ค้าปลีกอเมริกา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 14 Feb 2024 05:37:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Walmart กำลังเจรจาซื้อกิจการ Vizio ผู้ผลิตสมาร์ททีวีในสหรัฐอเมริกา สื่อนอกชี้เป็นอีกช่องทางในการหารายได้จากธุรกิจโฆษณา https://positioningmag.com/1462617 Wed, 14 Feb 2024 05:01:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462617 วอลมาร์ท (Walmart) กำลังเจรจาซื้อกิจการ Vizio ผู้ผลิตสมาร์ททีวีในสหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าจะใช้เม็ดเงินไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยไม่น้อยกว่า 72,000 ล้านบาท ซึ่งยักษ์ใหญ่ค้าปลีกจะได้ทั้งการขายสมาร์ททีวี และรายได้จากค่าโฆษณา รวมถึงยังเป็นช่องทางโฆษณาให้กับลูกค้าด้วย

Wall Street Journal รายงานข่าว โดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Walmart ค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาซื้อกิจการ Vizio ผู้ผลิตสมาร์ททีวีในสหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าจะต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยมากกว่า 72,000 ล้านบาท

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Walmart ต้องซื้อกิจการของ Vizio เนื่องจากต้องการขยายตลาดในการขายสมาร์ททีวีราคาถูกให้ลูกค้า เนื่องจากคู่แข่งอย่าง Amazon หรือแม้แต่ Roku ได้ลงมาขายสมาร์ททีวีในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแรงกดดันให้กับค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ ต้องลงมาเล่นเกมดังกล่าวด้วย

ขณะเดียวกัน Vizio เองมีข้อมูลลูกค้าจำนวนมากถึง 18 ล้านราย ทำให้ Walmart สามารถเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากกว่าเดิม และยังรวมถึงรายได้จากโฆษณาที่ได้จากการเผยแพร่บนสมาร์ททีวี

ในปีที่ผ่านมา Insider Intelligence คาดว่ารายได้จากธุรกิจโฆษณาของ Walmart จะมีมากถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่บริษัทได้ตั้งธุรกิจด้านโฆษณาขึ้นมาในปี 2021 เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจดังกล่าวภายใต้ชื่อ Walmart Connect

ปัจจุบัน Walmart Connect มีลูกค้าที่เป็นบริษัทขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ บางรายได้ใช้ช่องทางดังกล่าวแทนที่จะลงโฆษณากับบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Apple หรือแม้แต่ Google

อย่างไรก็ดี ดีลดังกล่าว Wall Street Journal ได้รายงานว่ากำลังอยู่ในช่วงการเจรจาเท่านั้น และอาจมีสิทธิ์ที่ดีลดังกล่าวอาจไม่เกิดขึ้นก็ได้

ที่มา – Reuters, The Verge

]]>
1462617
ค้าปลีกสหรัฐฯ ให้ส่วนลดผู้บริโภคเพิ่มถ้าไม่ส่งคืนสินค้ากลับคืน หลังต้นทุนพุ่งสูงจนแบกไม่ไหว https://positioningmag.com/1454210 Sun, 03 Dec 2023 09:31:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454210 ธุรกิจค้าปลีกสหรัฐฯ ได้ปรับแผนธุรกิจในช่วงที่ผ่านมาด้วยการแจ้งลูกค้าว่าอย่าคืนสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการคืนสินค้าโดยให้ส่วนลดหรือคูปองให้กับผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปแล้ว หรือให้ส่วนลดเพิ่มเติมถ้าหากผู้บริโภคนำสินค้ากลับมาคืนที่ร้านค้าด้วยตัวเอง จากต้นทุนในการส่งคืนสินค้าพุ่งสูงจนภาคธุรกิจแบกรับไม่ไหว

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาหลายรายเริ่มให้ส่วนลดหรือคูปองให้กับผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปแล้ว แต่ไม่พอใจสินค้าแล้วต้องการคืนสินค้ากลับ หรือให้ส่วนลดเพิ่มเติมถ้าหากผู้บริโภคนำสินค้ากลับมาคืนที่ร้านค้าด้วยตัวเอง หลังจากที่ต้นทุนในการส่งคืนสินค้าพุ่งสูงจนภาคธุรกิจแบกรับไม่ไหว

สื่อรายดังกล่าวได้สอบถามผู้ซื้อสินค้า 17 รายจากหลากหลายธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา เช่น Walmart รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Amazon หรือแม้แต่ Temu เป็นต้น ลูกค้าเหล่านี้ได้กล่าวว่า ธุรกิจค้าปลีกหลายแห่งได้แจ้งลูกค้าว่าอย่าคืนสินค้าที่มีมูลค่าประมาณ 20 ดอลลาร์ถึง 300 ดอลลาร์ รวมถึงสินค้าที่มีข้อบกพร่องหรือจัดส่งด้วยความผิดพลาดด้วย

ขณะที่ข้อมูลจาก goTRG ซึ่งสำรวจผู้บริหาร 500 รายในธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ 21 ราย ซึ่งรวมถึง Walmart และ Amazon.com ธุรกิจค้าปลีกมากถึง 59% ได้เสนอนโยบาย “ไม่คืนสินค้า” หรือ “เก็บไว้” สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าไม่ต้องการซึ่งสินค้าเหล่านี้มีต้นทุนการคืนสินค้าเกินมูลค่า

ทางด้านผู้ผลิตสินค้าประเภท ชุดชั้นใน เครื่องนอน เป็นหนึ่งในกลุ่มแรกที่นำนโยบาย “ไม่คืนสินค้า” มาใช้ เนื่องจากเรื่องสุขอนามัย รวมถึงกฎความปลอดภัยด้านสุขภาพในสหรัฐอเมริกา โดยผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ได้ขอให้ผู้ซื้อบริจาคสิ่งของหรือมอบเป็นของขวัญให้เพื่อนแทนที่จะส่งกลับบริษัท

Amazon ก็ถือเป็นอีกบริษัทที่ใช้นโยบายดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งกลับสินค้านั้นเพิ่มสูงขึ้น – ภาพจาก Shutterstock

ปัญหาของธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาหลายที่กำลังประสบในช่วงเวลานี้คือต้นทุนจากการคืนสินค้า โดยตัวเลขในปี 2022 ที่ผ่านมาจาก Appriss Retail และ National Retail Federation พบว่ามูลค่าสินค้าที่ส่งคืนในสหรัฐอเมริกานั้นมากถึง 816,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งยอดดังกล่าวสูงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดมากถึง 2 เท่าด้วยกัน

ข้อมูลจาก Optoro บริษัทที่ปรึกษาด้านค้าปลีกได้ชี้ว่าในช่วงวันหยุดของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นวันขอบคุณพระเจ้า แบล็คฟรายเดย์ และไซเบอร์มันเดย์ และดำเนินต่อไปหลังช่วงวันคริสต์มาส ซึ่งมีกิจกรรมลดแลกแจกแถมจากธุรกิจค้าปลีกทั่วสหรัฐอเมริกา คาดว่าในช่วงดังกล่าวของปี 2023 นี้จะมีมูลค่าสินค้าที่ส่งคืนมากถึง 173,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วถึง 28%

ค่าขนส่งและค่าจัดการต่างๆ รวมถึงการใช้คลังสินค้าในสหรัฐฯ ที่ล้นหลาม ส่งผลทำให้บริษัทต่างๆ ต้องหยุดรับเสื้อยืด ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่พึงประสงค์กลับคืน เนื่องจากทำให้ต้นทุนบริษัทเพิ่มขึ้น และยังสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการรายอื่นที่อยู่ใน Supply Chain ที่เกี่ยวข้องด้วย

โดยทั่วไปแล้วธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐฯ จะมีค่าใช้จ่ายจากสินค้าส่งกลับมาประมาณ 30 ดอลลาร์ต่อชิ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นรวมถึงค่าขนส่งสินค้าอีกทอด ค่าใช้จ่ายจัดเรียงสินค้า ค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าที่ผู้บริโภคส่งกลับไปจำหน่ายต่อในราคาที่ถูกกว่า หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในการกำจัดสินค้า ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านี้เลือกที่จะใช้วิธีดังกล่าวในข้างต้นแทน

]]>
1454210
ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกสหรัฐฯ Walmart ทยอยลดการพึ่งพาสินค้าจีน หันมาใช้สินค้าจากอินเดียมากขึ้นแล้ว https://positioningmag.com/1453962 Thu, 30 Nov 2023 07:26:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453962 ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกสหรัฐฯ Walmart ได้ปรับแผนทยอยลดการพึ่งพาสินค้าจากจีน หันมาใช้สินค้าจากอินเดียมากขึ้นแล้ว โดยผู้บริหารได้ให้เหตุผลเรื่องของความยืดหยุ่นในเรื่องของ Supply Chain รวมถึงเรื่องของต้นทุนสินค้าที่ราคาถูกกว่าสินค้าจีน

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า วอลมาร์ท (Walmart) ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาได้นำลดการนำเข้าสินค้าจากจีน และได้เพิ่มสินค้าจากประเทศอินเดียมากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวถือเป็นการลดต้นทุนของบริษัท นอกจากนี้ยังสร้างความยืดหยุ่นในเรื่องของ Supply Chain ด้วย

สื่อรายดังกล่าวได้อ้างอิงข้อมูลของ Import Yeti ที่เก็บข้อมูลการนำเข้าสินค้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2023 ของ Walmart ซึ่งสินค้าจากประเทศจีนที่ในอดีตมีสัดส่วนมากถึง 80% ในปี 2018 ล่าสุดลดลงเหลือแค่ 60% เท่านั้น ขณะที่สินค้าจากประเทศอินเดียกลับมีสัดส่วนมากขึ้นถึง 25% จากเดิมที่มีสัดส่วนแค่ 2% ในปี 2018

Andrea Albright รองประธานบริหารฝ่ายการจัดหาของ Walmart ได้ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่า บริษัทต้องการราคาที่ดีที่สุด ขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องการความยืดหยุ่นใน Supply Chain ของบริษัท เขายังกล่าวเสริมว่ายักษ์ใหญ่ค้าปลีกรายนี้ไม่สามารถพึ่งพาซัพพลายเออร์รายเดียว หรือสินค้าจากประเทศใดประเทศหนึ่งได้

นอกจากนี้รองประธานบริหารฝ่ายการจัดหาของ Walmart ยังกล่าวว่า อินเดียกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเป็นแหล่งจัดหาสินค้าของทางบริษัทด้วย ซึ่งปัจจุบันยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาได้นำเข้าสินค้าจากอินเดียมีตั้งแต่ยารักษาโรค เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงธัญพืช

Andrea ยังกล่าวว่า สิ่งที่ Walmart สามารถควบคุมได้คือแหล่งที่มาของสินค้าต่างๆ ถ้าหากมีบางอย่างเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท เนื่องจากปัจจัยความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์เป็นสิ่งที่ทายได้ยากมากเหมือนกับการทายว่าพายุจะพัดพาไปทางไหน

Chris Rogers นักวิเคราะห์จาก S&P Global Market Intelligence ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Supply Chain ได้กล่าวกับ Reuters ว่า ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนนั้นกลับเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มหันมาใช้สินค้าหรือวัตถุดิบจากอินเดียมากขึ้น

ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนนั้นไม่ว่าจะเป็นค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอินเดียที่มีค่าแรงถูกกว่า นอกจากนี้ผู้ประกอบการหลายรายเองต้องการความยืดหยุ่นใน Supply Chain หลังเหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิดในจีนที่ส่งผลต่อภาคการผลิตทั่วโลก เนื่องจากโรงงานในประเทศจีนได้เกิดความชะงักงัน และยังรวมถึงการขนส่งสินค้าออกนอกจีนด้วย

นอกจาก Walmart จะทำให้อินเดียได้ประโยชน์จากการนำเข้าสินค้าในสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น ยังทำให้ประเทศรอบข้างอย่างปากีสถานและบังคลาเทศได้รับประโยชน์ดังกล่าวด้วย

โดย Walmart ได้ตั้งสำนักงานเพื่อหาสินค้าป้อนบริษัทในอินเดียตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาเองยังได้ลงทุนใน Flipkart ซึ่งเป็นธุรกิจ E-commerce รายใหญ่ในประเทศอินเดียด้วย

]]>
1453962
ระบบชำระเงินด้วยตนเอง (Self-Checkout) ในห้างฯ ส่อแววไม่ได้ช่วยลดการใช้แรงงานตามคาด https://positioningmag.com/1447227 Sat, 07 Oct 2023 10:05:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447227 ห้างสรรพสินค้าจำนวนมากหันมาใช้ “ระบบชำระเงินด้วยตนเอง” (Self-Checkout) เพื่อหวังจะลดต้นทุนการใช้แรงงาน แต่หลังใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง ดูเหมือนห้างฯ ก็ยังต้องพึ่งพิง “พนักงาน” ไปดูแลการใช้งานเครื่องเหล่านี้ของลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวกและป้องกันขโมย

หลังจาก “ระบบชำระเงินด้วยตนเอง” (Self-Checkout) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน ปัจจุบันห้างสรรพสินค้าจำนวนมากหันมาใช้ระบบนี้ทดแทนแคชเชียร์บางส่วน ด้วยความหวังว่าจะช่วยลดต้นทุนค่าแรงงานในห้างฯ ได้

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนความหวังว่าระบบ Self-Checkout จะช่วยปฏิวัติวงการจะยังไม่เกิดขึ้นจริง ในสหรัฐอเมริกา ห้างฯ ค้าปลีกรายใหญ่อย่าง Costco, Walmart และ Kroger เริ่มพิจารณาระบบนี้ใหม่แล้ว เพราะบริษัทพบว่าห้างฯ ก็ยังต้องมีพนักงานควบคุมพื้นที่ Self-Checkout อยู่ดี เพื่อคอยอำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องของลูกค้า สอดส่องการขโมยของ และตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน

Costco เริ่มกลับมามีพนักงานคอยตรวจตราการกรอกเลขสมาชิกลงในเครื่องชำระเงินด้วยตนเอง และช่วยสแกนสินค้าที่เครื่อง

บริษัทกล่าวว่า บริษัทต้องการทลายพฤติกรรมการใช้เลขบัตรสมาชิกร่วมกันของผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมการโกงรูปแบบหนึ่ง เพราะ Costco มีการคิดค่าธรรมเนียมสมาชิกและจุดนี้ถือเป็นจุดทำกำไรของบริษัท

ขณะที่ Walmart ระบุว่า บริษัทมีการยกเลิกระบบ Self-Checkout กลับไปใช้พนักงานปกติ 3 สาขา ในอัลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก ซึ่งบริษัทไม่ได้อธิบายเหตุผลการเปลี่ยนแปลงนี้ บอกแต่เพียงว่าไม่ได้มีแผนจะยกเลิกระบบชำระเงินด้วยตนเองหมดทุกสาขาแต่อย่างใด

ส่วนห้างฯ Kroger กล้าเสี่ยงมากกว่าใคร ปัจจุบันมีอย่างน้อย 1 สาขาที่บริษัททดลองลงระบบ Self-Checkout ทั้งหมด ไม่มีพนักงานคิดเงินแบบปกติเลย แต่ Kroger ให้สัมภาษณ์กับสื่อ Retail Dive พบว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ทำให้ต้นทุนแรงงานลดลงเลย เพราะบริษัทก็ยังต้องมีพนักงานในบริเวณนั้นเพื่อช่วยสแกนสินค้าและช่วยหยิบของใส่ถุงอยู่ดี

เทคโนโลยีนี้จึงดูเหมือนว่าจะไม่ได้ช่วยลดการใช้แรงงานอย่างที่คาดหวังกันไว้

 

ห้างฯ ต้องลงทุนเทคโนโลยีป้องกันขโมยเพิ่ม

อุตสาหกรรมค้าปลีกประเมินกันว่า ความเสียหายจากการขโมยหรือความผิดพลาดในการสแกนสินค้าเองของลูกค้า เพิ่มขึ้น 31-60% หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีเคาน์เตอร์ Self-Checkout มากแค่ไหนในสาขา

Matt Kelley ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันการสูญเสียที่เคยทำงานอยู่ในแผนกปกป้องทรัพย์สินของ Home Depot กล่าวกับ Insider ว่า เมื่อปีที่แล้ว ระบบ Self-Checkout กดดันให้ห้างฯ ต้องเลือกระหว่างการประหยัดต้นทุนแรงงานกับการขโมยที่เพิ่มมากขึ้น

“เป็นเรื่องธรรมชาติที่ระบบชำระเงินด้วยตนเองหมายถึงการมีสายตามองการทำธุรกรรมน้อยลง” Kelly กล่าว “และโอกาสก็จะมากขึ้นที่คนไม่ซื่อสัตย์จะได้ทำตัวไม่ซื่อสัตย์”

Wallmart และ Kroger หันมาใช้เซ็นเซอร์และวิดีโอมอนิเตอร์เพื่อติดตามการใช้งาน Self-Checkout แต่ลูกค้าบางคนบอกกับสำนักข่าว Insider ว่า พวกเขาก็ยังเห็นคนแอบไม่สแกนสินค้าและไม่มีเสียงเตือนเกิดขึ้นอยู่ดี

การไม่สแกนสินค้าบางครั้งก็ไม่ได้เป็นความตั้งใจ คนและเครื่องสามารถสร้างความผิดพลาดได้เสมอ แต่ทางออกก็ไม่ได้ต่างจากการป้องกันการขโมย คือยังต้องใช้พนักงานมาคอยควบคุมและช่วยเหลือลูกค้า

Christopher Andrews นักสังคมวิทยาจาก Drew University กล่าวกับ CNN เมื่อปีก่อนว่า Self-Checkout ไม่ได้เป็นระบบเก็บเงินอัตโนมัติอย่างที่กลุ่มค้าปลีกคาดหวังไว้เลย แต่กลับกันระบบนี้ต้องใช้พนักงานมาคอยดูแลทั้งพนักงานช่วยเหลือที่เครื่อง พนักงานบำรุงรักษา และพนักงานไอที

ห้างค้าปลีกหลายแห่งยังคงลงทุนกับเทคโนโลยีชำระเงินด้วยตนเองอยู่ แต่บางแห่งก็เริ่มจะพิจารณาใหม่แล้วว่าจะใช้งานระบบนี้อย่างไร และจะดึงมนุษย์มาทำงานร่วมกับเครื่องอย่างไรเพื่อให้ระบบนี้ทำงานได้อย่างลื่นไหล

Source

]]>
1447227
ร้านสะดวกซื้อญี่ปุ่น ครองตลาดอเมริกา บริษัทแม่ 7-Eleven เข้าซื้อปั๊มน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1290811 Mon, 03 Aug 2020 12:05:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290811 เปิดดีลใหญ่แห่งวงการค้าปลีกท่ามกลางวิกฤต COVID-19 หลัง Seven & i บริษัทเเม่ของร้านสะดวกซื้อที่เราคุ้นเคยอย่าง 7-Eleven ในญี่ปุ่น บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อกิจการ Speedway ร้านสะดวกซื้อและสถานีบริการน้ำมันในอเมริกา ของ Marathon Petroleum ด้วยมูลค่า 2.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 6.56 แสนล้านบาท)

ปัจจุบัน Seven & i เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในตลาดร้านสะดวกซื้อในอเมริกา ด้วยการขยายสาขากว่า 9,000 แห่ง ตามมาด้วยอันดับ 2 อย่าง Alimentation Couche-Tard เจ้าของร้าน Circle K จำนวน 8,000 สาขา เเละอันดับ 3 อย่าง Speedway ที่มีสาขาประมาณ 4,000 แห่ง

การรวมกันของเจ้าตลาดร้านสะดวกซื้ออันดับ 1 เเละ 3 ในครั้งนี้ เเม้จะมีมูลค่ามหาศาลเเต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะจะทำให้ Seven & i เป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่นที่มีอิทธิพลในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างสหรัฐฯ ด้วยจำนวนสาขาในสหรัฐฯ และแคนาดากว่า 14,000 แห่ง โดยคาดว่าจะสามารถปิดดีลได้ในไตรมาสแรกของปี 2021

ร้าน 7-Eleven ในอเมริกาจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่สุดในการเติบโตของธุรกิจ เเละเป็นอีกก้าวในประวัติศาสตร์ที่จะทำให้เราขึ้นไปเป็นผู้ค้าปลีกระดับโลก Ryuichi Isaka ประธานของ Seven & i ระบุ

มีการเปิดเผยถึงดีลดังกล่าว มาตั้งเเต่เดือนกุมภาพันธ์ พร้อมประเมินว่าจะมูลค่ามากถึง 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เเต่ต้องมีการเจรจาเรื่องราคากันใหม่ เนื่องจากความกังวลด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเเละราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมาก จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19

Seven & i เป็นเจ้าของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าในญี่ปุ่นและชาติอื่นๆ กว่า 69,000 สาขาทั่วโลก เริ่มวางเเผนเข้ามาเจาะตลาดชาวอเมริกัน หลังร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นถึงจุดอิ่มตัวเเละมีการเเข่งขันสูงมากจากคู่เเข่งอย่าง Lawson เเละ แฟมิลี่มาร์ท

โดยจุดเด่นของ 7-Eleven ในญี่ปุ่นคือพัฒนาสินค้าของตัวเองจนได้รับความนิยม ส่วน Lawson มีชื่อเสียงด้านขนมหวาน ขณะที่แฟมิลี่มาร์ทพยายามที่จะพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ในร้านสะดวกซื้อ อย่างเช่นแอปฯ ชำระเงิน

อ่านต่อ : เร่งศึกร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น Itochu Corp จ่อซื้อหุ้น 100% ฮุบแฟมิลี่มาร์ท

เเต่ความเเตกต่างระหว่างตลาดค้าปลีกในญี่ปุ่นเเละสหรัฐฯ นั้นยังมีอยู่มาก เช่น ในญี่ปุ่นจะร้านสะดวกซื้อ จะตั้งอยู่ทั่วไปในย่านชุมชน แต่ร้านสะดวกซื้อในสหรัฐฯ มักจะอยู่ใกล้กับปั๊มน้ำมัน

นอกจากนี้ จากวิกฤตประชากรในสังคมสูงวัยในญี่ปุ่น ทำให้เกิดการขาดเเคลนเเรงงานเเละมีข้อจำกัดในวิถีของธุรกิจที่ต้องเปิดตลอด 24 ชั่วโมง ขณะที่สหรัฐฯ ยังคงเป็นดินเเดนที่มีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เเม้จะได้รับผลกระทบหนักจาก COVID-19 เเต่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจค้าปลีกในระยะยาว ด้วยการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซในปัจจุบัน ทำให้ร้านสะดวกซื้อถูกมองว่าจะกลายเป็น “last mile” จุดที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับการส่งมอบพัสดุไปยังผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม การเข้าซื้อกิจการ Speedway ที่เป็นร้านสะดวกซื้อและสถานีบริการน้ำมัน ยังมีอุปสรรคเเละมีความท้าทายรอยักษ์ค้าปลีกจากญี่ปุ่นอยู่มาก เพราะการมาของ “รถยนต์ไฟฟ้า” จะเปลี่ยนให้รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันนั้น “ตกยุค” ซึ่ง Seven & i จะต้องมีการลงทุนอีกมาก เพื่อสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้ารองรับผู้บริโภคในอนาคตด้วย

 

ที่มา : Nikkei Asian Review, Reuters 

 

]]>
1290811
พิษไวรัส ซ้ำเติมค้าปลีกอเมริกา Macy’s ห้างเก่าเเก่ร้อยปี ปลดพนักงานอีก 3,900 ตำเเหน่ง https://positioningmag.com/1285265 Fri, 26 Jun 2020 12:18:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285265 ก่อนที่จะเกิดวิกฤต COVID-19 ห้างเก่าเเก่ของสหรัฐฯ ที่มีอายุกว่า 162 ปีอย่าง Macy’s ก็อาการหนักหนาสาหัสอยู่เเล้ว ล่าสุดต้องสั่งปลดพนักงานกว่า 3,900 ตำเเหน่งเพื่อพยุงธุรกิจให้ดำเนินต่อไปให้ได้

การปลดพนักงานกว่า 3% ของบริษัทครั้งนี้ คาดว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายเเละลดต้นทุนได้ราว 630 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (ราว 1.9 หมื่นล้านบาท) โดย Macy’s กำลังเตรียมพร้อมที่จะกลับมาเปิดให้บริการในสหรัฐฯ อีกครั้งหลังมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

Jeff Gennette ซีอีโอของ Macy’s  กล่าวว่า COVID-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจ แม้หลายสาขาจะกลับมาเปิดให้บริการได้ เเต่ก็มีการฟื้นตัวเเบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องลดต้นทุนของบริษัทให้สอดคล้องกับยอดขายที่ลดลง

Macy’s เป็นเชนห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ ก่อตั้งมาในปี 1858 ที่ผ่านมาต้องต่อสู้กับการรักษาลูกค้าเดิมที่มีอยู่ พร้อมดึงดูดลูกค้าใหม่ ท่ามกลางเทรนด์ผู้บริโภคเมื่อคนเดินห้างลดลงเเละหันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2015 ทางบริษัทมีการปิดสาขาไปเเล้วมากกว่า 100 แห่ง และปรับลดพนักงานกว่าพันตำเเหน่ง

จากนั้นเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา Macy’s ประกาศจะปิดสาขาอีก 125 เเห่งในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งนับเป็นจำนวน 1 ใน 5 ของสาขาที่มีทั้งหมด รวมถึงจะปลดพนักงานราว 2,000 คน

พร้อมจะปรับกลยุทธ์สู่ห้างขนาดเล็ก เเละนำสินค้าที่บริษัทผลิตเองเเละผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมาจำหน่าย เลือกสรรตามรสนิยมของลูกค้า พร้อมเน้นไปที่เรื่องอาหารเเละเครื่องดื่มมากขึ้น ปรับปรุงห้างให้เป็นเหมือนพื้นที่สังสรรค์ของครอบครัว อย่างไรก็ตาม เเผนการนี้ต้องสะดุดเพราะวิกฤต COVID-19

Macy’s มีกำหนดจะเปิดเผยผลประกอบการไตรมาสแรกในวันที่ 1 .. นี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าน่าจะขาดทุนสูงถึง 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.3 หมื่นล้านบาท) หลังยอดขายลดลงกว่า 45% เเละหุ้นของ Macy’s ลดลงถึง 60% ในปีนี้

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา Macy’s ประกาศว่าบริษัทจะระดมทุน 4,500 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยกู้วิกฤตโดยมีเเผนจะใช้เงินราว 180 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีงบประมาณ 2020 สำหรับการปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้ในไตรมาส 2

นอกจากห้างเก่าเเก่อย่าง Macy’s เเล้ว ยังมีห้างค้าปลีกหลายรายในสหรัฐฯ กำลังดิ้นรนเพื่อดิ้นรนฝ่าวิกฤติ Covid-19 เช่นกันอย่าง ห้างสรรพสินค้า Neiman Marcus, J.C. Penney และ Stage Stores ต่างยื่นล้มละลายในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ รวมถึงเชนขายสินค้าเพื่อสุขภาพอย่าง GNC Holdings ก็กำลังยื่นล้มละลายโดยมีแผนจะปิดร้านค้าหลายร้อยแห่งอย่างถาวรด้วย

 

ที่มา : CNBC , CNN

]]> 1285265 Walmart จ้างเพิ่ม 1.5 แสนตำแหน่ง รับคนเเห่กักตุนสินค้า ทุ่มโบนัสพนักงานช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1269389 Mon, 23 Mar 2020 08:20:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269389 ห้างค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดของอเมริกา Walmart ประกาศเเผนจ้างงานชั่วคราว 150,000 ตำแหน่งภายในเดือน พ.ค. นี้ พร้อมทุ่มเงินให้โบนัสก้อนใหญ่ให้พนักงานที่ทำงานในช่วงการระบาดของ COVID-19 เพื่อเสริมกำลังให้บริการ หลังผู้คนวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่รุนเเรงขึ้นจนแห่กักตุนสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวนมาก

เนื่องจากต้องให้บริการลูกค้าจำนวนมากกว่าปกติเเละมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ Walmart จึงจะจัดสรรเงินราว 365 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้เป็นโบนัสสำหรับพนักงานทุกคนที่ได้รับการว่าจ้างตั้งเเต่วันที่ วันที่ 1 มี.ค. เป็นต้นมา โดยพนักงานประจำได้จะโบนัสคนละ 300 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนพนักงานพาร์ตไทม์จะได้โบนัสคนละ 150 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีกำหนดจ่ายเงินในวันที่ 2 เม.ย. นี้ นอกจากนี้บริษัทจะจ่ายเงินชดเชยราว180 ล้านดอลลาร์ให้กับร้านค้า คลับ และซับพลายเชนด้วย

ทั้งนี้ Walmart เป็นบริษัทเอกชนรายใหญ่ทีมีพนักงานกว่า 1.3 ล้านคนทั่วสหรัฐเเละมีพนักงานมากกว่า 2.1 ล้านคนทั่วโลก

สำหรับแผนการจ้างงานชั่วคราว 150,000 ตำแหน่งภายในสิ้นเดือน พ.ค. นี้ บริษัทจะเพิ่มจำนวนพนักงานตามร้านค้า คลับ ศูนย์กระจายสินค้า รวมถึงศูนย์บริการคลังสินค้าพร้อมจัดส่งทั่วประเทศ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

“การจ้างงานในช่วงแรกจะเป็นแบบชั่วคราว แต่หลายตำแหน่งจะเป็นได้ทำงานประจำต่อไปหลังจากนี้”
Walmart ระบุในเเถลงการณ์

ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐ กำลังมียอดขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ด้วยความกังวลของชาวอเมริกันที่แห่เดินทางไปซื้อกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งกระดาษชำระและผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค เพื่อใช้ระหว่างการกักตนเองในที่พักอาศัย หากสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนเเรงขึ้น ขณะเดียวกัน Walmart ยอมรับว่าตอนนี้ซัพพลายเชนส่วนของ “อาหาร” ก็เป็นเรื่องน่ากังวล

การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสถานที่ทำงานและกิจวัตรประจำวันของผู้คน นอกเหนือจาก Walmart เเล้ว ร้านพิซซ่าชื่อดังอย่าง Domino’s และ Papa John’s ก็กำลังมีความต้องการเเรงงานอย่างมาก โดยกำลังจะจ้างงานคนทำพิซซ่าและพนักงานจัดส่งอีกหลายพันคน

ด้านบริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของสหรัฐ “Amazon” ก็ประกาศว่าจะจ้างงานเพิ่มอีก 100,000 คน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านในช่วงการระบาดของไวรัส

ในมุมกลับกัน หลังคำสั่งขอให้ชาวอเมริกันอยู่ในบ้าน ก็ทำให้ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าใหญ่หลายแห่ง รวมถึงห้างเก่าเเก่อย่าง Macy’s ก็ได้ปิดบริการชั่วคราวทั่วประเทศ ส่วนภัตตาคารและโรงแรมต่างๆ ก็เริ่มเลิกจ้างหรือปลดพนักงานหลายพันคนเเล้ว

 

ที่มา : CNBC, theverge

]]>
1269389
รุกค้าปลีกออฟไลน์ เปิดตัว Amazon Go Grocery ซูเปอร์มาร์เก็ต “ไร้แคชเชียร์” เต็มรูปแบบ https://positioningmag.com/1266418 Sun, 01 Mar 2020 07:55:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266418 ยักษ์ใหญ่วงการค้าปลีกออนไลน์อย่าง Amazon เปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตเเบบไม่มีพนักงานเก็บเงิน หรือเเคชเชียร์ เเห่งเเรกที่นครซีเเอตเทิลในสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าบริษัทกำลังจะเข้ามาเขย่าธุรกิจร้านค้าปลีกในประเทศ ที่มีมูลค่ากว่า 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ซูเปอร์มาร์เก็ตเเบบไร้เเคชเชียร์นี้มีชื่อว่า Amazon Go Grocery โดยลูกค้าสามารถเข้าไปหยิบสินค้าเเล้วเดินออกไปได้ทันทีโดยไม่ต้องเช็กเอาต์หรือเปิดกระเป๋า ไม่ต้องจ่ายเงินสดหรือรูดบัตรเครดิต ซึ่งผู้ซื้อจะต้องสเเกนผ่านเเอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนก่อนเพื่อเข้าไปในร้าน จากนั้นกล้องเเละเซ็นเซอร์จะตรวจจับว่าลูกค้าหยิบสินค้าใดออกไปจากชั้นวางสินค้าบ้าง ก่อนที่จะสั่งเก็บเงินทางบัญชีของ Amazon ทางออนไลน์

Amazon Go Grocery เป็นการขยายมาจากร้าน Amazon Go ที่เป็นโครงการทดลองของ Amazon ตั้งแต่ 2 ปีก่อน โดยร้านใหม่นี้ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 10,400 ตารางฟุต มีขนาดใหญ่กว่าร้านเดิมถึง 5 เท่าเเละมีสินค้าให้เลือกมากกว่า โดยวางเเผนจะเปิดสาขาแห่งที่สองที่นครลอสแอนเจลิสในช่วงปลายปีนี้

การที่ Amazon ลงสนามมาเเข่งในธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะถือเป็นการรุกธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตแบบเต็มตัว หลังจากที่ลงทุนซื้อกิจการของร้าน Whole Foods ที่มีสาขา 500 แห่งมาตั้งแต่ปี 2017

อย่างไรก็ตาม Amazon ยังตามหลังคู่แข่งสำคัญที่เป็นเจ้าเเห่งวงการซูเปอร์มาร์เก็ตดั้งเดิมอย่างห้าง Walmart ที่มีสาขากว่า 4,700 แห่ง ซึ่งก็กำลังพัฒนาให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม: เอาคืน! “ยอดขายออนไลน์” ของห้าง Walmart และ Target โตเร็วกว่า Amazon แล้ว

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายผู้ค้าปลีกเเละสตาร์ทอัพใหม่ๆ ที่กำลังทดสอบระบบไร้แคชเชียร์เช่นเดียวกัน อย่างเช่น 7-Eleven ที่กำลังทดสอบระบบนี้ที่ร้านสาขาในรัฐเท็กซัส

 

ที่มา : No Checkout Needed: Amazon Opens Cashier-less Grocery Store

]]>
1266418
รู้จัก American Dream ห้างใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐฯ ใช้เวลาสร้างมาราธอนถึง 17 ปี! https://positioningmag.com/1251128 Sun, 27 Oct 2019 15:25:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1251128 ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์อภิมหาโปรเจกต์ “American Dream” ได้ฤกษ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2019 ทำสถิติเป็นมอลล์ใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐฯ แม้จะใช้เวลาก่อสร้างมากกว่า 17 ปี

โครงการถูกริเริ่มครั้งแรกเป็นช่วงเวลาที่ iPhone ยังไม่เกิด และ Amazon ยังจำหน่ายแค่หนังสือออนไลน์ ตลาดที่เปลี่ยนไปทำให้โลกข้องใจว่านักช้อปจะให้คะแนน American Dream และเดินทางมาเยี่ยมเยือนห้างใหม่มากน้อยเพียงใด ในนาทีที่ร้านค้าปลีกอเมริกาพากันปิดร้านสาขามากขึ้นจนหลายมอลล์กลายเป็นห้างร้าง

ถ้าย้อนกลับไปดูไทม์ไลน์ของ American Dream ห้างใหม่ในกลางนิวเจอร์ซีย์นั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1996 เวลานั้นห้างสรรพสินค้าเป็นแหล่งที่ชาวเมืองนิยมเดินทางไปซื้อสินค้าทุกอย่าง โครงการนี้จึงดูดเงินทุนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเนื่อง

แต่กลับถูกพิษเศรษฐกิจจนโครงการชะงัก และถูกเปลี่ยนมือเปลี่ยนชื่อจนเป็น American Dream ในที่สุด กลายเป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ด้วยสถิติพื้นที่ให้เช่า 3 ล้านตารางฟุต ซึ่งอัดแน่นด้วยเครื่องเล่นกิจกรรมบันเทิงหลากหลาย เช่น ลานสกีในร่ม 16 ชั้น, รถไฟเหาะโรลเลอร์โคสเตอร์, สวนน้ำ และอีก 450 ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และร้านค้าพิเศษ

คำถามใหญ่ที่รอ American Dream อยู่คือ นักช้อปจะเดินทางมาเที่ยวเล่นที่ห้างนี้หรือไม่? สถิติจากบริษัทวิจัย Coresight พบว่าปริมาณทราฟฟิกการเดินทางมาที่มอลล์ซึ่งเคยเพิ่มขึ้นมาตลอดตั้งแต่ปี 90 นั้นลดลงต่อเนื่อง 10% เนื่องจากชาวดิจิทัลใช้สมาร์ทโฟนช็อปปิ้งได้จากทุกที่ทุกเวลา โดยที่ Amazon ขึ้นแท่นเป็นผู้ค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่ที่สุดในโลก

สร้างมาราธอน 17 ปีเพราะวิกฤตการเงิน

โครงการ American Dream เคยถูกระงับในปี 2009 ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินหลังจากบริษัทในเครือ Lehmann Bros. ไม่อาจระดมทุนเพื่อการก่อสร้าง เจ้าหนี้จึงยึดโครงการนี้ในปี 2010 และ Triple Five คือผู้รับไม้ต่อในอีก 1 ปีถัดมา ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น American Dream เบ็ดเสร็จแล้ว โครงการนี้ถูกบันทึกว่ามีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

Triple Five เป็นผู้พัมนาห้างค้าปลีก ต้องการวางจุดยืนห้าง American Dream ขึ้นใหม่ โดยต้องการให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนสำหรับนักท่องเที่ยว และคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับห้างสรรพสินค้าอื่น 2 แห่งที่ Triple Five พัฒนามาก่อนหน้านี้ นั่นคือ West Edmonton Mall ในอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา และ Mall of America ในบลูมมิงตัน รัฐมิเนโซตา ซึ่งเป็น 2 ห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอเมริกาเหนือ

Photo : Cnbc

ความบันเทิงเป็นจุดขายที่ยิ่งใหญ่สำหรับทั้ง 2 ห้าง โดยพื้นที่เครื่องเล่นคิดเป็น 20% ของพื้นที่ของ West Edmonton Mall และ 30% ของ Mall of America’s ถือว่าต่างกันมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยพื้นที่สันทนาการ 6% สำหรับห้างสรรพสินค้าในสหรัฐอเมริกา

กรณีของ American Dream จึงกลายเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญ เพราะหลายคนยังไม่มั่นใจว่าประสบการณ์ความบันเทิงจากเครื่องเล่น ยังมีมนต์ขลังมากพอที่จะดึงนักช้อปให้เดินทางมาที่มอลล์เพื่อชิมช้อปใช้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม American Dream ถูกมองว่าได้เปรียบในแง่ของทำเล เพราะตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับมหานครนิวยอร์กซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ถึง 10 ไมล์

นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่าคอมเพล็กซ์สามารถแจ้งเกิดได้สวยงาม หากส่วนสวนสนุกดึงดูดให้กลุ่มครอบครัวในนิวเจอร์ซีย์ตัดสินใจขึ้นรถ และขับออกไปที่มอลล์ แต่ในส่วนของการเช่าร้านค้าปลีกในมอลล์ ยังมีความไม่แน่ชัดเนื่องจากผู้ค้าปลีกจำนวนมากในวันนี้ล้วนเป็นแบรนด์ใหญ่ เช่น Zara และ Uniqlo ซึ่งสามารถพบได้ในโลกออนไลน์และห้างใกล้บ้านอยู่แล้ว

Photo : Cnbc

แต่ความไม่แน่นอนมากมายในโลกค้าปลีก ซึ่งไม่แน่ American Dream อาจท็อปฟอร์มจนทำให้แบรนด์ค้าปลีกมอง American Dream ว่าไม่ใช่ห้างสรรพสินค้าทั่วไป

ค้าปลีกสหรัฐฯ กำลังถดถอยอย่างต่อเนื่อง

ห้างสรรพสินค้าทั่วไปในสหรัฐอเมริกากำลังถึงช่วงขาลงอย่างชัดเจน สถิติพบว่าตั้งแต่ปี 2015 มีห้างสรรพสินค้าเพียง 9 แห่งเท่านั้นที่ถูกสร้างขึ้นในสหรัฐฯ ตัวเลขนี้ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับตัวเลขการก่อสร้างที่เพิ่มสูงสุด 43 แห่งในปี 1973

ที่สำคัญร้านค้าทั่วสหรัฐอเมริกากำลังทยอยปิดตัวอย่างรวดเร็ว โดยในครึ่งแรกของปี 2019 มีการปิดร้านไปแล้วมากกว่า 7,000 ร้าน แม้จะยังมี 3,017 สาขาที่เปิดใหม่ ซึ่งในปี 2018 พบว่ามีร้านค้าสาขาปิดทำการ 5,864 แห่ง และเปิดให้บริการใหม่ 3,258 แห่ง

Photo : Cnbc

อีกความท้าทายของ American Dream คือการเรียกเก็บเงินที่จอดรถ 24 เหรียญสหรัฐต่อ 8 ชั่วโมง (700 บาท) แต่ American Dream เปิดทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการจ่ายค่าที่จอดรถ ด้วยการเตรียมรถโดยสารด่วนที่จะวิ่งจากนิวยอร์กซิตี้และเซคอคัส ในขณะที่รถบัสเวียนรับส่งจะวิ่งจากสถานีเรือข้ามฟากวีฮอว์เคน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายผู้เยี่ยมชม 40 ล้านคนในปีแรก

ตั้งเป้าผู้เยี่ยมชมปีแรก 40 ล้านคน

ในขณะที่รายงานจาก Credit Suisse ประเมินว่าห้างสรรพสินค้าประมาณ 1 ใน 4 ของสหรัฐฯ จะปิดตัวลงภายในปี 2022 แต่ American Dream ฝันไกลโดยบอกว่ากำลังเร่งดึงดูดผู้เยี่ยมชมให้ทะลุ 40 ล้านคนในปีแรก โดยเน้นที่บริการเครื่องเล่นความบันเทิงซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด

ภายในมีสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ทุ่งกระต่าย และส่วนแสดงนกขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีบริการอื่นอย่างบริการดูแลสุนัข และพื้นที่ร้านหรูหราซึ่งนักช้อปสามารถจิบแชมเปญคู่กับคาเวียร์ระหว่างที่กำลังรอพนักงานห่อกระเป๋าราคาเรือนแสนใส่ถุง เบื้องต้นมีโรงแรม 2 แห่งขนาดห้องพักรวม 3,500 ห้องที่กำลังวางแผนก่อสร้างติดกับคอมเพล็กซ์

Photo : Cnbc

Ken Downing หัวหน้าเจ้าหน้าที่สร้างสรรค์ของ Triple Five Group ผู้พัฒนาห้างสรรพสินค้า American Dream กล่าวว่า โครงการ American Dream นั้นเป็นมากกว่าโครงการอสังหาริมทรัพย์ธรรมดา หรือโครงการเครื่องเล่นสวนสนุกที่ต้องการแข่งขันกับดิสนีย์แลนด์ เพราะ American Dream ถูกออกแบบมาเพื่อปรับให้เข้ากับเหตุการณ์และเทรนด์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น น้ำพุกลางสามารถแปลงเป็นแคทวอล์คสำหรับการแสดงแฟชันบนรันเวย์ได้ ขณะที่ลานสเก็ตน้ำแข็งก็สามารถเปลี่ยนเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต

Triple Five ผู้ให้บริการห้างสรรพสินค้าและศูนย์รวมความบันเทิงสัญชาติแคนาดานั้นยื่นมือเข้ามารับช่วงพัฒนา American Dream ตั้งแต่ปี 2011 เวลานั้นโครงการนี้มีชื่อว่า Xanadu โดยดึงไม้ต่อจากผู้พัฒนา 2 รายซึ่งมีแผนสร้างชิงช้าสวรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก กระทั่งโครงการนี้หยุดชะงักอย่างเป็นทางการในปี 2004 แต่สิ่งก่อสร้างบางส่วนก็ถูกทาสีและพัฒนาอย่างครึ่งๆ กลางๆ จนถูกล้อเลียนว่าเป็น “อาคารที่น่าเกลียดที่สุดในรัฐนิวเจอร์ซีย์และอเมริกา”

ที่มา :CNBC, Cbs News

]]>
1251128
ค้าปลีกอเมริกาเริ่มลงทุน “ชั้นวางสินค้าอัจฉริยะ” แล้ว https://positioningmag.com/1153822 Thu, 18 Jan 2018 03:57:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153822 ห้างโครเกอร์ในเท็กซัส ภาพจากเอพี 

ในประเทศไทยเราอาจได้เห็นร้านสะดวกซื้อบางแห่งลงทุนพัฒนาร้านต้นแบบสำหรับยุค 4.0 มาแล้ว แต่ในสหรัฐอเมริกา เชนค้าปลีกอย่างโครเกอร์ (Kroger) ได้ลงทุนครั้งใหญ่ด้วยการติดตั้งจอแสดงผลไฮเทคตามชั้นวางสินค้าแล้ว โดยจะติดตั้งแล้วเสร็จใน 200 สาขาของห้างภายในสิ้นปีนี้

โครเกอร์เอดจ์ (Kroger Edge) คือจอแสดงผลดิจิตอลที่นำมาติดแทนป้ายบอกราคาแบบเดิม และทำให้ชั้นวางสินค้าของห้างกลายเป็นชั้นวางสินค้าไฮเทค เนื่องจากสามารถใช้จอแสดงผลเหล่านั้นโชว์ข้อมูลราคา และคุณค่าทางโภชนาการของอาหารในรูปแบบดิจิตอลได้ ไม่เพียงเท่านั้น ยังสามารถแสดงผลวิดีโอโฆษณาและคูปองต่าง ๆ ได้อีกด้วย

โดยเป้าหมายของโครเกอร์คือการสร้างระบบที่สามารถชักชวนให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับทางห้างได้ผ่านสมาร์ทโฟน เช่น การแจ้งว่า ในบรรดาช้อปปิ้งลิสต์ที่ลูกค้าเตรียมมานั้น จะสามารถพบได้ในชั้นวางสินค้าจุดใดของทางห้าง ไปจนถึงสารอาหารที่ลูกค้าแต่ละรายต้องการ อาหารที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ด้านโภชนาการที่จำเป็นต่อสุขภาพเลยทีเดียว

โดยในตอนนี้ ป้ายอัจฉริยะดังกล่าวได้ติดตั้งแล้วเสร็จในบางสาขา แต่ยังต้องพัฒนาต่อไป เนื่องจากมันจะทำงานได้นั้นยังต้องพึ่งพาอุปกรณ์มือถือของทางห้างโครเกอร์เป็นสำคัญ โดยทางบริษัทตั้งใจว่าจะพัฒนาแอปพลิเคชันพิเศษเพิ่มขึ้นมา เพื่อให้สามารถติดตั้งลงในสมาร์ทโฟนส่วนบุคคล และเรียกใช้งานได้ผ่านช่องทางนั้นมากกว่า 

ไม่เพียงแต่พัฒนาระบบขึ้นใช้งาน โครเกอร์ยังมีแผนจะขายระบบนี้ให้กับบริษัทค้าปลีกอื่น ๆ ที่สนใจด้วย

ข้อดีของการนำระบบป้ายแสดงผลอัจฉริยะนี้มาใช้งานทำให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนราคาสินค้า และการจัดโปรโมชันต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากสั่งเพียงครั้งเดียว ห้างทุกห้างในเครือก็พร้อมจะร่วมกิจกรรมลดราคาได้ทันที

ส่วนของผู้บริโภคเองก็สามารถค้นหาสินค้าตามชั้นวางต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงสามารถรับข้อความแนะนำสินค้าจากโครเกอร์ได้ ฯลฯ ซึ่งเท่ากับเปลี่ยนประสบการณ์ในการซื้อของตามห้างค้าปลีกต่าง ๆ ให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความนิยมในหมู่ผู้ใช้บริการที่มากขึ้นได้ด้วย

แต่ที่น่าสนใจก็คือ ในสหรัฐอเมริกา ยังมีผู้บริโภคบางรายที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ หรือบางรายก็อาจอายุมากจนไม่สามารถใช้สมาร์ทโฟนได้อย่างคล่องแคล่ว คนเหล่านี้ก็จะขาดโอกาสในการเข้าถึงส่วนลด หรือโปรโมชันต่าง ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย 

นักวิเคราะห์คาดว่า กลยุทธ์ครั้งนี้ของโครเกอร์จะทำให้บริษัทมีกำไร 400 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 และมีเงินไหลเวียนกว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐในระบบด้วย.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000005479

]]>
1153822