ระดมทุน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 17 Jul 2024 11:37:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เทคสตาร์ทอัพ “Amity” ฝีมือทายาทตระกูล “เจียรวนนท์” ระดมเงินลงทุนเพิ่มได้อีก 60 ล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1483081 Wed, 17 Jul 2024 11:11:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1483081 สำนักข่าว Reuters รายงาน เทคสตาร์ทอัพ “Amity Corp” ระดมเงินลงทุนรอบล่าสุดได้อีก 60 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผู้ก่อตั้งบริษัทนี้คือ “กรวัฒน์ เจียรวนนท์” ทายาทตระกูลเจ้าสัวเมืองไทย หลานปู่ของ “ธนินท์ เจียรวนนท์”

“กรวัฒน์ เจียรวนนท์” ซีอีโอ “Amity” ในวัย 29 ปี กล่าวว่า บริษัทนี้เป็นบริษัทสตาร์ทอัพผู้พัฒนา “Generative AI” แชตบอตภายในองค์กรสำหรับให้พนักงานใช้เพื่อช่วยทำงานในด้านต่างๆ เช่น สร้างรายงาน วิเคราะห์ข้อมูล ให้คำแนะนำ เพียงแค่นำแชตบอตตัวนี้ไปเชื่อมต่อกับระบบดาต้าเบสขององค์กรของลูกค้า

ซีอีโอ Amity ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับการระดมทุนรอบล่าสุดในรอบ Series C มีผู้นำการลงทุนจากบริษัท Insight Capital และเงินลงทุนรอบนี้จะถูกนำไปใช้ในการซื้อกิจการผลิตภัณฑ์หรือบริษัทที่พัฒนาระบบ SaaS (Software as a Service) ที่มีศักยภาพในแบบเดียวกันกับบริษัท และใช้ในการเติบโตผ่านการซื้อกิจการในตลาดต่างประเทศ

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทในปี 2012 จนถึงปัจจุบัน Amity ระดมทุนสะสมไปแล้ว 90 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ กรวัฒน์ระบุว่า ครอบครัวเจียรวนนท์มีการลงทุนในบริษัท Amity ไม่เกิน 10% และเสริมด้วยว่า ทั้งคุณปู่และคุณพ่อของเขาสนับสนุนให้เขาหาเงินลงทุนจากภายนอกมากกว่า

“เพราะถ้าครอบครัวเป็นผู้นำการลงทุนหรือระดมทุน บริษัทก็จะไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบเท่ากับการหานักลงทุนสถาบันจากภายนอก” กรวัฒน์กล่าว

กรวัฒน์ถือเป็นทายาทคนหนึ่งของตระกูลเจียรวนนท์ เจ้าของธุรกิจยักษ์ใหญ่ “เครือเจริญโภคภัณฑ์” (CP Group) และเป็นตระกูลที่มีความมั่งคั่งสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของไทยด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลการจัดอันดับโดยนิตยสาร Forbes ครั้งล่าสุดในปี 2024 โดยกรวัฒน์เป็นบุตรชายของ “ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานกรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และเป็นหลานปู่ของ “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโสและผู้บุกเบิกอาณาจักรเจริญโภคภัณฑ์

ด้านที่มารายได้ของ Amity กรวัฒน์ระบุว่ามีสัดส่วนจากประเทศไทยประมาณ 35-40% โดยกลุ่มลูกค้าของบริษัทนั้น นอกจากจะมีลูกค้าจากในเครือเจริญโภคภัณฑ์​ เช่น ซีพี ออลล์, ทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัทยังมีลูกค้าองค์กรรายใหญ่ เช่น ปตท. , นกแอร์ และกลุ่มธนาคารพาณิชย์อีกหลายราย

เฉพาะในตลาดประเทศไทย Amity มีการแยกธุรกิจที่จัดตั้งในไทยในชื่อ “อะมิตี้ โซลูชั่นส์” (Amity Solutions: ASOL) และมีการตั้ง “AI Labs” ในประเทศไทยด้วย เป็นแล็บที่มุ่งสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี GenAI  โดยอะมิตี้ โซลูชั่นส์ มีเป้าหมายที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในปี 2025

ที่มา: Reuters, ข่าวประชาสัมพันธ์ ASOL

]]>
1483081
รัฐบาลยูเครน ระดมทุนขาย ‘NFT’ ได้มากกว่า 6 แสนดอลลาร์ นำไปฟื้นฟูเมือง-พิพิธภัณฑ์ https://positioningmag.com/1380306 Mon, 04 Apr 2022 09:46:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1380306 รัฐบาลยูเครนระดมทุนได้มากกว่า 6 เเสนดอลลาร์สหรัฐ (ราว 20 ล้านบาท) ผ่านการขาย Non-Fungible Token หรือ NFT โดยจะนำเงินเหล่านี้ไปฟื้นฟูเเละซ่อมเเซมพิพิธภัณฑ์ โรงละครเเละสถานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ถูกทำลายจากการรุกรานของรัสเซีย

สำหรับโปรเจกต์ MetaHistory NFT-Museum ของพิพิธภัณฑ์ยูเครน ได้เปิดระดมทุนผ่านการขายภาพ NFT ในโครงการ ‘MetaHistory’ ที่มีการบันทึกเเละถ่ายทอดเรื่องราวสงครามลงไปในงานศิลปะ ทั้งภาพถ่ายเเละภาพวาดซากปรักหักพัง ความเสียหายของเมือง การทำลายล้างของระเบิด ทหารยูเครน และธงชาติยูเครน

โดยสามารถจำหน่ายผลงานศิลปะได้ถึง 1,282 ชิ้นในการเปิดขายวันแรก เเละระดมทุนเป็นเหรียญดิจิทัล ‘Ethereum’ ได้ 190 เหรียญนับตั้งแต่เปิดตัวมา ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 6 แสนดอลลาร์สหรัฐ

เเละขณะนี้ MetaHistory กำลังอยู่ระหว่างเตรียมการเปิดประมูลผลงานรอบใหม่ หลังจากมีผู้คนจำนวนมากส่ง NFT เข้ามาให้จำนวนมาก

การจำหน่าย NFT ครั้งนี้ เป็นหนึ่งในหลายโครงการที่รัฐบาลยูเครนพยายามระดมทุนผ่านคริปโตเคอร์เรนซีเพื่อนำเงินมาบูรณะเเละฟื้นฟูเมืองที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากนักลงทุนรายย่อยเเละนักลงทุนมืออาชีพทั่วโลก

ทั้งนี้ ตลาดช่วงที่เกิดวิกฤตสงครามรัสเซียยูเครน ทางรัฐบาลยูเครนได้รับเงินบริจาคเป็นคริปโตเคอร์เรนซีสกุลต่างๆ จากทั่วโลกมากถึง 70.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินบางส่วนได้ถูกนำไปซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ป้องกันให้กับเจ้าหน้าที่ทหาร

 

ที่มา : Bloomberg 

]]>
1380306
รู้จัก “ZORT” สตาร์ทอัพไทยช่วย “จัดการคำสั่งซื้อ” ร้านออนไลน์ หวังบินไกลถึงตลาดอาเซียน https://positioningmag.com/1375287 Thu, 24 Feb 2022 10:42:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375287 จากจุดเริ่มต้นการก่อตั้งบริษัทเพราะเผชิญปัญหา ‘excel’ ไม่ตอบโจทย์การขายออนไลน์ จนวันนี้ระดมทุน Series A ได้สำเร็จ “ZORT” (ซอร์ทเอาท์) เตรียมขยายตลาดทั่วประเทศ และปักหมุดเข้าสู่ตลาดอาเซียน พร้อมขยายฟีเจอร์ให้ครบลูปการขายออนไลน์ของ SMEs ตั้งแต่นับสต็อกจนถึงระบบ CRM รักษาฐานลูกค้า

“จุดเริ่มต้นของเราคือตัวเองก็เคยทำธุรกิจมาก่อน สมัยนั้นเราก็ใช้โปรแกรม excel ซึ่งพบว่ามันยุ่งยากในการลงข้อมูล และมีโอกาสที่ออร์เดอร์จะหล่นหายสูงมาก ต่อมาพี่ๆ ในวงการธุรกิจก็มาคุย ต้องการจ้างเราซึ่งจบวิศวะเพื่อจะให้ทำโปรแกรมจัดการการขายและสต็อกให้ ซึ่งเราพบว่าทุกคนมี pain point แบบเดียวกัน เราเลยคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเราก็ทำเป็นโปรดักส์เลยดีกว่าเพราะทุกคนต้องการใช้เหมือนกันหมด” สวภพ ท้วมแสง หนึ่งในผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด (ZORT) กล่าวถึงการก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2559

ปัญหาที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกคนต้องเผชิญ คือการขายปัจจุบันมีหลายช่องทาง เช่น Shopee, Lazada, JD Central, Facebook, Line แต่เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อ การตัดสต็อกที่ ‘ไม่เรียลไทม์’ พร้อมกันทุกช่องทาง ทำให้บางครั้งเกิดอาการสินค้าหมด ต้องบอกยกเลิกออร์เดอร์ลูกค้า ทำให้เสียความน่าเชื่อถือและเสียโอกาสการขาย

ZORT จึงเข้ามาแก้ปัญหานี้ ทำหน้าที่เป็นซอฟต์แวร์กลางในการทำระบบให้ ‘sync’ กัน ตัดสต็อกอัตโนมัติและอัปเดตพร้อมกันทุกช่องทางขาย

จากนั้นต่อยอดจนกลายเป็น แพลตฟอร์มบริหารออร์เดอร์และสต็อกครบวงจร (Seller Management Platform) ทำได้ทั้ง 6 ส่วนสำคัญต่อธุรกิจค้าออนไลน์ คือ จัดการสต็อก, จัดการคำสั่งซื้อ, ทำบัญชีรับจ่าย, การรับชำระเงิน, จัดการแพ็กสินค้า และขนส่ง

หลังก่อตั้งมา 6 ปี ปัจจุบัน ZORT มีฐานลูกค้า 3,000 ราย โดยมีคำสั่งซื้อที่ผ่านระบบสะสม 84,000 ล้านบาท จำนวน 45 ล้านรายการ สามารถลดต้นทุนให้ลูกค้าได้เฉลี่ย 30% และพร้อมจะขยายตัวมากกว่านี้

ZORT
ทีมผู้บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด

 

รับเงินลงทุน 55 ล้านบาทในรอบ Series A

จากฐานธุรกิจที่มีทำให้ดึงดูดใจนักลงทุน โดยซอร์ทเอาท์สามารถระดมทุนรอบ Series A ได้แล้วด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 55 ล้านบาท มี lead investor คือ กองทุน Finnoventure Fund ของ กรุงศรี ฟินโนเวต (โดยซอร์ทเอาท์เป็นสตาร์ทอัพรายแรกที่กองทุนนี้ร่วมลงทุน) ร่วมด้วย บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด รุ่นพี่เทคสตาร์ทอัพ รวมถึงมี angel investor 3 ราย นำโดย “โคบี้ บุญบรรเจิดศรี” นักลงทุนอิสระ

“แซม ตันสกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด กล่าวว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีฐานลูกค้า SMEs อยู่แล้วนับแสนราย และมีการแนะนำ ZORT ให้ลูกค้าใช้งาน ซึ่งพบว่าลูกค้าตื่นเต้นกับเทคโนโลยีนี้ ทำให้เชื่อมั่นว่าสตาร์ทอัพรายนี้จะโตไปพร้อมกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และไม่ใช่แค่ในไทย แต่สามารถไปในระดับอาเซียนได้ โดยกรุงศรีซึ่งอยู่ในเครือ MUFG พร้อมจะผลักดัน

“ปลายทางคือเราจะแต่งตัว ZORT ให้เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ในที่สุด คิดว่าไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า” แซมกล่าว

ZORT
พิธีลงนามร่วมลงทุน Series A กับซอร์ทเอาท์

ด้าน “ณัฐธิดา สงวนสิน” กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด กล่าวว่า เนื่องจากอยู่ในธุรกิจที่ใกล้เคียงกันโดยบัซซี่บีส์ถนัดด้านการทำระบบ CRM ให้กับลูกค้าองค์กรใหญ่ ทำให้บริษัทเล็งเห็นว่าฟีเจอร์ของซอร์ทเอาท์จะตอบ ‘need’ หรือความจำเป็นของลูกค้า SMEs และเห็นศักยภาพว่ามีโอกาสขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้เพราะการใช้งานง่าย สะดวก และโมเดลพร้อมสเกลอัพ

 

เล็งขยายเข้าตลาดอาเซียน

หลังได้รับเงินลงทุน และที่สำคัญกว่านั้นคือได้ “พาร์ทเนอร์เชิงกลยุทธ์” สวภพกล่าวว่า บริษัทจะนำเงินลงทุนใน 3 ด้าน คือ

1.พัฒนาโปรดักส์ เพื่อให้เป็น Seller Management Platform ที่ทำได้ครบวงจรมากขึ้น สิ่งที่จะเพิ่มเข้ามาคือ “การทำ CRM” ซึ่งส่วนนี้บัซซี่บีส์จะเข้ามาประสานพลังได้อย่างลงตัว

ณัฐธิดากล่าวเสริมว่า การทำ CRM จะกลายเป็นส่วนสำคัญมากของธุรกิจในอนาคต เนื่องจากการลงโฆษณาโดยใช้ Targeted Ad จะทำได้ยากขึ้นเพราะติดกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ทำให้แต่ละธุรกิจต้องเก็บฐานลูกค้าของตัวเองไว้ เพื่อทำการตลาดและสร้างความภักดีต่อแบรนด์

นอกจากนี้ สวภพกล่าวว่าบริษัทจะมีเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้ครอบคลุมเทคนิคการขายแบบใหม่ยิ่งขึ้น เช่น Live Commerce การไลฟ์สดขายสินค้าจะต้องนำมา sync กับระบบของแพลตฟอร์มได้

shopping online ecommerce

2.ขยายตลาด สำหรับในไทยยังมีโอกาสอีกมาก เพราะมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ต้องการปรับมาขายออนไลน์ และบริษัทจะทำการตลาดกระจายตัวออกจากกรุงเทพฯ เน้นต่างจังหวัดมากขึ้น หลังพบว่าอีคอมเมิร์ซกระจายฐานไปอยู่ต่างจังหวัดสูงขึ้น เพราะการขนส่งทำได้ทั่วถึงทั้งประเทศ

รวมถึงจะขยายตลาดอาเซียนด้วย โดยบริษัทสำรวจแล้วพบว่าพฤติกรรมการซื้อขายของชาวอาเซียนคล้ายกับคนไทย และอาเซียนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก ขณะนี้กำลังศึกษาประเทศแรกที่จะเข้าไป เป็นประเทศที่คนท้องถิ่นพูดภาษาอังกฤษได้เพื่อลดกำแพงทางภาษาในการทำงาน รวมถึงเป็นประเทศที่ขนาดตลาดใหญ่ แต่คู่แข่งยังน้อยอยู่

สำหรับการเข้าสู่อาเซียน จะมีกรุงศรีเป็นพี่เลี้ยงในการลุยตลาดใหม่ เหมือนดั่งที่กรุงศรีพา Flash Express เข้าสู่ตลาดฟิลิปปินส์และลาวมาแล้ว

3.พัฒนาทีมงาน โดยจะจัดการพัฒนาทักษะของทีมงานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของบริษัท และจะเพิ่มทีมงานให้ตอบรับกับจำนวนลูกค้าที่สูงขึ้น จากปัจจุบันมีทีมงานเพียง 40 คน

เป้าหมายของปี 2565 ซอร์ทเอาท์ต้องการขยายฐานลูกค้าเป็นเท่าตัวคือ 6,000 ราย และอีก 3 ปีคาดว่าจะโตเป็น 18,000 ราย (*ยังไม่รวมลูกค้าในต่างประเทศ)

สวภพมองว่า ปัจจุบันการทำความเข้าใจกับลูกค้า ‘ไม่ยาก’ เท่ากับ 4-5 ปีก่อนแล้ว เพราะลูกค้ารับได้และชินกับการสมัครใช้ซอฟต์แวร์แบบรายเดือน เข้าใจถึงความจำเป็นใช้งาน โจทย์ธุรกิจขณะนี้จึงเป็นการสเกลให้ลูกค้าเข้ามาใช้มากขึ้น และอยู่กับแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องมากกว่า

“คู่แข่งมีเยอะไหม? ก็มีเข้ามาเรื่อยๆ ทั้งสัญชาติไทยและต่างชาติ แต่จุดเด่นของแต่ละรายต่างกัน อย่าง ZORT จะเด่นเรื่องมาร์เก็ตเพลส แต่ต่อไปเราต้องทำให้เราทำได้หมดทุกระบบ รวมทั้ง Facebook, Instagram, Line เข้ามาได้หมด เมื่อตอบโจทย์เขาได้แล้ว เขาก็จะไม่ย้ายแพลตฟอร์ม” สวภพกล่าว

]]>
1375287
จับตา ‘VinFast’ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สุดของเวียดนาม จ่อเข้า ‘ระดมทุน’ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1327814 Wed, 14 Apr 2021 10:47:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327814 จับตาความเคลื่อนไหวของ ‘VinFast’ (วินฟาสต์) เเบรนด์รถยนต์เจ้าใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ธุรกิจในเครือ Vingroup เตรียมเข้า IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดระดมทุนได้ถึง 2 พันล้านดอลลาร์ (ราว 6.3 หมื่นล้านบาท)

Bloomberg รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวใกล้ชิด ระบุว่า Vingroup บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเวียดนาม เตรียมการจะส่งบริษัทลูกอย่าง ‘VinFast’ เสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม กำลังอยู่ในช่วงดำเนินงานร่วมกับที่ปรึกษา โดยคาดว่าข้อเสนอดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในไตรมาสนี้ เเละประเมินว่าการระดุมทุน IPO ของ VinFast อาจเพิ่มขึ้นสูงสุดเเตะ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.4 หมื่นล้านบาท)

ขณะที่แหล่งข่าวให้ข้อมูลกับ Reuters ว่ากลุ่มธุรกิจของ Vingroup ซึ่งมีอยู่หลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งเเต่อสังหาริมทรัพย์ไปจนถึงสมาร์ทโฟนกำลังทำงานร่วมกับ Credit Suisse HongKong เพื่อเสนอขาย IPO ในครั้งนี้

หลังจากมีกระเเสข่าวนี้เผยเเพร่ออกมา ส่งผลให้หุ้นของ Vingroup เพิ่มขึ้นมากถึง 5.3% (ณ วันที่ 13 เมษายน) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้มูลค่าตลาดของบริษัทพุ่งขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.27 เเสนล้านบาท)

ในช่วงเเรก Vingroup ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อข่าวนี้ เเต่ต่อมาได้ออกมาชี้เเจงว่า บริษัทกำลังกำลังพิจารณาหาโอกาสในการระดมทุนซึ่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งรูปเเบบ IPO หรือ SPAC (บริษัทที่สร้างขึ้นมาเพื่อระดมเงินทุนไปซื้อบริษัทอื่น) เเต่การระดมทุนใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่นสภาวะตลาด

VinFast เพิ่งเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ 3 รุ่นใหม่ ได้แก่ VF31 ,VF32 และ VF33 ในเวียดนาม เเละกำลังจะส่งไปทำตลาดในสหรัฐฯ แคนาดาและยุโรปในปีหน้า โดยกำลังมองหาโอกาสที่จะเปิดโรงงานใหม่ในอเมริกาด้วย

นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่เเล้ว มีกระเเสข่าวว่า Vingroup กำลังเจรจากับ Foxconn ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน เพื่อร่วมมือเป็นพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ากับเเบรนด์ VinFast

 

 

ที่มา : Bloomberg , Reuters

]]>
1327814
Flash Coffee เชนร้านกาแฟจากสิงคโปร์ได้เงินระดมทุนรอบ Series A ลุยขยายสาขาในไทย และเอเชีย https://positioningmag.com/1327166 Thu, 08 Apr 2021 08:27:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327166 แฟลช คอฟฟี่ (Flash Coffee) เชนร้านกาแฟจากสิงคโปร์ ลงทุนโดย ร็อคเก็ต อินเตอร์เน็ต (Rocket Internet) ได้แถลงว่าบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการระดมทุนรอบซีรีส์ เอ เป็นจำนวนเงินถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมี ไวท์สตาร์ แคปิตอล (White Star Capital) เป็นผู้ลงทุนใหญ่

ไวท์สตาร์ แคปิตอล ได้ร่วมกับกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ ได้แก่ บริษัทลูกของเดลิเวอรี่ ฮีโร่ (Delivery Hero) อย่าง ดีเอ็กซ์ เวนเจอร์ส (DX Ventures) โกลบอล ฟาวน์เดอร์ แคปิตอล (Global Founders Capital) และ คอนนี แอนด์ โค (Conny & Co.) ร่วมลงทุน สำหรับการระดมทุนรอบซีรีส์ เอ ครั้งนี้ ทำให้การระดมทุนรวมของ แฟลช คอฟฟี่ อยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินลงทุนก้อนนี้จะถูกนำไปขยายสาขาใน 10 ตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

แฟลช คอฟฟี่ ก่อตั้งขึ้นโดย เดวิด บรูเนียร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเซบาสเตียน ฮานเน็คเกอร์ ประธานฝ่ายปฏิบัติการและ ประธานฝ่ายการเงิน เพื่อเสิร์ฟกาแฟระดับพรีเมียมให้เข้าถึงกลุ่มคนชั้นกลางที่กำลังเติบโตในเอเชีย

จากประสบการณ์ของเดวิดในฐานะ CMO ของฟู้ดแพนด้า (foodpanda) และเซบาสเตียน ที่เคยทำงานกับ เบน คอนซัลติ้ง (Bain Consulting) ได้ช่วยสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่คล่องตัวแบบ “แกรบ แอนด์ โก” ของแฟลช คอฟฟี่ ซึ่งทำให้ประหยัดต้นทุนได้อย่างมาก และลูกค้าก็สามารถจ่ายได้ในราคาที่เอื้อมถึง

“เราฝันที่จะเห็นแฟลช คอฟฟี่ ในทุกระยะ 500 เมตรของเมืองหลักๆ ในเอเชีย การสนับสนุนอย่างเต็มที่จากนักลงทุนในการระดมทุนรอบซีรีส์ เอ นั้น ทำให้เราสามารถจับศักยภาพใหม่ๆ ของตลาดในภูมิภาค รวมทั้งต่อยอดความสำเร็จเพิ่มในอีก 7 ตลาดใหม่สำหรับปีนี้ ได้แก่ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

เรายังมีแผนเปิดสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ และขยายฐานเทคโนโลยีในจาการ์ตาโดยเพิ่มทีมงานเป็น 50 อัตรา รองรับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อทำให้ประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้านั้นดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในเชิงรุก พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานอย่างมีนัยยะสำคัญ” เดวิดกล่าว

สำหรับประเทศไทยซึ่งถือเป็นตลาดที่ตอบรับเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจของแฟลช คอฟฟี่ ก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี เห็นได้จากการเปิดสาขาไปแล้วถึง 31 สาขาในอาคารต่างๆ ตามย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ด้วยบรรยากาศการลงทุนเชิงบวก พร้อมกับการระดมทุนรอบซีรีส์ เอ ที่จะช่วยเสริมให้ธุรกิจในภูมิภาคเติบโตยิ่งขึ้นในครั้งนี้ จะส่งผลให้ แฟลช คอฟฟี่ ในเมืองไทยขยายตัวได้มากขึ้นอีกในปีนี้

แพน ลีนุตพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟลช คอฟฟี่ ประเทศไทย กล่าวว่า

“แฟลช คอฟฟี่ มีความตื่นเต้นกับการขยายตัวของธุรกิจในประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยการระดมทุนซีรีส์ เอ จะช่วยให้แฟลช คอฟฟี่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพมหานครได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากแผนการเพิ่มจำนวนช็อปของเราในประเทศไทยอย่างรวดเร็วแล้ว แฟลช คอฟฟี่ก็กำลังจะเปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ในเดือนเมษายนนี้ด้วย รวมทั้งเตรียมเฟ้นหาบุคลากรที่มีความสามารถระดับทริปเปิ้ลเอ เข้ามาร่วมงานกับเราเพื่อมุ่งสร้างให้บริษัทเติบโตได้ตามเป้าหมายในปี 2564 นี้”

แฟลช คอฟฟี่ เปิดตัวมาตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2563 มีสาขารวมทั้งสิ้น 50 แห่งในประเทศสิงคโปร์ ไทย และอินโดนีเซีย และสามารถทำรายได้ได้ดีในทุกตลาดแม้จะอยู่ในสภาวะของการแพร่ระบาดใหญ่ก็ตาม โดยการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาของสาขาส่วนใหญ่สามารถที่จะทำกำไรได้

ปัจจุบัน แฟลช คอฟฟี่ เปิดสาขาใหม่เฉลี่ย 3 สาขาต่อสัปดาห์ ซึ่งนับว่าเป็นการเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม แฟลช คอฟฟี่ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นอีกสามเท่า หรือเปิดสาขาใหม่เป็น 10 สาขาต่อสัปดาห์ เพื่อให้มีสาขารวม 300 สาขาทั่วภูมิภาคภายในสิ้นปีนี้

แฟลช คอฟฟี่ ตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมกาแฟซึ่งเป็นธุรกิจในลักษณะออฟไลน์ให้มาอยู่บนออนไลน์ให้สำเร็จ ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการใช้งานของลูกค้าที่สามารถมีบริการการรับสินค้า ระบบสมาชิกที่น่าสนใจ โปรโมชันแบบเข้าถึงตัวบุคคล รวมทั้งกิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในหลากหลายช่องทาง ในส่วนของแอปพลิเคชันสำหรับบาริสต้านั้น ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละสาขา รวมถึงการสร้างอินเซนทีฟจากผลงานของบาริสต้าเองด้วย ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างความมั่นใจในการให้บริการอันเหนือชั้นแก่ลูกค้าของแฟลช คอฟฟี่

]]>
1327166
เรียนออนไลน์เฟื่องฟู ‘Coursera’ เตรียมขาย IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ รับเทรนด์การศึกษายุคใหม่ https://positioningmag.com/1322294 Sun, 07 Mar 2021 10:04:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322294 เว็บไซต์เรียนออนไลน์ชื่อดังอย่าง ‘Coursera’ เตรียมเข้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังกระเเสการเรียนทางไกลบูมขึ้นมาก ท่ามกลางวิกฤตช่วงโรคระบาด กลายเป็นทิศทางของการศึกษายุคใหม่

สำนักข่าว CNBC รายงานว่า Coursera กำลังยื่นเอกสารต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) เพื่อเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน (IPO) ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยจะใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า ‘COUR’

Coursera เเพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 โดย Daphne Koller และ Andrew Ng อดีตศาสตราจารย์ด้านคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

หลังจากที่ทั้งสองได้คลุกคลีในวงการนี้มานาน จึงมองเห็นเทรนด์การศึกษาออนไลน์ ว่าควรเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงหลักสูตรการเรียนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นธุรกิจที่เฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของ COVID-19

จากมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ทุกคนต้องเว้นระยะห่าง ทางการต้องระงับการเรียนการสอนที่โรงเรียนเเละสถาบันการศึกษา รูปแบบการเรียนรู้จึงเป็นมาเป็นการสื่อสารทางออนไลน์เเทน

ในปี 2020 ที่ผ่านมา มียอดผู้สมัครเรียนกับ Coursera เพิ่มขึ้นถึง 65% บริษัททำรายได้รวมกว่า 293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9 พันล้านบาท) เติบโต 59% เมื่อเทียบกับปี 2019 

จากหนังสือชี้ชวนของบริษัท ระบุว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนั้น มาจากการเพิ่มขึ้นของผู้ลงทะเบียนในช่วงการระบาดของ COVID-19”

อย่างไรก็ตาม เเม้ Coursera จะมีรายได้เติบโตขึ้น จากอานิสงส์วิกฤตโรคระบาด เเต่ยังคงขาดทุนเพิ่มขึ้นทุก เฉลี่ยปีละ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปีที่ผ่านมาขาดทุนไปแล้ว 66.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2 พันล้านบาท) เเต่ก็ยืนยันว่าธุรกิจนี้ยังต่อยอดไปได้อีกไกล

ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา Coursera มีผู้ที่เรียนออนไลน์และได้รับวุฒิการศึกษาไปแล้ว กว่า 1.2 หมื่นคน มีค่าใช้จ่ายในการเรียนโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6 หมื่นบาท) ต่อคน

จากข้อมูล ณ สิ้นปี 2020 มีมหาวิทยาลัยกว่า 150 แห่งทั่วโลก เปิดคอร์สสอนอยู่บน Coursera ทั้งสิ้นกว่า 4,000 คอร์ส โดยมีค่าใช้จ่ายในการเรียนระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจนได้วุฒิการศึกษา อยู่ที่ราว 9,000-45,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว2.7 แสนบาท ถึง 1.3 ล้านบาท)

นอกจากนี้ ยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้ากำลังทรัพย์น้อย โดยมีใบรับรองการศึกษาและหลักสูตรทักษะวิชาชีพที่ ‘หลากหลาย’ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 9.99 – 99 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 274 – 3,000 บาท)

โดยช่วงที่มีการแพร่ระบาด Coursera ได้ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลในประเทศต่างๆ มากกว่า 330 แห่งใน 70 ประเทศและ 30 รัฐของสหรัฐอเมริกา เพื่อเสนอให้คนว่างงานเเละผู้ที่สนใจ สามารถเข้าถึงหลักสูตรต่างๆ สำหรับธุรกิจเเละเทคโนโลยีได้ฟรี

ทั้งนี้ PitchBook ประเมินมูลค่าบริษัทของ Coursera ว่าอยู่ที่ราว 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7.6 หมื่นล้านบาท

การเสนอขายหุ้น IPO ของ Coursera ครั้งนี้ จะได้ธนาคาร Morgan Stanley, Goldman Sachs และ Citigroup จะเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยช่วงราคาเเละจำนวนหุ้นที่จะเสนอขายดังกล่าว

 

ที่มา : CNBC , Forbes 

]]>
1322294
สตาร์ทอัพอินโดนีเซีย คึกคัก ‘Traveloka’ เตรียมเข้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผ่านวิธี SPAC ภายในปีนี้ https://positioningmag.com/1319802 Wed, 17 Feb 2021 07:30:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319802 เหล่าสตาร์ทอัพสัญชาติอินโดนีเซียกำลังรุ่ง ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาด ล่าสุด ‘Traveloka’ เเพลตฟอร์มด้านท่องเที่ยวออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เตรียมยื่นจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ผ่านวิธี SPAC ภายในปีนี้ 

Ferry Unardi ซีอีโอของ Traveloka ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ถึงมุมมองต่อ Special Purpose Acquisition Company หรือ SPAC ว่ามีประสิทธิภาพมาก

ถ้าเรายิ่งทำได้เร็ว ก็จะสามารถมุ่งเน้นไปที่การดำเนินการและการเติบโตของบริษัทได้พร้อมเเย้มว่า Traveloka อาจพิจารณาจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นอินโดนีเซียในอนาคต

โดยขณะนี้ บริษัทได้หารือกับ JP Morgan เพื่อจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ซึ่งต้องมีการศึกษาเพื่อหาตัวเลือกที่เหมาะสมก่อนที่จะควบรวม หรือซื้อกิจการ หลังการจดทะเบียนต่อไป

การเข้าตลาดหลักทรัพย์ผ่านวิธี SPAC มากกว่าจะขายหุ้นให้สาธารณะเเบบ IPO ดั้งเดิม กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่บริษัทสตาร์ทอัพเลือกใช้ เรียกง่ายๆ ว่า SPAC คือบริษัทที่สร้างขึ้นมาเพื่อระดมเงินทุนไปซื้อบริษัทอื่น

โดย Pwc ให้คำจำกัดความของ SPAC ว่า เป็นบริษัทที่จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ได้ระดมเงินจากนักลงทุนแล้ว แต่ไม่มีแผนธุรกิจแน่ชัด อาจเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อลงทุนในธุรกิจอื่น หรือมีความตั้งใจจะควบรวมเเละเข้าซื้อกิจการอื่น ซึ่งบริษัท SPAC มีเวลา 2 ปีในการหาธุรกิจที่น่าสนใจเพื่อลงทุน หากเลยระยะเวลาดังกล่าวเเล้วบริษัทจะต้องคืนเงินให้แก่นักลงทุน

ด้านสตาร์ทอัพยักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซียอย่าง Gojek และ Tokopedia ก็กำลังอยู่ระหว่างการสรุปเงื่อนไขการควบรวมกิจการ ก่อนที่จะจดทะเบียนนิติบุคคลร่วมกันในอินโดนีเซียและสหรัฐฯ

โดยทางการอินโดนีเซีย กำลังพิจารณาเรื่องการอนุญาตให้ถือหุ้นแบบ ‘Dual-Class’ สำหรับหุ้น IPO ของสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น

Traveloka เริ่มก่อตั้งบริษัทมาตั้งเเต่ปี 2012 ให้บริการจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน ได้รับความนิยมในภูมิภาคอาเซียน เมื่อผู้บริโภคสามารถจองเที่ยวบินและโรงแรมข้ามประเทศได้ง่ายขึ้น มีเเผนจะขยายการให้บริการในด้านไลฟ์สไตล์ให้หลากหลาย ไปจนถึงให้บริการทางการเงิน

เมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนาม (Photo : Photo by Văn Long Bùi from Pexels)

ปัจจุบัน Traveloka ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทลงทุนใหญ่ๆ อย่าง Expedia Group , กองทุนความมั่งคั่งของสิงคโปร์ GIC และ JD.com ผลักดันให้บริษัทมีมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่สั่นสะเทือนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลก มีรายงานว่า Traveloka เกือบจะตัดสินใจระดมทุน เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าต่ำกว่าการระดมทุนรอบก่อน

นอกจากนี้ ยังลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ ด้วยการปรับลดตำแหน่งงานในช่วงการเเพร่ระบาด โดยมีการปลดพนักงานในสิงคโปร์ไปราว 80 ตำเเหน่ง เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ซีอีโอ Traveloka ยืนยันว่า มีการวางแผนจะลงทุนเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อดึงดูดนักเดินทางมากขึ้น โดยในส่วนธุรกิจท่องเที่ยวของบริษัท เริ่มกลับมามีกำไรบ้างเเล้ว หลังประเทศต่างๆ ผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ แต่ก็ยังไม่มากนัก

 

 

ที่มา : Bloomberg , nikkei

]]>
1319802
Discord แอปฯ แชทของชาวเกมเมอร์ มูลค่าพุ่ง “เท่าตัว” จากอานิสงส์ช่วงล็อกดาวน์ https://positioningmag.com/1308038 Fri, 27 Nov 2020 09:08:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308038 ไม่ใช่แค่ Nintendo หรือ Zoom ที่พุ่งทะยานในช่วงล็อกดาวน์จาก COVID-19 แอปฯ แชทที่เป็นนิยมกันในหมู่เกมเมอร์อย่าง “Discord” ก็เติบโตไปพร้อมกัน โดยการระดมทุนรอบล่าสุดทำให้มูลค่าบริษัทพุ่งขึ้นเท่าตัวเป็น 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ

Discord กำลังจะได้รับเงินลงทุนรอบใหม่ และจะทำให้มูลค่าบริษัทได้รับการประเมินสูงขึ้นเท่าตัวเป็น 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่สำคัญคือ การระดมทุนรอบนี้เกิดขึ้นภายในเวลาเพียง 5 เดือนจากรอบที่แล้ว เมื่อเดือนมิถุนายน 2020 บริษัทเพิ่งระดมทุนได้ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับการประเมินมูลค่าบริษัทที่ 3.5 พันล้านเหรียญ แสดงให้เห็นเทรนด์ที่มาแรงของแอปพลิเคชันในช่วง COVID-19 ระบาด

แอปฯ Discord นั้นเป็นแอปฯ แชทและวอยซ์คอลยอดนิยมในหมู่เกมเมอร์ และเมื่อเกิดการระบาดของโรค COVID-19 มีมาตรการล็อกดาวน์ป้องกันการระบาด และผู้คนส่วนใหญ่ต้องอยู่กับบ้าน ทำให้ “เกม” เป็นกิจกรรมสุดฮิตขึ้นมา เราได้เห็นเทรนด์การเติบโตอย่างเด่นชัดของ Nintendo รวมถึงเกมหน้าใหม่มาแรงอย่าง Among Us เกิดขึ้นในช่วงนี้

สำนักข่าว TechCrunch รายงานว่า ปีนี้ผู้ใช้งาน Discord สูงขึ้นเป็น 120 ล้านบัญชี และมีการดาวน์โหลดใหม่ถึงวันละ 8 แสนครั้ง โดยเกม Among Us ถือเป็นหนึ่งในเกมสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ Discord มีจำนวนการดาวน์โหลดและการใช้งานเพิ่มขึ้นมหาศาล เพราะเป็นเกมที่ต้องมีผู้เล่นหลายราย (multiplayer) และต้องสื่อสารกันระหว่างเล่นเกม ทำให้แอปฯ Discord เป็นสิ่งจำเป็น

หน้าแชทของ Discord

อย่างไรก็ตาม หลังการระดมทุนรอบก่อน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 “เจสัน ซิตรอง” และ “สตานิสลาฟ วิชเนฟสกี้” สองผู้ร่วมก่อตั้ง Discord เปิดเผยในบล็อกโพสต์สาธารณะว่า บริษัทจะก้าวสู่การพัฒนาให้แพลตฟอร์มเป็นมากกว่าแอปฯ สำหรับชุมชนเกมเมอร์ โดยคาดว่าเกิดจากการระดมทุนรอบเดือนมิถุนายน เมื่อเวนเจอร์แคปิตอล Index Ventures ลงทุนถึง 100 ล้านเหรียญกับ Discord “แดนนี่ ริมเมอร์” ผู้นำกองทุน VC ดังกล่าว เป็นผู้ชี้นำว่าแอปฯ จะต้องขยายไปสู่วงการอื่นต่อ

Discord เปิดตัวเป็นทางการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2015 ก่อนหน้านั้น ซิตรอง หนึ่งในผู้ก่อตั้ง เริ่มความฝันของตัวเองด้วยการพัฒนาเกม และเกมหนึ่งของเขามีฟีเจอร์แชทและวอยซ์คอลในเกม ซึ่งในเวลาต่อมา ฟีเจอร์ที่ว่านี้โดดเด่นและมีโอกาสทำเงินยิ่งกว่าตัวเกมเสียอีก จนเขาต้องยอมหยุดพัฒนาเกม หันมาพัฒนาแอปฯ Discord เต็มตัวโดยอาศัยปัญหาที่เกมเมอร์พบเจอเป็นฐานคิดในการพัฒนา

ปัจจุบัน บริษัทได้รับเงินลงทุนจากหลาย VC และบริษัท ได้แก่ Greylock, Index Ventures, Spark Capital, Tencent และ Benchmark

Source

]]>
1308038
PTTOR, กรุงศรี, TCP ลงขัน 3,000 ล้านบาทอัดฉีด ‘Flash Express’ บู๊ศึกโลจิสติกส์ https://positioningmag.com/1301107 Mon, 12 Oct 2020 08:37:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301107 ถือเป็นม้ามืดที่ยิ่งน่าจับตาเข้าไปใหญ่สำหรับ ‘แฟลช เอ็กซ์เพรส’ (FLASH EXPRESS) ผู้เล่นน้องใหม่ในตลาดขนส่งที่ทำตลาดได้ 2 ปี ก็ขึ้นแท่น Top 3 ในตลาด และจากนี้จะยิ่งน่ากลัว เพราะแฟลชพึ่งได้เงินลงทุนใหม่ระดับ Series D ด้วยมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3,000 ล้านบาท

สำหรับเงินลงทุนดังกล่าวมาจาก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยที่ร่วมกันลงขัน ได้แก่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR บริษัทลูกของ ปตท. ตามด้วยกรุงศรี ฟินโนเวต และสุดท้าย เดอเบล (Durbell) ซึ่งเป็นดิสทริบิวเตอร์ภายใต้เครือ TCP หรือเจ้าของแบรนด์กระทิงแดงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยว่าแต่ละรายนั้นลงทุนคนละเท่าไร

ด้าน คมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ได้ระบุว่า การร่วมทุนครั้งนี้นั้นเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจในกลุ่ม new s-curve ได้แก่ อุตสาหกรรมด้านพลังงานและโลจิสติกส์ ต่อยอดไปยังกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค และธุรกิจการเงินเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในตลาด อีกทั้งยังเป็นโอกาสการสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านแพลตฟอร์มทางการเงิน การนำระบบ e-Payment เข้ามาใช้ในระบบขนส่ง ให้เกิดเป็น อี-คอมเมิร์ซ แบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น

“จุดประสงค์หลักของการร่วมทุนในครั้งนี้ คือ การนำเอาศักยภาพ และจุดเด่นของแต่ละธุรกิจเข้ามาผสานรวมกันเพื่อพัฒนาโมเดลธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะสามารถรองรับการขยายตัวของธุรกิจ E-commerce รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งในรูปแบบ Ecosystem ที่สามารถเชื่อมโยงกับ supply chain ได้อย่างครบวงจร ตลอดจนพัฒนาระบบขนส่งให้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในภาคบริการอื่น ๆ ที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น”

คมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด

คมสันต์ กล่าวต่อว่า เงินระดมทุน Series D นั้นเป็นแค่ จุดเริ่มต้น เพราะหลังจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ในไทยที่เตรียมประกาศความเป็นพันธมิตรร่วม โดยอยู่ในระหว่างขั้นตอนการเจรจา ซึ่งคาดว่าน่าจะมีความชัดเจนภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 ซึ่งจากนี้คงต้องรอดูยาว ๆ ว่าจะเป็นใครและจะได้เงินระดมทุนอีกเท่าไหร่ เพราะแฟลช เอ็กซ์เพรสเคยระบุว่าต้องการขยายตลาดให้ครบทั้ง 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งต้องใช้งบลงทุน 30,000 – 40,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่งเป็นเครือข่ายเดียวกันในอาเซียน รองรับการเติบโตของตลาดอี-คอมเมิร์ซในภูมิภาค โดยภายในปีนี้บริษัทตั้งเป้าที่จะขยายให้ได้ 3 ประเทศ

ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ทำตลาดมาแฟลช เอ็กซ์เพรสได้ลงทุนในไทยแล้วเกือบ 10,000 ล้านบาท โดยมีศูนย์บริการกว่า 10,000 แห่ง รถขนส่งพัสดุกว่า 15,000 คัน และพนักงานกว่า 23,000 คน โดยในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตนั้น ก็ได้ส่งผลให้ช่วงครึ่งปีแรกแฟลช เอ็กซ์เพรสมีอัตราเติบโตถึง 3,000% โดยมียอดส่งพัสดุรวมกว่า 100 ล้านชิ้น โดยมียอดส่งพัสดุเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1 ล้านชิ้นและมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 1,000 ล้านบาท

เรียกได้ว่าตลาด ‘ขนส่ง’ ของไทยนับวันยิ่งดุเดือด โดยเฉพาะฝั่งของเอกชนที่เราจะได้เห็นผู้เล่นผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ ต่างตบเท้าเข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง แถมเเต่ละรายทุนยังหนาปึก อาทิ ‘เบสท์ เอ็กซ์เพรส’ (BEST Express) ที่มี ‘แจ็ค หม่า’ แห่ง ‘อาลีบาบา’ หนุนหลัง ดังนั้นสิ่งที่เกิดคือ สงครามราคา แต่ไม่ว่าสงครามนี้จะจบอย่างไร ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ก็มีเเต่ได้กับได้ ทั้งค่าส่งที่ ถูกลง และระยะเวลาส่งพัสดุที่ เร็วขึ้น

]]>
1301107
Japan Airlines เตรียมระดมทุน 5 แสนล้านเยน พยุงธุรกิจสู้วิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1284330 Fri, 19 Jun 2020 12:49:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284330 ธุรกิจสายการบินยังต้องดิ้นรนไปอีกยาว เเม้สถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 จะเริ่มดีขึ้น เเต่การท่องเที่ยวเเละการเดินทางข้ามพรมเเดน ยังคงไม่ฟื้นในเร็ววัน

ล่าสุด สายการบินเเห่งชาติของญี่ปุ่นอย่าง Japan Airlines เตรียมระดมทุนกว่า 5 แสนล้านเยน (ราว 1.45 แสนล้านบาท) เพื่อประคองธุรกิจให้ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้

Yuji Akasaka ประธานของ Japan Airlines (JAL) เปิดเผยว่า สายการบินหวังจะระดมเงินทุนให้ได้ 5 แสนล้านเยน เพื่อนำมาพยุงสถานะการเงินของบริษัท หลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากยอดการเดินทางที่หายไปในช่วง COVID-19 ซึ่งก่อนหน้านี้ สายการบินได้ทำการกู้เงินจำนวน 2 เเสนล้านเยนจากสถาบันการเงินมาเเล้ว

โดยผลประกอบการล่าสุดในไตรมาส 1 ของปีนี้ JAL ขาดทุนสูงถึง 2.29 หมื่นล้านเยน นับเป็นการขาดทุนรายไตรมาสครั้งแรก ตั้งแต่ที่บริษัทได้กลับเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นโตเกียวอีกครั้งในปี 2012 หลังยื่นล้มละลายในปี 2010

การกลับมาเเข็งเเกร่งเเละทำกำไรได้อีกครั้ง หลังการยื่นล้มละลายของสายการบินเเห่งชาติญี่ปุ่น ได้กลายเป็นกรณีศึกษาอันเลื่องชื่อของวงการสายการบิน จากกลยุทธ์พลิกฟื้นเเละปฎิรูปองค์กรของ Kazuo Inamori นักบริหารมือฉมัง ดังนั้น JAL จึงเป็นอีกหนึ่งสายการบินที่ฝ่าฟันวิกฤตมานับไม่ถ้วน

ตอนนี้สายการบินทั่วโลก ต้องปรับลดเที่ยวบินระหว่างประเทศและภายในประเทศ ขณะเดียวกันสถานการณ์ของ COVID-19 ในญี่ปุ่นเริ่มดีขึ้น ล่าสุดรัฐบาลยกเลิกข้อกัดในการเดินทาง อนุญาตให้ประชาชนสามารถท่องเที่ยวข้ามจังหวัดได้ ทำให้ JAL จะได้กลับมาทำการบินในประเทศอีกครั้ง หลังจากหยุดให้บริการมาเป็นเวลานาน เบื้องต้นคาดว่าจำนวนผู้โดยสารเที่ยวบินภายในประเทศจะเริ่มฟื้นตัวในเดือนนี้

อย่างไรก็ตาม JAL ยืนยันว่า เที่ยวบินระหว่างประเทศจะยังคงงดให้บริการกว่า 90% เช่นเดิม เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ยังมีอยู่เเละยังต้องมีการตรวจสอบต่อไป

โดยประธานของ Japan Airlines กล่าวในที่ประชุมผู้ถือหุ้นถึงเเผนต่อไปว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจ ให้สอดคล้องกับความต้องการท่องเที่ยวของผู้บริโภคทั่วโลกอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้บริษัทกลับมาทำกำไรได้ หลังผ่านพ้นวิกฤต COVID-19

 

ที่มา : japantimes , kyodonews

]]> 1284330