ่งในชุมชนของเรา และยังมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศด้วยแถลงการณ์ระบุ

ทั้งนี้ ชาวต่างชาติที่มีสิทธิ์ได้รับวัคซีนฟรีของทางการมาเลเซียนั้น จะรวมถึงผู้ขอลี้ภัยที่ลงทะเบียนไว้กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และชาวต่างชาติที่ไม่มีเอกสารเข้าเมืองที่ถูกต้อง หรือเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วย 

คณะกรรมการด้านจัดหาวัคซีนในมาเลเซีย จะหารือกันต่อไปว่าจะดำเนินการเรื่องการฉีดวัคซีนกับชาวต่างชาติกลุ่มนี้อย่างไร โดยอาจต้องขอความร่วมมือกับรัฐบาลของแต่ละประเทศ สถานทูตเเละองค์กรต่างๆ ให้เข้ามาช่วยเหลือในการแจกจ่ายวัคซีนครั้งนี้ด้วย

ทางการมาเลเซีย ตั้งเป้าจะฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรอย่างน้อย 80% ของประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ 32 ล้านคนให้ได้ภายใน 1 ปี 

โดย ‘เฟสแรก’ จะเริ่มขึ้นในเดือนนี้ และเสร็จสิ้นภายในเดือน เม.. ครอบคลุมบุคลากรการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด่านหน้าราว 5 เเสนคน

จากนั้นเฟสสองจะเริ่มขึ้นระหว่างเดือน เม.. – .. ฉีดให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง อย่างผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ราว 9.4 ล้านคน ต่อมาวางเเผนจะแจกจ่ายวัคซีนเฟสสามซึ่งจะเป็นช่วงสุดท้าย ระหว่างเดือน ส..ปีนี้..ปีหน้า ครอบคลุมประชาชนราว 16 ล้านคน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

ปัจจุบัน มาเลเซียสั่งจองวัคซีนป้องกัน COVID-19 หลากหลายขนาน มีทั้งวัคซีนของบริษัท Pfizer จากสหรัฐอเมริกา , วัคซีน Sinovac ของจีน และสั่งซื้อวัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย นอกจากนี้ยังเข้ารับความช่วยเหลือผ่านโครงการ COVAX ที่สนับสนุนโดยองค์การอนามัยโลกด้วย

 

ที่มา : CNA , Malaymail

]]>
1319012
“ตุรกี” เตรียมใช้งานวัคซีน Sinovac ของจีน หลังผลทดลองประสิทธิภาพสูง 91.25% https://positioningmag.com/1312105 Fri, 25 Dec 2020 13:56:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312105 รัฐบาลตุรกีจะได้รับวัคซีน “ซิโนวัค” (Sinovac) ของจีนล็อตแรกภายในอีกไม่กี่วัน และเตรียมเริ่มโครงการฉีดวัคซีนเร็วๆ นี้ หลังผลการทดลองภายในประเทศพบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ถึง 91.25%

ฟาห์เรตติน โคคา รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขตุรกี เปิดเผยว่า รัฐบาลอังการายังเตรียมลงนามสั่งซื้อวัคซีนจากไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทคจำนวน 4.5 ล้านโดส โดยมีออปชันซื้อเพิ่มได้อีก 30 ล้านโดส

สำหรับวัคซีนซิโนวัคนั้น ตุรกีจะได้รับในล็อตแรกทั้งหมด 3 ล้านโดส โดยมีออปชันสั่งเพิ่มได้อีก 50 ล้านโดส และคาดว่าจะเริ่มโครงการฉีดวัคซีนได้ภายในเดือน ม.ค. โดยเน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชากรกลุ่มเปราะบางก่อน

โคคา ระบุว่า วัคซีนจากจีนจะถูกส่งมาถึงตุรกีในวันอาทิตย์ที่ 27 ธ.ค. นี้

จากผลการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัคร 7,371 รายในตุรกีพบว่า วัคซีนของซิโนวัคให้ผลในการป้องกัน COVID-19 สูงถึง 91.25% แม้ว่าการทดลองในเฟสที่ 3 จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ตาม

รัฐบาลตุรกีตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้แก่ประชากร 1.5 หรือ 2 ล้านคนต่อวัน และโครงการฉีดวัคซีนในเฟสแรกจะครอบคลุมชาวตุรกี 9 ล้านคน

ตุรกีซึ่งมีประชากรราว 83 ล้านคน พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 แล้วกว่า 2.2 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิต 19,115 คน

Source

]]>
1312105
สรุปกลุ่ม ‘อาเซียน’ ใครได้วัคซีน COVID-19 ตอนไหน และมีแผนใช้อย่างไรบ้าง https://positioningmag.com/1311616 Tue, 22 Dec 2020 13:59:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311616 หลังจากที่มีข่าวเรื่องวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ออกมาว่าสามารถพัฒนาได้สำเร็จ ถือเป็นอีกข่าวที่จุดประกายความหวังของคนทั้งโลกที่ต้องอยู่กับความหวาดระแวงและข้อจำกัดต่าง ๆ นานนับปี ดังนั้น ลองไปดูความเคลื่อนไหวของภูมิภาค ‘อาเซียน’ กันบ้าง ว่าแต่ละประเทศมีความต้องการใช้วัคซีนมากน้อยแค่ไหน จะได้ใช้เมื่อไหร่ และวางแผนการใช้อย่างไรกันบ้าง

สิงคโปร์

ถือเป็นชาติแรกในอาเซียนและในทวีปเอเชียที่จะได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท Pfizer ในสหรัฐฯ และ Biontech ในเยอรมนีไปเมื่อคืนวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา แม้ว่าทางการสิงคโปร์จะยังไม่ได้เปิดเผยว่าวัคซีน COVID-19 ของ Pfizer ลอตแรกนี้มีจำนวนเท่าใด

street food singapore2
Photo : Shutterstock

แต่รัฐบาลสิงคโปร์จะดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนที่สมัครใจจะได้รับวัคซีน รวมทั้งจะฉีดให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สุดก่อน อาทิ บุคลากรการแพทย์ และคนสูงอายุ รวมถึงคนกลุ่มเสี่ยง ปัจจุบันยอดสะสมผู้ติดเชื้อในสิงคโปร์อยู่ที่ 58,422 ราย และเสียชีวิต 29 ราย ทั้งนี้ มีการประมาณการว่าจะมีวัคซีนจำนวนเพียงพอกับประชากรทั้งประเทศของสิงคโปร์ภายในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 5 ล้านคน

มาเลเซีย

สำหรับประเทศมาเลเซียได้บรรลุข้อตกลงกับ Pfizer ในการจัดหาวัคซีน COVID-19 จำนวน 12.8 ล้านโดสไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา และล่าสุดได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อจัดหาวัคซีน COVID-19 จาก AstraZeneca จำนวน 6.4 ล้านโดส นอกจากนี้ รัฐบาลกำลังเจรจาขั้นสุดท้ายกับ Sinovac และ CanSino ผู้ผลิตในจีนรวมถึงสถาบัน Gamaleya ของรัสเซียเพื่อจัดหาวัคซีนเพิ่ม โดยมาเลเซียตั้งเป้าจะจัดซื้อวัคซีนได้เพียงพอที่จะครอบคลุมประชากรมากกว่า 80%

(Photo by Rahman Roslan/Getty Images)

ไทย

ประเทศไทย ตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ครอบคลุม 50% ของประชากรทั้งประเทศภายในปีหน้า โดยรัฐบาลมีแผนการที่จะจัดหาวัคซีนจำนวน 26 ล้านโดส จากโครงการโคแวกซ์ ซึ่งเป็นโครงการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันภายใต้การสนับสนุนของ WHO นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการเจรจาจองซื้อวัคซีนของ AstraZeneca และ Oxford University ที่ชื่อ AZD1222 ไว้อีก 26 ล้านโดส นอกจากนี้จะจัดหาจากผู้ผลิตอื่น ๆ อีก 13 ล้านโดส

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่วัคซีนของแอสตราเซเนกา-อ็อกซฟอร์ดเป็นงานวิจัยจากต่างประเทศและประเทศไทยร่วมกัน โดยกลุ่มซีเมนต์ไทยก็ได้เข้าร่วมโครงการด้วย ทำให้บริษัท ‘สยามไบโอไซน์’ ของไทยจะได้สิทธิมาผลิต และประเทศไทยจะเป็นฐานผลิตวัคซีนนี้ภายในกลางปีหน้า และคาดว่าจะพร้อมใช้ช่วงปลายปีเพื่อป้อนสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในราคาที่เหมาะสม

เวียดนาม

ล่าสุด เวียดนามพึ่งทดสอบวัคซีนที่พัฒนาเองในชื่อ Nanocovax กับมนุษย์กับอาสาสมัคร 3 คน และเตรียมหาอาสาสมัครอีก 60 คน โดยถ้า Nanocovax ประสบความสำเร็จจะมีการเริ่มกระบวนการผลิตวัคซีนได้ในช่วงปี 2565 อย่างไรก็ตาม ทางสาธารณะสุขเวียดนามกำลังจัดหาวัคซีนจากประเทศอื่นประกอบกัน โดยกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท Pfizer และบริษัทยาอื่น ๆ ในประเทศสหรัฐฯ ประเทศอังกฤษ ประเทศจีน และประเทศรัสเซีย

Photo : Shutterstock

ฟิลิปปินส์

ประเทศฟิลิปปินส์ถือเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ COVID-19 เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน โดยมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 459,789 คน และผู้เสียชีวิต 8,947 คน จากประชากรทั้งหมดกว่า 107 ล้านคน โดยฟิลิปปินส์วางแผนซื้อวัคซีน COVID-19 จำนวน 25 ล้านโดสจาก Sinovac ซึ่งคาดว่าจะได้วัคซีนภายในเดือนมีนาคมปีหน้า นอกจากนี้ทางการฟิลิปปินส์ได้วางแผนจัดหาวัคซีนจาก moderna และ arcturus therapeutics อีกประมาณ 4-25 ล้านโดส

(Photo by Ezra Acayan/Getty Images)

ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ต้องการวัคซีนเป็นจำนวนอย่างน้อย 50 ล้านโดสภายในปี 2564 โดยวางแผนฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ คนงานในอุตสาหกรรมที่อยู่นสภาวะวิกฤต รวมไปถึงกลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ำและประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยนายโรดริโก้ ดูเตอร์เต้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ได้ออกคำสั่งให้องค์การอาหารและยาของประเทศฟิลิปปินส์ อนุมัติการใช้งานวัคซีนแบบฉุกเฉินทันที ทำให้ช่วยร่นระยะเวลาการอนุมัติวัคซีนจากขั้นตอนปกติที่ต้องใช้ระยะเวลา 6 เดือน ให้เหลือแค่ 3 สัปดาห์

อินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากรมากถึง 270 ล้านคน สูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้ออันดับ 1 ของอาเซียน โดยมีผู้ติดเชื้อรวม 650,197 คน เสียชีวิต 19,514 คน รักษาหาย 531,995 คน ติดเชื้อรายวันอยู่ที่ 7,354 คน ทำให้ประเทศอินโดนีเซียมีความต้องการวัคซีนเป็นจำนวนอย่างน้อย 246 ล้านโดส

(Photo by Algi Febri Sugita/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

ที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้สั่งวัคซีนไปแล้ว 125.5 ล้านโดสจาก Sinovac ซึ่งได้รับวัคซีนไปแล้ว 1.2 ล้านโดสในเดือนธันวาคม และจะได้อีก 1.2 ล้านโดสในเดือนมกราคมปีหน้า โดยอินโดนีเซียได้สั่งวัคซีนอีกกว่า 30 ล้านโดสจากบริษัท Novovax อีกทั้งกำลังหารือกับ Pfizer, AstraZeneca และ Covax เพิ่มเติม นอกจากนี้ อินโดนีเซียกำลังพัฒนาวัคซีนของตัวเองซึ่งชื่อว่า Merah Putih อีกจำนวนกว่า 57.6 ล้านโดสอีกด้วย

Bloomberg / nikkei

]]>
1311616
จับตา “อินโดนีเซีย” บริษัทผู้ผลิตยารายใหญ่หลายเจ้า เล็งใช้เป็นฐานผลิตวัคซีน COVID-19 https://positioningmag.com/1307049 Sat, 21 Nov 2020 01:54:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307049 บริษัทผู้ผลิตยาหลายราย เล็งใช้อินโดนีเซียเป็นฐานผลิตเเละจัดจำหน่ายวัคซีน COVID-19 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานข่าวจาก SCMP ระบุว่า Penny Lukito หัวหน้าสำนักงานควบคุมยาและอาหารแห่งชาติอินโดนีเซีย (BPOM) ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ตอนนี้รัฐบาลได้รับการติดต่อจาก Pfizer บริษัทผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของสหรัฐฯ และบริษัท AstraZeneca ของอังกฤษ รวมไปถึงผู้พัฒนาวัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการทดสอบวัคซีน COVID-19 ในอินโดนีเซีย

บริษัทเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะหา พันธมิตรธุรกิจยาในอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการทดลองหรือผลิตวัคซีนในประเทศ

ฉันคิดว่าการเเพร่ระบาดครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ทุกส่วนของอุตสาหกรรมยาของอินโดนีเซียเติบโตไม่เพียงแต่บริษัทยาของรัฐเท่านั้น  Lukito กล่าวเเละเสริมว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาในประเทศ ที่มีมูลค่าราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีความสามารถและประสบการณ์ในการผลิตวัคซีนสำหรับมนุษย์

ก่อนหน้านี้ Sinovac Biotech จากประเทศจีน ได้อนุญาตให้บริษัท Bio Farma ของอินโดนีเซียผลิตวัคซีนของ Sinovac ซึ่งคาดว่าจะมีการผลิตวัคซีนคู่ขนานจำนวน 260 ล้านโดส ซึ่งครอบคลุมประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรอินโดนีเซียทั้งหมด 270 ล้านคน ทำให้อินโดนีเซียจะกลายเป็นศูนย์กลางในการผลิตวัคซีนของ Sinovac 

นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังได้ทำข้อตกลงในการจัดหาวัคซีนจาก CanSino Biologics และ Sinopharm ผู้ผลิตยารายใหญ่ของจีนอีกเจ้าด้วย

การร่วมมือกับ Pfizer เเละผู้ผลิตวัคซีนระดับแนวหน้ารายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการทดสอบหรือการจัดหาวัคซีน จะช่วยใหอินโดนีเซียรับมือกับโรคระบาดที่รุนเเรง หลังมีผู้ติดเชื้อในประเทศไปเเล้วกว่า 483,000 คน และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 15,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

นอกจากนี้ ผลกระทบจาก COVID-19 ยังทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เกิดภาวะถดถอยครั้งแรกในรอบ 20 ปี หลังจาก GDP หดตัวร้อยละ 3.49 ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

 

]]>
1307049