สามย่านมิตรทาวน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 26 Sep 2024 08:34:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สรุป 5 ปี “สามย่านมิตรทาวน์” เคล็ดลับปั้นห้างฯ ให้ปัง! เลี้ยงกระแสไม่มีตก https://positioningmag.com/1491900 Thu, 26 Sep 2024 08:34:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1491900 ครบรอบ 5 ปีเปิดตัว “สามย่านมิตรทาวน์” มิกซ์ยูสในมือ “เฟรเซอร์สฯ” ที่มีองค์ประกอบ “ศูนย์การค้า” เป็นแห่งแรกของเครือนี้ และกลายเป็นตัวอย่างศูนย์ฯ ที่ประสบความสำเร็จเกินคาด มีทราฟฟิกต่อวันมากกว่าเป้าหมายเกือบ 2.7 เท่า!

ย้อนไปเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562 เป็นวันเปิดตัวโครงการมิกซ์ยูส “สามย่านมิตรทาวน์” โครงการที่มีองค์ประกอบครบทั้งศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม และคอนโดมิเนียม ท่ามกลางการจับตามองของสังคมว่า “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” เจ้าของโครงการจะพัฒนาออกมาในรูปแบบไหน และจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะเป็นครั้งแรกที่บริษัทนี้พัฒนารีเทลเต็มตัว

หลังจากนั้นไม่ถึงครึ่งปี อย่างที่ทราบกันดีว่าเกิดโควิด-19 ระบาดทั่วโลก สะเทือนโครงการหน้าใหม่อย่างสามย่านมิตรทาวน์ แต่โครงการยังเอาตัวรอดมาได้จนถึงช่วงฟื้นตัวของตลาดรีเทลในประเทศไทย

สามย่านมิตรทาวน์
“ธนพล ศิริธนชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

จนถึงปัจจุบันนี้ “ธนพล ศิริธนชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สรุปความสำเร็จในทุกองค์ประกอบของโครงการมิกซ์ยูส “สามย่านมิตรทาวน์” ดังนี้

  • มิตรทาวน์ ​ออฟฟิศ ทาวเวอร์– พื้นที่เช่า 48,000 ตร.ม. อัตราการเช่า 98%
  • คอนโดมิเนียมขายหมด 100% ราคาปล่อยเช่าเพิ่มขึ้นจาก 20,000 บาทต่อเดือนในช่วงตึกเสร็จ เป็น 30,000 บาทต่อเดือนในปีนี้ (*เป็นคอนโดฯ ลีสโฮลด์ 30 ปี)
  • โรงแรมทริปเปิ้ลวายอัตราเข้าพักเฉลี่ย 90% ได้กลุ่มลูกค้าเที่ยวเอง (FIT) และครูอาจารย์ที่เข้ามาติดต่อจุฬาฯ
  • ศูนย์การค้าอัตราการเช่า 98% ทราฟฟิกเฉลี่ย 80,000 คนต่อวัน โดย 70-80% เป็นนักเรียน นิสิต และพนักงานออฟฟิศ
โรงแรมทริปเปิ้ลวาย ได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวจีน

นับว่าเป็น ‘use case’ ความสำเร็จของเครือเฟรเซอร์สฯ ที่ช่วยเสริมแรงเป้าหมายสร้าง “ระเบียงพระราม 4” ที่ “ปณต สิริวัฒนภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หรือ FCL ได้ให้วิสัยทัศน์ไว้

 

ทำเลทอง…แต่คนอื่นก็ทองเหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม หลายๆ คนอาจจะมองว่าในส่วน “ศูนย์การค้า” ของสามย่านมิตรทาวน์นั้นไม่มีทางที่จะไม่สำเร็จ เพราะด้วยทำเลทองฝังเพชร ติดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดสถานี MRT สามย่าน เปิดอะไรมาวัยรุ่นก็น่าจะมาเดิน มาช้อป มากิน

แต่ธนพลชี้ว่า ความเป็นจริงไม่ได้ง่ายอย่างนั้น เพราะหากมองมุมกลับ “จุฬาฯ” รายล้อมด้วยศูนย์การค้ามาแต่ไหนแต่ไร ทุกอย่างมีครบตั้งแต่ MBK Center, สยามดิสคัฟเวอรี, สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน, สยามสแควร์ หรือจะไล่ไปถึงเซ็นทรัลเวิลด์ก็ได้ แม้กระทั่งย่านเกิดใหม่ล่าสุดอย่าง “บรรทัดทอง” ก็มีส่วนทับซ้อนในการดึงลูกค้าสายกินออกไป

อีเวนต์ประจำปี “ลานนมสามย่าน”

งานของสามย่านมิตรทาวน์จึงไม่ใช่ว่าง่ายดาย ธนพลบอกว่าที่จริงโครงการเคยตั้งเป้าทราฟฟิกคนเดินไว้เพียง 30,000 คนต่อวันก็พอใจแล้ว แต่วันนี้ทราฟฟิกพุ่งทะลุ 80,000 คนต่อวัน หากเป็นช่วงที่มีกิจกรรม/อีเวนต์พิเศษเคยพุ่งไปแตะ 100,000 คนต่อวัน เรียกว่าเกินเป้ามาไกลมาก

 

3 ปัจจัยสำคัญส่งรีเทล “สามย่านมิตรทาวน์” ยังแข็งแรง

ธนพลกล่าวต่อว่า 3 ปัจจัยสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสูตรที่ทำให้โซนศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ประสบความสำเร็จ ได้แก่

1.คอนเซ็ปต์ชัดเจน

สามย่านมิตรทาวน์วางคอนเซ็ปต์ไว้ว่าจะเป็นศูนย์การค้าที่ “Smart & Friendly” บรรยากาศเป็นมิตร เดินง่าย สบายๆ แต่งตัวชิลๆ มาได้ทุกวัน

รวมถึงร้านค้าภายในจะเน้นประเภท “Food & Knowledge” คือเป็นคลังอาหารและการเรียนรู้ ตัวอย่างแม่เหล็กสำคัญ เช่น “Food Legend” ฟู้ดคอร์ทร่วมบริหารโดยเครือ MBK Group มีการดึงร้านอาหารดังของสามย่านเข้ามา ช่วยสร้างตัวตนที่ชัดเจนของศูนย์ฯ “House Samyan” โรงภาพยนตร์แนวอินดี้ที่ดึงเข้ามาสร้างความแตกต่างจากโรงหนังในศูนย์ฯ อื่นๆ “Medium & More” ร้านเครื่องเขียนและศิลปะงานฝีมือ ตอบโจทย์เรื่องการเรียนรู้ พัฒนาทักษะของคน

สามย่านมิตรทาวน์
บรรยากาศสบายๆ ของสามย่านมิตรทาวน์
2.คิดนอกกรอบ

มีองค์ประกอบบางอย่างที่เกิดขึ้นในสามย่านมิตรทาวน์เป็นที่แรกๆ เช่น

  • การเปิด “โซน 24 ชั่วโมง”เป็นศูนย์การค้าแห่งที่สองต่อจาก เดอะ สตรีท รัชดา ที่มีโซนเปิดบริการทั้งวันทั้งคืน โดยมีจุดสำคัญคือ “Samyan CO-OP” (สนับสนุนโดย KBank และ C-Asean) พื้นที่อ่านหนังสือและประชุมงานฟรีที่เปิด 24 ชั่วโมง
  • “อุโมงค์เชื่อมมิตร” – เปลี่ยนจุดอ่อนเป็นจุดขาย ด้วยที่ตั้งของศูนย์ฯ​ จะมีระยะทางเดินพอสมควรออกมาจากสถานีรถไฟฟ้า ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการปล่อยให้อุโมงค์ใต้ดินที่เชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้า “เปลือย” สร้างความแปลกใหม่ให้คนมาใช้บริการ และกลายเป็นจุดขายในการจัดอีเวนต์ ตกแต่งเป็นจุดถ่ายรูปแลนด์มาร์ก
  • “อีเวนต์ไร้แอลกอฮอล์” – ด้วยทำเลติดสถานศึกษาจึงไม่สามารถขายแอลกอฮอล์ได้ บริษัทจึงพลิกแนวคิดสร้างเป็นจุดขายใหม่ที่ถูกใจกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง เช่น “ลานนมสามย่าน” เปลี่ยนจากลานเบียร์มาทำลานนม หรือ “เทศกาลสงกรานต์ปลอดเหล้า” ทำให้ปลอดภัยเหมาะกับเยาวชน
สามย่านมิตรทาวน์
“Samyan CO-OP” ปัจจุบันมีคนมาใช้บริการเฉลี่ย 1,500 คนต่อวัน
ตัวอย่างการใช้งานอุโมงค์เชื่อมมิตร สามารถตกแต่งสถานที่เพื่อเข้ากับอีเวนต์ใหม่ๆ
3.การเชื่อมโยงไร้รอยต่อ

วิธีการออกแบบโครงการมิกซ์ยูสของที่นี่ในแต่ละส่วนจะทำทางเดินเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน ให้ไม่รู้สึกขัดเขินที่จะเดินเชื่อมเข้าสู่อีกโซน ลูกค้าจากทั้งออฟฟิศ โรงแรม และคอนโดฯ จึงเดินมาใช้บริการในศูนย์การค้าเป็นประจำ รวมถึงทีมบริหารจัดการทั้งตึกเป็นทีมเดียวกัน ทำให้การปรับปรุงพัฒนาต่างๆ จะเกิดขึ้นไปด้วยกันทั้งโครงการ

 

นามสกุล “มิตรทาวน์” ยังไม่มีแผนไปต่อ

ด้วยความสำเร็จเหล่านี้ทำให้ทุกคนคาดหวังว่าเฟรเซอร์สฯ จะมีการนำโครงการนามสกุล “มิตรทาวน์” ไปปักหมุดที่อื่นเพิ่ม แต่ธนพลตอบคำถามนี้ว่า “ยังไม่มีแผนใดๆ” เพราะมองว่าถึงจะมีแกนกลางบางอย่างที่สามารถนำไปทำต่อที่ทำเลอื่นได้ แต่หลายๆ อย่างเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์เจาะลึกเฉพาะพื้นที่นั้น เพื่อให้การพัฒนาโครงการมีความเชื่อมโยงกับคนในชุมชน

“เมื่อก่อนการทำโครงการมักจะทำให้ แมสไว้ก่อน คือใครก็มาได้ แต่วันนี้คิดว่าเราจะต้องลงเซ็กเมนต์เฉพาะ มีภาพที่ชัดเจนว่าใครจะมาเดิน คอนเซ็ปต์เป็นแบบไหน ก็จะทำให้ได้กลุ่มเฉพาะแบบสามย่านมิตรทาวน์” ธนพลกล่าวปิดท้าย

]]>
1491900
ครบรอบ 3 ปี “สามย่านมิตรทาวน์” ถอดสูตรปัจจัยอะไรที่ทำให้ ‘เกิด’ ได้กลางสมรภูมิรีเทล https://positioningmag.com/1401300 Thu, 22 Sep 2022 07:29:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401300 “สามย่านมิตรทาวน์” เปิดตัวครบรอบ 3 ปี พิสูจน์ตนเองยังยืนหยัดได้ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาด โชว์ทราฟฟิกดีดทะลุเป้าที่ 79,000 คนต่อวัน อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ศูนย์การค้าหน้าใหม่สามารถสร้างความสำเร็จได้ แม้ทำเลอยู่ไม่ห่างจากย่านสารพัดห้างฯ อย่าง “สยามสแควร์”

“สามย่านมิตรทาวน์” เป็นศูนย์การค้าแห่งแรกที่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) หรือ FPCT พัฒนาและบริหาร ถือเป็นผู้เล่นใหม่ที่ก้าวเข้ามาในธุรกิจศูนย์การค้า และถูกรับน้องโดยบังเอิญจาก COVID-19 ซึ่งเริ่มระบาดขึ้นภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนหลังเปิดศูนย์ฯ

แต่ศูนย์ฯ สามารถประคองตัวผ่านช่วงเวลาการล็อกดาวน์และกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง โดยแม่ทัพใหญ่ “ธีรนันท์ กรศรีทิพา” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล FPCT ระบุว่า ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 ศูนย์ฯ มีทราฟฟิกเพิ่มเป็น 79,000 คนต่อวันแล้ว หากเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ตัวเลขนี้สูงขึ้นถึง 35% และเชื่อว่าเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 ทราฟฟิกจะโตขึ้นอีก 10% เพราะเป็นหน้าเทศกาลที่คนจะออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น

สามย่านมิตรทาวน์

อย่างน้อยๆ จนถึงสิ้นปีนี้ทราฟฟิกน่าจะทะลุ 80,000 คนต่อวัน เรียกว่าทราฟฟิกของสามย่านมิตรทาวน์ทำได้เกินเป้าที่เคยตั้งไว้เมื่อต้นปี 2565 ซึ่งขณะนั้นคาดว่าทราฟฟิกจะอยู่ราวๆ 70,000 คนต่อวัน

ในโอกาสครบรอบ 3 ปีของสามย่านมิตรทาวน์ ธีรนันท์วิเคราะห์ “สูตรความสำเร็จ” ของบริษัทที่ทำให้ศูนย์ฯ แจ้งเกิดได้ ซึ่งมีทั้งประเด็นโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ฯ เองและการจัดการของฝ่ายบริหารที่ทำให้ติดตลาด รวมทั้งหมด 5 ปัจจัย ดังนี้

 

1.ทำเล ทำเล ทำเล

สามย่านเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยตั้งแต่แบบดั้งเดิมจนถึงคอนโดมิเนียมสมัยใหม่ (ต่างจากพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ซึ่งโดยรอบมีที่อยู่อาศัยน้อยกว่า) อีกทั้งสถานีสามย่านยังติด Top 10 สถานี MRT ที่มีคนเข้าออกมากที่สุด และที่สำคัญมากคือ รอบๆ เป็นสถาบันการศึกษา

การมีนักเรียนนักศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายมีเสน่ห์ที่แตกต่างคือ แต่ละปีสถาบันฯ จะรับนักเรียนนักศึกษากลุ่มใหม่เข้ามาเสมอ และหากเด็กๆ น้องใหม่เหล่านี้ยังไม่เคยมาสามย่าน ย่อมอยากจะมาเดินเล่นที่สามย่านมิตรทาวน์สักครั้ง

 

2.การเป็นโครงการมิกซ์ยูส

เมื่อไม่ได้เป็นศูนย์การค้าทั้งโครงการ แต่ผสมผสานทั้งตึกออฟฟิศ โรงแรม และคอนโดฯ ทำให้แต่ละส่วนสนับสนุนกันและกัน กรณีของศูนย์ฯ คือจะได้ทราฟฟิกจากอีก 3 ส่วนเข้ามาหล่อเลี้ยงโครงการแน่นอน

ปัจจุบันอัตราการใช้พื้นที่ทุกส่วนแทบจะเต็มทั้งหมดแล้ว ได้แก่ โซนศูนย์การค้า มีผู้เช่า 98% ของพื้นที่, โซนออฟฟิศ มีผู้เช่า 95% ของพื้นที่, โซนโรงแรม อัตราเข้าพักแตะ 90% และคอนโดมิเนียม ขายหมด 100% (จำนวนห้องชุด 500 กว่ายูนิต)

เมื่อมีคนหลากหลายทำให้ทราฟฟิกมีส่วนผสมหลายวัย แบ่งเป็น นักเรียน-นิสิต 50% พนักงานออฟฟิศ 40% ครอบครัวและเด็ก 10% (ส่วนใหญ่กลุ่มครอบครัวจะมาในช่วงเสาร์-อาทิตย์)

สามย่านมิตรทาวน์

3.ส่วนผสมของร้านค้า/ผู้เช่าโดนใจกลุ่มเป้าหมาย

ส่วนผสมร้านค้าในศูนย์ฯ 40% เป็นร้านอาหาร เป็นประเภทร้านที่มีมากที่สุด เพราะเข้าใจไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มาศูนย์ฯ เพื่อทานอาหาร

รองๆ ลงมาเป็นโซน Lifelong Learning มีโรงเรียนสอนทักษะหลายประเภทที่เรียนได้ทั้งวัยเรียนและวัยทำงาน รวมถึงโซนช้อปปิ้งก็เป็นสินค้าทั่วไปที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ เช่น Muji ถือเป็นร้านแม่เหล็กและขายดีมาก

สามย่านมิตรทาวน์ยังมีไฮไลต์ที่โซน 24 ชั่วโมงซึ่งตรงจริตกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น Samyan CO-OP พื้นที่อ่านหนังสือ ประชุม ทำงานได้ฟรี หรือ AIS E-Sports ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ

โซนร้านอาหาร

“ขณะนี้นิสิตกลับมาเรียนออนไซต์เป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่ถึงแม้ว่ามีบางวันอาจารย์อาจจะให้เรียนออนไลน์ น้องๆ ก็จะออกไปนั่งเรียนออนไลน์พร้อมกับเพื่อนอยู่ดี เพราะความรู้สึกที่อยากจะกลับมาอยู่กับกลุ่มเพื่อนของเขา” ธีรนันท์เจาะอินไซต์นักเรียนนักศึกษา ซึ่งทำให้โซน 24 ชั่วโมงจะมีคนคึกคักไปจนถึงประมาณตี 2-3

พื้นที่ที่หลากหลายทำให้ปัจจุบันลูกค้าจะใช้เวลาเฉลี่ยครั้งละ 3-4 ชั่วโมงในศูนย์ฯ

 

4.อีเวนต์มาร์เก็ตติ้ง

ประเด็นนี้ถือว่าเป็นหัวใจในการปั้นให้สามย่านมิตรทาวน์ติดตลาด เพราะถ้าไม่มีการตลาดใดๆ ทำเลนี้มีศูนย์การค้าพร้อมดึงทราฟฟิกอยู่แล้ว ไล่ตั้งแต่ MBK Center, สยามสแควร์ ไปจนถึงสยามพารากอน

“คนอาจมองว่าเราไม่เห็นต้องทำมาร์เก็ตติ้งอะไรมากมาย เพราะเราตั้งอยู่กลางกลุ่มลูกค้าอยู่แล้ว ไม่จริงนะคะ เพราะคนรุ่นใหม่อย่างไรเขาก็ต้องการแบรนด์ ต้องการการตลาดดึงให้เขามาเดินที่นี่” ธีรนันท์กล่าว

GIANT PROJECTION MAPPING LANDMARK ของ NST fair : Science Carnival Bangkok

หลักคิดการพัฒนาอีเวนต์ของสามย่านมิตรทาวน์คือต้อง “เร็ว” และ “ตรงรสนิยมเป้าหมาย” เพราะกระแสของคนยุคนี้มาไวไปไว มีเรื่องฮิตขึ้นมาอย่างหนึ่งต้องจับกระแสจัดงานทันที โดยงานตามเทรนด์เหล่านี้อาจจะทำในไซส์ XS มีพื้นที่ให้ถ่ายรูป ทำคอนเทนต์ลงโซเชียลหน่อย ถือว่าสำเร็จตามจุดประสงค์

“เมื่อเราทำอีเวนต์ที่มันใช่ ตรงกับทาร์เก็ตเราจริงๆ เด็กรุ่นนี้เขา Digital Native อยู่แล้ว เขาจะถ่ายรูปลงโซเชียล ช่วยแชร์ต่อให้”

 

5.เป็นพาร์ทเนอร์เติบโตไปกับผู้เช่า

ธีรนันท์กล่าวว่า ที่สามย่านมิตรทาวน์จะมีวิธีคิดแตกต่าง คือไม่ได้ให้ความสำคัญกับ ‘ความเชี่ยวชาญ’ ของผู้เช่าเป็นหลัก แต่พร้อมจะเติบโตไปกับผู้เช่าที่เป็น SMEs หน้าใหม่ เชื่อว่าหลายแบรนด์ไทยมีศักยภาพ และทำให้ศูนย์ฯ มีร้านที่แตกต่างจากที่อื่นด้วย

หลังจากครบ 3 ปี ศูนย์ฯ เพิ่งมีการต่อสัญญารอบสองไป โดยพบว่าร้านเช่าที่ต้องโบกมือลากันมีประมาณ 5% เท่านั้น

ส่วนการพัฒนาในอนาคตที่จะมีการปรับปรุงต่อไป ธีรนันท์แย้มว่าบริษัทจะมุ่งเน้นกับชั้น 2-3 ของศูนย์ฯ ให้มีชีวิตชีวามากขึ้นกว่านี้

ปัจจุบัน FPCT มีพื้นที่รีเทลที่บริหาร 3 แห่ง นอกจากสามย่านมิตรทาวน์ ล่าสุดคือการเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) บริษัทนี้เป็นผู้บริหารส่วนรีเทลให้ และในวันที่ 3 ตุลาคมนี้ จะเริ่มเปิดเฟส 1 โซนรีเทลของตึก “สีลม เอจ” ซึ่งจะเป็นโซน 24 ชั่วโมงอีกแห่งบนถนนพระราม 4 ต้องรอดูต่อไปว่า ‘สูตร’ การบริหารที่สามย่านมิตรทาวน์จะถูกนำไปใช้ในรีเทลอื่นๆ ที่มีกลุ่มลูกค้าต่างกันอย่างไร

]]>
1401300
เปิดผัง “สีลมเอจ” รีเทลใหม่กินเที่ยว 24 ชม. “สามย่านมิตรทาวน์” ลุ้นทราฟฟิกพุ่ง 7 หมื่นคน/วัน https://positioningmag.com/1369475 Wed, 05 Jan 2022 10:00:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369475
  • เฟรเซอร์สฯ เปิดผังพื้นที่รีเทลใหม่ในตึก “สีลมเอจ” ที่จะเปิดตัวปีนี้ มีโซนกินเที่ยว 24 ชม. รองรับบุคลากร รพ.จุฬา, ชาวสวนลุม, คนทำงาน-นักเที่ยวไนต์ไลฟ์
  • “สามย่านมิตรทาวน์” ทราฟฟิกกลับมาเป็นปกติแล้ว ลุ้นปีนี้ทราฟฟิกขึ้นถึงเฉลี่ย 70,000 คนต่อวัน หากโอมิครอนไม่ระบาดหนัก ปี 2565 เน้นชูคอนเซ็ปต์ “สามย่านเรียนทาวน์”
  • ชี้เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคเสาร์-อาทิตย์เข้าเมืองน้อยลง ศูนย์การค้ากลางเมืองต้องหาแม่เหล็กดึงดูด เรื่องฮิตมาไวไปไว อีเวนต์ต้องเร็ว
  • น้องใหม่ในสนามแข่งขันศูนย์การค้า แต่ประสบความสำเร็จจนต้องจับตามองการปั้นรีเทลแห่งต่อไป “ธีรนันท์ กรศรีทิพา” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) หรือ FPCT กล่าวถึงการพัฒนาพื้นที่รีเทลแห่งต่อไปของเฟรเซอร์สฯ บนตึก “สีลมเอจ” ที่กำลังรีโนเวตและเตรียมเปิดบริการเดือนกันยายนนี้

    สีลมเอจเป็นโครงการมิกซ์ยูสอาคารสำนักงานกับรีเทล โดยส่วนรีเทลจะมีทั้งหมด 7 ชั้น พื้นที่เช่ารวม 10,000 ตร.ม. ถือว่าพื้นที่ไม่ใหญ่มาก แต่อยู่ในโลเคชั่นที่น่าสนใจ เพราะตึกนี้อยู่บริเวณหัวมุมถนนสีลมตัดถนนพระราม 4 และเชื่อมต่อได้ทั้ง MRT สีลม กับ BTS ศาลาแดง ทำให้หลายคนจับตามองว่าพื้นที่รีเทลตึกสีลมเอจจะมาสร้างความคึกคักอย่างไร

    สีลมเอจ

    ธีรนันท์เปิดภาพแรกของผังรีเทลสีลมเอจ จะแบ่งพื้นที่ชั้นต่างๆ ดังนี้

    ชั้น 9 : Over the Edge แหล่งร้านอาหาร hang out แบบกึ่งในร่มและกลางแจ้ง
    ชั้น 4 : Hollistic Wellness สถานบริการด้านสุขภาพและเวลเนส
    ชั้น 3 : Glow Up สถานบริการด้านความงาม
    ชั้น 2 : (ชั้นทางเชื่อม BTS) Life and Tech ร้านด้านเทคโนโลยีและเครื่องใช้
    ชั้น 1 : Bling-Bling แฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ
    ชั้น G : All Day Eatery ร้านอาหาร 24 ชม.
    ชั้น B1 : Hashery Hab ร้านอาหาร 24 ชม.

    (*ชั้น 5-8 เป็นที่จอดรถ)

    ธีรนันท์ระบุว่า catchment area ของสีลมเอจ ในช่วงวันธรรมดาจะมีคนในพื้นที่ประมาณ 700,000 คน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์มี 500,000 คน และกลุ่มคนในย่านนี้มีความหลากหลายมาก ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เปิดโซนร้านอาหารได้ 24 ชม. โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

    • คนทำงานออฟฟิศ เวลาที่น่าจะมาใช้บริการ 00-18.00 น.
    • บุคลากรการแพทย์ เวลาที่น่าจะมาใช้บริการ 00-18.00 น.
    • คนทำงาน-นักเที่ยวไนต์ไลฟ์ เวลาที่น่าจะมาใช้บริการ 00-05.00 น.
    • นักท่องเที่ยวทั่วไป เวลาที่น่าจะมาใช้บริการ 00-18.00 น.
    • ผู้มาออกกำลังกาย-พักผ่อนในสวนลุมพินี เวลาที่น่าจะมาใช้บริการ 00-08.00 น. และ 18.00-21.00 น.
    สีลมเอจ
    เป้าหมายของส่วนรีเทล “สีลมเอจ”

    คอนเซ็ปต์ของสีลมเอจที่จะสร้างความต่างและล้อตามการเป็น “แซนด์บ็อกซ์” ของทั้งโครงการด้วยคือ ตึกนี้จะเป็น Rookie Paradise การวางสล็อตพื้นที่เช่าจะบอกราคาเช่าสุทธิที่ไม่ต้องคูณราคาเป็นตารางเมตรและไม่ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มอีก รวมถึงให้เช่าสั้นระยะ 1 ปี ไม่เหมือนกับศูนย์ฯ ปกติที่มักจะให้เซ็นสัญญา 3 ปี รวมถึงมีโซนที่เป็น semi-finish ให้ร้านค้าลงทุนน้อยลง เหมาะกับกลุ่มมือใหม่ที่ยังปั้นแบรนด์อยู่ มีโอกาสลงทุนที่เสี่ยงน้อยกว่า

    สีลมเอจ
    รูปเรนเดอร์ภายในส่วนรีเทลของสีลมเอจ

    ด้วยเหตุนี้ สีลมเอจจะเน้นตามหาร้านค้าที่ไม่ใช่แบรนด์เชนใหญ่ๆ ต้องการให้มีร้านค้าทางเลือก เกิดความแปลกใหม่มากขึ้น

    ธีรนันท์กล่าวว่า สัปดาห์หน้าบริษัทจะเริ่มลุยเปิดไซต์ให้ผู้ที่สนใจเช่าเข้ามาชมพื้นที่ โดยหลังเปิดบริการเดือนกันยายนนี้ คาดหวังมีทราฟฟิก 40,000 คนต่อวัน

     

    “สามย่านมิตรทาวน์” ฟื้นแล้ว เข้าห้างเฉลี่ย 57,000 คนต่อวัน

    ด้านรีเทลหลักอย่าง “สามย่านมิตรทาวน์” ธีรนันท์สรุปสถานการณ์ล่าสุดมีอัตราการเช่า 98% เมื่อปี 2564 มีร้านค้าใหม่ 27 ร้าน (มี 6 ร้านที่ยังอยู่ระหว่างตกแต่งขณะนี้) สะท้อนให้เห็นว่าผู้เช่ายังต้องการพื้นที่และยังเชื่อมั่นในศักยภาพของศูนย์ฯ

    ด้านทราฟฟิกผู้ใช้บริการปี 2564 เฉลี่ย 57,000 คนต่อวัน ล่าสุดในช่วงปลายปีกลับมาเป็นปกติแล้ว แม้ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังไม่เปิดเรียนแบบออนไซต์ และผู้ใช้บริการ MRT สถานีสามย่านยังมีทราฟฟิกที่ 95% ของช่วงปกติ ยังไม่กลับมาทั้งหมด

    บรรยากาศส่งท้ายปีเก่า 2564 ที่สามย่านมิตรทาวน์

    สำหรับปี 2565 มองว่าทีมงานได้ผ่านช่วงของการปรับตัวมาแล้ว ทำให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยหวังว่าหากการระบาดของไวรัสโรค COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนไม่สาหัสถึงขั้นล็อกดาวน์ และตลอดปีนี้ไม่มีเหตุการณ์วิกฤตอีก เชื่อว่าการเพิ่มทราฟฟิกเป็นเฉลี่ย 70,000 คนต่อวันจะเป็นไปได้

    กลยุทธ์ที่ใช้ในปีนี้ของสามย่านมิตรทาวน์ นอกจากการจัดอีเวนต์อย่างสม่ำเสมอ จะชูคอนเซ็ปต์ “สามย่านเรียนทาวน์” ให้เห็นชัดขึ้น โดยศูนย์ฯ ไม่ได้มีเฉพาะโรงเรียนกวดวิชาเชิงวิชาการ แต่ยังมีสถาบันการเรียนการสอนในด้านอื่นที่นับเป็น ‘การเรียนรู้เสริมทักษะตลอดชีวิต’ ด้วย เช่น โรงเรียนสอนภาษา สอนตัดเย็บเสื้อผ้า สอนการเต้น

    แคมเปญสามย่านเรียนทาวน์

     

    ผู้บริโภค “ไม่เข้าเมือง” “เทรนด์ฮิตมาไวไปไว”

    สำหรับเทรนด์รีเทลที่เกิดขึ้นแล้วในปี 2564 และน่าจะต่อเนื่องไปในปี 2565 ธีรนันท์กล่าวถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่ “ไม่นิยมเข้าเมือง” ในวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้บริโภคใช้ชีวิตใกล้บ้านในย่านชานเมือง ทำให้การ “แวะห้างฯ” กลางเมืองมีน้อยลง ดังนั้น สามย่านมิตรทาวน์และสีลมเอจที่จะเปิดปีนี้ จะต้องตีโจทย์ให้ผู้บริโภคตั้งใจเดินทางมาที่ศูนย์ฯ ช่วงวันหยุด

    สิ่งที่สามย่านมิตรทาวน์ทำเพื่อตอบโจทย์นี้คือการจัดอีเวนต์ให้หลากหลาย ใช้พื้นที่ที่ปกติศูนย์ฯ จะจัดให้เป็นลานโปรโมชัน บางครั้งกลายเป็นอีเวนต์เพื่อให้ผู้บริโภคมา ‘สร้างคอนเทนต์’ ตั้งใจเดินทางมาถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ เพราะทุกวันนี้ผู้บริโภคมาที่ศูนย์การค้าไม่ได้มาเพื่อช้อปปิ้งเท่านั้น แต่มาเพื่อหาประสบการณ์ใหม่

    กิจกรรมจากธีมเรื่อง Squid Game

    การจัดอีเวนต์เหล่านั้น นอกจากอีเวนต์ตามเทศกาล ยังต้องมีอีเวนต์ที่ทันต่อเหตุการณ์ และความเร็วการคิด-เตรียมงาน-จัดงานต้องเร็ว จบงานได้ภายใน 3-4 สัปดาห์ เนื่องจากเทรนด์ยุคสมัยนี้มาไวและไปไวมาก ยกตัวอย่างอีเวนต์ที่จัดล้อตามธีมฮิตในช่วงนั้น เช่น ลูกชิ้นยืนกิน จากเทรนด์ลิซ่า BLACKPINK, Squid Game, Hometown Cha-cha-cha เป็นต้น

    “คิดว่าปีนี้ถ้านักท่องเที่ยวกลับมาได้เต็มที่น่าจะเกิดความท้าทายใหม่ในธุรกิจศูนย์การค้า เพราะแต่ละเจ้าจะมีโจทย์ใหม่ให้ต้องดึงดูด จะดึงนักท่องเที่ยวแบบไหนเข้ามาหาตัวเอง เพราะนักท่องเที่ยวก็มีหลายแบบหลายกลุ่ม” ธีรนันท์กล่าว ทั้งนี้ สามย่านมิตรทาวน์นับว่าเป็นห้างฯ ที่เปิดมาเพียงไม่กี่เดือนก็เผชิญวิกฤต COVID-19 ทำให้ยังไม่เคยปักแลนด์มาร์กในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเลย การดึงนักท่องเที่ยวจึงนับเป็นความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้น

    ]]>
    1369475
    ยุคนี้ต้องจับกระแสเร็ว! “สามย่านมิตรทาวน์” ชูกลยุทธ์ร้าน Pop-up หมุนเวียนดึงทราฟฟิก https://positioningmag.com/1324629 Tue, 23 Mar 2021 09:25:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324629 “สามย่านมิตรทาวน์” ฝ่าวิกฤตระบาดระลอกใหม่ หาแม่เหล็กดึงทราฟฟิก มองกุญแจสำคัญ “กระแส” สุดฮิตที่มาไวไปไวแต่ต้องจับให้ทัน จัดเป็นอีเวนต์ร้านค้า Pop-up หมุนเวียนทุก 2 สัปดาห์ วางเป้าคนเดินห้างฯ กลับไปแตะ 80,000 คนต่อวันอีกครั้งภายในปีนี้

    มิกซ์ยูส “สามย่านมิตรทาวน์” ซึ่งมีส่วนหนึ่งของโครงการเป็น “ศูนย์การค้า” ต้องเผชิญวิกฤต COVID-19 หลายระลอกตั้งแต่เริ่มเปิดตัวเมื่อเดือนกันยายน 2562 ถึงขนาดที่ “ธีรนันท์ กรศรีทิพา” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) เอ่ยปากติดตลกว่า ศูนย์ฯ นี้ผ่านช่วงเวลาวิกฤตมามากกว่าช่วงสถานการณ์ปกติเสียอีก

    โดยสามย่านมิตรทาวน์เคยมีทราฟฟิกขึ้นไปสูงสุด 80,000 คนต่อวันมาแล้วในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ก่อนจะลดลงจากคำสั่งล็อกดาวน์ศูนย์การค้าเมื่อปีก่อน จากนั้นทยอยกลับมาดีขึ้นหลังรัฐอนุญาตเปิดศูนย์ฯ จนทราฟฟิกกลับไปเต็ม 100% เหมือนช่วงก่อน COVID-19 เมื่อเดือนธันวาคม 2563

    “ธีรนันท์ กรศรีทิพา” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย)

    แต่สามย่านมิตรทาวน์ต้องเผชิญความไม่แน่นอนอีกครั้งเมื่อเกิดระบาดระลอกใหม่โค้งท้ายปี 2563 ทำให้ทราฟฟิกตกลง เฉลี่ยรวมปีก่อนมีทราฟฟิก 63,000 คนต่อวัน ขณะที่ช่วงเกือบ 3 เดือนแรกของปี 2564 ทราฟฟิกกำลังฟื้นตัวมาอยู่ที่ 53,000 คนต่อวัน

    หลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ธีรนันท์กล่าวว่าศูนย์ฯ กลับมาตั้งเป้าหมายให้ทราฟฟิกกลับไปแตะ 80,000 คนต่อวันอีกครั้งภายในปีนี้ ซึ่งส่วนสำคัญคือ การจัดลานโปรโมชันเล่นกับกระแส เพื่อดึงให้คนที่สนใจแวะเวียนมาและมาเที่ยวชมได้หลายครั้ง เพราะมีร้านใหม่ที่เปลี่ยนไปทุกครั้ง

     

    ยุคนี้ต้องไว ข้ามเดือนก็ช้าไปแล้ว

    ธีรนันท์กล่าวถึงกุญแจสำคัญที่เป็นแกนกลางในกลยุทธ์ของศูนย์ฯ คือการเล็งเห็น “เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค” ที่น่าสนใจคือเรื่องของ กระแสมาไวไปไว เทรนด์ฮิตยุคนี้เป็นยิ่งกว่าแฟชันเพราะเปลี่ยนเร็วกว่าเดิม ยกตัวอย่างช่วงที่ผ่านมามีกระแส “ครัวซองต์” ต่อด้วย “เซิร์ฟสเก็ต” ซึ่งเทรนด์พวกนี้จะถึงจุดพีคช่วงสั้นๆ บางกระแสมีอายุเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น ทำให้ทีมงานต้องจับกระแสเร็วและทำให้เร็ว

    นอกจากนี้ยังมีเรื่อง ชุมชนเฉพาะกลุ่ม นั่นคือความชอบของคนยุคนี้มีความเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยสังเกตได้จากกรุ๊ปบนโซเชียลมีเดียได้เลย เช่น กลุ่มคนรักการวิ่ง กลุ่มคนชอบทำอาหาร

    ลานเซิร์ฟสเก็ตสามย่านมิตรทาวน์ จับกระแสมาไวไปไวของสังคมให้ทัน

    เมื่อเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นเช่นนี้ ทำให้นอกจากจะมีร้านหลักที่เซ็นสัญญาระยะยาวในศูนย์การค้าแล้ว จะต้องมีพื้นที่ลานโปรโมชันและบริเวณให้เปิดร้านค้าแบบ Pop-up ที่หมุนเวียนได้เร็ว โดยที่สามย่านมิตรทาวน์จะหมุนเวียนทุก 2 สัปดาห์ และการเปลี่ยนร้านแต่ละครั้งต้องมี “ธีม” ในการจัดงานด้วย เพื่อให้โปรโมตไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน ดึงคนที่สนใจเข้ามาเดินช้อปพร้อมกัน เช่น ธีมรวมร้านอาหารเกาหลี ธีมรวมร้านสินค้าออร์แกนิกส์

    หรือบางจุดจะเป็นลานกิจกรรมเพื่อสังคมที่เปิดให้ใช้ฟรี เช่น การเปิดลานเซิร์ฟสเก็ตที่เล่นได้ถึงเที่ยงคืน จัดพื้นที่ให้นิสิตนักศึกษาแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ เพราะเป้าหมายหลักคือการดึงทราฟฟิกให้กับร้านค้าภายในศูนย์ฯ

    ร้านค้า Pop-up หมุนเวียนทุก 2 สัปดาห์ เพื่อดึงคนให้มาศูนย์การค้าได้บ่อยๆ

    ธีรนันท์กล่าวว่า การทำงานกับ Pop-up และเล่นกับกระแสต้องตัดสินใจไว ดังนั้น ศูนย์ฯ มีการตั้ง “หน่วยม้าเร็ว” ขึ้นมา มีหน้าที่จัดอีเวนต์ขนาดเล็กที่ต้องจัดให้ได้ภายในเวลาไม่ถึงเดือนเพื่อให้ทันกระแส

    ระหว่างที่การจัดอีเวนต์ขนาดใหญ่ยังถูกคุมเข้มจากภาครัฐ ก็ต้องใช้อีเวนต์เล็กเลี้ยงทราฟฟิก แต่ถ้ากลับมาจัดอีเวนต์ใหญ่ได้ ธีรนันท์เชื่อว่าจะกลับไปแตะ 80,000 คนต่อวันได้ตามเป้าแน่นอน

     

    “ร้านอาหาร” ยังมีดีมานด์เช่าระยะยาว

    ด้านอัตราการเช่า (occupancy) ของร้านค้าในสามย่านมิตรทาวน์อยู่ที่ 97% โดยมีร้านอาหารใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา เฉพาะกลุ่มร้านอาหารเพิ่มสัดส่วนจาก 43% เป็น 50% ของร้านค้าทั้งหมดแล้ว เพราะเรื่องอาหารยังคงเป็นจุดแข็งที่ดึงดูดได้ของศูนย์ฯ

    K-Streat ร้านใหม่ในสามย่านมิตรทาวน์ ลักษณะเป็นฟู้ดคอร์ทรวมเฉพาะร้านอาหารเกาหลีไว้ในที่เดียว

    โดยปีนี้มีร้านใหม่ที่เปิดบริการ เช่น K-Streat ฟู้ดคอร์ทรวมอาหารเกาหลี, Lemon Farm Cafe ร้านสินค้าออร์แกนิกส์, Lhong Tou คาเฟ่สไตล์จีนชื่อดังจากเยาวราช, เพลินพุง Cafe ร้านอาหารราคาประหยัดไม่เกิน 100 บาท ฯลฯ

    ธีรนันท์ประเมินดีมานด์ผู้เช่ายังคงมีอยู่ในตลาด เพียงแต่ความต้องการมักจะเป็นร้านเล็ก 30-40 ตร.ม. เพื่อลดความเสี่ยงการลงทุน และสถานการณ์เศรษฐกิจทำให้ราคาเช่ายังเติบโตไม่มาก

    มองภาพระยะยาว ธีรนันท์เชื่อว่าหลังมีการกระจายวัคซีนแพร่หลาย สถานการณ์ต่างๆ น่าจะดีขึ้นและหวังว่าจะไทยจะเปิดประเทศได้โดยเร็ว เพื่อที่สามย่านมิตรทาวน์จะกลับสู่แผนงานเดิมที่เตรียมดึงลูกค้าต่างชาติเข้ามาเพิ่ม สร้างความคึกคักได้มากกว่านี้

    ]]>
    1324629
    “สเวนเซ่นส์” จับกระแสครัวซองต์ฟีเวอร์ ปั้น Sweet Aholic ป๊อปอัพสโตร์คาเฟ่สุดมินิมัล https://positioningmag.com/1311460 Mon, 21 Dec 2020 14:25:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311460 บิ๊กมูฟครั้งใหญ่ของแบรนด์ “สเวนเซ่นส์” แตกแบรนด์ใหม่เป็นครั้งแรก Sweet Aholic by Swensen’s คอนเซ็ปต์คาเฟ่ขนมหวาน โมเดลป๊อปอัพสโตร์ จับกระแสครัวซองต์ฟีเวอร์ มาเนรมิตเป็นคาเฟ่ขนมหวานสุดชิค ประเดิมโลเคชั่นแรกที่สามย่านมิตรทาวน์ เอาใจสาวกคาเฟ่ฮอปเปอร์

    ปั้นแบรนด์ใหม่ หวังขยายฐานสู่กลุ่มวัยรุ่น

    ต้องบอกว่าตลาดขนมหวานในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการแข่งขันสูงมาก ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลาย จากเดิมที่มีแค่ไอศกรีมเป็นที่นิยม แต่ตอนนี้มีขนมหวานหลากหลาย แถมยังมีคาเฟ่เล็กๆ ทั่วเมือง เพื่อเป็นพื้นที่แฮงก์เอาต์ของกลุ่มคาเฟ่ฮอปเปอร์ด้วย

    ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ “สเวนเซ่นส์” ต้องปรับตัวยกใหญ่ มีการปรับทัพที่จะมีแค่ไอศกรีมอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องครอบจักรวาลขนมหวาน เพื่อที่จะเอาใจผู้บริโภคให้ได้ครบทุกกลุ่ม สามารถมาทานได้ตลอด ไม่ได้จำกัดแค่เมนูไอศกรีม

    อีกหนึ่งความท้าทายของสเวนเซ่นส์อีกอย่างหนึ่งก็คือ การขยายฐานสู่กลุ่มใหม่ๆ ให้มากขึ้น จากปัจจุบันกลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์ 80% เป็นกลุ่มครอบครัวเป็นหลัก หลายครอบครัวเลือกมาที่ร้านเพื่อที่จะเป็นพื้นที่สังสรรค์ของครอบครัว

    การพัฒนาเมนูเอาใจวัยรุ่นอย่างเดียวคงไม่พอ งานนี้สเวนเซ่นส์งัดคัมภีร์สร้างแบรนด์ลูกอย่าง Sweet Aholic by Swensen’s หวังเจาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ เป็นสายคาเฟ่ ชอบเช็กอินร้านกาแฟ ร้านขนมหวาน ตอกย้ำความเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดขนมหวาน

    คอนเซ็ปต์ของ Sweet Aholic by Swensen’s เป็นคาเฟ่ขนมหวานในสไตล์มินิมัล เน้นโทนสีเอิร์ทโทนให้ดูละมุน แต่เป็นโมเดล “ป๊อปอัพสโตร์” บนพื้นที่ 60 ตารางเมตร จะอยู่เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น เพื่อสร้างความตื่นเต้น แปลกใหม่ให้กับผู้บริโภค ประเดิมโลเคชั่นแรกที่สามย่าน มิตรทาวน์ เป็นทำเลเดียวกันกับที่มีร้านสเวนเซ่นส์สาขาที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง

    อนุพนธ์ นิธิยานันท์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท สเวนเซ่นส์ (ไทย) จำกัด ในเครือ เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เริ่มเล่าว่า

    “ตอนนี้ตลาดขนมหวานมีการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก มีคาเฟ่เกิดขึ้นมากมาย กลุ่มลูกค้าของสเวนเซ่นส์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว จึงทำแบรนด์ใหม่มาเจาะลูกค้าที่เด็กลงโดยเฉพาะ ร้านสไตล์คาเฟ่มินิมัล เชื่อว่าร้านนี้จะมาเติมพอร์ตให้สเวนเซ่นส์แข็งแรงด้วย”

    เบื้องหลังการคิดโปรเจกต์นี้ คิดเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น เนื่องจากวิกฤต COVID-19 ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ต้องกล้าทำแบรนด์ใหม่ กล้าตัดสินใจที่จะฉีกจากกรอบ ฉีกเพื่อจะเรียนรู้ และต้อง Move Fast Fail Fast คิดแบบสตาร์ทอัพ ถ้าประสบความสำเร็จก็ขยายต่อ แต่ถ้าผลตอบรับไม่ดี ก็เรียนรู้ปรับปรุงกันไป

    ส่วนที่มาของชื่อ Sweet Aholic by Swensen’s มาจากความเชื่อที่ว่าของหวานเป็นอะไรที่สร้างความสุขให้คน จึงอยากทำร้านที่คนมาแล้วมีความสุข เกิดเป็นคำ Sweet Aholic แล้วต่อท้ายด้วย by Swensen’s เพื่อฉีกจากกรอบของแบรนด์สเวนเซ่นส์ไปเลย

    จับกระแสครัวซองต์ฟีเวอร์ สู่เมนูคู่ไอศกรีม

    อีกหนึ่งคอนเซ็ปต์ที่สำคัญของ Sweet Aholic by Swensen’s ที่น่าสนใจก็คือเมนูภายในร้าน จะแตกต่าง และไม่เหมือนกับของสเวนเซ่นส์โดยสิ้นเชิง เน้นเมนูขนมหวาน ประเดิมด้วยเมนู “ขนมครัวซองต์ฝรั่งเศส” เรียกว่าเป็นเมนูที่กำลังฮอตฮิตอยู่ในขณะนี้ เป็นการพัฒนาสูตรเอง พร้อมกับมีเมนูที่ทานคู่กับไอศกรีมจากสเวนเซ่นส์ด้วย

    เหตุผลที่ทางสเวนเซ่นส์เลือกครัวซองต์มาเป็นเมนูไฮไลต์นั้น ง่ายๆ เลย “ครัวซองต์เป็นเทรนด์อยู่ในขณะนี้” ฮิตถึงขนาดที่ว่าติดเทรนด์ในทวิตเตอร์เลยทีเดียว

    ทาง ณพล ศิริมงคลเกษม” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สเวนเซ่นส์ (ไทย) จำกัด บอกว่าครัวซองต์เป็นเทรนด์เบเกอรี่ยอดนิยม ตอนนี้หลายคาเฟ่ทำกันเยอะ อีกทั้งยังทานกับไอศกรีมได้ง่าย ต้องการพัฒนาเมนูแบบที่ว่าหาทานที่อื่นไม่ได้

    เมนูครัวซองต์ของร้าน Sweet Aholic by Swensen’s จะมีด้วยกัน 3 กลุ่ม ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 69-129 บาท

    Simply Serve ครัวซองต์เนยสด ราคา 69 บาท

    Colorful (fill) your Happiness ครัวซองต์สอดไส้หลากรสชาติ ได้แก่ ครัวซองต์ครีมคัสตาร์ดอัลมอนด์, ครัวซองต์เรดเวลเวทครีมชีส, ครัวซองต์มัทฉะครีมถั่วแดงญี่ปุ่น และครัวซองต์ครีมช็อกโกแลตฟัดจ์ ราคา 89 บาท

    Sweet addiction specially for U ครัวซองต์ท็อปอัพด้วยไอศกรีมสเวนเซ่นส์รสดัง ได้แก่ ครัวซองต์ไอศกรีมสตรอว์เบอร์รี่ครีมสด, ครัวซองต์ไอศกรีม มินิ โอรีโอ คุกกี้ แอนด์ ครีม, ครัวซองต์ไอศกรีม คินเดอร์ช็อกโกแลต และครัวซองต์ไอศกรีมวนิลลาพิทาชิโอ ราคา 129 บาท

    นอกจากนี้ยังมีเมนูเครื่องดื่มที่มาในรูปแบบของขวดแก้วสุดชิค สามารถทานคู่กับครัวซองต์ร้อนๆ ได้อย่างลงตัว มีทั้งหมด 5 เมนู ได้แก่ ช็อกโกแลตซิกเนเจอร์, ชีสซี่ สตรอว์เบอร์รี่, ชานมซีลอน, ชาพีชสตรอว์เบอร์รี่ และชาสตรอว์เบอร์รี่ ในราคา 59 บาทเท่านั้น

    ต้องเป็นป๊อปอัพสโตร์ สร้างความตื่นเต้น

    เมื่อดูการดีไซน์ร้านแบบจัดเต็มขนาดนี้ แต่ต้องบอกว่า Sweet Aholic by Swensen’s เป็นโมเดลแบบ “ป๊อปอัพสโตร์” ที่อยู่แค่ชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่ร้านแบบถาวร จะตั้งที่สามย่านมิตรทาวน์ ตั้งแต่วันที่ 18-31 ธันวาคม 63 เท่านั้น เนื่องจากต้องการสร้างความแปลกใหม่

    ที่สำคัญโมเดลของร้านนี้จะไม่ได้จำกัดแค่ว่าจะต้องขายแค่เมนูครัวซองต์อย่างเดียวเท่านั้น ได้เปรียบที่สามย่านมิตรทาวน์เป็นโมเดลต้นแบบ หรือ EP1 เท่ากับว่าใน EP ต่อๆ ไปอาจจะมีเมนูอื่นๆ ที่อยู่ในกระแสตอนนั้นก็ได้

    ณพล เสริมว่า “ตอนนี้เราดีไซน์ร้านให้เป็น EP ร้านนี้อยู่ใน EP1 เป็นร้านต้นแบบที่จะประเมินผลตอบรับจากลูกค้า ดูสินค้า เทรนด์ และพฤติกรรมผู้บริโภค ใน EP ต่อไปอาจจะมีเมนูขนมหวานอื่นๆ แต่ละที่อาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ ไม่ได้ปิดกั้น”

    ถ้าถามว่าระยะเวลาในการเปิดเพียงแค่ 14 วัน ตั้งแต่ 18-31 ธันวาคม 63 เป็นระยะเวลาที่น้อยไปหรือไม่ ณพลตอบทันทีว่า มันเป็นเสน่ห์ของป๊อปอัพสโตร์ที่อยู่เพียงแค่ชั่วคราว ตั้งใจเปิดในช่วงเทศกาลปีใหม่พอดี และต้องการให้เป็นกระแสตามหา มาถ่ายรูป เช็กอิน เป็น Rare item ที่จะต้องมาเยือนให้ได้

    เท่ากับว่าสิ่งที่จะสะท้อนกลับมาหาแบรนด์สเวนเซ่นส์ก็คือ “การรับรู้” ของแบรนด์ที่แข็งแกร่งขึ้น การขยายพอร์ตสู่คนรุ่นใหม่ ทำให้แบรนด์ดูทันสมัย และมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค

    สุดท้ายแล้วนี่คือความท้าทายครั้งใหญ่ของสเวนเซ่นส์ แม้จะถูก Disrupt จากคู่แข่ง หรือผู้บริโภคในตลาด แต่ก็สามารถทรานส์ฟอร์มตัวเองให้เท่าทันต่อสถานการณ์ได้ แม้การมาของไวรัส COVID-19 ก็ไม่สามารถหยุดการพัฒนาตัวเอง สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับวงการได้อยู่เสมอ

    เชื่อว่า Sweet Aholic by Swensen’s จะสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับผู้บริโภคได้

    แต่สำหรับ EP2 หรือทำเลต่อไปจะเป็นที่ไหน ต้องติดตามตอนต่อไป…

    Sweet Aholic by Swensen’s พร้อมเสิร์ฟความหวานละมุนให้กับเหล่าลูกค้า ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคมนี้ เฉพาะที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ชั้น G เท่านั้น ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ “สเวนเซ่นส์” โทรศัพท์ 02 365 6934

    เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/sweetaholicbyswensens

    หรืออินสตาแกรม https://www.instagram.com/sweetaholic.cafe/

    ]]>
    1311460
    “สามย่านมิตรทาวน์” หลังวิกฤต COVID-19 ทราฟฟิกกลับมาแล้ว 80% ร้านต่อคิวหาที่เช่า https://positioningmag.com/1296802 Mon, 14 Sep 2020 09:28:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296802
  • สามย่านมิตรทาวน์ เปิดครบ 1 ปี ทราฟฟิกคนเดินห้างฯ กลับมา 80% เทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 อัตราเช่า 97% เกือบเต็มพื้นที่ ขณะที่รายได้ตกเป้าตามสถานการณ์ซึ่งมีช่วงที่ต้องงดเก็บค่าเช่า
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติน้อยจึงกระทบน้อยกว่า สัดส่วนร้านส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารและของใช้จำเป็นจึงฟื้นเร็ว
  • เชื่อมั่นทราฟฟิกจะกลับมาเต็ม 100% มีคนเข้าห้างฯ 75,000 คนต่อวัน ดึงลูกค้าด้วยอีเวนต์และโปรโมชัน Flash Sale
  • โจทย์ต่อจากนี้ต้องจัดสรรให้มีพื้นที่เช่าเพิ่มเพื่อหารายได้ มองตลาดในวิกฤตมีคนที่รอด ร้านอาหารยังต้องการเปิดร้านออฟไลน์
  • “ธีรนันท์ กรศรีทิพา” รองกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ เปิดเผยสถานการณ์ในรอบขวบปีแรกของการเปิดศูนย์การค้า “สามย่านมิตรทาวน์” ศูนย์การค้าแรกภายใต้การบริหารของโกลเด้นแลนด์ ช่วง 6 เดือนแรกของการเปิดห้างฯ กระแสตอบรับดีเกินคาด โดยมีทราฟฟิกเฉลี่ยวันละ 75,000 คน สูงกว่าเป้าหมายที่เคยตั้งไว้ที่วันละ 37,000 คน

    แต่หลังจากนั้นเกิดสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ขึ้น คนเดินห้างฯ เริ่มลดลงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เหมือนกันทั้งอุตสาหกรรมและมีคำสั่งล็อกดาวน์ห้างฯ ตามมา ทำให้สามย่านมิตรทาวน์ปิดบริการ 2 เดือน ยกเว้นส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารแบบซื้อกลับบ้าน ทราฟฟิกช่วงนั้นลดลงเหลือ 18,000 คนต่อวัน

    อย่างไรก็ตาม หลังจาก COVID-19 เริ่มคลี่คลายและรัฐอนุญาตเปิดบริการศูนย์การค้า ทราฟฟิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
    จนถึงปัจจุบันมีผู้ใช้บริการวันละ 60,000 คน คิดเป็น 80% ของช่วงก่อนเกิดการล็อกดาวน์ ส่วนอัตราการเช่าพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 93% เป็น 97% ซึ่งถือว่าเต็มพื้นที่แล้ว ส่วนที่เหลือเป็นช่วงว่างระหว่างหมุนเวียนร้านค้าเข้าออก

    สามย่านมิตรทาวน์

    แต่ยอมรับว่ารายได้ปีแรกตกจากเป้าหมาย เป็นไปตามสถานการณ์ช่วงล็อกดาวน์ที่ต้องงดเก็บค่าเช่าเพื่อช่วยเหลือร้านค้า และหลังจากเปิดบริการช่วง 2 เดือนแรก (ก.ค.-ส.ค. 63) ยังมีอีกหลายร้านที่บริษัทต้องยืดหยุ่นสัญญาเช่าพื้นที่ให้ เช่น ลดค่าเช่าต่อเนื่อง เปลี่ยนสัญญาจากราคาต่อตร.ม. เป็นการแบ่งเปอร์เซ็นต์จากรายได้ เพื่อบรรเทาภาระของร้านค้า

     

    ลูกค้าต่างชาติน้อย กระทบน้อยกว่า

    ธีรนันท์กล่าวต่อว่า ลูกค้าของสามย่านมิตรทาวน์แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

    1. คนวัยทำงาน 63%
    2. นิสิตนักศึกษา นักเรียน 27%
    3. ผู้สูงวัย ครอบครัว 6%
    4. ชาวต่างชาติ 4%

    จะเห็นได้ว่า ลูกค้าที่เป็นกลุ่มต่างชาติมีค่อนข้างน้อยถ้าเทียบกับศูนย์การค้าใจกลางเมืองอื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สามย่านมิตรทาวน์ ‘โชคดี’ สามารถฟื้นตัวได้เร็ว และสถานการณ์นี้ทำให้บริษัทเลื่อนการทำตลาดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติออกไปก่อนจนกว่าจะเปิดประเทศได้ ปรับแผนจากก่อนหน้านี้บริษัทมีเป้าจะดึงลูกค้าต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนเข้ามาเป็นสัดส่วน 10% ของลูกค้าทั้งหมด

    พื้นที่โซนร้านอาหาร

    อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทราฟฟิกคนเดินห้างฯ กลับมาไว มาจากสัดส่วนร้านภายในห้างฯ โดยแบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้

    1. ร้านอาหาร 37%
    2. แหล่งความรู้ 30%
    3. ซูเปอร์มาร์เก็ตและของใช้ในบ้าน 17%
    4. แฟชั่น กีฬา บิวตี้ 11%
    5. ความบันเทิง 5%

    ธีรนันท์วิเคราะห์ว่า เนื่องจากร้านส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารและสินค้าจำเป็นในระดับราคาทั่วไป ทำให้ดึงคนเข้าห้างฯ ได้ง่ายกว่ารีเทลที่เน้นสินค้าแฟชั่น สอดคล้องกับจุดประสงค์ของลูกค้าเข้าห้างฯ สามย่านมิตรทาวน์ 47% ตอบว่าเดินทางมาเพื่อหาร้านอาหารรับประทาน 29% มาพบปะสังสรรค์กับเพื่อน 15% มาใช้พื้นที่โคเลิร์นนิ่ง และ 9% ผู้มาใช้บริการประจำ มาซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้า หรือร่วมอีเวนต์

     

    หลัง COVID-19 ดึงคนมาห้างฯ ให้เต็ม 100%

    สำหรับมุมมองเข้าสู่ขวบปีที่ 2 ของสามย่านมิตรทาวน์ ธีรนันท์มองว่าจะดันทราฟฟิกขึ้นไปถึง 100% ของช่วงก่อน COVID-19 ได้ เนื่องจากเห็นการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องมีกลยุทธ์ในการดึงคนด้วยเช่นกัน

    สิ่งหนึ่งที่บริษัทจะทำต่อเนื่องจากช่วงก่อนเกิดวิกฤต คือการเป็น “แหล่งอีเวนต์” ในรอบปีแรกนั้นห้างฯ มีการจัดอีเวนต์ไปกว่า 130 งาน โดยงานเหล่านี้ช่วยดึงคนให้เข้ามาเพิ่มได้วันละเกือบ 10,000 คน ตัวอย่างอีเวนต์ เช่น ลานนมสามย่าน MITR Marketplace for CU แต่จะระมัดระวังไม่จัดใหญ่เกินไปเพื่อให้ยังคงสอดคล้องกับระเบียบของภาครัฐ ที่ต้องควบคุมความหนาแน่นของผู้ร่วมงานอีเวนต์ต่างๆ

    ลานนมสามย่าน ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2562 เป็นอีเวนต์ที่ประสบความสำเร็จ และจะถูกนำมาใช้เป็นแม่เหล็กดึงคนอีกครั้ง

    อีกส่วนหนึ่งที่ช่วยดึงคนได้คือ “การจัดโปรโมชันลดราคา” โดยการจัดงานจะเปลี่ยนรูปแบบจากการจัดลดราคายาวทั้งสัปดาห์หรือทั้งเดือน เป็นการมาจัดแบบ ‘Flash Sale’ เหมือนกับอีคอมเมิร์ซ เป็นงาน 9.9 หรือ 10.10 ที่ลดราคากระหน่ำเพียงวันเดียวเท่านั้นเพื่อดึงให้ผู้บริโภคตัดสินใจทันที

     

    หาพื้นที่เช่าเพิ่ม ยังมีคนรอเข้ามาเปิดร้านในห้างฯ

    ในอีกมุมหนึ่ง สามย่านมิตรทาวน์ต้องกลับมาเติบโตด้านรายได้ ดังนั้นอีกโจทย์หนึ่งที่ต้องทำคือการ ‘Optimize Space’ เพราะแต่ละชั้นของห้างฯ ยังมีจุดที่จัดสรรเป็นที่เช่าได้อีก อาจจะไม่ใหญ่มากเป็นพื้นที่ล็อกละ 20-30 ตร.ม. แต่นับว่าสอดคล้องกับเทรนด์ผู้เช่าปัจจุบันซึ่งไม่ต้องการพื้นที่ใหญ่ เพราะอยู่ในช่วงระมัดระวังการลงทุน

    ร้านอาหารเกาหลี K-strEAT เดิมจะเปิดในเดือนเมษายน แต่เกิด COVID-19 ทำให้ต้องเลื่อนเปิดตัวออกไป อย่างไรก็ตาม ร้านยังไม่ยกเลิกสัญญา ยังต้องการเปิดบริการ ขณะนี้รอให้ประเทศไทยเปิดพรมแดนเพื่อส่งบุคลากรชาวเกาหลีเข้ามาดำเนินการ

    แม้ว่ากระแสในตลาดช่วงนี้ ผู้เล่นรายใหญ่หลายรายมีการเบรกเปิดสาขาใหม่ไปบ้างแล้ว แต่ธีรนันท์กล่าวว่า ยังมีผู้เล่นหน้าใหม่หรือรายเล็กอีกมากที่พร้อมจะลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหาร ขณะนี้สามย่านมิตรทาวน์เองมี Waiting Lists รอเช่าพื้นที่แล้ว 10 ราย เป็นร้านอาหารแบบนั่งทานในร้านทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารสไตล์ไทย

    “ในวิกฤตยังมีคนที่รอด” ธีรนันท์กล่าว “ช่วง COVID-19 มีร้านอาหารหลายร้านที่โตได้จากเดลิเวอรี่ 100% และตอนนี้เขาเริ่มอยากได้ร้านขายแบบออฟไลน์ด้วย ทำให้เรามีโอกาสหาผู้เช่าจากจุดนี้”

    ]]>
    1296802
    ถอดสูตร ‘สามย่านมิตรทาวน์’ ศูนย์การค้าสายฟู้ดที่ดูดคนกว่า 70,000 ต่อวัน https://positioningmag.com/1262287 Wed, 29 Jan 2020 06:35:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262287 เเรกเริ่ม ‘สามย่านมิตรทาวน์’ ตั้งเป้าให้มีผู้เข้าใช้ 30,000 คน/วันเท่านั้น แต่หลังจากเปิดให้บริการครบ 4 เดือนศูนย์การค้าสายฟู้ด และการศึกษา กลับมีผู้ใช้บริการกว่า 70,000 คนในวันธรรมดา และกว่า 80,000 คนในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เกินกว่าเป้าที่วางไว้เกือบเท่าตัว

    ‘ธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์’ ได้เปิดเผยว่า ตอนที่เปิดสามย่านมิตรทาวน์วันแรกมีผู้ใช้กว่า 150,000 คน/วัน สูงกว่าที่คาดไว้ถึง 3 เท่า แต่หลังจากเปิดได้ 4 เดือน มียอดผู้ใช้งานในวันธรรมดากว่า 70,000 คน/วัน สูงกว่าคาด 76% วันเสาร์-อาทิตย์มีผู้ใช้บริการกว่า 80,000 คน/วัน เกินกว่าเป้า 140% และเมื่อดูตัวเลขผู้ที่ลง MRT สถานีสามย่านในเดือนกันยายน 61 พบว่ามีผู้ลงสถานีเพียง 8 แสนคน/เดือน และเมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันในปี 62 พบว่าเพิ่มเป็น 1.2 ล้านคน เติบโตกว่า 50%

    “อุโมงค์ใต้ดินที่เราลงทุนไปกว่า 300 ล้านบาทเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการไม่ต้องไปเสี่ยงข้ามถนน กลายเป็นว่าได้ผลตอบรับดีเกินคาด เพราะนอกจากเดินทางสะดวกยังกลายเป็นจุดถ่ายรูปที่กลายเป็นซิกเนเจอร์ของเรา”

    ‘One and Only’

    สามย่านมิตรทาวน์ยังคงมุ่งเน้นไปที่ร้านค้าสายฟู้ด โดยพื้นที่กว่า 37% เป็นร้านอาหาร และจะดึงร้านที่เป็น ‘One and Only’ ที่ขึ้นห้างครั้งแรกหรือเปิดครั้งแรก อาทิ ทิม ฮอร์ตัน (Tim Hortons) เชนร้านกาแฟแบรนด์ดังจากแคนาดา, ดินส์ (Din’s) ร้านอาหารนีโอไต้หวัน, สไปซี่ เฮ้าส์ (Spicy House) ร้านอาหารรัสเซียสูตรต้นตำหรับ และมี ‘เค สตรีท’ (K-StrEAT) อาหารเกาหลีแท้ ๆ ที่เตรียมเปิดช่วงเมษายนนี้

    ‘Signature Event’

    ‘ลานนมสามย่าน’ ที่กลายเป็น Talk of the Town เป็นอีกหนึ่งซิกเนเจอร์อีเว้นท์ (Signature Event) ที่ย้ำแบรนดิ้งศูนย์การค้าขวัญใจทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งการจัดอีเวนต์แต่ละครั้ง สามารถดึงผู้ใช้บริการทะลุ 100,000 ราย และในปี 2020 ได้เตรียมปั้นซิกเนเจอร์อีเวนต์อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง โดยเตรียมงบประมาณ 200 ล้านบาท โดยอีเวนต์ล่าสุดที่กำลังจะจัด คือ ‘Happy Single Me 2020’ ฉลองวาเลนไทน์ให้กับ ‘คนโสด’ นอกจากนี้สามย่านยังแบ่งอีเวนต์อีก 2 แกน คือ Event ที่จัดร่วมกับพาร์ตเนอร์ อาทิ เอไอเอส, อมรินทร์ และการีน่า ที่เป็นพาร์ตเนอร์ในปัจจุบัน และอยู่ในระหว่างพูดคุยออยู่อีกหลายราย สุดท้าย CSR Event ของนักเรียนนักศึกษา

    “ตัวกิจกรรมจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้ใช้บริการ เพราะร้านค้าถ้าเปิดเต็มทั้งหมดก็คงแค่นี้ เพิ่มอีกไม่ได้ ขณะที่คนกรุงเทพฯเบื่อง่าย ดังนั้นกิจกรรมที่เราทำอาจจะอิงตามช่วงเวลาเหมือนคนอื่น ๆ แต่การตีความจะต่างกัน อย่างคนอื่นมีลานเบียร์ แต่เรามีลานนม อีกทั้งเรายังเวิร์กมาร์เก็ตติ้งกับผู้เช่าเพื่อรักษาความสัมพันธ์ของผู้เช่าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ”

    3 คีย์หลัก ปั้นโซน 24 ชั่วโมง

    ในช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00-10.00 น. มียอดผู้ใช้บริการกว่า 15,000 คน/วัน เป็นนักเรียน 65% วัยทำงาน 34% แม้ว่าสามย่านมิตรทาวน์ไม่ใช่ห้างแรกที่เปิด 24 ชั่วโมง แต่สิ่งที่ทำให้สำเร็จประกอบกัน 3 ส่วน 1.ทำเลที่เหมาะสม 2.Mix ร้านค้า ที่ไม่ใช่แค่ร้านอาหาร แต่มีทั้งช้อปปิ้งและเซอร์วิส โดยภายในเดือนเมษายนนี้จะเพิ่มร้าน 24 ชั่วโมงอีก 4 ร้าน เป็นร้านกาแฟ 2 ร้าน และร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1 ร้าน และอีสปอร์ต สุดท้าย 3.เซอร์วิส 24 ชั่วโมง โดยทำให้มีทั้งความปลอดภัยและความสะอาด ทำบรรยากาศให้เฟรนด์ลี่ ผู้บริโภคก็อยากมา

    “เราพบว่าพฤติกรรมเขาเปลี่ยน จากทั่วไปจะเริ่มเข้าร้านอาหารตอน 19.00 น. กลายเป็นมาตอน 20.00 น. เพราะเขาไม่กังวลเรื่องเวลา ส่วนแบรนด์ก็โอเคกับทราฟฟิกที่ได้ อย่าง ชาบูชิ ได้รับความนิยมจนเกิดแฮชแทรก #ชาบูเที่ยงคืน ขณะที่ BigC, KFC, ก๋วยเตี๋ยวเรือพระนคร และสเวนเซ่นส์ ก็เป็นโลเคชั่นที่ขายดี”

    นักท่องเที่ยวหดไม่กระทบสามย่าน

    ตลาดนักท่องเที่ยวจีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น-ฮ่องกง ยังคงเป็นตลาดใหญ่ที่สุดที่มาใช้บริการรีเทลในประเทศไทย และเมื่อมีปัจจัยลบด้านปัญหาสุขภาพในจีน แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อธุรกิจรีเทล แต่มองว่าเป็นเพียงระยะสั้น ขณะที่สามย่านมิตรทาวน์เองไม่ได้กระทบ เพราะสัดส่วนผู้ใช้บริการสัญชาติจีนมีเพียง 2% โดยผู้ใช้บริการสัญชาติไทยยังเป็นอันดับ 1 โดยแบ่งเป็นนักเรียนนักศึกษา 35% วัยทำงาน 35% กลุ่มผู้สูงวัย 28%

    “ตอนนี้เราไม่เน้นกลุ่มนักท่องเที่ยว แต่วันหนึ่งเราจะเทิร์นกลุ่มนี้ด้วยความเป็นโลคอล”

    วางเป้ารักษาฐานลูกค้า

    ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวยังคงท้าทายการดำเนินธุรกิจของสามย่านมิตรทาวน์ แต่ด้วยการจัดสรรร้านค้าของศูนย์ฯ ที่ตั้งเป้าหมายจะเป็นศูนย์การค้าที่ใช้บริการได้ทุกวัน และกลยุทธ์ทั้งหมดที่วางไว้ ไม่ว่าจะร้านค้า, งานอีเวนต์ และพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะเป็นส่วนช่วยให้สามย่านมิตรทาวน์สามารถรักษาฐานลูกค้าให้อยู่ในระดับเดียวนี้ตลอดปี

    “เรามั่นใจว่าวันนี้ กลุ่มเป้าหมายเกือบทุกคนรู้จักสามย่านมิตรทาวน์ และส่วนใหญ่เคยมาใช้บริการแล้ว แต่การจะรักษากลุ่มเป้าหมายให้ใช้เวลาอยู่ในศูนย์นานขึ้น ถือเป็นความท้าทาย และเราก็ไม่รู้ว่าจะเจออะไรบ้าง ทั้งปัญหาเศรษฐกิจและโรคระบาด และพฤติกรรมคนที่เบื่อง่าย ดังนั้นเราต้องเดินหน้าต่อไป ลงทุนต่อเนื่อง เมคชัวร์ว่าถูกใจและติดต่อกับแฟนเบสได้ต่อเนื่อง”

    ทั้งนี้ โครงการสามย่านมิตรทาวน์อยู่บนทำเลหัวมุมถนนพญาไท-พระราม 4 เนื้อที่กว่า 14 ไร่ พื้นที่ใช้สอยรวม 222,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นโซนที่อยู่อาศัย โซนอาคารสำนักงาน และโซนรีเทล หรือ Urban Life Library สูง 6 ชั้น พื้นที่ให้เช่ารวม 36,000 ตารางเมตร ปัจจุบันพื้นที่ถูกเช่าเเล้วกว่า 90%

    ]]>
    1262287
    ไม่หวั่นศึกร้านกาแฟ ตระกูล “วัธนเวคิน” พา Tim Hortons เเบรนด์ดังจากแคนาดาบุกไทย https://positioningmag.com/1260459 Tue, 14 Jan 2020 10:10:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260459 เปิดศึกตลาดกาเเฟพรีเมียมในไทยตั้งเเต่ต้นปี เเม้จะมีการเเข่งขันดุเดือดทั้งเชนร้านกาเเฟในประเทศเเละเเบรนด์ดังต่างชาติ เเต่ก็เป็นโอกาสทองให้เจาะได้เสมอ ล่าสุดเเบรนด์ยอดนิยมจากเเคนาดา “Tim Hortons” กระโจนเข้าสมรภูมิเอาใจคนรักกาเเฟ ต่อยอดกลยุทธ์บุกตลาดโลก โดยเฉพาะในเอเชีย จับมือกับตระกูล “วัธนเวคิน” ปักหมุดสาขาแรกในไทยแล้ว ได้ทำเลดีหน้าสามย่านมิตรทาวน์ 

    “ธุรกิจนี้เเม้จะมีคู่เเข่งมากมาย เเต่ก็เติบโตพอที่จะทำให้มีผู้เล่นที่หลากหลายได้ เราจึงโฟกัสไปที่การให้ประสบการณ์เเละไลฟ์สไตล์ใหม่กับคนไทย” สุพัชร วัธนเวคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท วีอีท จำกัด กล่าวถึงความท้าทายของธุรกิจร้านกาเเฟในไทย 

    สุพัชร วัธนเวคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท วีอีท จำกัด

    ไม่หวั่นเเข่งดุ ปีนี้ตั้งเป้าขยาย 15 สาขา

    ตลาดกาแฟในประเทศไทยที่มีมูลค่ากว่า 36,000 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2018) นั้นเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดึงดูดผู้ลงทุนทั้งรายเล็กรายใหญ่ โดยเฉพาะเชนร้านกาเเฟดังจากต่างประเทศที่เข้ามาตีตลาดคนรุ่นใหม่ หนุ่มสาววัยทำงานได้อย่างอยู่หมัด 

    Tim Hortons (ทิม ฮอร์ตันส์) ตั้งเป้าว่าปีนี้จะขยายสาขาในไทยให้ได้ 15 สาขา เเต่ยังไม่ระบุรูปแบบของร้านว่าจะเป็นสาขาในห้างสรรพสินค้า สเเตนด์อโลนหรือร้านขนาดเล็กที่เป็นรถฟู้ดทรักเหมือนในเเคนาดา

    “สาขาต่อไปเราจะมองโลเคชั่นเป็นหลัก ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ หรือเมืองอื่น ๆ” ผู้บริหารวีอีทกล่าว 

    โดยสาขาเเรกในศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เขามองว่าเป็นทำเลที่ดีมาก เเละจับกลุ่มตลาดในทุกช่วงวัยตามเป้าหมายของบริษัท เพราะมีทั้งชาวต่างชาติ พนักงานออฟฟิศเเละใกล้มหาวิทยาลัย การเดินทางก็สะดวกสบาย 

    เศรษฐีวัธนเวคิน กระโจนสู่ธุรกิจอาหาร 

    Tim Hortons สาขาเเรกในไทยจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 มกราคมนี้ หลังจากบรรลุข้อตกลงกับบริษัทแม่อย่าง Restaurant Brands International (RBI) เจ้าของแบรนด์ Tim Hortons เเละแบรนด์ระดับโลกอย่าง Burger King เเละ Popeyes โดยบริษัท วีอีท จำกัด (WeEat) เป็นผู้ได้สิทธิ์ในการนำแบรนด์ Tim Hortons เข้ามาขยายตลาดในเมืองไทยแต่เพียงผู้เดียว 

    ทั้งนี้ วีอีท (WeEat) บริษัทภายใต้การแผนการขยายธุรกิจไปยังธุรกิจด้านอาหารของตระกูล “วัธนเวคิน” (ตระกูลเศรษฐีอันดับที่ 43 ของไทย จากการจัดอันดับของ Forbes) ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในหลากหลายธุรกิจ เช่น ธนาคารเกียรตินาคิน, เครือ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป, บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน)

    การเข้ามาของ Tim Hortons จึงนับเป็นก้าวสำคัญของการขยายธุรกิจอาหารของ “วัธนเวคิน” เพราะตั้งบริษัทวีอีท ขึ้นมาเพื่อดูเเล Tim Hortons ในไทยโดยเฉพาะ ก่อนหน้านี้ มีการเตรียมการทำวิจัยลูกค้าเเละตลาดมากว่า 2-3 ปีก่อนจะเกิดดีลนี้ขึ้นมา 

    สุพัชร บอกว่า เรากำลังมองหาโอกาสในการเจาะตลาดค้าปลีกเกี่ยวกับอาหาร ที่มีการเติบโตของธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่องทีอยู่ที่ 13% ต่อปีในระหว่างปี 2555-2560” 

    โดยอ้างอิงจากข้อมูลของ Euromonitor ที่ระบุถึงอุตสาหกรรมร้านอาหารบริการด่วนโดยที่มีเมนูกาแฟประกอบอยู่ด้วย และเติบโตในอัตราที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นที่ 22% ระหว่างปี 2559 ถึงปี 2561 

    “ขณะเดียวกัน เรามองเห็นช่องว่างในการเติบโตอย่างเป็นไปได้ เนื่องจากการบริโภคกาแฟของตลาดไทยมีอัตราส่วนต่อคนอยู่ต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วทางตะวันตกและประเทศศูนย์กลางเศรษฐกิจในเอเชีย ยิ่งไปกว่านั้น ในตลาดไทย เมื่อเทียบกับ Tim Hortons มีแบรนด์กาแฟระดับโลกเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่ขยายธุรกิจอยู่อย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเรามั่นใจว่ากาแฟยอดนิยมของแคนาดาจะไม่ทำให้ลูกค้าชาวไทยผิดหวัง”

    กาแฟดังจากแคนาดา รุกตลาดไทย-อาเซียน 

    ด้าน Alex Macedo ประธานของ Tim Hortons ระบุในแถลงการณ์ว่า พวกเราตื่นเต้นอย่างมากที่จะนำแบรนด์ของ Tim Hortons ไปเปิดที่ประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเติบโตไปทั่วโลก เเละมองว่าตลาดกาแฟในประเทศไทยเป็นตลาดที่มีการเติบโต นอกจากนี้พาร์ตเนอร์ของเรามีความเข้าใจอย่างมากในตลาดเครื่องดื่มของไทย จึงเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะประสบความสำเร็จในการเปิดสาขาในประเทศไทย

    yahoo finance รายงานว่า บริษัทแม่อย่าง Resturant Brands International (RBI) ได้ประกาศเดินหน้ากลยุทธ์ขยายสาขาทั่วโลกเป็น 40,000 สาขาภายใน 8-10 ปีนี้ จากที่มีอยู่ 26,000 สาขา โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตปีละ 5-6% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า จึงเร่งเกมตีตลาดในเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศจีนที่ Tim Hortons เปิดสาขาแรกเมื่อเดือน ก.พ. 2019 และเตรียมขยายไปทั่วจีนถึง 1,500 สาขาภายใน 10 ปีข้างหน้า 

    ขณะเดียวกันก็มองเห็นโอกาสทองในอาเซียน โดยก่อนหน้านี้เข้าไปทำตลาดในสิงคโปร์เเละฟิลิปปินส์ ตอนนี้ก็มาถึงคิว “ไทย” ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 14 ในเเผนการขยายตลาดโลกของ Tim Hortons 

    สไตล์เเคนาดาผสมวัฒนธรรมไทย

    “จุดเด่นของเราคือคุณภาพเเละการสร้างความพึงพอใจ มีเเบรนด์ที่เเข็งเเกร่งพอจะต่อยอดการรับรู้ได้เเพร่หลาย โดยวัตถุดิบจะนำเข้า 100% ควบคุมรสชาติเเละการบริการเเบบในเเคนาดา สิ่งสำคัญที่เราทำคือการผสมผสานการตกเเต่งเเบบ Canadian Coffee House ที่มีวัฒนธรรมไทย เเละตั้งใจจะทำให้ทุกสาขาที่จะเปิดต่อไปมี “เรื่องเล่า” ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่นสาขาเเรกนี้ เราก็มีการตกเเต่งด้วยกลิ่นอายสามย่าน ให้โดดเด่นว่าเป็น Tim Hortons เเละดึงดูดด้วยความเป็นไทย” 

    ร้านแรกของ Tim Hortons (ทิม ฮอร์ตันส์) ในประเทศไทยจะอยู่ที่ชั้น G ณ สามย่าน มิตรทาวน์ รองรับลูกค้าได้มากกว่า 118 ที่นั่ง และมีพื้นที่ถึง 352 ตารางเมตร  

    เมนูเเนะนำคือ “ทิมส์ ลาเต้” กาแฟไนโตร โคลด์ บรูว์ เเละเมนูขายดีในแคนาดาอย่าง “ดับเบิ้ล ดับเบิ้ล” “ซิกเนเจอร์ ไอซ์แคป” เเละ “ทิมบิทส์” ซึ่งมาในหลากหลายรสชาติ เช่น ช็อกโกแลตทรัฟเฟิล และคุกกี้ครัมเบิ้ล ส่วนเมนูอาหารที่ถูกคิดค้นขึ้นสำหรับเมืองไทย เช่น บาร์บีคิว พูลพอร์ค พานินี่ แซนด์วิช และ ทูน่ากริลล์ชีสเมลท์ เป็นต้น ราคากาเเฟเริ่มต้นที่ 75 บาท 

    “เราพยายามตั้งราคาให้ผู้บริโภคไทยเข้าถึงได้มากที่สุด” ผู้บริหารวีอีทกล่าว 

    สำหรับ Tim Hortons เป็นหนึ่งในธุรกิจอาหารบริการด่วนที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1964 ที่เเคนาดา ปัจจุบันมีจำนวนสาขามากกว่า 4,850 สาขาทั่วโลก ยอดขายกว่า 2 พันล้านเเก้วต่อปี 

    อย่างไรก็ตาม สมรภูมิร้านกาเเฟในไทย เเม้จะเป็นเเบรนด์ใหญ่เเต่ก็ประมาทไม่ได้ ก่อนหน้านี้ร้าน Costa Coffee กาแฟพรีเมียมจากประเทศอังกฤษที่เข้ามาเปิดสาขาในไทย ก็ต้องกลับบ้านไปเพราะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงต้องมาดูว่า Tim Hortons จะฉายเเววคว้าโอกาสนี้ไว้ได้หรือไม่ 

     

    ]]>
    1260459
    ความหิวไม่เคยรอใคร! เจาะอินไซต์ทำไม “ชาบูชิ” ถึงต้องเปิด 24 ชั่วโมง https://positioningmag.com/1251517 Tue, 29 Oct 2019 18:33:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1251517 ชาบูชิ ร้านชาบูในเครือของโออิชิ กรุ๊ป ปรับตัวรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่ เปิดโมเดล 24 ชั่วโมงที่สามย่านมิตรทาวน์ เอาใจสายกินดึก รับเทรนด์ Sleepless Society การกินไม่ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาทำการ

    เทรนด์ใช้ชีวิต 24 ชั่วโมงมาแรง สะดวกซื้อไม่พอ ต้องสะดวกกิน

    ดูเหมือนว่าเทรนด์การเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงจะไม่ใช่แค่กระแส แต่กลายเป็นเมกะเทรนด์ที่เห็นได้ทั่วโลกไปแล้ว ที่ประเทศไทยเองก็เริ่มเห็นได้ชัดมากขึ้นจากการที่ห้างค้าปลีก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ต่างปรับใช้โมเดลนี้ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการใช้ชีวิตที่ไม่ได้จำกัดแค่ช่วงเวลาทำการแค่ 10 โมง – 4 ทุ่ม

    “ชาบูชิ” เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารที่ขอเกาะขบวน 24 ชั่วโมงด้วยเช่นกัน ได้เปิดโมเดลใหม่ที่เรียกว่า “ไฮบริด” นำร่องสาขาแรกที่ “สามย่านมิตรทาว์น” เป็นการเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

    ชาบูชิสาขานี้ได้เปิดให้บริการครบ 30 วันเป็นที่เรียบร้อย เปิดวันแรกพร้อมกับสามย่านมิตรทาวน์ในวันที่ 20 กันยายน 2562 ถ้าถามว่าผลตอบรับของสาขานี้เป็นอย่างไร ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แอบบอกเลยว่า “ตอนนี้สายพานอาหารทำงานตลอด 24 ชั่วโมงยังไม่มีหยุด ผลตอบรับดีกว่าที่คิดไว้”

    คำถามที่ตามมาก็คือ ทำไมโออิชิถึงเลือกที่จะนำแบรนด์ชาบูชิมาทำโมเดล 24 ชั่วโมงก่อนใครเพื่อน นั่นเพราะว่ามองเห็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่ช่วงเวลาดึกๆ ชอบทานของร้อนๆ ของต้มๆ อีกทั้งทำเลของสามย่านมิตรทาวน์ยังใกล้กับสถานศึกษา สถานที่ทำงาน อยากเปลี่ยนพฤติกรรมคนทานมาม่าในตอนกลางคืนมาทานชาบูแทน!

    ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
    ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

    ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การทำธุรกิจยุคนี้จะรออยู่แค่ช่วงเวลาศูนย์การค้าทำการอย่างเดียวไม่ได้ การขาย 24 ชั่วโมง ก็สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีก

    “ตอนนี้เทรนด์ 24 ชม. กลายเป็นเมกะเทรนด์ของโลก เพราะคนใช้ชีวิตกลางคืนมากขึ้น ร้านอาหารเองก็ต้องปรับตัว จากแต่ก่อนแค่อาหารอร่อย และบริการดีก็เพียงพอแล้ว แต่ตอนนี้ไม่พอ ต้องมีเรื่องของความสะดวกสบาย การเข้าถึงได้ง่ายทุกเวลา” 

    ขยายโมเดลใหม่ เจาะไซส์เล็ก

    ชาบูชิได้ทำตลาดมา 18 ปีแล้ว ได้เปิดสาขาแรกเมื่อปี 2544 เป็นร้านชาบูที่มีคอนเซ็ปต์เสิร์ฟทุกอย่างบนสายพาน ราคา 199 บาท/คน จากนั้นในปี 2559 ได้มีการปรับแบรนด์ครั้งใหญ่ด้วยคอนเซ็ปต์ Shabu Shi and So Much More เป็นการแยกไลน์อาหารชาบู กับอาหารอื่นๆ เช่น ซูชิ เทมปุระ ออกจากกัน และในปี 2561 ก็ได้ปรับสาขาเซ็นทรัลเวิลด์เป็นแฟล็กชิพสโตร์

    จะเห็นได้ว่าในช่วง 2-3 ปีให้หลังมานี้ชาบูชิมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด มีการปรับคอนเซ็ปต์ และรูปแบบร้าน ในปีนี้ก็มีไฮไลต์อยู่ที่โมเดล 24 ชั่วโมงนั่นเอง อีกทั้งทิศทางต่อไปยังเน้นขยายสาขาด้วยโมเดลขนาดเล็กลง เพื่อขยายเข้าเมืองรองมากขึ้น

    ทำให้ตอนนี้ชาบูชิมี 3 โมเดลใหม่ด้วยกัน ได้แก่

    • Light Store หรือสาขาขนาดเล็ก มีพื้นที่เฉลี่ย 150-170 ตารางเมตร สายพานเดียว มี 48-65 ที่นั่ง จากที่สาขาปกติใช้พื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตร และมี 2-3 สายพาน เน้นขยายในเมืองรอง ตำบลเล็กๆ ใช้งบลงทุนต่ำกว่าเดิม 15-30% ได้ทดลองเปิดมาแล้ว 6 เดือน เริ่มเปิด 6-7 สาขา ทิศทางต่อไปก็จะขยายโมเดลนี้หมด
    • Hybrid Store สามารถรองรับการใช้บริการ 24 ชม. ไฮบริดที่ว่าก็คือสามารถเป็นแบบบุฟเฟ่ต์ก็ได้ หรือแบบ A la carte ก็ได้ ปรับได้ตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ตอนนี้มีสาขาเดียวที่สามย่านมิตรทาวน์ ยังไม่มีแผนขยายสาขา 24 ชั่วโมงไปที่อื่น ต้องดูความพร้อมของศูนย์การค้าแต่ละที่ก่อน
    • Tier Pricing Format เป็นสาขาที่พรีเมียมมากที่สุด รองรับลูกค้าที่ต้องการทานเมนูที่พรีเมียมมากขึ้น ราคาก็สูงขึ้นด้วยที่ 429 บาท และ 599 บาท เป็นโมเดลที่เหมาะกับศูนย์การค้าหรูๆ หรือแหล่งท่องเที่ยว ตอนนี้มีสาขาเซ็นทรัลเวิลด์ และกำลังจะเปิดอีกสาขาที่เซ็นทรัลลาดพร้าว

    เพิ่มเวลาขาย ก็เพิ่มรายได้

    นอกจากการขยายสาขาด้วยร้านไซส์เล็กแล้ว อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญที่น่าสนใจก็คือการ “เพิ่มเวลา” ขาย หรือเป็นการเปิดร้านให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมงจากเดิม 10 โมง ก็เปิด 9 โมงเช้า ได้ทดลองในสาขาที่เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซีทั้งหมด 56 สาขา แล้ว เพราะไฮเปอร์มาร์เก็ตมีการเปิดให้บิรการตั้งแต่ 9 โมงเช้าอยู่แล้ว

    “หลังจากที่ดูโมเดล 24 ชั่วโมงมาแล้ว ทำให้เห็นว่าไม่มีข้อจำกัดในการทานตอนเช้า เลยทดลองขยายเวลาเปิดให้เร็วขึ้นเป็น 9 โมงเช้าในเทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ผลตอบรับก็ดี เปิดขายเพิ่ม 1 ชั่วโมง มียอดขายเพิ่มขึ้นรวม 1 ล้านบาท”

    สำหรับสาขา 24 ชั่วโมงที่มีการขายได้ตลอดทั้งวัน เพิ่มการขายได้อีกถึง 12 ชั่วโมงโดยที่ไม่ต้องปิดตามเวลาทำการ ยิ่งเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น

    ไพศาลอธิบายเพิ่มว่า มีสถิติพบว่าสัดส่วนของลูกค้าที่มาใช้บริการแบ่งเป็นช่วงเวลา 10.00-22.00 น. มีสัดส่วน 54% และเวลา 22.00-10.00 น. สัดส่วน 46% แสดงว่าร้านที่เปิดเวลาปกติมีรายได้หายไป 46% การเปิด 24 ชั่วโมงสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

    ขึ้นแท่นสาขายอดขายปังสุด คนกินหลัง 4 ทุ่มเยอะสุด

    ชาบูชิสาขาสามย่านมิตรทาวน์ที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง จะมีอัตราการให้บริการแบ่งเป้น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเปิดปกติ 10.00-22.00 น. ราคาปกติ 419 บาท แต่ถ้าช่วงเวลา 22.00-10.00 น. ราคา 319 บาท แต่ได้ตัดอาหารกลุ่มของทอด ปลาดิบ และซูชิออก

    ไพศาลบอกว่า “เพราะไม่อยากให้คนนอนดึกทานอะไรที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ของทอด และปลาดิบทำให้ย่อยยาก มีการปรับราคาลงมา ให้ทานไม่ต้องเยอะ กำลังดี”

    จากที่เปิดให้บริการมา 30 วัน ได้มีอินไซต์ของลูกค้าต่างๆ ได้แก่

    • ลูกค้าใช้บริการ 23,650 คน รวม 8,990 บิล ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 700 คน
    • ช่วงเวลาใช้บริการ 10.00-22.00 น. สัดส่วน 54% และ 22.00-10.00 น. สัดส่วน 46%
    • ช่วงเวลาที่คนใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ 22.00-24.00 น. เป็นช่วงคนเลิกงาน รองลงมาคือ 24.00-02.00 น. และ 20.00-22.00 น.
    • จำนวนคนมาใช้บริการ มากัน 2 คน 53% รองลงมาคือ 3 คน และ 1 คน
    • วันที่ 22 กันยายน 2562 เป็นวันที่ลูกค้าใช้บริการใช้เยอะที่สุด มี 434 บิล รวม 1,124 คน
    • 5 อันดับเมนูที่คนทานเยอะที่สุด ได้แก่ กุ้งสด เบคอน ข้าวปั้นหน้าแซลมอน ข้าวปั้นหน้าแซลมอนย่าง และเนื้อฮารามิ (เนื้อพื้นท้อง)
    • ทำให้ตอนนี้สามย่านมิตรทาวน์เป็นสาขาที่รายได้ดีที่สุด ตามมาด้วยเมกา บางนา, เซ็นทรัลเวิลด์, เดอะมอลล์บางกะปิ และซีคอนสแควร์

    สำหรับผลประกอบการอาหารของโออิชิ กรุ๊ปในช่วง 9 เดือน (1 ตุลาคม 2561 – 30 มิถุนายน 2562) มีรายได้ 5,386 ล้านบาท โต 11% กำไร 337 ล้านบาท โต 214.5%

    ตอนนี้ชาบูชิมีสาขารวม 149 สาขา ในปีหน้าจะมีแผนขยายอีก 11 สาขา ปกติเปิดเฉลี่ย 10-12 สาขา/ปี

    ถ้าถามว่าการเปิดร้าน 24 ชั่วโมงมีความยาก หรือความท้าทายที่ไหนบ้าง

    ไพศาล บอกว่า ยากกว่าที่ประเมินไว้เยอะ จากตอนแรกคิดว่าตี 2-3 ลูกค้าก็หมดแล้ว แต่กลายเป็นว่าสายพานยังไม่ได้หยุดพักเลย จริงๆ ความยากอยู่ที่เรื่องการปฏิบัตการ อาหารเป็นเรื่องของสด แล้วต้องคาดเดาพฤติกรรมการกินของลูกค้า ต้องทำให้ของสดอยู่เสมอ

    อีกทั้งยังมีเรื่องของการบริหารคน เพราะมีพนักงานที่มาทำงานกลางคืน แต่เดิมมี 2 กะ ต้องเพิ่มเป็นเป็น 4 กะ เป็นการเปลี่ยนชีวิตการทำงานของเขา ต้องให้สวัสดิการเพิ่มมากขึ้น ต้องหาที่พักให้พนักงานด้วย

    ]]>
    1251517
    ส่องร้านค้าดังเปิดแห่งแรก-บริการ 24 ชั่วโมง “สามย่านมิตรทาวน์” เจาะไลฟ์สไตล์สายฟู้ด-เด็กเรียน https://positioningmag.com/1247157 Sat, 21 Sep 2019 06:14:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247157 ได้ฤกษ์เปิดบิ๊กโปรเจกต์ “มิกซ์ยูส” 9,000 ล้านบาท “สามย่านมิตรทาวน์” บนทำเลหัวมุมถนนพญาไท-พระราม 4 อย่างเป็นทางการกันไปเมื่อวานนี้ (20 ก.ย.) ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยบริษัทแผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือทีซีซี กรุ๊ป ของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี”

    พื้นที่รีเทล ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เป็นหนึ่งในโซนไฮไลต์กับอาคารสูง 6 ชั้น มีพื้นที่เช่า 36,000 ตารางเมตร จุดเด่นของโครงการคือมีร้านค้าเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง รวมพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร

    แหล่งเช็กอินสายฟู้ด-เด็กเรียน

    ธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ กล่าวว่า โครงการ “สามย่านมิตรทาวน์” ตั้งอยู่บนที่ดิน 14 ไร่ พื้นที่ใช้สอยรวม 220,000 ตารางเมตร มี 3 ส่วนหลัก คือโรงแรม Triple Y 102 ห้อง ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ ก.ค. ที่ผ่านมา, ส่วนที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม Triple Y Resident 516 ห้อง อาคารสำนักงาน “มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์” และพื้นที่ค้าปลีก คอนเซ็ปต์ Urban Life Library หรือ “คลังแห่งอาหารและการเรียนรู้” ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สายฟู้ดและสายโนวเลจด์ยุคใหม่

    โซนศูนย์การค้า มีร้านค้าแบรนด์ดังเปิดคอนเซ็ปต์ใหม่เป็น “แห่งแรก” และโซนเปิดบริการ 24 ชั่วโมง ตอบสนองพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ นักเรียนนักศึกษา สายฟรีแลนซ์ สตาร์ทอัป

    ร้านเปิดแห่งแรก

    Mei wei wan noodle เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อสูตรไต้หวัน เป็นร้านที่ลงทุนและพัฒนาแบรนด์ใหม่โดย “สุรนันทน์ เวชชาชีวะ” ร่วมกับพันธมิตรชาวไต้หวัน โดยมีเชฟชาวไต้หวันเป็นผู้พัฒนาสูตรก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ราคาเฉลี่ย 275 บาท

    Mei wei wan noodle

    To Kio Jo ร้านไก่ทอด โต คิว โจ จากเกาหลี

    Appron Walk เป็นศูนย์รวมอุปกรณ์เครื่องครัว หลากหลายแบรนด์ และจำหน่ายวัตถุดิบในการทำอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัด COOKING CLASS เอาใจคนรักการทำอาหาร

    Din’s แบรนด์ใหม่ในเครือเซ็นกรุ๊ป เป็นร้านอาหารสไตล์จีนที่มีลูกเล่นใหม่ๆ แตกต่างไปจากร้านอาหารในเครือเซ็นกรุ๊ป

    Tim Hortons ร้านกาแฟและอาหารจานด่วน (Fast Food Restaurant) ชื่อดังจากประเทศแคนนาดา ที่เห็นโอกาสการเติบโตของตลาดเครื่องดื่มกาแฟในเมืองไทยมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาทยังเติบโตได้อีก

    Tim Hortons

    SAMYAN CO-OP สามย่าน โค-ออป เป็นโค เลิร์นนิ่ง สเปซ รูปแบบใหม่ ที่สามารถเข้าใช้บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมง มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ห้องประชุม ห้องจัดกิจกรรมต่างๆ มีจำนวนที่นั่งรวมกันมากถึง 500 ที่นั่ง ปลั๊กไฟ และสัญญาณ Wi-Fi รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

    Celebrity Fitness เป็นสตูดิโอออกกำลังกายที่เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายอายุ 21 – 35 ปี ประกอบไปด้วย จักรยาน คลาส อุปกรณ์คาร์ดิโอ ฟรีเวท และอุปกรณ์การสร้างกล้ามเนื้อ

    Yi Fang ร้านยิฟางเป็นร้านชานมไต้หวัน นอกจากชานมแล้วยังมีชาผลไม้ที่ได้รับความนิยมที่สุดในไต้หวันอีกด้วย

    Fast Rehab สหคลินิกกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู ฟาสท์รีแฮบ (Fast Rehab) ดำเนินการโดย บริษัท ไท ควอลิตี้ แวร์ จำกัด ให้บริการรักษาทางกายภาพบำบัดในกลุ่มผู้มีอาการปวดทุกเพศทุกวัย กลุ่มผู้บาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา และการฟื้นฟูผู้สูงอายุหรือผู้มีข้อจำกัดทางกายต่างๆ

    Medium & More อุปกรณ์ศิลปะ งานประดิษฐ์ รวมถึงสินค้าแปลกใหม่จากทุกมุมโลก บริการสลักชื่อ และปั้มตัวอักษรหรือลวดลายเงิน ทองลงบนวัสดุหนัง

    SAMYAN FOOD Legends by MBK เป็นศูนย์อาหารสตรีท ฟู้ดที่รวบรวมร้านอาหารระดับตำนานชั้นนำในสามย่าน สะพานเหลือง และเยาวราชแห่งแรกของเมืองไทยมาให้ลูกค้าได้เลือกรับประทานมากกว่า 10 ร้าน เช่น เพ้งคั่วไก่ ทูเดย์สเต็ก ไฮเช็งลูกชิ้นปลา ก๋วยเตี๋ยวเป็ดพะโล้นายเล้า ต้มเลือดหมูนายยิ๊ง ข้าวแกงนายอู๋ ขนมหวานเช็งซิมอี๊ โป่วเทียมเฮง และข้าวขาหมูตรอกซุง เป็นต้น

    Byeokje เป็นร้านอาหารเกาหลีประเภทปิ้งย่าง Ya Kun Coffee & Toast เป็นร้านอาหารและเครื่องดื่มจากประเทศสิงคโปร์ Yama ร้านชานมไข่มุกจากประเทศไต้หวัน

    ร้านเปิด 24 ชั่วโมง

    Big C Food Place “บิ๊กซี ฟู้ด เพลส” จะเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นจำหน่ายอาหารสดสัดส่วน 50% ของสินค้าที่ขายทั้งหมด และอีก 50% เป็นกลุ่มสินค้าประเภทอาหารแห้ง

    Starbucks สาขาสามย่านมิตรทาวน์ เปิดให้บริการ 2 ชั้น

    ก๋วยเตี่ยวเรือพระนคร เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวเรือชื่อดังย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีเมนูก๋วยเตี๋ยวเรือราคาประหยัด ทั้งก๋วยเตี๋ยวน้ำตกเนื้อ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตกหมู

    Shabushi buffet ชาบูชิเป็นอาหารญี่ปุ่นประเภทหม้อไฟ คล้ายสุกี้ยากี้ มีส่วนผสมต่างๆ เช่น ผัก เนื้อหั่นบางๆ และอาหารทะเล โดยการปรุงจะนำวัตถุต่างๆ เหล่านี้จุ่มแช่ลงในน้ำเดือด หรือน้ำซุป และปล่อยทิ้งไว้สักพัก แล้วรับประทานโดยจุ่มลงในซอส

    KFC สาขาสามย่านมิตรทาวน์ใช้ชื่อเต็มว่า Kentucky Fried Chicken เพื่อย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของร้าน ให้เข้ากับสถานที่ย่านเมืองเก่า ในคอนเซ็ปต์ 1 OF A KIND ภายในร้านมีบริการ Self-ordering kiosk และเปิดโชว์กระบวนการประกอบอาหารผ่าน Open kitchen

    Swensens เป็นร้านไอศกรีมสัญชาติอเมริกาที่จะเข้ามาเปิดให้บริการภายในโซน 24 ชั่วโมง ของศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์เป็นสาขาแรก และมีการตกแต่งร้านภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์

    White story เป็นร้านเบเกอรี่แนว French Pastry และอาหารสไตล์อิตาเลียนโฮมเมด มีเมนูเด่น คือ สปาเกตตี้เบคอนกรอบพริกระเบิด บริการ 24 ชั่วโมงเป็นสาขาแรก และเป็นสาขาใจกลางเมืองแห่งเดียวที่ให้บริการทั้งอาหารคาว อาหารหวาน และบริการอาหารแบบ take away

    ร้านคอนเซ็ปต์ใหม่

    Muji เป็นร้านจำหน่ายเครื่องเขียน เสื้อผ้า อาหาร และอุปกรณ์เครื่องครัว สาขาสามย่านมิตรทาวน์ มีบริการ Cafe & Meal Muji เป็นแห่งแรกในประเทศไทย จำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่ม ทั้งมื้อหนัก ของว่าง และขนมหวาน ที่ยังคงความเป็น MUJI นั่นคือ ความเรียบง่าย หรือ Minimal Style และมีจุดขายคือ เมนูอาหารที่ทำจากผักหลากหลายชนิด และวัตถุดิบธรรมชาติ

    AKA อากะ เป็นร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นในรูปแบบบุฟเฟ่ต์พรีเมียม ซีฟู้ด หมู เนื้อ และเครื่องเคียง รับประทานได้ 90 นาที นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงเมนูบุฟเฟ่ต์ซาซิมาเป็นครั้งแรกที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์

    Zen Box เป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่เปิดให้บริการทั้งในรูปแบบนั่งทานในร้านและ Grab & Go โดยในส่วนของสาขาสามย่านมิตรทาวน์จะมีความแตกต่างจากสาขาไบเทคบางนาทั้งในด้านของเมนู ราคา และรูปแบบร้าน

    ]]>
    1247157