ดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 23 Apr 2024 09:17:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มาเลเซียตั้งเป้าเป็น ‘ศูนย์กลางดิจิทัลระดับภูมิภาค’ ภายในปี 2030 ดึงดูดสตาร์ทอัพหรือแม้แต่บริษัทเทคฯ เข้ามาลงทุนในประเทศ https://positioningmag.com/1470683 Tue, 23 Apr 2024 08:14:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470683 มาเลเซียเตรียมที่จะตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางดิจิทัลระดับภูมิภาคภายในปี 2030 ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการดึงดูดสตาร์ทอัพหรือแม้แต่บริษัทเทคฯ ต่างๆ เข้ามาลงทุนในประเทศ รวมถึงการออกแบบเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจในประเทศ

Anwar Ibrahim นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ได้กล่าวในงาน KL20 Summit ว่า มาเลเซียต้องการที่จะตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางดิจิทัลระดับภูมิภาค และต้องการที่จะติด 1 ใน 20 ประเทศในดัชนี Global Start-up Ecosystem ภายในปี 2030 ให้ได้

แผนการดังกล่าวนั้นมีทั้งการที่จะปั้นให้มาเลเซียที่จากเดิมเป็นแหล่งสำหรับทดสอบและทำแพ็กเกจจิ้งชิป และมีส่วนแบ่งในอุตสาหกรรมมากถึง 13% ให้กลายเป็นแหล่งสำหรับออกแบบชิป ซึ่งการออกแบบชิปถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงมากกว่า หลังจากนี้จะมีการตั้งพื้นที่สำหรับการออกแบบชิปโดยเฉพาะ

โดยสำหรับพื้นที่สำหรับการออกแบบชิป นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ได้กล่าวว่า รัฐบาลมาเลเซียได้พูดคุยกับบริษัทออกแบบชิประดับโลกอย่าง Arm ในเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่เขาไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมแต่อย่างใด

สำหรับการให้ความช่วยเหลือสตาร์ทอัพที่ตั้งธุรกิจในมาเลเซีย รัฐบาลได้วางแผนทั้งการให้ข้อมูลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โอกาสในการหาลูกค้า การให้ความช่วยเหลือในเรื่องของวีซ่า หรือแม้แต่การให้ความรู้ในเรื่องการระดมทุน

นายกรัฐมนตรีของยังเชิญชวนให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่มาลงทุนในประเทศ และยังกล่าวเสริมว่ากองทุนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพทั่วโลก หรือ Venture Capital มากถึง 12 แห่งเตรียมที่จะตั้งสำนักงานในประเทศ เพื่อที่จะสร้างระบบนิเวศขึ้นให้ได้

ไม่เพียงเท่านี้กองทุนความมั่งคั่งของมาเลเซียอย่าง Khazanah Nasional เตรียมเม็ดเงินมากถึง 1,000 ล้านริงกิต เพื่อที่จะลงทุนในบริษัทมาเลเซียที่มีการเติบโตสูงและมีนวัตกรรมทันสมัยด้วย

Rafizi Ramli รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของมาเลเซียยังกล่าวเสริมในเรื่องของแผนการของมาเลเซียในครั้งนี้ว่า มาเลเซียต้องการที่จะดึงดูดสตาร์ทอัพจากทั่วโลก บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ รวมถึงแรงงานทักษะสูง ซึ่งจะสร้างตำแหน่งงานทักษะสูงในอนาคต โดยตั้งเป้าว่าตำแหน่งงานดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น 100,000 ตำแหน่ง

นอกจากนี้ยังรวมถึงการให้วีซ่าระยะยาวแก่เจ้าของบริษัทสตาร์ทอัพ การให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อที่จะทำให้มาเลเซียกลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลระดับภูมิภาคให้ได้

ที่มา – Malay Mail, Reuters

]]>
1470683
“บาร์บีคิวพลาซ่า” เปิดกลยุทธ์ “Go Beyond” ปรับร้านเป็น “ดิจิทัล” ไร้เงินสด ขยายตลาด 7 ประเทศ https://positioningmag.com/1407358 Tue, 08 Nov 2022 10:35:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407358
  • ผ่านวิกฤตโควิด-19 มาได้แล้ว หลังจากนี้ “ฟู้ดแพชชั่น” จะเติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้น ผ่านกลยุทธ์ “Go Beyond” วางเป้ารายได้ 4,500 ล้านบาทภายในปี 2568
  • พี่ก้อนจะปรับร้านเป็น “ดิจิทัล” ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการปรับร้านCashless” ไม่รับเงินสด มีระบบสั่งอาหารด้วยตนเอง หรือการใช้ GON BOT หุ่นยนต์ช่วยเสิร์ฟ
  • บาร์บีคิวพลาซ่า ยังจะขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มอีก จากปัจจุบันมี 3 ประเทศ ปีหน้าเพิ่มเป็น 7 ประเทศ ตั้งเป้ายอดขายต่างประเทศ 800 ล้านบาท ภายใน 3 ปี
  • วิกฤตโควิด-19 ทำให้ “ฟู้ดแพชชั่น” เผชิญกับสถานการณ์ที่หนักที่สุดในรอบ 35 ปีของบริษัท รายได้บริษัทจากที่เคยไต่ขึ้นไปถึง 3,800 ล้านบาทเมื่อปี 2562 ลดลงมาเหลือไม่ถึง 2,300 ล้านบาทเมื่อปี 2564 และเป็นการทำยอดขายที่ต้องพลิกแพลงโมเดลใหม่ เช่น การเปิด GON Express, GON Food Truck ขายอาหารจานเดียวและเดลิเวอรี เพื่อมาช่วยหล่อเลี้ยงรายได้

    “ชาตยา สุพรรณพงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด ผู้บริหารร้านอาหารแบรนด์ บาร์บีคิวพลาซ่า, เรดซัน และฌานา เล่าถึงสถานการณ์ปัจจุบันก่อนว่า ยอดขาย 9 เดือนแรกปี 2565 ของบริษัทอยู่ที่ 2,696 ล้านบาท เติบโตถึง 80% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และบริษัทคาดว่าปี 2565 เต็มปีจะมียอดขายได้ถึง 3,800 ล้านบาท กลับมาเทียบเท่ากับก่อนเกิดโควิด-19

    บาร์บีคิว พลาซ่า
    “ชาตยา สุพรรณพงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด

    เมื่อ “อยู่รอด” แล้ว อนาคตของบริษัทจึงต้องการ “ความยั่งยืน” โดยฟู้ดแพชชั่นวางเป้าหมายรายได้ไปแตะ 4,500 ล้านบาท ภายในปี 2568 ผ่านกลยุทธ์ “Go Beyond” ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ Go Beyond Dine-in, Go Beyond Thailand และ Go Beyond Food Industry

     

    ผลักดันช่องทาง “ทานเองที่บ้าน” มากขึ้น

    “บาร์บีคิวพลาซ่า” จะปรับช่องทางขายให้กระจายความเสี่ยงออกจากแหล่งรายได้การทานที่ร้าน (Dine-in) ให้มากขึ้น ปัจจุบันร้านบาร์บีคิวพลาซ่ามีรายได้หลักจากการนั่งทานที่ร้าน 96-97% ที่เหลือเป็นรายได้จากการเดลิเวอรีและสั่งกลับบ้าน 3-4%

    อย่างไรก็ตาม ปีหน้าร้านจะผลักดันยอดจากการเดลิเวอรีและสั่งกลับบ้านให้มากขึ้น คาดว่าปี 2566 จะมีสัดส่วนเดลิเวอรีขึ้นไปถึง 5.5% เพราะจะมีการขยายสาขา GON Express จากเดิม 8 สาขา ปีหน้าจะระดมเพิ่มอีก 25 สาขา รวมเป็น 33 สาขา

    บาร์บีคิว พลาซ่า
    สินค้าเพื่อการ “ทานเองที่บ้าน” อย่างการสั่งอาหารเดลิเวอรี หรือล่าสุดเปิดขาย “ซอสน้ำจิ้มบาร์บีคิว” ผ่านทางอีคอมเมิร์ซ

    รวมถึงเน้นผลักดันช่องทาง “มื้อที่บ้าน ทำกินเอง” (Happiness at Home) ยืมเตาไปปิ้งเองที่บ้าน และการเปิดขายซอสน้ำจิ้มบาร์บีคิวที่จะทำให้ลูกค้ามีการซื้อกลับไปทำเองมากกว่าเดิม

     

    ปรับร้านเป็น “ดิจิทัล” ไร้เงินสด

    การปรับตัวในร้านแบบนั่งทานของ “บาร์บีคิวพลาซ่า” ก็จะปรับขนานใหญ่ในปีหน้าเช่นกัน ทั้งในแง่บรรยากาศร้าน และที่สำคัญคือการปรับเป็น “ดิจิทัล” ดังนี้

    • รีโนเวต 50 สาขา และเพิ่มสาขาใหม่ 5 สาขา ทั้งหมดจะเปลี่ยนสไตล์ให้โปร่งโล่ง ให้ลุคสบายตามากขึ้น
    • ปรับเป็น Cashless ไม่รับเงินสด สัดส่วน 50% ของสาขาทั้งหมด (จนถึงสิ้นปีหน้า คาดมีสาขาในไทยรวม 153 สาขา)
    • ปรับเป็น Digital Store สแกนสั่งอาหาร ชำระเงิน สะสมแต้ม ฯลฯ ผ่านดิจิทัลทั้งหมด เป้าหมาย 40 สาขา
    • ปรับมาใช้ GON BOT หุ่นยนต์ช่วยเสิร์ฟในร้านครบ 60 สาขา
    GON BOT หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร จะได้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ปีหน้าตั้งเป้าเพิ่มเป็น 60 สาขาที่ใช้หุ่นยนต์ทดแทนพนักงานขาดแคลน

    การปรับมาเป็น Cashless ไม่รับเงินสดของพี่ก้อน ทางฟู้ดแพชชั่นระบุว่าจะช่วย “ลดต้นทุน” เพราะจริงๆ แล้วเงินสดมีต้นทุนแฝง ต้องเสีย “กำลังคน” มานับเงินสด นำเงินฝาก-ถอนธนาคาร เสียเวลาเดือนละ 50 ชั่วโมง ขณะที่ปัจจุบันลูกค้าราว 75% ไม่ใช้เงินสดแล้ว จึงเชื่อว่าร้านสามารถปรับการชำระเงินมาเป็น Cashless ได้จริง

    “จริงๆ ในช่วงเปลี่ยนผ่านเราก็จะยังรับเงินสดอยู่ แต่พนักงานจะแนะนำให้ใช้การโอนเงินหรือบัตรมากกว่า และเราจะมีโปรโมชันลดราคาสำหรับผู้ที่โอนจ่าย ได้ส่วนลดมากกว่าเงินสดหรือจ่ายบัตร เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเปลี่ยนตาม” ชาตยากล่าว

     

    บุก 7 ประเทศรอบ SEA ส่งออกร้านสไตล์ไทย

    จะทำยอดขายให้ปัง การขยายสาขาต้องออกนอกประเทศ ปัจจุบัน “บาร์บีคิวพลาซ่า” มีการขยายผ่านระบบไลเซนส์ไปแล้ว 3 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และกัมพูชา

    เป้าหมายขยายตัวในต่างประเทศภายในปี 2568

    ขณะที่เป้าหมายจนถึงปี 2568 จะบุกหนักเพิ่มเป็น 7 ประเทศ และขยายจากขณะนี้มี 30 สาขาต่างประเทศ เป็น 47 สาขา ได้แก่

    • มาเลเซีย 27 สาขา
    • อินโดนีเซีย 4 สาขา
    • กัมพูชา 9 สาขา
    • สปป.ลาว 3 สาขา
    • สิงคโปร์ 2 สาขา
    • เวียดนาม 1 สาขา
    • ฟิลิปปินส์ 1 สาขา

    ชาตยาคาดว่า รายได้รวมจากต่างประเทศจะแตะ 800 ล้านบาทภายใน 3 ปี ผ่านการทำงานกับพาร์ทเนอร์ที่รับไลเซนส์ในการขยายสาขา และทำการตลาด “ร้านหมูกระทะสไตล์ไทย” ใช้ Soft Power แบบไทย เช่น เมนูก๋วยเตี๋ยวเรือ มารยาทการไหว้

     

    เปิดศูนย์เรียนรู้-ฝึกอบรมด้านอาหาร

    กลยุทธ์สุดท้ายคือการ Go Beyond Food Industry นั้น มาจากการเปิดธุรกิจใหม่ในสายการศึกษา-ฝึกอบรมของฟู้ดแพชชั่นมาตั้งแต่ปี 2563 แบ่งเป็น 2 ธุรกิจคือ

    • ศูนย์การเรียนรู้ฟู้ดแพชชั่น ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รองรับการยกระดับการศึกษาของพนักงานฟู้ดแพชชั่นเอง และบุคคลนอกองค์กร เป้าหมายผู้เรียนครบ 1,000 คนภายในปี 2568
    • ศูนย์ฝึกอบรมฟู้ดแพชชั่น เปิดสอนหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร โดยมีประกาศนียบัตรรับรอง เน้นเป้าหมายผู้ประกอบการและพนักงานร้านอาหารเข้ามาเรียนรู้ เป้าหมายผู้รับการอบรมครบ 10,000 คนภายในปี 2568

    ธุรกิจนี้ของฟู้ดแพชชั่นเป็นการต่อยอดความเชี่ยวชาญไปสร้างรายได้เพิ่ม และยังเป็นแหล่งตอบแทนสังคมด้วยการให้ทุนการศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้ขาดโอกาสเข้ามาฝึกฝนสร้างอาชีพ เช่น เยาวชนจากสถานพินิจ

    ฟู้ดแพชชั่น บาร์บีคิว พลาซ่า
    สรุปเป้าหมายรายได้ “ฟู้ดแพชชั่น” ในปี 2568

    ขณะนี้ฟู้ดแพชชั่นได้อานิสงส์จากการกลับออกมาใช้ชีวิตปกติของลูกค้า หลังอัดอั้นกันมานานในช่วงโควิด-19 แต่ชาตยามองเช่นกันว่าความเสี่ยงในปีหน้าคือสภาพเศรษฐกิจที่อาจจะถดถอย ซึ่งฟู้ดแพชชั่นจะใช้คลัง “ดาต้า” ที่มีในการสร้างแคมเปญที่โดนใจลูกค้า และต้องเน้น “ความรู้สึกคุ้มค่า” เพื่อให้ลูกค้าพร้อมที่จะจ่ายให้ “พี่ก้อน”

    ]]>
    1407358
    11 ตำแหน่งงาน IT ที่น่าจับตามองในครึ่งปีหลัง Project Managers นำโด่ง https://positioningmag.com/1397184 Tue, 23 Aug 2022 13:40:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397184 ประเทศไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาขับเคลื่อนสังคมและช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เป็นเหตุให้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วเริ่มมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการดำเนินการของธุรกิจในทุกแง่มุม ทั้งยังกำลังก้าวเข้ามาทดแทนทักษะการทำงานของคน

    อย่างไรก็ตาม “พนักงานยังคงเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท” หลายองค์กรจึงมองหาคนที่มีทักษะความรู้ความสามารถเพื่อมาร่วมพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี อาทิ ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะการเขียนโค้ดดิ้ง รวมถึงทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นต้น

    ล่าสุด 𝗘𝘅𝗽𝗲𝗿𝗶𝘀 บริษัทจัดหางานด้านไอทีในเครือของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ได้ทําการสํารวจการตัดสินใจรับพนักงานจํานวน 39,000 คนจาก 40 ประเทศ และได้สัมภาษณ์ผู้นําทีมงานและเทคโนโลยีจากอุตสาหกรรมต่างๆ จํานวน 8 ท่าน ได้เผยผลสำรวจในรายงาน “𝙉𝙚𝙬𝘼𝙜𝙚𝙤𝙛𝙏𝙚𝙘𝙝𝙏𝙖𝙡𝙚𝙣𝙩” หรือ “ยุคใหม่แห่งสายเทคโนโลยี” โดยระบุว่า

    • กว่า 98% ของผู้สมัครงานจะถูกเลือกจากทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี
    • 98% ของผู้สมัครเข้าตําแหน่งวิเคราะห์ข้อมูลวิทยาศาสตร์จะถูกคัดออกโดยผู้ว่าจ้างที่ต้องการทักษะ 4 ด้าน และประสบการณ์ทํางาน 3 ปี
    • 34% ของผู้จ้างงานระบุว่าผู้สมัครงานสายดิจิทัลมีคุณสมบัติตรงกับที่ต้องการไม่เพียงพอ
    • 32% ของผู้จ้างงานระบุว่าผู้สมัครงานมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ
    • 32% ของผู้จ้างงานระบุว่ามากกว่า 1 ใน 4 หรือ 27% ของผู้สมัครงานสายดิจิทัลขาดทักษะซอฟต์สกิลที่เหมาะสม

    ลิลลี่ งามตระกูลพานิช ผู้จัดการประจำประเทศไทย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดเผยว่า

    “ปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนาเร็วกว่าคนเริ่มส่งผลให้ตลาดแรงงานมีการแข่งขันที่สูงและเข้มข้นมากขึ้น องค์กรต่างต้องการคนเก่งที่มีศักยภาพ และพร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีแห่งโลกดิจิทัลเพื่อสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจากรายงานของเอ็กซ์พีริส พบว่า หลายองค์กรกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะการทำงาน ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในสายงานดิจิทัล โดยเฉพาะตำแหน่งผู้จัดการโปรเจกต์ IT หรือ IT Project Managers ที่มีสัดส่วนความต้องการมากที่สุดถึง 22%”


    บางองค์กรเลือกที่จะแสวงหาพนักงานคนใหม่ เข้ามาทำงานแทนคนเก่าที่ขาดทักษะความเชี่ยวชาญด้านนี้ แต่มักจะพบว่าคนเหล่านี้ยังขาดทักษะในการร่วมพัฒนาองค์กร อย่างไรก็ตาม องค์กรส่วนใหญ่มักเลือกที่จะเพิ่มอัตราภายใน และลงทุนเพิ่มมีศักยภาพภายในมากกว่าที่จะแสวงหาจากภายนอกองค์กร

    แม้ว่าองค์กรต่างๆ จะปลูกฝังการเรียนรู้ทักษะอย่างเป็นระบบ แต่มักไม่ตรงกับความต้องการ พนักงานไม่สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่บริษัทต้องการได้ทันเวลา ส่งผลให้พนักงานยังจะมีความกังวลทั้งเรื่องหน้าที่การงาน และเหนื่อยล้าจากการเรียนรู้เอ็กซ์พีริส (Experis) จึงได้ออกแบบหลักสูตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยมี Experis Academy เป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ที่จะช่วยให้องค์กรนั้นๆ ประสานช่องว่างของตําแหน่งงานผ่านการฝึก การอบรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ นําโดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม พนักงานจะได้เรียนรู้ผ่านทฤษฎีมากมาย เช่น Experis Academy ร่วมมือกับ Scania AB ในด้านการผลิตและพัฒนาระบบการขนส่งจากประเทศสวีเดนเพื่อวิเคราะห์ช่องว่างของทักษะและจัดทําโครงการอบรมนักพัฒนา Front-end ที่ใช้เวลา 12 สัปดาห์เพื่อปรับทักษะพนักงานที่สนใจภายในบริษัทรวมถึงพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องด้าน IT ด้วย

    Experis Academy ใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์เช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในกระบวนการจ้างงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการการจ้างงานด้วยมนุษย์ในสายงานที่มีการเปลี่ยนตําแหน่งสูงกว่า 300,000 งาน พบว่า คนงานที่ถูกจ้างผ่านการวิเคราะห์ของปัญญาประดิษฐ์นั้นทํางานอยู่นานกว่า และขั้นตอนการจ้างงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าคนที่ถูกจ้างผ่านการวิเคราะห์โดยมนุษย์อย่างน้อย 25% เพราะเมื่อพนักงานถูกจ้างแล้ว เทคโนโลยีประมวลข้อมูลจะช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะต่างๆ ได้ โครงการ Career Accelerator ของ Experis มีเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยให้พนักงานตั้งค่าโปรแกรมการพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยการเลือกทักษะ และประเมินงานกับหัวหน้างาน และจัดเป็นหลักสูตรพัฒนาทักษะส่วนตัวได้

    นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า กว่า 7 ใน 10 ของพนักงานกล่าวว่าการมีผู้นําที่พึ่งพาและเชื่อถือได้นั้นสําคัญและกว่า 2 ใน 3 อยากทํางานกับองค์กรที่เห็นคุณค่าในตัวพนักงาน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรต้องการ คือ ซอฟต์สกิล หรือทักษะ “ภายใน” ของแต่ละคนที่มีผลต่อการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน คู่ค้า ลูกค้า เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการทำงานได้ ซึ่งทักษะเหล่านี้ เปรียบเสมือน “𝑷𝒐𝒘𝒆𝒓𝒔𝒌𝒊𝒍𝒍𝒔” อันทรงพลังในการขับเคลื่อนให้งานสำเร็จ และเป็นจุดแข็งของแรงงานที่เทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่สามารถเรียนรู้และเข้ามาทดแทนคนได้ โดยเฉพาะทักษะที่หายากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่

    1. ทักษะการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา
    2. ทักษะด้านการพึ่งพา ความไว้ใจ และวินัย
    3. ทักษะด้านการคิดเชิงวิพากษ์ และวิเคราะห์
    4. ทักษะด้านความสร้างสรรค์และเป็นต้นฉบับ มีความคิดเป็นของตัวเอง
    5. ทักษะความยืดหยุ่น ความอดทน อดกลั้น และการปรับตัว
    ]]>
    1397184
    ‘ไมโครซอฟท์’ เชียร์ไทยดันอุตสาหกรรม ‘พลังงานสะอาด’ ก้าวข้ามจาก Made in สู่ ‘Born in Thailand’ https://positioningmag.com/1394955 Thu, 04 Aug 2022 08:11:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394955 ครบ 5 ปีเต็มที่ ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กุมบังเหียน ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ ล่าสุด ธนวัฒน์ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงแง่มุมหรือทิศทางที่ประเทศไทยจะสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้าง New S-Curve ก้าวจาก Made in Thailand ไปสู่ Born in Thailand

    ไทยติดหล่มผู้รับจ้างไม่ใช่เจ้าของ

    อ้างอิงจากผลสำรวจ World Digital Competitiveness Ranking 2021 ของสถาบัน IMD จากสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า ไทยถูกจัดอยู่ใน ลำดับ 38 จากทั่วโลก และ อันดับ 10 ของเอเชีย โดย

    • ความพร้อมด้านองค์ความรู้ อันดับ 42
    • ความพร้อมด้านเทคโนโลยี อันดับ 22
    • ความพร้อมด้าน Future Readiness อันดับ 44
    • การผลิตบัณฑิตสายวิทยาศาสตร์ อันดับ 17
    • การส่งออกเทคโนโลยีชั้นสูง อันดับ 12
    • ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อันดับ 42
    • การจ้างงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันดับ 58
    • การจดสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีระดับสูง อันดับ 42

    แม้จะมีการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูงจะอยู่อันดับที่สูง แต่ในความเป็นจริงไทยอยู่ในฐานะผู้รับจ้างผลิตไม่ได้เป็นเจ้าของ ดังนั้น จะเห็นว่ามีหลายด้านมากที่ไทยยังต้องพัฒนา โดยเฉพาะการผลิตหรือจดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรมของตัวเอง

    ธนวัฒน์ กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ ได้พยายามเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคต่อไป โดยแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่

    • สร้างคน – ทักษะเชิงดิจิทัล และการเรียนรู้ในทุกระดับ
    • สู่อนาคต – เทคโนโลยีที่เสริมศักยภาพในการคิดและสร้างสิ่งใหม่ๆ อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ
    • เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า – ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อนำทั้งทักษะและเทคโนโลยีมาสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้จริง

    โดยไมโครซอฟท์วางเป้าเสริมทักษะเชิงดิจิทัลให้กับคนไทยในได้ 10 ล้านคน ภายในปี 2024 โดยปัจจุบันได้รีสกิลและอัพสกิลให้คนไทยแล้วกว่า 3 ล้านคน และจากนี้จะจับมือกับพาร์ตเนอร์ในการสร้าง ไมโครซอฟท์เลิร์นนิ่งเวิร์ส ให้คนเข้ามาเรียนเกี่ยวกับทักษะด้านดิจิทัล

    สำหรับเทรนด์เทคโนโลยีโลกทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ Metaverse, AI, Quantum Computing และ Hybrid Work ซึ่งทั้ง 4 เทคโนโลยีทางไมโครซอฟท์ก็พร้อมสนับสนุน โดยให้บริการบนคลาวด์ ดังนั้นต้นทุนจะต่ำ แม้ว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี แต่ที่ผ่านมาธนวัฒน์ก็ยังเห็นการลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องในทุกอุตสาหกรรม

    “ตอนนี้บริการต่าง ๆ เราอยู่บนคลาวด์ จ่ายเท่าที่ใช้ ทำให้ต้นทุนต่ำ ซึ่งปัจจุบันทุกอุตสาหกรรมตื่นตัวลงทุนในดิจิทัลหมด โดยเฉพาะแบงก์ที่เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยี และตอนนี้แบงก์ไทยไม่ได้มองแค่ไทย แต่เริ่มรุกตลาดภูมิภาคอื่น ๆ”

    แนะไทยโฟกัสพลังงานสะอาด

    หนึ่งในสิ่งที่ธนวัฒน์เห็นในไทยคือ การลงทุนในเทคโนโลยีนอกจากจะใช้เพื่อลดต้นทุนแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนเพื่อต่อยอดในมุมอื่น ๆ ของธุรกิจ อย่างธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ ก็เอาเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้เพื่อช่วยในการ ลดการปล่อยมลพิษ เพราะในต่างประเทศมีค่าปรับที่สูงหากธุรกิจปล่อยมลพิษจำนวนมาก ดังนั้น ธนวัฒน์จึงมองว่าตอนนี้อุตสาหกรรม พลังงานสะอาด น่าจะเป็น New S-Curve ของไทย เช่น การทำอีวี พาไทยไปสู่ผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้า

    “ตอนนี้เป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนจาก Made in Thailand เป็น Born in Thailand เพราะตอนนี้เทคโนโลยีล้ำ ๆ ที่ใช้ในอเมริกา ไทยก็มีใช้เหมือนกัน”

    ทั้งนี้ ธนวัฒน์ยืนยันว่า แม้บริษัทเทคโนโลยีหลายรายชะลอการจ้างงาน แต่ไมโครซอฟท์ยังคงมีแผนที่จะลงทุนต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2023 นี้ ก็มีแผนจะจ้างานเพิ่มอีก 20-30% ในส่วนของแผนโซลูชันซิเคียวริตี้ และพาร์ตเนอร์กับลูกค้าเพื่อช่วยในการพัฒนาโซลูชัน

    ]]>
    1394955
    Sony ปรับขึ้นราคาสินค้าในญี่ปุ่น 3-31% หลังขาดเเคลนชิ้นส่วน ต้นทุนการผลิตพุ่ง https://positioningmag.com/1379250 Sat, 26 Mar 2022 09:53:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379250 เเบรนด์เทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง ‘Sony’ ประกาศปรับขึ้นราคาสินค้าหลายรายการในญี่ปุ่น หลังเจอปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ต้นทุนการผลิตและการจัดจำหน่ายพุ่งสูงขึ้น

    โดยเว็บไซต์ทางการของ Sony Japan ระบุว่า นับตั้งแต่ 1 เมษายน 2022 เป็นต้นไป ทาง Sony Marketing Inc. จะปรับราคาขายส่งสำหรับสินค้าบางรายการในประเทศญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นประมาณ 3-31% จากราคาเดิม อันเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก อย่างการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ ต้นทุนวัสดุ ต้นทุนการผลิตและการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น

    ทั้งนี้ สินค้าในราคาขายปลีกจะมีการปรับราคาตามคำแนะนำของผู้ผลิต เเละยังไม่ได้เปิดเผยว่าจะมีปรับราคาสินค้าในประเทศอื่นด้วยหรือไม่

    โดยกลุ่มสินค้าส่วนใหญ่ที่จะปรับขึ้นราคา จะประกอบด้วยกลุ่มซาวด์บาร์, โฮมเทียร์เตอร์, หูฟัง, เครื่องเล่นเพลงแบบพกพา, กล้องดิจิทัล, กล้องวิดีโอ, เครื่องเล่นบลูเรย์ดีวีดี, ลําโพงแบบมีแอมป์ในตัว, ลำโพงคล้องคอ, วิทยุ รวมถึงอุปกรณ์เสริมในกลุ่มภาพและเสียง

     

    ที่มา : sony.jp 

    ]]>
    1379250
    ทิศทาง ‘LINE for Business’ ธุรกิจลักชัวรี่-ภาครัฐมาเเรง ลุยโซลูชันจัดการข้อมูลเเละ NFT https://positioningmag.com/1379204 Fri, 25 Mar 2022 09:10:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379204 เปิดกลยุทธ์ LINE for Business เเพลตฟอร์มดิจิทัลยอดนิยม พบกลุ่มธุรกิจสินค้าหรูเติบโตก้าวกระโดด ภาครัฐไทยทำรายการดิจิทัลผ่าน LINE API โตถึง 482 % ปีนี้พร้อมบุกโซลูชันจัดการข้อมูล ‘อย่างง่าย’ จับธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก เริ่มทำตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล คว้าโอกาส NFT 

    นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ LINE ประเทศไทย เล่าถึงภาพรวมธุรกิจในปีที่ผ่านมาว่าเป็น ‘ปีเเห่งความท้าทาย’ ที่ต้องปรับตัวอย่างมาก ทั้งวิถีการใช้ชีวิตเเละกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ

    ในช่วงเเรกของวิกฤตโควิด-19 ผู้คนปรับตัวเเบบเฉพาะหน้า เเต่เมื่อเวลาผ่านไปมีหลายพฤติกรรมที่ได้กลายมาเป็นเทรนด์กระเเสหลักอย่างการทำงานจากที่บ้าน การใช้บริการส่งของหรือส่งอาหารเเบบเดลิเวอรี่ รวมไปถึงการหารายได้ในรูปเเบบสกุลเงินดิจิทัล

    นอกจากนี้ เเรงกดดันจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นและแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก เหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ

    ลักชัวรี่มาเเรง ภาครัฐใช้ LINE API โต 482%

    ประเทศไทย มีการเติบโตในเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นอย่างมาก ในปี 2564 โดยมียอดผู้ใช้ LINE ทั้งสิ้น 50 ล้านราย เพิ่มจากสิ้นปี 2563 ที่มียอดผู้ใช้ 47 ล้านราย

    ดัชนีชี้วัดของการใช้งานบริการดิจิทัลผ่าน LINE API เติบโตขึ้นถึง 47% จาก 4.6 หมื่นล้านการดำเนินการในปี 2563 สู่ 6.9 หมื่นล้านการดำเนินการในปี 2564

    โดยธุรกิจกลุ่มสถาบันการเงินยังคงเป็นผู้นำในการใช้งาน ‘LINE API’ มากที่สุด

    ส่วนกลุ่มธุรกิจสินค้าหรู ‘Luxury’ ถือเป็นธุรกิจกลุ่มใหม่ที่มีการบริโภคภายในประเทศสูงขึ้นเป็นอย่างมาก จากมูลค่าเงินลงทุนที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดบน LINE for Business ถึง 200% ในช่วงปี 2562-2564

    ที่น่าสนใจ คือ กลุ่มภาครัฐและบริการสาธารณะ กลายเป็นกลุ่มที่เติบโตทางด้านดิจิทัลมากที่สุดในปี 2564 ด้วยยอดการทำรายการดิจิทัลผ่าน LINE API เติบโตถึง 482% เมื่อเทียบกับปี 2563

    ตามมาด้วย กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ท่องเที่ยว และค้าปลีก ที่มียอดการเติบโตของการใช้งานผ่าน LINE API มากกว่า 100%

    พัฒนาโซลูชันจัดการข้อมูล ‘อย่างง่าย’ จับธุรกิจกลาง-เล็ก

    สำหรับกลยุทธ์ของ LINE ในปี 2565 จะมุ่งเป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับธุรกิจในการปรับตัวสู่ดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กลุ่มธุรกิจไทยให้เเข่งขันในได้ในระดับสากล

    นอกจากนี้ จะมีการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องข้อมูล หรือ DATA ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต

    ที่ผ่านมา LINE มีโซลูชันจัดการข้อมูลให้แบรนด์ธุรกิจขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ ‘MyCustome’ โซลูชันในการบริหารจัดการข้อมูลที่ทำให้แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลโดยได้รับการอนุญาตจากลูกค้าโดยตรง (1st party data consent)

    ทั้งจากภายในแพลตฟอร์ม LINE หรือนำข้อมูลภายในของแบรนด์ หรือที่ได้จากช่องทางอื่นมารวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปใช้งานได้ทั้งในและนอกแพลตฟอร์ม LINE

    เเละในปีนี้ LINE พัฒนาโซลูชันใหม่ล่าสุด ‘Business Manager’ ช่วยบริหารจัดการข้อมูลอย่างง่าย ตอบโจทย์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ได้ต้องการบริหารงานข้อมูลที่ซับซ้อน โดยจะเน้นไปที่การบริหารจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้นโดยตรงบนแพลตฟอร์ม LINE ระหว่าง LINE Official Account และ LINE Ads Platform เพื่อให้แบรนด์สามารถนำมาวิเคราะห์ นำเสนอสินค้าบริการที่โดนใจลูกค้า

    ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเเบรนด์ นอกจาก บัญชีรับรอง (Verified Account) เเล้ว ในปีนี้จะมีโปรแกรม BLUE BADGE ให้ความรู้ จัดอันดับ และให้รางวัลแก่แบรนด์ที่ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทั้งในแง่ของสินค้า บริการ เเละการออกแบบผลิตภัณฑ์ร้านค้า

    เดินหน้าลุย NFT for Business

    ในปี 2022-2023 นี้ LINE เตรียมความพร้อมเพื่อเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจโลกใหม่ ผ่านการพัฒนาโซลูชันสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ NFT (Non-fungible Token)

    โดย LINE ตั้งเป้าที่จะเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับองค์กรธุรกิจไทย ที่จะเดินหน้าสู่การทำการตลาดด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งในด้าน การจัดหา creator ให้กับแบรนด์ และเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ในการใช้งาน NFT เพื่อธุรกิจ (NFT for Business) ด้วยการร่วมมือกับ LINE Consumer Business ที่เพิ่งประกาศทิศทางในการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรม NFT อย่างเต็มรูปแบบ

    โดย LINE เตรียมจะผลักดันให้เหล่าครีเอเตอร์ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 1 ล้านราย สร้างรายได้เพิ่ม ผ่านการสร้างสรรค์ commercial arts ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ Licensing IP Business หรือการขายสินค้า (Merchandising) โดยที่ผ่านมา มีครีเอเตอร์ชาวไทยมากกว่า 28 รายที่กลายเป็นผู้เล่นธุรกิจ IP ผ่านการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เช่น Uniqlo และ AIS สำหรับปีนี้ LINE ก็มีแผนจะจะเปิดตัว Line Valley สำหรับการขายสินค้าให้กับเหล่าครีเอเตอร์ด้วย

    พร้อมออกโปรแกรมพัฒนาครีเอเตอร์ใหม่ จัดตั้ง LINE Creators Academy สร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ NFT ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงสำหรับครีเอเตอร์ที่สนใจ ซึ่งปัจจุบัน LINE ประเทศไทย ได้เป็นพันธมิตรกับตลาด NFT (NFT Marketplace) ชั้นนำ อาทิ EAST NFT, Bitkub NFT, Coral by KASIKORN X และ Zixel by Zipmex  NFT

    เมื่อวันพุธที่ 23 มี..ที่ผ่านมา  LINE ประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศเเผนเตรียมเปิดตัว “LINE NFT” ในวันที่ 13 เม.ย.ที่จะถึงนี้ โดยจะเปิดให้ซื้อขาย NFT ได้ครบจบในแอปพลิเคชันเดียว ซึ่งจะมีการจัดแสดงผลงาน NFTs มากกว่า 100 รูปแบบ พร้อมเปิดให้ชมผลงาน NFT limited edition ของบริษัทบันเทิงญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่อย่าง Yoshimoto Kogyo ซึ่ง ณ ตอนนี้จะเปิดให้บริการ “LINE NFT” แค่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น

    ทั้งนี้ ข้อมูลจาก NFT Nonfungible.com ระบุว่า ในปี 2021 ที่ผ่านมา มียอดขาย NFT ทั่วโลกถึง 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตถึง 21,000% จากปี 2020 ที่มียอดรวมเเค่ 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ]]> 1379204 กรุงศรี วางเกมปั้นรายได้อาเซียน 10% ภายใน 2 ปี ทุ่มลงทุน ‘ดิจิทัล’ หนุนสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ https://positioningmag.com/1372777 Thu, 03 Feb 2022 14:31:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372777 กรุงศรี วางเเผนใหญ่ขยายตลาดอาเซียน ทุ่ม 8 พันล้านพัฒนาดิจิทัล หนุนสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ มองปีนี้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว เป้าจีดีพี 3.7%

    โดยแผนการดำเนินงานในปี 2565 ซึ่งเป็นแผนระยะกลาง 3 ปี (ตั้งแต่ปี 2564-66) ของกรุงศรีจะมุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์ “Go ASEAN with Krungsri” จับมือพันธมิตรเพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยีเเละนวัตกรรมเพื่อลูกค้า

    เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า ในวิกฤตโควิดเป็นช่วงที่ท้าทายในทุกธุรกิจ เมื่อย้อนกลับในปีแรกของแผนงานธุรกิจระยะกลาง ถือกรุงศรีประสบความสำเร็จอย่างดี ทั้งในเเง่การช่วยเหลือลูกค้าเชิงรุกด้วยมาตรการต่างๆ การทำผลกำไรเเละการดำเนินงาน รวมไปถึงการเป็นสถาบันการเงินไทยที่มีเครือข่ายในอาเซียนมากที่สุด

    ทุ่ม 8 พันล้านเสริมดิจิทัล ปั้นรายได้อาเซียนเป็น 10% ใน 2 ปี

    ล่าสุดกรุงศรีได้เข้าไปทำธุรกิจในเวียดนามซึ่งถือเป็นประเทศที่ 5 ในอาเซียนที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ในระยะถัดไปตั้งเป้าว่าจะขยายตลาดให้ครอบคลุมอย่างน้อย 8 ประเทศในภูมิภาค

    ในส่วนของการพัฒนาด้านดิจิทัลนั้น กรุงศรีตั้งเป้าลงทุนเพิ่มในปีนี้ราว 7-8 พันล้านบาท เชื่อมโยงกับพันธมิตรทั่วอาเซียน พร้อมสนับสนุนสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ เเละบริษัทที่ยังไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงให้ความสำคัญกับ Digital Asset หลังได้เข้าลงทุนในเเพลตฟอร์มเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง ‘Zipmex’ ซึ่งจะมีการขยายตลาดไปในอาเซียนมากขึ้น

    นอกจากนี้ จะมีการขยาย API เชื่อมโยงกับธนาคารพันธมิตรในอาเซียน สร้าง ‘AI Tech lab’ ร่วมกับบริษัทเเม่อย่าง MUFG เเละซูเปอร์เเอปฯ อย่าง Grab เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด ควบคู่กับการเร่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดใหม่ ๆ ภายนอกประเทศ 

    โดยที่ธนาคารตั้งเป้าในช่วง 2 ปี สัดส่วนกำไรจากเครือข่ายของธนาคารในอาเซียน เพิ่มเป็น 10% ในอีก 2 ปีข้างหน้า จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 6% 

    รุกธุรกิจโอน-ชำระเงินข้ามประเทศ

    ไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองค์กร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันกรุงศรีได้ให้บริการลูกค้าไปแล้วมากกว่า 500,000 บัญชี ในกัมพูชา สปป.ลาว และฟิลิปปินส์ รวมมูลค่าสภาพคล่องแล้วกว่า 64,000 ล้านบาท

    สำหรับลูกค้าคนไทย จะยังคงเดินหน้าขยายโซลูชัน เพิ่มมูลค่าในการทำการค้าระหว่างประเทศ (cross-border value chain solutions) ในอุตสาหกรรมต่างๆ และบริการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ลูกค้าธุรกิจไปเติบโตทั่วทั้งอาเซียน และอีกมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกผ่านเครือข่ายของ MUFG

    โดยในปีนี้จะมุ่งสร้างพันธมิตรในกลุ่มธุรกิจให้หลากหลาย ทั้งธุรกิจด้านพลังงาน โทรคมนาคม ประกัน อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจรายย่อยและเชิงพาณิชย์

    เรากำลังขยายบริการธุรกรรมการโอนเงินระหว่างประเทศ สำหรับลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจให้ครอบคลุมมากขึ้น จากเดิมที่มีการเชื่อมต่อบริการ 3 ประเทศในปีที่ผ่านมา ให้เป็น 8 ประเทศภายในปีนี้

    ทั้งนี้ มียอดธุรกรรมการชำระเงินและการโอนระหว่างประเทศในอาเซียนผ่านกรุงศรีแล้วมากกว่า 500,000 ครั้ง มูลค่ารวมมากกว่า 200,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี

    สำหรับการจัดตั้ง Virtual Bank หรือธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ที่ดำเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัล ผู้บริหารกรุงศรียอมรับว่าเป็นเทรนด์เเห่งอนาคต ซึ่งธนาคารกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา โดยได้เริ่มเเนวทางนี้เเล้วผ่านการเปิดตัวเเอปพลิเคชันออมเงินอย่าง ‘Kept’ ซึ่งมีเสียงตอบรับจากผู้ใช้ที่ดีมาก เเละหากมีความเหมาะสมก็จะนำมาต่อยอดเเละพัฒนาต่อไป

    -เทรนด์ Virtual Card มาเเรง กรุงศรี ส่งบัตรเครดิต Krungsri NOW บัตรดิจิทัล ‘ใบแรก’ จากเครือบัตรเครดิต กรุงศรี ออกมาจับกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัย 21-35 ปี รายได้เฉลี่ยตั้งแต่ 1.5-7 หมื่นบาทต่อเดือน เเละนิยมการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะ

    มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว เป้าจีดีพี 3.7%

    ในปี 2565 กรุงศรี ตั้งเป้าการเติบโตเงินให้สินเชื่ออยู่ที่ 3-5% โดยมีสินเชื่อรายย่อยเติบโต 3-4% สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อยู่ที่ 4-5% และธุรกิจขนาดใหญ่อยู่ที่ 3-4% รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยทรงตัวจากปีก่อน และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.1-3.3%

    ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้รวมคาดอยู่ในระดับกลางหรือราว 40% เเละมีสัดส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 150-160 bps อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ราว 2.6% สำหรับอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 150% ภายใต้สมมติฐานที่เศรษฐกิจไทยจะเติบโต 3.7% ในปีนี้

    อย่างไรก็ตาม เป้าหมายทางการเงินดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ของธนาคารเบื้องต้น ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

    โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะเริ่มเห็นการฟื้นตัว หลังจากการแพร่ระบาดโควิดเริ่มคลี่คลาย การกระจายวัคซีนทั่วถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศยังดำเนินได้ตามปกติ รวมไปถึงปัจจัยด้านการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะทำให้ภาคการส่งออกไทยขยายตัวได้ดีตามไปด้วย ขณะที่ภาคท่องเที่ยวยังไม่กลับมาได้ 100% เเต่จะมีการฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

    ปีนี้เราคาดว่าจีดีพีน่าจะขยายตัวได้ระดับ 3.7% จากปีก่อนที่ขยายตัวเพียง 1.2%”

    ]]>
    1372777
    ยุคแย่งทาเลนต์! เพดานเงินเดือนสาย “ไอที-ดิจิทัล” ขยับเพิ่มเกือบเท่าตัว https://positioningmag.com/1371292 Mon, 24 Jan 2022 07:37:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371292 Adecco เปิดเผยข้อมูลฐานเงินเดือนปี 64 โดยเฉลี่ยปรับลดลง ตำแหน่งรับเด็กจบใหม่ลดลง แต่เพดานเงินเดือนขยับขึ้นในสายไอที-ดิจิทัล และตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เป็นยุคภาวะขาดแคลนทาเลนต์เฉพาะทาง

    บริษัท อเด็คโก้ ประเทศไทย เปิดตัว Salary Guide 2022 เผยข้อมูลอัตราเงินเดือนประจำปีที่ผ่านมาในสายอาชีพต่างๆ จากบริษัทชั้นนำที่เป็นลูกค้าของ Adecco กว่า 3,000 บริษัท

    จากฐานข้อมูลเงินเดือนปี 2564 พบว่าภาพรวมอัตราเงินเดือนเริ่มต้นมีการขยับลดลงจากปีก่อน แต่ในหลายตำแหน่งงานกลับมีเพดานเงินเดือนที่สูงขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะตลาดแรงงานยังขาดแคลนคนเก่งในด้านนี้สืบเนื่องจากผลกระทบ COVID-19 ที่ทุกองค์กรต่างต้องเร่งขยับขยาย และปรับธุรกิจให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นรวมถึงเรื่องการเงินที่ต้องบริหารจัดการต้นทุนให้คุ้มค่า และแสวงหาโอกาสในสินทรัพย์ดิจิทัลที่กำลังมาแรง

    พนักงานระดับต้นการแข่งขันสูง อัตราการจ้างเด็กจบใหม่ลดลง 24%

    ธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท อเด็คโก้ ประเทศไทย ได้เปิดเผยถึงภาพรวมการจ้างงานและอัตราเงินเดือนในปีที่ผ่านมาว่า

    “ผลกระทบจาก COVID-19 ที่ผ่านมาทำให้ตลาดแรงงานมีผู้ว่างงานจำนวนมากจากการเลิกจ้าง หลายองค์กรต้องรัดเข็มขัดชะลอการรับพนักงานใหม่ และปรับโครงสร้างเงินเดือน ปัจจัยนี้ส่งผลให้เด็กจบใหม่หางานยากขึ้นเนื่องจากในอัตราเงินเดือนเดียวกันองค์กรยังสามารถจ้างผู้ที่มีประสบการณ์ได้ ซึ่งในปีนี้จากข้อมูลพบว่าตำแหน่งงานที่เปิดรับเด็กจบใหม่ในปีที่ผ่านมาลดลงจากปี 2563 ราว 24%

    ขณะที่พนักงานระดับต้นต้องเจอกับการแข่งขันที่สูงขึ้น และฐานเงินเดือนเริ่มต้นที่ปรับลดลงในบางตำแหน่งจากภาวะแรงงานล้นตลาดที่ทำให้องค์กรมีผู้สมัครจำนวนมากที่มีทักษะพื้นฐานใกล้เคียงกันเป็นตัวเลือกจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สมัครต้องพัฒนาทักษะอยู่เสมอแม้จะอยู่ในช่วงว่างงาน”

    ภาวะขาดแคลนทาเลนต์ดันเพดานเงินเดือนขยับขึ้น

    ในทางกลับกันแรงงานที่มีทักษะที่ตลาดต้องการและประสบการณ์สูง เช่น ทักษะดิจิทัล และประสบการณ์ตรงในธุรกิจอุตสากรรมเดียวกันกลับหาได้ยากขึ้นส่งผลให้องค์กรต้องเพิ่มอัตรา เงินเดือนเพื่อจูงใจผู้สมัครทำให้ค่าสูงสุดของอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เช่น

    • ตำแหน่ง E-Commerce Manager จากเดิมที่สูงสุด 120,000 ขยับเพดานเป็น 300,000
    • ตำแหน่ง Finance Controller ขยับเพดานจาก 250,000 เป็น 350,000
    • ตำแหน่ง Senior Solution Architect ขยับเพดานจาก 160,000 เป็น 250,000
    • ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงก็ขยับเพดานเงินเดือนจาก 500,000 บาท เป็น 700,000 บาท

    6 สายงานมาแรงปี 2565 – IT & Digital บูมที่สุด

    สายงาน IT & Digital เป็นสายงานที่มาแรงที่สุดในปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยข้อมูลพบว่าในปีที่ผ่านมามีจำนวนตำแหน่งงานที่เปิดรับในสายงานนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 38% และเพิ่มขึ้น 15% จากปี 2562 โดยอาชีพที่ตลาดมีความต้องการสูง ได้แก่

    Programmer, Data Analyst, Project Manager, งานด้าน E-Commerce, Digital Marketing และ CRM/Customer Insight 


    ส่วนสายงานอื่นที่อยู่ในช่วงขาขึ้นเช่นเดียวกัน ได้แก่ สายการเงิน และบัญชี ที่กลับมาคึกคักอีกครั้งจากการเติบโตของธุรกิจ Fintech สินทรัพย์ ดิจิทัล และการควบรวมกิจการต่างๆ ที่ทำให้มีความต้องการจ้างงานในสายนี้มากขึ้นกว่าปี 2563

    สายงานขาย แม้มีการเติบโตจากปีก่อนเพียงเล็กน้อย แต่ในภาพรวมจำนวนการจ้างงานยังสูงติดลำดับต้นๆ และเติบโตได้ดีในหมวด B2B เนื่องจากองค์กรต้องการขยายช่องทางการขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ ด้าน สายงานโลจิสติกส์ ก็เติบโตขึ้นเช่นกันจากอานิสงส์ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ขณะที่ สายงานวิศวกรรม มีความต้องการแรงงานสูงในสายงานที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติและการพัฒนาขั้นตอนในสายการผลิต

    ทักษะดิจิทัล-ดาต้าหนุนเงินเดือนสูง

    จากการวิเคราะห์ข้อมูลการจ้างงานในปีที่ผ่านมาของ Adecco พบว่าผู้สมัครที่ได้รับเงินเดือนสูงในแต่ละสายงานมักมีทักษะแบบ T-shape คือ รู้ลึกในสาขาเฉพาะทาง และรู้รอบในส่วนงานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งมี soft skill ที่จะสามารถทำงานแบบ cross functional ร่วมกับทีมอื่นๆ

    โดยทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องมีเพิ่มเติมคือ ทักษะดิจิทัล เนื่องจากองค์กรชั้นนำส่วนใหญ่ได้ปรับตัวเข้าสู่การทำงานในระบบดิจิทัลเรียบร้อยแล้ว รวมถึง ทักษะการใช้และวิเคราะห์ฐานข้อมูล (data analytics) ที่สามารถช่วยต่อยอดและยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในแทบทุกสายงาน นอกจากนี้ ประสบการณ์ตรงในธุรกิจอุตสากรรมเดียวกัน

    โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตไม่ว่าจะเป็น Fintech, E-commerce, Logistic, Technology, Medical & Wellness, EV Technology, OTT หรือ แพลตฟอร์ม ที่ให้บริการคอนเทนต์ออนไลน์ ก็จะช่วยเพิ่มแต้มต่อในการสมัครงานให้กับผู้สมัครมากขึ้น ในฝั่งของผู้บริหารและผู้บริหารระดับสูงหากเคยมีประสบการณ์ในการทำ digital transformation การสร้างธุรกิจหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ก็จะเป็นที่น่าสนใจสำหรับหลายองค์กรในปัจจุบันที่ต้องการขยายตลาดใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี และแสวงหาโอกาสในสินทรัพย์ดิจิทัล

    ]]>
    1371292
    ผลศึกษาชี้ ยุคโควิด ‘Gen X’ ยิ่งหางานยาก เหตุปรับตัวตาม ‘เทคโนโลยี’ ไม่ทัน และเข้ากับ Gen อื่นยาก https://positioningmag.com/1344390 Thu, 29 Jul 2021 08:41:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344390 คนทำงาน Gen X หรือคนอายุระหว่าง 38-53 ปี อาจกำลังเผชิญกับวิกฤตการว่างงานทั่วโลก เนื่องจากการระบาดใหญ่ได้เพิ่มความท้าทายที่มีอยู่สำหรับแรงงานที่มีอายุมาก โดยเฉพาะการที่โลกนำเทคโนโลยีดิจิทัลและออโตเมชั่นมาปรับใช้เร็วขึ้น เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19

    รายงานจาก Generation ซึ่งเป็นองค์กรจัดหางานที่ไม่แสวงหาผลกำไรระบุว่า การนำดิจิทัลไปใช้อย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดได้เร่งการทำงานอัตโนมัติทำให้การหางานของคน Gen X ยิ่งยากขึ้น โดยในการศึกษาระดับโลกเรื่อง Meeting the world’s midcareer challenge” พบว่าพนักงานระดับเริ่มต้นและกลางที่มีอายุระหว่าง 45-60 ปี ต้องเผชิญกับอุปสรรคที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความลำเอียงในหมู่ผู้จัดการการจ้างงาน รวมถึงการไม่เต็มใจในหมู่คนงานที่จะเรียนรู้ ทักษะใหม่

    “เป็นที่แน่ชัดว่าเมื่อคุณอายุถึงเกณฑ์หนึ่ง การเข้าถึงโอกาสในการทำงานจะกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมาก” Mona Mourshed ซีอีโอ Generation กล่าว

    การศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2564 ได้ทำการสำรวจผู้จ้างงานและผู้ว่างงานจำนวน 3,800 คนที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี และผู้จัดการการจ้างงาน 1,404 คนใน 7 ประเทศพบว่า แม้ในแต่ละประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อินเดีย และ อิตาลี จะมีตำแหน่งงานที่หลากหลาย แต่ผลการวิจัยก็เหมือนกันหมด คือ คนวัย 45-60 ปี เป็นกลุ่มพนักงานที่ถูกมองข้ามมากที่สุด

    ขณะที่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ผู้ว่างงานระยะยาวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานระดับกลาง โดยสัดส่วนของกลุ่มนี้ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มมีความพร้อมน้อยที่สุดในการสมัครงาน ทั้งความฟิต และประสบการณ์ที่มี

    ความกังวลอันดับต้น ๆ ขององค์กรในการรับคน Gen X คือ การรับรู้ถึงความไม่เต็มใจในการที่จะลองใช้เทคโนโลยีใหม่ (38%) การไม่สามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ (27%) และความยากลำบากในการทำงานกับคนรุ่นอื่น ๆ (21%)

    แม้การฝึกอบรมสามารถให้แนวทางแก้ไขปัญหาได้หนึ่งวิธี แต่รายงานยังเน้นย้ำถึงความ ไม่เต็มใจ ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมในหมู่ผู้หางานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยมากกว่าครึ่ง (57%) ของผู้หางานระดับเริ่มต้นและระดับกลางแสดงความต่อต้านต่อทักษะใหม่ มีเพียง 1% เท่านั้นที่กล่าวว่าการฝึกอบรมช่วยเพิ่มความมั่นใจในการหางาน

    ภาพจาก CNBC

    อย่างไรก็ตาม เธอยืนยันว่าการฝึกอบรมสามารถให้ประโยชน์อย่างแท้จริง ในการศึกษานี้ เกือบ 3 ใน 4 (73%) ของผู้เปลี่ยนอาชีพที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปกล่าวว่าการเข้าร่วมการฝึกอบรมช่วยให้พวกเขาได้รับตำแหน่งใหม่ ดังนั้น หากหลายองค์กรที่ขาดแคลนแรงงานหรืออยากจะช่วยให้ Gen X ยังสามารถทำงานได้ องค์กรควรมีโซลูชั่นดังนี้

    • เชื่อมโยงโปรแกรมการฝึกอบรมเข้ากับโอกาสการจ้างงานโดยตรง และให้เงินช่วยเหลือแก่พนักงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปที่ลังเลในการเข้ารับการฝึกอบรม
    • การเปลี่ยนแปลงแนวทางการจ้างงานเพื่อลดอคติด้านอายุที่อาจเกิดขึ้น พร้อมกับประเมินศักยภาพของผู้สมัครงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปโดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นการลงมือทำ

    Source

    ]]>
    1344390
    ‘เอไอเอส’ เผยสถิติธุรกิจไทยปรับตัวเร็วขึ้น ’40 เท่า’ เพราะได้ ‘โควิด’ เป็นตัวเร่ง https://positioningmag.com/1333190 Thu, 20 May 2021 10:03:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333190 หากพูดถึงเรื่องการทรานส์ฟอร์มองค์กรไปสู่ดิจิทัล แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีการพูดกันมานานหลายปี อย่างไรก็ตาม บางองค์กรอาจจะยังชะล่าใจ หรือยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหนทำให้การปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัลจึงยังไม่ได้เริ่ม จนกระทั่งการมาของ COVID-19 ที่เป็นการบังคับให้ต้องปรับตัว เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้องค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะทรานส์ฟอร์มได้อีกต่อไป

    มีแค่ 5% ที่ไม่คิดปรับตัว

    ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business กล่าวว่า COVID-19 ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ทุกองค์กรปรับตัวเร็วขึ้น โดยพบว่าไม่ว่าองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่มีการปรับตัวมากถึง 18-40 เท่า จากการทำงานแบบเดิม ขณะที่บริษัทระดับ Top 10 ของไทยสามารถใช้ดิจิทัลสร้างการเจริญเติบโตของรายได้มากถึง 5 เท่า และทำกำไรได้กว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่มีแผนที่จะทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล

    อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของประเทศไทยในการทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัลนั้นพบว่ามี Digital Leader เพียง 3% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 5% ส่วนDigital Adopters (ที่เริ่มเปิดรับดิจิทัล) มี 22% ขณะที่ทั่วโลกเฉลี่ย 23% แม้จะน้อยกว่าแต่หากดูภาพรวมแล้ว บริษัทในประเทศไทยที่ ไม่มีแผนการนำดิจิทัลมาทรานส์ฟอร์มองค์กร มีเพียง 5% เท่านั้น เมื่อเทียบกับทั่วโลกที่มีสัดส่วนถึง 9%

    Go Online สิ่งแรกที่ SME ทำ

    จากการสำรวจพบว่า องค์กรส่วนใหญ่ที่นำดิจิทัลเข้ามาใช้ 38.6% เป็นการสร้างช่องทางการขายออนไลน์ 79.3% เปิดรับชำระเงินทางออนไลน์ และในช่วงสถานการณ์ล็อกดาวน์เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 องค์กรต่าง ๆ ได้สร้าง Online Channel มากขึ้นเป็นอันดับ 1 ถึง 57.1% ส่วนผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SME มีการปรับตัวชัดเจนขึ้น 4 ด้าน คือ เพิ่มการส่งเสริมการขายในตลาดออนไลน์, เพิ่มนวัตกรรมในองค์กร, เพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ เพื่อปรับโครงสร้างต้นทุน

    COVID-19 ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกไปแล้ว ทำให้โลกออนไลน์และดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต องค์กรธุรกิจก็ต้องทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัล เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนมากขึ้น รวมถึงสร้าง New Business Model เพื่อตอบสนอง Lifestyle ใหม่เพื่อที่จะอยู่รอดท่ามกลางการระบาด

    4 รู้ ก่อนนำเทคโนโลยีมาใช้

    แนวทางที่ของแนะคือหลัก 4 รู้ ได้แก่ รู้ตนเอง, รู้ลูกค้า, รู้เทคโนโลยี, รู้ partner ต้องประกอบไปด้วย 4 อย่างนี้เข้าด้วยกัน จึงจะนำไปสู่กระบวนการในการหาทางออกด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ได้

    รู้ตนเอง คือ รู้เป้าหมายที่จะไป หรือรู้ว่าปัญหาที่ประสบอยู่คืออะไร รวมถึงรู้ความสามารถขององค์กรและบุคลากรว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้ได้เพียงได้

    รู้ลูกค้า คือ รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร หรือประสบปัญหาอะไร เราจะไป capture value เหล่านั้นในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างไร

    รู้เทคโนโลยี คือ รู้ว่าเทคโนโลยีจะไปตอบโจทย์จากการรู้ตนเองและรู้ลูกค้าได้อย่างไร เลือกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น

    รู้ partner คือ รู้ว่า partner รายใดที่น่าจะช่วยนำ technology กับ business expertise มาประกอบกันให้สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่ง partner นั้นต้องไว้ใจได้ เพราะมีประสบการณ์, มีความสามารถ, และมี partners อีกมากมายที่จะร่วมกันทำให้เกิดความสำเร็จ

    นพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร  AIS Business

    ทั้งนี้ 10 เทคโนโลยีที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญและพร้อมนำไปใช้ในทุกกระบวนการ ได้แก่ 5G, IoT, Cloud&EDGE Computing, Extended Reality, AI/Machine Learning, Robotics, Big Data & Analytics, Cyber Security, Robotic Process Automation และ Blockchain ซึ่ง AIS Business มีความพร้อมอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับทุกองค์กร เพื่อให้เราสามารถเดินหน้าฝ่าวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ไปด้วยกันให้ได้ และก้าวสู่โลกของการทำ Digital Business ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

    ]]>
    1333190