Tag: ทรัพยากรบุคคล
5 บทเรียนของ “ผู้นำแผนก HR” หลังผ่าน COVID-19 ต้องพัฒนา “คน” อย่างไรเพื่อฝ่าวิกฤต
"แพคริม" สรุปบทเรียน 5 ข้อสำคัญ หลังผ่านวิกฤต COVID-19 "ผู้นำแผนก HR" ขององค์กรต่างๆ ได้เรียนรู้อะไรบ้างเพื่อปรับมุมมอง แนวคิด และก้าวให้ทันบทใหม่ในปี 2564 พัฒนาคนให้สอดรับกับระลอกสองของการระบาด
วิธีรับมือ 7 คำถาม “สัมภาษณ์งาน” ที่คนสมัครงานมักจะต้องเจอ
ปีใหม่ 2564 นี้หลายคนอาจมีคิว "สัมภาษณ์งาน" รออยู่ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย และจำนวนตำแหน่งงานในตลาดที่ลดลง การตอบคำถามสัมภาษณ์ให้ปังจนนายจ้างให้คะแนนคุณเป็นเบอร์หนึ่งคือเรื่องสำคัญมาก
5% ของพนักงาน Coinbase ตบเท้ารับแพ็กเกจ “ลาออก” หลังบริษัทประกาศ “ไม่ยุ่งการเมือง”
หลังจาก Coinbase บริษัทบิตคอยน์ชื่อดังแห่งซิลิคอน วัลเลย์ สหรัฐอเมริกา ประกาศนโยบาย จะไม่มีการแสดงจุดยืนในเชิงสังคมการเมือง และมุ่งมั่นเฉพาะเป้าหมายของบริษัทเองเท่านั้น พร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานรับแพ็กเกจสมัครใจ "ลาออก" ได้ หากรู้สึก "ไม่สบายใจ" กับทิศทางของบริษัท ล่าสุดมีพนักงานลาออกแล้ว 60 คน หรือคิดเป็น 5% ของทั้งบริษัท
นิยาม “ผู้นำ” ยุคใหม่ ไม่ใช่คนสั่ง-กำกับควบคุม แต่เป็นคนดึงศักยภาพพนักงาน
"แพคริม" ชี้ทิศการเป็น "ผู้นำ" องค์กรยุคใหม่ที่ต้องก้าวให้ทันความเร็วของการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ มองคำตอบต้องปรับองค์กรให้มีวัฒนธรรมแบบ "Agile" ทำงานแบบคล่องตัว ลดโครงสร้างตำแหน่ง และผู้นำในวัฒนธรรมนี้ไม่ใช่คนสั่งการผ่านวิสัยทัศน์-ความสามารถของตนเองคนเดียว แต่เป็นผู้ดึงศักยภาพพนักงานทุกคนออกมา
ถ้าพนักงานวัย “เบบี้บูม” ต่ออายุปลดเกษียณ เจนเอ็กซ์-เจนวายจะถูกลดโอกาสขึ้นเงินเดือน
งานวิจัยจากอิตาลีพบว่า หากพนักงานวัยเบบี้บูมขอต่ออายุงานก่อนเกษียณออกไปอีก พนักงานรุ่นน้องจะถูกบล็อกจากการเลื่อนขั้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงกว่า รวมถึงการขึ้นเงินเดือนด้วย // หากคิดเป็นอัตราเฉลี่ยคือ การยืดอายุงานก่อนเกษียณ 1 ปี จะทำให้พนักงานที่เด็กกว่าถูกลดโอกาสเลื่อนขั้นไป 20% // ยิ่งเป็นบริษัทที่เติบโตช้า ผลกระทบต่อพนักงานอายุน้อยจะยิ่งเห็นชัดขึ้น
สรุป 3 ข้อสำคัญในการบริหาร “พนักงาน” ช่วง COVID-19 จาก “Wongnai” และ “ไมเนอร์”
การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ท้าทายองค์กรในทุกมิติ รวมถึงการบริหาร "พนักงาน" ในบริษัทด้วย เพราะสถานการณ์ไม่ปกติทำให้การทำงานต้องเปลี่ยนไปจากเดิม และอาจเกิดความไม่มั่นคงของบริษัททำให้พนักงานหวั่นกลัว จึงเป็นห้วงเวลาสำคัญที่ทุกบริษัทควรใส่ใจกับ "คน" ของตนเองให้มากที่สุด
“หัวหน้า” ที่แย่ที่สุดประจำปี 2019 : หัวหน้าที่ทำงานไม่เป็น
งานวิจัยจากการสำรวจความเห็นพนักงาน 28,000 คนจาก 35 ประเทศในทวีปยุโรป พบว่า ประเภทของหัวหน้าที่แย่ที่สุดไม่ใช่หัวหน้าที่ไม่เคารพลูกน้องหรือหัวหน้าที่ไม่ให้การสนับสนุนพนักงาน แต่เป็นหัวหน้าที่ “ทำงานไม่เป็น”