Working – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 31 Jul 2023 05:37:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลวิจัยเผย ทำงาน 4 วันดีต่อพนักงาน ลดเบิร์นเอาต์ บริษัทมีรายได้เพิ่ม 15% หลังทดลองมา 1 ปี https://positioningmag.com/1439336 Sun, 30 Jul 2023 12:17:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439336 ผลวิจัยได้ชี้ถึงการทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 1 ปีนั้นพบว่าให้ผลดีต่อพนักงาน โดยลดอาการเบิร์นเอาต์ ขณะเดียวกันก็สร้างผลดีให้กับบริษัท ซึ่งเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทมากถึง 15% ด้วย ซึ่งหลายบริษัทเองก็ไม่ต้องการที่จะกลับไปให้พนักงานทำงาน 5 วันแล้วด้วย

ผลวิจัยจาก 4 Day Week Global ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ได้ออกผลวิจัยชี้ถึงผลดีของการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ หลังจากที่องค์กรดังกล่าวได้เริ่มการทดลองในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นระยะเวลา 12 เดือน และพบข้อดีทั้งในเรื่องของร่างกายและจิดใจของพนักงานเป็นอย่างมาก

ผลวิจัยที่ได้จาก 41 บริษัทพบว่าระยะการทำงานของพนักงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด ล่าสุดอยู่น้อยกว่า 33 ชั่วโมงจากเดิมนั้นมากกว่า 38 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งใกล้แตะเป้าหมายที่ 32 ชั่วโมง หรือ 4 วันต่อสัปดาห์ ถ้าหากคิดการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

95% ของพนักงานที่เข้าร่วมนั้นมองว่าอยากให้มีการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์หลังจากนี้ 69% ของจำนวนพนักงานที่ได้เข้าร่วมการทดลองดังกล่าวพบว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ลดปัญหาการเบิร์นเอาต์

ขณะเดียวกันบริษัทที่ได้ทำการทดลองการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์นั้นไม่มีบริษัทใดเลยที่จะหันกลับไปทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ โดยบริษัทต่างๆ ให้คะแนนในการทดลองดังกล่าวมากถึง 8.7 จากคะแนนเต็ม 10 นอกจากนี้ในการทดลองยังเห็นรายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้น 15% อีกด้วย

โดยรายงานดังกล่าวได้เปิดเผยมาแล้วหลังจากได้ทดลองมาเป็นระยะเวลา 6 เดือน และบริษัทที่เข้าร่วมการทดลองนั้นมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเฉลี่ย 8% ด้วย

นักวิจัยให้เหตุผลว่าการลดเวลาลงนั้นมาจากบริษัทต่างๆ ได้หาวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แทนที่จะพึ่งพาการเพิ่มความเข้มข้นในการทำงานของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น การประหยัดเวลาจากการประชุม การสื่อสารที่คล่องตัวขึ้น และบรรยากาศของสำนักงานทำงานที่ทำให้พนักงานมีสมาธิมากขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลดีต่อการทำงานของพนักงาน

นอกจากนี้ผลการทดลองทำงาน 4 วันนั้นยังชี้ว่าส่งผลทำให้พนักงานลาออกน้อยลง ส่งผลในการเก็บพนักงานที่ดีในองค์กรได้อีกด้วย อย่างไรก็ดีถ้าผลวิจัยที่ได้ถามพนักงานว่าถ้าหากกลับไปทำงาน 5 วันส่วนใหญ่นั้นตอบว่าจะต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มเติมให้กับพนักงานด้วย แต่พนักงานอีก 10% ชี้ถึงต่อให้จ่ายเงินเพิ่มก็ไม่ทำงานเพิ่มเป็น 5 วันอยู่ดี

]]>
1439336
เปิดผลทดลองทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน พนง.เหนื่อยน้อย-ลาป่วยลด บริษัทรายได้เพิ่ม https://positioningmag.com/1425115 Thu, 06 Apr 2023 09:38:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425115 เพราะความอยากรู้ว่าการมีวันหยุดลองวีคเอนด์ 3 วันทุกสัปดาห์ จะมีผลเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและบริษัทอย่างไร นักวิจัยจำนวนหนึ่งจึงจัดมหกรรมการทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในโลกที่ประเทศอังกฤษ โดยร่วมกับบริษัท 61 แห่งและพนักงานรวม 2,900 คนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2564 ปรากฏว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นดีมากจนบริษัทส่วนใหญ่ในการทดลองบอกว่าจะยังคงยึดเกณฑ์ทำงาน 4 วันต่อไป ไม่เปลี่ยนกลับไปทำงาน 5 วันอีกแล้ว

พนักงานส่วนใหญ่ในการทดลองนี้รายงานว่าได้รับประโยชน์เต็มที่จากการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เช่น ความเครียดน้อยลงและความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานดีขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพนักงานจะทำงานน้อยลง แต่รายได้ส่วนใหญ่ยังคงเท่าเดิม และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนเดียวกันของปีก่อน

การทดลองนี้ดำเนินการในหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่การตลาด การเงิน ไปจนถึงองค์กรไม่แสวงหากำไร และแสดงให้เห็นว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์สามารถนำไปใช้ได้สำเร็จในหลายเซ็กเมนต์ แต่อย่างไรก็ตาม การทำงาน 4 วันใช้ไม่ได้กับทุกคน เพราะมี 8% ของบริษัทที่เลือกกลับไปทำงาน 5 วัน เพราะระดับความเร่งรีบที่นำไปสู่ความเครียดที่ต่างกัน

การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์นั้นอาจเป็นสิ่งที่หลายคนนึกภาพไม่ออกว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะรูปแบบการทำงานที่ลดจำนวนวันลงนี้ แปลว่าบริษัทจะต้องจ่ายเงินพนักงานเต็ม 100% เพื่อแลกกับเวลาของพนักงานที่หดเหลือ 80% จากที่เคยได้รับ

work from anywhere
Photo : Shutterstock

จนในช่วงไม่นานมานี้ โครงการทดลองที่ถูกเรียกกันว่า 4-day workweek experiment ได้เริ่มนำร่องในสหราชอาณาจักร โดยมีบริษัท 61 แห่งเข้าร่วมการทดลองใช้รูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ และเปิดโอกาสให้พนักงานมีวันหยุดทุกสัปดาห์พร้อมรับค่าจ้างเต็มใบ

ปรากฏว่าโปรเจกต์นี้ประสบความสำเร็จอย่างมากโดยมากกว่า 90% ของบริษัทที่เข้าร่วม ต้องการใช้รูปแบบการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ต่อไป โดยมีทั้งกลุ่มที่ต้องการขยายเวลาทดลอง และกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงถาวร

บริษัทที่เข้าร่วมการทดลองรอบประวัติศาสตร์นี้มีหลายขนาด ตั้งแต่ร้านอาหารท้องถิ่นขนาดเล็ก ไปจนถึงบริษัทการเงินและเทคโนโลยีขนาดใหญ่ วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือเพื่อทำความเข้าใจการรักษาระดับประสิทธิภาพการทำงานในขณะที่ให้พนักงานมีเวลาว่างมากขึ้น ซึ่งผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า พนักงานยอมรับถึงความรู้สึกเหนื่อยหน่ายที่ลดลง (71%) และยอดวันลาป่วยก็ลดลงด้วย (65%)

พนักงานฟิลกู้ด บริษัทรู้สึกดี

ไม่เพียงพนักงานที่ฟิลกู้ด แต่บริษัทก็รู้สึกดีเพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยรายงานที่เผยแพร่โดย Autonomy ซึ่งเป็นเว็บไซต์คลังไอเดียของสังคมคนอังกฤษ มีการอ้างอิงจากการวิจัยของนักวิชาการจากวิทยาลัยบอสตันของสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของสหราชอาณาจักร ว่ารายได้โดยรวมของบริษัทในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน และบริษัทส่วนใหญ่รู้สึกพึงพอใจที่ยังคงรักษาประสิทธิภาพการทำงานไว้ได้

work from anywhere
Photo : Shutterstock

ตรงนี้ Charlotte Lockhart ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของกลุ่ม 4 Day Week Global ซึ่งสนับสนุนสัปดาห์การทำงานที่สั้นลงเหลือ 4 วัน ออกมาสรุปว่าการทดลองในสหราชอาณาจักรนั้นครั้งนี้ย้ำว่า การลดชั่วโมงทำงานลงนั้นสามารถมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ได้

อย่างไรก็ตาม รายงานยังเน้นย้ำว่ารูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์นั้นใช้ไม่ได้กับทุกคน โดย 8% ของบริษัทเลิกใช้รูปแบบดังกล่าวในช่วงทดลอง หนึ่งในบริษัทกลุ่มนี้คือ Studio Don ซึ่งเป็นสตูดิโอออกแบบบูติกในลอนดอน

4 วันไม่ใช่คำตอบของทุกคน

Thomas Seddon ผู้ก่อตั้ง Studio Don เล่าผ่านรายงานวิจัยว่าหลังจากเริ่มต้นธุรกิจมา 1 ปี บริษัทได้ทดลองเปลี่ยนแปลงเวลางานเป็น 4 วันต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ส่งผลดีสำหรับบริษัทและทีมงาน เนื่องจากทุกฝ่ายประสบกับความเครียดมากขึ้น ไม่ได้ลดน้อยลงอย่างที่เป็นในหลายบริษัท โดยพบว่าทุกสิ่งที่ทีมงานและบริษัทต้องทำนั้นไม่เข้ากับตารางงานที่บีบรัด บริษัทจึงตัดสินใจย้ายกลับไปใช้โครงสร้าง 5 วันเรียบร้อย

แต่การทดลองนี้ทำให้ Studio Don ได้เรียนรู้ถึงข้อดีของความยืดหยุ่น ซึ่งยิ่งตอกย้ำว่าบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องออกแบบจำนวนวันต่อสัปดาห์ที่เหมาะสมและสอดรับกับอุตสาหกรรมเฉพาะของแต่ละบริษัท รวมถึงต้องปรับนโยบายให้เหมาะกับภาพรวมการทำงาน ความท้าทายขององค์กร โครงสร้างแผนก และวัฒนธรรมการทำงาน ตัวอย่างเช่น บางบริษัทหยุดการขายส่งในวันศุกร์ ขณะที่บางบริษัทเปลี่ยนการกำหนดวันหยุดในหมู่พนักงาน และบางบริษัทตัดสินใจปล่อยให้ทีมหรือบุคคลวางแผนเองว่าจะจัดสัปดาห์การทำงานอย่างไร

Asian woman work from home during corona virus, COVID-19 out break use laptop for teleconference with her teamates

David Frayne หนึ่งในนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ที่อยู่เบื้องหลังการศึกษาวิจัยนี้ ตั้งข้อสังเกตว่า ขั้นต่อไปของการศึกษา ควรจะมุ่งเน้นไปที่วิธีที่ผู้นำธุรกิจ สหภาพแรงงาน และรัฐบาลสามารถทำงานร่วมกันเพื่อสร้างรูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ที่เป็นผลดีกับทุกฝ่ายที่สุด ซึ่งจะทำให้ได้ผลการทดลองที่ลงลึกกว่าผลรอบนี้

สำหรับผลการทดลองรอบนี้ ไฮไลต์ไม่ได้อยู่ที่พนักงานกลุ่มตัวอย่างที่รายงานว่ามีความพึงพอใจในการทำงานเพิ่มขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น และคุณภาพการนอนหลับดีขึ้นเท่านั้น แต่การทดลองพบว่าอุตสาหกรรมที่ต้องการคนทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เช่น พยาบาลและแพทย์ผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือฉุกเฉินเบื้องต้น นั้นไม่สามารถกำหนดชั่วโมงการทำงานที่สั้นลงได้เลย

อย่างไรก็ตาม การระบาดใหญ่ทำให้พนักงานในอุตสาหกรรมนี้ต้องการความยืดหยุ่นได้มากขึ้น เพื่อจะได้ปรับปรุงความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานต่อไป

สำหรับบริษัทไทย ใครจะเริ่มลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ก่อนดี?

ที่มา :Washington Post, Adn, QZ, ABCNews

]]>
1425115
ยอดว่างงานพุ่ง 7.3 แสนคน ซ้ำเติม ‘อาชีวะ-ป.ตรี’ จบใหม่ คนตกงาน ‘ยาวเป็นปี’ เพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1348525 Wed, 25 Aug 2021 08:32:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348525 สภาพัฒน์ เผยตัวเลขอัตราว่างงานของคนไทย ไตรมาส 2 เเตะ 7.3 แสนคน ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ซ้ำหนักนักศึกษาจบใหม่ตกงานลากยาวเป็นปีเพิ่มขึ้น เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลกลุ่มคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงถึงภาวะสังคมไทยในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564 โดยมีประเด็นที่น่าสนใจอย่างการว่างงานของประชาชนคนไทยยังอยู่บนความเสี่ยง

โดยล่าสุด อัตราการว่างงาน อยู่ที่ระดับ 1.89% ลดลงเล็กน้อยจาก 1.96% ในไตรมาส 1 ของปี 2564 คิดเป็นผู้ว่างงานทั้งสิ้นราว 7.3 แสนคน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง

สิ่งที่จะต้องจับตาดูในช่วงนี้คือกลุ่มผู้ว่างงานโดยไม่เคยทำงานมาก่อนหรือผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 10.04% ซึ่งขณะนี้มีอยู่กว่า 2.9 แสนคน ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 4.4 แสนคน ลดลง 8.38%  

เเรงงานทักษะสูง หางานยาก-ตกงานยาว 

เมื่อพิจารณาระยะเวลาของการว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานมีแนวโน้มว่างงานนานขึ้น โดยผู้ว่างงานนานกว่า 12 เดือน มีจำนวน 1.47 แสนคน เพิ่มขึ้น 1.2 เท่าจากช่วงเดียวกันของไตรมาสที่แล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็น 3.18% และ 3.44% ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า การว่างงานในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะสูง

ภาพรวมตลาดแรงงานเเม้จะปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ

โดยไตรมาสสอง ปี 2564 การจ้างงานเพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการจ้างงานภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น 2.4% จากการเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานของแรงงานที่ว่างงานและถูกเลิกจ้าง และราคาสินค้าเกษตรที่จูงใจ

ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.8% โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากได้แก่

  • สาขาก่อสร้าง 5.1%
  • สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร 5.4%
  • สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า 7.1%

ด้านสาขาการผลิต และการขายส่ง/ขายปลีก การจ้างงานหดตัว’ ลง 2.2% และ 1.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ การจ้างงานที่หดตัวในสาขาการผลิต ซึ่งใช้แรงงานเข้มข้นเป็นหลัก ขณะที่สาขาการผลิตเพื่อการส่งออกมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ สาขาเครื่องคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง และยานยนต์ 

Photo : Shutterstock

ชั่วโมงการทำงาน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติที่ 41.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 8.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแรงงานที่ทำงานล่วงเวลามีจำนวน 6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 32%

การว่างงานในระบบ ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีจำนวน 3.1 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนต่อผู้ประกันตน 2.8% ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยแต่ยังคงสูงกว่าสถานการณ์ปกติ

ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมีจำนวน 32,920 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวนเพียง 7,964 คน

ผลกระทบจากการระบาดที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมาตรการควบคุมการระบาด ส่งผลต่อความสามารถในการหารายได้ของแรงงาน

กลุ่มที่ทำงาน WFH ได้ยังมีน้อย 

มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงและมีแนวโน้มจะลดลงมากกว่าการระบาดในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อการจ้างงาน/การมีงานทำและรายได้ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้

ทั้งนี้ ลูกจ้างภาคเอกชนที่สามารถทำงานที่บ้านได้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด มีเพียง 5.5% หรือมีจำนวน 5.6 เเสนคน จาก 10.2 ล้านคนเท่านั้น และมีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระจำนวน 7.3 ล้านคน ที่จะได้รับผล
กระทบ  

Photo : Shutterstock

“ธุรกิจส่วนใหญ่พยายามคงการจ้างงานเอาไว้ แต่อาจจะมีการลดค่าจ้าง และอาจทำให้มีจำนวนผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ส่วนแนวโน้มการว่างงานในไตรมาส 3 นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง”

เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานจะส่งผลให้แรงงานมีความเปราะบางมากขึ้น ทางสภาพัฒน์เเนะนำว่า ภาครัฐจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือที่ เข้มข้นกว่า การช่วยเหลือจากการระบาดในระลอกที่ผ่านมา เช่น

ช่วยสนับสนุนค่าจ้างบางส่วนให้กับผู้ประกอบการเพื่อรักษาการจ้างงาน

ให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่แรงงานผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากมาตรการควบคุมการระบาด หรือมีความจำเป็น ต้องกักตัว เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้าย ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการปรับตัวของแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน และผู้จบการศึกษาใหม่ 

จากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้แรงงานเคลื่อนย้ายกลับสู่ภูมิลำเนา ซึ่งมีทั้งแรงงานถูกเลิกจ้างและกำลังแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานส่งผลให้ผู้ว่างงานในแต่ละภูมิภาคมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันพบว่า ผู้ที่ว่างงานหางานลดลง เนื่องจากมีความกังวลต่อสถานการณ์และแรงงานที่กลับไปทำงานในภูมิลำเนา มีแนวโน้มประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมทักษะอาชีพอิสระที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้สะดวก และฝึกฝนได้ด้วยตนเอง

 

]]>
1348525
ก้าวใหม่ FWD กับ ‘เดวิด โครูนิช’ ซีอีโอสไตล์ Young At Heart เปลี่ยนภาพประกันชีวิตให้ ‘สนุก’ https://positioningmag.com/1336958 Tue, 15 Jun 2021 05:35:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336958 ผมวาดฝันไว้ว่า วันใดวันหนึ่งผู้คนจะตื่นมาพร้อมกับความรู้สึกที่ว่าพวกเขาควรจะมีประกัน

นี่คือหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของเดวิด โครูนิช(David Korunic) ผู้ทำงานรันวงการไฟเเนนซ์เเละประกันมายาวนานเกือบ 4 ทศวรรษ

บรรยากาศของออฟฟิศกลางใจเมืองที่พนักงานหัวเราะสนุกสนาน เเต่งตัวตามสบาย พูดคุยกับซีอีโออย่างเป็นกันเอง เป็นจุดเล็กๆ ที่ทำให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานเเบบใหม่ที่เขาได้นำมาใช้ในองค์กร เพื่อสลัดภาพธุรกิจประกันที่เคร่งขรึมสู่การทำงานเเบบสตาร์ทอัพที่เน้นความสร้างสรรค์เเละเเตกต่าง

เดวิด เล่าถึงราวชีวิตคร่าวๆ ให้ฟังว่า เขาเกิดเเละเติบโตในนิวซีเเลนด์ จุดพลิกผันเกิดขึ้นเมื่อเขาตัดสินใจมาท่องเที่ยวพักร้อนเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ เเละไม่คาดคิดว่าหนึ่งปีหลังจากนั้น เขาจะได้ใช้เวลามากกว่าครึ่งชีวิตในเอเชีย เเละสร้างครอบครัวในประเทศไทย

เขาเริ่มทำงานด้านไฟเเนนซ์ในอินโดนีเซีย ขยับไปฮ่องกง เคยไปอยู่เกาหลีใต้ จีน ย้ายมาสิงคโปร์ บุกเบิกประกันสุขภาพโซนอาเซียนกับ ‘Allianz’ ค่อยๆ เลื่อนตำเเหน่งขึ้นมา เเละมาอาศัยอยู่ในไทยหลายปี พร้อมขึ้นตำเเหน่งซีอีโอของกรุงไทยแอกซ่า’ โดยเมื่อปลายปี 2019 ที่ผ่านมาได้ข้ามค่ายมานั่งเเท่นบิ๊กบอสของ FWD ประเทศไทย

“FWD เป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวได้เพียง 8 ปี ท่ามกลางคู่เเข่งที่อยู่มาเป็น 100 ปี นี่คือโอกาสที่เราจะปั้นเเบรนด์ให้เเตกต่าง เเละสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการนี้”

มองมุมกลับ ปรับมุมมอง

เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้เขาเลือกมาอยู่กับ FWD นั่นก็คือปรัชญาขององค์กรที่มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อประกันชีวิต นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ในเส้นทางอาชีพของเขา

เดิมทียุคสมัยพ่อเเม่ บริษัทประกันถูกมองว่าสร้างความกลัวให้ลูกค้า กลัวต้องตาย กลัวต้องป่วย ไร้ความเห็นอกเห็นใจ มีภาพลักษณ์ในเเง่ลบ มาวันนี้เขาต้องการเปลี่ยนภาพนั้น ด้วยการปรับธุรกิจประกันให้สื่อสารอย่างเป็นมิตร เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ทำให้รู้สึกว่ามีเเล้วหายห่วงเเละเป็นไปในรูปเเบบสนุกสนาน

ไม่มีใครคิดหรอกว่า ตื่นขึ้นมาเเล้วอยากซื้อประกันจังเลย เรามักซื้อประกันในยามที่จำเป็นต้องใช้ จึงนำมาสู่การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้าถึงชีวิตผู้คน โดยที่พวกเขาไม่ต้องรู้สึกกดดันหรืออึดอัด ต้องสื่อสารสิ่งที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ใช้คำง่ายๆ เเต่ตรงประเด็นเเละน่าเชื่อถือ เปลี่ยน Mistrusting เป็น Trustworthy”

No More Drama

ในช่วงวิกฤตโรคระบาด พฤติกรรมเเละไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันมาใช้เวลาบนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อหาความบันเทิงในยามสถานการณ์ตึงเครียด เริ่มหาความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน

FWD จึงจับเทรนด์ ‘Micro Moments’ มาเป็นกลยุทธ์ในสร้างการรับรู้ของเเบรนด์ผ่านคอนเซ็ปต์ Celebrate living ที่นำอินไซต์ของคนยุคนิวนอร์มอล มาสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า พร้อมใช้ Entertainment Marketing ส่งต่อเรื่องราวสร้างเเรงบันดาลใจ กระตุ้นความสุข ตรงข้ามกับโฆษณา ‘เรียกน้ำตา’ ที่ทำคล้ายๆ กันมา

“If you enjoy , you remember … คนเราถ้าสนุกกับอะไร ก็จะจำสิ่งนั้นได้” เดวิดกล่าว

เขาบอกอีกว่า ‘เพลง’ เเละ ‘วิดีโอ’ เป็นสื่อบันเทิงหลักที่ผู้บริโภคคนไทยชื่นชอบและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งผ่านมา FWD ใช้สิ่งนี้เป็นสื่อกลางการสื่อสาร อย่างเเคมเปญโรเเมนติกคอมเมดี้อย่าง ‘น้อง.พี่.ที่รัก(ษา)’ เเละเพลง ‘ทุกก้าวไป’ ที่ร้องโดยตู่ ภพธร ซึ่งเป็นเพลงฟังที่ในร้านอาหารได้ ไม่ใช่เเค่ผ่านเเอดโฆษณา เเละให้ความสำคัญกับ Storytelling บอกเล่าเรื่องราวผ่านสารคดีเพลง ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีโมเมนต์ที่ทุกคนเข้าถึง

นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารเเบรนด์ผ่านอาหาร โดยทำ ‘รสชาติไอศกรีมของ FWD’ ร่วมกับ Guss Damn Good

“ใครจะคิดว่าจะมีรสไอติมของบริษัทประกัน…ต่อไปนี้เราจะไปอยู่ทุกที่ ให้ทุกคนเห็นเรา คุ้นเคยกับเรา ค่อยๆ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของลูกค้า”

ประกันยุคใหม่ : เสิร์ฟตามไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่ ‘อายุ’ 

กลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจประกันชีวิต อยู่ในช่วงวัย 35-55 ปี เเละส่วนใหญ่เป็น ‘Older Generation’ เเต่ตอนนี้คนรุ่นใหม่ก็หันมาสนใจซื้อประกันมากขึ้น

เราจะออกผลิตภัณฑ์ตามไลฟ์สไตล์ ที่ไม่ใช่เเค่ตัวเลขอายุ คนอายุมากอาจจะมีหัวใจวัยรุ่น ดังนั้น เราจึงโฟกัสไปที่บริการในสิ่งที่ลูกค้าอยากได้”

เเม้ในช่วงล็อกดาวน์ คนจะต้องอยู่บ้านไม่ได้เจอพบปะสังสรรค์ ไม่ได้ไปธนาคาร ไม่ได้เจอตัวเเทน เเต่จากการสำรวจพบว่า ลูกค้ายังอยากเจอผู้คน การซื้อประกันจึงเป็นไปแบบไฮบริดคือลูกค้าหาข้อมูลจากออนไลน์ เเต่พอจะตัดสินใจซื้อจริงๆ มักจะต้องโทรหรือวิดีโอคอล ให้เห็นหน้าเห็นตากัน

ขณะเดียวกัน จุดประสงค์การซื้อประกันก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น เมื่อก่อนคนจะซื้อเพื่อลงทุน เเต่หลังโควิด-19 เริ่มดูที่การคุ้มครอง การดูเเลรักษาพยาบาลอย่างจริงจัง

โดยผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ามองหามากที่สุดตอนนี้ คือกลุ่มสุขภาพที่ผ่านมาบริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อจับตลาดนี้โดยเฉพาะ อย่าง ‘OPD คุ้มครบ จบหายห่วง’ เเละ FWD Precious CARE แผนคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย พร้อมขยายความคุ้มครองลูกค้าที่แพ้วัคซีนด้วย

เดวิด บอกว่า ที่ผ่านมาบริษัทประกันไม่ค่อยออกผลิตภัณฑ์คุ้มครอง OPD (ผู้ป่วยนอก) จะมีบ้างเเต่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไขเยอะ ข้อจำกัดเยอะ เป็นโอกาสตลาดที่ FWD จะเข้าไปเจาะลูกค้าที่มีความต้องการส่วนนี้ เพราะพวกเขาอยากได้ประกันที่ซื้ออะไรเเล้วครั้งเดียวจบ ไม่ใช่ใครขายถูกเเล้วชนะ เเต่เป็นการที่ใครบริการได้ดีที่สุด

เมื่อถามถึงสถานการณ์ที่ว่าเเม้ประกันสุขภาพจะบูม เเต่คนไม่มีเงินจ่ายเบี้ย ซีอีโอ FWD มองว่า

ผมคิดว่ามันเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา คนรายได้ลดลง ต้องใช้เงินเพื่อดำรงชีวิตไว้ก่อน ประหยัดไว้ก่อน ดูปัจจัย 4 ไว้ก่อน เเต่ตอนนี้ประกันสุขภาพก็กำลังจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตไปเเล้ว”

โดยพื้นฐานลูกค้าประกันเเต่ละประเทศที่เคยทำงานมา จะต่างกันที่สิ่งเเวดล้อมเป็นหลัก เช่น อินโดฯ จะชอบลงทุน เเต่ออสเตรเลียจะไม่ค่อยซื้อประกันสุขภาพ เพราะมีระบบสาธารณสุขรองรับอยู่เเล้ว ส่วนคนไทยเเม้จะมี 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นโครงการที่ดี เเต่ผู้คนยังต้องการความสะดวกสบาย ไม่ต้องรอคิวนาน ก็หันมาซื้อประกันสุขภาพมากขึ้น

สำหรับตลาดประกันในไทยที่มีมูลค่ารวม 6 เเสนล้านบาท นั้น ‘ยากที่จะคาดการณ์ต้องดูการกระจายวัคซีน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เเละระยะเวลาในการเปิดประเทศ

เปลี่ยนเเปลงจาก ‘ภายใน’ 

การที่จะพลิกโฉมธุรกิจได้ ต้องเริ่มจากการดิสรัปต์ในบริษัทก่อน ซึ่งเดวิดยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเพราะต้อง ‘Rebuild’ วัฒนธรรมองค์กรใหม่หลังควบรวมกับ SCBLIFE ก้าวขึ้น ‘เบอร์สอง’ ในตลาดประกัน โดยจะเน้นไปที่การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล ที่ไม่ใช่เเค่ย้ายไปอยู่บนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เเต่หมายถึงการใช้ AI , Machine learning , Robotics , อัพสกิลพนักงานเเละเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่

อย่างเช่น การเทรนนิ่งพนักงานช่วงโควิด-19 ที่รูปแบบการขายเปลี่ยนไปเยอะ ต้องปรับมาเทรนนิ่งออนไลน์ มีการพบปะลูกค้าเเบบ face to face ผ่านหน้าจอ เปลี่ยนการนำเสนอ อบรมเป็นกลุ่มเล็กลงฯลฯ

ขณะเดียวกัน ต้อง ‘Repurpose’ เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้คิดสร้างสรรค์เเละทำให้เเตกต่าง โดยการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการคิดไอเดียใหม่ ทำงานเเบบ  Hot- Desk เเต่งตัวได้ตามสบาย ไม่รู้สึกกดดัน อยากที่จะเปลี่ยนเเปลงเเละกล้าเเสดงความคิดเห็น รวมถึงการมีค่าตอบเเทนที่ดี สวัสดิการที่ครอบคลุมการใช้ชีวิต

เราต้องเชื่อในตัวพนักงาน เชื่อในความสามารถพวกเขา ว่ามีความรับผิดชอบเเละเป็นตัวเทนของเเบรนด์ได้เป็นอย่างดี

Young At Heart อยู่เสมอ

วันว่างของเดวิด โครูนิชเขามักจะขับรถคลาสสิกไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัวอยู่บ่อยครั้ง อย่างหัวหินที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งเขาใช้เวลาอยู่ที่นั่นถึง 4 วันต่อสัปดาห์ในช่วงที่ต้อง WFH เเละงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุด…นั่นก็คือการทำอาหารลองสูตรใหม่ เมนูใหม่ตลอดเวลา

ความชอบลองอะไรใหม่ๆ สะท้อนไปถึงหลักยึดที่เขานำมาใช้ในองค์กร คือ การทำงานด้วยความสนุก “it’s okay to fail” คนเราทำผิดพลาดได้ เเต่ต้องนำกลับมาปรับปรุง เเละสิ่งสำคัญคือการ ‘Open Minds’ เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่ตีกรอบความคิด เชื่อในความหลากหลาย “ความเเตกต่างของคน จะทำให้เกิดความเเตกต่างในงาน

นี่คือจุดกำเนิดที่ดีที่สุดที่เขาเชื่อว่า จะสร้างสรรค์ผลงานที่เเตกต่างจากคนอื่น เพราะมาจากหลากหลายมุมมอง ไม่ได้มาจากมุมใดมุมหนึ่ง ขณะเดียวกันต้องมุ่งมั่นในงานไปทางเดียวกัน ดูเเลทุกคนให้ทั่วถึง ไม่ยึดติดกับตำเเหน่ง

โดยการบริหารคนที่มาจากหลายเจเนอเรชัน สิ่งที่ต้องทำคือรับฟังความคิดเห็นให้พนักงานเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด เช่น ที่ FWD เปิดให้ทุกคนเเต่งตัวได้ตามเพศสภาพ ให้มีประกันเพื่อการผ่าตัดเเปลงเพศ ให้สิทธิพาร์ตเนอร์ lgbtqia+ เหมือนคู่สมรส ฯลฯ

ผมชอบคุยกับคนรุ่นใหม่นะ ชอบใช้เเอปพลิเคชันใหม่ๆ ไม่เคยคิดว่าตัวเองต้องเเก่ Young At Heart อยู่เสมอ เปิดใจรับว่าโลกใหม่คิดอย่างไร หมุนตามโลกให้ทัน

 

 

 

]]>
1336958
ชาวอเมริกัน ‘ลาออก’ มากสุดในรอบ 20 ปี หมดไฟ-เครียด-เริ่มทบทวนชีวิต ฉุกคิด ‘หางานใหม่’ https://positioningmag.com/1336827 Mon, 14 Jun 2021 11:27:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336827 ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่ยอดว่างงานพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ในอีกมุมหนึ่งก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อย ตัดสินใจลาออกจากงานด้วยตนเอง ส่วนหนึ่งมาจากความตึงเครียด ภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้ทบทวนชีวิตเเละเริ่มฉุกคิดใหม่เรื่อง ‘career path’ 

The Wall Street Journal นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจว่า ชาวอเมริกันมีอัตราการลาออกจากงานสูงสุดในรอบ 20 ปี นับเป็นความท้าทายใหม่ของภาคธุรกิจที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ระบุว่า อัตราการลาออกจากงานของชาวอเมริกันในเดือนเม.. อยู่ที่ 2.7% หรือราว 4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2000

จำนวนผู้ที่ลาออกจากงานปรับตัวสูงขึ้น หลังช่วงวิกฤตโรคระบาด เมื่อคนจำนวนมากต้องการความมั่นคงในหน้าที่การงาน ขณะที่ต้องเผชิญกับวิกฤตสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศ”

เทรนด์การเปลี่ยนงานเเละเปลี่ยนอาชีพใหม่ กระตุ้นให้นายจ้างต้องขึ้นค่าแรงและเสนอการเลื่อนตำแหน่ง เพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ โดยความต้องการที่จะเปลี่ยนงานใหม่ ชี้ให้เห็นถึงความหวังเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่าแม้ว่าจะมีอัตราว่างงานจะสูงขึ้นก็ตาม

เมื่ออัตราการเลิกจ้างสูง ก็ทำให้นายจ้างต้องเสียต้นทุนมากขึ้นเช่นกัน จากการที่ธุรกิจต้องหยุดชะงักลง ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ด้านแรงงาน ให้ความเห็นว่า การลาออกส่งสัญญาณว่า ตลาดเเรงงานเริ่มเเข็งเเกร่งขึ้น เนื่องจากผู้คนหันมาสนใจหางานที่เหมาะกับทักษะ ความสนใจของตัวเอง และต้องการมีชีวิตส่วนตัวมากขึ้น

(Photo : Shutterstock)

ยิ่งในปัจจุบันมีหลายปัจจัยส่งเสริมให้มีการ ‘เปลี่ยนงาน’ บ่อยขึ้น ประชาชนจำนวนมากปฏิเสธที่จะกลับมาทำงานตามปกติในระบบเดิม เเละลังเลที่จะทำงานในออฟฟิศเหมือนก่อนช่วงก่อนโรคระบาด แต่พวกเขามีเเนวโน้มจะเลือกทำงานทางไกลที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า

ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน เริ่มมองเห็นถึงกระเเสการลาออกนี้ จากสำรวจความเห็นพนักงาน 2,000 คนในช่วงเดือนมีนาคมโดย Prudential Financial พบว่า พนักงานกว่า 1 ใน 4 วางแผนหางานใหม่กับนายจ้างรายอื่นในเร็วๆ นี้

หลายคนตกอยู่ในภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) เนื่องจากภาระงานที่เพิ่มขึ้นและความตึงเครียดจากโควิด-19 ขณะที่บางคนต้องมองหาค่าจ้างที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยการสูญเสียงานของคู่สมรส หรือใช้ช่วงเวลาในปีที่ผ่านมาเพื่อคิดพิจารณาถึงเส้นทางอาชีพและการเปลี่ยนงานใหม่

จากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนที่รวดเร็วในสหรัฐฯ เเละมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคดีขึ้น ทำให้ธุรกิจต่างๆ กลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะงานในภาคการผลิตเเละภาคบริการ จนหลายบริษัทต้องเเย่งชิงเเรงงาน จัดโปรโมชันต่างๆ ให้ผู้สมัคร

โดยร้านอาหารและแฟรนไชส์บางแห่งในสหรัฐฯ ต้อง ‘เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ’ หรือ ‘ให้โบนัสไปจนถึงเเจกสมาร์ทโฟน เพื่อจูงใจให้คนมากลับมาทำงาน แทนการอยู่บ้านและพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล

 

ที่มา : WSJ , businessinsider 

]]>
1336827
HR ไม่ใช่ผู้คุมกฎ…6 กลยุทธ์ผสานพนักงาน ‘ต่างวัย’ หลากหลาย-เท่าเทียม ฉบับ ‘ดิอาจิโอ’ https://positioningmag.com/1334079 Thu, 27 May 2021 13:16:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334079 สังคมการทำงานยุคใหม่ เปลี่ยนไปมากมายในช่วงที่ผ่านมา องค์กรไม่สามารถนำกลยุทธ์เดิมๆ กฎระเบียบเดิมๆ มากำหนดวิถีการทำงานของพนักงานได้อีกต่อไป

ยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่ เทรนด์ทำงานได้ทุกที่ ‘Remote Working’ ทำให้ออฟฟิศไม่ใช่เรื่องจำเป็นสูงสุด

เหล่านี้เป็นโจทย์ท้าทายของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ต้องปรับตัว เปลี่ยนเเปลงการสื่อสารกับพนักงาน มาคิดกันใหม่ว่า ทำอย่างไรจะให้พนักงานมีความสุขเเละมีประสิทธิภาพ หาจุดสมดุลของความหลากหลาย บริหารคนต่างวัยให้มีเป้าหมายร่วมกัน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดนี้

Positioning มีโอกาสได้พูดคุยกับเจน รุ่งกานต์ รตนาภรณ์ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮสเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ DMHT เจ้าของแบรนด์สุรานอกอย่าง Johnnie Walker, Smirnoff, Hennessy ฯลฯ

คำเเนะนำเเละกลยุทธ์การทรานส์ฟอร์มจากผู้คลุกคลีอยู่ในวงการ HR มานานกว่า 20 ปี ผ่านงานทั้งสายพลังงาน อุตสาหกรรมยา จนมาถึงธุรกิจเครื่องดื่ม อย่าง ‘รุ่งกานต์’ มีเทคนิคต่างๆ ที่น่านำไปปรับใช้ได้ดีทีเดียว

เป็นตัวเองได้ในที่ทำงาน 

เธอเล่าให้ฟังถึงการวางกลยุทธ์ดำเนินงานว่า ยึดหลักแนวคิด Connecting People to Purposes เชื่อมโยงบุคคลกับวัตถุประสงค์ของบริษัท โดยให้ทุกคนสามารถเป็นตัวเองได้ในการทำงาน ไม่จำกัดความคิด มอบอิสระในการออกแบบวิธีการทำงานและการแสดงออก พร้อมเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการไปถึงเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ให้พนักงานรู้สึกสบายใจและภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนบริษัท มาทำงานอย่างมีความสุขและกลับบ้านด้วยความรู้สึกที่ดี เติมเต็มความต้องการได้ ขณะเดียวกันก็ต้องต่อยอดไปสู่เป้าหมายทางอาชีพของพวกเขาด้วย” 

Reverse Mentoring : พื้นที่เเลกเปลี่ยนไอเดีย 

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่รุ่งกานต์นำมาใช้ในการผสาน ‘พนักงานต่างวัย’ ให้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ในการทำงานกัน ก็คือ Reverse Mentoring

โดย DMHT มีการจับคู่พนักงานมาเข้าร่วมโปรเเกรมนี้ เริ่มต้นด้วยคู่ของคุณ ‘อัลแบร์โต อิเบอัส’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด กับพนักงาน Gen Y คนหนึ่ง ให้มาพูดคุยเเลกเปลี่ยน ‘ไลฟ์สไตล์’ เรียนรู้การทำงาน มุมมองของธุรกิจต่างๆ

ผลเบื้องต้นพบว่า เกิดไอเดียหลายอย่างจากการสนทนากัน โดยอัลแบร์โตที่ทำงานมากว่า 22 ปี ก็ได้เห็นถึงการคิดนอกกรอบ เทรนด์เเละนวัตกรรมใหม่ๆ ส่วนพนักงานรุ่นใหม่ก็ได้รู้ถึงประสบการณ์การทำงาน บทเรียนชีวิตเเละวิธีเเก้ปัญหาต่างๆ  

“ถ้าโครงการทดลองนี้สำเร็จ เราจะขยายไปทำทั้งองค์กร เพื่อให้มีแพลตฟอร์มที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้”

พื้นฐานที่ทุกองค์กรต้องมี คือความเท่าเทียม

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในองค์กร ก็คือ ‘ความเท่าเทียม’ โดยยกตัวอย่างเป้าหมาย 10 ปีของดิอาจิโออย่าง SOCIETY 2030: SPIRIT OF PROGRESS

โดยในแผนงานนี้ มีประเด็นการส่งเสริมความหลากหลาย และการมีส่วนร่วมภายในองค์กรที่น่าสนใจ เช่น บริษัทตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 จะมี ผู้นำหญิง ในองค์กรให้ได้สัดส่วน 50% มีผู้นำที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ให้ได้ 45% และจัดอบรมพัฒนาทักษะให้กับคนจำนวน 1.7 ล้านคน เเละสนับสนุนความหลากหลายในทุกตำแหน่งงาน

ปัจจุบัน DMHT มีสัดส่วนของผู้บริหารหญิงอยู่ที่ 50% แล้ว เฟสต่อไปคือการเพิ่มสัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่งที่เตรียมก้าวขึ้นสู่ระดับบริหารให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสให้กับผู้หญิงในการก้าวสู่ตำแหน่งงานที่สังคมคุ้นเคยว่าผู้ชายมีบทบาทมากกว่า โดยริเริ่มออกแบบและดำเนินการโปรแกรม Female in Field Sales Incubation เพื่อปั้นผู้นำหญิงสู่การเป็นผู้จัดการเขต (District Manager) ภายในปี 2025

สำหรับในประเทศไทย DMHT มีนโยบายที่เปิดกว้างและสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ โดยบริษัทให้สิทธิ์พนักงานทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และ LGBTQIA+ ใช้สิทธิ์ลาคลอดได้ 26 สัปดาห์ พร้อมรับเงินเดือนเต็ม

สลัดภาพจำ…HR ยุคใหม่ต้องไม่ใช่ผู้คุมกฎ

หลังจากทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคลมากว่า 2 ทศวรรษ รุ่งกานต์ยอมรับว่า ไม่ว่าจะกี่ยุคสมัย มีพนักงานจำนวนไม่น้อยรู้จักไม่ใกล้ชิดกับฝ่าย HR มากนัก หลายคนมีภาพจำว่าเเผนกนี้เป็น ‘ผู้คุมกฎ’ หรือ ‘ครูปกครอง’ เวลามีการเรียกคุยจะรู้สึกกังวลว่าตัวเองทำผิดอะไรหรือไม่ นี่คือความท้าทายที่ต้องเปลี่ยนเเปลงภาพลักษณ์เหล่านี้ให้ได้

“เราต้องทำให้พนักงานเข้าใจว่าบทบาทของ HR คือ ‘เพื่อนร่วมงาน’ ที่มีหน้าที่ช่วยส่งเสริมพนักงานทุกคนให้มีพลังทำงานในทุกๆ ด้าน เรื่องของกฎระเบียบก็ยังจำเป็นต้องมี เเต่ HR ต้องใช้การสื่อสารรูปเเบบใหม่ให้เข้าถึงคนเเต่ละยุคสมัย” 

เธอยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างการใช้หลัก Why’ คือ HR ต้องอธิบายให้ได้ว่า ‘ทำไม’ จึงต้องมีกฎนี้ ทำไมจึงต้องทำกิจกรรมนี้ ถ้าทำตามเเล้วจะมีผลอย่างไร ถ้าไม่ทำตามจะส่งผลอย่างไร เเม้บางครั้งจะเป็นกฎเดิมที่ใช้ต่อกันมาเป็น 10 ปี ก็ต้องปรับการสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจในบริบทสังคมใหม่ด้วย 

ความยืดหยุ่น’ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ 

สำหรับเเนวทางการบริหารงานบุคคลของดิอาจิโอนั้น มีการประยุกต์เทคโนโลยีกับปรัชญามาใช้งาน HR ที่มีชื่อว่า ‘DIAGEO Flex Philosophy’ ให้อิสระพนักงานในการบริหารจัดการเวลาทำงานของตนเอง ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน หรือเข้างานตาม Office Hours เพียงสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้ตามเวลาที่กำหนด

ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ต้องให้พนักงาน Work from Home นั้น พบว่า พนักงานส่วนใหญ่ยังทำงานได้ตามปกติ แถม Productivity เพิ่มขึ้นอีก ใครเบื่อบรรยากาศทำงานที่บ้านจะมาทำงานที่ออฟฟิศก็ได้ บางคนชอบเริ่มงานตอนเช้า บางคนสายหน่อย หรือบางคนชอบทำงานตอนดึกๆ ก็สามารถจัดสรรเวลาเองได้

“หลักๆ คือเราให้ความสำคัญกับผลงานมากกว่าเวลาเข้างาน” 

โดยฝ่าย HR จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง ‘สวัสดิการ’ ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและให้ตรงกับความต้องการของพนักงานมากที่สุด ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น เเต่ก่อนจะมีบริการคาเฟ่ในออฟฟิศ เเต่ช่วงโควิด-19 ต้องงดไปก่อน ก็จะมีการจัดข้อเสนออื่นๆ ให้เเทน

‘อัพสกิล’ ตามความชอบ 

ในด้านการพัฒนาทักษะ DMHT มุ่งเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคตที่จำเป็นให้แก่พนักงานตามความสนใจด้านอาชีพของแต่ละคน โดยให้พนักงานสามารถเลือกสวัสดิการที่ตรงกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของตนเองได้ สอดคล้องกับปรัชญาหลักของบริษัท นั่นก็คือ Celebrating Life, Every Day, Everywhere 

ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายการอบรมทักษะบุคลากรในอุตสาหกรรมการบริการ ให้ได้ 15,000 คนผ่านโครงการ Learning for Life ภายในปี 2030 ครอบคลุมนักศึกษา ผู้ประกอบอาชีพการท่องเที่ยวและการบริการ ขยายการฝึกอบรมมาสู่บุคลากรในสายอาชีพการบริการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการต้องออกจากงาน หรือหยุดงานชั่วคราว รวมถึงคนในชุมชน บุคคลที่มีความจำเป็นและกลุ่มผู้ขาดโอกาสทางสังคม

นอกจากนี้ ยังมีการจัดอบรมทักษะสำหรับบาร์เทนเดอร์ผ่าน Diageo Bar Academy เพื่อส่งเสริมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างรับผิดชอบในสังคม และการรับมือสถานการณ์ที่ท้าทายขณะทำงานในสายอาชีพ 

เหล่านี้เป็นไปตาม Brand Purpose ของดิอาจิโอที่ว่า ทำอย่างไรให้คนอยากเฉลิมฉลอง แต่ไม่ใช่การสนับสนุนให้คนดื่มจนขาดสติ เเต่ต้องดื่มอย่างมีความรับผิดชอบ (Positive Drinking)

สำหรับเป้าหมายของประเทศไทย DMHT มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายหลักใน 3 ด้าน จะดำเนินการผ่านโครงการที่มีอยู่แล้วเพื่อความต่อเนื่อง ได้แก่

  • รณรงค์การดื่มอย่างรับผิดชอบ ผ่านโครงการ DRINKiQ และแพลตฟอร์ม Don’t Drink Drive E-Learning
  • ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านความหลากหลาย (Inclusion and Diversity)
  • สร้างความยั่งยืนในทุกขั้นตอนการผลิต (Grain to Glass Sustainability) ผ่านการนำเข้าสินค้าของดิอาจิโอที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์พลาสติกจากวัสดุรีไซเคิล ที่มีความปลอดภัยมาจำหน่ายในประเทศไทย และสานต่อโครงการรีไซเคิลขวดจอห์นนี่ วอล์กเกอร์หลังการบริโภค โดยการนำไปใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้

หลังจากประสบการณ์ HR มากว่า 20 ปี รุ่งกานต์มองว่า สิ่งที่คนรุ่นใหม่มองหาจากองค์กรมากที่สุด คือการเปิดกว้างทางความคิด ให้พวกเขาได้มีโอกาสเเสดงศักยภาพเเละรับฟังข้อเสนอเเนะโดยไม่ติดเรื่องอายุ พร้อมการอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น

รวมถึงการสนับสนุนให้ทุกคนมี ‘Career Path’ เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ เเละมีความสุขในการใช้ชีวิต

ส่วนสิ่งที่องค์กรอยากได้จากคนรุ่นใหม่’ ก็คือความคิดสร้างสรรค์ พลังในการทำงาน เเพชชั่นที่จะเห็นความก้าวหน้าเเละการเปลี่ยนเเปลง…

 

 

]]>
1334079
งานหนักคร่าชีวิต 7 เเสนคนต่อปี ทำเกิน 55 ชั่วโมง/สัปดาห์ เสี่ยงตายโรคหัวใจ-หลอดเลือดสมอง https://positioningmag.com/1332677 Tue, 18 May 2021 09:05:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332677 ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานเกินไป ได้คร่าชีวิตผู้คนหลายเเสนคนต่อปี เเละยิ่งเลวร้ายลงไปอีกในช่วงโรคโควิด-19 โดยคนที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฝั่งแปซิฟิกตะวันตก ได้รับผลกระทบมากที่สุด

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เผยแพร่งานวิจัยในวารสาร Environment International ระบุว่า การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต้องทำงานทางไกล และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก เพิ่มความเสี่ยงให้ลูกจ้างมีชั่วโมงการทำงานยาวนานขึ้นตามไปด้วย

โดยการทำงานมากกว่า ’55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้น 35% และเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจสูงขึ้น 17% เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานสัปดาห์ละ 35-40 ชั่วโมง

ในปี 2016 ประชาชนกว่า 745,000 คน เสียชีวิตจากอาการเส้นเลือดในสมองแตกและโรคหัวใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทำงานยาวนานหลายชั่วโมง สูงขึ้นเกือบ 30% จากปี 2000

ผลวิจัยของ ILO พบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกือบ 3 ใน 4 เป็นผู้ชายในวัยกลางคนหรือสูงอายุ หลายกรณีเสียชีวิตในช่วงบั้นปลายชีวิต 10 ปีให้หลังจากที่ทำงานหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน

โดยแรงงานที่ใช้ชีวิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก ตามนิยามของ WHO รวมจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้มากที่สุด

Photo : Shutterstock

นักวิจัย ชี้ว่าชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งด้านสรีรวิทยาโดยตรงเเละก่อให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ยังส่งผลให้เเรงงานมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพ เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การนอนหลับน้อยลง ไม่มีเวลาออกกำลังกายและทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

การทำงาน 55 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง ต้องยอมรับว่าการทำงานที่ยาวนาน อาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร” Maria Neira ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพของ WHO กล่าว

การทำงานทางไกล ประชุมออนไลน์ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากพิษไวรัส เร่งให้พนักงานต้องเเบกภาระงานหนักมากขึ้น WHO ประเมินว่า ประชาชนอย่างน้อย 9% มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานกว่าเดิม

ในทางตรงกันข้าม การลดชั่วโมงการทำงานลงจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างมากกว่า เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าจะช่วยให้ผลิตภาพของพนักงานเพิ่มขึ้น

ไม่มีงานใดที่คุ้มค่าจะเสี่ยงกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อบรรลุข้อตกลงเพื่อปกป้องสุขภาพของเเรงงาน

 

ที่มา : BBC , Reuters 

 

 

]]>
1332677
จับทิศทางแรงงาน : เอกชนชะลอรับพนักงาน ลูกจ้างไม่กล้าเปลี่ยนงาน 80% หนุน WFH https://positioningmag.com/1291738 Sun, 09 Aug 2020 16:28:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291738 กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย เผยผลสำรวจ Resetting Normal: Defining the New Era of Work พบว่าบริษัทเอกชนในไทยชะลอรับพนักงานใหม่ ลูกจ้างงานประจำก็ยังไม่กล้าเปลี่ยนงาน และ 80% หนุนการทำงานที่บ้าน

เอกชนรัดเข็มขัด

ผลสำรวจนี้ ได้ทำการสำรวจกับกลุ่มคนทำงานในประเทศไทยจำนวน 670 คน โดยส่วนใหญ่เป็นพนักงานประจำ และมีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป และกว่าครึ่งเป็นพนักงานในระดับหัวหน้างาน/ผู้จัดการ ถึงผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของ COVID-19 และมุมมองต่ออนาคตการทำงาน

ผลการสำรวจพบว่า ภาคเอกชนต่างมีมาตรการที่หลากหลายเพื่อรัดเข็มขัดในช่วง COVID-19 ตั้งแต่

  • 57% การชะลอรับพนักงานใหม่
  • 26% ชะลอขึ้นเงินเดือน/เลื่อนขั้น
  • 18% ลดเงินเดือน
  • 17% ลดกำลังการผลิต
  • 17% ให้พนักงานใช้วันลา
  • 16% เลิกจ้างพนักงาน
  • 14% พักงานพนักงานชั่วคราว
  • 11% ลดการจ้าง supplier
  • 57% ปรับตารางงาน ลดเวลาทำงานที่ออฟฟิศ ผสมผสานการทำงานจากที่บ้าน เพื่อป้องกันการระบาดของ COVID-19 

พนักงานหนุน Work from Home

สำหรับมุมมองของพนักงานที่มีต่อนโยบาย Work from Home พนักงานส่วนใหญ่กว่า 80% หวังให้มีการสานต่อนโยบายนี้ โดยผสมผสานการทำงานจากที่บ้านในบางวัน เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ COVID-19 และสร้างสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว

โดยพนักงานราว 54% ยังเชื่อว่าการมาทำงานที่ออฟฟิศยังจำเป็นอยู่ เพราะจะช่วยให้การประสานงานระหว่างทีมดีขึ้น ในภาพรวมพนักงานส่วนใหญ่ยังคาดหวังให้องค์กรมองที่ผลงานมากกว่าให้ความสำคัญเรื่องชั่วโมงการทำงาน และอยากให้ยืดหยุ่นเรื่องการทำงานมากขึ้น

ทำงานอยู่บ้าน

โดยพนักงานส่วนใหญ่กว่า 51% เชื่อว่าการทำงานจากที่บ้านได้ประสิทธิผลไม่ต่างจากการมาทำงานที่ออฟฟิศ ขณะที่ 37% เชื่อว่าพวกเขาทำผลงานได้ดีขึ้นกว่าตอนทำงานที่ออฟฟิศ มีเพียง 12% ที่คิดว่าคุณภาพการทำงานของพวกเขาลดลงเมื่อทำงานจากที่บ้าน

ต้องการให้องค์กร และรัฐช่วยเหลือ

ด้านผลกระทบจาก COVID-19 ที่เกิดขึ้นกับพนักงาน พนักงานส่วนใหญ่คิดว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรและรัฐบาลที่ต้องยื่นมือช่วยเหลือพนักงานให้ก้าวข้ามวิกฤตนี้ ขณะเดียวกันก็มองว่าตนต้องพึ่งพาตัวเองด้วย

สิ่งที่พนักงานคาดหวังจากองค์กร ได้แก่

  • 84% การสนับสนุนการทำงานที่ยืดหยุ่นและการทำงานจากบ้าน
  • 78% ต้องการความชัดเจนในการรับมือกับวิกฤต
  • 78% การลงทุนด้านเทคโนโลยีและปรับตัวสู่ดิจิทัล
  • 76% การสนับสนุนอุปกรณ์ 
  • 75% ระบบ IT ให้รองรับการทำงานจากที่บ้าน
(Photo by Allison Joyce/Getty Images)

สิ่งที่พนักงานคาดหวังจากหัวหน้ามากที่สุดในช่วงเวลานี้ ได้แก่

  • 58% การช่วยหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
  • 55% การให้ความไว้วางใจในการทำงาน
  • 52% การมีความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสารที่ดี 
  • 51% การสนับสนุนการทำงานที่ยืดหยุ่นให้กับพนักงาน

สำหรับมุมมองที่มีต่อสถานการณ์หลัง COVID-19 พนักงานกว่า 56% เชื่อว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น และมองว่างานเทคโนโลยีน่าจะมีอนาคตที่สุด แต่แม้ว่าส่วนใหญ่จะมองโลกในแง่ดี พนักงานกว่า 65% ก็ยังไม่มีแผนเปลี่ยนงานในอีก 1 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยังไม่กล้าเสี่ยงย้ายงานใหม่ในช่วงที่สถานการณ์ยังไม่แน่นอน

Lean-Digital-Work from Anywhere

ธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย กล่าวว่า

เมื่อเทียบผลสำรวจของไทยกับในอีกหลายประเทศที่ Adecco ได้ทำการศึกษา ภาพรวมพบว่าผลที่ออกมาค่อนข้างสอดคล้องกับหลายประเทศ ที่องค์กรมีการปรับตัวให้ lean มากขึ้น ดิจิทัลมากขึ้น ในขณะที่รูปแบบการทำงานก็มีผสมผสานการทำงานจากที่บ้าน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็น New Normal หรือ ความปกติใหม่ที่องค์กรจำเป็นต้องวางแผนปรับตัวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะฝ่าย HR ที่จะต้องปรับกลยุทธ์การสรรหาใหม่ เพราะโจทย์ทุกวันนี้ได้เปลี่ยนไป เราอาจจะต้องการคนที่มีชุดทักษะที่ต่างจากเดิม ไม่สามารถจ้างพนักงานประจำได้มากเท่าที่เคย อาจจะต้องมีการผสมผสานการจ้างงานในรูปแบบฟรีแลนซ์มากขึ้น การสรรหาก็จำเป็นที่จะต้องมีความคล่องตัวและปรับสู่ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่ง Adecco ก็ได้ออกแบบหลักสูตรเพื่อช่วย HR เตรียมพร้อมในจุดนี้

ผลสำรวจครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่าคนไทยต้องการการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น องค์กรอาจจำเป็นต้องฟังเสียงสะท้อนเหล่านี้และนำมาปรับใช้เพื่อรักษาบุคลากรและดึงดูดผู้สมัครหน้าใหม่ ปัจจุบันนี้ Work from Home ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ผู้สมัครใช้คัดเลือกองค์กร เพราะคนสมัยนี้มองว่าการทำงานสามารถทำจากที่ไหนก็ได้ และให้ความสำคัญกับสมดุลการใช้ชีวิตในลำดับต้นๆ

 

ที่สำคัญยังมีแรงงานเก่งๆ อีกมากที่ลาออกจากงานประจำเพราะความจำเป็นส่วนตัวแต่ยังพร้อมที่จะกลับมาทำงานในรูปแบบฟรีแลนซ์ ดังนั้นการที่องค์กรนำนโยบายนี้มาปรับใช้ก็จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน อีกด้านหนึ่งนโยบายนี้ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการรักษาบุคลากร เพราะทำให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรห่วงใยสุขภาพและความปลอดภัยของพวกเขา

นอกจากนี้การคงมาตรการ Work from Home ยังมีประโยชน์ในระยะยาวต่อการลดความเสี่ยงการระบาดของโรค และช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

การผสมผสานการทำงานจากที่บ้านก็เป็นอีกความท้าทายหนึ่งที่หลายองค์กรต้องเผชิญ เพราะการทำงานนอกออฟฟิศนั้นองค์กรมักจะมีความกังวลใจในแง่ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน และมักให้หัวหน้าฝ่ายใช้ดุลพินิจส่วนบุคคลในการตัดสินว่าพนักงานคนไหนสามารถหรือไม่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ โดยขาดเกณฑ์การประเมินและมาตรการที่ชัดเจน ในขณะที่พนักงานเองก็เรียกร้องความไว้วางใจในการทำงานจากหัวหน้า ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะการผสมผสานการทำงานแบบ Work from Home ก็ยังเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับหลายๆ องค์กร

]]>
1291738