Panasonic เทขายหุ้น Tesla เกลี้ยงพอร์ต ฟาดกำไร ‘เเสนล้าน’ ลดการพึ่งพา ได้เงินลงทุนธุรกิจใหม่

Photo : Shutterstock
Panasonic อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เทขายหุ้น ‘Tesla’ ที่ถืออยู่ทั้งหมดออกไป ฟันกำไรกว่า 1.2 แสนล้านบาท เพื่อลดการพึ่งพาเเละหาเงินลงทุนเพื่อการเติบโต เเต่ยืนยันว่ายังเป็นพันธมิตรกันอยู่

โดย Panasonic ได้ทำการขายหุ้นของ Tesla ทั้งหมดในงบการเงินปีล่าสุด (เดือนมี..) เเละได้ทำการบันทึกบัญชีรายการรายได้จากการขายและการไถ่ถอนเงินลงทุนเป็นมูลค่ากว่า 429,900 ล้านเยน (ราวประมาณ 1.23 เเสนล้านบาท)

ย้อนกลับไป เมื่อปี 2009 ทั้งสองจับมือกันเป็นพันธมิตรร่วมกัน เเละร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตเเบตเตอรี่ในสหรัฐฯ โดย Panasonic ถือเป็นผู้ผลิตเเบตเตอรี่รายใหญ่ให้รถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla

หลัง Tesla เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น เมื่อปี 2010 ทาง Panasonic ได้เข้าซื้อหุ้นกว่า 1.4 ล้านหุ้น ในราคาเพียง 21.15 ดอลลาร์ต่อหุ้น จากการเติบโตเเบบพุ่งพรวดในตลาด ปัจจุบันราคาหุ้นของ Tesla มีมูลค่าสูงถึง 679.82 ดอลลาร์ต่อหุ้น

โดยในรายงานประจำปีที่สิ้นสุดในเดือนมี.. 2020 ระบุมูลค่าของหุ้นที่ Panasonic ถือหุ้นไว้ที่ 8.1 หมื่นล้านเยน (ราว 2.3 หมื่นล้านบาท)

ฮิเดกิ ยาสุดะ นักวิเคราะห์จาก Ace Research Institute ให้ความเห็นว่าผลกระทบของสินทรัพย์ดิจิทัล อาจทำให้ราคาหุ้นของ Tesla อยู่เหนือมูลค่าที่แท้จริง ทำให้เป็นตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการขาย

อีลอน มัสก์ ประกาศในเดือนก..ที่ผ่านมาว่า บริษัทของเขาจะรับซื้อ ‘Bitcoin’ เเละรับการชำระเงินในการซื้อรถยนต์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล เเต่เปลี่ยนใจในภายหลังด้วยเหตุผลทางสิ่งเเวดล้อม โดยการเเสดงความคิดเห็นของเขาบน Twitter มักจะทำให้ราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลผันผวนอยู่เสมอ

ด้านโฆษกของ Panasonic ระบุว่า การเทขายหุ้นครุ้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเป็นพันธมิตรระหว่างกัน โดยบริษัทจะยังเป็นซัพพลายเออร์ให้กับทาง Tesla อยู่

ความสัมพันธ์ของเรากับ Tesla ในฐานะหุ้นส่วนธุรกิจจะไม่เปลี่ยนแปลงในอนาคต

นับเป็นความเคลื่อนไหวสำคัญของ Panasonic ที่กำลังพยายามลดการพึ่งพาจาก Tesla และหาเงินทุนไปใช้ในการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ อย่างการเข้าซื้อกิจการ Blue Yonder ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ซัพพลายเชนของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 7.1 พันล้านดอลลาร์ เเละลงทุนเพื่อเพิ่มการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ด้วย 

ขณะที่ Tesla ก็มีเริ่มขยายเครือข่ายเเบตเตอรี่ของตัวเอง โดยได้ทำข้อตกลงกับ LG Energy Solution ของเกาหลีใต้ และ CATL ของจีน ที่กำลังวางแผนสร้างโรงงานในเซี่ยงไฮ้ ใกล้กับฐานการผลิตของรถยนต์ของ Tesla

 

ที่มา : Reuters , CNBC , Nikkei Asia