ค้าปลีกออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 29 Mar 2022 05:45:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Shopee เตรียมถอนตัวออกจาก ‘อินเดีย’ หลังเจอความไม่เเน่นอนของตลาด-กฎเข้มงวด https://positioningmag.com/1379535 Tue, 29 Mar 2022 04:11:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379535 Shopee แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ ที่มีบริษัทเเม่อย่าง Sea Ltd. บิ๊กเทคฯ จากสิงคโปร์ เตรียมถอนตัวออกจากตลาดค้าปลีกในอินเดีย หลังเริ่มดำเนินการมาเพียงไม่กี่เดือน โดยให้เหตุผลถึงความไม่แน่นอนของตลาดโลก

การถอนตัวจากตลาดอินเดียของ Shopee ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังการประกาศถอนตัวออกจากฝรั่งเศสเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และหลังจากที่รัฐบาลอินเดียสั่งห้ามแอปพลิเคชันเกมยอดนิยมของ Sea อย่าง ‘Free Fire’ ซึ่งทำให้มูลค่าตลาดของ Sea ที่จดทะเบียนในตลาดนิวยอร์กลดลงถึง 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในวันเดียว และทำให้นักลงทุนบางส่วนลดการถือครองหุ้นลง

Shopee ระบุในแถลงการณ์ว่าบริษัทจะทำงานเพื่อสนับสนุนชุมชนผู้ขายและผู้ซื้อในท้องถิ่น เเละทีมงานในพื้นที่ของเราเพื่อให้กระบวนการนี้เป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด

Reuters รายงานว่า คำชี้แจงดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะกิจกรรมค้าปลีก ไม่ใช่ธุรกิจเกมในอินเดีย

ทั้งนี้ บริษัทมีมูลค่าประมาณ 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากแตะถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงปลายปี 2021 จากกระแสการช้อปปิ้งออนไลน์และความบันเทิงที่เกิดขึ้นในช่วงโรคระบาดโควิด-19 

Shopee เริ่มดำเนินการในตลาดอินเดียเมื่อเดือนตุลาคม 2021 โดยเป็นส่วนหนึ่งในเเผนการผลักดันธุรกิจไปสู่ระดับนานาชาติเเละขยายตลาดไปสู่ยุโรป 

ตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดียเติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการเเข่งขันที่ดุเดือด มีเจ้าใหญ่ที่ครองตลาดอยู่ทั้ง Amazon เเละ Flipkart ของ Walmart

ขณะเดียวกันธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็ต้องเผชิญกับกฎระเบียบที่เข้มงวดในอินเดีย ซึ่งมีการกำหนดข้อจำกัดต่างๆ เพื่อปกป้องผู้ค้าปลีกรายย่อยมานานหลายปี

ผู้ค้าปลีกออฟไลน์จำนวนไม่น้อย กล่าวหาว่าบรรดาบริษัทต่างชาติ มักไม่ทำตามกฎเกณฑ์นั้นและเสนอโปรโมชันส่วนลดจำนวนมาก ซึ่งกระทบต่อธุรกิจของพวกเขา ซึ่งก็เป็นข้อกล่าวหาที่บริษัทรายใหญ่ต่างปฏิเสธ

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา Shopee ต้องเจอการคว่ำบาตรจากผู้ค้ารายย่อยในอินเดีย โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (28 มี..) เว็บไซต์ Shopee ในอินเดียยังคงเปิดดำเนินการอยู่ และเสนอส่วนลดและข้อเสนอที่น่าดึงดูดใจให้กับลูกค้า เเละยังมีการเปิดรับสมัครงานหลายตำเเหน่งในอินเดีย

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1379535
ปัญหาขาดตู้คอนเทนเนอร์ทำพิษ ‘Nike’ ฉุดรายได้อเมริกาเหนือร่วง 10% https://positioningmag.com/1324130 Fri, 19 Mar 2021 06:13:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324130 ‘Nike’ (ไนกี้) ผู้ผลิตรองเท้าและชุดกีฬาได้รายงานผลประกอบการรายได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ว่าได้รับผลกระทบในทางลบจากปัญหาซัพพลายเชน อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

รายได้ในอเมริกาเหนือในไตรมาสที่ 3 ตามปฏิทินบริษัทลดลง 10% จากปีที่แล้วมาอยู่ที่ 3.56 พันล้านดอลลาร์ซึ่ง Nike กล่าวว่า รายได้ที่ลดลงได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สินค้าทั่วโลก และความแออัดของท่าเรือในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้การไหลเวียนของสินค้าคงคลังล่าช้ามากกว่าสามสัปดาห์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระยะเวลาในการจัดส่งสินค้า นั่นหมายความว่าพาร์ตเนอร์ค้าส่งจะได้รับผลกระทบเนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้าและร้านจำหน่ายเครื่องกีฬาไม่ได้รับสินค้าตรงเวลา

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผลกระทบดังกล่าวและในยุโรปยังมีการปิดร้านอย่างต่อเนื่อง แต่ Nike ยังคงเห็นโมเมนตัมทางออนไลน์ที่ดี โดยยอดขายอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น 59% ในไตรมาสเดียวกัน ทำให้มีผลกำไรสูงขึ้นและมียอดขายรวม 10.36 พันล้านดอลลาร์ จากปีก่อนหน้าปิดที่ 10.1 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ว่าจะมีรายได้รวม 11.02 พันล้านดอลลาร์

ในภูมิภาคยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา Nike ระบุว่ายอดขายหน้าร้านลดลงเนื่องจากการปิดและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการระบาด ในขณะที่ยอดขายออนไลน์ในตลาดเหล่านั้นเพิ่มขึ้น 60% ส่วนในประเทศจีนซึ่งเป็นภูมิภาคที่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องยอดขายเพิ่มขึ้น 51%

ทั้งนี้ Nike มองว่าแม้ว่าวิกฤต COVID-19 ทั่วโลกจะยังคงทำให้เกิดความไม่แน่นอน แต่ Nike คาดว่าปัญหาในยุโรปจะเริ่มคลี่คลายลงในเดือนเมษายน แต่ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลกและปัญหาการขาดแคลนคนขับรถบรรทุกในสหรัฐฯ ยังคงเป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับธุรกิจต่าง ๆ หลายคนคาดว่าปัญหาเหล่านี้จะลากยาวไปจนถึงครึ่งหลังของปี แต่คาดว่าเวลาการขนส่งสินค้าคงคลังจะดีขึ้นอย่างช้า ๆ

Nike Store at La Roca Village
Photo : Shutterstock Nike Store at La Roca Village

โดยบริษัทคาดว่ายอดขายในไตรมาสสี่จะเพิ่มขึ้น 75% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากปีที่แล้ว Nike ต้องปิดหน้าร้านลงถึง 90% เนื่องจากการแพร่ระบาด ขณะที่นักวิเคราะห์มองหาการเติบโตที่ 64.3% ทั้งนี้ บริษัท กล่าวว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของ Nike จะมีสัดส่วนยอดขายอย่างน้อย 50% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดย Nike ได้ลงทุนในดิจิทัลมากขึ้นรวมถึงแอป SNKRS ที่จะช่วยให้ Nike เข้าผู้บริโภคที่โดยลดการพึ่งพาพันธมิตรคนกลางในการขายสินค้า

นอกจากนี้ยังระบุว่า Nike เพิ่งประสบความสำเร็จในการทดสอบ ‘ไลฟ์สด’ ขายของ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชีย โดยในอเมริกาก็เริ่มมีการทดลองทำตามเทรนด์นี้บ้างแล้ว อาทิ Nordstrom และ Walmart ขณะที่ Nike ได้ระบุว่าได้เริ่มไลฟ์สดในญี่ปุ่น, เยอรมนี และอิตาลี

“เราได้เห็นการมีส่วนร่วมที่น่าอัศจรรย์สำหรับการโต้ตอบแบบสด โดยเรามีคนดูโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า” John Donahoe ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าว

Source

]]>
1324130
ไปไกลกว่าค้าปลีก ‘Walmart’ ลุยปั้นสตาร์ทอัพ ‘ฟินเทค’ ให้บริการทางการเงินกับผู้บริโภค https://positioningmag.com/1313802 Tue, 12 Jan 2021 06:55:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313802 ในยุคที่เศรษฐกิจไม่เเน่นอนเเละพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเเปลงตลอดเวลาการพึ่งพาธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพออีกต่อไป 

Walmart ห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่เเห่งอเมริกา ที่มีสาขามากกว่า 4,700 เเห่ง เป็นอีกเจ้าที่มีการขยายการลงทุนธุรกิจไปในน่านน้ำอื่น ทั้งเเบรนด์เเฟชั่น คลินิกสุขภาพต้นทุนต่ำและธุรกิจประกันภัย 

ล่าสุด Walmart จับมือกับ Ribbit Capital บริษัทลงทุนที่อยู่เบื้องหลังแพลตฟอร์มซื้อขายหุ้นชื่อดังอย่าง Robinhood เตรียมปลุกปั้นสตาร์ทอัพฟินเทค’ (FinTech) บริษัทเทคโนโลยีทางการเงินของตัวเองขึ้นมา

โดยจะเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านการค้าปลีกของ Walmart เข้ากับความเชี่ยวชาญด้านฟินเทคของ Ribbit Capital เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับลูกค้าและพนักงานของ Walmart

อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ ยังไม่ได้เปิดเผยว่าบริษัทใหม่เเห่งนี้จะมีชื่อว่าอะไรหรือจะให้บริการเมื่อใด โดยบอกแต่เพียงว่า “จะมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นเอกลักษณ์และราคาไม่แพง”

หลังประกาศข่าวนี้ ราคาหุ้นของ Walmart เพิ่มขึ้น 1.5% ทำให้มูลค่าบริษัทของ Walmart ขยับมาอยู่ที่ 416,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

John Furner ซีอีโอของ Walmart ระบุว่า หลายปีที่ผ่านมาลูกค้าหลายล้านคนได้ให้ความไว้วางใจใน Walmart ที่ไม่เพียงจะช่วยประหยัดเงินเมื่อซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยจัดการความต้องการทางการเงินของพวกเขาด้วย

(Photo by Al Bello/Getty Images)

Walmart หันมาสนใจธุรกิจให้บริการทางการเงิน โดยการเริ่มทดลองตลาดด้วยการออก Walmart MoneyCard บัตรเดบิตแบบเติมเงินเพื่อซื้อสินค้าภายในร้าน ชูจุดเด่นหลักๆ อย่างการไม่มีค่าธรรมเนียมเบิกเกินบัญชีหรือรายเดือน และไม่มีข้อกำหนดยอดเงินขั้นต่ำ

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอแผนชำระเงินทางเลือกเพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโถคที่มีงบจำกัด เช่น Layaway และ Affirm ซึ่งเป็นบริษัทฟินเทคที่อนุญาตให้ลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์ เเละสามารถผ่อนชำระทีหลังได้ 

Bloomberg มองว่า เป้าหมายในธุรกิจฟินเทคของ Walmart คือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับที่ Alibaba อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ในเอเชีย เป็นทั้งผู้ค้าปลีกออนไลน์และผู้ให้บริการทางการเงินในแพลตฟอร์มเดียวกัน

การขยายไปรุกตลาดฟินเทคอย่างจริงจังของ Walmart ครั้งนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในสงครามค้าปลีกยุคใหม่ที่จะเอามาต่อกรกับ Amazon ค้าปลีกออนไลน์ที่เฟื่องฟูขึ้นอย่างมากในวิกฤต COVID-19

 

 

ที่มา : Bloomberg , CNBC , Businesswire

]]>
1313802
JD.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายแรกที่รับชำระด้วย “หยวนดิจิทัล” https://positioningmag.com/1309936 Sat, 12 Dec 2020 06:21:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309936 ฟินเทคแมกกาซีน สื่อต่างประเทศ รายงานว่า JD.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจะกลายเป็นผู้ค้าปลีกออนไลน์รายแรกที่รับชำระค่าสินค้าด้วย “หยวนดิจิทัล” โดยเป็นส่วนหนึ่งของการนำร่องศักราชหยวนจีน โดยธนาคารกลางจีน

รายงานข่าวระบุว่า ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) จะจัดสรรเงิน 20 ล้านหยวน (3 ล้านดอลลาร์) ในรูปแบบดิจิทัลให้กับประชาชนเพื่อทดลองใช้ “สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง” (Central Bank Digital Currency – CBDC)

ผู้อยู่อาศัยในซูโจวเมืองทางตะวันตกของเซี่ยงไฮ้ ศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ จะได้รับการจัดสรรเงินหยวนดิจิทัลผ่านระบบลอตเตอรี่ Suzhoudao ซึ่งเป็นแอปบริการสาธารณะของเมือง ด้วยการออก “อั่งเปา ซองแดง” เสมือนจริง ประมาณ 100,000 ซองพร้อมสกุลเงินที่ต้องใช้ภายในวันที่ 27 ธันวาคม

ซึ่งผู้ได้รับจะสามารถใช้สกุลเงินนี้ได้ที่ร้านค้าในพื้นที่หลายพันราย รวมถึงสินค้าที่เลือกบนเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ JD.com

ธนาคารกลางของจีนกำหนดให้มีการริเริ่ม Digital Currency Electronic Payment (DCEP) ซึ่งเป็นสกุลเงินที่แตกต่างจากสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ใต้การควบคุมและออกโดยธนาคารกลาง

โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการทดลองในเดือนตุลาคม ในภูมิภาค เซินเจิ้น ผู้อยู่อาศัยราว 50,000 คนแต่ละคนได้รับเงิน 200 หยวนดิจิทัล เพื่อใช้จ่ายในท้องถิ่นผ่านแอป มีการทดลองธุรกรรม DCEP มากกว่าพันล้านรายการทั่วประเทศในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงการชำระค่าบริการของรัฐ ค่าสาธารณูปโภค และระบบขนส่งสาธารณะ

ยังไม่มีการประกาศวันที่อย่างเป็นทางการสำหรับการเปิดตัวเงินหยวนดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ แม้ว่าแบรนด์ระดับโลกเช่น McDonalds และ Starbucks ได้ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการทดลองเพิ่มเติม แผนการนำร่องอื่นๆ มีแผนจะเกิดขึ้นในช่วงโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2022

Source

]]>
1309936
ทิศทางใหม่ ‘Nike’ ดันยอดขายอีคอมเมิร์ซพุ่ง 82% เมื่อออนไลน์คือ New Normal ของผู้บริโภค https://positioningmag.com/1298964 Sun, 27 Sep 2020 10:54:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298964 การปรับสู่ขายออนไลน์เต็มสูบของเเบรนด์ดังอย่าง ‘Nike’ เป็นทิศทางใหม่ที่ไปได้สวยเลยทีเดียว หลังยอดขายผ่านอีคอมเมิร์ซพุ่งสูงกว่า 82% ในไตรมาสที่ผ่านมา

John Donahoe ซีอีโอของ Nike บอกว่าเราต่างรู้ดีว่าดิจิทัลเป็น New Normal ในยุคนี้ และพฤติกรรมผู้บริโภคจะไม่กลับไปเป็นแบบเดิมอีกเเล้ว” 

บรรดาผู้ผลิตเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬารายใหญ่ของโลก ต่างปรับตัวมาขายตรงกับผู้บริโภคมากขึ้น ตามผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของตัวเอง ซึ่ง Nike เริ่มดำเนินกลยุทธ์นี้มาตั้งเเต่ก่อนวิกฤต COVID-19

ช่วงที่ผ่านมาเเม้ยอดขายทางออนไลน์ของ Nike จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เเต่ตอนขายหน้าร้านลดลงอย่างมากเมื่อต้องปิดให้บริการชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ (ไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ) บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 6.31 พันล้านดอลลาร์ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีรายได้ที่ 1.01 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือลดลงมากถึง -38% โดยมียอดขาดทุนสุทธิ 790 ล้านดอลลาร์ 

ขณะเดียวกัน การที่ผู้คนหลีกเลี่ยงไปออกกำลังกายที่ยิม ก็มีส่วนหนุนให้ยอดขายออนไลน์ของ Nike เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะคนต้องการออกกำลังกายที่บ้านมากขึ้น ทำให้ยอดขายดิจิทัลเติบโต 82% มากกว่าไตรมาสก่อนหน้านี้ที่ Nike ทำยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 75% คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของยอดขายทั้งหมด ที่  Nike เคยวางเป้าหมายว่าจะทำให้ได้ในปี 2023

Nike มีกำไรสุทธิในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น 11% เป็น 1.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) จากการลดค่าใช้จ่ายในสาขาเเละลดต้นทุนการบริหารโดยถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่เกินความคาดหมายของเหล่านักวิเคราะห์

(Photo by Spencer Platt/Getty Images)

เมื่อดูเป็นรายภูมิภาคพบว่า ในยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เเต่ธุรกิจค้าส่งเเละสาขาก็ยังมีลูกค้าไปเยือนลงลดมาก เเม้ในตลาดใหญ่อย่างจีนจะฟื้นตัวเร็วมาก เเต่การฟื้นตัวโดยรวมของเอเชียแปซิฟิกและลาตินอเมริกา กลับลดลง 18% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เเม้ตอนนี้ร้านค้ากว่า 90% จะกลับมาเปิดให้บริการปกติเเล้วก็ตาม

ขณะที่ หากเเบ่งเป็นหมวดหมู่ พบว่า ยอดขายกลุ่มเสื้อผ้าของ Nike ลดลง 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายอุปกรณ์ลดลง 17%

ส่วนสินค้าที่ขายดีขึ้นคือรองเท้า โดยมีการเติบโตขึ้น 4% ถือว่าดีขึ้นกว่าไตรมาสก่อนหน้าซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2020 ที่รองเท้ามียอดขายลดลง 35% เสื้อผ้าลดลง 42% เเละอุปกรณ์กีฬาลดลง 53% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019

Christopher Svezia นักวิเคราะห์ของ Wedbush ให้ความเห็นกับ Reuters ว่า ยอดขายรองเท้าและเครื่องแต่งกายกีฬาทั่วโลกของ Nike จะฟื้นตัว โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ และจะเติบโตยิ่งขึ้น เมื่อกลุ่มนักเรียนนักศึกษากลับไปเรียนที่สถานศึกษาได้เหมือนเดิมอีกครั้ง

ทั้งนี้ Nike ประกาศจะปรับลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 1 .. เป็นต้นไป โดยจะหันไปเน้นการลงทุนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น รวมถึงจะยกเลิกสัญญากับผู้ค้าปลีกหลัก 9 ราย และดีลกับห้างสรรพสินค้า Dillard’s และ Zappos ของ amazon.com พร้อมกับการระงับเเผนที่จะเปิดโรงงานใหม่ในรัฐแอริโซนาของสหรัฐฯ ด้วย

 

ที่มา : Reuters (1)(2) , Business Insider

 

]]>
1298964
ขายออนไลน์ยุค COVID-19 ไม่ง่าย E-Market Place ต่างชาติในไทยขาดทุนต่อเนื่อง 30-40% https://positioningmag.com/1280713 Tue, 26 May 2020 11:34:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280713 อีกมุมของการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ในไทยช่วง COVID-19 เเม้ตลาดจะขยายตัวจากพฤติกรรม New Normal ที่ผู้คนหันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับการเเข่งขันสูงเเละรุนเเรง เจอความเสี่ยงจากกำลังซื้อของผู้บริโภคหดตัวลง ต่อไปจากนี้จะเป็นความท้าทายอีกขั้นของผู้ค้าปลีกออนไลน์เเละ E-Market Place ต่างชาติ

เห็นได้ชัดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤต COVID-19 ตลอดช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคเกิดการปรับตัวและหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้นในช่วงที่มีการกักตัวและทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from Home)

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการค้าปลีกแต่ละราย ต่างก็ต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรุกเข้าสู่ตลาดค้าปลีกออนไลน์เพื่อหาช่องทางสร้างรายได้ ซึ่งแน่นอนว่า ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของการออกไปใช้จ่ายนอกบ้าน ความกังวลในเรื่องของสุขภาพ ส่งผลให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์มีการขยายตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การดำเนินธุรกิจค้าปลีกภายใต้สภาวะ New Normal แม้ว่าส่วนหนึ่งจะกระตุ้นให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตขึ้น แต่ถึงกระนั้น ผู้ประกอบการค้าปลีกต่างก็เผชิญการแข่งขันที่รุนแรงและยากลำบากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ E-Market Place ต่างชาติ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบและเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น 

ภายหลังจากการเกิดวิกฤต COVID-19 ทำให้ E-Market Place ต่างชาติ ซึ่งเน้นจำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าไม่จำเป็น (Non-food) เช่น สินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์ไอที ของใช้ในครัวเรือน เผชิญความท้าทายและแรงกดดันรอบด้าน เช่น

  • กำลังซื้อที่ยังอ่อนแรงอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภค และคาดว่าจะยังไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น หรือเลือกใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ดังนั้น สินค้ากลุ่มฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็นกลุ่ม Non-food จึงเป็นสินค้าที่คาดว่าผู้บริโภคจะลดการใช้จ่ายลง และน่าจะได้รับผลกระทบที่มากกว่าสินค้ากลุ่มอาหาร (Food) และสินค้าอุปโภคบริโภคหรือของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน (Fast-Moving Consumer Goods: FMCG)
  • เผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในกลุ่มสินค้า Non-food กับกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าปลีกสินค้าเฉพาะ (Specialty Store) ที่มี Website หรือ Brand ของตนเอง เช่น ร้านค้าปลีกเฉพาะสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไอที ของใช้จำเป็นภายในบ้าน ซึ่งผู้ประกอบการกลุ่มนี้มักเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวได้เร็ว อีกทั้งยังอาศัยความน่าเชื่อถือของแบรนด์ซึ่งเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค ควบคู่กับการจัดทำโปรโมชั่นและยกระดับคุณภาพของการให้บริการที่ดีสม่ำเสมอในการแย่งชิงกำลังซื้อของลูกค้า เช่น ลดราคาสินค้า ผ่อน 0% ที่ยาวนานขึ้น เเละยังมีการจัดส่งสินค้าฟรี รวมถึงการเอาใจใส่ลูกค้า บริการหลังการขาย มีการสื่อสารและสามารถตอบคำถามลูกค้าได้เร็ว รวมถึงการเชื่อมโยงสิทธิพิเศษต่างๆ ของลูกค้าผ่านช่องทาง Online to Offline (020) ทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกสบายและมั่นใจมากขึ้น เป็นต้น
เหอหม่า ซูเปอร์มาร์เก็ตที่หลอมรวมออนไลน์และออฟไลน์ของ Alibaba
  • โอกาสเจาะตลาดสินค้ากลุ่มอาหาร (Food) และอุปโภคบริโภค (FMCG) ที่จำกัดลงมาก เพราะบรรดาผู้ประกอบการค้าปลีก Modern Trade อย่างพวกซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ต่างโหมเข้ามาทำการตลาดในกลุ่มสินค้านี้บนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างรวดเร็ว ในระยะข้างหน้า หลังเกิดโควิด-19 สินค้ากลุ่มอาหารและอุปโภคบริโภคจะขึ้นมามีบทบาทในตลาดค้าปลีกออนไลน์มากขึ้น ซึ่งการที่ผู้ประกอบการ E-Market Place ต่างชาติ ไม่สามารถขยายผลิตภัณฑ์มาครอบคลุมสินค้ากลุ่มนี้จนสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันกลับถูกคู่แข่งที่สำคัญอย่างกลุ่ม Modern Trade รายใหญ่ที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 และคาดว่าผู้ประกอบการค้าปลีก Modern Trade จะยังคงเร่งปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจบนแพลตออนไลน์ชัดเจนขึ้นอีก แนวโน้มดังกล่าว ทำให้คาดว่าผู้ประกอบการค้าปลีก Modern Trade จะกลายเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทมากขึ้นในสินค้ากลุ่มนี้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้ประกอบการ E-Market Place ต่างชาติ จะขยายตลาดมาครอบคลุมสินค้ากลุ่มนี้ และอาจต้องเผชิญโจทย์การแข่งขันที่หนักเพิ่มขึ้น
(Photo by Mario Tama/Getty Images)

E-Market Place ต่างชาติในไทยจะขาดทุนต่อเนื่อง 30-40%

จากปัจจัยดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดว่า ภายหลังจากการเกิดวิกฤต COVID-19 บทบาทของ E-Market Place ต่างชาติ ในตลาดรวมของ E-Commerce น่าจะเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่คาดว่าจะมีความได้เปรียบและมีบทบาทมากขึ้นในระยะข้างหน้า ก็อาจจะเผชิญการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจากปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น และยังต้องทำการอัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มของตนเอง

“คาดว่าผลประกอบการจะยังคงขาดทุนต่อเนื่อง ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงนี้ โดยผลประกอบการของ E-Market Place ต่างชาติ น่าจะยังคงขาดทุนต่อเนื่องร้อยละ 30-40 ต่อปี เมื่อเทียบกับรายได้ในปี 2563-2565 และถือเป็นการขาดทุนมาโดยตลอดเฉลี่ยร้อยละ 46 ต่อปี เมื่อเทียบกับรายได้ นับตั้งแต่ปีที่ผู้ประกอบการ E-Market Place กลุ่มดังกล่าวเริ่มเข้ามาลงทุนแพลตฟอร์มและทำตลาดค้าปลีกออนไลน์ในไทย” 

ด้านผู้ประกอบการที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Social Commerce ไม่ว่าจะเป็นรายเล็ก-รายใหญ่ รวมถึงผู้เล่นที่เดิมไม่ได้ทำธุรกิจค้าปลีก ที่ต่างก็เข้ามาเพื่อหาทางสร้างรายได้นั้น โดยเฉพาะผู้เล่นรายใหม่ที่อยู่ในกลุ่มสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นรายย่อยที่เน้นขายสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เช่น อาหารพร้อมทาน อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่ม สินค้าเกษตร เช่น ผลไม้ เป็นต้น

ในระยะสั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ผลกระทบจาก COVID-19 น่าจะทำให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีโอกาสทำรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการซื้อขายบน Social Commerce ของกลุ่มสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งถือเป็นสีสันที่เกิดขึ้นในช่วงกักตัวหรือ Work from Home มีการซื้อขาย ช่วยเหลือและอุดหนุนกันภายในกลุ่มพี่น้องร่วมสถาบัน หรือแม้แต่การช่วยเหลือและอุดหนุนสินค้าของกลุ่มเกษตรกรที่เกิดขึ้นในระยะสั้น

ในระยะกลางถึงยาว ผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านี้ น่าจะต้องเผชิญความท้าทายมากขึ้นจากคู่แข่งที่มีจำนวนมากราย บวกกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีจำกัด หากสินค้าและบริการไม่แตกต่างหรือปรับตัวไม่ทันตามความต้องการของผู้บริโภค ก็จะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงและยากลำบาก โดยผู้ประกอบการที่สร้างรายได้สุทธิไม่เพียงพอหรือไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้เล่นรายย่อย สุดท้ายอาจต้องออกจากธุรกิจไป

ทั้งนี้ แม้ว่าส่วนหนึ่งปัจจัยทางด้าน COVID-19 จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์โตขึ้นจากการเข้าสู่สภาวะ New Normal แต่อีกส่วนหนึ่งก็กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดตัว และคาดว่าจะไม่กลับมาฟื้นตัวได้เร็วนัก จึงทำให้ผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและประหยัด เพราะไม่มั่นใจรายได้ของตนเองในอนาคต

ค้าปลีกออนไลน์ โตเเต่ชะลอตัว 

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินว่า ตลาดค้าปลีกออนไลน์ B2C E-Commerce (เฉพาะสินค้า) ในปี 2563 แม้ว่าจะยังคงขยายตัวราวร้อยละ 8-10 แต่ก็เป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ขยายตัวราวร้อยละ 20 หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 3.0-3.2 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.7 ของมูลค่าตลาดค้าปลีกรวม

โดยกลุ่มสินค้าอาหารและของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน น่าจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากสภาวะ New Normal ส่วนสินค้าที่ไม่จำเป็นหรือสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างกลุ่มแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า น่าจะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่อ่อนแรง และคงใช้เวลาในการฟื้นตัวที่นานกว่าสินค้ากลุ่มอาหารและของใช้จำเป็น

 

“ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เข้าสู่สภาวะ New Normal ผู้ประกอบการค้าปลีกทุกรายจะเผชิญความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ E-Commerce ที่ยากลำบากขึ้น และอาจจะต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าที่คาดในการกลับมาฟื้นตัวของธุรกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว ให้สามารถตอบโจทย์หรือสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและอยู่รอดได้” 

]]>
1280713
Walmart ยกเลิกบริการส่ง “สินค้าสด” ถึงบ้านผ่าน Jet.com แล้ว https://positioningmag.com/1254620 Sun, 24 Nov 2019 07:15:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254620 Jet.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของ Walmart ประกาศยกเลิกให้บริการส่ง “สินค้าสด” (fresh groceries) ในนครนิวยอร์ก สหรัฐฯ หลังทดลองให้บริการมา 1 ปี เเต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

โดยบริการส่งสินค้าสดถึงบ้านของ Jet.com นั้นเริ่มต้นธุรกิจในนครนิวยอร์กก่อน เเละเคยมีเเผนจะขยายไปยังบอสตัน ฟิลาเดเฟีย และวอชิงตัน ดีซีด้วย เเต่หลังเปิดให้บริการไปเพียง 1 ปี ทางบริษัทเเม่อย่าง Walmart ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของประเทศ ก็ประกาศยกเลิกบริการในส่วนนี้ของ Jet.com โดยจะหันไปโฟกัสกับการขายสินค้าเเห้งเเละสินค้าทั่วไปอื่นๆ เเทน

Walmart เปิดเผยว่า บริษัทได้เรียนรู้อย่างมากจากการทดสอบขายของประเภทสดเเละส่งตรงถึงบ้านลูกค้าในนิวยอร์ก ซึ่งต่อไปจะได้มุ่งเน้นที่ตลาดของแห้งและสินค้าทั่วไปที่มีอยู่ใน Jet.com นับล้านรายการเเทน โดยจะยังคงพัฒนาเเละมอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในเมืองใหญ่ต่อไป

รายงานข่าวของ CNBC ระบุว่าบริการส่งสินค้าสดนี้เป็นเเค่ส่วนที่เล็กที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณธุรกรรมทั้งหมดของ Jet.com

Walmart เข้าซื้อ Jet.com ด้วยมูลค่า 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2016 เพื่อขยายฐานค้าปลีกออนไลน์เเละระบบส่งเดลิเวอรี่ของบริษัทที่เป็นห้างสรรพสินค้าเเบบดั้งเดิม เเละการที่ Walmart มาทุ่มเงินเปิดบริการเดลิเวอรี่สินค้าประเภทของสดผ่าน Jet.com นั้นก็เพื่อแข่งกับยักษ์อีคอมเมิร์ซอย่าง Amazon เเต่ก็จะต้องถอยไปตั้งหลักเสียใหม่

ภายหลังมีข่าวประกาศยกเลิกให้บริการส่ง “สินค้าสด” ครั้งนี้ ทำให้หุ้น Walmart ลดลงน้อยกว่า 1% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา เเต่โดยรวมเเล้วหุ้นของ Walmart ได้ปรับตัวขึ้นมากกว่า 28% ในปีนี้ โดยปัจจุบัน Walmart มีมูลค่าตลาดประมาณ 3.4 เเสนล้านเหรียญสหรัฐ

ที่ผ่านมา Walmart เปลี่ยนนโยบายมาโฟกัสกับอีคอมเมิร์ซเป็นอันดับแรกพร้อมขยายกลุ่มลูกค้าจากการเข้าซื้อกิจการสตาร์ทอัพต่างๆ เเละนำเทคโนโลยีมาต่อยอดบริการทั้งการช้อปปิ้งออนไลน์เเละออฟไลน์

Photo : Jet.com  via facebook

Source

 

]]>
1254620
3 สิ่งที่ทุกบริษัทเรียนรู้ได้ จากสำนักงานใหญ่ แห่งที่ 2 ของ Amazon https://positioningmag.com/1154359 Wed, 24 Jan 2018 04:01:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154359 ภาพจาก : entrepreneur.com

หนึ่งในข่าวใหญ่ที่สังคมอเมริกันให้ความสนใจช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ ความคืบหน้าเรื่องการตั้งสำนักงานใหญ่แห่งที่ 2 ของเจ้าพ่อค้าปลีกออนไลน์ Amazon ความน่าสนใจของเรื่องนี้มีหลายจุด และทุกจุดสามารถเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทสามารถเรียนรู้ และนำแนวคิดไปปรับความคิด หรือ mindset ที่จำเป็นต้องมีหากต้องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในมืออย่างคุ้มค่าที่สุด

1. โชว์พลังให้โลกรู้

สัปดาห์ที่ผ่านมา Amazon ออกมาเล่าความคืบหน้าเรื่องแผนการตั้งสำนักงานใหญ่ในอเมริกาเหนือ ซึ่งมีชื่อเล่นว่า HQ2 แน่นอนว่า Amazon ไม่ได้เล่าเปล่า แต่ใช้เรื่องเล่านี้เป็นการโชว์พลังที่ไม่ธรรมดา

Amazon ระบุว่าโครงการนี้มี 238 เมืองที่เสนอตัวมาให้ Amazon เลือกในฐานะเมืองที่มีศักยภาพมากพอที่จะเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่แห่งที่ 2 ของ Amazon โดยผู้เข้ารอบ 20 เมืองสุดท้ายจากทั้งหมด 238 เมืองคือ แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย, ออสติน รัฐเท็กซัส, บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตต์, ชิคาโก รัฐอิลลินอยด์, โคลัมบัส รัฐโอไฮโอ, ดัลลัส รัฐเท็กซัส, เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด, อินเดียนาโปลิส รัฐอินเดียน่า, ลอสแองเจลลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย

ยังมีไมอามี รัฐฟลอริดา, มอนโกเมอรี เคาท์ตี รัฐแมรีแลนด์, แนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี, นวอร์ก รัฐนิวเจอร์ซี, นิวยอร์กซิตี รัฐนิวยอร์ก, นอร์ธเทิร์น เวอร์จินา รัฐเวอร์จินา, ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลวาเนีย, พิตส์เบิร์ก รัฐเพนซิลวาเนีย, ราเลจ รัฐนอร์ธแคโรไลนา, โตรอนโต รัฐออนทาริโอ และวอชิงตัน ดี.ซี.

นอกจากตัวเลขการก่อสร้างมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และโอกาสสร้างงาน 50,000 ตำแหน่งในสหรัฐฯ Jeff Bezos และทีมงานพยายามระมัดระวัง ที่จะเน้นว่าสำนักงานนี้จะเป็นบ้านหลังที่สองของบริษัท ไม่ใช่สำนักงานทั่วไปที่จะดูแลธุรกิจทางไกลเท่านั้น

สิ่งที่ Amazon ยืนยันว่าตัวเองกำลังมองหา ไม่ใช่สถานที่ตั้งสำนักธรรมดาที่จะดูแลธุรกิจในปักกิ่ง ถึงเคปทาวน์ หรือลอนดอนได้สะดวก แต่เป็นพื้นที่ที่มีชุมชนแข็งแกร่ง ที่มีบุคลากรเทคนิคหรือ talent สูงพอจะป้อนสำนักงานแห่งนี้

2. mindset ต้องชัด

ในแถลงการณ์ Amazon ระบุชัดเจนว่า หวังมองหาพื้นที่มหานครที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน เมืองนี้จะต้องมีสภาพแวดล้อมที่มั่นคงและเป็นมิตรกับธุรกิจ พื้นที่ในเมืองหรือชานเมืองก็ได้นี้จะต้องมีศักยภาพในการดึงดูด และรักษาบุคลากรที่มีความสามารถทางเทคนิคที่แข็งแกร่ง

ที่สำคัญ เมืองนี้ควรมีชุมชนที่คิดใหญ่ (think big) และสร้างสรรค์ โดยเฉพาะในแง่ทางเลือกในการซื้อหาอสังหาริมทรัพย์ 

ความต้องการเหล่านี้ดูเหมือนธรรมดา แต่ความต่างคือ Amazon มีความคิดตั้งมั่น หรือ mindset ชัดเจนว่าต้องการเลือกพื้นที่ที่สามารถเป็นศูนย์รวมคนได้ดี ซึ่งจะทำให้ Amazon มีอิทธิพลและมีพื้นฐานที่จะหยั่งรากได้ลึกขึ้น แถมพลังของแบรนด์จะยิ่งรวมกับพลังของฝูงชนที่จะเกิดขึ้นด้านความคิดสร้างสรรค์ได้อีกทอด หากมีสำนักงานใหญ่แห่งที่ 2 เกิดขึ้น

3. คิดนอกกรอบ

Amazon มีมุมมองที่กว้างขวางเรื่องสมรภูมิที่ตั้ง HQ2 โดยย้ำว่าไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ในเมืองหรือย่านเศรษฐกิจ

การมองว่าสำนักงานใหญ่ของบริษัทสามารถตั้งได้ในดินแดนห่างไกล นี้ไม่ต่างจากสำนักงานใหญ่ในซีแอตเติลที่ใช้รูปแบบเดียวกัน

โดย Amazon ระบุว่าพื้นที่ตั้ง HQ2 ไม่จำเป็นต้องมีเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว หรือ “development-prepped site” จุดนี้ Amazon ย้ำว่าต้องการสนับสนุนให้รัฐและชุมชน คิดอย่างสร้างสรรค์สำหรับตัวเลือกอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพ ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียต่อระยะเวลาก่อสร้างที่ Amazon วางไว้

กรอบของสิ่งที่ Amazon ต้องการสำหรับ HQ2 ช่วยให้เมืองเหล่านี้สามารถเสนอข้อเสนอที่สร้างสรรค์ได้ดีที่สุด ดังนั้นบริษัทใดที่ต้องการค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ บริษัทนั้นสามารถสร้างอิมแพค ด้วยการท้าทายให้ชุมชนเสนอแนวทางได้อย่างเสรี ความนอกกรอบนี้จะไม่ต้องใช้เงินทุนหลายล้านเหรียญในการทำวิจัย เหมือนที่ Amazon ประหยัดเงินไปได้หลายสตางค์

ที่มา : entrepreneur.com/article/307757

]]>
1154359
FMCG ต้องโกออนไลน์ เหตุอีคอมเมิร์ชแซงโค้งโตทันใน 3 ปี https://positioningmag.com/1153052 Tue, 09 Jan 2018 09:02:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153052 รายงานจากบริษัทนีลเส็นยังเผยว่า ในอีกสี่ปีข้างหน้า ขนาดของการ “ค้าปลีกแบบอีคอมเมิร์ซ” จะทัดเทียมกับตลาดกลุ่มสินค้า FMCG ทั่วโลกได้ แน่นอนว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไอทีแล้ว กลุ่ม FMCG ยังคงน้อยกว่า แต่มันมีความเป็นไปได้ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป และธุรกิจในกลุ่ม FMCG จะอยู่เฉยไม่ได้อีกแล้ว

นีลสัน เผยผลสำรวจ คาดปี 63 อีคอมเมิร์ชทั่วโลกมีมูลค่า 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โต 20% กระทบ FMCG ที่โตได้เพียง 4% ส่งผลช้อปปิ้งออนไลน์คึกคัก เนสท์เล่ยูนิลีเวอร์ จัดเต็มช่องทางขายออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

นีลเส็นฟันธง สมาร์ทโฟนโตไม่มีผลต่อ Online Grocery

อัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนมักถูกมองว่าเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการเติบโตของการค้าปลีกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่ผลสำรวจ “Nielsen: What’s Next in Ecommerce 2017” จากบริษัทนีลเส็น เผยว่าการที่ผู้คนใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นไม่ได้แสดงถึงความต้องการต่อกลุ่มสินค้า FMCG หรือ online grocery ที่มากขึ้นแต่อย่างใด ความสัมพันธ์ระหว่างการซื้อของสดออนไลน์กับอัตราการใช้งานสมาร์โฟนนั้นเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาและเหตุผลของแต่ละตลาดก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย

การใช้งานของการซื้อของสดออนไลน์ในประเทศสิงคโปร์มีอัตราที่ต่ำกว่าในประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนที่สูงกว่า
ที่มา: นีลเส็น

โดยพบว่า สมาร์ทโฟนและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ส่งผลแก่การ เติบโต” ของอุตสาหกรรมการซื้อของสดออนไลน์เพียงแค่ 40% เท่านั้น และเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลกที่เข้าถึงสมาร์ทโฟนและช้อปปิ้งออนไลน์ พบว่า การใช้งานของการซื้อของสดออนไลน์ในประเทศสิงคโปร์มีอัตราที่ต่ำกว่าในประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าสิงคโปร์จะมีอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนที่สูงกว่าประเทศฝรั่งเศสก็ตาม

เห็นได้จากการเปิดตัวบริการซื้อของสดออนไลน์ของห้างค้าปลีก อย่าง เทสโก้ ออนไลน์ (Tesco online) ที่ประเทศอังกฤษในปี 2539 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายของคนทั้งประเทศ และในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวอังกฤษจึงคุ้นเคยกับการซื้อของสดออนไลน์ไปแล้ว

การซื้อสินค้าในห้างยังถูกมองว่าเป็นกิจกรรมสำหรับการพักผ่อนอีกอย่างหนึ่ง และยังคงเป็นที่นิยมแม้ว่าอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนจะสูงมากในประเทศสิงคโปร์ก็ตาม ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกัน ดังนั้น การค้าปลีกของภูมิภาคนี้จึงจะโตตามอีคอมเมิร์ซ ไม่ใช่อัตราใช้งานสมาร์ทโฟน ซึ่งแตกต่างจากประเทศทางตะวันตก

ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ การไปห้างเพื่อซื้อสินค้ากลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวสิงคโปร์ เนื่องจากห้างสรรพสินค้าที่ประเทศสิงคโปร์มักตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกและมีผู้คนเดินผ่านตลอดเวลา เช่น ใกล้สถานีรถไฟ

การซื้อสินค้าในห้างยังถูกมองว่าเป็นกิจกรรมสำหรับการพักผ่อนอีกอย่างหนึ่ง และยังคงเป็นที่นิยมแม้ว่าอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนจะสูงมากในประเทศสิงคโปร์ก็ตาม ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกัน

ดังนั้น การค้าปลีกของภูมิภาคนี้จึงจะโตตามอีคอมเมิร์ซ ไม่ใช่อัตราใช้งานสมาร์ทโฟน ซึ่งแตกต่างจากประเทศทางตะวันตก

สมาร์ทโฟนและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตส่งผลแก่การเติบโตของอุตสาหกรรมการซื้อของสดออนไลน์เพียงแค่ 40% เท่านั้น

ผลกระทบต่อธุรกิจ FMCG

แม้ว่าอีคอมเมิร์ซจะมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของยอดขายในอุตสาหกรรมการค้าปลีกทั่วโลกเพียง 10% แต่หลังจากที่การคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจะมีอัตราการเติบโตรวมกันถึง 20% (CAGR) ภายในปี 2563 พร้อมกลายเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงถึง สี่ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจึงจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่ากลุ่มสินค้า FMCG ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะโต 4% (CAGR)

รายงานจากบริษัทนีลเส็นยังเผยว่า ในอีกสี่ปีข้างหน้า ขนาดของการ “ค้าปลีกแบบอีคอมเมิร์ซ” จะทัดเทียมกับตลาดกลุ่มสินค้า FMCG ทั่วโลกได้ แน่นอนว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไอทีแล้ว กลุ่ม FMCG ยังคงน้อยกว่า แต่มันมีความเป็นไปได้ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป และธุรกิจในกลุ่ม FMCG จะอยู่เฉยไม่ได้อีกแล้ว

ข่าวการร่วมมือกันระหว่าง Danone และ Lazada ทำให้เห็นว่ามีบริษัทกลุ่มสินค้า FMCG ที่เห็นความสำคัญของช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ ใช้เป็นกลยุทธ์ขยายธุรกิจมากขึ้น ซึ่งรวมถึง “เนสท์เล่และยูนิลีเวอร์” ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ที่หันมาให้ความสำคัญกับช่องทางขายออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน 

โดยเฉพาะตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเซาท์อีสต์เอเชีย พบว่าผู้บริโภคในภูมิภาคนี้คุ้นเคยกับการซื้อของออนไลน์มากขึ้น โดยมีธุรกิจอย่าง Happy Fresh และ Honestbee หรือแม้กระทั่งซูเปอร์มาร์เก็ตไฮเทคอย่าง Hema Supermarket ของ Alibaba เข้ามาให้บริการ ยืนยันถึงความต้องการต่อการซื้อของสดออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นจากผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี.

ที่มา : ecommerceIQ พอร์ทัลที่รวบรวมผลการวิจัยและการรายงานทางการตลาดการค้าปลีกออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับการสนุบสนุนจากบริษัท aCommerce ผู้ให้บริการโซลูชั่นส์ทางด้านอีคอมเมิร์ซ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

]]>
1153052
ยุคทอง FedEx และ UPS? เมื่อชาวออนไลน์แห่คืน “ของขวัญที่ไม่ต้องการ” https://positioningmag.com/1151999 Thu, 28 Dec 2017 03:41:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151999 ต้องบอกว่าเป็นอีกแง่มุมของวงการค้าปลีกออนไลน์ที่ไม่ค่อยมีการเปิดเผยนัก สำหรับสถิติการส่งคืนสินค้าที่คลิกสั่งซื้อมาแล้วไม่ถูกใจลูกค้า ล่าสุดบริษัทจัดส่งพัสดุอย่าง FedEx ประเมินแล้วว่า สินค้ากว่า 15% ที่ถูกซื้อขายออนไลน์นั้นมีการส่งคืน คาดว่ามูลค่าสินค้าที่มีการส่งคืนเฉพาะช่วงเทศกาลหยุดยาวทั่วโลกจะแตะระดับ 9 หมื่นล้านเหรียญหรือประมาณ 2.9 ล้านล้านบาท

ร้านค้าปลีกออนไลน์วันนี้ใช้วิธีเปิดเสรีให้ลูกค้าส่งคืนสินค้าที่ไม่ถูกใจได้ตามต้องการในวันที่กำหนด ความจริงนี้ทำให้บริษัทชิปปิ้งอย่าง FedEx และ UPS ได้รับอานิสงส์จนสามารถทำเงินจากธุรกิจรับส่งคืนสินค้า e-commerce ได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเทศกาลหยุดยาวปลายปี 2017

เบื้องต้น ข้อมูลจากบริษัท Optoro ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการเฉพาะทางแก่ธุรกิจจัดส่งสินค้าคืน ระบุว่าผู้บริโภคทั่วโลกจะส่งคืนสินค้ากลับสู่ผู้ค้าคิดเป็นมูลค่าสินค้าราว 9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตัวเลขนี้ถือว่าใกล้เคียงกับมูลค่าสินค้ารวมตลอดไตรมาสที่ถูกส่งคินในแต่ละปี 

จุดนี้ Optoro ย้ำว่ามูลค่ารวมของสินค้าที่ถูกส่งคืนในแต่ละปีนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริโภคหันมาสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น

แน่นอนว่าบริษัทจัดส่งพัสดุอย่าง FedEx และ UPS ต่างพยายามครองส่วนแบ่งในธุรกิจส่งคืนสินค้าให้มากขึ้น โดยพยายามร่วมมือกับผู้ค้าที่ต้องเผชิญกับลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าภายใต้นโยบายรับคืนสินค้าแบบใจกว้างและดำเนินการง่าย

เรื่องนี้ Trevor Outman ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริษัท Shipware ที่ปรึกษาด้านบริการขนส่งสินค้า อธิบายว่า การส่งคืนสินค้านั้นถือเป็นความท้าทายหลักสำหรับผู้ค้าปลีกในวันนี้ เนื่องจากต้นทุนที่ต้องเสียให้กับการส่งคืนสินค้านั้นเพิ่มมากขึ้นตามอัตราการเติบโตของวงการ e-commerce ผลคือผู้ค้าออนไลน์กำลังเร่งพยายามลดต้นทุนการ shipping โดยแนะนำว่าหนึ่งในวิธีที่สามารถลดค่าจัดส่งสินค้าได้คือการลดพื้นที่สิ้นเปลืองในกล่อง เพราะกล่องสินค้าที่ใหญ่เกินไปจะทำให้ราคาค่าส่งเพิ่มตามไปด้วย

ด้าน Bruce Cohen หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ค้าปลีก ของบริษัทที่ปรึกษา Kurt Salmon ในเครือ Accenture ระบุว่าการเปิดให้ลูกค้าคืนสินค้ากลายเป็นเครื่องมือสำหรับการแข่งขันในวงการค้าปลีกยุคนี้ ซึ่งหากลูกค้าพบว่าการส่งคืนสินค้าของร้านใดไม่สะดวก ทุกคนก็จะเปลี่ยนไปใช้บริการร้านค้าอื่น

อย่างไรก็ตาม การสำรวจนักช็อปอเมริกันพบว่า ในขณะที่หลายคนคลิกซื้อสินค้าออนไลน์ แต่ส่วนใหญ่เลือกที่จะเดินทางไปคืนสินค้าที่ร้าน เรื่องนี้ Raj Subramaniam หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ FedEx เผยในงานประชุมนักลงทุนของบริษัทเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยประเมินว่าสินค้าราว 15% ที่มีการส่งคืน อัตราการส่งสินค้าขาไปและกลับทำให้บริษัทขนส่งอย่าง FedEx และ UPS เห็นโอกาส และเริ่มสร้างจุดให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ให้ส่งคืนสินค้าง่ายขึ้น

ตัวอย่างเช่นแบรนด์ Kohl’s ที่จะเริ่มเปิดจุดรับคืนสินค้าที่โชว์รูมของบริษัท เพื่อให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าจาก Amazon มีทางคืนสินค้าได้ง่ายขึ้น

ปัจจุบัน FedEx มีจุดบริการรับและส่ง (pick-up and drop-off location) สินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายสาขา รวมถึงในร้านขายยา และอีกหลายสถานที่ในย่านธุรกิจเพื่อต่อยอดธุรกิจรับคืนสินค้า สถิติล่าสุดคือ FedEx ปูพรมตั้งศูนย์บริการมากกว่า 7,500 แห่งในร้าน Walgreens รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ต Kroger และ Albertson’s บางสาขา

ขณะที่ UPS เดินเส้นทางต่างออกไปจาก FedEx โดยไม่เพียงจะหวังรายได้จากธุรกิจส่งคืนสินค้าเท่านั้น แต่ยังพยายามแทรกตัวเข้าไปในวงจรการส่งคืนสินค้าที่ถูกคืนมาเข้าสู่ช่องทางที่อาจขายต่อได้ หมากตานี้ดูดีเพราะ UPS ลุยเครือข่าย Access Point ซึ่งมีจุดให้บริการมากกว่า 27,000 สาขาในย่านธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่ร้านซักแห้งยันร้านขายฮาร์ดแวร์วัสดุก่อสร้าง

เบื้องต้น UPS ให้ข้อมูลว่าในปี 2017 ที่ผ่านมา มีพัสดุ 5.8 ล้านชิ้นถูกส่งกลับไปที่ผู้ค้าปลีกในช่วงสัปดาห์แรกของมกราคม 2017 คาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2018

ผลคือมกราคมถือว่าเป็น “peak of return” หรือช่วงเวลาที่มีการส่งคืนสินค้ามากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 51% ของการส่งคืนสินค้าทั้งหมด โดยข้อมูลจาก Optoro ชี้ว่ามีผู้บริโภคในสหรัฐฯส่วนใหญ่ยอมเสียเวลาส่งคืนของขวัญที่ไม่ต้องการช่วงหลังคริสต์มาส ทำให้การส่งคืนสินค้าช่วงวันที่ 26-31 ธันวาคมปีที่แล้ว คิดเป็น 40% ของสินค้าที่ถูกส่งคืนทั้งหมด

เทรนด์ที่ไปรษณีย์ไทยอาจเริ่มต้นศึกษาในวันนี้ คือความเข้าใจเรื่องการตั้งจุดให้บริการรับและส่งสินค้าว่าเป็นผลดีทั้งตัวธุรกิจและผู้บริโภค การตั้งศูนย์ลักษณะนี้ประหยัดต้นทุนได้ทั้งในแง่เชื้อเพลิงและแรงงาน สินค้าหลายชิ้นสามารถถูกรับไปได้จากจุดให้บริการจุดเดียว ถือว่าคุ้มค่ามากกว่าการส่งสินค้าไปกลับจากหน้าประตู door-to-door อย่างที่เป็นในเอเชีย

ความจริงนี้อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ Kerry น้องใหม่มาแรงในตลาด shipping เมืองไทยเริ่มเปิดสาขาเป็นดอกเห็ดในหลายย่านการค้าด้วย.

ที่มาcnbc.com/2017/12/26/christmas-and-holiday-gift-returns-are-great-for-fedex-and-ups.html

]]>
1151999