THAI – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 23 May 2021 03:44:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “การบินไทย” เลิกจ้างอีก 508 คนที่ไม่เข้าร่วมโครงสร้างใหม่ คงเหลือพนักงานหมื่นคน https://positioningmag.com/1333422 Sat, 22 May 2021 14:29:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333422 การบินไทย เลิกจ้างพนักงาน 508 คน ที่ไม่เข้าร่วมกลั่นกรองเข้าสู่โครงสร้างใหม่ มีผล 31 พ.ค.นี้ โดยจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ขณะที่มีสมัครใจออก 6,725 คน เหลือพนักงาน 10,990 คน เดินหน้าฟื้นฟู

รายงานข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.30 น. บริษัทฯ ได้ออกคำสั่งที่ 018/2564 เลิกจ้างพนักงานจำนวน 508 คน ที่ไม่ประสงค์จะเดินหน้าไปกับบริษัทฯ โดยพนักงานดังกล่าวไม่แสดงความจำนงเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงไม่สมัครเข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กร โดยให้มีผลในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564

ทั้งนี้ ในการเลิกจ้างดังกล่าว บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานโดยจะจ่ายเงินตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดโดยกฏหมายแรงงาน

โดยตามที่บริษัทฯ ได้ประสบปัญหาขาดทุนสะสมต่อเนื่องมายาวนาน ประกอบกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ 2019 (COVID-19) ทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถประกอบกิจการการบินได้ตามปกติ จนกระทั่งบริษัทฯ ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการและเมื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว

Photo : Shutterstock

บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องปรับปรุงองค์กรทุกๆ ด้าน อาทิ ด้านแรงงาน ด้านการลงทุน หรือด้านกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจ เพื่อลดต้นทุนลง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดธุรกิจการบิน การปรับปรุงองค์กรดังกล่าวเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้บริษัทฯ สามารถประกอบกิจการต่อไป เพื่อให้มีกระแสเงินสดเพียงพอสำหรับชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของบริษัทฯ ให้กลับมาประกอบธุรกิจการบินได้อย่างมั่นคงและเป็นสายการบินแห่งชาติที่คนไทยภาคภูมิใจ

ด้วยเหตุดังกล่าวข้างตัน บริษัทฯ จึงได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีจำนวนพนักงานให้เหมาะสมกับปริมาณงาน และสถานะทางการเงินของบริษัทฯ ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานแสดงความจำนงเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรอง และผ่านการกลั่นกรองเข้าสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ในตำแหน่งงานถาวรจำนวน 10,733 อัตรา และตำแหน่งชั่วคราวจำนวน 257 อัตรา รวมเป็น 10,990 อัตราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ประกอบกับที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้จัดทำโครงการร่วมใจจากองค์กร (MSP) และมีพนักงานเสียสละเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 6,725 คน

โดยมีพนักงานจำนวน 508 คน ที่ไม่ประสงค์จะเดินหน้าไปกับบริษัทฯ โดยไม่แสดงความจำนงเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงไม่สมัครเข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กร

Source

]]>
1333422
“การบินไทย” เตรียมเจรจาผู้ถือหุ้นระดมทุนเพิ่ม แปลงหนี้เป็นทุน ลดขาดทุนสะสมแสนล้าน https://positioningmag.com/1325105 Thu, 25 Mar 2021 15:11:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325105 การบินไทยเร่งเจรจาหน่วยงานรัฐระดมทุนเพิ่ม และแปลงหนี้เป็นทุนอีกส่วนเพื่อล้างขาดทุนสะสม กว่า 1 แสนล้านหนุนฟื้นฟูกิจการไปรอด ยอมรับหาผู้ถือหุ้นใหม่ยาก “ชาญศิลป์” เดินหน้าปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ทำความเข้าใจพนักงาน 1 เม.ย.ประกาศผลกลั่นกรองชุดแรก

ชาย เอี่ยมศิริ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

ในแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ มีแผนระดมทุนวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท โดยครึ่งหนึ่งหรือจำนวน 2.5 หมื่นล้านบาทจะมาจากการระดมทุนจากผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจา และเพื่อไม่ให้กลับมามีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ จะต้องไม่ให้หน่วยงานภาครัฐมีสัดส่วนถือหุ้นเกิน 50% ทั้งนี้ ยอมรับว่าค่อนข้างยากในการหาผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามา

ส่วนเงินทุนอีกครึ่งหนึ่ง หรือจำนวน 2.5 หมื่นล้านบาทจะมาจากหนี้แปลงเป็นทุน และเงินกู้ โดยในแผนฟื้นฟูกิจการได้เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้หุ้นกู้ที่มีมูลหนี้ราว 7.4 หมื่นล้านบาท และเจ้าหนี้สถาบันการเงินราว 2 หมื่นล้านบาท รวมแล้วประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยให้แปลงหนี้เป็นทุนไม่เกิน 50% หรือ 5 หมื่นล้านบาท ในราคาหุ้นละ 3.86 บาท ต่ำกว่าราคาพาร์ที่ 10 บาท ซึ่งหากแปลงเต็มสิทธิจะถือหุ้นในสัดส่วน 90% และสัดส่วนผู้ถือหุ้นเดิมเหลือ 10%

“การแปลงหนี้เป็นทุนจะเหมือนกับการลดทุนจดทะเบียน และจะช่วยล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่ 1.28 แสนล้านบาท แต่ยังไม่รู้จะมีการแปลงหนี้เป็นทุนเท่าไร”

โดยโครงสร้างผู้ถือหุ้นการบินไทย ณ วันที่ 3 ก.ค. 2563 กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ที่ 47.86% กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง 17.08% ธนาคารออมสิน 2.13%

ด้านชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย กล่าวถึงการใช้โครงสร้างองค์กรใหม่ในวันที่ 1 พ.ค.นี้ว่า ภายหลังประกาศปิดรับสมัครพนักงานเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างเมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา มีพนักงานแสดงความจำนงเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองรวมประมาณ 13,500 คน จากจำนวนพนักงานทั้งหมด 17,121 คน (ไม่รวม Outsource และพนักงานสำนักงานสาขาต่างประเทศ)

ส่วนพนักงานที่สมัครเข้าโครงการ MSP B และ MSP C Block 1, 2 และ 3 ประมาณ 2,800 คน และยังมีพนักงานที่ไม่ได้ตัดสินใจแสดงความจำนง หรือเข้าร่วมโครงการ MSP ใดๆ อีกประมาณ 800 คน ซึ่งการบินไทยยืนยันว่าการปรับโครงสร้างใหม่นี้มีเป้าหมายเพื่อลดความซ้ำซ้อน และปรับระดับการบังคับบัญชาให้คล่องตัวมากขึ้น

สำหรับพนักงานประมาณ 800 คนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจนั้น หลังจากนี้จะต้องมาพิจารณาร่วมกันว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. เปรียบเทียบเงินเดือนระหว่างฐานเงินเดือนโครงสร้างเก่าและใหม่แล้วเห็นว่าไม่คุ้มค่าในการปรับเปลี่ยน 2. ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างใหม่ และ 3. มีประวัติการทำงานที่ผ่านมา อาจเป็นปัญหาทุจริตและคาดว่าจะไม่ได้รับการพิจารณาในโครงสร้างใหม่

โดยจะกลั่นกรองพนักงานเข้าโครงสร้างใหม่ระหว่างวันที่ 22-29 มี.ค. และประกาศผลวันที่ 1 เม.ย. 2564 พร้อมสื่อสารให้พนักงานทราบว่าจะเปิดให้แสดงความจำนงรอบ 2 สำหรับกลุ่มฟ้าใหม่ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่เปิดรับพนักงานทำงานชั่วคราวในฝ่ายที่มีความต้องการพนักงานสูง เช่น พนักงานเป็นลูกเรือแต่ระหว่างนี้ยังไม่สามารถทำการบินได้ ต้องเข้าร่วมโครงการฟ้าใหม่ ทำงานในฝ่ายที่มีความต้องการพนักงานไปก่อน เป็นการทำงานชั่วคราว

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะมีพนักงานเข้าร่วมกลั่นกรองสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ประมาณ 1.4 หมื่นคน ตามเป้าหมาย คงเหลือพนักงานทำงานภายใต้สัญญาเก่าราว 600 คน ซึ่งถือเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับพนักงานทั้งหมด ซึ่งจะไม่กระทบการทำงานในอนาคตของการบินไทย

Source

]]>
1325105
“การบินไทย” หารายได้เสริม จัดแพ็กเกจเปิด “ห้องจำลองการบิน” ให้ทดลองขับเครื่องบิน https://positioningmag.com/1296763 Mon, 14 Sep 2020 04:03:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296763 การบินไทยเปิดห้องจำลองการบิน (Flight Simulator) จัดแพ็กเกจ “บินตามฝัน” สัมผัสประสบการณ์ด้านการบินเสมือนจริง เพิ่มอีกธุรกิจเพื่อเสริมรายได้ช่วงการบินซบเซา ราคาเริ่มต้นที่ 12,000 บาท

นาวาอากาศตรี สรเดช นามเรืองศรี รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้แก่องค์กรในช่วงที่บริษัทฯ ยังไม่ได้ทำการบินตามปกติ บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจและที่เคยฝันอยากโบยบินบนท้องฟ้า ท่องเที่ยวไปยังดินแดนต่างๆ ที่ท่านอยากไปด้วยตัวท่านเอง ได้เห็นทัศนียภาพอันสวยงามจากมุมมองของห้องนักบิน”

ซึ่งการบินไทยมีความยินดีที่จะมอบประสบการณ์สุดพิเศษในห้องจำลองการบินแก่ท่าน โดยห้องจำลองการบิน (Flight Simulator) ของการบินไทยนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากลด้านความเสมือนจริงที่สุดในประเทศไทย ซึ่งปกติจะใช้สำหรับการฝึกนักบินคุณภาพของการบินไทยเท่านั้น

สำหรับโครงการ THAI FlyEx – Flight Simulator มีแพ็กเกจให้เลือก 3 รูปแบบ แตกต่างกันที่ระยะเวลา และรุ่นของเครื่องบิน

  1. Basic Package ราคาเริ่มต้น 12,000-13,500 บาท

สัมผัสประสบการณ์การบินแบบเริ่มต้นกับชั่วโมงบิน 30 นาที ด้วยการบินวิ่งขึ้นในวันที่สภาพอากาศแจ่มใสที่สุด โดยสามารถเลือกสนามบินเองจาก 1 ใน 3 สนามบินที่จัดเตรียมไว้ หลังจากนั้นพาคุณบินชมทิวทัศน์โดยรอบสนามบิน ทำความคุ้นเคยกับการบังคับเครื่องบิน และปล่อยให้บินด้วยตัวเองประมาณ 10 นาที และสุดท้ายกลับมาร่อนลงสนามด้วยความปลอดภัย

2. Deluxe Package ราคาเริ่มต้น 24,000-25,500 บาท

ประสบการณ์การบินสำหรับ Aviator ที่แท้จริงด้วย Deluxe Package กับชั่วโมงบิน 60 นาที สามารถเลือกช่วงเวลาสำหรับการบินได้เพื่อความสมจริงยิ่งขึ้น โดยเริ่มจาก Taxi เครื่องบินในทางขับเพื่อนำเครื่องบินเข้าส่งทางวิ่ง ตามด้วยการบินวิ่งขึ้น จากสนามบิน 1 ใน 10 ที่เลือกเอง ซึ่งเป็นสนามบินปลายทางที่สำคัญของการบินไทย มี Landmark โดดเด่นที่ได้คัดสรรมาให้จากทั่วทุกมุมโลก
หลักงจากวิ่งขึ้น พาบินชมทิวทัศน์โดยรอบ ทำความคุ้นเคยกับเครื่องบิน  และปล่อยให้คุณบินด้วยตัวเองอย่างเต็มอิ่ม ก่อนจะกลับมาสนามบินเพื่อ Touch & Go 2 รอบ และจึงร่อนลงสนามอย่างปลอดภัย

3. Ultimate Package ราคาเริ่มต้น 36,000-37,500 บาท

ประสบการณ์การบินสำหรับ Aviator ผู้สนใจในทุกรายละเอียดของการบิน The Ultimate Flight Experience กับชั่วโมงบิน 90 นาทีเต็มอิ่ม ซึ่งสามารถเลือกช่วงเวลาสำหรับการบิน และสภาพอากาศทุกชนิด เช่น พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง หมอก เป็นต้น เพื่อความสมจริงที่สุด
หลักงจากวิ่งขึ้น พาบินชมทิวทัศน์โดยรอบ ทำความคุ้นเคยกับเครื่องบิน และปล่อยให้คุณบินด้วยตัวเองอย่างเต็มอิ่ม ก่อนอนจะกลับมาสนามบินเพื่อ Touch & Go และจึงร่อนลงสนามด้วย Autopilot ในสภาพอากาศที่หมอกลงจัดและทัศนวิสัยเลวร้าย

สำหรับผู้เข้าใช้บริการจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี และไม่เกิน 65 ปี ระเริ่มเปิดโครงการในเดือนตุลาคมนี้

]]>
1296763
“การบินไทย” ขาดทุนย่อยยับกว่า 28,000 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกของปี 63 https://positioningmag.com/1292530 Fri, 14 Aug 2020 06:36:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292530 การบินไทยแจ้งผลประกอบการปี 63 ไตรมาสที่ 1 ขาดทุนกว่า 22,000 ล้านบาท ไตรมาสที่ 2 ขาดทุนอีกกว่า 5,000 ล้านบาท COVID-19 ทำให้หยุดบิน ผู้โดยสารเหลือ 80,000 คน ทำรายได้ลด 94%

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศจำเป็นต้องดำเนินมาตรการควบคุมและจำกัดการเดินทางอย่างเข้มงวด ทำให้ปริมาณความต้องการเดินทางทั้งในประเทศและระหว่างประเทศลดลงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ บริษัทฯ จึงได้ปรับลดเที่ยวบินให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารที่ต้องการเดินทาง รวมทั้งมีมาตรการและการบริหารจัดการด้านการเงินและกระแสเงินสดอย่างเคร่งครัด”

โดยไตรมาสที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 38,001 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 11,790 ล้านบาท หรือ 23.7% สาเหตุสำคัญเนื่องจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง

สำหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 42,609 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 8,010 ล้านบาท (15.8%) บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 22,676 ล้านบาท ในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไร 456 ล้านบาท

สำหรับไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ของปี 2563 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของโลกอย่างรุนแรง อีกทั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ประกาศห้ามอากาศยานขนส่งผู้โดยสารทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมดเป็นการชั่วคราว โดยบริษัทฯ ยังคงดำเนินมาตรการต่างๆ ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนอย่างเข้มงวดและรักษาสภาพคล่องทางการเงินเพื่อให้บริษัทฯ สามารถมีเงินสดในมือให้มากที่สุด โดยไตรมาสนี้ได้ทำการบินเฉพาะเที่ยวบินขนส่งสินค้าเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ (Charter Flight) และเที่ยวบินพิเศษเพื่อนำคนไทยกลับบ้าน

ทำให้มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ลดลง 96.5% ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 99.5% อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 10.3% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนเฉลี่ยที่ 74.7% และมีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 0.08 ล้านคน ลดลงจากปีก่อน 98.6%

สำหรับด้านการขนส่งสินค้ามีอัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 99.9% สูงกว่าปีก่อนที่เฉลี่ยที่ 52.8% เนื่องจากบริษัทฯ หยุดทำการบินชั่วคราว ทำให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยขาดรายได้จากธุรกิจการบิน แต่มีรายได้ในส่วนอื่นทดแทน ได้แก่ รายได้จากการขนส่งสินค้า การจัดเที่ยวบินพิเศษการให้บริการสายการบินลูกค้า การจำหน่ายอาหารจากครัวการบิน

ทำให้บริษัทฯ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 2,492 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 40,017 ล้านบาท หรือ 94.1% แต่ในไตรมาสที่ 2 นี้บริษัทฯ มีการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น อีกทั้งคณะกรรมการบริษัทฯ ฝ่ายบริหารและพนักงานร่วมกันสมัครใจปรับลดเงินเดือนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม 2563 เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่บริษัทฯ

ทำให้มีค่าใช้จ่ายรวม 16,193 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 33,428 ล้านบาท (67.4%) ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 5,353 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 1,525 ล้านบาท (22.2%)

Source

]]>
1292530
“การบินไทย” จ้าง 4 บริษัทที่ปรึกษา ทำแผนฟื้นฟูธุรกิจ https://positioningmag.com/1288246 Thu, 16 Jul 2020 14:12:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288246 การบินไทยยันจำเป็นจ้าง 4 บริษัทที่ปรึกษาเป็นไปตามระเบียบ ถูกต้อง โปร่งใส ราคาเหมาะสม มีประสบการณ์ในการทำแผนฟื้นฟู

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการบริษัทฯ รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้บริษัทฯ ต้องหยุดทำการบินชั่วคราว ส่งผลกระทบให้บริษัทฯ ขาดสภาพคล่อง และบริษัท การบินไทยฯ ต้องยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ซึ่งศาลล้มละลายกลางได้กำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 นั้น

บริษัทฯ ตระหนักดีว่าหากบริษัทฯ ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ จะส่งผลให้บริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อบริษัทฯ เจ้าหนี้ พนักงานของบริษัทฯ ผู้ลงทุน ประชาชน และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นรายได้หลักที่สำคัญของประเทศ และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องเป็นวงกว้าง

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ต้องได้รับการยอมรับและความเชื่อถือจากทุกภาคส่วน ทั้งลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ พันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ รวมถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร บริษัทฯ จึงมีความจำเป็นต้องว่าจ้างที่ปรึกษา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านต่างๆ ในระดับโลก เพื่อมาช่วยดำเนินการให้บริษัทฯ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการและจัดทำแผนฟื้นฟูฯ ให้แล้วเสร็จได้อย่างราบรื่น

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติเห็นชอบให้บริษัทฯ ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา โดยให้ดำเนินการตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างฯ อย่างถูกต้องและโปร่งใสในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาในอัตราที่เหมาะสม และเป็นไปตามขอบเขตของงาน (Term of Reference) ในการว่าจ้างทุกราย ได้แก่

– บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายและสัญญา

– บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาด้านโครงสร้างทางการเงิน

– บริษัท แมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจการบิน (Airline Expert) เป็นที่ปรึกษาด้านการวางแผนธุรกิจในอนาคต (Airline Business) ที่อยู่ภายใต้แผนฟื้นฟู

– บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นผู้ทำแผนร่วม โดยบริษัท อีวายฯ เป็นบริษัทที่มีใบอนุญาต (License) เป็นผู้ทำแผนตามข้อกำหนดของกรมบังคับคดี และเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในการเป็นผู้ทำแผนมาเป็นระยะเวลายาวนานในประเทศไทย

บริษัทฯ ขอความกรุณาให้ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทฯ ทุกภาคส่วน มีความมั่นใจว่าบริษัทฯ มีความจริงใจและตั้งใจที่ดำเนินการด้านต่างๆ ด้วยความโปร่งใส และบริษัทฯ ขอความกรุณาให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รวมทั้งสื่อมวลชนได้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพื่อนำพาการบินไทยกลับมาเป็นสายการบินแห่งชาติของคนไทยที่สร้างรายได้และความภาคภูมิใจให้ประเทศไทยต่อไป

Source

]]>
1288246
บอร์ด “การบินไทย” ประกาศไม่รับค่าตอบแทนรายเดือน ตั้งแต่มิถุนายนเป็นต้นไป https://positioningmag.com/1281349 Sun, 31 May 2020 03:52:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281349 บอร์ดการบินไทยประชุมนัดแรกหลังยื่นศาลล้มละลาย ฟื้นฟูกิจการ ประกาศไม่รับค่าตอบแทนรายเดือน ตั้งแต่ มิ.ย. เพื่อช่วยเหลือองค์กร

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัทฯ ครั้งพิเศษ โดยมี พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานกรรมการบริษัท การบินไทยฯ เป็นประธาน พร้อมด้วยกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ทั้ง 3 คน ได้แก่ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค, นายบุญทักษ์ หวังเจริญ และนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์

โดยในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ร่วมใจช่วยเหลือองค์กรโดยไม่รับค่าตอบแทนรายเดือนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 เป็นต้นไป ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ร่วมใจลดค่าตอบแทนรายเดือนลง 50% ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา

นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ และครอบครัวไม่ได้รับสิทธิบัตรโดยสารฟรี และสิทธิประโยชน์ใดๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริษัทฯ และผลการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในปี 2557 ให้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการของรัฐวิสาหกิจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

Source

]]>
1281349
“การบินไทย” แจงบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ทำให้ยังไม่สามารถคืนค่าบัตรโดยสารได้ตอนนี้ https://positioningmag.com/1281015 Thu, 28 May 2020 08:17:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281015 การบินไทยออกโรงชี้แจงกรณีผู้โดยสารขอคืนค่าบัตรโดยสาร พบว่ามีการแชร์ข้อมูลว่าตอนนี้มีคนขอคืนนับแสนล้านบาท แต่การบินไทยยังไม่มีจ่าย ตอนนี้ออกมาชี้แจงว่าอยุ่ในกระบวนการฟื้นฟู กฎหมายไม่ให้คืนเงินได้

โดยทางการบินไทยได้ชี้แจงทางเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ขอเรียนให้ทราบว่า ด้วยสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องหยุดทำการบินชั่วคราว และผู้โดยสารจำนวนมากไม่สามารถเดินทางได้ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้อำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนแปลงการเดินทาง โดยขยายอายุบัตรโดยสาร เปลี่ยนบัตรโดยสารให้เป็น Travel Voucher ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับราคาบัตรโดยสารเดิม การขอคืนเงินค่าบัตรโดยสาร (Refund) ภายใน 180 วัน โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

อย่างไรก็ดี ขณะนี้บริษัทฯ ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้การพิจารณาของศาลล้มละลายกลางแล้ว บริษัทฯ จึงถูกบังคับด้วยข้อกฎหมายทำให้ยังไม่สามารถชำระคืนเงินค่าบัตรโดยสารได้ในขณะนี้

บริษัทฯ ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงที่ไม่อาจชำระเงินคืนให้ลูกค้ารายต่างๆ ได้ชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ขอเรียนว่าบริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะดูแลลูกค้าที่ขอคืนค่าบัตรโดยสาร (Refund) อย่างดีที่สุดภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการอย่างแน่นอน โดยจะแจ้งถึงสิทธิของท่าน และความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีฟื้นฟูกิจการทางช่องทางต่างๆ ต่อไป

ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อหาทางแก้ไขวิกฤตการณ์ของบริษัทฯ ร่วมกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกฝ่าย และขอให้ผู้โดยสารมั่นใจว่า บริษัทฯ ยังคงดูแลผู้โดยสารที่ถือบัตรโดยสารของการบินไทย รวมถึงสมาชิกรายการสะสมไมล์ รอยัล ออร์คิด พลัส ทุกท่าน โดยเชื่อมั่นว่าบริษัทฯ จะสามารถก้าวผ่านวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ และกลับมาเป็นองค์กรที่ให้บริการด้านการบินที่แข็งแกร่ง เพื่อความภาคภูมิใจของประชาชนชาวไทย และเพื่อผู้โดยสารทุกท่านในฐานะลูกค้าคนสำคัญของบริษัทฯ เสมอมา

อนึ่ง บริษัทฯ ขอขอบพระคุณที่ลูกค้ามีความเข้าใจและให้การสนับสนุนกิจการของบริษัทฯ มาโดยตลอด บริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินการต่าง ๆ เพื่อก้าวผ่านอุปสรรคครั้งใหญ่ของบริษัทฯ ในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทฯ สามารถกลับมาประกอบการอย่างแข็งแกร่งได้ต่อไป

]]>
1281015
“คลัง” ขายหุ้นการบินไทยให้กองทุนวายุภักษ์แล้ว ถือหุ้นเหลือ 47.86% สิ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ https://positioningmag.com/1280221 Fri, 22 May 2020 14:50:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280221 คลังขายหุ้นการบินไทยให้กองทุนวายุภักษ์ 3.17% รวมมูลค่า 278 ล้านบาท คาด การบินไทยแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ 24 พ.ค.

รายงานข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันนี้ 22 พ.ค. 2563 กระทรวงการคลังได้ขายหุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ให้กองทุนวายุภักษ์แล้วจำนวน 69 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 4.03 บาท รวมมูลค่าประมาณ 278 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.17% โดยเป็นการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ

การซื้อขายหุ้นดังกล่าว ทำให้กระทรวงการคลังถือหุ้นบริษัทการบินไทยจาก 51.03% เหลือ 47.86% ส่งผลให้บริษัทการบินไทยสิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจทันที

กระทรวงการคลังได้แจ้งการขายหุ้นให้บริษัทการบินไทย กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รับทราบแล้ว แต่เรื่องการแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นหน้าที่ของบริษัทการบินไทยจะเป็นผู้แจ้ง ในวันจันทร์ที่ 24 พ.ค.นี้

Source

]]>
1280221
“การบินไทย” โยก 5 บิ๊กบริหาร “ฝ่ายขาย-บริหารรายได้-รองกก.ผจก.ใหญ่” https://positioningmag.com/1278873 Fri, 15 May 2020 14:24:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278873 จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการคนที่ 2 รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามคำสั่งการบินไทย 2 ฉบับ เรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย โดยมีคำสั่ง ที่ 067/2563 เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานระดับบริหาร

โดยระบุว่า คณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการประชุมครั้งพิเศษที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 มีมติรับทราบการแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานระดับบริหาร ดังนี้

1. นายวิโรจน์ ศิริโหราชัย ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหารรายได้และบริการการพาณิชย์ (DR) และรักษาการ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหารพันธมิตรการบินและกลยุทธ์การพาณิชย์ (รักษาการ s8) ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหารรายได้และบริการการพาณิชย์ (DR) เพียงตำแหน่งเดียว

2. นายนนท์ กลินทะ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขาย (SS) และรักษาการ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย-ญี่ปุ่น เกาหลี และอเมริกา (รักษาการ NN-2) ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหาร พันธมิตรการบิน และกลยุทธ์การพาณิชย์ (S8)

3. นายวิวัฒน์ ปิยะวิโรจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการพาณิชย์ (DN) และรักษาการ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่หน่วยธุรกิจบริการการบิน (รักษาการ D1) ดำรงตำแหน่งรักษาการ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขาย (รักษาการ SS) อีกตำแหน่งหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังพบว่า มีคำสั่งอีกฉบับ ที่ 066/2563 แต่งตั้งโยกย้าย คณะกรรมการฝ่ายบริหารงานนโยบายบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการประชุม ครั้งที่ 18/2563 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563 มีมติอนุมัติการแต่งตั้งโยกย้ายพนักงาน สังกัดสายการพาณิชย์ (DN) ดังนี้

1. นายวิเศรษฐ์ สนธิชัย ผู้อำนวยการฝ่ายขาย-กลุ่มอนุทวีปอินเดีย (BKKNN-4) (ระดับ 10) ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารประสบการณ์ลูกค้า (SR)

2. นายทวิโรจน์ ทรงกำพล ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์สายการพาณิชย์ (S8-1) ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายขาย-กลุ่มอนุทวีปอินเดีย (รักษาการ NN-4) อีกตำแหน่งหนึ่ง

Source

]]>
1278873
เปิดปฏิบัติการกู้ชีพ “การบินไทย” ต่อลมหายใจเฮือกสุดท้าย ทุ่มหมื่นล้านลดพนักงาน 6,000 คน https://positioningmag.com/1277647 Sat, 09 May 2020 08:23:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277647 ปฏิบัติการกู้ชีพ “การบินไทย” เริ่มเห็นรูปเห็นร่างกันบ้างแล้ว เมื่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติหลังการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เห็นชอบ “แผน” แก้ไขปัญหาการบินไทยทั้งระยะสั้น และระยะยาว

คลังค้ำเงินกู้

สาระสำคัญของเรื่องอยู่ตรงที่การอนุญาตให้สายการบินแห่งชาติแห่งนี้สามารถ “กู้เงิน” เพื่อเสริมสภาพคล่องขององค์กร โดยให้ “กระทรวงการคลัง” เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้

จากนั้นขั้นตอนต่อไปก็คือ นำเรื่องเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบและผ่อนปรนเงื่อนไขการกู้ที่รัฐวิสาหกิจซึ่งมีผลขาดทุนติดต่อกันเกิน 3 ปีกู้เงินได้ เพื่อให้การบินไทยสามารถดำเนินการกู้เงินได้ ซึ่งแม้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา จะยังไม่ได้มีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. แต่ก็พอเห็น แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ บ้าง

นี่คือการ “คลายล็อก” ที่สำคัญยิ่ง เพราะ ณ เวลานี้กล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า การบินไทย “ถังแตก” และถ้าไม่มีเงินเข้ามาเสริมสภาพคล่องย่อมหนีไม่พ้นเดินหน้าไปสู่ภาวะ “ล้มละลาย”

และแน่นอนว่า ผู้ที่จะรับความเสี่ยงจากเงินกู้ก้อนนี้ก็คือ กระทรวงการคลัง ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลกำลังใช้ภาษีของประชาชนคนไทยทั้งประเทศเพื่อกอบกู้การบินไทย

ก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ฐานะการดำเนินงานของ THAI ย่ำแย่หนัก ขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน

  • ปี 2560 ขาดทุนสุทธิ 2,107.35 ล้านบาท
  • ปี 2561 ขาดทุนสุทธิ 11,625.17 ล้านบาท
  • ปี 2562 ขาดทุนสุทธิ 12,042.41 ล้านบาท

มียอดขาดทุนสะสม 19,383.39 ล้านบาท และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ประเมินว่า ปี 2563 นี้ THAI ยังคงขาดทุนหนักต่อไปในระดับกว่า 1 หมื่นล้านบาท

ขณะที่สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานว่าการบินไทย ณ เดือน ก.พ.2563 มีหนี้สะสม 1.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ในประเทศ 101,511 ล้านบาท และหนี้ต่างประเทศ 47,209 ล้านบาท

“ถึงอย่างไรก็ต้องรักษาบริษัทการบินไทยฯ ไว้ แต่ต้องมีเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลง ต้องดีขึ้น ต้องจริงจังด้วย และจะเป็นจุดเริ่มต้น เราไม่อยากให้องค์กรนี้ล้มหายตายจาก” นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานติดตามแผนฟื้นฟูบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวก่อนหน้าที่จะนำแผนฟื้นฟูบริษัทการบินไทยเข้าสู่การพิจารณาของ คนร.

เงินกู้ 50,000 ล้าน

จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า คนร.เห็นชอบให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้บริษัทการบินไทย วงเงิน 50,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องระยะสั้นให้กับบริษัทจนถึงสิ้นปีนี้ จากที่บริษัทการบินไทยเสนอขอให้กระทรวงการคลังค้ำ 70,000 ล้านบาท เพราะจะให้บริษัทการบินไทยไปเร่งเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ในประเทศ เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และเจ้าหนี้ต่างประเทศ รวมถึงให้การบินไทยทำแผนปรับลดค่าใช้จ่ายลง ซึ่งจะช่วยให้เงิน 50,000 ล้านบาทใช้ได้เพียงพอ โดยจะเริ่มกู้ได้ภายในเดือน พ.ค.นี้ หลังครม.มีมติเห็นชอบ ซึ่งก็ไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม การค้ำประกันเงินกู้จะทยอยกู้ออกมาใช้ได้เป็นระยะตามที่แผนฟื้นฟูกำหนด ไม่ได้กู้ออกมาใช้เป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียวเพื่อกระตุ้นให้การบินไทยเร่งปรับตัวให้ได้ตามแผน รวมทั้งจะมีการปรับโครงสร้างการกำกับดูแลการบินไทย และคณะกรรมการการบินไทย ให้อยู่ในกลุ่มรัฐวิสาหกิจประเภท 3 แทนจากเดิมอยู่ประเภท 2 ซึ่งจะยกเว้นกฎระเบียบบางเรื่องให้เกิดความคล่องตัว โดยเฉพาะการคัดเลือกบุคลากรให้มีคุณภาพมาช่วยบริหารการบินไทยให้อยู่รอดได้

“เพื่อให้ บริษัท การบินไทย สามารถสนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนของประเทศได้อย่างยั่งยืน” นั่นคือเหตุผลที่นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ชี้แจงหลังการประชุม คนร.

แน่นอน ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการบินไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะต้องไม่ลืมว่า ปัญหาของการบินไทย ไม่ได้มีแต่การขาดสภาพคล่อง ที่คลังเตรียมใส่เงินลงไปแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ยังมีปัญหาด้านผลประกอบการที่ยังโงหัวไม่ขึ้นทั้งก่อนและหลังจากเกิดสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ระบาด

โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ยิ่งทำให้ธุรกิจการบินทั่วโลกตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงโดยไม่มีทีท่าว่าจะสามารถกลับมาเหมือนเดิมได้เมื่อไหร่ ด้วยประชาชนยังคงหวาดระแรงจากไวรัสมรณะ ซึ่งหมายความว่าการเดินทางของผู้คนจะลดน้อยถอยลงตามไปด้วย

สายการบินต่างชาติล้มละลาย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ สายการบินใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลียอย่าง Virgin Australia ซึ่งกลายเป็นสายการบินแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย-เเปซิฟิก ที่เข้าสู่กระบวนการ “ล้มละลาย” พนักงานกว่าหมื่นคนเสี่ยงตกงานกะทันหัน

ในขณะที่สายการบินอีกหลายเเห่งในเอเชียต้อง “ชะลอเเผนธุรกิจ” จากเดิมที่มีเเผนจะควบรวมกิจการ ซื้อกิจการหรือซื้อเครื่องบินใหม่ เปลี่ยนมาเปลี่ยนเเค่พยุงธุรกิจให้รอดวิกฤต COVID-19 นี้ไปก็พอ รวมถึงขอให้ผู้โดยสารรับเงินคืนเป็น “เครดิต” เเทนเงินสดในยามธุรกิจย่ำเเย่ไร้เงินหมุน

Photo : Shutterstock

Paul Scurrah ซีอีโอของ Virgin Australia กล่าวว่า การตัดสินใจยื่นขอล้มละลายครั้งนี้เป็นไปเพื่อที่จะต่อชีวิตของสายการบิน และแสดงให้เห็นถึงภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นจาก COVID-19 ซึ่งหลังจากนี้จะมีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและการเงินของบริษัทต่อไป

ขณะที่มหาเศรษฐีอย่าง “วอเรนต์ บัฟเฟตต์” ประธานกลุ่มบริษัทโฮลดิ้งข้ามชาติ “เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์” ก็เปิดเผยกับนักลงทุนในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีเมื่อวันที่ 2 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า บริษัทได้ขายหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมการบินทั้งหมด เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสายการบินทั่วโลก หลังจากที่เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ขาดทุนเกือบ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 1/2020

ในช่วงเดือน เม.ย. ที่ผ่านมาเบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ได้ทยอยขายหุ้นของหลายสายบินสหรัฐฯ โดยเบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ได้ขายหุ้นของสายการบิน “เดลตาแอร์ไลน์” 13 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าราว 314.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวที่หุ้นของสายการบิน “เซาธ์เวสต์แอร์ไลน์” ก็ถูกขาย 2.3 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่นายบัฟเฟตต์จะเปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทเบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ได้ตัดสินใจขายหุ้นสายการบินทั้งหมด

ทั้งนี้ เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ได้ถือครองหุ้นในสายการบินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา 4 สายบินในสัดส่วนราว 10% ของแต่ละสายการบิน โดยนอกจากเดลตาแอร์ไลน์และเซาธ์เวสต์แอร์ไลน์ เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ยังถือครองหุ้นใน “อเมริกันแอร์ไลน์” และ “ยูไนเต็ดแอร์ไลน์” ซึ่งมีสัดส่วนลูกค้ามากถึง 80% ของผู้โดยสารการบินในสหรัฐฯ

(Photo by Mario Tama/Getty Images)

อย่างไรก็ตาม นายบัฟเฟตต์ระบุว่า นี่ไม่ใช่ความผิดของผู้บริหารสายการบินแต่เป็นผลจากมาตรการจำกัดการเดินทางที่ผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัส “ผมอาจจะคิดผิดและผมหวังให้ความคิดของผมผิดพลาดที่ว่า ธุรกิจสายการบินกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” โดยเขากล่าวกับนักลงทุนว่า “เราชื่นชอบสายการบินเหล่านี้ แต่โลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และผมไม่รู้ว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร”

ก่อนหน้านี้ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ประเมินว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะต้องการมาตรการช่วยเหลือและเงินสนับสนุนจากรัฐมูลค่าประมาณ 1.5-2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้รอดพ้นวิกฤตครั้งนี้ มิฉะนั้นแล้วการระบาดของไวรัส COVID-19 จะส่งผลให้หลายสายการบินต้องล้มละลาย หรือเกิดการควบรวมกิจการ

ล่าสุด IATA ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์ความสูญเสียรายได้ของธุรกิจการบินโลกว่า ขณะนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.14 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สูงขึ้นกว่าการประเมินครั้งก่อนเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเคยประเมินไว้ที่ 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 เกิดมาตรการ “ล็อกดาวน์” ในหลายประเทศส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงมาก การที่จะฟื้นฟูเส้นทางบินระหว่างประเทศ “ล่าช้า” กว่าที่เคยคาดไว้ เเละจำนวนผู้โดยสารในปีนี้ลดลงถึง 55% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

เงินกู้แค่ต่อลมหายใจ

เพราะฉะนั้นการที่ คนร.ตัดสินใจอุ้มการบินไทยและจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติจึงมิได้หมายความว่า การทำธุรกิจของการบินไทยจะประสบความสำเร็จและเดินหน้าต่อไปได้ เพราะเงินกู้ที่เติมเข้าไปเป็นเพียงแค่ “เครื่องช่วยหายใจ” ในยามที่สถานการณ์ร่อแร่

หากแต่จะต้องมีการผ่าตัดใหญ่การบินไทยเพื่อกำจัด “จุดอ่อน” ที่มีอยู่ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว เพราะตราบใดที่การบินไทยไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง โอกาสที่เงิน 5 หมื่นล้านที่จะเติมเข้าไปจะหายวับไปกับตาก็มีเปอร์เซ็นต์ที่สูงยิ่ง

ขณะเดียวกันยังต้องเร่งสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) คนใหม่และคณะกรรมการชุดใหม่ที่มีความสามารถเพื่อให้ขับเคลื่อนแผนฟื้นฟู THAI ให้เดินไปข้างหน้าได้ ซึ่งการสรรหาคณะกรรมการ และดีดี จะเป็นเรื่องของผู้บริหารในกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม เพื่อให้การกำกับดูแลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

กางแผนฟื้นฟู

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลใน “แผนฟื้นฟูกิจการของ บมจ.การบินไทยปี 63-67” ที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีการอนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 63 นั้น การบินไทยได้เสนอแผนฟื้นฟู ได้กำหนด 3 ยุทธศาสตร์หลักคือ

1. ปรับโครงสร้างองค์กร ให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงานใหม่กระชับขึ้นและมีสายการบังคับบัญชาสั้นลง กำหนดเวลาทำให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 4 ปีนี้ โดยกำหนดแนวทางดังนี้

  • ปรับกระบวนการทำงาน โดยลดกิจกรรมที่ซ้ำซ้อน ล่าช้าไม่จำเป็น หรือไม่ก่อให้เกิดคุณค่า (Value) และเป็นการสูญเสีย (Waste), ควบรวมหน่วยงานที่มีงานซ้ำซ้อน และเพิ่มกระบวนการทำงานที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งกำหนดงานที่ทำแทนได้และมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า ด้วยการ Outjob
  • ศึกษาและกำหนดช่วงการควบคุม (Span of Control) ที่เหมาะสม
  • พิจารณาความเป็นไปได้ในการแบกหน่วยธุรกิจ เพื่อหารายได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยจะแยกธุรกิจต่างๆ ของการบินไทย ออกมาเป็นบริษัทลูก ภายใต้การถือหุ้นใหญ่ของการบินไทย ที่จะปรับสถานะป็นบริษัทโฮลดิ้ง

สำหรับ 4 ธุรกิจที่จะแยกออกมาเป็นบริษัทลูกที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ครัวการบิน บริการภาคพื้น คลังสินค้า (คาร์โก) การซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือฝ่ายช่าง

2. ด้านบุคลากร ตามแผนฟื้นฟูจะทบทวนกำลังคนให้สอดคล้องกับการบริหารประสิทธิภาพต้นทุนและกำลังผลิต โดย ณ 29 ก.พ. 63 การบินไทยมีบุคลากร 21,332 คน มีวิธีการดังนี้

  • ลดจำนวนพนักงานด้วยความสมัครใจ
  • ลดจำนวนพนักงานด้วยเกณฑ์ที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน
  • วิเคราะห์อัตรากำลังที่เหมาะสม หลังลดฝูงบินและปรับโครงสร้างองค์กร โดยลดพนักงานและรับพนักงานใหม่ทดแทนในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้มีบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จไตรมาส 4 ปี 63

ทั้งนี้ การบินไทยต้องใช้งบฯ 8,850 ล้านบาท เพื่อลดพนักงานในประเทศ 5,867 คน ภายใน 3 ปี เป็นค่าใช้จ่ายปี 63 จำนวน 2,549 ล้านบาท โดยลดพนักงานในไทย 1,369 คน และต่างประเทศ 154 คน

3. แผนปรับประสิทธิภาพและค่าตอบแทน โดยให้ปรับสิทธิประโยชน์ผลตอบแทนให้พนักงานที่มีรายได้ทั้งหมดรับภาระภาษีเงินได้เอง, ทบทวนเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลา, ทบทวนสิทธิบัตรผู้โดยสารพนักงาน, ทบทวนประเภทและอัตราเงินเพิ่มพิเศษต่างๆ อาทิ License และอื่นๆ, ทบทวนสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำต่างประเทศ, ทบทวนสิทธิประโยชน์พนักงานเกษียณอายุ เป็นต้น โดยได้กำหนดเวลาให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอฝ่ายบริหารและบอร์ดการบินไทยเดือน พ.ย.นี้ กำหนดงบฯที่ใช้เพื่อจูงใจให้พนักงานยอมเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง มารับภาระภาษีเงินได้เอง 2,480 ล้านบาท และมีค่าที่ปรึกษาดำเนินการอีก 50-130 ล้านบาท

ส่วนแผนฟื้นฟูการบินไทยระยะที่ 2 คือ การเพิ่มทุน 80,000 ล้านบาท และการปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ เพื่อให้การบินไทยกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง รวมทั้งจะมีการพิจารณาลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในการบินไทยลง จาก 51.03% เหลือ 49% เพื่อปลดการบินไทยออกจากสถานะของความเป็นรัฐวิสาหกิจ

นอกจากนี้ยังมีแผนยกเลิกเส้นทางบินรวมกว่า 20 จุดบิน และลดจำนวนเครื่องบินลงเหลือ 64 ลำ จากปัจจุบันมีเครื่องบิน 82 ลำ โดยจะมีการขายเครื่องบินออกจากฝูงบินออกไป 18 ลำ พร้อมทั้งยกเลิกแผนการจัดหาฝูงบินใหม่ 38 ลำ วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ตามแผนฟื้นฟูที่จัดทำขึ้น จากประมาณการงบกำไรขาดทุนตามแผนฟื้นฟูปี 2563-2567 พบว่า ปีนี้การบินไทยจะต้องประสบปัญหาการขาดทุนหลักหักภาษี 59,062 ล้านบาท แต่การบินไทยจะเริ่มทำกำไรได้ในปี 2564 ถ้าได้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูที่จัดทำขึ้นอย่างจริงจัง โดยปี 2564 การบินไทยจะมีกำไรหลังหักภาษี 4,519 ล้านบาทและจะเพิ่มขึ้นทุกปีตามแผนฟื้นฟูจนปี 2567 การบินไทยจะมีกำไรถึง 13,702 ล้านบาท

ขณะที่ นายนเรศ ผึ้งแย้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท การบินไทย ให้ความเห็นว่า สหภาพฯและพนักงานพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งในมุมมองพนักงานนั้นเห็นว่า การฟื้นฟูการบินไทย ไม่ใช่เพียงกู้เงินหรือเพิ่มทุนเท่านั้น แต่จะต้องมีการปรับโครงสร้างบริษัทก่อน เพื่อตอบโจทย์ให้ได้ว่า การดำเนินธุรกิจเป็นอย่างไร โครงสร้างเป็นอย่างไร ขนาดองค์กรแค่ไหน และมีพนักงานเท่าไร เพราะหากโครงสร้างและวิธีการทำงานยังเหมือนเดิม ใส่เงินเข้าไปเท่าไรก็สูญเปล่า และทุกอย่างก็จะแย่เหมือนเดิม

ที่ผ่านมา การบินไทย มีแผนฟื้นฟู เมื่อปี 2552-2554 แต่ล้มเหลวเพราะมีหนี้สินและมีผลขาดทุนเพิ่ม ต่อมาปี 2558 มีแผนฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ก็ยังเหมือนเดิม สาเหตุคือ แผนเขียนไว้อย่าง แต่ทำอีกอย่าง แผนให้หารายได้เพิ่ม ขายตั๋วผ่านออนไลน์เพิ่ม แต่ทำไม่ได้ โครงสร้างองค์กรที่มีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาซ้ำซ้อน เพิ่มตำแหน่งระดับบริหาร ที่มีผลตอบแทนสูงมากๆ รวมถึงการปรับระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (EVP) จากพนักงานเป็นสรรหาและใช้สัญญาจ้าง ที่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม

ส่วนการปรับลดคนลง นั้น ในอดีต การบินไทย เคยใช้งบกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อจัดโครงการเกษียณอายุก่อน เป้าหมายลดบุคลากร 2,000 คน แบบสมัครใจ ปรากฏว่า คนที่ลาออกคือ คนที่มีช่องทาง มีงานใหม่รองรับจะลาออกเพื่อรับเงินก้อน ส่วนคนอยู่ต่อ เพราะไม่มีที่ไป เป็นภาวะสมองไหล คนเก่งออกหมด เพราะรับกับระบบของการบินไทยไม่ได้ แผนลดพนักงานล้มเหลว ดังนั้น ครั้งนี้หากต้องลดพนักงาน ควรมีการประเมินความสามารถเพื่อคัดคนก่อน ไม่เช่นนั้นคนเก่งจะออกหมด

ดังนั้น นับจากนี้เป็นต้นไป คนการบินไทยจะรับผิดชอบเงินภาษีของประชาชนที่เข้าไปช่วยต่อลมหายใจและร่วมกันพลิกฟื้นองค์กรของตัวเองให้กลับมาให้จงได้ตามแผนฟื้นฟูที่วางเอาไว้

แต่คำถามสำคัญที่ “รัฐบาลไทยและประชาชนคนไทย” จะต้องช่วยกันขบคิดก็คือ ถ้าอัดฉีดงบประมาณเข้าไปแล้ว และสถานการยังไม่ดีขึ้น ประเทศไทยจะยังคง “อุ้มการบินไทย” อีกต่อไปหรือไม่ และจำเป็นแค่ไหนที่จะคงสภาพความเป็น “รัฐวิสาหกิจ” เอาไว้เหมือนเดิม

ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่การบินไทย 5 อันดับแรก ประกอบด้วย 1.กระทรวงการคลัง 51.03%, 2.กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 7.56%, 3.กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 7.56%, 4.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 3.28% และ 5.ธนาคารออมสิน 2.13%

ขณะที่การตัดสินใจปลดแอกการบินไทยจากความเป็น “รัฐวิสาหกิจ” ก็หมายความว่า จะมีการนำทรัพยากรของชาติให้ตกเป็นของเอกชน ซึ่งก็ต้องมาชั่งน้ำหนักความได้เสียว่าอะไรจะดีกว่าประเทศชาติมากกว่ากัน เพราะการบินไทยมีศักยภาพในการทำธุรกิจเพียงแต่ที่ผ่านมามี “รูโหว่” ซึ่งทำให้เกิดการขาดทุนสะสมมาอย่างยาวนาน รวมถึงประเด็นสำคัญคือจะเป็นการ “เตะหมูเข้าปากหมา” หรือไม่ เพราะอาจหมายถึงการเอื้อต่อภาคเอกชนในการเข้ามาครอบครองสมบัติของชาติ

ไม่ใช่เรื่องง่ายในยามที่ธุรกิจการบินอยู่ในช่วงขาลงทั่วโลกสำหรับการบินไทยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

“นี่เป็นโอกาสสุดท้าย ที่จะดูแลได้ ไม่ให้แย่ไปกว่านี้ ปรับปรุงทั้งหมด ทั้งกรรมการ โครงสร้าง ผู้บริหาร สหภาพต้องร่วมมือกันด้วย ถ้าไม่ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูจะเกิดปัญหาลำบากกว่านี้ การฟื้นฟูมีประมาณ 10 ประการ ที่ต้องทำให้ได้ การให้เงินกู้ไม่ใช่ให้ไปแล้ว นำไปใช้หมดแล้วทุกอย่างเป็นเหมือนเดิม ไม่อยากก้าวล่วงอำนาจของใครทั้งสิ้น แต่ต้องมีมาตรการเหมาะสม ขอให้ติดตามความก้าวหน้าต่อไป ขอให้ทุกคนความร่วมมือไม่เช่นนั้นไปไม่ได้แน่นอน ทั้งเรื่องการขายตั๋ว การลดรายจ่าย ที่เกินความจำเป็น ผมให้เวลาแก้ไขมา 5 ปี แต่ไม่สำเร็จ จึงขอความร่วมมือครั้งสุดท้ายนะครับ”พล.อ.ประยุทธ์กล่าวซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ว่าหนักหนาสาหัสเพียงใด

Source

]]>
1277647