ศูนย์การค้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 17 Dec 2024 05:53:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เซ็นทรัลพัฒนา” ยืนหนึ่งศูนย์การค้าไทย พาคู่ค้าเติบโตไปด้วยกัน มุ่งมั่นเป็น Your Success Partner ให้ทุกแบรนด์ https://positioningmag.com/1503268 Tue, 17 Dec 2024 06:47:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1503268

หากจะพูดถึงอุตสาหกรรมที่มีใกล้ชิดการใช้ชีวิตประจำวันมากที่สุด หนึ่งในนั้นต้องมี “ค้าปลีก” อย่างแน่นอน นอกจากจะเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมีเม็ดเงินหมุนเวียนมหาศาล ดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติ เกิดการจ้างงานในชุมชน ยังเป็นการสร้างคอมมูนิตี้ให้เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตของพื้นที่นั้นๆ

ซึ่ง “เซ็นทรัลพัฒนา” เป็นผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไทย มีโครงการครอบคลุมทุกกลุ่ม ตั้งแต่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล, โครงการที่อยู่อาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะ “ศูนย์การค้า” ที่ปักหมุดเป็น World Destination ไปแล้วเรียบร้อย การที่เซ็นทรัลพัฒนาขึ้นแท่นเป็นศูนย์การค้าเบอร์หนึ่งได้จนถึงทุกวันนี้ นอกจากจะมีการพัฒนาโครงการครอบคลุมทุก Strategic Location แล้ว “ร้านค้า” หรือพาร์ทเนอร์ก็เป็นหัวใจสำคัญไม่น้อย เพราะเป็นแม็กเน็ตหลักที่จะช่วยดึงลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการในศูนย์ฯ ได้


ไม่ใช่แค่คู่ค้า แต่เป็น Your Success Partner ทุกมิติ

จุดแข็งอย่างแรกที่ทำให้เซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มือทองนั่นคือ ประสบการณ์ในวงการค้าปลีกกว่า 45 ปี ปั้นศูนย์การค้า 41 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 18 โครงการ ต่างจังหวัด 23 โครงการ รวมไปถึงที่ประเทศมาเลเซียอีก 1 แห่ง ด้วยประสบการณ์ขั้นเซียนจึงเป็นที่ไว้วางใจของทั้งแบรนด์ไทย และแบรนด์ต่างชาติระดับโกลบอลโดยมีหลายแบรนด์ที่เลือกเซ็นทรัลเวิลด์เปิดร้านสาขาแรก และบางแบรนด์เป็นแฟล็กชิพสโตร์

นายอิศเรศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายขาย บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า

“เซ็นทรัลพัฒนา มุ่งสร้างอนาคตที่ดีและยั่งยืนให้กับทุกคน รวมถึงพันธมิตรคู่ค้า โดยมีศูนย์การค้ากว่า 41 สาขาใน Strategic Prime Locations ทั่วประเทศ และในประเทศมาเลเซียอีก 1 แห่ง พร้อมแบรนด์ร้านค้ากว่า 18,000 ร้านค้า และเป็น House of Global Brands ที่ได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ดังระดับโลก 76 แบรนด์ในการเปิดสาขาแรกในไทย รวมถึงแฟลกชิปสโตร์กว่า 44 แบรนด์ พร้อมซัพพอร์ตการขยายสาขาทั่วประเทศและการสนับสนุนแบรนด์ไทยน้องใหม่มากกว่า 200 แบรนด์ ผ่าน Retail Incubation Program เช่น โครงการ LEAD by Central Pattana หลักสูตรรีเทลหนึ่งเดียวที่ให้ผู้ประกอบการได้เรียนจริง ทำจริง และเติบโตจริง กับเซ็นทรัลพัฒนา

เซ็นทรัลพัฒนาไม่ได้มองร้านค้าเป็นเพียงแค่คู่ค้าอย่างเดียว แต่เป็นพาร์ทเนอร์ระยะยาวที่พร้อมจะเติบโตไปด้วยกัน พร้อมจะเป็น Your Success Partner เป็นเพื่อนคู่คิดตลอดเส้นทางการเติบโตของธุรกิจ ด้วยโลเคชั่นสุดปังสร้างร้านให้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งยังมีเครื่องมือต่างๆ ที่พร้อมติดอาวุธให้พาร์ทเนอร์สร้างการเติบโตแบบ 360 องศา ด้วยเครื่องมือทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ รวมถึง Data Platform ที่ใหญ่และแข็งแรงที่สุดอีกด้วย


ชู 3 จุดแข็ง ช่วยแบรนด์เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน 

ปัจจุบันเซ็นทรัลพัฒนามี Ecosystem ที่แข็งแกร่ง ขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์การค้าหนึ่งเดียวที่รวมกว่า 18,000+ ร้านค้าทั่วประเทศมากที่สุด เป็น House of Global Brands 76 แบรนด์ดังปักหมุดสาขาแรกในไทย และ 44 แฟลกชิพสโตร์ในศูนย์การค้าเซ็นทรัล จากความสำเร็จนี้สะท้อนได้จาก 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

  1. Holistic Partnership

มีทีมงานเฉพาะทางทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่างใกล้ชิดแบบ “Tenant Centric” โดยมีความรู้และประสบการณ์ในการเข้าใจลูกค้าในแต่ละภูมิภาคอย่างลึกซึ้ง นำเสนอ Marketing Solution แบบ 360 องศา ช่วยผลักดันยอดขายและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมถึงการ Co-create กับแบรนด์ เพื่อให้คู่ค้า ผู้ประกอบการท้องถิ่น และชุมชนเข้ามาอยู่ใน Ecosystem ที่ยั่งยืนของเซ็นทรัลพัฒนา พร้อมทำงานร่วมกับแบรนด์ทุกขนาดเพื่อสร้างโอกาสและพัฒนาประสบการณ์ที่เหนือระดับให้กับคู่ค้าและลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

  1. Entrepreneurial Incubator

โปรแกรมเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่ดีที่สุด เป็น Retail Incubation Programme กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักตัวเองและสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้คำแนะนำจากกูรู พร้อมกลยุทธ์ที่ชัดเจน มีสนามให้ทดลองนำแนวคิดใหม่ๆ มาวิเคราะห์และปรับปรุงก่อนใช้จริง ช่วยจุดประกายความยั่งยืนให้ธุรกิจ โดยตัวอย่างเช่น โครงการ ‘LEAD’ by Central Pattana คอร์สรีเทลที่ดีที่สุด เรียนจริง ทำจริง โตจริง สร้างความสำเร็จในการปั้นแบรนด์ใหม่และสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ต่อเนื่องกว่า 200 แบรนด์ ในระยะเวลา 6 ปี ล่าสุด! ได้รับรางวัล Marketing Excellence Awards 2024 และในอนาคต ยังมีโปรแกรมเพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพพร้อมติดอาวุธให้ผู้ประกอบการอีกหลายมิติ ให้พร้อมเติบโต Scale-Up และขยายสาขาไปทั่วประเทศ

  1. The Most Powerful Big Data

แบรนด์คู่ค้า Central Pattana มีอัตราการเติบโตสูงกว่าแบรนด์ทั่วไปถึง 2.7 เท่า เมื่อเข้าร่วม “โปรแกรม The 1 BIZ” Data Platform พร้อมใช้ ให้คู่ค้าเข้าถึง Data ที่ใหญ่และแข็งแรงที่สุด ผ่านการร่วมมือกับ The 1 ที่มีข้อมูลทั้งเชิงลึก และเข้าถึงได้ตรงจุด ด้วยฐานสมาชิกกว่า 21 ล้านคน พร้อมอัดฉีด 360 Marketing investment เพื่อทำ Marketing activation ทั้ง Campaign promotion และ Communication สนับสนุน Platform กว่าอีก 200 ล้านบาทต่อปี ติดปีกคู่ค้าด้วยบทพิสูจน์การเติบโตเพิ่มยอดขายเฉลี่ยให้แบรนด์เพิ่มขึ้นถึง 10% ภายในระยะเวลา 6 เดือนแรกของการเข้าร่วมโปรแกรม

16 แบรนด์ระดับโลก ปักหมุดไทย ลุยเปิดสาขาแรกต่อเนื่อง 

สำหรับในปี 2567 แบรนด์ระดับโลกที่เชื่อมั่นเลือกเปิดสาขาแรกรวมถึงแฟล็กชิปสโตร์กับศูนย์การค้าเซ็นทรัล ล้วนได้รับความนิยมเกิดเป็นกระแสไวรัลไปทั่วประเทศ อาทิ

กลุ่มอาหาร และเครื่องดื่ม

  • HIKINIKU TO COME  ร้านแฮมเบิร์กสุดฮิตจากญี่ปุ่น สร้างกระแสถล่มทลายในไทย
  • KATSU MIDORI ร้านซูชิสายพานเจ้าดังจากญี่ปุ่น
  • TONKATSU AOKI ร้านทงคัตสึเจ้าดังจากญี่ปุ่นที่คนต่อคิวกว่า 2 ชั่วโมง
  • KAZAMA YAKINIKU เนื้อย่างสุดพรีเมี่ยมจากญี่ปุ่น
  • BHC CHICKEN แบรนด์ไก่ทอดเกาหลีสร้างปรากฏการณ์การคิวยาว ยอดขายทะลุเป้ากว่า 300%
  • PIZZA MARU พิซซ่าชื่อดังส่งตรงจากเกาหลี ครั้งแรกในประเทศไทย
  • CHICHA SAN CHEN แฟล็กชิปสโตร์ร้านแรกที่เดียวในไทย กับชาระดับพรีเมียมจากไต้หวัน เป็นแบรนด์ชาแบรนด์เดียวในโลกที่ได้รับรางวัลสูงสุดจาก ITI เทียบเท่ากับรางวัล “มิชลิน 3 ดาว” 6 ปีซ้อน
  • KUMO KUMO CHEESE ร้านชีสเค้กสไตล์ญี่ปุ่นเจ้าดังจากประเทศจีน

กลุ่มแฟชั่น และไลฟ์สไตล์

  • BEYOND THE VINES กระเป๋าแบรนด์ดังจากสิงคโปร์ แฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกและใหญ่ที่สุด
  • RITUALS แบรนด์เครื่องหอมชื่อดังจาก Amsterdam
  • WILSON แบรนด์อุปกรณ์เทนนิสระดับโลก กับคอนเซ็ปต์ 360 Store รูปแบบใหม่แห่งแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • APM MONACO แบรนด์เครื่องประดับหรูจากโมนาโก
  • CASETIFY แบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่เชี่ยวชาญด้านเคสโทรศัพท์และอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ปรับแต่งได้จากฮ่องกง
  • NATIONAL GEOGRAPHIC แบรนด์ร้านเสื้อผ้าและอุปกรณ์ท่องเที่ยวแห่งแรกในประเทศไทย
  • AERIE แบรนด์ชื่อดังจากอเมริกาที่ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้หญิง
  • BOUNCETOPIA สวนสนุกเป่าลมยักษ์อันดับ 1 จากสิงคโปร์แห่งแรกในไทย ใหญ่สุดในเอเชีย เป็นต้น

ทั้งนี้ ในปีนี้ยังมีแบรนด์ระดับโลกที่เลือกกลับมาเปิดใหม่ในไทยอีกครั้งกับเรา อาทิ AESOP แบรนด์สกินแคร์ชั้นนำระดับโลกจากประเทศออสเตรเลียเปิดตัวแฟล็กชิปสโตร์ในคอนเซปต์ใหม่ และ GENKI SUSHI ซูชิสายพานจากญี่ปุ่น ใช้ Kousoku Train รถไฟความเร็วสูงเพื่อเสิร์ฟซูชิถึงโต๊ะ

ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นข้อการันตียืนยันความสำเร็จของการเป็นเบอร์หนึ่งของศูนย์การค้าไทย เป็นจุดหมายปลายทางของแบรนด์ดังระดับโลกที่เลือกศูนย์การค้าเซ็นทรัลเป็นหมุดหมายในการเปิดสาขาแรก รวมไปถึงแบรนด์ไทยชั้นนำก็เลือกเซ็นทรัลพัฒนาในการขยายธุรกิจ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ทั่วประเทศ

นอกจากนี้เซ็นทรัลพัฒนายังพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้ติดสปีดในการเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น ด้วยบทบาท Big Brother ภายใต้โครงการ LEAD by Central Pattana มีแบรนด์ดังที่มีแพชชั่นอันแรงกล้าเข้าร่วมอย่าง GENTLEWOMAN, RAVIPA, WITH IT, URTHE, YUEDPAO, โรงชาชงดี ปัจจุบันสามารถสยายปีกได้ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น โดยโครงการนี้ได้สร้างความสำเร็จกว่า 200 แบรนด์

เซ็นทรัลพัฒนาไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะโครงการใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเขย่าวงการค้าปลีกสร้างอิมแพ็คระดับประเทศ เตรียมจับตามอง “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” บิ๊กโปรเจ็คต์ที่ร่วมพัฒนากับบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) โดยในส่วนของ Central Park Office จะเปิดให้บริการใน Q3 ปี 2568 และศูนย์การค้า Central Park จะเปิดให้บริการใน Q4 ปี 2568 และเซ็นทรัล กระบี่ ที่คาดว่าจะเปิดใน Q4 ปี 2568 เรียกได้ว่าสร้างแรงสั่นสะเทือนระดับประเทศได้แน่นอน ดึงดูดคลื่นนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามาพร้อมเม็ดเงินหมุนเวียนจากทั่วโลก

]]>
1503268
ต่างชาติแห่เข้าไทย ดัน “ศูนย์การค้า” รายได้พุ่ง 25% คาดปีนี้ปรับค่าเช่าเพิ่ม 1-3% https://positioningmag.com/1503545 Mon, 16 Dec 2024 05:20:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1503545 ตลาดศูนย์การค้า ปี 67 ฟื้นต่อเนื่อง แรงส่งนักท่องเที่ยวต่างชาติ-ลงทุน data center ดัน Expat ขยายตัว ทำรายได้กลุ่มรีเทล +25% กำไร +31% ปลายปีนี้โครงการทาวน์ชิพลงตลาดรัว ๆ คาดปรับค่าเช่าสัญญาใหม่เพิ่ม 1-3%

นายสัญชัย คูเอกชัย ผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนงานวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจศูนย์การค้าฟื้นตัวได้ดี จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัว ประเมินปี 2567 มีจำนวน 35.99 ล้านคน คิดเป็น 88% ของปี 2562 ช่วงก่อนโควิด

ทั้งนี้ ยอดสะสมนักท่องเที่ยวต่างชาติ ณ กลางปีนี้อยู่ที่ 17.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นสัญชาติจีน มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ และรัสเซีย ตามลำดับ

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย ช่วง 6 เดือนแรก ปี 67

5 สัญชาตินักท่องเที่ยวมาไทยมากสุด

เจาะลึก ซัพพลายพื้นที่เช่าศูนย์การค้าใน กทม. (ช่วง 6 เดือนแรกปี 67) มีจำนวน 3.2 ล้านตร.ม. เพิ่มขึ้น 4% (YoY) จากการทยอยเข้าสู่ตลาดของโครงการต่าง ๆ อาทิ One Bangkok, Gaysorn Plaza, Dusit Central Park และ The Forestias

การพัฒนาโครงการทาวน์ชิพเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดสำคัญที่ทำให้บริษัทข้ามชาติระดับ International firm ให้ความสนใจลงทุนในไทย รวมถึงการตั้งสำนักงาน และการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยในอนาคต ด้วยความพร้อมในทุกสภาพแวดล้อมของชีวิตทั้งช่วงเวลาทำงานและเวลาหยุดพักผ่อน”

ปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำของโลกหลายแห่งแสดงความสนใจเข้ามาลงทุนพัฒนา Data Centre ในไทย เช่น

  • Google ที่วางแผนลงทุนประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 35,000 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างงานกว่า 14,000 ตำแหน่งภายในปี พ.ศ. 2568-2572
  • Amazon/AWS ประกาศลงทุน 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 190,000 ล้านบาท โดยจะเปิดตัว AWS Thailand Region ในต้นปี พ.ศ. 2568 และฝึกอบรมทักษะคลาวด์ให้คนไทยกว่า 100,000 คนภายในปี พ.ศ. 2569
  • Microsoft เตรียมจัดตั้ง Data Centre ในไทย ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะ AI ให้คนไทยกว่า 100,000 คนผ่านโครงการ AI Skill for the AI-enabled Tourism Industry และโครงการ AI Odyssey
  • Nvidia มีแผนลงทุน Data Centre ในไทย และจะเดินทางมาประเทศไทยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567
  • Equinix ผู้ให้บริการ Data Center ชั้นนำจากสหรัฐฯ ได้ประกาศลงทุน 16,500 ล้านบาทในประเทศไทยภายใน 10 ปี

จากการประเมินรายได้และกำไรสุทธิของผู้ประกอบการรายใหญ่ในธุรกิจศูนย์การค้าให้เช่า พบว่า ในไตรมาสแรก รายได้เพิ่มขึ้น 25% และกำไรเพิ่มขึ้น 31%

รายได้ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มธุรกิจอาหารและแฟชั่นประมาณ 8%  ส่วนกำไรเพิ่มขึ้น 5%-9%จากกลุ่มฮาร์ดไลน์ อาหาร และแฟชั่น

ขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการชาวไทยและชาวต่างชาติกลับมาในระดับสูง ส่งผลให้อัตราการเช่าเพิ่มขึ้น ศูนย์การค้าบางแห่งขยายพื้นที่เช่าเพื่อเพิ่มรายได้ และมีการปรับค่าเช่าสำหรับสัญญาใหม่ขึ้น 1-3% ในปีนี้

แนวโน้มในอนาคต คาดว่า ธุรกิจศูนย์การค้าจะเติบโตต่อเนื่องทั้งในแง่ซัพพลายและดีมานด์ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้รายได้ของศูนย์การค้าเติบโตจากทราฟฟิกที่สูงขึ้น ทั้งในรูปแบบค่าเช่าแบบ Gross Profit และ Fix Rent

นอกจากนี้ การทยอยเปิดตัวโครงการขนาดใหญ่ เช่น One Bangkok และ Dusit Central Park ซึ่งเริ่มต้นด้วยส่วนโรงแรมและจะครอบคลุมถึงพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่ค้าปลีกในปีถัดไป จะช่วยกระตุ้นการบริโภคจากกลุ่มต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางเพื่อธุรกิจ (Business Trip) และผู้ที่ทำงานระยะยาวในไทย (Expat)

การลงทุนจากบริษัท Data Centre ระดับโลกหลายแห่งจะเป็นอีกแรงสนับสนุนที่สำคัญให้กลุ่มศูนย์การค้าได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของผู้ใช้บริการ

]]>
1503545
สรุป 5 ปี “สามย่านมิตรทาวน์” เคล็ดลับปั้นห้างฯ ให้ปัง! เลี้ยงกระแสไม่มีตก https://positioningmag.com/1491900 Thu, 26 Sep 2024 08:34:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1491900 ครบรอบ 5 ปีเปิดตัว “สามย่านมิตรทาวน์” มิกซ์ยูสในมือ “เฟรเซอร์สฯ” ที่มีองค์ประกอบ “ศูนย์การค้า” เป็นแห่งแรกของเครือนี้ และกลายเป็นตัวอย่างศูนย์ฯ ที่ประสบความสำเร็จเกินคาด มีทราฟฟิกต่อวันมากกว่าเป้าหมายเกือบ 2.7 เท่า!

ย้อนไปเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562 เป็นวันเปิดตัวโครงการมิกซ์ยูส “สามย่านมิตรทาวน์” โครงการที่มีองค์ประกอบครบทั้งศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม และคอนโดมิเนียม ท่ามกลางการจับตามองของสังคมว่า “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” เจ้าของโครงการจะพัฒนาออกมาในรูปแบบไหน และจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะเป็นครั้งแรกที่บริษัทนี้พัฒนารีเทลเต็มตัว

หลังจากนั้นไม่ถึงครึ่งปี อย่างที่ทราบกันดีว่าเกิดโควิด-19 ระบาดทั่วโลก สะเทือนโครงการหน้าใหม่อย่างสามย่านมิตรทาวน์ แต่โครงการยังเอาตัวรอดมาได้จนถึงช่วงฟื้นตัวของตลาดรีเทลในประเทศไทย

สามย่านมิตรทาวน์
“ธนพล ศิริธนชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

จนถึงปัจจุบันนี้ “ธนพล ศิริธนชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สรุปความสำเร็จในทุกองค์ประกอบของโครงการมิกซ์ยูส “สามย่านมิตรทาวน์” ดังนี้

  • มิตรทาวน์ ​ออฟฟิศ ทาวเวอร์– พื้นที่เช่า 48,000 ตร.ม. อัตราการเช่า 98%
  • คอนโดมิเนียมขายหมด 100% ราคาปล่อยเช่าเพิ่มขึ้นจาก 20,000 บาทต่อเดือนในช่วงตึกเสร็จ เป็น 30,000 บาทต่อเดือนในปีนี้ (*เป็นคอนโดฯ ลีสโฮลด์ 30 ปี)
  • โรงแรมทริปเปิ้ลวายอัตราเข้าพักเฉลี่ย 90% ได้กลุ่มลูกค้าเที่ยวเอง (FIT) และครูอาจารย์ที่เข้ามาติดต่อจุฬาฯ
  • ศูนย์การค้าอัตราการเช่า 98% ทราฟฟิกเฉลี่ย 80,000 คนต่อวัน โดย 70-80% เป็นนักเรียน นิสิต และพนักงานออฟฟิศ
โรงแรมทริปเปิ้ลวาย ได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวจีน

นับว่าเป็น ‘use case’ ความสำเร็จของเครือเฟรเซอร์สฯ ที่ช่วยเสริมแรงเป้าหมายสร้าง “ระเบียงพระราม 4” ที่ “ปณต สิริวัฒนภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หรือ FCL ได้ให้วิสัยทัศน์ไว้

 

ทำเลทอง…แต่คนอื่นก็ทองเหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม หลายๆ คนอาจจะมองว่าในส่วน “ศูนย์การค้า” ของสามย่านมิตรทาวน์นั้นไม่มีทางที่จะไม่สำเร็จ เพราะด้วยทำเลทองฝังเพชร ติดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดสถานี MRT สามย่าน เปิดอะไรมาวัยรุ่นก็น่าจะมาเดิน มาช้อป มากิน

แต่ธนพลชี้ว่า ความเป็นจริงไม่ได้ง่ายอย่างนั้น เพราะหากมองมุมกลับ “จุฬาฯ” รายล้อมด้วยศูนย์การค้ามาแต่ไหนแต่ไร ทุกอย่างมีครบตั้งแต่ MBK Center, สยามดิสคัฟเวอรี, สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน, สยามสแควร์ หรือจะไล่ไปถึงเซ็นทรัลเวิลด์ก็ได้ แม้กระทั่งย่านเกิดใหม่ล่าสุดอย่าง “บรรทัดทอง” ก็มีส่วนทับซ้อนในการดึงลูกค้าสายกินออกไป

อีเวนต์ประจำปี “ลานนมสามย่าน”

งานของสามย่านมิตรทาวน์จึงไม่ใช่ว่าง่ายดาย ธนพลบอกว่าที่จริงโครงการเคยตั้งเป้าทราฟฟิกคนเดินไว้เพียง 30,000 คนต่อวันก็พอใจแล้ว แต่วันนี้ทราฟฟิกพุ่งทะลุ 80,000 คนต่อวัน หากเป็นช่วงที่มีกิจกรรม/อีเวนต์พิเศษเคยพุ่งไปแตะ 100,000 คนต่อวัน เรียกว่าเกินเป้ามาไกลมาก

 

3 ปัจจัยสำคัญส่งรีเทล “สามย่านมิตรทาวน์” ยังแข็งแรง

ธนพลกล่าวต่อว่า 3 ปัจจัยสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสูตรที่ทำให้โซนศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ประสบความสำเร็จ ได้แก่

1.คอนเซ็ปต์ชัดเจน

สามย่านมิตรทาวน์วางคอนเซ็ปต์ไว้ว่าจะเป็นศูนย์การค้าที่ “Smart & Friendly” บรรยากาศเป็นมิตร เดินง่าย สบายๆ แต่งตัวชิลๆ มาได้ทุกวัน

รวมถึงร้านค้าภายในจะเน้นประเภท “Food & Knowledge” คือเป็นคลังอาหารและการเรียนรู้ ตัวอย่างแม่เหล็กสำคัญ เช่น “Food Legend” ฟู้ดคอร์ทร่วมบริหารโดยเครือ MBK Group มีการดึงร้านอาหารดังของสามย่านเข้ามา ช่วยสร้างตัวตนที่ชัดเจนของศูนย์ฯ “House Samyan” โรงภาพยนตร์แนวอินดี้ที่ดึงเข้ามาสร้างความแตกต่างจากโรงหนังในศูนย์ฯ อื่นๆ “Medium & More” ร้านเครื่องเขียนและศิลปะงานฝีมือ ตอบโจทย์เรื่องการเรียนรู้ พัฒนาทักษะของคน

สามย่านมิตรทาวน์
บรรยากาศสบายๆ ของสามย่านมิตรทาวน์
2.คิดนอกกรอบ

มีองค์ประกอบบางอย่างที่เกิดขึ้นในสามย่านมิตรทาวน์เป็นที่แรกๆ เช่น

  • การเปิด “โซน 24 ชั่วโมง”เป็นศูนย์การค้าแห่งที่สองต่อจาก เดอะ สตรีท รัชดา ที่มีโซนเปิดบริการทั้งวันทั้งคืน โดยมีจุดสำคัญคือ “Samyan CO-OP” (สนับสนุนโดย KBank และ C-Asean) พื้นที่อ่านหนังสือและประชุมงานฟรีที่เปิด 24 ชั่วโมง
  • “อุโมงค์เชื่อมมิตร” – เปลี่ยนจุดอ่อนเป็นจุดขาย ด้วยที่ตั้งของศูนย์ฯ​ จะมีระยะทางเดินพอสมควรออกมาจากสถานีรถไฟฟ้า ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการปล่อยให้อุโมงค์ใต้ดินที่เชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้า “เปลือย” สร้างความแปลกใหม่ให้คนมาใช้บริการ และกลายเป็นจุดขายในการจัดอีเวนต์ ตกแต่งเป็นจุดถ่ายรูปแลนด์มาร์ก
  • “อีเวนต์ไร้แอลกอฮอล์” – ด้วยทำเลติดสถานศึกษาจึงไม่สามารถขายแอลกอฮอล์ได้ บริษัทจึงพลิกแนวคิดสร้างเป็นจุดขายใหม่ที่ถูกใจกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง เช่น “ลานนมสามย่าน” เปลี่ยนจากลานเบียร์มาทำลานนม หรือ “เทศกาลสงกรานต์ปลอดเหล้า” ทำให้ปลอดภัยเหมาะกับเยาวชน
สามย่านมิตรทาวน์
“Samyan CO-OP” ปัจจุบันมีคนมาใช้บริการเฉลี่ย 1,500 คนต่อวัน
ตัวอย่างการใช้งานอุโมงค์เชื่อมมิตร สามารถตกแต่งสถานที่เพื่อเข้ากับอีเวนต์ใหม่ๆ
3.การเชื่อมโยงไร้รอยต่อ

วิธีการออกแบบโครงการมิกซ์ยูสของที่นี่ในแต่ละส่วนจะทำทางเดินเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน ให้ไม่รู้สึกขัดเขินที่จะเดินเชื่อมเข้าสู่อีกโซน ลูกค้าจากทั้งออฟฟิศ โรงแรม และคอนโดฯ จึงเดินมาใช้บริการในศูนย์การค้าเป็นประจำ รวมถึงทีมบริหารจัดการทั้งตึกเป็นทีมเดียวกัน ทำให้การปรับปรุงพัฒนาต่างๆ จะเกิดขึ้นไปด้วยกันทั้งโครงการ

 

นามสกุล “มิตรทาวน์” ยังไม่มีแผนไปต่อ

ด้วยความสำเร็จเหล่านี้ทำให้ทุกคนคาดหวังว่าเฟรเซอร์สฯ จะมีการนำโครงการนามสกุล “มิตรทาวน์” ไปปักหมุดที่อื่นเพิ่ม แต่ธนพลตอบคำถามนี้ว่า “ยังไม่มีแผนใดๆ” เพราะมองว่าถึงจะมีแกนกลางบางอย่างที่สามารถนำไปทำต่อที่ทำเลอื่นได้ แต่หลายๆ อย่างเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์เจาะลึกเฉพาะพื้นที่นั้น เพื่อให้การพัฒนาโครงการมีความเชื่อมโยงกับคนในชุมชน

“เมื่อก่อนการทำโครงการมักจะทำให้ แมสไว้ก่อน คือใครก็มาได้ แต่วันนี้คิดว่าเราจะต้องลงเซ็กเมนต์เฉพาะ มีภาพที่ชัดเจนว่าใครจะมาเดิน คอนเซ็ปต์เป็นแบบไหน ก็จะทำให้ได้กลุ่มเฉพาะแบบสามย่านมิตรทาวน์” ธนพลกล่าวปิดท้าย

]]>
1491900
เปิดตัว ‘มาริส อโบลตินส์’ กรรมการผู้จัดการคนใหม่ ‘เมกาบางนา’ ลั่นกลองพร้อมเดินหน้าสานต่อโครงการเมกาซิตี้ https://positioningmag.com/1472131 Sat, 04 May 2024 03:48:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472131

ต้องยอมรับว่ายุคนี้การทำ ศูนย์การค้า ไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากต้องแข่งขันกันเองแล้ว ยังต้องแข่งขันกับออนไลน์ด้วย อย่างไรก็ตาม เมกาบางนา (Megabangna) กลับเป็นศูนย์การค้าที่สามารถเติบโตทุกปี มีผลงานโดดเด่นจนเป็นที่จับตา และปีนี้ที่เมกาบางนาให้บริการเข้าสู่ปีที่ 12 ก็มี MD คนใหม่ โดย Positioning จะพาไปทำความรู้จัก พร้อมเจาะลึกถึงกลยุทธ์ของเมกาบางนาในปีนี้


ประสบการณ์ครบลูปในรีเทลและเรียลเอสเตส

ไม่ใช่แค่การบริหารศูนย์การค้าเมกาบางนา แต่ยังมี โครงการเมกาซิตี้ ดังนั้น มาริส อโบลตินส์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าเมกาบางนา และโครงการเมกาซิตี้ หรือ MD (Managing Director) คนใหม่นี้ถือว่าน่าสนใจ เพราะมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการอสังหาริมทรัพย์ โดยเน้นไปที่การพัฒนาและการขยายพื้นที่ของธุรกิจค้าปลีก ด้วยประสบการณ์กว่า 15 ปีในอุตสาหกรรมค้าปลีกและอสังหาริมทรัพย์ในยุโรป ผ่านการทำงานทั้งกับเชนห้างสรรพสินค้าดังหลายแห่ง รวมไปถึงมีประสบการณ์การทำงานร่วมกับ IKEA อีกด้วย

“ผมมีประสบการณ์ในต่างประเทศหลายที่  เช่น เยอรมนี, รัสเซีย, ยูเครน และออสเตรีย ซึ่งผมโชคดีที่มีประสบการณ์ครบลูปตั้งแต่งานก่อสร้าง วิศวกรรม ไปจนถึงงานด้านกลยุทธ์ ที่สำคัญผมเคยทำงานอยู่ในฝั่งลูกค้า หรือผู้เช่า  นั่นทำให้มีความเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างดี” มาริส เล่า


รีเทลยุโรปกับไทยเหมือนมากกว่าต่าง

มาริส เล่าต่อว่า จริง ๆ แล้วอุตสาหกรรมรีเทลของยุโรปกับไทยค่อนข้างมีความเหมือนมากกว่าแตกต่าง ที่เห็น ณ ตอนนี้อาจจะมีบางจุดแตกต่างกันชัดเจนอาจเป็นเรื่องการจำนวนทีมงานที่บริหารศูนย์การค้า ซึ่งที่ไทยมีจำนวนทีมงานค่อนข้างเยอะ ขณะที่ของยุโรปจะใช้เอ้าท์ซอร์สเป็นส่วนใหญ่ แต่สุดท้ายปลายทาง รีเทลทุกแห่งต้อง แข่งขันกันตอบสนองความต้องการลูกค้า ดังนั้น ขึ้นอยู่กับทีมบริหารแล้วว่าจะวางกลยุทธ์อย่างไรให้ลูกค้ามาที่ศูนย์การค้า และต้องมาซ้ำ

“ทุกประเทศอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายกัน คือเจอการแข่งขันทั้งจากศูนย์การค้าด้วยกัน และจากอีคอมเมิร์ซ ดังนั้น เราต้องเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภค และสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างแท้จริง รวมถึงมอบความคุ้มค่าให้กับทุกๆ การมา Visit ให้ได้”

อย่างไรก็ตาม เมกาบางนาถือเป็นศูนย์การค้าที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว และอยู่บนโลเคชั่นย่านบางนา-ตราดที่กลุ่มผู้อาศัยโดยรอบเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีกำลังซื้อ โดยตลอด 12 ปีที่ผ่านมาเมกาบางนาต้อนรับลูกค้ามาแล้วกว่า 550 ล้านคน และปี 2023 เป็นปีที่มียอดคนมาเยี่ยมศูนย์ฯ สูงสุดถึง 53 ล้านคน  สะท้อนให้เห็นว่าการเป็นศูนย์การค้าระดับภูมิภาคอาเซียน และด้วยลักษณะที่เป็นหน้ากว้าง ทำให้ลูกค้าสะดวกกว่าไม่ต้องเดินหาหลายชั้น เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า รวมถึงเมกาบางนามีที่จอดรถกว่า 12,000 คัน รวมทั้งใกล้ฮับของรถสาธารณะจากหลายทาง จึงเชื่อว่าเมกาบางนาจะสามารถพัฒนาและเติบโตไปได้อีกใกล้


TENANT MIX ที่ตรงใจ ทันสมัย และตอบโจทย์ทุกเจเนเรชัน

ในปีนี้ เมกาบางนาจะนำร้านใหม่ ๆ หลายร้าน โดยศูนย์ฯ พยายามจะศึกษาความต้องการของลูกค้า และมองหาพาร์ทเนอร์ที่จะมาช่วยเสริมให้เมกาบางนาแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน เมกาบางนามีพื้นที่ขายรวมกว่า 240,000 ตารางเมตร มีอัตราการเช่า 100% มีร้านค้าแฟชั่น ร้านอาหาร ศูนย์บริการต่าง ๆ รวมกว่า 900 ร้านค้า โดยผู้เช่าหลักที่เป็นแม็กเน็ตสำคัญ ได้แก่ IKEA, CENTRAL@MEGABANGNA, HOMEPRO, BIG C Extra, MEGA CINEPLEX

“ตอนนี้รีเทลเปลี่ยนเเปลงไปมาก ความต้องการลูกค้าก็เปลี่ยนไปเร็ว โจทย์คือจะต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างไรให้ได้มากที่สุด”

ในส่วนของ Mega City อยู่ระหว่างการศึกษาตลาดเพิ่มเติม รวมถึงมองหาโอกาสใหม่ๆ ที่จะมาตอบโจทย์คนในย่านนี้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลายโครงการที่เปิดตัวในเมกาซิตี้  โดยมองว่ายังมีโอกาสเติบโตได้อีก อย่างคอนโดที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้วก็ได้รับการตอบรับอย่างดี เพราะยอดขายโครงการไปได้ดี แม้ว่าอัตราการเกิดจะลดลงก็ตาม นอกจากนี้ มาริส มองว่า เขาต้องการจะดันให้  ท็อปกอล์ฟ กลายเป็นอีก Destination ที่ดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวและลูกค้า Local ในย่านนี้และพื้นที่ใกล้เคียง

ในส่วนของกลยุทธ์ด้าน ความยั่งยืน (ESG) เมกาบางนายังคงทำอย่างต่อเนื่อง เช่น การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาหรือ SOLAR ROOFTOP บนพื้นที่กว่า 62,000 ตรม. สามารถผลิตไฟฟ้าได้กว่า 12 ล้านหน่วย (KWH) ต่อปี ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ 8,000 ตัน การประหยัดการใช้ไฟการควบคุมอากาศในศูนย์ 20% และการนำน้ำที่ใช้แล้วมาบำบัดเพื่อใช้ได้ใหม่ เช่น รถน้ำต้นไม้ หรือทำความสะอาดศูนย์การค้า เป็นต้น


ทุ่ม 200 ล้าน อัดอีเวนต์แน่นตลอดปี

ในส่วนของ งานอีเวนต์ ก็ถือเป็นจุดเด่นของเมกาบางนา อาทิ เคาท์ดาวน์ ที่เมกาบางนาติด 1 ใน 5 สถานที่ที่คนอยากมาเคาท์ดาวน์ของกรุงเทพฯ และเป็นอีเวนท์ที่ลูกค้ารอคอยตลอดปี โดยปีนี้เมกาบางนาได้วางงบเกี่ยวกับงานกิจกรรมต่างๆ ไว้ประมาณ 200 ล้านบาท โดยจะมีเฉลี่ยทุกเดือน โดยในไตรมาสแรกได้จัดแคมเปญทั้ง Seasonal Campaign และ Monthly Campaign มาตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน และสงกรานต์ รวมถึงการจัดกิจกรรมสำหรับคอมมูนิตี้ต่าง ๆ เช่น Mega Pet Day

“เราอยากทำให้ทุกอีเวนต์สร้างความตื่นเต้นให้ลูกค้า อยากทำให้เขารู้สึกเหมือนได้รีวอร์ดสทุกครั้งที่มาเมกาบางนา”

ส่วนของลอยัลตี้โปรแกรม เมกา สไมล์ รีวอร์ดส (MEGA SMILE REWARDS) ในช่วงไตรมาส 3 นี้จะมีการยกระดับ Privilege ต่างๆ ให้ดีขึ้น  ภายใต้แนวคิด THE ULTIMATE EXPERIENCE โดยจะให้สิทธิพิเศษที่มากยิ่งขึ้น อาทิ ที่จอดรถพิเศษสำหรับสมาชิก ส่วนลดและบัตรกำนัลที่มากกว่าเดิม รวมถึงการรับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ที่ตรงกับความต้องการ ความชอบ ไลฟ์สไตล์ ของสมาชิก


ครบรอบ 12 ปี ด้วยแคมเปญ 12th ANNIVERSARY 365 MEGA MOMENTS

ในเดือนพฤษภาคมนี้จะครบรอบ 12 ปี ของเมกาบางนา ทางศูนย์ฯ ได้จัดกิจกรรม 12th ANNIVERSARY 365 MEGA MOMENTS โดยดึงเอาศิลปินนักวาดภาพอย่าง Jirayu Koo (จิรายุ คู) ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อนำมาต่อยอดประสบการณ์ให้กับลูกค้า เช่น การตกแต่งบรรยากาศของศูนย์การค้าให้ลูกค้าได้มาถ่ายรูป, การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การจัดทำของสมนาคุณเอ็กซ์คลูซีฟคอลเลคชั่น เป็นต้น

มาริส ทิ้งท้ายว่า แม้เขาเป็น MD คนใหม่ แต่วิสัยทัศน์ของเมกาบางนายังเป็นเหมือนเดิมมาตลอด 12 ปี คือ การเป็นมากกว่าสถานที่สำหรับการช้อปปิ้ง แต่เราจะเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ให้ทุกๆ คนได้มาใช้เวลาร่วมกันได้ที่เมกาบางนา ครบทั้งช้อป กิน และทำกิจกรรม ดังนั้น ภารกิจเราก็จะสอดคล้องกับวิชั่นส์ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าให้ได้ทั้งหมด และอยู่ในทุกๆ ช่วงเวลาของลูกค้าได้อย่างแท้จริง!

]]>
1472131
สยามพารากอน ไอคอนสยาม ยืนหนึ่งจุดหมายปลายทางระดับโลก คว้า 2 รางวัลสุดยอดด้านนวัตกรรมและภาพลักษณ์จาก 2023-2024 Thailand’s Most Admired Company https://positioningmag.com/1457955 Tue, 09 Jan 2024 09:48:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457955

สยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ตอกย้ำผู้นำการพัฒนาจุดหมายปลายทางระดับโลกที่ครองความเป็นหนึ่งในใจผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติ คว้า 2 รางวัลยอดเยี่ยมจากผลสำรวจ 2023-2024 Thailand’s Most Admired Company ของ BrandAge สื่อการตลาดชั้นนำ โดยสยามพารากอนได้รับคะแนนโหวตสูงสุดในปัจจัยด้านความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation) และไอคอนสยาม ได้คะแนนโหวตสูงสุดในปัจจัยด้านภาพลักษณ์ (Corporate Image) อีกทั้งสยามพารากอนและไอคอนสยามยังติดอันดับ Top 3 บริษัทที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดจากผู้บริโภคในหมวดธุรกิจศูนย์การค้าอีกด้วย สะท้อนศักยภาพของความเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญระดับโลกที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้คนจากทุกมุมโลก    

นางธณพร ตันติยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารหน่วยธุรกิจ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กล่าวว่า สยามพารากอนในฐานะศูนย์การค้าระดับเอลิสต์ ให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ลูกค้าจึงนำความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมาใช้ในการ curate สินค้าและบริการเพื่อนำเสนอประสบการณ์แปลกใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำให้สามารถเข้าใจลูกค้าที่มาจับจ่ายได้มากขึ้น  สยามพารากอนยังคงสร้างสรรค์พัฒนาและออกแบบพื้นที่ เพื่อสร้างความแปลกใหม่ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้มาเยือน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนในทุกเจนเนอเรชั่น และดึงดูดให้ในแต่ละวัน มีผู้คนมาเยือนจำนวน 120,000 – 150,000 คนหรือกว่า 50 ล้านคนต่อปี   ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นสถานที่รวบรวมความเพลิดเพลินของการใช้ชีวิตในแบบ Luxury lifestyle และความบันเทิงที่ครบครันที่สุด    

นางสุมา วงษ์พันธุ์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด เปิดเผยว่า ความสำเร็จและภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของไอคอนสยาม ซึ่งได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ของประเทศไทย ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่เหล็กของการท่องเที่ยวที่ทรงพลัง และทำให้ประเทศไทยกลายเป็นหมุดหมายสำคัญที่ครองความเป็นหนึ่งในใจผู้คนทั่วโลก และมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้แข็งแกร่ง โดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ไอคอนสยามร่วมมือกับพันธมิตรและ Global Partners จัดงาน 3,500 อีเว้นท์ระดับโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกกว่า 35 ล้านคน และไอคอนสยามได้รับการแนะนำจาก CNN Website (2022) ให้เป็นหนึ่งใน 10 สถานที่เค้าท์ดาวน์ของโลก ตอกย้ำการเป็น Global Destination อันดับ 1 ในใจของนักท่องเที่ยวไทย และทั่วโลกโดยเฉพาะการจัดงาน Amazing Thailand Countdown ของทุกปี ซึ่งถูกถ่ายทอดสู่สายตาชาวโลกผ่านโซเชียลมีเดีย และสำนักข่าวระดับโลก ทำให้กลายเป็นแลนด์มาร์คระดับโลกที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอย่างเต็มภาคภูมินอกจากนี้ “ไอคอนสยาม” ยังคงมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายภาครัฐในการผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวด้วยการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อต่อยอดความเป็น Global Destination ชู Soft Power ของไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับสู่เวทีโลกไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ภาพยนตร์ แฟชั่น ดีไซเนอร์ และอื่นๆ ในทุกมิติ

นิตยสาร BrandAge และ BrandAge Online สื่อธุรกิจการตลาดชั้นนำของประเทศไทย ได้จัดทำผลสำรวจ 2023-2024 Thailand’s Most Admired Company เพื่อเฟ้นหาบริษัทที่เป็นสุดยอดในปัจจัยแต่ละด้าน จากกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 24 กลุ่ม เช่น กลุ่มศูนย์การค้า กลุ่มธุรกิจอาหาร ร้านอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และธนาคาร

]]>
1457955
พรีวิวคอนเซ็ปต์ “Central Park” ส่วนรีเทลและออฟฟิศใน “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” แลนด์มาร์กใหม่กรุงเทพฯ https://positioningmag.com/1447278 Mon, 09 Oct 2023 10:05:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447278
  • “เซ็นทรัลพัฒนา” พาร์ทเนอร์ผู้พัฒนาในส่วนรีเทลและออฟฟิศของโครงการ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “Central Park” สำหรับส่วนศูนย์การค้าและสำนักงาน
  • คอนเซ็ปต์สร้างศูนย์การค้าที่เป็น “Curated Experience” เน้นร้านค้าที่เป็นเอกลักษณ์ ตอบสนองไลฟ์สไตล์เฉพาะกลุ่ม เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง วางเป้าทราฟฟิก 25 ล้านคนต่อปี
  • “Central Park” ถือเป็นแลนด์มาร์กแห่งที่ 3 ของกลุ่มเซ็นทรัลในใจกลางกรุงเทพฯ ต่อจาก “เซ็นทรัลเวิลด์” แยกราชประสงค์ และ “เซ็นทรัล เอ็มบาสซี” บนแยกเพลินจิตวิทยุ
  • โครงการ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” ถือเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของภาคเอกชนที่ถูกจับตามอง เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงแรมดุสิตธานี สถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มีประวัติยาวนาน 50 ปี ก่อนจะปิดทุบปรับปรุงใหม่เป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์มูลค่ารวม 46,000 ล้านบาท

    โครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์คนี้ทางกลุ่มดุสิตธานีมีการร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัล โดยทางเซ็นทรัลเป็นผู้รับผิดชอบพัฒนาในส่วนศูนย์การค้าและสำนักงาน ส่วนกลุ่มดุสิตธานีดูแลการพัฒนาโรงแรมและคอนโดมิเนียม

    ในที่สุด “วัลยา จิราธิวัฒน์” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ได้ฤกษ์เปิดพรีวิวคอนเซ็ปต์การพัฒนา “Central Park” แบรนด์ใหม่สำหรับส่วนรีเทลและออฟฟิศ เป็นแบรนด์เฉพาะเพื่อโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค โดยต้องการให้เป็นแลนด์มาร์กศูนย์การค้าสำคัญอีกแห่งหนึ่งของกลุ่มเซ็นทรัล

    Central Park ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค
    บรรยากาศจำลอง ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค

    เฉพาะส่วน Central Park นี้บริษัทร่วมทุนมีการลงทุนไป 20,000 ล้านบาท ก่อสร้างเป็น

    1) อาคารศูนย์การค้า Central Park สูง 8 ชั้น (7 ชั้นบนดิน + 1 ชั้นใต้ดิน) พื้นที่อาคารรวม 130,000 ตร.ม.
    2) อาคารสำนักงาน Central Park Offices สูง 40 ชั้น พื้นที่อาคารรวม 130,000 ตร.ม.

     

    “Central Park” ทำเลริมสวนกลางกรุงเทียบชั้นนิวยอร์ก-ลอนดอน

    วัลยากล่าวถึงจุดเด่นที่สุดของโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค คือ การมีทำเลอยู่ริมสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง ซึ่งถ้าหากมองในระดับโลก มหานครหลายแห่งจะมีสวนสาธารณะเป็นจุดใจกลางพื้นที่พัฒนาออฟฟิศและที่พักอาศัยระดับไฮเอนด์ เช่น Central Park ของนครนิวยอร์ก หรือ Hyde Park ของกรุงลอนดอน ทำให้กลุ่มเซ็นทรัลมองว่าทำเลสวนลุมพินีจะเป็น ‘ใจกลางของใจกลางเมือง’ เช่นกัน

    Central Park ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค
    มุมมองจากชั้น 7 ของ Central Park มองเห็นเชื่อมต่อกับสวนลุมพินี

    “ชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล” Chief Development and Commercial Officer บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวเสริมว่า นอกจากจะอยู่ริมสวนลุมพินีแล้ว ดุสิต เซ็นทรัล พาร์คยังอยู่บริเวณจุดตัดรถไฟฟ้า 2 สาย คือ สถานีสีลมของ MRT สายสีน้ำเงิน และ สถานีศาลาแดงของ BTS สายสีเขียวเข้ม ถือเป็นจุดตัดที่มีทราฟฟิกสูงมากเพราะต่างก็เป็นรถไฟฟ้าสายดั้งเดิมที่ผ่านจุดสำคัญกลางเมือง

     

    รวมร้านที่ ‘ไม่เหมือนที่เคยมีมา’

    เมื่ออยู่ในทำเลทองและมีความพิเศษด้วยตำนานของพื้นที่แล้ว ทำให้เซ็นทรัลพัฒนาจะสร้างความแตกต่าง “ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา” Chief Marketing Officer และ “อิศเรศ จิราธิวัฒน์” Head of Fashion and Luxury Partner Management ร่วมกันอธิบายว่า ศูนย์การค้า Central Park จะเป็นศูนย์ฯ แห่ง “Curated Experience” ในระดับไฮเอนด์

    เนื่องจากลูกค้ายุคนี้มีไลฟ์สไตล์และความต้องการที่ ‘niche’ เป็นตัวเองมาก เฉพาะกลุ่มมากขึ้น Central Park จึงต้องการจะเลือกสรรประสบการณ์ที่แตกต่าง แยกย่อยลงไป มองหาแบรนด์ที่น่าสนใจเจาะกลุ่มไลฟ์สไตล์หลายรูปแบบ เป็นแบรนด์ที่เป็นที่สุดของโลก หรือที่สุดของคนไทย แบรนด์มีเอกลักษณ์หรือเรื่องราวชัดเจน

    Central Park ตั้งเป้าจะดึงดูดแบรนด์ใหม่ที่ไม่เคยมีในไทยหรือไม่เคยมีในเครือเซ็นทรัลพัฒนามาก่อนราว 10-20% ของศูนย์การค้า ส่วนที่เหลือแม้จะเป็นการเปิดสาขาของแบรนด์เดิม แต่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้เปิดร้านแบบ ‘new concept’ แตกต่างจากสาขาอื่นที่เคยมี

    อีกมุมของสวน 7 ไร่บนชั้น 7

    เฉพาะร้านประเภทร้านอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) คาดว่าจะมีราว 30-35% ของศูนย์การค้า โดยไฮไลต์ของส่วนร้านอาหารคือ พื้นที่บนชั้น 7 ซึ่งเป็นสวนลอยฟ้าขนาดใหญ่ 7 ไร่ จะมีการจัดสรรเป็นพื้นที่เช่าร้านอาหาร ผสมกลมกลืนไปกับสวน ซึ่งทำให้ได้บรรยากาศรูปแบบใหม่ในการรับประทานอาหาร

     

    ชูอีเวนต์สายอาร์ต-ดนตรี

    ด้านการจัดอีเวนต์ที่ Central Park เนื่องจากศูนย์ฯ​ นี้มีการจัดสวนลอยฟ้า 7 ไร่ไว้เป็นพื้นที่สาธารณะ จึงทำให้งานอีเวนต์ต่างๆ จะเน้นการจัดงานภายในสวนแห่งนี้ เชื่อมโยงกับฝั่งสวนลุมพินี

    โดยสายอีเวนต์หลักๆ ที่เซ็นทรัลพัฒนาจะเน้นการจัดงานที่นี่คือ “ศิลปะ” และ “ดนตรี” เพราะต้องการเน้นไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ดีทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถเข้ามาวิ่งออกกำลังในลู่วิ่ง Jogging Track ในสวน พร้อมชมงานศิลปะ ดนตรี โชว์การแสดงต่างๆ ที่จะจัดขึ้น

    รวมถึงที่นี่จะเป็นจุดจัดอีเวนต์ “Countdown Celebration” อีกแห่งหนึ่ง ตีคู่มากับเซ็นทรัลเวิลด์ แต่จะวางคอนเซ็ปต์งานให้ต่างกัน

     

    วางเป้าทราฟฟิก 25 ล้านคนต่อปี

    เป้าหมายของ Central Park นั้นส่วนหลักจะเน้นดึง “ผู้มีกำลังซื้อสูง” ทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยว แต่ก็รวมไปถึงกลุ่มคนทั่วไปที่ต้องการมารับประสบการณ์ภายในศูนย์ฯ ด้วยเช่นกัน

    โดยเซ็นทรัลพัฒนาตั้งเป้าว่าจะมีทราฟฟิกเข้าศูนย์ฯ ได้ 25 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้คาดว่าเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 10 ล้านคนต่อปี ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ ‘ต้องมา’ ของกรุงเทพฯ

    ในแง่การดึงดูดกลุ่มกำลังซื้อสูง นอกจากภายในโครงการมิกซ์ยูสจะมีทั้งโรงแรมดุสิตธานีที่เป็นระดับ 5 ดาว, กลุ่มผู้พักอาศัยในเรสซิเดนซ์ และกลุ่มพนักงานในออฟฟิศเกรดเอแล้ว ในรัศมี 3 กิโลเมตรรอบโครงการยังมีคอนโดฯ ระดับลักชัวรีอีก 17,000 ยูนิต, โรงแรมระดับลักชัวรี 6,500 ห้อง, ออฟฟิศเกรดเอ 1.5 ล้านตารางเมตร, สถานทูตและสถานกงสุล 47 แห่ง รวมถึงโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลชั้นนำอีกมากมาย ซึ่งเหล่านี้คือแหล่งรวมลูกค้าระดับบนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของ Central Park

     

    แลนด์มาร์กที่ 3 ของ “เซ็นทรัล” กลางกรุงเทพฯ

    Central Park นี้ถือเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกลุ่มเซ็นทรัลที่ตั้งอยู่บน ‘จุดตัด’ สำคัญในเมือง ถัดจาก “เซ็นทรัลเวิลด์” แยกราชประสงค์ และ “เซ็นทรัล เอ็มบาสซี” บนแยกเพลินจิต-วิทยุ

    ทั้ง 3 แลนด์มาร์กมีจุดขายที่ต่างกัน “เซ็นทรัล เอ็มบาสซี” จะยังคงเป็นแหล่งรวมแบรนด์ระดับซูเปอร์ลักชัวรีของไทย “เซ็นทรัลเวิลด์” เป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดที่รวมแบรนด์ไว้จำนวนมาก และ “Central Park” คือการสร้างประสบการณ์ลักชัวรีที่แตกต่าง

    Central Park ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค
    ทีมงาน บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา: (จากซ้าย) “อิศเรศ จิราธิวัฒน์” Head of Fashion and Luxury Partner Management, “ชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล” Chief Development and Commercial Officer, “วัลยา จิราธิวัฒน์” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ “ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา” Chief Marketing Officer

    หลังจากนี้ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” จะทยอยสร้างเสร็จทีละส่วน ได้แก่

    • โรงแรมดุสิตธานี แบงค็อก เปิดกลางปี 2567
    • อาคารสำนักงาน Central Park Offices เปิด Q2/2568
    • ศูนย์การค้า Central Park เปิด Q3/2568
    • คอนโดฯ Dusit Residences และ Dusit Parkside เปิดปลายปี 2568

    ต้องรอชมว่าหลังก่อสร้างเสร็จ “Central Park” จะเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาศูนย์การค้าไปอย่างไร!

    ]]>
    1447278
    “ดิ โอลด์ สยาม” รีโนเวตใหญ่ในรอบ 30 ปี เก็บเอกลักษณ์ตึกยุค ร.5 – ยกระดับ “ฟู้ดคอร์ท” ชั้น 3 https://positioningmag.com/1427702 Tue, 18 Apr 2023 11:27:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427702 ศูนย์การค้าที่ยืนหนึ่งบนเกาะรัตนโกสินทร์ “ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า” ประกาศแผนรีโนเวตครั้งใหญ่นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2536 โดยใช้งบลงทุน 400 ล้านบาท เก็บเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมตึกเก่ายุค ร.5 ไว้ทั้งหมด และจะยังเป็นศูนย์รวมผ้าไหม เพชร ทอง ขนมไทย ฯลฯ เช่นเดิม ส่วนที่จะยกระดับคือ “ฟู้ดคอร์ท” บนชั้น 3 ที่จะกลายเป็นจุดหมายปลายทางใหม่ของนักกิน

    ครบรอบ 30 ปี “ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า” ศูนย์การค้าที่ยังคงยืนหนึ่งบนเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงกลางระหว่างถนน 4 สายคือ ถนนพาหุรัด ถนนตรีเพชร ถนนเจริญกรุง และถนนบูรพา และปัจจุบันยังอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า MRT สามยอด ดิ โอลด์ สยามจึงนับเป็นทำเลทองกลางพื้นที่อนุรักษ์และแหล่งท่องเที่ยวของชาวต่างชาติที่เข้ามามากขึ้นทุกที ทำให้ทีมงานผู้บริหารเห็นโอกาสที่จะปรับโฉมครั้งใหญ่

    “อภิชัย สิริดำรงพันธุ์” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอาคารพาณิชย์ บริษัท สยามสินธร จำกัด เจ้าของโครงการ เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทเตรียมงบลงทุนถึง 400 ล้านบาทเพื่อรีโนเวตปรับ ดิ​ โอลด์ สยาม พลาซ่า ให้ร่วมสมัยมากขึ้น และบางส่วนก็จะเติมประสบการณ์ใหม่ๆ เข้ามาให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์นักท่องเที่ยวยุคปัจจุบัน

    ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า นั้นมีจุดแข็งของตนเองเป็นทุนเดิม โดยโครงการตั้งอยู่บนที่ดินขนาดเกือบ 14 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 อาคาร มีพื้นที่ให้บริการรวม 98,500 ตารางเมตร (เฉพาะพลาซ่าที่เป็นศูนย์การค้ามีพื้นที่ 17,945 ตารางเมตร) และมีที่จอดรถ 1,100 คัน

    ดิ โอลด์ สยาม
    บรรยากาศ ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า ในปัจจุบัน (Photo: Facebook@Theoldsiamshoppingplaza)

    สถาปัตยกรรมของ ดิ โอลด์ สยาม มีเอกลักษณ์เด่นชัดเพราะเป็นอาคารสไตล์โคโลเนียลยุค ร.5 และที่จริงแล้วที่นี่ถือเป็นมิกซ์ยูสแห่งแรกๆ ของไทย เพราะชั้น 1-3 ของอาคารนั้นเป็นศูนย์การค้าที่เรารู้จักกันดี แต่ชั้น 4 เป็นที่อยู่อาศัยให้เช่าระยะยาว

    ปัจจุบันสินค้าหลักในศูนย์การค้าประกอบด้วย ปืน ผ้าไหม ผ้าไทย เพชร ทอง เครื่องประดับ อาหารไทย ขนมไทย ซึ่งร้านค้าส่วนใหญ่กว่า 50% จะเป็นร้านค้าเก่าแก่อยู่มานาน และค้าขายแบบ B2B หรือค้าส่ง

    ดิ โอลด์ สยาม
    ภาพตัวอย่างการปรับโฉมใหม่

    แผนการรีโนเวตดิ โอลด์ สยามจึงต้องการจะเก็บเอกลักษณ์เดิมไว้ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล และกิจการการค้าที่แข็งแรง แต่จะเติมร้านที่เหมาะกับลูกค้ากลุ่ม B2C ให้มากขึ้น โดยมีรายละเอียดการแบ่งผังร้านค้าหลังรีโนเวต ดังนี้

    ชั้น 1 แหล่งรวมร้านเพชร ร้านทอง เครื่องประดับ ผ้าลูกไม้นำเข้า ขนมไทยโบราณ

    ชั้น 2 แหล่งรวมผ้าไหม เครื่องประดับ ห้องเสื้อ ชุดราตรี ชุดแต่งงาน

    ชั้น 3 ศูนย์รวมร้านอาหารและตลาดโฉมใหม่ที่ยกระดับเป็น Food Experience

    บรรยากาศบนชั้น 2 ยังเป็นแหล่งรวมผ้าไหม
    ดิ โอลด์ สยาม
    ชั้น 4 จะรีโนเวตใหญ่ กลายเป็นศูนย์รวมร้านอาหาร

    ปรับส่วนที่อยู่อาศัยให้ทันสมัย เช่าเริ่ม 28,000 บาท/เดือน

    ขณะที่บน “ชั้น 4” ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่อาศัยก็จะปรับปรุงเช่นกัน โดยจะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับคนวัยทำงาน นักเรียน นักศึกษา ในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ล็อบบี้ ห้องประชุม ฟิตเนส พาวิลเลียนที่นั่งพักผ่อนลอยฟ้า พื้นที่กลางแจ้ง เป็นต้น

    ยูนิตพักอาศัยจะแบ่งเป็น 128 ยูนิต เป็นห้องแบบดูเพล็กซ์ 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยต่อยูนิตเริ่มต้น 95 ตารางเมตร ฟังก์ชัน 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว และ 1 ห้องรับแขก พร้อมที่จอดรถยูนิตละ 1 คัน เปิดสัญญาแบบให้เช่าระยะยาว 12+1 ปี ราคาเริ่ม 3.2 ล้านบาท หรือเช่าระยะสั้น 3 ปี เริ่มเดือนละ 28,000 บาท

    ส่วนที่อยู่อาศัยให้เช่าบนชั้น 4

    ถือเป็นราคาที่น่าสนใจด้วยทำเลห่างจาก MRT สามยอดเพียง 300 เมตร และบริเวณใกล้เคียงมีโรงเรียนชื่อดังหลายแห่ง เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสายปัญญา โรงเรียนสตรีวิทยา เป็นต้น

    สำหรับทีมงานที่จะดูแลการรีโนเวตและบริหารคือทีมผู้บริหาร “เวลา สินธร วิลเลจ หลังสวน” ไลฟ์สไตล์มอลล์ย่านหลังสวนที่ประสบความสำเร็จ จึงน่าสนใจว่าทีมนี้จะสามารถผสมผสานร้านค้าเก่า ร้านค้าใหม่ รวมถึงยังเก็บลูกค้าดั้งเดิมไว้ และชักชวนลูกค้ากลุ่มใหม่เข้ามาได้หรือไม่

    ทั้งนี้ ระหว่างการปรับโฉม ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า จะไม่มีการปิดศูนย์การค้า ยังเปิดบริการตามปกติทุกวัน เวลา 09:00-20:00

    ]]>
    1427702
    ถึงคิว “พาราไดซ์ พาร์ค” รีโนเวตใหญ่ ธุรกิจการเงินจะเป็น “หัวจักร” ทำกำไรให้ MBK https://positioningmag.com/1416497 Tue, 24 Jan 2023 12:46:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416497
  • แผนปี 2566 ของกลุ่ม MBK กับ 8 กลุ่มธุรกิจในมือ ไฮไลต์ปีนี้จะมีการรีโนเวตใหญ่ “พาราไดซ์ พาร์ค” ให้เป็นฮับด้านเวลเนส-สุขภาพ เจาะกำลังซื้อผู้สูงวัย
  • จับตากลุ่มธุรกิจการเงิน “ลีสซิ่ง” เป็นหัวจักรใหม่ในการทำกำไรหลังโควิด-19 แม้มีปัจจัยประกาศ สคบ. เป็นปัจจัยลบ
  • มองรายได้รวมปีนี้มีโอกาสกลับไปใกล้เคียงกับปี 2562 (ก่อนเกิดโรคระบาด)
  • ภาพจำของ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) หรือ MBK คือธุรกิจศูนย์การค้า แต่ที่จริงบริษัทนี้ทำธุรกิจหลากหลายถึง 8 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ศูนย์การค้า, โรงแรม, สนามกอล์ฟ, ที่อยู่อาศัย, อาหาร (ข้าวมาบุญครองและฟู้ดคอร์ท), การเงิน (สินเชื่อ), ลานประมูลรถยนต์และจักรยานยนต์ และศูนย์สนับสนุนองค์กร

    ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ธุรกิจของ MBK ที่เกี่ยวข้องกับภาคท่องเที่ยว คือ ศูนย์การค้า โรงแรม และสนามกอล์ฟบางแห่ง ได้รับผลกระทบหนักและต้องปรับตัวสูง เช่น ศูนย์การค้า MBK Center ที่ต้องเร่งรีโนเวตและปรับสัดส่วนร้านค้าให้ดึงคนไทยเข้ามาแทนที่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป หรือโรงแรมบางแห่งต้องปรับมาเป็นฮอสพิเทล ปรับกลุ่มเป้าหมายลูกค้าเป็นชาวไทย

    8 กลุ่มธุรกิจในเครือ MBK

    อย่างไรก็ตาม ปี 2566 นี้ถือเป็นปีที่ MBK จะกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่จากการเปิดประเทศ มีความหวังว่าจะกลับไปทำรายได้ได้เท่ากับเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

    พร้อมกับการเดินหน้าสู่ยุคหลังโรคระบาด MBK ยังมีการแต่งตั้งซีอีโอใหม่ “วิจักษณ์ ประดิษฐวณิช” ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 รับตำแหน่งต่อจาก “สุเวทย์ ธีรวชิรกุล” ซึ่งปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่งฐานะกรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร ช่วยดูแลนโยบายในภาพใหญ่ให้กับบริษัท

    (ซ้าย) “สุเวทย์ ธีรวชิรกุล” กรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร และ (ขวา) “วิจักษณ์ ประดิษฐวณิช” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)

    สำหรับวิจักษณ์นั้นถือเป็นลูกหม้อที่ทำงานใกล้ชิดในเครือมาหลายทศวรรษ ตำแหน่งภายใน บมจ.เอ็ม บี เค อาจจะมีชื่อมาเพียงปีเศษ แต่วิจักษณ์เริ่มงานกับเครือนี้มาตั้งแต่ยุคหลังต้มยำกุ้งกับบทบาทกรรมการผู้จัดการ บริษัทบริหารสินทรัพย์ แม๊กซ์ จำกัด เมื่อปี 2543 และต่อมาทำงานเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด ในปี 2553 เห็นได้ว่าเติบโตในสายธุรกิจการเงินมาตลอด

     

    ปีนี้ถึงคิว “พาราไดซ์ พาร์ค” รีโนเวตใหญ่รับผู้สูงวัย

    ไฮไลต์การลงทุนปี 2566 ของกลุ่ม MBK คือแผนการรีโนเวตศูนย์การค้า “พาราไดซ์ พาร์ค” หลังจากได้ต่อสัญญาเช่าที่ดินอีก 20 ปีกับ บริษัท เอส.เอส.เรียล (สวนหลวง) จำกัด ไปเรียบร้อย โดยจะใช้งบลงทุน 1,000 ล้านบาท ขณะนี้เริ่มลงมือแล้ว

    พาราไดซ์ พาร์ค รีโนเวต
    ภาพเพอร์สเพคทีฟการรีโนเวต พาราไดซ์ พาร์ค

    พาราไดซ์ พาร์ค ยุคใหม่วางธีมการรีโนเวตให้เป็นฮับด้านเวลเนสและสุขภาพ เน้นภายในศูนย์ฯ จะปรับสัดส่วนร้านค้าใหม่ให้เป็นแหล่งสุขภาพ เช่น ร้านอาหารวีแกน, ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกส์, ศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์, คลินิกเฉพาะทาง เป็นต้น ส่วนเสรีมาร์เก็ตที่เป็นแม่เหล็กหลักก็จะยังคงอยู่เหมือนเดิม

    “คนเดินศูนย์ฯ นี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยอยู่แล้ว ซึ่งวัยนี้เขาต้องการอะไรที่ไม่เหมือนวัยอื่น” สุเวทย์กล่าว “ไตรมาส 3 จะได้เห็นโฉมใหม่ ถือเป็นการปรับครั้งใหญ่ของพาราไดซ์ พาร์ค”

    พาราไดซ์ พาร์ค รีโนเวต

    ส่วนการลงทุนอื่นๆ ที่น่าสนใจของ MBK เช่น

    • เดินหน้าลงทุนเฟสต่อเนื่องในโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ เช่น Riverdale District อาณาจักรสนามกอล์ฟและมารีน่าท่าจอดเรือใน จ.ปทุมธานี โดยมีที่ดินรวม 1,500 ไร่ รวมถึงจะมีการซื้อแลนด์แบงก์เพิ่มเติม ทั้งหมดตั้งงบลงทุนประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท
    • รีโนเวตศูนย์การค้า 2 แห่ง คือ เดอะ ไนน์ พระราม 9 ซึ่งเป็นการปรับปรุงตามรอบ และ MBK Center ที่เป็นการรีโนเวตต่อเนื่องใกล้เสร็จสมบูรณ์ ทั้งหมดใช้งบลงทุนราว 100-200 ล้านบาท
    • รีโนเวตเฟส 3 ของโรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส ส่วนห้องพักขนาดใหญ่ระดับ Executive ซึ่งจะใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท

     

    MBK Center เกือบเสร็จสมบูรณ์ ดึงคนไทยได้ตามเป้า

    สำหรับโปรเจ็กต์ใหญ่ MBK Center ที่เริ่มรีโนเวตมาตั้งแต่ต้นปี 2564 เป้าหมายเพื่อปรับโฉมและเปลี่ยนสัดส่วนร้านค้าให้ดึง “คนไทย” มากขึ้น วิจักษณ์ระบุว่า ขณะนี้เกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว มีผู้เช่าพื้นที่เกิน 90%

    โดยปีนี้จะยังมีพันธมิตรรายใหญ่รายใหม่เข้ามาคือ ARTPIA จากเกาหลีใต้ เป็น Entertainment Show ที่ใช้เทคโนโลยีรังสรรค์ภาพ แสง สี เสียง กลิ่น สร้างความสนุกสนานประสบการณ์แบบใหม่ให้ผู้ชม ซึ่งจะเข้ามาเปิดที่ชั้น 6 ของศูนย์ฯ

    ส่วนพื้นที่ที่ยังอยู่ระหว่างเจรจาผู้เช่าคือพื้นที่ชั้น 4 ซึ่งเป็นชั้นไอที มือถือ กล้อง ยังมีบางส่วนที่กำลังออกแบบหาผู้เช่าที่เหมาะสมกับตลาดไอทียุคนี้

    MBK Center โฉมใหม่

    วิจักษณ์กล่าวด้วยว่า หลังรีโนเวตแล้วศูนย์ฯ สามารถดึงคนไทยมาได้ตามเป้าหมาย ปัจจุบันมีทราฟฟิกกลับไปแตะ 80,000 คนต่อวันเท่ากับช่วงก่อนเกิดโรคระบาดแล้ว และเป็นคนไทยเกิน 50% จากเดิมจะมีต่างชาติเดินมากกว่า

    แม่เหล็กสำคัญที่ดึงคนไทยมาได้คือโซนร้านอาหารชั้น 2 ซึ่งมีหลายร้านเปิด 24 ชั่วโมง และอีกหลายร้านที่เปิดจนถึงดึกหรือรุ่งเช้า เช่น สุกี้ตี๋น้อย รวมถึง “ดองกิ” ก็เป็นจุดดึงดูดสำคัญเช่นกัน ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาในยุคนี้คือคนทำงานที่ต้องการมาแฮงก์เอาต์กันหลังเลิกงาน

     

    “การเงิน” ธุรกิจหัวจักรใหม่ในการทำกำไร

    หากเปิดงบการเงิน 9 เดือนแรกปี 2565 ในหมวดกำไรจากการดำเนินงาน จะเห็นว่าธุรกิจ “การเงิน” กลายเป็นกลุ่มที่ทำกำไรสูงสุด โดยทำกำไรไป 498 ล้านบาท รองลงมาคือกลุ่ม “อสังหาริมทรัพย์” มีกำไร 141 ล้านบาท ตามด้วย “ประมูลรถ” ที่มีกำไร 137 ล้านบาท ส่วนธุรกิจอย่างศูนย์การค้าและโรงแรมนั้นยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ขาดทุน

    ปี 2566 นี้ศูนย์การค้าและโรงแรมน่าจะได้ฟื้นตัวกลับมา แต่วิจักษณ์มองว่า ยุคหลังโรคระบาดของ MBK น่าจะสลับหัวจักรมาที่กลุ่ม “การเงิน” เพราะถึงแม้ว่ารายได้ส่วนใหญ่จะมาจากศูนย์การค้า แต่ถ้าวัดกันที่กำไร ธุรกิจการเงินมีอัตราทำกำไรสูงกว่า

    ธุรกิจการเงินหลักในกลุ่มนี้คือสินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ “ที ลีสซิ่ง” ซึ่งช่วงที่ผ่านมาบริษัทรุกเข้าตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น และกำลังวางแผนเพิ่มโปรดักส์ “สินเชื่อส่วนบุคคล” พ่วงเข้าไป เนื่องจากดาต้าเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าที่บริษัทมีจะทำให้บริษัทเสนอสินเชื่อส่วนบุคคลได้แม่นยำขึ้น

    ธุรกิจนี้เจอจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่เมื่อปีก่อน จากประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยกรณีของรถจักรยานยนต์กำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 23% ต่อปี วิจักษณ์กล่าวว่า เรื่องนี้ทำให้บริษัทจะต้องเข้มงวดในการคัดเลือกลูกค้ามากขึ้น เพราะปกติอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่านี้ทำให้ลีสซิ่งสามารถยอมให้เกิดหนี้เสียได้มาก แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำลงก็จะต้องควบคุมปริมาณหนี้เสีย

    อย่างไรก็ตาม จุดเปลี่ยนดังกล่าวก็ไม่ทำให้โอกาสในตลาดสินเชื่อน่าสนใจน้อยลง ในระยะยาวน่าจะได้เห็น MBK มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ออกมาอีก และเชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นในเครือด้วย เช่น ลานประมูลรถยนต์ แอพเพิล ออคชั่น

    สุเวทย์กล่าวสรุปถึงความคาดหวังรายได้ของบริษัทในปี 2566 เชื่อว่าอาจจะทำได้ใกล้เคียงปี 2562 ซึ่งปีนั้นบริษัทมีรายได้ถึง 11,431 ล้านบาท และทำกำไรสุทธิ 2,799 ล้านบาท

    ]]>
    1416497
    รวม 5 โครงการพาณิชย์ ห้าง-โรงแรม-ออฟฟิศ สร้างเสร็จปี 2566 ว่าที่ “แลนด์มาร์ก” ใหม่ https://positioningmag.com/1414204 Wed, 28 Dec 2022 11:56:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414204 ปี 2566 มีหลายโครงการพาณิชย์ของเอกชนที่กำลังจะสร้างเสร็จ และมีศักยภาพที่จะเป็น “แลนด์มาร์ก” ใหม่ของเมือง ทั้งโครงการศูนย์การค้า โรงแรม ออฟฟิศ บางส่วนเป็นเฟสแรกหรือเฟสต่อเนื่องของโครงการระดับเมกะโปรเจ็กต์เมืองไทย มีโครงการไหนบ้างไปดูกัน

    (*เรียงตามลำดับเวลาที่คาดว่าจะเปิดบริการ)

    1.โครงการ ICS – ไอคอนสยาม เฟส 2

    โครงการ ICS เป็นเฟส 2 ของเมกะโปรเจ็กต์ “ไอคอนสยาม” ยังคงลงทุนโดยกลุ่มทุนเดิมคือ “สยามพิวรรธน์-แมกโนเลียฯ-ซีพี” ใช้งบลงทุน 4,000 ล้านบาท บนพื้นที่ 5 ไร่ พื้นที่โครงการรวม 70,000 ตร.ม. (พื้นที่ประมาณ 1 ใน 4 ของเฟสแรก) ทำเลที่ตั้งอยู่ตรงข้ามเฟสแรกบนฝั่งถนนเจริญนคร เป็นฝั่งที่ไม่ติดริมแม่น้ำ

    ฝั่ง ICS เองก็เป็นโครงการมิกซ์ยูสเช่นกัน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

    • อาคารรีเทล 8 ชั้น
    • อาคารสำนักงาน ไอซีเอสออฟฟิศทาวน์ ตั้งอยู่บนชั้น 6-8
    • โรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ กรุงเทพ ไอซีเอส เจริญนคร โรงแรม 3 ดาว สูง 19 ชั้น จำนวนห้องพัก 241 ห้อง

    ในส่วนรีเทลที่ประกาศแบรนด์ผู้เช่าออกมาแล้ว เช่น

    • ซูเปอร์มาร์เก็ต – โลตัส (คอนเซ็ปต์ใหม่แบบพรีเมียม)
    • ร้านอาหาร – ซานตาเฟ่, เอี่ยวไถ่ สุกี้โบราณ, Omu, Getfresh, Mos Burger, คริสปี้ ครีม, White Story, ปังสยาม, Fuku Matcha, O-li-no, Bake a Wish, ชาตรามือ
    • Gadget – Garmin, Jaymart
    • เสื้อผ้า เครื่องประดับ – Skechers, U.S.Polo, แว่นท็อปเจริญ, Seven Days Optic
    • Health & Wellness – Siriraj H Solutions, Boots
    • Beauty – Beautrium, Cute Press
    • Home & Living – MR.DIY

    ICS ประกาศฤกษ์เปิดบริการ “11 ม.ค. 2566” อย่างที่เห็นว่าตำแหน่งทางการตลาดและแบรนด์ที่มาลงพื้นที่เช่าจะมีความ “แมส” มากกว่า “จับต้องได้” กว่าเฟสแรกชัดเจน ก็จะทำให้พื้นที่ไอคอนสยามยิ่งดึงดูดทราฟฟิกได้หลากหลาย ยิ่งตอกย้ำความเป็นแลนด์มาร์กของฝั่งธนบุรี

     

    2.One City Centre เพลินจิต

    อาคารสำนักงาน One City Centre

    อาคารสำนักงาน One City Centre เพลินจิต เป็นโครงการจากการร่วมทุนของ บมจ.ไรมอนแลนด์ กับ Mitsubishi Estate จากญี่ปุ่น ใช้งบลงทุน 8,800 ล้านบาท สร้างอาคารที่จะเป็นแลนด์มาร์กใหม่ของย่านเพลินจิต ณ แปลงที่ดินขนาด 6 ไร่ ติดกับอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

    เหตุที่บอกว่าจะเป็นแลนด์มาร์ก เพราะขณะนี้ตึกสร้างเสร็จแล้ว มีความสูง 61 ชั้น สูง 275 เมตร ซึ่งถือเป็นตึกอาคารสำนักงานที่สูงที่สุดในไทย (หากรวมอาคารทุกประเภท จะสูงเป็นอันดับ 5 ของไทย) และด้านบนรูฟท็อปของอาคารจะเป็นร้านอาหาร-บาร์ ทำให้เป็นตึกใหม่ในการขึ้นไปชมวิวเมืองในอนาคต

    อีกส่วนที่สำคัญคือ One City Centre เว้นพื้นที่หน้าตึกสร้างเป็นสวนสีเขียว 3 ไร่ กลายเป็นปอดแห่งใหม่ใจกลางเมือง ที่สำคัญคือเป็นปอดที่คนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานได้แบบสาธารณะ ท่ามกลางตึกสูงมากมายในย่าน จุดนี้น่าจะเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจแห่งใหม่ของคนทำงานได้เลย

    One City Centre จะเริ่มเปิดให้ผู้เช่าเข้าตกแต่งได้ในต้นปี 2566 และไม่นานหลังจากนั้นเราน่าจะได้เห็นพิธีเปิดตึกอย่างเป็นทางการ

     

    3.วงศ์อมาตย์ บีช วิลเลจ

    วงศ์อมาตย์ บีช วิลเลจ เซ็นทรัล

    โปรเจ็กต์พิเศษของ “กลุ่มเซ็นทรัล” ศูนย์การค้านี้ดีไซน์ไม่เหมือนศูนย์การค้าทั่วไป เพราะจะเป็นไลฟ์สไตล์มอลล์แนวราบที่มีการถมทรายเข้ามาในบริเวณโครงการ ทำให้เหมือนได้เดินอยู่บนชายหาดตลอดเวลา

    เซ็นทรัลใช้งบลงทุน 3,000 ล้านบาท เนรมิตที่ดิน 13 ไร่บริเวณริมชายหาดวงศ์อมาตย์ เมืองพัทยา ให้เป็นมอลล์ชายหาดระดับลักชัวรี เน้นบรรยากาศธรรมชาติ แบ่งสัดส่วน 70% เป็นกลุ่มร้านอาหาร คาเฟ่ และอีก 30% เป็นร้านค้าปลีก พร้อมรับนักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ทานบรันช์ยามสายจนถึงปาร์ตี้แสงสียามค่ำ

    ขณะนี้แบรนด์ที่มีการประกาศว่าจะมีในโครงการ ได้แก่ Siwilai City Club และ %Arabica และแบรนด์อื่นๆ ที่จะเข้ามาก็จะเน้นระดับไฮเอนด์เช่นกัน ซึ่งเซ็นทรัลเชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยยกระดับพัทยาให้มีสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวระดับบนได้มากขึ้น

    เดิมเซ็นทรัลประกาศว่า วงศ์อมาตย์ บีช วิลเลจ จะเปิดตัวปลายปี 2565 แต่เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาโครงการยังคงมองหาผู้เช่า ก็เป็นไปได้ว่าไทม์ไลน์การเปิดน่าจะขยับไปเป็นปี 2566 แทน

     

    4.One Bangkok เฟสแรก

    โครงการ One Bangkok

    อภิมหาเมกะโปรเจ็กต์ One Bangkok ลงทุนโดยสองบริษัทของตระกูลสิริวัฒนภักดี ได้แก่ บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ทุ่มงบสำหรับทั้งโครงการไป 1.2 แสนล้านบาท เพื่อพัฒนาพื้นที่ 104 ไร่

    ที่ตั้งของโครงการอยู่หัวมุมแยกถนนพระราม 4 ตัดถนนวิทยุ ตรงข้ามสวนลุมพินี ภายในจะเป็นเมืองในตัวเองก็ว่าได้ เพราะมีอาคารสำนักงานถึง 5 อาคาร พื้นที่รีเทล 4 โซน โรงแรมอีก 5 แห่ง และคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี 3 อาคาร

    ไทม์ไลน์การก่อสร้างนั้นวางแผนจะเปิดเฟสแรก ปี 2566 และเสร็จสิ้นทั้งโครงการปี 2569

    เฟสแรกที่จะเปิดก่อนตามแผนคือ โรงแรม The Ritz-Carlton Bangkok และ โรงแรม Andaz One Bangkok เป็นสองตึกแรกที่จะเสร็จสิ้นก่อน

    ส่วนไฮไลต์ของโครงการคือ “Signature Tower” ว่าที่อาคารที่สูงที่สุดในไทยแห่งใหม่ ด้วยความสูง 437 เมตร 92 ชั้น คาดว่าน่าจะสมบูรณ์ในปี 2569

     

    5.The Emsphere

    จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายของ The EM DISTRICT ของ เดอะมอลล์ กรุ๊ป คือศูนย์การค้า The Emsphere (ดิ เอ็มสเฟียร์) ที่กำลังเร่งการก่อสร้างอยู่ขณะนี้ ด้วยงบประมาณลงทุนที่อาจแตะถึง 16,000 ล้านบาท ปั้นพื้นที่บริเวณพร้อมพงษ์ให้เป็นย่านช้อปปิ้งระดับโลก

    จากการแถลงข่าวล่าสุดเดือนตุลาคม 2565 เดอะมอลล์ระบุว่า The Emsphere ทำการก่อสร้างไปแล้ว 90% มั่นใจว่าจะเสร็จทันกำหนด เดือนธันวาคม 2566

    The Emsphere นี้ทำเลจะอยู่ถัดจากสวนเบญจสิริ เนื้อที่ถึง 20 ไร่ มีพื้นที่อาคาร 200,000 ตร.ม. ใช้คอนเซ็ปต์ Hybrid New Entertain & Hang Out มีร้านอาหารที่รองรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ เป็นศูนย์การค้าแรกในไทยที่มี Beach Club มาตั้งอยู่ภายในห้างฯ เน้นความบันเทิงและนวัตกรรม

    ไฮไลต์ผู้เช่าที่น่าสนใจที่เปิดเผยแล้ว เช่น IKEA City Store แห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, EMLIVE ซึ่งเป็น World Class Arena 6,000 ที่นั่ง บริหารงานโดย AEG

    ยังมีอีกหลายโครงการที่กำลังก่อสร้างและจะทยอยพลิกโฉมเมืองในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็น โครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ที่จะเปิดเฟสแรกต้นปี 2567, แบงค็อก มอลล์ ที่คาดว่าจะเริ่มให้บริการบางส่วนได้ในปี 2567, อควอทิค พัทยา ที่จะเริ่มเปิดปี 2567, One Bangkok ที่ยังเหลืออีกหลายเฟสจนถึงปี 2569 หรือโครงการเวิ้งนครเขษม ที่คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ปี 2569 เช่นกัน

    ]]>
    1414204
    ‘เดอะมอลล์ กรุ๊ป’ เดินหน้าผนึก 2 เจ้าสัว ‘เจริญ-ซีพี’ หวังพลิกโฉมบางกะปิ เทียบชั้น ‘The EM District’ https://positioningmag.com/1409677 Wed, 23 Nov 2022 11:36:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409677 ย้อนไปปี 2020 ที่ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้ Rebranding เดอะมอลล์งามวงศ์วาน และ ท่าพระ โดยใช้งบไปสาขาละกว่า 5,000 ล้านบาท ล่าสุด ก็ถึงคิวของเดอะมอลล์ บางกะปิ และ บางแค สองสาขาที่เปิดตัวพร้อมกันตั้งแต่ปี 1994 ซึ่งทั้งสองสาขานี้ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะถือเป็น แฟลกชิป ของเดอะมอลล์ ทั้งในแง่ของเรเวอร์นิวและทราฟฟิก

    ทุ่ม 20,000 ล้านแปลงโฉมใหม่หมด

    ศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ได้เล่าว่า เมื่อเกือบ 30 ปีก่อนที่เปิดตัว เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยใช้สโลแกน อาณาจักรแห่งความสุขทุกครอบครัว แต่ปัจจุบันมันเชยแล้ว ต้องเป็น ไลฟ์สโตร์ ซึ่งทันสมัยและเหมาะกับคนรุ่นใหม่ ดังนั้น เดอะมอลล์ต้องต้องรีเฟรชตัวเองให้ทันสมัย ทำให้ต้อง Rebranding เป็น M Lifestore โดยเปลี่ยนโลโก้ให้ทันสมัย ภายใต้คอนเซ็ปต์ A Happy Place to live life

    โดยทั้ง 2 ศูนย์จะเริ่มทยอยรีโนเวตตั้งแต่ปลายปีนี้ ภายใต้งบ 20,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2023 ซึ่งการรีโนเวตจะเน้น 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

    • URBAN ได้ยกระดับความครบครันทันสมัยเสมือนยกห้างพารากอนมาไว้ และจะมีการเชื่อมพื้นที่จากสถานีรถไฟฟ้า MRT เข้าสู่ตัวตึกทั้ง 2 สาขา
    • LIFE ได้รวบรวมรูปแบบของความสุขในการใช้ชีวิตที่หลากหลาย และจะเพิ่มแบรนด์ใหม่ ๆ รวมกว่า 1,000 แบรนด์ ใน 8 กลุ่ม รวมถึงจะมีคอนเซ็ปต์ใหม่ ๆ ของแต่ละแบรนด์ด้วย
    • NATURE มีการออกแบบศูนย์ให้ผสมผสานธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพักผ่อนและสันทนาการ

    นอกจากนี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ยังได้ใช้งบลงทุนอีก 4,000-5,000 ล้านบาท ในการรีโนเวต พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2024

    ศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

    สำหรับเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ มีพื้นที่ 350,000 ตารางเมตร พื้นที่รอบ 10 กิโลเมตร มีประชากรกว่า 2 ล้านคน และมีประชากรดิจิตอลสูงถึง 5 ล้านคน มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่พัก คอนโดมิเนียมมากกว่า 1.2 ล้านยูนิต นอกจากนี้ ยังตั้งอยู่บนถนนลาดพร้าว – บางกะปิ แยกบางกะปิ และลำสาลี ซึ่งกำลังจะมี สถานีลำสาลี ที่เป็นศูนย์รวมการเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าหลัก 3 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง, โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย – ลำสาลี)

    ส่วนศูนย์การค้าเดอะมอลล์บางแคมีพื้นที่ 350,000 ตารางเมตรเช่นกัน ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม – กาญจนาภิเษก มีประชากรกว่า 1.5 ล้านคน และมีประชากรดิจิตอล 3.5 ล้านคน มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่พัก คอนโดมิเนียม มากกว่า 700,000 ยูนิต และอนาคตจะมี รถไฟฟ้าสถานีหลักสอง และ สายเฉลิมรัชมงคล เป็นเครือข่ายคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพฝั่งตะวันตก

    ต้องการปั้นบางกะปิเทียบชั้น The EM District

    ศุภลักษณ์ เล่าต่อว่า ย่านบางกะปิถือเป็นย่านที่สำคัญมาก เพราะเป็นทำเลที่เชื่อมทั้งเส้นลาดพร้าว, รามคำแหง, บางกะปิ, นวมินทร์, มีนบุรี และศรีนครินทร์ โดยเฉพาะเมื่อมี รถไฟฟ้า 3 สาย ตัดผ่าน นอกจากนี้ ยังสามารถเดินทางทาง เรือ ผ่านคลองแสนแสบ ซึ่งปัจจุบัน คิดเป็นทราฟฟิกประมาณ 10% ของเดอะมอลล์ บางกะปิ

    ดังนั้น เดอะมอลล์ กรุ๊ป จึงหวังที่จะพัฒนาย่านดังกล่าวให้เป็น All in One ที่สมบูรณ์แบบ แบบเดียวกับย่านการค้าดัง ๆ ในต่างประเทศ เหมือนกับการพัฒนา The EM District โดยดึง กลุ่ม AWC ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่มีพื้นที่โครงการตะวันนารวมแล้วประมาณ 27 ไร่ และมีพื้นที่ ห้างแม็คโครของเครือซีพีอีก 30 ไร่ เพื่อสร้างย่านการค้า

    “นี่เป็นโปรเจกต์ร่วมกันกับคุณเอ๋ วัลลภา ไตรโสรัส ซึ่งเราร่วมมือกันตั้งแต่โปรเจกต์ The EM District แล้ว แต่พอรถไฟฟ้าเสร็จเราเลยมีแผนที่จะพัฒนาชุมชนแถวนั้น โดยจะยกความเป็นเออร์เบิร์น ยกความเจริญเข้ามา ให้คนไม่ต้องเข้าเมือง ครอบคลุมกลุ่มคนทุกระดับ ซึ่งเรายังมีอีกหลายโปรเจกต์ที่คุยกันแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนกับทางซีพีก็เริ่มมีการคุยกันแล้ว”

    วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ทายาทเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี

    เชื่อมั่น 2023 ปีทองเดอะมอลล์ กรุ๊ป

    สำหรับปี 2023 ศุภลักษณ์ เชื่อมั่นว่าจะเป็น ปีทอง ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป เพราะโปรเจกต์ The EM District ซึ่งเป็นย่านการค้าที่ประกอบด้วยดิ เอ็มโพเรียม, ดิ เอ็มควอเทียร์ และล่าสุดกับโครงการดิ เอ็มสเฟียร์ ที่ลงทุนกว่า 60,000 ล้านบาท บนเนื้อที่รวม 50 ไร่ มีพื้นที่ในศูนย์รวมกันกว่า 650,000 ตารางเมตร จะเปิดให้บริการภายใน สิ้นปี 2023 เช่นเดียวกับการรีโนเวตเดอะมอลล์ บางกะปิและบางแค ที่จะแล้วเสร็จในช่วงเดียวกัน

    สูตรสำเร็จเดอะมอลล์ คือ โลเคชั่น โลเคชั่น โลเคชั่น ดังนั้น ทุกโปรเจกต์ของเราต้องเป็นทำเลหรือจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เราขยายไม่เยอะเพราะถ้าทำเลไม่ดีเราไม่ทำ เล็ก ๆ เราก็ไม่ทำ เพราะเราไม่แข่งในสนามเล็ก เราจะลงเฉพาะสนามใหญ่ ๆ เท่านั้น เพราะเราต้องการสร้างย่านที่สมบูรณ์”

    นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าในปีหน้านักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมา ซึ่งจะคิดเป็นสัดส่วน 20% ของ GDP เติบโตจากปี 2022 ที่คิดเป็น 10% ของ GDP ซึ่งยังไม่มี นักท่องเที่ยวจีน และหลังจากที่เดอะมอลล์บางกะปิ และบางแครีโนเวตเสร็จ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มทราฟฟิกอีก 30%

    นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ทราฟฟิกของเดอะมอลล์กลับมาเท่ากับปี 2019 และคาดว่าภายในสิ้นปีจะมียอดขายรวม 5 หมื่นล้านบาท ทั้งที่ช่วงไตรมาสแรกยังได้ผลกระทบจากโควิด ดังนั้นปีหน้า เราเชื่อว่าจะเป็นปีทองของเดอะมอลล์ กรุ๊ป”

    รีเทลยุคนี้ยาก ต้องครบสมบูรณ์แบบ

    ศุภลักษณ์ ย้ำว่า ศูนย์การค้ายุคนี้ต้อง ยิ่งใหญ่ เพียบพร้อม สมบูรณ์แบบ เพราะต้องเอาใจคนให้ได้ทุกเซ็กเมนต์ เพื่อจะเก็บลูกค้าให้ได้ทุกกลุ่ม เนื่องจากลูกค้าคิดแล้วว่าถ้าจะเสียเวลามามันต้องคุ้ม ดังนั้น เดอะมอลล์ต้องตามลูกค้าให้ทัน หรือไม่ก็ต้องเป็นผู้นำเทรนด์ให้ลูกค้า เพราะรอให้ลูกค้ามาบอกว่าต้องการอะไรมันไม่ทัน

    “วิชั่นเราต้องก้าวไปก่อนคนอื่น ถ้าเราจะเป็นผู้นำเราต้องไม่เป็นผู้ตาม ดังนั้น เราต้องมีความกล้า ต้องก้าวออกจากกรอบ แน่นอนทุกอย่างมีความเสี่ยง แต่เราเชื่อว่าเรามีประสบการณ์ 40 ปี ที่ผ่านมาทุกวิกฤต และเรามีพันธมิตรที่พร้อมจะไปกับเราจริง ๆ ในทุกสถานการณ์”

    ]]>
    1409677