ร้านสะดวกซื้อ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 11 Jan 2024 04:45:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 7-Eleven วางเป้ามีร้านสะดวกซื้อในเอเชียแตะระดับ 50,000 สาขาภายในปี 2026 จากปัจจัยชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น https://positioningmag.com/1458325 Thu, 11 Jan 2024 03:45:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458325 เซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven) ได้ตั้งเป้ามีร้านสะดวกซื้อในเอเชียแตะระดับ 50,000 สาขาภายในปี 2026 นอกจากนี่ยังรวมถึงเชนร้านสะดวกซื้อจากญี่ปุ่นหลายแห่งที่มองถึงการขยายสาขาในประเทศต่างๆ ในเอเชีย จากปัจจัยชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น

Nikkei Asia รายงานข่าวว่า 7-Eleven เจ้าของเชนร้านสะดวกซื้อจากญี่ปุ่นได้ตั้งเป้าที่จะมีสาขาในทวีปเอเชียให้แตะระดับ 50,000 สาขา ขณะเดียวกันคู่แข่งร้านสะดวกซื้อรายอื่นจากญี่ปุ่นก็ตั้งเป้าที่จะเพิ่มสาขาให้ได้เช่นกัน แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจร้านสะดวกซื้อในทวีปเอเชีย

สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า Seven & i Holdings เจ้าของ 7-Eleven ซึ่งถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่น ตั้งเป้าในปี 2026 จะมีสาขาในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้นอีก 3,600 สาขา ซึ่งจะทำให้มีสาขารวมกันแตะระดับใกล้ 50,000 สาขา มากกว่าจำนวนสาขาในเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2023 ซึ่งมีสาขาราวๆ 46,000 สาขาเท่านั้น

โดยโมเดลของ Seven & i Holdings เจ้าของ 7-Eleven คือการให้สิทธิ์แฟรนไชส์กับพันธมิตรในแต่ละประเทศ ปัจจุบันสาขา 7-Eleven นอกประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนสาขาจำนวนมากกว่า 5,000 สาขา เช่น ไต้หวันที่มีสาขามากกว่า 6,600 สาขา หรือแม้แต่ในเกาหลีใต้ที่มีสาขามากกว่า 14,000 สาขา

สำหรับในประเทศไทย CPALL ซึ่งเป็นผู้รับสิทธิ์เปิดร้าน 7-Eleven ในไทย ลาว รวมถึงกัมพูชา ตัวเลขล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2023 ที่ผ่านมา บริษัทมีจำนวนร้านสะดวกซื้อเป็นจำนวนมากถึง 14,391 ในประเทศไทย 1 สาขาในประเทศลาว และ 72 สาขาในกัมพูชา

นอกจากนี้เชนร้านสะดวกซื้อคู่แข่งอย่าง ลอว์สัน (Lawson) ยังตั้งเป้าที่จะเปิดร้านในทวีปเอเชียอีกราวๆ 6,800 สาขาในจีนและอาเซียน ภายในปี 2026 ซึ่งจะทำให้มีสาขารวมกันราวๆ 13,000 สาขา

สื่อญี่ปุ่นรายดังกล่าวได้รวบรวมตัวเลขเชนร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นนั้นได้มีจำนวนสาขานอกประเทศญี่ปุ่นรวมกันราวๆ 60,000 สาขา แซงหน้าสาขาในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมากกว่า 50,000 สาขาไปแล้วเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชนร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นขยายสาขาในทวีปเอเชียเพิ่มมากขึ้นคืออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่หลายประเทศมี GDP เติบโตมากกว่า 5% ทำให้ชนชั้นกลางมีจำนวนมากขึ้น ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันร้านสะดวกซื้อเองก็ถือว่าตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันด้วย

เชนร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นได้เปลี่ยนสมรภูมิหลักจากประเทศญี่ปุ่นไปยังหลายประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งบริษัทเหล่านี้คาดหวังว่าจะสามารถเอาชนะคู่แข่งในแต่ละประเทศด้วยผลิตภัณฑ์และสินค้าคุณภาพ นอกจากนี้ยังรวมถึงบริการต่างๆ ที่ได้รับการฝึกฝนมาจากญี่ปุ่น

]]>
1458325
เมื่อ ถูกดี มีมาตรฐาน พลิกโฉมเป็นร้านสะดวกซื้อของชุมชนที่ทำให้คนในพื้นที่เข้าถึงบริการการเงินได้ง่ายและสะดวก https://positioningmag.com/1394408 Tue, 02 Aug 2022 04:00:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394408

ในอดีตสำหรับร้านโชห่วยเองถือว่าเป็นศูนย์กลางของชุมชน แต่ปัจจุบันร้านโชห่วยเองกลับถูกทอดทิ้ง และเราจะเห็นว่าผู้ประกอบการร้านโชห่วยเองก็ประสบกับปัญหาในการดูแลและจัดการร้านอย่างมาก รวมถึงต้นทุนในการบริหารร้านค้าเองก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ร้านค้าเหล่านี้ต้องปิดตัวลงเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดีเรื่องนี้กลับกลายเป็นอดีตไปแล้ว

เมื่อความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคาราบาวกับธนาคารกสิกรไทย กำลังจะทำให้ร้านโชห่วยกลับมามีบทบาทสำคัญอีกครั้งในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้กับคนฐานรากของสังคม

Positioning จะพาไปดูว่าความร่วมมือระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่นี้จะช่วยพลิกฟื้นร้านโชห่วย และยังทำให้ประชาชนฐานรากเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างไรหลังจากนี้

“ถูกดี มีมาตรฐาน” ร้านโชห่วยที่ถูกพัฒนาศักยภาพ เป็นร้านสะดวกซื้อของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน

 Positioning ได้พูดคุยกับเจ้าของร้านโชห่วยที่ก่อนจะมาเป็นพาร์ทเนอร์กับร้าน ถูกดี มีมาตรฐาน โดยหลายคนเปิดเผยว่าในการเปิดร้านโชห่วยนั้นประสบปัญหาหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสต็อกสินค้าที่ต้องออกเงินก่อน ขณะเดียวกันต้องเก็บสินค้าและไม่รู้ว่าสินค้าจะขายหมดเมื่อไหร่ หลายครั้งทำให้ต้นทุนต้องจม นอกจากนี้ยังรวมถึงการที่ไม่ทราบว่าความต้องการสินค้าของคนในชุมชนนั้นคืออะไร ก็อาจทำให้ร้านโชห่วยเองอาจขายสินค้าได้ไม่ดี

สิ่งที่ร้านถูกดี มีมาตรฐาน แตกต่างจากโชห่วยแบบเดิมๆ คือ ไม่ต้องนำเงินไปจมกับสต็อกสินค้า พร้อมทั้งติดตั้งระบบเครื่อง POS ที่เชื่อมต่อกับทางทีดี ตะวันแดง ทำให้ทราบได้ว่าสินค้าไหนขายดี และสามารถรู้สต็อกเพื่อจัดส่งสินค้าเมื่อสต็อกถูกขายออกไป และยังมีการให้คำปรึกษาจากทาง ทีดี ตะวันแดง ด้วย

นอกจากนี้ ร้านถูกดี มีมาตรฐาน ได้เพิ่มระบบสมาชิกเข้ามา ยิ่งทำให้ลูกค้าของร้านมีสิทธิ์สะสมคะแนน หรือได้ส่วนลดจากทางร้านค้าในอนาคต ทางด้านของร้านค้าเองก็จะทราบถึงความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ทำให้สามารถลงสินค้าในแต่ละร้านให้ถูกใจคนในชุมชนได้เพิ่มมากขึ้น

สำหรับโมเดลของร้านถูกดี มีมาตรฐาน ไม่ใช่การผูกขาดอย่างที่หลายคนกังวล เนื่องจากโมเดลของร้านนั้นเป็นการแบ่งส่วนแบ่งกำไรในสัดส่วน 85-15 นั่นก็คือทางร้านค้าที่เป็นพาร์ทเนอร์ได้กำไรไป 85% ขณะที่ทีดี ตะวันแดงได้ส่วนแบ่งซึ่งเป็นค่าบริหารจัดการเพียงแค่ 15% โดยที่ร้านค้าพาร์ทเนอร์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนให้กับบริษัทฯ

ปัจจุบันร้านถูกดี มีมาตรฐานมีจำนวนร้านค้าที่เปิดไปแล้วทั้งสิ้นราวๆ 5,000 ร้าน โดยตั้งเป้าว่าจะมีร้านค้าให้ได้ถึง 30,000 ร้านค้าทั่วประเทศภายในปี 2567

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) คุณเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด (ขวา)


เมื่อร้านถูกดี มีมาตรฐานกำลังจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของชุมชน 

คุณเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ได้กล่าวว่า ในการพัฒนาร้านถูกดี มีมาตรฐาน นั้น บริษัทไม่ได้มองเพียงการเข้ามาพัฒนาและปรับร้านโชห่วยให้มีความทันสมัยเท่านั้น แต่วางเป้าหมายให้ร้านถูกดี มีมาตรฐาน เป็นเสมือน “แพลตฟอร์ม”และ “โครงข่าย” นอกจากนี้เมื่อร้านถูกดี มีมาตรฐานกลายเป็นศูนย์กลางชุมชนนอกจากเรื่องค้าปลีกแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางที่จะทำให้ ผู้ให้บริการต่างๆ ที่คนในชุมชนเคยเข้าถึงได้ยาก อาทิ บริการทางการเงิน, เป็นจุดรับส่งสินค้าในชุมชน, บริการสินค้าทางการเกษตร ฯลฯ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนในชุมชนนั้นๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่ห่างไกล ที่สิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไม่ถึง แต่ทำให้ชุมชนเหล่านี้สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น

ลองนึกภาพว่าร้านถูกดี มีมาตรฐานในชุมชน สามารถที่จะทำธุรกรรมรับฝากเงิน เปิดบัญชีธนาคาร หรือแม้แต่จ่ายบิล ที่แต่เดิมอาจต้องเดินทางไปทำธุรกรรมต่างพื้นที่ เนื่องจากไม่มีผู้ให้บริการในเรื่องนี้ ซึ่งทำให้เสียเวลา ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยซ้ำ เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนเข้มแข็งขึ้นมา จึงเกิดความร่วมมือดังกล่าวขึ้น ซึ่งแต่ละฝ่ายมีจุดแข็งแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นฝั่งของทีดี ตะวันแดงที่ทำแพลตฟอร์มถูกดี มีมาตรฐาน และกำลังขยายร้านค้าไปทั่วประเทศ ขณะเดียวกันธนาคารกสิกรไทยเองก็มีจุดแข็งในการเป็นสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง มีนวัตกรรมใหม่ๆ และยังเห็นโอกาสที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากกว่านี้

สิ่งที่เกิดขึ้นคือการจับมือระหว่าง 2 องค์กร นอกจากนี้ธนาคารกสิกรไทยยัง ได้ลงทุนกับกลุ่มทุนคาราบาวเป็นเงินมากถึง 15,000 ล้านบาทด้วย


คนในพื้นที่จะได้ใช้บริการทางการเงินจากธนาคารกสิกรไทยได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยกับกลุ่มคาราบาวที่รวมถึง ทีดี ตะวันแดง ยิ่งทำให้ภายในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะเห็นบริการทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยนั้นเข้าไปตามชุมชนมากยิ่งขึ้น

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การร่วมลงทุนกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจ คาราบาว เป็นยุทธศาสตร์ของธนาคารที่ตั้งใจพัฒนาร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของชุมชน ทำให้ทุกคนที่อยู่ในวงจรของไล่ตั้งแต่เจ้าของร้านคู่ค้า ชาวบ้านในชุมชน สามารถจับจ่ายใช้สอยและใช้บริการการเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้นโดยความร่วมมือนี้จะทำให้ธนาคารมีจุดบริการเคแบงก์ เซอร์วิส เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 จุด จากเดิมที่มีจำนวนกว่า 27,000 จุด

นอกจากนี้ความร่วมมือดังกล่าวยังทำให้ประชาชนฐานรากนั้นสามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารได้ง่ายขึ้นและจะตอบโจทย์ที่ว่าการที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ ส่งผลทำให้หลายคนเองต้องไปใช้เงินกู้นอกระบบแทนซึ่งพื้นที่ห่างไกลหลายแห่งนั้นมีเรื่องราวแบบนี้จริง ซึ่งในช่วงแรกพาร์ทเนอร์ของถูกดี มีมาตรฐาน จะช่วยกับธนาคารในการปล่อยสินเชื่อ และในช่วงเริ่มต้นบริการสินเชื่อนั้นคุณเสถียรได้กล่าวว่าอาจเริ่มต้นที่ 5 ถึง 10 ราย ในไม่กี่สาขาทั่วประเทศ ก่อนที่จะขยายเพิ่มมากขึ้น

คุณพัชร ยังชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากความร่วมมือดังกล่าวนี้ไล่ตั้งแต่เจ้าของร้าน คู่ค้า ชาวบ้านในชุมชน สามารถจับจ่ายใช้สอยและใช้บริการการเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารได้ง่ายขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นคือการสร้างรายได้หมุนเวียนขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชน

ท้ายที่สุดแล้วสำหรับความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้ประชาชนได้สินค้าคุณภาพดี แม้ต่อให้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็ตาม ขณะเดียวกันยังทำให้ประชาชนระดับฐานรากที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินนั้นสามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน หรือแม้แต่สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งทำให้โอกาสที่ชาวบ้านจะไปใช้บริการของเงินกู้นอกระบบลดลง และเมื่อชาวบ้านระดับฐานรากเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจในชุมชนเองหมุนเวียน สร้างโอกาสและการพัฒนาใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับร้านถูกดี มีมาตรฐาน คลิก https://bit.ly/3ayuAzd

]]>
1394408
ค้าปลีก 2565 ปัจจัย “เงินเฟ้อ” ยังรุมเร้า ผู้บริโภคเน้นซื้อสินค้าจำเป็น แฟชั่น-บิวตี้ยังฟื้นตัวช้า https://positioningmag.com/1389653 Wed, 22 Jun 2022 09:41:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389653
  • SCB EIC คาดมูลค่าธุรกิจ “ค้าปลีก” 2565 กลับมาโต 11% YoY จากการเปิดเมือง การท่องเที่ยวฟื้น แต่ปัจจัยลบยังรุมเร้าจากค่าพลังงานที่เพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลต่อราคาสินค้าและกำลังซื้อผู้บริโภค
  • การฟื้นตัวจะไม่เท่ากันในแต่ละกลุ่มสินค้า กลุ่มของสด (grocery) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นจะฟื้นตัวได้ดี รวมถึงกลุ่มซ่อมแซมตกแต่งบ้านและสวน ยังไปได้ดีจากพฤติกรรมอยู่บ้านมากขึ้น ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยกลุ่มแฟชั่นและบิวตี้ยังฟื้นอย่างช้าๆ
  • ช่องทางค้าปลีกที่ได้อานิสงส์คือกลุ่มร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และอีคอมเมิร์ซ ส่วนห้างสรรพสินค้าและร้านเครื่องสำอางจะยังซบเซา
  • SCB EIC เปิดรายงานคาดการณ์ธุรกิจ “ค้าปลีก” ปี 2565 คาดการณ์ว่า ตลาดจะกลับมาโต 11% YoY หรือคิดเป็นมูลค่า 3.45 ล้านล้านบาท (ยังต่ำกว่าปี 2562 ซึ่งมีมูลค่าตลาด 3.48 ล้านล้านบาท) เนื่องจากผู้บริโภคมีการเดินทาง ออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รวมถึงการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ ช่วยเสริมกำลังซื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564

    อย่างไรก็ตาม EIC มองว่า “ปัจจัยลบยังมีมากกว่าปัจจัยบวก” เพราะราคาพลังงานพุ่งสูง ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2565 พบว่า หมวดไฟฟ้า ประปา เชื้อเพลิง ปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว 14.4% นับตั้งแต่ต้นปี 2565 ซึ่งมีผลต่อต้นทุนราคาสินค้าเกือบทุกหมวดปรับราคาขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์ ขึ้นมา 15.5% และหมวดการขนส่งและการสื่อสารขึ้นมาแล้ว 10.8%

    เมื่อรวมกับปัจจัยหนี้ครัวเรือนสูง และอัตราว่างงานสูง ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่ำ และจะส่งผลต่อการเลือกจับจ่ายของผู้บริโภค สินค้าแต่ละกลุ่มในธุรกิจค้าปลีกจะฟื้นตัวแบบไม่เท่ากัน

     

    ของสด-แต่งบ้าน สินค้าจำเป็นที่ผู้บริโภคซื้อมากขึ้น

    สำหรับกลุ่มสินค้าที่ EIC คาดว่าจะฟื้นตัวได้ดีคือกลุ่มของจำเป็น ได้แก่ ของสด (grocery) และ สินค้าซ่อมบ้านและตกแต่งบ้าน

    กลุ่มสินค้าของสดนั้นคาดว่าปี 2565 จะโต 12% YoY ทำให้มูลค่าใกล้เคียงกับปี 2562

    ส่วนสินค้าซ่อมบ้านและแต่งบ้านคาดว่าจะโต 4% YoY กลับมาใกล้เคียงปี 2562 เช่นกัน เนื่องจากบ้านที่มีอายุมาก อายุบ้าน 11-20 ปีจะต้องการรีโนเวตครั้งใหญ่ และอายุบ้าน 5-10 ปี จะต้องการเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ สองกลุ่มนี้รวมกันคิดเป็นสัดส่วน 42% ของที่อยู่อาศัย รวมถึงบ้านอายุน้อยกว่า 5 ปีก็มีการตกแต่งบ้านจากเทรนด์ “อยู่บ้าน” มากขึ้น ทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้เติบโตได้

     

    บิวตี้-แฟชั่น ยังฟื้นกลับมาไม่เต็มที่

    ด้านสินค้าบิวตี้นั้น EIC เชื่อว่าปีนี้จะโต 13% YoY แต่เนื่องจากสองปีที่ผ่านมาตลาดหดตัวอย่างมาก ทำให้การฟื้นตัวนี้ยังไม่ใกล้เคียงปี 2562 ต้องรอให้การกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติมากขึ้นก่อน

    สินค้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย และรองเท้าก็เช่นกัน คาดว่าจะโต 14% YoY แต่ยังไม่ใกล้เคียงปี 2562 เนื่องจากผู้บริโภคยังระมัดระวังการใช้จ่ายไปกับสินค้าฟุ่มเฟือย ยกเว้นตลาดระดับลักชัวรีซึ่งพยุงตัวได้มากกว่า เพราะถึงแม้ว่าลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติยังกลับมาไม่มากเท่าก่อนเกิดโรคระบาด แต่ในทางกลับกันลูกค้าคนไทยก็หันมาช้อปภายในประเทศแทน เพราะยังไม่สะดวกเดินทางออกต่างประเทศ

    2565 ค้าปลีก

     

    ช่องทางการขายมีทั้งคึกคักและซบเซา

    จากกลุ่มสินค้าที่มีทั้งกลับมาฟื้นตัวสุดขีด และกลุ่มที่ยังฟื้นแบบช้าๆ ทำให้ช่องทางการขายที่จะได้อานิสงส์มากที่สุดปีนี้คือ “ร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต” เพราะเป็นช่องทางขายของสด และผู้ประกอบการมีการปรับโมเดลส่งซูเปอร์ฯ ไซส์เล็กเข้าหาแหล่งชุมชนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อจากสาขาใกล้บ้าน (กลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตจะต้องมีการปรับตัวต่อไป)

    อีคอมเมิร์ซ ยังเป็นช่องทางมาแรงสำหรับธุรกิจค้าปลีก

    ขณะที่ช่องทางที่น่าจะยังซบเซา ฟื้นตัวได้ไม่มาก คือ “ห้างสรรพสินค้า” ซึ่งเป็นแหล่งขายสินค้ากลุ่มแฟชัน-บิวตี้เป็นหลัก รวมถึง “รีเทลขายเครื่องสำอาง” โดยเฉพาะ ยกเว้นร้านกลุ่มดรักสโตร์ที่มีการขายยาและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพด้วย กลุ่มนี้จะยังได้กระแสรักสุขภาพของคนไทยในช่วงที่ผ่านมาช่วยพยุงยอดขายไว้ได้

    ช่องทางที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่งคือ “อีคอมเมิร์ซ” EIC คาดว่ามูลค่าตลาดการขายผ่านช่องทางนี้จะโต 24% YoY ในปี 2565 เพราะเป็นช่องทางที่ซื้อสินค้าได้หลากหลาย และเติบโตขึ้นมากจากความสะดวกในช่วงเกิด COVID-19 แม้ว่าจะคลายล็อกดาวน์แล้ว แต่จากการสำรวจความเห็นผู้บริโภคพบว่า 26% จะใช้อีคอมเมิร์ซซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นอีกเทียบกับการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 และมี 24% ที่จะยังซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยความถี่คงเดิม ทำให้ช่องทางนี้จะยังคงความสำคัญต่อไป

    ]]>
    1389653
    7-Eleven ญี่ปุ่น ปรับทิศบุกตลาด ‘เดลิเวอรี่’ ส่งเร็วถึงบ้านให้ได้ 20,000 สาขาทั่วประเทศ https://positioningmag.com/1348295 Tue, 24 Aug 2021 09:33:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348295 เมื่อยอดขายโดยรวมของตลาดร้านสะดวกซื้อ โตไม่เร็วเท่าอีคอมเมิร์ซ ต้องยกเครื่องครั้งใหญ่ รับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ล่าสุด 7-Eleven ญี่ปุ่น ปรับทิศจับทางเดลิเวอรี่ ตั้งเป้าส่งเร็วใน 30 นาที กระจาย 20,000 สาขาทั่วประเทศ สู้ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon

    กลยุทธ์ใหม่นี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความตกต่ำของตลาดร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น จากการสำรวจของ Nikkei Asia พบว่าในช่วงวิกฤตโควิด ยอดขายของทั้งอุตสาหกรรมลดลงราว 6.1% มาอยู่ที่ประมาณ 11.8 ล้านล้านเยน ในปี 2020 นับเป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่ปี 1981

    สวนทางกับการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ’ ในญี่ปุ่น ที่เติบโตขึ้นถึง 22% มาอยู่ที่ประมาณ 12.2 ล้านล้านเยน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ‘stay-at-home consumption’ การบริโภคที่อยู่บ้านที่เพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นยอดขายโดยรวมของฝั่งอีคอมเมิร์ซ ให้แซงหน้าร้านสะดวกซื้อได้เป็นครั้งแรก ในช่วงปีที่ผ่านมา

    Seven & i บริษัทเเม่ของ 7-Eleven ในญี่ปุ่น คาดว่า บริการเดลิเวอรี่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของบริษัทได้ โดยปัจจุบันได้เริ่มเปิดให้บริการจัดส่งจากร้านค้าไปเเล้ว ประมาณ 550 แห่งในพื้นที่เมืองโตเกียว ฮอกไกโด และฮิโรชิมะ ก่อนที่จะขยายไปสู่ 20,000 สาขาทั่วประเทศ ภายในปีงบประมาณ 2026

    ร้านค้าไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้าคงคลังด้วย” Ryuichi Isaka ประธานของ Seven & i กล่าวกับ Nikkei Asia 

    พร้อมระบุข้อได้เปรียบอีกว่า “บริการ (เดลิเวอรี่) นี้ สามารถขยายได้ในเวลาอันสั้น โดยไม่ต้องลงทุนมากนัก”

    ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ 7-Eleven ญี่ปุ่น ที่มีอาหารและสินค้าประจำวันต่างๆ กว่า 3,000 รายการ ซึ่งการซื้อทุกครั้งเเนะนำว่าควรมีมูลค่ามากกว่า 1,000 เยน (ราว 300บาท) โดยมีค่าธรรมเนียมจัดส่งเพิ่มเติม 330 เยน (ราว 99 บาท) ซึ่งบริการนี้จะเปิดทำการจนถึงเวลา 23.00 . ในทุกวัน

    คาดว่าแต่ละร้านจะมีรัศมีการจัดส่งประมาณ 500 เมตร แต่อาจขยายได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเเต่ละพื้นที่

    สำหรับการจัดส่งนั้น Seven & i ได้ร่วมมือกับบริษัทโลจิสติกส์ในท้องถิ่นประมาณ 10 แห่ง พร้อมพัฒนาแพลตฟอร์มด้วยการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านเส้นทางและการประสานงานระหว่างคนขับ

    ปัจจุบัน เเม้บริการนี้ยังไม่ฮอตฮิตมากนัก แต่ละสาขามีการจัดส่งไม่กี่ครั้งต่อวัน เเต่ทางบริษัทหวังว่า จะเพิ่มการใช้งานเป็น 15 ครั้งต่อวันหรือมากกว่านั้น ผ่านการขยายบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และใช้กลยุทธ์ตลาดต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น

    ด้านคู่เเข่งธุรกิจร้านสะดวกซื้ออีกเจ้าอย่าง Lawson ก็ได้เริ่มให้บริการผ่านเดลิเวอรี่เช่นกัน เเละขยายได้เร็วกว่า 7-Eleven โดยขณะนี้ มีร้านที่พร้อมส่งเดลิเวอรี่กว่า 2,000 แห่ง ใน 32 จังหวัด ผ่านการจับมือกับ ‘Uber Eats’ โดย Lawson วางแผนจะเพิ่มจำนวนร้านค้าเป็น 3,000 แห่งภายในปีงบประมาณ 2022

    ทั้งนี้ ยอดการใช้จ่ายเเบบเดลิเวอรี่ของลูกค้า 7-Eleven ในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14.50 ดอลลาร์ (ราว 478 บาท) ต่อบิล เพิ่มขึ้นถึง 1.7 เท่า จากของยอดขายหน้าร้าน เนื่องจากคนอยู่บ้านกันมากขึ้นในช่วงโรคระบาด

     

     

    ที่มา : Nikkei Asia 

    ]]>
    1348295
    สหรัฐฯ สั่ง 7-Eleven ขายสาขาเกือบ 300 แห่ง ป้องกันการผูกขาด https://positioningmag.com/1339208 Sun, 27 Jun 2021 15:02:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339208 คณะกรรมการการค้ารัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีคำสั่งให้ 7-Eleven ในสหรัฐฯ ขายสาขาเกือบ 300 แห่ง หลังจากบริษัทค้าปลีกรายใหญแห่งนี้เพิ่งทุ่มเงิน 21,000 ล้านดอลลาร์ เข้าซื้อกิจการสปรีดเวย์ ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ และสถานีบริการน้ำมันจากมาราธอน ปิโตรเลียม

    มาราธอน ปิโตรเลียม เจ้าของเครือข่ายสปรีดเวย์ และ 7-Eleven ซึ่งมีเซเว่นแอนด์ไอ โฮลดิ้งส์ (Seven & I Holdings Co Ltd) บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ แถลงเมื่อเดือนที่แล้วว่า พวกเขาใกล้บรรลุข้อตกลงซื้อขายกิจการมูลค่า 21,000 ล้านดอลลาร์ ในนั้นรวมถึงธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 3,800 สาขาใน 36 รัฐ

    รอยเตอร์สอ้างความเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับสูง 2 รายของคณะกรรมการการค้าสหรัฐฯ (เอฟทีซี) ซึ่งเคยบอกว่า ข้อตกลงนี้มีความเป็นไปได้ที่จะไม่ชอบธรรมตามกฎหมาย ด้วยพวกเขามีความกังวลว่ามันจะทำให้เกิดการผูกขาดทางการค้า

    สืบเนื่องจากตลาดน้ำมันเบนซิน และดีเซล คือธุรกิจท้องถิ่น จึงเกิดเสียงคร่ำครวญกล่าวอ้างว่าการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดน้ำมัน 293 แห่งใน 20 รัฐของอเมริกา

    ในคำสั่งที่เป็นไปตามความยินยอมของทั้ง 2 บริษัท ทางคณะกรรมการการค้าสหรัฐฯ (เอฟทีซี) บังคับให้ 7-Eleven และมาราธอน ขายร้านสะดวกซื้อ และสถานีบริการน้ำมันให้แก่บรรดาบริษัทคู่แข่ง 293 สาขา ประกอบด้วย อานาบี ออย 124 แห่ง ครอสส์ อเมริกา พาร์ทเนอร์ส 106 แห่ง และแจ็ควัน ฟู้ด สโตร์ส 63 แห่ง

    Source

    ]]>
    1339208
    OR ไฟเขียวต่อสัญญาร้านสะดวกซื้อ ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ ในปั๊มน้ำมัน PTT Station อีก 10 ปี https://positioningmag.com/1333898 Wed, 26 May 2021 12:22:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333898 เป็นไปตามคาด บอร์ด OR ต่อสัญญาร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น’ (7-Eleven) ในปั๊มน้ำมัน PTT Station อีก 10 ปี

    บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ได้ต่อสัญญาหลักความร่วมมือการดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมันเครือข่ายของ OR กับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เพื่อดำเนินการร้านค้า 7-Eleven (ในประเทศไทย)

    โดยครั้งนี้เป็นการต่ออายุสัญญาจากสัญญาเดิม ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อให้การดำเนินงานในส่วนของธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ 7-Eleven ในสถานีบริการน้ำมันเครือข่ายของ OR มีความต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจของ OR ทั้งนี้จะมีการเข้าทำสัญญาตามที่ได้ตกลงกับคู่สัญญาต่อไป

    เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา OR เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ของปี 2564 ระบุว่า มีกำไรสุทธิ 4,002 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,079 ล้านบาท หรือคิดเป็น 36.9% จากไตรมาสก่อน คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.38 บาท สูงกว่าไตรมาสก่อน 0.06 บาท หรือเพิ่มขึ้น 18.8%

    สำหรับผลการดำเนินงานของ OR ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีรายได้ขายและบริการ 118,460 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,964 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.2% จากไตรมาสก่อน

    โดยรายได้หลักมาจากกลุ่มธุรกิจน้ำมัน ซึ่งมีราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์น้ำมัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก สอดคล้องกับรายได้กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น

    ส่วนรายได้กลุ่มธุรกิจ Non-Oil นั้นในไตรมาสที่ผ่านมา มีรายได้รวม 4,086 ล้านบาท ลดลง 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้อุปสงค์ของผู้บริโภคลดลง

    ทั้งนี้ OR มีร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ 7-Eleven และภายใต้แบรนด์ Jiffy รวม 1,995 สาขา ทั้งในประเทศไทยและสปป.ลาว

    ด้านผลประกอบการของ CPALL ในไตรมาส 1 ปี 2564 นั้น เเม้ไม่ได้หยุดให้บริการร้านสะดวกซื้อ ‘เซเว่น อีเลฟเว่นเเต่ก็มีรายได้และกำไรลดลง

    โดยมีรายได้รวม 133,431 ล้านบาท ลดลง 8.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,599 ล้านบาท หรือ 0.26 บาทต่อหุ้น ลดลง 53.95% จากไตรมาส 1 ของปี 2563 ที่มีกำไร 5,645 ล้านบาท หรือ 0.60 บาทต่อหุ้น

    เมื่อเจาะลงไปใน ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ ในไตรมาส 1/64 มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ รวม 70,450 ล้านบาท ลดลง 15% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 947 ล้านบาท ลดลงถึง 75.4%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

    จำนวนลูกค้าลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 845 คนต่อวัน และมียอดใช้จ่ายต่อบิลประมาณ 77 บาท ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อร้านต่อวันอยู่ที่ 65,024 บาท และยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิมลดลง 17.1%

     

     

    ]]>
    1333898
    โควิดสะเทือน ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ ไตรมาส 1/64 ลูกค้า-ยอดขายต่อสาขาลดลง กำไรวูบ 75% https://positioningmag.com/1331873 Wed, 12 May 2021 13:55:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331873 พิษโควิด สะเทือนร้านสะดวกซื้อ ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ (7-Eleven) เเม้ไม่ได้หยุดบริการ เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปีนี้ มีรายได้และกำไรลดลง เเต่ขอมุ่งลงทุน 1.15-1.2 หมื่นล้านบาท เปิดสาขาใหม่อีก 700 สาขาตามเเผนเดิม

    บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ผลประกอบการประจำไตรมาส 1 ปี 2564 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า มีรายได้รวม 133,431 ล้านบาท ลดลง 8.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

    ส่วน กำไรสุทธิอยู่ที่ 2,599 ล้านบาท หรือ 0.26 บาทต่อหุ้น ลดลง 53.95% จากไตรมาส 1 ของปี 2563 ที่มีกำไร 5,645 ล้านบาท หรือ 0.60 บาทต่อหุ้น

    สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้รายได้ของ CPALL ลดลงคือยอดขายเเละและบริการในธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ‘เซเว่น อีเลฟเว่น ที่ลดลง จากผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบทางลบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยอีกครั้งโดยเฉพาะในเดือนม.. ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย กำลังซื้อลดลง รวมถึงการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัว นอกจากนี้ ยังมีภาระดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน

    ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่นๆ คิดเป็น 61% และธุรกิจค้าส่งแม็คโคร 39% ส่วนกำไรจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่นๆ มีสัดส่วน 40%  กำไรจากธุรกิจค้าส่งแม็คโคร สัดส่วน 60%

    เมื่อเจาะลงไปในเซเว่น อีเลฟเว่นในไตรมาส 1/64 มีรายได้ราวจากการขายสินค้าและบริการ รวม 70,450 ล้านบาท ลดลง 15% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 947 ล้านบาท ลดลงถึง 75.4%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

    จำนวนลูกค้าลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 845 คนต่อวัน และมียอดใช้จ่ายต่อบิลประมาณ 77 บาท ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อร้านต่อวันอยู่ที่ 65,024 บาท และยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิมลดลง 17.1%

    ที่ผ่านมาเซเว่น อีเลฟเว่น ได้ขยายไปยังช่องทางการขายใหม่ๆอย่าง 7-Eleven Delivery, All Online และ 24Shopping แต่ก็ชดเชยรายได้ได้เพียงบางส่วน โดยได้เปิดสาขาใหม่ไปทั้งหมด 155 สาขา แบ่งเป็นร้านสาขาบริษัท 131 สาขา สาขา SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 24 สาขา ทำให้มีสาขารวม 12,587 สาขา

    สำหรับเเผนปีนี้ CPALL ยังคงยืนยันจะเดินหน้าลงทุนตามเเผนเดิม โดยตั้งเป้าจะเปิดร้านสะดวกซื้อสาขาใหม่อีกประมาณ 700 สาขา ใช้งบลงทุนประมาณ 11,500-12,000 ล้านบาท แบ่งเป็น

    เปิดร้านสาขาใหม่ 3,800-4,000 ล้านบาท

    ปรับปรุงร้านเดิม 2,400-2,500 ล้านบาท

    โครงการใหม่ บริษัทย่อย และศูนย์กระจายสินค้า 4,000-4,100 ล้านบาท

    สินทรัพย์ถาวร และระบบสารสนเทศ 1,300-1,400 ล้านบาท

    CPALL มองแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกในปี 2564 ว่าสถานการณ์โควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบในเชิงลบต่อรายได้และค่าใช้จ่าย ยังมีความไม่เเน่นอนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและการดำเนินธุรกิจ จึงต้องปรับตัวตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา

    อ่านรายละเอียด : SET 

    ]]>
    1331873
    7-Eleven สหรัฐฯ เจาะฟาสต์ฟู้ด เปิดสาขา Drive-Thru แห่งแรก ชูเมนูพิเศษ เน้นซื้อง่ายขายเร็ว https://positioningmag.com/1324750 Wed, 24 Mar 2021 11:08:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324750 เชนร้านสะดวกรายใหญ่ของโลกอย่าง ‘7-Eleven’ เร่งเจาะตลาดอาหารฟาสต์ฟู้ดมากขึ้น ล่าสุดประเดิมเปิดสาขา Drive-Thru แห่งแรกในสหรัฐฯ ให้ลูกค้าเข้ามาซื้อได้ง่าย รวดเร็วไม่ต้องลงจากรถ

    ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เเบรนด์ฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ต้องปรับตัวเพิ่มช่องทางการขาย ทั้ง Taco Bell, McDonald’s และ Burger King ต่างทยอยเปิดตัวนวัตกรรมใหม่เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น รวมไปถึงเชนร้านอาหารอย่าง Chipotle และ Shake Shack ก็มีการเพิ่มสาขาเเบบ Drive-thru ขึ้นอย่างรวดเร็ว

    ลูกค้าที่กำลังมองหาวิธีเว้นระยะห่างจากสังคมในการทานอาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารเย็น จะต้องชอบบริการเเบบ Drive-Thru อย่างแน่นอน Chris Tanco ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ 7-Eleven ระบุในแถลงการณ์

    Drive-Thru แห่งแรกของ 7-Eleven ในสหรัฐฯ จะตั้งอยู่ที่เมืองดัลลัส เป็นสาขาที่มีรูปแบบ ‘Evolution’ คือเป็นร้านที่จะทดลองขายเครื่องดื่มเเละเมนูใหม่ๆ ก่อนกระจายไปวางจำหน่ายในสาขาอื่นๆ ต่อไป ทำให้ลูกค้าที่เดินเข้ามาในร้าน 7-Eleven เเบบ Evolution จะได้พบกับกาแฟสูตรพิเศษ ขนมอบสูตรใหม่ ไวน์เเละเบียร์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเเละเครื่องสำอาง ฯลฯ

    โดยสาขา Drive-Thru จะเปิดให้บริการในเวลา 05.00-22.00 . ในช่วงวันอาทิตย์ถึงวันพฤหัสบดี และถึง 23.00 . ในวันศุกร์และวันเสาร์ (ส่วนสาขาทั่วไปของ 7-Eleven ในสหรัฐฯ จะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)

    สำหรับเมนูของที่นี่ ลูกค้าจะได้พบกับ ‘ทาโก้’ บนแป้งตอร์ติญาเเบบโฮมเมดจาก Laredo Taco ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดสไตล์เม็กซิกัน เเละมีเครื่องดื่มให้เลือกอีกกว่า 30 เมนู ตามคอนเซ็ปต์หยิบทาโก้สุดอร่อยขึ้นมาพร้อมกับเครื่องดื่ม Slurpee ได้อย่างสะดวกสบาย เพียงขับรถผ่าน

    ย้อนกลับไป เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2020 ที่ผ่านมา Seven & i บริษัทเเม่ของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในญี่ปุ่น บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อ กิจการ Speedway ร้านสะดวกซื้อและสถานีบริการน้ำมันในอเมริกา ของ Marathon Petroleum ด้วยมูลค่า 2.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ 

    Seven & i เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในตลาดร้านสะดวกซื้อในอเมริกา ด้วยการขยายสาขากว่า 9,000 แห่ง ตามมาด้วยอันดับ 2 อย่าง Alimentation Couche-Tard เจ้าของร้าน Circle K จำนวน 8,000 สาขา เเละอันดับ 3 อย่าง Speedway ที่มีสาขาประมาณ 4,000 แห่ง

    การรวมกันของเจ้าตลาดร้านสะดวกซื้ออันดับ 1 เเละ 3 ในครั้งนี้ เเม้จะมีมูลค่ามหาศาลเเต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะจะทำให้ Seven & i เป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่นที่มีอิทธิพลในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างสหรัฐฯ ด้วยจำนวนสาขาในสหรัฐฯ และแคนาดากว่า 14,000 แห่ง โดยคาดว่าจะสามารถปิดดีลได้ในไตรมาสแรกของปี 2021

    อ่านเพิ่มเติม : ร้านสะดวกซื้อญี่ปุ่น ครองตลาดอเมริกา บริษัทแม่ 7-Eleven เข้าซื้อปั๊มน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐฯ

     

    ที่มา : CNN , Business insider

    ]]>
    1324750
    โควิดสะเทือนรายได้ ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ หาย 3 หมื่นล้าน ฉุดกำไร CPALL ปี’63 วูบ 27.9% https://positioningmag.com/1320464 Mon, 22 Feb 2021 13:08:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320464 พิษโรคระบาดทำคนใช้จ่ายน้อย ปี 2563 รายได้ร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น(7-Eleven) ลด 10% หายไป 3 หมื่นล้าน เหลือ 3 เเสนล้าน ฉุดกำไร CPALL ร่วง 27.9% ‘แม็คโครยังโตรายได้เพิ่ม วางเเผนปีนี้ทุ่มลงทุนร้านสะดวกซื้ออีก 1.2 หมื่นล้าน

    วันนี้ (22 ..2564) เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการเงิน บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงผลการดำเนินงานปี 2563 โดยบริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้รวม 546,590 ล้านบาท ลดลง 4.3% จากปีก่อน โดยมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ 525,884 ล้านบาท ลดลง 4.5%

    มีต้นทุนในการจัดจําหน่ายและค่าใช้จ่ายในการบริหาร 107,858 ล้านบาท ลดลง 3.3% มีกําไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จํานวน 19,262 ล้านบาท ลดลง 28.0% จากปีก่อน และมีกําไรสุทธิ 16,102 ล้านบาท ลดลง 27.9%

    ปัจจัยหลักๆ มาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง เเละมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้จำนวนลูกค้าที่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยลดลง รวมไปถึงการมีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการถือปฎิบัติตาม TFRS16

    สำหรับธุรกิจร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น’ (7-Eleven) ในปี 2563 มีรายได้รวม 300,705 ล้านบาท ลดลง 33,356 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% มีกําไรขั้นต้นจํานวน 83,724 ล้านบาท ลดลง 10,103 ล้านบาท คิดเป็น 10.8% โดยมีสัดส่วนกําไรขั้นต้น 27.8% ลดลงจากปีก่อนหน้าที่อยู่ 28.1%

    รายได้ของเซเว่น อีเลฟเว่นที่ลดลงดังกล่าว สาเหตุหลักๆ มาจากการขายสินค้าและบริการ ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ทําให้การประหยัดต่อขนาดที่ศูนย์กระจายสินค้าลดลง รวมถึงสัดส่วนของรายได้จากการขายสินค้าที่มีอัตรากําไรขั้นต้นสูงลดลง

    ยอดขายเฉลี่ยของร้านเดิมในปี 2563 ลดลง 14.5% โดยมียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันเท่ากับ 70,851 บาท มียอดซื้อต่อบิลโดยประมาณเท่ากับ 75 บาท ขณะที่จํานวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 949 คน

    ด้านธุรกิจศูนย์จําหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชําระเงินสดและบริการตนเอง (ธุรกิจแม็คโคร) ยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตของรายได้ จากการขายและบริการไว้ได้ในระดับหนึ่งจากการเติบโตของธุรกิจแม็คโครประเทศไทย และสาขาในประเทศอินเดียและกัมพูชา

    โดยแม็คโคร มีกําไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ก่อนหักรายการระหว่างกัน 8,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% จากปีก่อน

    ขณะที่ กลุ่มธุรกิจอื่นมีกําไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 4,543 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.4% จากปีก่อน เพราะมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีการบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม

    ในปี 2564 CPALL มีแผนจะลงทุนเปิดร้านสะดวกซื้อสาขาใหม่ อีกราว 700 สาขา คาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 11,500 – 12,000 ล้านบาทเเบ่งเป็น

    • เปิดร้านสาขาใหม่ ลงทุนราว 3,800 – 4,000 ล้านบาท
    • ปรับปรุงร้านเดิม ลงทุนราว  2,400 – 2,500 ล้านบาท
    • โครงการใหม่, บริษัทย่อยและศูนย์กระจายสินค้า ลงทุนราว 4,000 – 4,100 ล้านบาท
    • สินทรัพย์ถาวร และระบบสารสนเทศ ลงทุนราว 1,300 – 1,400 ล้านบาท

    ขณะเดียวกันก็จะวางเเผนเพิ่มตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) เเละช่องทางขายทางออนไลน์ อย่าง ALL Online ผ่าน 7-Eleven.TH Application ShopAt24 เเละเเอปพลิเคชัน 7-delivery เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

     

    ที่มา : SET 

    ]]>
    1320464
    “ลอรีอัล” บุกไซส์เล็ก! ส่ง “ลิปสติกซอง” เมย์เบลลีน นิวยอร์ก จับตลาดสวยสะดวกซื้อ https://positioningmag.com/1320107 Thu, 18 Feb 2021 16:55:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320107 ลอรีอัล ประเทศไทย เดินหน้าปลุกตลาดความงาม ส่งลิปสติกจิ้มจุ่มแบบซอง จากเมย์เบลลีน นิวยอร์ก เพิ่มทางเลือกแก่ผู้บริโภคไทยผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อ และไฮเปอร์มาร์เก็ต

    เทรนด์ซองยังมาแรง

    เป็นที่ทราบกันดีว่าตลาดซาเช่ หรือแพ็กเกจจิ้งแบบซองยังมีการเติบโต และเป็นที่นิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสินค้ากลุ่มอุปโภค หรือเทรนด์ล่าสุดก็คงจะเป็นเครื่องสำอางซอง สกินแคร์แบบซอง สามารถพบเห็นหลายแบรนด์ลงมาบุกตลาดกันเนืองแน่น

    เหตุผลหลักที่คนไทยชอบแพ็กเกจจิ้งแบบซองนั้น เนื่องจากมีความรู้สึกว่าราคาไม่แพงในการซื้อต่อครั้ง เพราะเครื่องสำอางซอง หรือสกินแคร์ซองมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 20-40 บาท สามารถใช้งานได้หลายวัน หลายคนรู้สึกดีกว่าที่ต้องเสียเงินในจำนวนเต็มเพื่อซื้อขนาดจริง แม้ว่าเมื่อเทียบกับปริมาณแล้ว ขนาดจริงจะคุ้มค่ากว่าก็ตาม

    อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ เป็นการทดลองสินค้าไปในตัว หรือจะให้เครื่องสำอางซองเหล่านี้เป็นเทสเตอร์แบบกลายๆ อีกทั้งยังพกพาง่าย สามารถใส่กระเป๋าเดินทางได้สะดวก

    เราจึงได้เห็นแบรนด์ใหญ่ๆ ลงมาจับตลาดเครื่องสำอางซองกันมากมาย แม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่าง “ลอรีอัล” ก็ไม่ตกขบวน ซึ่งก่อนหน้านี้ลอรีอัลเคยออกรองพื้นฟิตมีในรูปแบบซองมาแล้ว เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย กระตุ้นการทดลองใช้ได้อย่างดี

    ล่าสุดได้เปิดตัว “ลิปสติกซอง” เป็นครั้งแรก ในแบรนด์ “เมย์เบลลีน นิวยอร์ก เซนเซชั่นแนล ลิควิด แมท” เป็นลิปสติกแบบจิ้มจุ่ม ได้นำสินค้าจากรูปแบบแท่งมาอยู่ในซอง มาพร้อม 4 เฉดสี ในราคา 59 บาท เริ่มจำหน่ายที่โลตัส โลตัสเอ็กซ์เพรส มินิบิ๊กซี ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าเครื่องสำอางทั่วไป

    อินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ ลอรีอัล ประเทศไทย

    อินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ ลอรีอัล ประเทศไทย บอกว่า

    “อุตสาหกรรมความงามในประเทศไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ก่อนสถานการณ์โควิดย้อนไปตั้งแต่ปี 2556 อุตสาหกรรมความงามไทยเติบโตโดยเฉลี่ยประมาณกว่า 7% ทุกปี แม้ในปี 2563 จะเป็นปีที่ท้าทายที่อุตสาหกรรมความงามได้รับผลกระทบโดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องสำอาง และมีผู้เล่นแข่งขันในตลาดมากมาย แต่ลอรีอัล ประเทศไทย ยังสามารถครองตำแหน่งบริษัทยอดขายอันดับ 1 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า และเครื่องสำอางในประเทศไทยในปัจจุบัน”

    การออกลิปสติกซองในครั้งนี้ เป็นการบุกตลาด “ร้านสะดวกซื้อ” มากขึ้น เพราะเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลต่อคนในยุคปัจจุบัน มีการใช้บริการบ่อย อีกทั้งในเรื่องของราคายังเข้าถึงได้ง่าย กระุต้นการทดลองใช้ อีกทั้งยังสามารถซื้อเก็บได้หลายๆ สี เพราะเชื่อว่าสาวๆ ต้องไม่มีลิปสติกสีเดียวอย่างแน่นอน!

    ]]>
    1320107