โดยเป้าหมายหลัก คือ สร้างสมดุล สร้างการเติบโต และกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจของดุสิตธานี ไม่ให้พึ่งพิงน่านน้ำรายได้จากสายใดสายหนึ่งมากจนเกินไป
ซึ่งปี 2567 ดุสิตธานี เริ่มชิมลางเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ผ่านความร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัล ปั้นโครงการมิกซ์ยูส “ดุสิตเซ็นทรัลพาร์ค” ประกอบด้วยโรงแรม อาคารสำนักงาน และที่อยู่อาศัยภายใต้แบรนด์ของดุสิตเอง และถือเป็น Branded Residences สัญชาติไทยครั้งแรก
“เราไม่ได้มาจากสายอสังหา แต่เติบโตมาจากธุรกิจบริการ จึงอยากนำความเชี่ยวชาญเรื่อง Hospitality มาใช้กับธุรกิจที่อยู่อาศัย ให้รับเซอร์วิสไม่ต่างจากโรงแรม” ศุภจี สุธรรมพันธุ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) กล่าว
“หัวหิน เป็น Top 4 เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของไทย เป็นรองแค่ กทม. ภูเก็ต และพัทยา ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐได้ผลักดันหัวหินสู่ Smart City ปัจจัยนี้ผลักดันให้ตลาดอสังหากลุ่มที่อยู่อาศัยระดับกลางไปจนถึงอัลตราลักซูรีได้รับความสนใจจากผู้ซื้อชาวไทย และชาวต่างชาติ อาทิ โซนสแกนดิเนเวีย“
สำหรับ ”ดุสิต อจารา หัวหิน“ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 20 ไร่ บริเวณใกล้กับโรงแรมดุสิตธานีหัวหิน วางแผนการขายในรูปแบบสิทธิการเช่าระยะยาว (Leasehold) ประมาณ 30 ปี และต่อสัญญาได้อีก 30 ปี คาดเริ่มก่อสร้างปี 2569 ก่อนแล้วเสร็จในปี 2571 เบื้องต้น จะเริ่มเปิดขายแบบพรีเซลในเดือนเมษายนนี้
โดยราคาขายเฉลี่ยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มที่อยู่อาศัย Branded Residences อยู่ที่ประมาณ 200,000-250,000 บาท/ตร.ม. ซึ่งสูงกว่าที่อยู่อาศัยทั่วไป (Non-Branded Residences) ที่มีราคา 100,000-150,000 บาท/ตร.ม.
ทั้งนี้ ดุสิต อจารา หัวหิน มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท พัฒนาในรูปแบบอาคาร Low Rise จำนวน 7 อาคาร มีจำนวนทั้งหมด 96 ยูนิต โดยห้องจะมี 4 รูปแบบ ได้แก่
“บริษัทฯ วางทาร์เก็ตเป็นคนไทย 60% และต่างชาติอีก 40%”
ความพิเศษของโครงการนี้ คือ ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้บริการระดับโรงแรม 5 ดาว ได้จาก Dusit Hospitality Services อาทิ
]]>“ดุสิตธานีเชื่อมั่นว่า โครงการ ดุสิต อจารา หัวหิน จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเพิ่มโอกาสการเข้าพักระยะยาวของชาวต่างชาติ และยังกระตุ้นความต้องการที่อยู่อาศัยบนหัวหินให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางของคนทั่วโลกในการใช้ชีวิตไลฟ์สไตล์ระดับอัลตราลักซูรี”
ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 900-1,700 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 21 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: 2 แห่ง (ไอบิส สไตล์ ทวินทาวเวอร์ส และ ไอบิส เชียงใหม่ นิมมาน)
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมในสไตล์เรียบง่าย ทันสมัย สนุกสนาน พนักงานเป็นมิตร ในราคาประหยัด เจาะกลุ่มทั้งนักท่องเที่ยวและกลุ่มเดินทางเพื่อธุรกิจ
ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 1,300-2,000 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 6 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: อย่างน้อย 7 แห่ง
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมเรียบง่ายและดูดี ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการที่พักเพื่อการพักผ่อน เติมพลัง และทำงานเล็กๆ น้อยๆ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบที่ลูกค้าต้องการ
ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 900-1,500 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 5 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: N/A
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมออกแบบทันสมัย ต้อนรับอย่างอบอุ่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ เช่น Free Wi-Fi, เครื่องชงชากาแฟในห้อง, บริการเครื่องปรินท์ เน้นทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนและธุรกิจ (ทั้งนี้แบรนด์จะมีระดับ Plus และ Premier ที่ยกระดับขึ้นมาเป็น 4 ดาวด้วย)
ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 1,000-1,500 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 1 แห่ง (อาศัย เยาวราช)
แผนการเปิดตัวในอนาคต: 1 แห่ง (อาศัย สาทร)
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: Eat, Work, Play กินดื่ม ทำงาน พักผ่อน ประสบการณ์แบบลักชัวรีในราคาจับต้องได้ เชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นในทำเล
ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 500-1,000 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 3 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: N/A
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมสุดชิคที่มีหลายฟังก์ชันเปิด 24 ชั่วโมง เช่น คาเฟ่, โซเชียลฮับ, ห้องซักผ้าหยอดเหรียญ พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เหมาะกับวัยรุ่น
ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 900-1,100 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
แผนการเปิดตัวในอนาคต: 25 แห่ง (ภายใน 5 ปี)
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมระดับพรีเมียมแมสขนาด 79 ห้อง ทำเลติดศูนย์การค้า ทั้งในหัวเมืองหลักและเมืองรอง เหมาะกับทั้งนักท่องเที่ยวและการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ สามารถพักผ่อนค้างคืนได้ในโรงแรมที่มีมาตรฐาน
ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 400-900 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 55 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: 100 สาขา (ภายใน 5 ปี) โดยมี 20 แห่งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และจะเปิดภายในปีหน้า
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมบูทีคในราคาจับต้องได้ การออกแบบและตกแต่งมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเอกลักษณ์พื้นที่ โดยมีแผนผนึกกับร้านกาแฟ Wake Up Coffee 24 ชั่วโมงเข้าไปในบางสาขา หลังจากที่เครือเพิ่งเทกโอเวอร์ร้านกาแฟเข้ามาเมื่อปี 2563
ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 600-900 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 47 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: 53 แห่ง (ภายใน 5 ปี) โดยมี 7 แห่งที่อยู่ระหว่างก่อสร้างแล้ว
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: ที่พักที่ให้ประสบการณ์คุณภาพสำหรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจและท่องเที่ยว มีมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา
จะเห็นว่าแบรนด์โรงแรม 3 ดาวส่วนใหญ่จะมองทั้งกลุ่มผู้เข้าพักเพื่อการพักผ่อนและการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ แต่จะเน้นหนักไปทางใดขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของโรงแรมแต่ละแห่ง และทุกแบรนด์จะเสนอมาตรฐานโรงแรมที่เพียงพอให้ลูกค้ารู้สึกได้รับประสบการณ์ที่ดี ในราคาที่จับต้องได้ง่าย
ส่วนแบรนด์ใหม่ๆ ของเชนโรงแรมไทยอย่าง COSI, Go! Hotel หรือ ASAI จะเห็นชัดมากขึ้นว่ามีการนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับนักเดินทางแบบ Workation วิถีการทำงานแบบใหม่ของคนยุคนี้ที่มักจะนำงานไปทำด้วยระหว่างท่องเที่ยว หรือตั้งใจเปลี่ยนไปทำงานแบบ Work from Anywhere ระยะหนึ่งในสถานที่ที่ผ่อนคลายได้มากกว่า
กระแสการลงทุนโรงแรมระดับ 3 ดาวของผู้เล่นรายใหญ่เริ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนเกิด COVID-19 ยกตัวอย่าง เครือดุสิตธานี ที่เคยมีแผนจะเปิดโรงแรม ASAI ถึง 10 แห่งในช่วงเปิดตัวแบรนด์เมื่อ 4 ปีก่อน
แม้ว่า COVID-19 อาจจะทำให้แผนลงทุนของบริษัทต่างๆ ชะลอลงไปบ้าง แต่โรงแรม 3 ดาวก็ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจของรายใหญ่ ตัวอย่างเช่น ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ที่เลื่อนแผนเปิดตัวโรงแรมใหม่ออกไปหลายแห่ง และมีการขายโรงแรมไอบิส สมุย บ่อผุด กับเรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา ออกจากพอร์ต ในทางกลับกัน บริษัทจะลงทุนกับโรงแรม Hop Inn อย่างต่อเนื่อง เพราะเห็นเทรนด์แล้วว่าตลาดไทยเที่ยวไทยฟื้นได้เร็วกว่า โรงแรมบัดเจ็ทแบบนี้สามารถทำอัตราเข้าพักได้เฉลี่ยถึง 60% และบางสาขาขึ้นไปถึง 80-90%
ฝั่งหน้าใหม่แต่อยู่ในเครือใหญ่อย่าง บริษัท แฮมป์ตัน โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (HHR) ในเครือออริจิ้น แย้มแผนแล้วว่าบริษัทกำลังพัฒนาเชนของตนในชื่อ “แฮมป์ตัน” ซึ่งเป็นแบรนด์โรงแรม 3 ดาว วางราคาที่ประมาณ 1,200 บาทต่อคืน เหตุที่สนใจตลาดระดับนี้เพราะเป็นระดับเจาะตลาดนักท่องเที่ยวไทยที่ยั่งยืนกว่า และในหน้าเทศกาลยังมีโอกาสปั้นราคาขึ้นไปสูงได้ใกล้เคียงกับโรงแรม 4 ดาว ทำกำไรได้ดียิ่งขึ้น
เซ็นทรัลพัฒนาก็เช่นกัน การลงทุนกับโรงแรม Go! Hotel เพราะเล็งเห็นกระแสการท่องเที่ยวในประเทศ การฟื้นตัวของการเดินทางทั้งเพื่อพักผ่อนและธุรกิจ รวมถึง Workation ด้วย
]]>“ชานนท์ เรืองกฤตยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ “ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันเปิดแผนและความคืบหน้าของอนันดาฯ ปี 2565 โดยยังคงย้ำแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งหมด 7 โครงการ มูลค่ารวม 29,098 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดมิเนียม 5 โครงการ และโครงการแนวราบ 2 โครงการ ได้แก่
ทั้งหมดจะเปิดตัวในไตรมาส 4/65 ยกเว้นโครงการ COCO Parc ที่จะเปิดพรีเซลในไตรมาส 3/65 และโครงการอาร์เทล อโศก-พระราม 9 ที่เริ่มซอฟต์ลอนช์ในตลาดต่างประเทศแล้ว (อ่านรายละเอียดโครงการทั้งหมดที่นี่)
ประเสริฐกล่าวถึงโครงการแนวราบที่เป็นไฮไลต์ของปีนี้คือ อาร์เทล อโศก-พระราม 9 มูลค่าโครงการ 4,050 ล้านบาท ออกแบบเป็นพูลวิลล่าหรู ราคาขาย 35 ล้านบาทขึ้นไปต่อหลัง
โครงการนี้มีการเปิดขายผ่านเครือข่ายเอเยนซี่ 107 แห่งในต่างประเทศ และได้รับยอดขายกลับมาถึง 20% ของโครงการ มูลค่ากว่า 800 ล้านบาท โดยผู้ซื้อต่างชาติเหล่านี้จะซื้อผ่าน ‘นิติบุคคล’ จดทะเบียนในประเทศไทย ทำให้สามารถขายสิทธิ์ขาดในที่ดินได้
อนันดาฯ มองยอดซื้อจากต่างชาติเป็นบวกกับบริษัทมาก เพราะนอกจากได้กำลังซื้อเพิ่มเติมจากชาวไทยแล้ว กรณีสัญญาต่างชาติจะเรียกวางเงินดาวน์ 40% ทำให้บริษัทได้เงินหมุนเวียนเข้าบริษัทมากขึ้นระหว่างรอก่อสร้างเพื่อส่งมอบ
แม้ว่าตลาดใหญ่อย่าง “จีน” จะยังไม่กลับมาเต็มที่เพราะจีนยังไม่เปิดประเทศ แต่ประเสริฐระบุว่าตลาดอื่นๆ ในแถบอินโดจีนเข้ามาทดแทนได้มาก และเชื่อว่าดีมานด์ของชาวจีนและฮ่องกงต่ออสังหาฯ ไทยยังคงมีอยู่ เพียงแต่รอมาตรการคลี่คลายการเดินทางเท่านั้น
ด้านตลาดคอนโดฯ ปีนี้มีไฮไลต์ที่โครงการ “COCO Parc” คอนโดฯ ระดับไฮเอนด์ที่ร่วมเป็นพันธมิตรกับ “ดุสิตธานี” มูลค่าโครงการ 4,622 ล้านบาท จำนวน 486 ยูนิต ทำเลติดกับ MRT คลองเตย ตรงข้ามสวนเบญจกิตติ เป็นโครงการนำร่องของอนันดาฯ ที่จะผนวกกับบริการจากดุสิตธานีภายในคอนโดฯ
ทำให้โครงการจะใช้กลยุทธ์ “สร้างเสร็จก่อนขาย” โดยเริ่มพรีเซลภายในไตรมาส 3/65 และโครงการจะเสร็จพร้อมโอนทันทีช่วงไตรมาส 4/65 โดยชานนท์มองว่าต้องใช้กลยุทธ์นี้เพราะเป็นคอนโดฯ ที่มีบริการ เป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เชื่อว่าลูกค้าจะต้องการเห็นของจริงก่อนตัดสินใจซื้อ
นอกจาก COCO Parc แล้ว คอนโดฯ เปิดใหม่ของอนันดาฯ ภายใต้แบรนด์ “คัลเจอร์” ทั้ง 2 โครงการ จะบริหารด้วยเชนเซอร์วิส อพาร์ทเมนท์ ‘Ascott’ ด้วย เพราะมองว่าทำเลน่าจะมีนักลงทุนปล่อยเช่าจำนวนมาก การมีเชน Ascott มาบริการจะช่วยได้
“ต่อไปทุกคอนโดฯ ของเราต้องมีบริการมาเป็นซอฟต์แวร์ร่วมด้วย จะมาเป็นตึกเปล่าๆ ไม่ได้อีกแล้ว” ชานนท์กล่าว
ชานนท์มองว่าตลาดคอนโดฯ กำลังฟื้นตัวกลับมาหลังจากประเทศไทยเริ่มเปิดเมือง ชีวิตเริ่มกลับมาเป็นปกติ ทำให้การจราจรติดขัด การมีที่อยู่อาศัยติดรถไฟฟ้ากลับมามีความสำคัญสำหรับผู้ที่มีไลฟ์สไตล์คนเมือง โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z (อายุ 20-26 ปี) และ Gen Y (27-40 ปี)
ด้านโครงการที่จะสร้างเสร็จใหม่ในปีนี้ (ไม่นับ COCO Parc) มี 2 โครงการ ได้แก่ ไอดีโอ จรัญ 70 – ริเวอร์วิว มูลค่าโครงการ 3,664 ล้านบาท (เริ่มโอนมิถุนายนนนี้) และ ไอดีโอ พระราม 9 – อโศก มูลค่าโครงการ 6,844 ล้านบาท (เริ่มโอนกันยายนนี้) ประเสริฐระบุว่าทั้ง 2 โครงการมียอดขายแล้วกว่า 80%
ทั้ง 2 โครงการจะมาเติมพอร์ตสต็อกพร้อมอยู่ของอนันดาฯ โดยรวมทั้งหมดอนันดาฯ จะมีสต็อกมูลค่ารวม 58,725 ล้านบาท รับรู้รายได้ได้ถึงปี 2567 แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ถือเป็นหนึ่งในเมกะโปรเจกต์ที่น่าจับตามอง สำหรับโครงการ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” โครงการมิกซ์ยูสร่วมทุนระหว่าง บมจ.ดุสิตธานี (60%) กับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (40%) ตั้งอยู่บนที่ดินเดิมของโรงแรมดุสิตธานีหัวมุมถนนสีลมตัดถนนพระราม 4 แต่มีการขยายการเช่าที่ดินเพิ่มจนมีเนื้อที่รวม 23 ไร่
ภายในโครงการใหม่จะประกอบด้วย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ, อาคารสำนักงาน, ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พาร์ค และส่วนที่พักอาศัย คอนโดมิเนียมดุสิต เรสซิเดนเซส กับ ดุสิต พาร์คไซด์ รวมถึงมีพื้นที่สีเขียวส่วนกลาง “รูฟพาร์ค” ขนาด 7 ไร่ มูลค่าลงทุนรวมทั้งโครงการ 46,000 ล้านบาท
ล่าสุด “ละเอียด โควาวิสารัช” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิมานสุริยา จำกัด ผู้บริหารโครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค เปิดเผยความคืบหน้าของโครงการ โดยเฉพาะส่วนที่พักอาศัยซึ่งเริ่มเปิดการขายอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ปัจจุบันทำยอดขายได้แล้ว 40% ตั้งราคาขายเฉลี่ย 349,000 บาทต่อตร.ม.
รายละเอียดของโครงการคอนโดฯ ดุสิต เรสซิเดนเซส และ ดุสิต พาร์คไซด์ ตั้งอยู่บนอาคารเดียวกันสูง 69 ชั้น หรือ 299 เมตร เป็นตึกที่สูงที่สุดในมิกซ์ยูสแห่งนี้ และความสูงเมื่อสร้างเสร็จจะเป็นหนึ่ง 1 ใน 5 อาคารที่สูงที่สุดของไทย ทั้งอาคารจะเป็นคอนโดฯ ระดับ ‘ซูเปอร์ลักชัวรี’ แต่มีการแยกชื่อและบริเวณโครงการเป็น 2 ส่วนเนื่องจากคอนเซ็ปต์และกลุ่มเป้าหมายจะแตกต่างกัน ดังนี้
ละเอียดกล่าวต่อว่า สำหรับยอดขาย 40% ที่ทำได้ เกือบทั้งหมดขณะนี้เป็นลูกค้าคนไทย และจากการประเมินสถานการณ์ COVID-19 ทำให้บริษัทปรับเป้าหมายสัดส่วนการขาย จากเดิมคนไทย 60% ต่างชาติ 40% เป็น คนไทย 65% และต่างชาติ 35%
เนื่องจากการเปิดประเทศเดินทางระหว่างกันยังทำได้ไม่เต็มที่ ทำให้แผนโรดโชว์ต่างประเทศอาจไม่เป็นไปตามคาด โดยกลุ่มลูกค้าหลักที่คาดหวังเดิมจะเป็น กลุ่มชาวจีนและฮ่องกง ซึ่งขณะนี้ยังมีนโยบายกักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศถึง 21 วันทำให้ไม่สะดวกในการจัดงาน
ส่วนกลุ่มลูกค้าต่างชาติอื่นที่เป็นเป้าหมายจะเน้นฝั่งเอเชียซึ่งรู้จักแบรนด์ “ดุสิตธานี” มากกว่าฝั่งตะวันตก เช่น สิงคโปร์ ตะวันออกกลางอย่าง UAE หรือ ซาอุดีอาระเบีย ที่ไทยเพิ่งจะฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างกัน
“แต่กลุ่มตะวันออกกลางจะต้องใช้การจูงใจมากขึ้น เพราะโดยปกติแล้วนักลงทุนตะวันออกกลางจะนิยมลงทุนในฝั่งตะวันตก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป มากกว่าเอเชีย เราจะต้องนำเสนอให้เห็นว่าการลงทุนในเอเชียมีการเติบโตที่ดีเช่นกัน” ละเอียดกล่าว
โครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค นี้ตั้งอยู่บนที่ดินเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ระยะ 30+30 ปี ทำให้ดุสิต เรสซิเดนเซส และ ดุสิต ปาร์คไซด์ จะเป็นสัญญาลีสโฮลด์เช่าระยะยาว โดยทำสัญญาเช่า 58 ปี (แบ่งเป็น 2 สัญญา 29+29 ปี) ไม่ใช่โครงการฟรีโฮลด์ที่โอนกรรมสิทธิ์ขาด
ที่ผ่านมาการขายโครงการลีสโฮลด์ในไทยนั้นจะมีโจทย์ยากคือคนไทยไม่คุ้นชินกับการเช่าลีสโฮลด์มากนัก แต่ละเอียดกล่าวว่า กลุ่มลูกค้าที่มีสินทรัพย์สูง (High-Net-Worth Individual: HNWI) ในไทยเริ่มเข้าใจและยอมรับลีสโฮลด์มากขึ้น มองเห็นข้อเด่นและโอกาสจากมูลค่าที่จะเพิ่มขึ้น
ละเอียดอธิบายว่า โครงการลีสโฮลด์จะมีราคาตั้งต้นถูกกว่าฟรีโฮลด์ 20-30% ขณะที่โครงการในทำเลทองแบบดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค จะทำให้ราคายังปรับขึ้นได้เมื่อมีการขายต่อ ไม่ได้ตกลงตามกาลเวลาอย่างที่เข้าใจกัน ประกอบกับแบรนด์ “ดุสิตธานี” ซึ่งจะเข้ามาให้บริการในส่วนที่พักอาศัยด้วย เป็นแบรนด์ที่คนไทยรักและไว้วางใจ จึงทำให้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ สัญญาของดุสิต เรสซิเดนเซส และ ดุสิต ปาร์คไซด์ ให้เช่าระยะยาวถึง 58 ปี เปรียบได้กับการอยู่อาศัยได้สองเจนเนอเรชันต่อเนื่อง ทำให้ได้เปรียบกว่าโครงการลีสโฮลด์อื่นๆ ที่อาจจะยาวเพียง 30 ปี หรือต่ออายุครั้งละ 10 ปี
ด้านการก่อสร้างปัจจุบันเริ่มเจาะใต้ดินและทำฐานรากแล้ว แต่เนื่องจากปี 2564 มีช่วงปิดแคมป์คนงานเพื่อยับยั้งการระบาดของ COVID-19 ทำให้ไทม์ไลน์การก่อสร้างล่าช้า ละเอียดกล่าวว่า บริษัทต้องปรับตารางการเปิดตัวส่วนต่างๆ ของโครงการ ดังนี้
สำหรับส่วนอื่นๆ ของโครงการ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ จะออกแบบให้คงเอกลักษณ์โดดเด่นของอาคารเดิม และเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ห้องพักจำนวน 259 ห้อง ขณะที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พาร์ค สูง 4 ชั้น จะมีพื้นที่กว่า 80,000 ตารางเมตร ถัดมาเป็นอาคารสำนักงานเกรด A เซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส สูง 40 ชั้น พื้นที่รวม 90,000 ตารางเมตร อาคารทั้งหมดออกแบบให้ตั้งเหลื่อมกันเพื่อรับวิวสวนลุมพินีได้ทุกตึก
]]>“ชานนท์ เรืองกฤตยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เปิดแผนบุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ ปี 2565 จะเปิด 7 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 28,200 ล้านบาท โดยมีหลายโครงการที่จะเป็นแบรนด์ใหม่ และร่วมกันพัฒนาคอนเซปต์กับพันธมิตร ดังนี้
1.อาร์เทล พระราม 9 – โครงการพูลวิลล่ากลางเมือง ราคาเริ่มต้น 30 ล้านบาท จำนวน 99 ยูนิต เจาะตลาดบ้านระดับไฮเอนด์ซึ่งยังมีกำลังซื้อสม่ำเสมอแม้เผชิญวิกฤตโรคระบาด
2.COCO Parc (โคโค่ พาร์ค) – คอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ ทำเลติดสถานี MRT คลองเตย ตรงข้ามสวนเบญจกิตติ คอนโดฯ แบรนด์ใหม่นี้มีการพัฒนาร่วมกับพันธมิตรคือ “ดุสิตธานี” ซึ่งจะเข้ามาดูแลด้านการบริการหลังก่อสร้างเสร็จ โดยใช้การบริการแบบเดียวกับโรงแรม 5 ดาว นอกจากนี้ เป็นคอนโดฯ ที่ใช้วิธีสร้างก่อนเริ่มขาย โครงการจะเปิดขายปีหน้า และสร้างเสร็จภายในไตรมาส 4/65 ทำให้ลูกค้าซื้อแล้วไม่ต้องรอนานก่อนโอน
3.Culture (คัลเจอร์) – คอนโดฯ คอนเซปต์ Eco-Living ซึ่งร่วมพัฒนากับ “สแครทช์ เฟิร์สท์” ผู้จัดงาน “วันเดอร์ฟรุ๊ต” เป้าหมายเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยโครงการจะเน้นการใช้วัสดุก่อสร้างที่คำนึงถึงความยั่งยืน ลดมลพิษและเพิ่มการรีไซเคิลระหว่างการก่อสร้าง แบ่งเป็น 2 ทำเล คือ
– Culture ทองหล่อ ทำเล 250 เมตรจากสถานี BTS ทองหล่อ ราคาประมาณ 150,000 บาทต่อตร.ม.
– Culture จุฬา ทำเล 350 เมตรจากสถานี MRT สามย่าน (ยังไม่เปิดเผยราคา)
4.Ideo (ไอดีโอ) 2 ทำเลใหม่ คือ
– ไอดีโอ สะพานควาย ติดสถานี BTS สะพานควาย ราคา 130,000-150,000 บาทต่อตร.ม.
– ไอดีโอ รามคำแหง-ลำสาลี ทำเล 50 เมตรจากสถานีลำสาลี ราคา 80,000-100,000 บาทต่อตร.ม.
5.ทาวน์เฮาส์แบรนด์ใหม่ ทำเลติวานนท์-แจ้งวัฒนะ – โครงการนี้ยังไม่เปิดชื่อแบรนด์ แต่จะเป็นทาวน์เฮาส์ดีไซน์อิสระเหมาะกับโลกยุคใหม่ ราคาเริ่มต้นประมาณ 2.5 ล้านบาท
ไม่เพียง 7 โครงการนี้ ชานนท์ยังกล่าวด้วยว่า บริษัทมี 2 โครงการซูเปอร์ลักชัวรี ที่รอการออกแบบเสร็จและจังหวะการเปิดตัวอยู่ โดยโครงการแรกจะเป็น “คอนโดฯ วิวสวนลุมพินีที่มีเพียง 20 ยูนิต” ความน่าสนใจคือดีไซน์กระจกห้องชุดเป็นวงกลมทรงโค้งยื่นออกไปในอากาศ ดูแปลกตาอย่างมาก ส่วนอีกโครงการหนึ่งจะเป็น “คอนโดฯ สกายพูลวิลล่า” จำนวนเพียง 30-40 ยูนิต ตอบสนองลูกค้าไลฟ์สไตล์คนเมืองแต่ต้องการพื้นที่มากและสระว่ายน้ำส่วนตัว
ปี 2565 อนันดาฯ วางเป้าหมายรายได้ที่ 12,000 ล้านบาท เติบโตจากเป้ารายได้ปีนี้ 20% บริษัทมีแบ็กล็อกรอโอนปีหน้าแล้ว 6,220 ล้านบาท และยังมีโครงการพร้อมอยู่เป็นสต็อกมูลค่ารวมกว่า 28,000 ล้านบาทที่จะลุยขายต่อปีหน้าเพื่อดันรายได้ให้ได้ตามเป้า
นอกจากโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ปีหน้าอนันดาฯ จะมี “รายได้ประจำ” (Recurring Income) เข้ามาจาก “เซอร์วิส อพาร์ทเมนต์” 5 แห่ง ซึ่งใช้แบรนด์ระดับโลกเข้ามาบริหาร และจะพร้อมเปิดดำเนินการทั้งหมดในปี 2565 ดังนี้
ชานนท์ระบุว่า บริษัทสนใจธุรกิจเซอร์วิส อพาร์ทเมนต์เพราะพบว่าเสถียรกว่าโรงแรมในช่วงที่มีโรคระบาด ยังมีอัตราเข้าพักสูงถึง 55% เทียบกับโรงแรมมีเพียง 20% เนื่องจากธุรกิจนี้จับกลุ่ม expat ต่างชาติซึ่งยังต้องอาศัยอยู่ในประเทศต่อเพื่อทำงาน
สำหรับสถานการณ์อสังหาฯ ปีนี้ “ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บมจ.อนันดาฯ กล่าวว่า เป้ารายได้ 10,000 ล้านบาทของบริษัทในปีนี้ใกล้จะแตะเป้า โดยจะมีการโอนแบ็กล็อกเพิ่มอีก 1,400 ล้านบาท และมีเป้าขายโครงการพร้อมอยู่อีก 1,100 ล้านบาท
“ตลาดอสังหาฯ bottom out ไปแล้ว จากจุดต่ำสุดคือเมื่อเดือนกรกฎาคมซึ่งอสังหาฯ ถูกปิดไซต์ จนเมื่อเดือนตุลาคม ยอดขายของอนันดาฯ กลับมาโต 30% เทียบเดือนต่อเดือน สะท้อนตลาดที่ดีขึ้น” ประเสริฐกล่าว
นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มผู้ซื้อต่างชาติก็กลับมาแล้วเช่นกัน โดยเมื่อเดือนก่อนปิดการขายลูกค้าต่างชาติได้ 280 ล้านบาท
อนันดาฯ เป็นบริษัทที่ชูจุดขายพัฒนาโครงการ “คอนโดฯ ติดรถไฟฟ้า” มาตลอด หลังจากเกิดโรคระบาดขึ้นและหลายบริษัทปรับไปทำงานแบบ hybrid work หรือ remote work ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า คอนโดฯ ติดรถไฟฟ้า เดินทางสะดวก จะยังจำเป็นหรือไม่ ต่อประเด็นนี้ แม่ทัพอนันดาฯ ยังวางวิสัยทัศน์ว่าที่อยู่อาศัยที่เดินทางสะดวกจะยังจำเป็น
“เราทำงานแบบ hybrid model ทำงาน ประชุมผ่านจอกันได้ก็จริง แต่คนเราจะยังอยากเจอตัวกันบ้าง เรายังอยากนัดกันไป hang out ทองหล่อหลังเลิกงานเหมือนเดิม” ชานนท์กล่าว “ตอนนี้ กทม. เปิดเมืองแล้ว รถเริ่มกลับมาติด เพราะถนนใน กทม. ไม่เพียงพอ การเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้ายังตอบโจทย์เมืองนี้มากที่สุด เพียงแต่เราต้องปรับดีไซน์คอนโดฯ ใหม่ให้เหมาะกับโลกยุคใหม่”
สิ่งที่จะได้เห็นในคอนโดฯ อนันดาฯ โครงการใหม่ๆ จะเหมาะกับการเป็นโลกที่ทำงานจากบ้านได้ เช่น ห้องทำงานส่วนกลางที่เก็บเสียงได้เป็นส่วนตัวสำหรับประชุม ห้องสำหรับ ‘Live’ เหมาะกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หรือยูทูปเบอร์จัดรายการ เป็นต้น
]]>แม้ชื่อของดุสิตธานีจะโด่งดังในเรื่องของการโรงแรม แต่ในช่วงวิกฤต COVID-19 ทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบหนัก ที่ผ่านมาได้มีปรับกลยุทธ์กันอย่างหนัก ทั้งการขายอาหาร ลดราคาห้องพัก เพื่อให้อยู่รอด
ดุสิตธานีเองมีการปรับโฉมครั้งใหญ่ จากโรงแรมดุสิตธานีที่สีลมให้กลายเป็นเมกะโปรเจกต์ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” โครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ใจกลางกรุง มูลค่าโครงการสูงถึง 46,000 ล้านบาท ในช่วงที่มีการปรับนี้เอง ได้เปิดร้านอาหาร “บ้านดุสิตธานี” ที่ซอยศาลาแดง เพื่อรองรับพนักงานเดิมให้มีงานทำ รวมถึงโยกย้ายไปยังธุรกิจอื่นๆ ในเครือเพิ่มเติม เพื่อที่ไม่ต้องปลดพนักงานออก
ธุรกิจโรงแรมจำเป็นต้องเอาตัวรอดอย่างหนัก ทำให้ดุสิตานีขยายไปยังธุรกิจร้านอาหารมากขึ้นจากบ้านดุสิตานี ก็เริ่มอิมพอร์ตแบรนด์ “KAUAI (คาวาอิ)” เป็นร้านอาหารแนวเฮลตี้จากแอฟริกาใต้เข้ามา เปิดสาขาเมื่อเดือนตุลาคม 2563 ด้วยโมเดลความร่วมมือของดุสิตธานี และคาวาอิ แอฟริกาใต้
คาวาอิ ก่อตั้งขึ้นโดย ดีน โควัลสกี้ ที่ประเทศแอฟริกาใต้เมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา โดยชื่อแบรนด์ตั้งขึ้นตามชื่อเกาะคาวาอิในหมู่เกาะฮาวายที่ดีนได้ไปพักผ่อน และประทับใจกับรสชาติของอาหารที่คงความเป็นธรรมชาติของที่นี่ และเป็นแรงบันดาลใจในการริเริ่มธุรกิจ
ปัจจุบันคาวาอิเปิดให้บริการกว่า 160 สาขาทั่วประเทศแอฟริกาใต้ ยุโรป และเอเชีย ส่วนในประเทศไทยในช่วงแรกคาวาอิ จับมือกับเวอร์จิ้น แอ็คทีฟ ฟิตเนสคลับ 101 เปิดร้านแรกที่เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ 101 ภายในโครงการทรู ดิจิทัล พาร์ค 101 และขยายไปอีก 3 สาขาในรูปแบบ Grab-and-Go ในคลับของเวอร์จิ้น แอ็คทีฟ ที่สยามดิสคัฟเวอรี่, เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ และเอ็มควอเทียร์
และล่าสุดได้ตัดสินใจเปิดโมเดลสแตนด์อโลนที่อาคารอโศก ทาวเวอร์ เพื่อให้พนักงานออฟฟิศรวมถึงนักเรียนนักศึกษาในย่านใจกลางกรุง
ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
“การผนึกความร่วมมือกับเวอร์จิ้น แอ็คทีฟ ในช่วงแรก ทำให้เราได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากคนรักสุขภาพที่นิยมการออกกำลังกายในฟิตเนส เรามีความมุ่งมั่นจะส่งต่ออาหารเพื่อสุขภาพแบรนด์คาวาอิ ให้กับคนรักสุขภาพในวงกว้าง ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในสถานออกกำลังกายเท่านั้น เราจึงตัดสินใจเปิดร้านสแตนด์อโลนเป็นแห่งแรก เพื่อเติมเต็มช่องทางการเข้าถึงแบรนด์ และเป็นศูนย์กลางสำหรับการให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่ตอบโจทย์การสั่งอาหารของผู้บริโภคในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ ชั้นในให้ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น”
นอกจากการเปิดหน้าร้านแล้ว คาวาอิยังมีบริการเสริมในรูปแบบของการให้บริการจัดเลี้ยงอาหารเพื่อสุขภาพแบบ on-site หรือ on-demand ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อปแนะนำวิธีการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพตามความต้องการของลูกค้า
มีการวางจุดยืนให้คาวาอิเป็นเฮลตี้ ฟาสต์ฟู้ด ที่แตกต่างจากฟาสต์ฟู้ดทั่วไป มีรสชาติอร่อย และเลือกใช้วัตถุดิบที่ให้สารอาหารเป็นพลังงานดี
การเปิดร้านคาวาอิแบบสแตนด์อโลน ยังสะท้อนการปรับตัวของกลุ่มดุสิตธานี ภายใต้ความท้าทายใหม่ของธุรกิจอาหาร ที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งจะทำให้เทรนด์ของอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับคนรักสุขภาพเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคต
เมนูอาหารของคาวาอิ ที่ได้รับความนิยม
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้
ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.ดุสิตธานี เปิดเผยว่า
“บริษัทฯ ขอขอบคุณผู้ถือหุ้นที่
การเพิ่มวงเงินลงทุนในการพั
การเพิ่มวงเงินลงทุ
การระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ “โรงแรม” เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยหลายจังหวัดของประเทศไทยมีคำสั่งห้ามโรงแรมรับนักท่องเที่ยวเพิ่มนอกจากแขกที่เข้าพักอยู่ก่อนแล้วยังไม่เช็กเอาต์ออก หรือเรียกว่าเป็นการ “ปิดโรงแรม” ช่วงเดือนเมษายน จนเข้าสู่เดือนพฤษภาคมจึงเริ่มสิ้นสุดคำสั่งการปิดโรงแรมหลายๆ พื้นที่ เช่น ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี น่าน ฯลฯ
แม้บางพื้นที่ยังมีคำสั่งปิดต่อเนื่อง เช่น ภูเก็ต และโรงแรมหลายแห่งที่เลือก “ปิดตัวเอง” ไปเนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว ก็ยังไม่กลับมาเปิดทำการ แต่บรรยากาศการคลายล็อกดาวน์ส่งผลให้โรงแรมหลายแห่งกำลังวางแผนกลับมาให้บริการอีกครั้ง โดยต้องมาพร้อมกับมาตรการรักษาสุขอนามัยที่เข้มงวด และเปลี่ยนวิถีชีวิต-การบริการภายในโรงแรมไปให้สอดคล้องกับสถานการณ์
สำหรับ 4 เชนโรงแรมดังเหล่านี้มีมาตรการออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งหมดเป็นเชนโรงแรมระดับโลก และมาตรการเหล่านี้เป็นการบังคับใช้ในโรงแรมทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย
Positioning สอบถามผ่านฝ่ายประชาสัมพันธ์เชนโรงแรมดังกล่าว “ดุสิตธานี” ระบุว่าเริ่มเห็นยอดการจองที่พักเข้ามาแล้วในเดือนมิถุนายน ขณะที่เชน “อวานี” ในเครือไมเนอร์พบว่ามีลูกค้าสนใจสอบถามเพิ่มมากขึ้น โดยโรงแรมในเครือกำลังเร่งออกโปรโมชันเพื่อกระตุ้นให้คนไทยและชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยมาใช้บริการ
สำหรับโปรโมชันโรงแรมที่เราสำรวจตลาด พบว่าโรงแรมหลายแห่งจะจัดโปรโมชันในลักษณะ “ซื้อสิทธิเข้าพักเก็บไว้ก่อน ใช้ทีหลัง” เปิดให้นำสิทธิที่ซื้อไว้มาจองให้พักทีหลังโดยเว้นระยะให้ยาวนาน เช่น เก็บได้ถึงสิ้นปี 2563 รวมถึงมี “การขายวอชเชอร์ลดราคา” ที่นำมาแลกใช้ได้ถึงสิ้นปี โปรโมชันเช่นนี้ช่วยให้มีกระแสเงินสดเข้าธุรกิจได้ทันที ขณะที่ลูกค้าสามารถเลือกมาใช้บริการเมื่อมองว่าสถานการณ์การระบาดมีความปลอดภัยมากขึ้น
ที่สำคัญคือ โปรโมชันช่วงนี้จะลดราคาพิเศษเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ ยกตัวอย่างเช่น โรงแรม โซ โซฟิเทล แบงคอก จัดโปรฯ ที่พัก 3,999 บาทสำหรับ 2 ท่านพร้อมอาหารเช้า โรงแรม เชอราตัน หัวหิน ปราณบุรี วิลลา ขายวอชเชอร์ลดราคา 25% หรือโรงแรม พูลแมน พัทยา โฮเทล จี จำหน่ายวอชเชอร์ราคาเริ่มต้น 2,800 บาท/คืน/2 ท่าน ล็อกราคาไว้ใช้ได้จนถึงปลายปีนี้
จากวิกฤต COVID-19 ในตอนนี้ที่สร้างผลกระทบต่อทุกธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม และร้านอาหาร เรียกว่าไม่มีนักท่องเที่ยว รวมถึงคนในประเทศเองก็ต้องกักตัวอยู่บ้านเพื่อความปลอดภัย ลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสให้มากที่สุด
“ดุสิตธานี” เป็นอีกหนึ่งผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และโรงแรมในประเทศไทย ได้ประกาศปิดให้บริการโรงแรมในเครือทั้งหมด 7 แห่งเป็นการชั่วคราว เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน และป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ด้วย
ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยว่า
“วิกฤติครั้งนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณล่วงหน้า เป็นประสบการณ์ใหม่ที่เราไม่คุ้นเคย เพราะไม่ใช่แค่กระทบกับธุรกิจ แต่ยังกระทบถึงการใช้ชีวิต กระทบถึงความรู้สึก เราต้องอยู่ห่างจากคนที่เรารัก เราไม่สามารถแม้แต่จะกอด เพื่อปลอบประโลมใจหรือให้กำลังใจกันได้ในวันที่เราต่างต้องการมันมากที่สุด แต่เราจะต้องผ่านพ้นมันไปให้ได้ด้วยหัวใจที่เข้มแข็งและอดทน”
ศุภจี บอกว่า ในวันที่ต้องตัดสินใจประกาศยุติการให้บริการโรงแรม 7 แห่งในประเทศ ไม่ต้องใช้ความยากลำบากในการตัดสินใจ เพราะเพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้เข้าพักและพนักงาน จากการแพร่ระบาดของไวรัส ทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่า “สุดท้ายเราต้องปิดโรงแรม” แต่สิ่งที่ยากกว่า ละเอียดอ่อนกว่า คือ การดูแลพนักงานทุกคนของดุสิตธานี ที่อยู่ร่วมกันเหมือนกับครอบครัวใหญ่ โดยยังคงต้องรักษาสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เช่น ผู้ถือหุ้น
เบื้องหลังการบริหารจัดการวิกฤติการณ์นี้ ศุภจีบอกว่า เธอเลือกที่จะบาลานซ์ด้วยการยืดระยะเวลาจนดุสิตธานีน่าจะเป็นกลุ่มท้ายๆ ที่ประกาศปิดโรงแรมเป็นการชั่วคราว ซึ่งเธอต้องประเมินสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมๆ กับจัดวางโครงสร้างทางการเงิน ดูแลสภาพคล่อง ควบคุมต้นทุน เพื่อให้ท้ายที่สุดแล้ว พนักงานอยู่ได้ ธุรกิจอยู่ได้ ซึ่งหมายถึงผู้ถือหุ้นก็จะอยู่ได้
“เรามีมาตรการเพื่อให้เกิดผลกระทบกับพนักงานน้อยที่สุด โดยเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติการ เราพยายามจะไม่ให้กระทบเลย เพราะเราทราบอยู่แล้วว่า พนักงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องการการประคับประคอง เราต้องดูแลให้ดี”
สิ่งที่ดุสิตธานีทำ ก็คือ ผู้บริหารยอมลดเงินเดือนตัวเองลง ผู้บริหารระดับสูง ระดับรองลงมา ก็ลดเงินเดือนตามส่วน ตั้งแต่ลด 50% จนถึง 25% เพื่อให้พนักงานที่อยู่ในฐานล่างพีระมิดไม่ได้รับผลกระทบ ระดับปฏิบัติการยังคงได้รับเงินเดือน 100% เต็มเหมือนเดิม ได้รับสวัสดิการเหมือนเดิม ไม่มีการลดคน แม้โรงแรมจะปิดให้บริการชั่วคราว และเพื่อให้พนักงานไม่ต้องไปเพิ่มภาระให้กับประกันสังคม เพราะดุสิตธานียังพอมีกำลัง ยังคงดูแลทุกคนได้อย่างเท่าเทียม
ข้อสังเกตประการสำคัญนับเนื่องตั้งแต่การยุติการให้บริการโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ตั้งแต่ต้นปี 2562 จนถึงการปิดโรงแรม 7 แห่งเป็นการชั่วคราว คือ การรักษาพนักงานกลุ่มดุสิตธานีไว้อย่างเหนียวแน่น ซึ่งศุภจีบอกว่า เพราะ “พนักงาน” คือคนที่ทำให้เกิดธุรกิจนี้ และธุรกิจนี้จะเดินหน้าต่อไปได้ก็ด้วยพนักงาน
“ในวันที่เราให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการปิดโรงแรม เพื่อควบคุมการแพร่กระจาย และเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน แต่เราก็ยังทำธุรกิจใหม่ๆ เช่น ดิลิเวอรี่ พนักงานของเรายังมีงานทำ เรายังพยายามหารายได้ และยังแบ่งปัน เราใช้ช่วงเวลานี้ถือโอกาสซ่อมบำรุงโรงแรม ปรับเปลี่ยนองค์กรด้วยการทำ Business Transformation และ Technology Transformation เพื่อให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพ และไม่เกิดความซ้ำซ้อน เราเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะรอวันกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง”
แม้วันนี้ห้องพักทุกห้องของโรงแรมดุสิตธานีจะถูกปิดลง แต่เมื่อประตูห้องพักถูกเปิดขึ้นอีกครั้ง “ศุภจี” มั่นใจว่า หัวใจของพนักงานทุกคนที่ได้รับการเยียวยาและดูแลจากองค์กร จะกลับมาพร้อมให้บริการลูกค้าของดุสิตธานีอย่างเข้มแข็งยิ่งกว่าเดิม
นโยบายการลงทุนกลุ่มอสังหาฯ ของ กลุ่มดุสิตธานี มีความชัดเจนว่าใช้วิธีร่วมทุนกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจนี้อยู่แล้ว ที่เปิดตัวไปแล้วคือ “เซ็นทรัลพัฒนา” ที่ร่วมกันพัฒนาโปรเจกต์มิกซ์ยูส “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” ใจกลางกรุงเทพฯ บนที่ดิน 23 ไร่ หัวมุมถนนสีลมและพระราม 4 มูลค่า 37,700 ล้านบาท โครงการประกอบไปด้วย 4 ธุรกิจ คือ โรงแรม ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า และอาคารสำนักงาน จะเสร็จสมบูรณ์ในต้นปี 2567
นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรกลุ่มอสังหาฯ “อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์” ซึ่งเข้ามาลงทุนถือหุ้นดุสิตธานี 5% มูลค่ารวม 510 ล้านบาท เมื่อเดือน ก.พ. 2562 โดยเป็นการเข้ามาลงทุนระยะยาว และมีแผนพัฒนาโปรเจกต์มิกซ์ยูสร่วมกันหลังจากนี้
กลุ่มดุสิตธานี ยังเดินหน้าลงทุนอสังหาฯ ต่อเนื่อง ล่าสุดจับมือกับ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) พัฒนาโครงการร่วมทุนประเภทที่อยู่อาศัย ร่วมกันครั้งแรก ภายใต้ชื่อ “เดอะ แฮมป์ตัน ศรีราชา บาย ออริจิ้น แอนด์ ดุสิต” (The Hampton Sriracha by Origin and Dusit) โดยออริจิ้นถือหุ้น 51% และ ดุสิตธานี 49%
“เดอะ แฮมป์ตัน” เป็นโครงการคอนโดมิเนียมไฮเอนด์ 26 ชั้น 1 อาคาร แบ่งเป็นที่พักอาศัย 468 ยูนิต และเพื่อการพาณิชย์ 3 ยูนิต ทำเลตรงข้ามตึกคอม ใจกลางศรีราชา มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท
ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC กล่าวว่า การร่วมลงทุนคอนโดไฮเอนด์ทำเลศรีราชากับ ออริจิ้น เป็นไปตามนโยบายการขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจที่สอดคล้องกับธุรกิจหลัก ซึ่งธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ เป็นหนึ่งในแผนที่วางไว้ เนื่องจากเห็นโอกาสและศักยภาพการเติบโตของตลาดในพื้นที่ EEC ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการดึงดูดทั้งแหล่งเงินทุน และนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
“การลงทุนคอนโด นอกจากจะเป็นการขยายธุรกิจของดุสิตธานีและกระจายความเสี่ยงแล้ว ยังเป็นโครงการที่จะสร้างรายได้และผลตอบแทนในระยะเวลาอันสั้นอีกด้วย”
พีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI กล่าวว่า การร่วมทุนในโปรเจกต์คอนโด เดอะ แฮมป์ตัน ศรีราชา กับดุสิตธานี เพราะเห็นศักยภาพในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ว่าจะมีทั้งเมกะโปรเจกต์ที่ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในพื้นที่จำนวนมาก รวมถึงคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ปีละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน จึงร่วมทุนกันพัฒนาโครงการดังกล่าวรองรับดีมานด์ที่อยู่อาศัยในพื้นที่
ตัวโครงการจะมุ่งเจาะตลาดกลุ่มผู้บริหาร ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว สตาร์ทอัป ตลอดจนชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนและทำงานในพื้นที่ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 และก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 โดยจะเปิดพรีเซลในเดือน พ.ย. นี้ ราคาเริ่มต้น 2.9 ล้านบาท.
]]>