อินเทอร์เน็ต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 27 Feb 2022 12:45:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Elon Musk เปิดบริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม ‘Starlink’ ให้ยูเครน https://positioningmag.com/1375550 Sun, 27 Feb 2022 10:57:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375550 มหาเศรษฐี ‘Elon Musk’ เปิดบริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม ‘Starlink’ ในยูเครน ตามคำขอของรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล

สถานการณ์ในยูเครนยังตึงเครียดต่อเนื่อง หลังรัสเซียประกาศเข้าบุกโจมตี ส่วนหนึ่งทำให้อินเทอร์เน็ตของประเทศได้รับผลกระทบ หลายพื้นที่ขาดการติดต่อเเละเกิดปัญหาด้านการสื่อสาร

Fedorov Mykhailo รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลยูเครน ได้ทวิตข้อความพร้อมเเท็กไปยัง ‘Elon Musk’ ผู้ก่อตั้งบริษัทขนส่งทางอวกาศ SpaceX เเละผู้บริหารของ Tesla ว่า “ในขณะที่คุณพยายามจะตั้งอาณานิคมบนดาวอังคาร รัสเซียกำลังพยายามยึดครองยูเครน ในขณะที่จรวดของคุณประสบความสำเร็จในการลงจอดจากอวกาศ จรวดของรัสเซียโจมตีพลเรือนชาวยูเครน เราขอให้คุณจัดหาสถานี Starlink ให้กับยูเครน..”

 

ต่อมา Elon Musk ได้ตอบกลับในทวิตว่า อินเทอร์เน็ตจากดาวเทียม Starlink เปิดใช้งานในยูเครนได้แล้ว เเละจะเพิ่มตัวรับสัญญาณอย่างต่อเนื่อง

สำหรับ Starlink เป็นบริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมความเร็วสูง ที่เป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตดาวเทียมวงโคจรต่ำ หรือ ‘Low Earth Orbit’ (LEO) พัฒนาเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ แม้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เพียงแค่มีจานรับสัญญาณ โดยปัจจุบัน Starlink มีเครือข่ายดาวเทียมกว่า 2,000 ดวงทั่วโลก เเละบริษัทมีเเผนจะปล่อยดาวเทียมอีก 50 ดวงสู่วงโคจรโลกในเร็วๆ นี้

 

]]>
1375550
วิเคราะห์เศรษฐกิจดิจิทัล ‘อาเซียน’ โตเเรง ดึงเงินทุนทั่วโลก ฉายเเววมี ‘ยูนิคอร์น’ เพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1362133 Mon, 15 Nov 2021 13:58:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362133 เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน กำลังเป็นที่จับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก หลังมีเเนวโน้มเติบโตสดใส แตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 จากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ‘หน้าใหม่’ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตโรคระบาด เทคสตาร์ทอัพดาวรุ่ง การขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ อีคอมเมิร์ซเเละการเงินดิจิทัล

Nikkei Asia นำเสนอบทวิเคราะห์น่าสนใจ ถึงเศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่มประเทศอาเซียนที่คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 3.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 และมีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030

ชาวเน็ตหน้าใหม่ มาพร้อมช้อปปิ้ง 

จากรายงาน e-Conomy SEA Report 2021 ซึ่งเผยเเพร่เมื่อ 10 ..ที่ผ่านมา โดยความร่วมมือของ Google , Temasek ของสิงคโปร์ และบริษัทที่ปรึกษาอย่าง Bain & Co. สำรวจกลุ่มเศรษฐกิจในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

พบว่า ในปีนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่กว่า 40 ล้านคนในภูมิภาค เข้ามาในโลกออนไลน์ ทำให้ปัจจุบันยอดรวมของผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็น 350 ล้านคน คิดเป็น 75% ของประชากรทั้งภูมิภาค และที่สำคัญคือในจำนวนนี้กว่า 8 ใน 10 คน เคยสั่งซื้อของออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง

Stephanie Davis รองประธาน Google ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมืองใหญ่ๆ ในภูมิภาคก็เป็นพื้นที่ที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการบริโภคออนไลน์ในระดับสูงอยู่เเล้ว

เเต่หลังจากโรคระบาด การเปลี่ยนเเปลงที่เกิดขึ้นคือ จำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพื้นที่นอกเมือง มีมากขึ้นเรื่อย ๆ และกลายมาเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในปี 2020 และขยายตัวมากขึ้นไปอีกในปีนี้ เราจะเริ่มมองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างผู้บริโภคในเมืองและในชนบท

‘ยูนิคอร์น’ ในอาเซียนเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ 

อีกประเด็นสำคัญ คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของสตาร์ทอัพเทคโนโลยีที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย

โดยเฉพาะสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จระดับยูนิคอร์นที่มีมูลค่าบริษัทสูงกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่าง ผู้ให้บริการซูเปอร์แอป Grab และ GoTo รวมถึง Sea Group บริษัทจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปีนี้อาเซียน มีสตาร์ทอัพยูนิคอร์น เพิ่มขึ้นถึง 11 ราย ทำให้ปัจจุบันมียูนิคอร์นรวมเป็น 23 ราย

การที่บริษัทต่างๆ มุ่งเน้นไปในอีคอมเมิร์ซและเทคโนโลยีทางการเงิน จะมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตของอาเซียนในทศวรรษหน้า

ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดที่ยืดเยื้อมานานเกือบ 2 ปีเกิดข้อจำกัดทางสังคมเเละเศรษฐกิจต่างๆ มากมายผู้บริโภคทั่วโลกต้องพึ่งพาบริการดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เหล่านี้ ทำให้มูลค่าของเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตในอาเซียนในปีนี้ ขยายตัวถึง 49% เป็น 1.74 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.17 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2020

ธุรกิจการจัดส่งอาหาร หรือฟู้ดเดลิเวอรี่เป็นหนึ่งในบริการดิจิทัลที่เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด โดย 71% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเคยสั่งอาหารออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง

ขณะที่ บริการทางการเงินดิจิทัล ก็เติบโตอย่างแข็งแกร่ง’ รายงานระบุว่า การชำระเงินดิจิทัลและกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallets) กลายเป็นเทรนด์กระแสหลักอย่างรวดเร็ว เชื่อมโยงกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ที่การซื้อสินค้ามักจะถูกชำระผ่านออนไลน์แทนที่จะใช้เงินสด

การชำระเงินทางดิจิทัลขยายตัว 9% ตามมูลค่าธุรกรรมรวม จาก 6.46 เเสนล้านดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 7.07 เเสนล้านดอลลาร์ในปีนี้ และคาดว่าจะสูงถึง 1.17 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2025

ด้านการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลในอาเซียน เพิ่มขึ้น 48% จาก 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ เเละคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1.16 เเสนล้านดอลลาร์ ภายในปี 2025

Photo : Shutterstock

ดึงดูดเงินทุนจากทั่วโลก 

ความโดดเด่นของฟินเทคและอีคอมเมิร์ซฉายเเสงดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนในสตาร์ทอัพ รายงานของ Google ระบุว่า เงินทุนของจากทั่วโลกเข้ามาในกลุ่มสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีของอาเซียนพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

โดยมูลค่าข้อตกลงทางธุรกิจในบริษัทเทคโนโลยีอาเซียนช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ อยู่ที่ 11,500 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นราว 65% จากช่วงเดียวกันของปี 2020 และเกือบเท่ากับมูลค่ารวมของข้อตกลงตลอดทั้งปี 2020 ที่ 11,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนใหญ่กระจุกตัวในอุตสาหกรรมการขนส่งและอาหาร สื่อออนไลน์และการเดินทางออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่ม Sea Group บริษัทเทคโนโลยีของสิงคโปร์ ที่มีมูลค่าตลาดถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมหลายธุรกิจทั้งเกมออนไลน์อย่าง Garena เเละอีมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shopee

การลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาในภูมิภาคนี้ ไม่ได้มาจากกลุ่มทุนในภูมิภาคหรือท้องถิ่นเท่านั้น เเต่กระแสเงินทุนจำนวนมากนี้มาจากนักลงทุนทั่วโลก

 

ที่มา : Nikkei Asia

]]>
1362133
“ทรูมูฟ เอช” คว้าเครือข่ายยอดเยี่ยมที่สุดในไทย 5 ปีซ้อน โดย nPerf ยืนหนึ่งเน็ตบ้านเน็ตมือถือ! https://positioningmag.com/1320033 Thu, 18 Feb 2021 15:38:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320033 ว่ากันว่าการเป็นแชมป์เป็นเรื่องยากแล้ว แต่การรักษาแชมป์ให้ได้ เป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า ยิ่งในส่วนของเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่จับต้องเป็นรูปธรรมได้ยาก การการันตีด้วยองค์กรทดสอบประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญ และมีความน่าเชื่อถืออย่างยิ่ง

แต่ “ทรูมูฟ เอช” สามารถสร้างปรากฎการณ์นั้นให้เกิดขึ้นได้ คว้ารางวัลเครือข่ายยอดเยี่ยม และเครือข่ายที่ดีที่สุดในประเทศไทยในปี 2563 ซึ่งเป็นการครองแชมป์ต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน! ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2563  รวมถึง “ทรูออนไลน์” ก็คว้ารางวัลอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ที่ดีที่สุดในไทยประจำปี 2563 และรางวัลไฟเบอร์ดีที่สุดประจำปี 2563 การันตีโดย nPerf

nPerf เป็นสถาบันทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตระดับโลก ได้ทำการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี  สามารถทดสอบได้ทั้งอินเตอร์เน็ตบ้าน (Fixed Broadband Internet) และโมบายอินเตอร์เน็ต (Mobile Broadband Internet) ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทเอกชนในประเทศฝรั่งเศส บริการมาตั้งแต่ปี 2003 ก่อนจะพัฒนามาเป็นแอปพลิเคชัน ทั้งบน iOS Android และ Windows ถือเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่ใช้มากที่สุดในตลาด ได้รับความไว้ในใจหมู่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Comcast, Vodafone, Connected Nation, Telefonica, Orange, Three, Wireless United เป็นต้น

ล่าสุด nPerf ได้ประกาศผลการทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยประจำปี 2563 ทั้งความเร็วอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ และความเร็วอินเตอร์เน็ตบ้าน ผลปรากฎว่ากลุ่มทรูฯ คว้ารางวัลทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งอินเทอร์เน็ตบ้าน และอินเทอร์เน็ตมือถือ

สำหรับรางวัลเครือข่ายยอดเยี่ยม และเครือข่ายที่ดีที่สุดในประเทศไทย ปี 2563 ของทรูมูฟ เอช เป็นผลการสำรวจได้รวบรวมจากผู้ใช้งานแอป nPerf ทั้งหมดในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 2,902,011 ครั้ง ทรูมูฟ เอชได้คะแนนรวมสูงสุด 70,855 คะแนน และมีคะแนนนำใน 4 หมวดการทดสอบที่สำคัญๆ ได้แก่

1. ความเร็วดาวน์โหลดที่ดีที่สุด (Best Download Speed) 40.7 Mb/s

2. ค่าความหน่วงต่ำหรือ Latency ดีที่สุด (Best Latency) 32.1 ms

3. การเบราว์ซิง หรือคุณภาพในการเปิดเว็บที่ดีที่สุด (Best Browsing Performance) ด้วยค่าเฉลี่ยสูงสุดถึง 58.8% โดยพิจารณาจากคุณภาพการเปิด 5 เว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยใช้บ่อยที่สุด

4. การสตรีมมิ่ง หรือคุณภาพการสตรีมมิ่งวิดีโอที่ดีที่สุด (Best Streaming Performance) ด้วยค่าเฉลี่ยสูงสุดถึง 77.7% โดยพิจารณาจากคุณภาพการรับชมวิดีโอบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งยูทูป

ต้องบอกว่าตลอดปี 2563 คนไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เนื่องจากมาตรการ Work from Home, การเรียนออนไลน์ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ยิ่งทำให้ทีมงานทรูมูฟ เอช ทุ่มเทพัฒนาคุณภาพเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้คนไทยได้ใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพตลอดเวลายิ่งขึ้น

ตลอดจนการเปิดให้บริการเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G ในต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ทรูมูฟ เอชเป็นผู้นำเครือข่ายอัจฉริยะที่ดีกว่า เร็วแรงกว่า และเป็นรายแรก รายเดียว ที่มีคลื่นความถี่ครบสุดถึง 7 ย่านความถี่ ส่งผลให้ทรูมูฟ เอชสามารถรักษาแชมป์เครือข่ายยอดเยี่ยม/ที่ดีที่สุดในประเทศไทยต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2563

สำหรับ “ทรูออนไลน์” ก็ยืนหนี่งไม่แพ้กัน คว้า 2 รางวัล มาครอง ได้แก่ อินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ที่ดีที่สุดในไทยประจำปี 2563 และอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ดีที่สุดประจำปี 2563 ผลการสำรวจได้รวบรวมจากผู้ใช้งานแอป nPerf ทั้งหมดระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563

ผลการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์จำนวน 12,130,702 ครั้ง พบว่าทรูออนไลน์สามารถทำคะแนนรวมได้สูงสุด 174,771 คะแนน  เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต (ISP) รายอื่น โดยมีคะแนนสูงสุดในเรื่องของ

1. ความเร็วในการดาวน์โหลด 281.40 Mb/s

2. ความเร็วในการอัปโหลด 175.96 Mb/s

นอกจากนี้ผลการทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตไฟเบอร์ (FTTH/Fiber to the home) โดยทดสอบทั้งสิ้น 5,177,367 ครั้ง ทรูออนไลน์ก็ได้คะแนนสูงสุด 199,465 คะแนน

  1. ความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดที่ 504.66 Mb/s
  2. ความเร็วอัปโหลดสูงสุดที่ 317.88 Mb/s

รางวัลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทรูออนไลน์ ในการส่งมอบประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุดแก่คนไทย ด้วยการสรรหานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆและสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการอินเทอร์เน็ตบ้านของไทยเทียบเท่ามาตรฐานโลกมาตลอด16 ปี

รางวัล nPerf ของทั้งทรูมูฟ เอช และทรูออนไลน์ สะท้อนให้เห็นถึงความไม่หยุดนิ่งของกลุ่มทรู ที่พัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้ลูกค้า ยิ่งในยุคที่ต้องออนไลน์ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง ย่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือเสพคอนเทนต์ได้อย่างมีความสุขมากขึ้นจริงๆ

]]>
1320033
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจีนแตะ 989 ล้านคน! คนชนบทมีเน็ตใช้ 56% เปิดประตูสู่การขายสินค้าเกษตร https://positioningmag.com/1318159 Fri, 05 Feb 2021 10:48:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318159 แผนการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตและระบบอีคอมเมิร์ซของจีนยังเดินหน้าตามเป้า โดยปี 2020 จีนมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแตะ 989 ล้านคน จากจำนวนประชากร 1,393 ล้านคน คนชนบทเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 56% และเป็นช่องทางให้เกษตรกรขายตรงผลผลิตคุณภาพของตนเข้าสู่เมือง

รายงานการพัฒนาอินเทอร์เน็ตจีนเปิดเผยข้อมูลเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2021 ว่า จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศจีนแตะ 989 ล้านคนแล้วเมื่อสิ้นปี 2020 ที่ผ่านมา จำนวนนี้เพิ่มขึ้น 85.4 ล้านคนจากช่วงเดือนมีนาคม 2020 ขณะที่ศูนย์ข้อมูลโครงข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศจีน (CNNIC) รายงานว่า อินเทอร์เน็ตครอบคลุมพื้นที่ประเทศจีนคิดเป็น 76.3% ของพื้นที่ทั้งหมดแล้ว

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนจีนนั้นใช้ผ่านสมาร์ทโฟนถึง 99.7% คิดเป็นจำนวนประชากรออนไลน์ 986 ล้านคน โดยสัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 31.3% อยู่อาศัยในเขตชนบทของจีน หรือคิดเป็นจำนวนประชากรออนไลน์ 309 ล้านคน จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึง 54.71 ล้านคนนับจากเดือนมีนาคม 2020

 

อีคอมเมิร์ซ ช่องทางทำกินของคนถิ่นชนบท

CNNIC ระบุว่า โทรศัพท์มือถือกลายเป็นเครื่องมือใหม่ในแปลงเกษตรไปแล้ว เมื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นส่วนหนึ่งของการทำเกษตรในหมู่ประชากรพื้นที่ชนบทจีน

ในช่วงสิ้นปี 2020 ระบบอีคอมเมิร์ซครอบคลุมพื้นที่ยากจน 832 เขตของประเทศจีนครบทั้งหมด ทำให้การขายออนไลน์เป็นพลังอันสำคัญยิ่งเพื่อต่อสู้กับความยากจน

ยอดขายสินค้าในพื้นที่ชนบทกระโดดจาก 1.8 แสนล้านหยวนเมื่อปี 2014 ขึ้นมาเป็น 1.79 ล้านล้านหยวนในปี 2020

หยาง หมิง ผู้ช่วยนายอำเภอลั่วหนาน มณฑลส่านซี ชนบททางตะวันตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ระหว่างไลฟ์ขายสินค้าเกษตร (Photo : Xonhua)

ในทางกลับกัน คนในชนบทไม่แค่เพียงเป็นผู้ซื้อ แต่ยังเป็นผู้ขายได้ด้วย เพราะอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซทำให้พวกเขามีโอกาสขายสินค้าเกษตรคุณภาพสูงโดยตรงจากไร่ CNNIC รายงานว่า ช่วงครึ่งปีแรกปี 2020 มีการขายสินค้าเกษตรออนไลน์รวมมูลค่า 193.8 แสนล้านหยวน โดยสัดส่วน 35% ของมูลค่าดังกล่าว เป็นการขายสินค้าเกษตรจากพื้นที่ชนบทเขตยากจนของจีน

นโยบายการสร้างเศรษฐกิจในเขตชนบทห่างไกลของจีน เริ่มมาตั้งแต่ปี 2014 โดยแบ่งเป็น 10 โครงการที่จะช่วยให้คนชนบทมีรายได้ดีขึ้น เช่น พัฒนาการท่องเที่ยว ฝึกอบรมอาชีพ และหนึ่งในโครงการที่ตั้งขึ้นคือการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซในชนบท

โครงการเลี้ยงไก่ขายออนไลน์กับ JD.com

โครงการนี้นำมาซึ่งการโหมสร้างโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ต และประสานงานเอกชนมาช่วยคนชนบทขายของให้ได้ราคาและแนะนำให้ทำสินค้าคุณภาพ ตัวอย่างเช่น JD.com เซ็นสัญญากับรัฐบาลเพื่อสร้างฟาร์มไก่ในพื้นที่ยากจน โดยบริษัทจะให้เงินกู้รายย่อยเพื่อลงทุน และช่วยดูแลด้านโลจิสติกส์กับการตลาดให้ โครงการนี้เริ่มในปี 2016 และปัจจุบันฟาร์มไก่กับ JD.com กลายเป็นรายได้สัดส่วน 10% ของคนชนบทจีน

ในยุคที่ไลฟ์ขายของและการทำวิดีโอสั้นฮิตมากในจีน เกษตรกรจีนในเขตชนบทก็ใช้วิธีนี้ขายสินค้าเหมือนกัน มีการใช้เซเลบอินเทอร์เน็ตมาช่วยไลฟ์ขายสินค้าเกษตร จนคนจีนราว 1 ใน 5 ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ ล้วนเคยซื้อสินค้าเกษตรเพื่อช่วยเหลือคนชนบทมาแล้ว

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อีคอมเมิร์ซในชนบทจีนกำลังพัฒนาให้เป็นธุรกิจที่แข็งแรงมากขึ้น เช่น เปิดเป็นร้านค้าออนไลน์ถาวรบนมาร์เก็ตเพลซ หาสินค้าอย่างอื่นมานำเสนอ และพยายามสร้างงานให้คนในท้องที่ให้มากที่สุด

Source: Asia Times, Beijing Review

]]>
1318159
เนื้อหอมสุดๆ…Google ทุ่มเงิน 1.4 เเสนล้านบาท ซื้อหุ้น Jio บุกตลาดดิจิทัล “อินเดีย” เต็มที่ https://positioningmag.com/1287916 Wed, 15 Jul 2020 11:37:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287916 ตลาดอินเทอร์เน็ตในอินเดีย กำลังเป็นขุมทรัพย์เเห่งใหม่ที่ใครๆ ก็อยากเข้าไปลงทุน ล่าสุด Google ไม่ยอมเเพ้ ขอตามรอย Facebook ทุ่มลงทุนใน ‘Reliance Jio’ บริษัทโทรคมนาคมเจ้าใหญ่ของอินเดียที่มีฐานลูกค้าเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ด้วยมูลค่ากว่า 1.4 เเสนล้านบาท แลกกับการถือหุ้น 7.73%

Reliance Jio เพิ่งเปิดให้บริการมาได้ราว 3 ปีกว่า เเต่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม เป็นบริษัทในเครือของ Reliance Industries ครอบครองโดยมหาเศรษฐี Mukesh Ambani ชายผู้ร่ำรวยสุดในอินเดียเเละรวยที่สุดในเอเชีย เขามีทรัพย์สินกว่า 51.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (จากการจัดอันดับของ Forbes 2019) เป็นเจ้าพ่อพลังงานน้ำมันและก๊าซ ที่ครอบครองกิจการทั้งค้าปลีกรายใหญ่เเละโทรคมนาคม

ด้วยยอดผู้ใช้มากถึง 388 ล้านคน ที่มาพร้อมกับ ข้อมูล มหาศาลในตลาดอินเทอร์เน็ตที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จึงเป็นโอกาสของยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีต่างชาติที่จะนำไปต่อยอดธุรกิจหลากหลายรูปแบบในอินเดีย

ล่าสุด Google บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐ ทุ่มลงทุนใน Jio Platforms เป็นเงินกว่า 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1.4 เเสนล้านบาท โดยจะเข้าถือหุ้น 7.73%

ไม่กี่วันที่ผ่านมา Google เพิ่งจะประกาศเเผนลงทุนในอินเดียในช่วง 5-7 ปีต่อจากนี้ เป็นเงินกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขยายเทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนาระบบปฏิบัติการ Android เพื่อรองรับ 5G ในเร็วๆนี้

สำหรับ Jio เป็นบริษัทลูกของ Reliance Industries (บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดของอินเดีย) ได้เริ่มระดมทุนกว่า 20,000 ล้านเหรียญในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา เเลกกับการให้นักลงทุนเข้ามาถือหุ้น 33% ในบริษัท โดยมหาเศรษฐี Mukesh Ambani ประกาศว่า Google จะเป็นผู้ลงทุนรายสุดท้าย เพราะจะปิดรับการลงทุนจากนักลงทุนภายนอกเเล้ว

โดยบริษัทที่เข้าลงทุนใน Jio ตามรายงานของ Bloomberg มีทั้งหมด 13 รายดังนี้

  • Facebook ถือหุ้น 9.9%  (ลงทุน 5.7 พันล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • Google ถือหุ้น 7.7% (ลงทุน 4.5 พันล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • KKR ถือหุ้น 2.32%.  (ลงทุน 1.5 พันล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • Vista ถือหุ้น 2.32%  (ลงทุน 1.5 พันล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • Saudi PIF ถือหุ้น 2.32%  (ลงทุน 1.5 พันล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • Silver Lake ถือหุ้น 2.08% (ลงทุน 1.35 พันล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • Mubadala ถือหุ้น 1.85%  (ลงทุน 1.2 พันล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • General Atlantic ถือหุ้น 1.34%  (ลงทุน 873 ล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • ADIA  ถือหุ้น 1.16%  (ลงทุน 752 ล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • TPG ถือหุ้น 0.93%  (ลงทุน 600 ล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • L Catterton ถือหุ้น 0.39% (ลงทุน 252 ล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • Intel ถือหุ้น 0.39%  (ลงทุน 253 ล้านเเหรียญสหรัฐ)
  • Qualcomm ถือหุ้น 0.15% (ลงทุน 97 ล้านเเหรียญสหรัฐ)

อินเดียเป็นตลาดอินเทอร์เน็ตที่เนื้อหอมที่สุดในตอนนี้ก็ว่าได้ เพราะเป็นประเทศตลาดโทรศัพท์มือถือใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งยังมีผู้ใช้หลายร้อยล้านคนที่มีความต้องการในการซื้อของออนไลน์ สตรีมเพลง และดูวิดีโอออนไลน์ ขณะเดียวกันยังมีโอกาสเติบโตได้อีกอย่างเหลือเฟือ เนื่องจากยังมีประชากรอีกกว่า 600 ล้านคนที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต จากประชากรทั้งหมดในประเทศที่มีอยู่ราว 1.3 พันล้านคน

 

ที่มา : techcrunch , Bloomberg

 

]]>
1287916
“เน็ตบ้าน” ประเทศไทย “เร็ว” อันดับ 3 ของโลก! ส่วน “เน็ตมือถือ” ยังอยู่กลางตาราง https://positioningmag.com/1283158 Thu, 11 Jun 2020 10:47:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283158 อินเทอร์เน็ตไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก! Speedtest เผยแพร่ข้อมูลสำรวจความเร็วอินเทอร์เน็ตทั้งแบบ Fixed Broadband และดาต้าโทรศัพท์มือถือประจำปี 2020 พบว่าความเร็ว “เน็ตบ้าน” ไทยอยู่ในอันดับ 3 ของโลก ส่วน “เน็ตมือถือ” อยู่กลางตารางในอันดับที่ 64

Speedtest เปิดเผยดัชนีความเร็วอินเทอร์เน็ตทั่วโลก วัดผลเมื่อเดือนเมษายน 2020 โดยภาพรวมความเร็วอินเทอร์เน็ตแบบ Fixed Broadband ทั่วโลกเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น ทั้งความเร็วดาวน์โหลดและอัปโหลด ความเร็วดาวน์โหลดอยู่ที่ 74.74 Mbps ส่วนความเร็วอัปโหลดอยู่ที่ 39.62 Mbps

ขณะที่ความเร็วอินเทอร์เน็ตบนมือถือเฉลี่ยทั่วโลก ฝั่งดาวน์โหลดสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 30.89 Mbps แต่ฝั่งอัปโหลดความเร็วเฉลี่ยลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 10.50 Mbps

ด้านความเร็วอินเทอร์เน็ตแต่ละประเทศ ความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือฝั่งเน็ตมือถือ ซึ่งประเทศ “เกาหลีใต้” วิ่งแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลก แทนที่ UAE ที่ร่วงลงไปอยู่อันดับ 4

ส่วน “ประเทศไทย” ของเรานั้น ความเร็วอินเทอร์เน็ต Fixed Broadband ดาวน์โหลดเร็ว 159.87 Mbps อยู่ในอันดับ 3 ของโลก ปรับขึ้นมาหนึ่งอันดับจากปีก่อน แต่อินเทอร์เน็ตมือถือความเร็วอยู่ที่ 27.72 Mbps อยู่ในอันดับที่ 64 ลดลงไปหนึ่งอันดับจากปีก่อน (ทั้งหมดวัดจากความเร็วการดาวน์โหลด)

Top 10 ประเทศที่มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ต Fixed Broadband เร็วที่สุดในโลก ปี 2020

1.สิงคโปร์ 198.46 Mbps
2.ฮ่องกง 176.70 Mbps
3.ไทย 159.87 Mbps
4.สวิตเซอร์แลนด์ 152.05 Mbps
5.โรมาเนีย 151.87 Mbps
6.โมนาโก 140.10 Mbps
7.อันดอร์รา 139.66 Mbps
8.มาเก๊า 137.47 Mbps
9.สวีเดน 137.43 Mbps
10.เดนมาร์ก 136.44 Mbps

Top 10 ประเทศที่มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบนมือถือเร็วที่สุดในโลก ปี 2020

1.เกาหลีใต้ 88.01 Mbps
2.กาตาร์ 84.81 Mbps
3.จีน 84.68 Mbps
4.UAE 78.56 Mbps
5.เนเธอร์แลนด์ 75.32 Mbps
6.แคนาดา 73.52 Mbps
7.บัลแกเรีย 68.18 Mbps
8.นอร์เวย์ 66.87 Mbps
9.ออสเตรเลีย 62.15 Mbps
10.ซาอุดีอาระเบีย 55.17 Mbps

Source

]]>
1283158
เปิดดีล Facebook ทุ่ม 1.85 เเสนล้านบาท ซื้อหุ้น Jio ชิงขุมทรัพย์ตลาดอินเทอร์เน็ต “อินเดีย” https://positioningmag.com/1274922 Thu, 23 Apr 2020 07:20:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274922 Facebook เดินเกมบุกตลาด “อินเดีย” อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยการทุ่มเงิน 5,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 1.85 เเสนล้านบาท) เข้าซื้อหุ้น 9.99% ของ Reliance Jio บริษัทโทรคมนาคมเจ้าใหญ่ที่มีฐานลูกค้าเป็นอันดับ 1 ของประเทศ

ด้วยยอดผู้ใช้มากถึง 388 ล้านคน ที่มาพร้อมกับ “ข้อมูล” มหาศาลในตลาดอินเทอร์เน็ตที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นโอกาสทองที่ “Mark Zuckerberg” จะต่อยอดขยายธุรกิจหลากหลายรูปแบบในอินเดีย

Reliance Jio โทรคมนาคมรายใหญ่ของอินเดียที่เพิ่งเปิดให้บริการมา 3 ปี 6 เดือนเเต่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม เป็นบริษัทในเครือของ Reliance Industries ครอบครองโดยมหาเศรษฐี Mukesh Ambani ชายผู้ร่ำรวยสุดในอินเดียเเละรวยที่สุดในเอเชีย เขามีทรัพย์สินกว่า 51.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (จากการจัดอันดับของ Forbes 2019) เป็นเจ้าพ่อพลังงานน้ำมันและก๊าซ ที่ครอบครองกิจการทั้งค้าปลีกรายใหญ่เเละโทรคมนาคม

โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา Ambani ลงสนามอีคอมเมิร์ซในอินเดีย เปิดตัว “JioMart” เเพลตฟอร์มดิจิทัลท้องถิ่น เพื่อมาท้ารบกับ “Amazon” อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จากอเมริกาที่ครองเจ้าตลาดในอินเดียมาก่อน

อ่านเพิ่มเติม : ศึกเดือดอีคอมเมิร์ซ “อินเดีย” เศรษฐีผู้รวยที่สุดในเอเชีย เปิดตัว JioMart ท้าชิง Amazon

เเดนภารตะ : ขุมทรัพย์ตลาดอินเทอร์เน็ต

การจับมือของ Jio เเละ Facebook ในครั้งนี้น่าสนใจทีเดียว เพราะพวกเขาจะเชื่อมต่อ JioMart เข้ากับ WhatsApp แอปพลิเคชันในเครือของ Facebook ที่ได้รับความนิยมสูงในอินเดีย (มีผู้ใช้ 340 ล้านคน) เพื่อพัฒนาตลาดอีคอมเมิร์ซให้ก้าวไปอีกขั้น เเละจะมีการรุกธุรกิจเพย์เมนต์ในอินเดีย ซึ่งตอนนี้มีคู่เเข่งอย่าง Paytm และ Google Pay

ทั้งนี้ คาดว่าหากการลงทุนของ Facebook ครั้งนี้เสร็จสิ้นตามกระบวนการ จะทำให้ Jio กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงเกือบ 6.6 หมื่นล้านเหรียญ

“Reliance ขอต้อนรับ Facebook ที่จะเข้ามาเป็นพันธมิตรในระยะยาว เพื่อสร้างการเติบโตและทรานส์ฟอร์มระบบนิเวศด้านดิจิทัลในอินเดียไปด้วยกัน” Ambani ระบุในแถลงการณ์

ด้าน Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook กล่าวถึงการลงทุนในครั้งนี้ว่า อินเดียกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล ซึ่ง Reliance Jio ที่ส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ เพราะสามารถดึงผู้ประกอบการรายย่อยเเละชาวอินเดียหลายร้อยล้านคนขึ้นมาสู่โลกออนไลน์ได้

“อินเดียมีธุรกิจขนาดเล็กมากกว่า 60 ล้านราย หลายคนต้องการเครื่องมือดิจิทัลเพื่อค้นหา สื่อสารกับลูกค้า และขยายธุรกิจของพวกเขา”

ทั้งนี้ อินเดียเป็นประเทศที่มีผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุดในโลก โดยมีผู้ใช้ล่าสุดอยู่อยู่ที่ 260 ล้านบัญชี

อินเดียเป็น “ตลาดอินเทอร์เน็ต” ที่เนื้อหอมที่สุดในตอนนี้ก็ว่าได้ เพราะเป็นประเทศตลาดโทรศัพท์มือถือใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งยังมีผู้ใช้หลายร้อยล้านคนที่มีความต้องการในการซื้อของออนไลน์ สตรีมเพลง และดูวิดีโอออนไลน์

ขณะเดียวกันยังมีโอกาส “เติบโตได้อีก” อย่างเหลือเฟือ เนื่องจากประชากรอีกกว่า 600 ล้านคนที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต จากประชากรทั้งหมดในประเทศที่มีอยู่ราว 1.3 พันล้านคน

ด้วยปัจจัยต่างๆ นี้ ได้ดึงดูดบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั้ง Alibaba, Amazon, Google, Tencent, SoftBank และอีกมากมาย เข้ามาทุ่มเงินลงทุนมหาศาลในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตของอินเดีย

ที่มา : CNN , timesofindia

 

]]>
1274922
เปิด 25 รหัสผ่านยอดเเย่เเห่งปี 2019 ใครกำลังใช้อยู่…ต้องระวัง ! https://positioningmag.com/1259042 Tue, 31 Dec 2019 16:46:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259042 Photo : Pixabay

ใครใช้อยู่ รีบเปลี่ยนด่วน SplashData เผย 25 รหัสผ่านยอดเเย่เเห่งปี 2019 โดยประเมินจากรหัสผ่าน (Password) ที่หลุดรั่วไหลมากกว่า 5 ล้านรหัสบนโลกอินเทอร์เน็ต

ไม่น่าเเปลกใจที่รหัส “123456” จะยังคงครองแชมป์เป็น Password ยอดแย่ที่สุด 7 ปีซ้อนตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ด้วยความที่ในปัจจุบันเรามีหลายบัญชี เป็นสมาชิกหลายเว็บ หลายโซเชียล บางครั้งก็เเค่จะตั้งให้จำได้ง่าย เเต่ Password ที่ทำให้เราจำได้ง่ายนั้น ก็ทำให้คนอื่นก็สามารถเดาได้เช่นกัน อาจเป็นอันตรายหากถูกนำไปใช้โดยบุคคลผู้ไม่ประสงค์ดีเเละอยากจะขโมยข้อมูลออนไลน์

และนี่คือ 25 อันดับ Password ยอดแย่ประจำปี 2019

  1. 123456
  2. 123456789
  3. qwerty
  4. password
  5. 1234567
  6. 12345678
  7. 12345
  8. iloveyou
  9. 111111
  10. 123123
  11. abc123
  12. qwerty123
  13. 1q2w3e4r
  14. admin
  15. qwertyuiop
  16. 654321
  17. 555555
  18. lovely
  19. 7777777
  20. welcome
  21. 888888
  22. princess
  23. dragon
  24. password1
  25. 123qwe

ในปีนี้ รหัสยอดฮิตอย่าง “password” ตกอันดับลงมาอยู่ที่ 4 หลังอยู่อันดับ 1 เเละ 2 มาหลายปี เเต่รหัสผ่านยอดแย่อย่าง “123456” ยังครองเเชมป์เหนียวเเน่น นับตั้งแต่ปี 2013

ขณะที่ Password ยอดเเย่น้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาติดอันดับ ได้เเก่ “1q2w3e4r” (อันดับ 13) เเม้จะดูอ่านยาก เเต่ทว่าเป็นเเค่การกดแป้นพิมพ์แบบเรียงลำดับ แต่ทำเป็นขั้นบันไดนั่นเอง ตามมาด้วย “qwertyuiop” (อันดับ 15) เป็นเเค่การกดแป้นพิมพ์แบบเรียงลำดับ เเต่มีการเพิ่มความยาวของรหัสผ่านให้ยาวขึ้น

SplashData ระบุว่า จากจำนวนรหัสผ่านที่หลุดออกมากว่า 5 ล้านรหัสนี้ มีถึง 10% ที่ใช้รหัสผ่านใน 25 อันดับนี้ และเป็นรหัส “123456” เกือบ 3%

สำหรับคำเเนะนำในการตั้ง Password จาก SplashData มี 3 ข้อ ดังนี้

  • ควรใช้รหัสที่มีความยาวอักษร 12 ตัวขึ้นไป ผสมกันทั้งอักษรพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ และตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น @ หรือ %
  • ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันในทุกเเพลตฟอร์มหรือบริการต่างๆ ควรเเยกใช้ให้เเตกต่างกัน เพราะหากรหัสหลุดไปเเค่ที่เดียว อาจจะทำให้คนอื่นสามารถเข้าหลายบัญชีของเราได้
  • ใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน เพื่อช่วยตั้งรหัสผ่านแบบสุ่ม และล็อกอินเข้าอัตโมมัติ

ย้อนมาดู 25 รหัสผ่านยอดเเย่ ตั้งเเต่ปี 2011-2018 มีอะไรกันบ้าง ? 

 

Source 

]]>
1259042
ย้อนรอย 25 ปี จีนพัฒนาแซงหน้าทุกชาติ สู่มหาอำนาจอินเทอร์เน็ตโลก https://positioningmag.com/1250727 Wed, 23 Oct 2019 19:50:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250727 ด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็ว 25 ปีจีนกลายเป็นยักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว ความสำเร็จในการพัฒนาที่สำคัญของประเทศ ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของจีน ได้แก่ การขยายจำนวนชาวเน็ตจีน พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกในปี 2551 โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรวม 245 ล้านคนภายในเดือนมิถุนายนของปีนั้น

ในตอนท้ายของปี 2018 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทะลุ 829 ล้านคนโดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใหม่ในปีนั้นสูงถึง 56.53 ล้านคน และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยมือถือถึง 817 ล้านคน เพิ่มเป็น 854 ล้านคน ในเดือนมิถุนายน 2019

จำนวนโดเมนระดับบนสุดที่ใช้รหัสภาษาจีน “.cn” มีถึง 21.24 ล้านโดเมนในปี 2018 นอกจากนี้ประมาณ 1.72 ล้านชื่อโดเมนใช้ตัวอักษรจีน “. 中国” หมายถึง ประเทศจีน

ภายในสิ้นปี 2018 อัตราความพร้อมใช้งานอินเทอร์เน็ตของจีนอยู่ที่ 50.6% และสัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยโทรศัพท์มือถือสูงถึง 98.6% ซึ่งสูงกว่าระดับโลก ขณะที่ในเดือนมิถุนายน 2019 อัตราความพร้อมใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศ สูงถึง 61.2%

ในปี 2018 เศรษฐกิจดิจิทัลของจีนมีมูลค่า 31.3 ล้านล้านหยวนหรือคิดเป็นร้อยละ 34.8 ของจีดีพีของประเทศ

มูลค่าการซื้อขายอีคอมเมิร์ซของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 31.63 ล้านล้านหยวนในปี 2018 จากปี 2008 ที่ 3.14 ล้านล้านหยวน และยอดค้าปลีกออนไลน์เพิ่มขึ้นจาก 0.13 ล้านล้านหยวนเป็น 9 ล้านล้านหยวนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

การแพร่กระจายของอินเทอร์เน็ตส่งเสริมอีคอมเมิร์ซของประเทศให้สูงขึ้นและยังอำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อนใหม่ๆ สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ

บริษัท อินเทอร์เน็ตจีนจำนวนหนึ่งแจ้งเกิด และมีบทบาทในช่วง 25 ปีที่ผ่านมารวมถึง Sina, Netease, Sohu, Alibaba, Tencent, Baidu, Jinri Toutiao, Meituan และ Didi Chuxing

โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลของจีนได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ 2G ถึง 5G สร้างเครือข่ายใยคงที่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเครือข่าย 4G ปรับใช้ Internet Protocol รุ่น 6 และสร้างเครือข่ายการรวมเข้ากับอวกาศ

การพัฒนาเทคโนโลยีไม่เพียงขั้นพื้นฐานในการแข่งขันที่จะทันกับโลกตะวันตกแล้ว ยังรวมถึงวงจรรวมและระบบปฏิบัติการ ในเวลาเดียวกันการวิจัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยกำลังเร่งรวมถึงปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า และ ไอโอที นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาครั้งสำคัญในการสื่อสารควอนตัมและการคำนวณประสิทธิภาพสูง

ทั้งนี้ อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของคนจีนโดยสนองความต้องการที่แตกต่างหลากหลาย การเดินทางโดยไม่มีเงินสด การแชร์และการถ่ายวิดีโอสั้นๆ เพื่อแบ่งปันกับเพื่อนๆ ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่.

Source

]]>
1250727
เจาะพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล ในวันที่ขาด “อินเทอร์เน็ต” ไม่ได้ https://positioningmag.com/1223369 Wed, 03 Apr 2019 11:57:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1223369 ในยุคที่ผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวงกว้างและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่ “แบรนด์” ต่างๆ ต้องทำความเข้าใจถึงสกิลที่มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น ในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกลายเป็น The New Normal ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของผู้บริโภค

นับจากปี 2015 “กรุ๊ปเอ็ม” เริ่มทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เรียกว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต “หน้าใหม่” (The New Internet Users) ทั่วประเทศ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ ซึ่งขณะนั้นยังมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกลุ่มเมืองที่ใช้งานมานาน แต่หลังจากปี 2017 ถึงปัจจุบันที่ประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ต้องเรียกว่าวันนี้พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละกลุ่มมีความเชี่ยวชาญและแอดวานซ์ขึ้นทุกปี   

สกิลใช้เน็ตเชี่ยวชาญ

ผลวิจัยภาพรวมพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัลประจำปี 2019 ในงาน GroupM Focal 2019 ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ ที่วันนี้อยู่ในทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่มีทักษะการใช้งานที่เชี่ยวชาญมากขึ้นในทุกด้าน  

ณัฐวีร์ ณีว มาวิจักขณ์ ผู้บริหารแผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศปี 2019 ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่และผู้ใช้เดิมในทุกอาชีพ ทุกวัย มีทักษะใกล้เคียงกันและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกกลุ่มย้ำว่าวันนี้ “อินเทอร์เน็ต” เป็นสิ่งที่พวกเขา “ขาดไม่ได้” และ “เป็นสิ่งที่ต้องใช้”

วันนี้พูดได้ว่าอินเทอร์เน็ต เป็นทุกอย่างของการใช้ชีวิต ทั้งการเสพสื่อและคอนเทนต์ ช่องทางการใช้เงินและหาเงิน

การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2019 ทั่วประเทศ พบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตและดิจิทัล แพลตฟอร์มที่เรียกได้ว่า “เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต” อีกทั้ง “ดิจิทัล แพลตฟอร์ม” ได้กลายเป็นช่องทางปกติของการติดต่อสื่อสาร

ตัวอย่าง อาจารย์ในโรงเรียนใช้ไลน์และเฟซบุ๊กติดต่อกับกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 1,200 คน ข้าราชการ ส่งเอกสารหรือจดหมายราชการผ่านไลน์และอีเมลเป็นเรื่องปกติ หรือการใช้โซเชียลมีเดีย “เฟซบุ๊ก” เป็นช่องทางสื่อสาร รับสมัครงาน ขายสินค้า ซึ่งมีทักษะการใช้งานที่พัฒนาขึ้นทุกปี

ทรานส์ฟอร์มวิถีการใช้ชีวิต

หากย้อนรูปแบบการใช้ชีวิตของคนต่างจังหวัดแต่ละวัย จากยุค 90 พบว่าทุกเจนเนอเรชั่นจะอยู่ในภาคเกษตรกรรม โดยคนรุ่นเก่าจะอยู่ในภาคหัตถกรรม งานฝีมือ ส่วนคนรุ่นใหม่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม

ก้าวมาสู่ปี 2017 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในต่างจังหวัดทุกเจนเนอเรชั่นยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรม โดยคนรุ่นเก่าเลือกเข้าสู่ภาคบริการในธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ส่วนคนรุ่นใหม่ มุ่งสู่เส้นทางการเป็นเจ้าของธุรกิจ “อี-เอสเอ็มอี” การค้าขายออนไลน์

มาในปี 2019 การเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตของคนในต่างจังหวัดของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกเจนเนอเรชั่น ก็ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรม โดยคนรุ่นเก่ากลับมาสู่ภาคหัตถกรรมอีกครั้ง ขณะที่คนรุ่นใหม่มีวิถีการใช้ชีวิตทั้งการอยู่ในภาคหัตถกรรมและการเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กใช้สื่อออนไลน์ทำธุรกิจและใช้ชีวิตอยู่อาศัยในชุมชน (Community) เพื่อพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง 

ส่องพฤติกรรมเสพสื่อ-คอนเทนต์ยุคดิจิทัล

สำหรับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนทั่วประเทศ ผู้บริโภคบอกว่าช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น วัตถุประสงค์หลักการใช้งาน คือ การเสพความบันเทิง การหาความรู้ และติดต่อกับคนอื่นๆ และเป็นช่องทางการหารายได้

ด้านพฤติกรรมการเสพสื่อ (Media Now) ปี 2019 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ ผ่าน 5 ช่องทางหลัก ทั้งสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ ประกอบด้วย 

POS (สื่อ ณ จุดขาย) ยังเป็นสื่อที่ช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามา คือ การให้ข้อเสนอคูปองส่วนลด ทั้งคูปองปกติและอี-คูปอง

วิทยุ รูปแบบใหม่การฟังวิทยุ ผ่านยูทูบ และ JOOX สิ่งที่น่าสนใจ คือ คนเริ่มหันมาฟังวิทยุผ่านยูทูบมากขึ้นเรื่อยๆ และพูดถึง JOOX น้อยลง

ทีวี ปัจจุบันคนยังดูทีวีบ้างกลุ่มและบางกลุ่มหันไปดูทีวีผ่านยูทูบ ไลน์ทีวี แอป Mello ของช่อง 3 ที่ผู้ชมบอกว่าสามารถดูทีวีย้อนหลังได้เร็วกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ

สื่อสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันต้องยอมรับว่าคนอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ลดลง การสำรวจปีก่อนคนยังอ่านหนังสือพิมพ์เพื่อตรวจลอตเตอรี่ แต่วันนี้หันไปตรวจผ่านช่องทางออนไลน์ พฤติกรรมการเสพคอนเทนต์สื่อสิ่งพิมพ์วันนี้ได้เปลี่ยนไปอยู่บนช่องทาง เฟซบุ๊ก ฟีด ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊กไลฟ์

สื่อนอกบ้าน ปรับเปลี่ยนเป็นป้ายโฆษณาดิจิทัล หรือป้ายจอแอลอีดี กิจกรรมโรดโชว์ รถแห่ ยังเป็นสื่อที่เรียกความสนใจจากผู้บริโภคได้

โปรแกรมผ่านสื่อ (Media Programme Now) ที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในปัจจุบัน

ซิทคอม เรื่อง “เป็นต่อ” ถือเป็นซิทคอมที่อมตะไปแล้ว แม้จะเปลี่ยนช่องและเวลาไปมาก็ตาม แต่เวอร์ชั่นที่เป็นออริจินัลยังได้รับความสนใจจากผู้ชมสูงสุด เรื่องต่อมาคือ เสือ ชะนี เก้ง โดยผู้ชมนิยมดูผ่านยูทูบและไลน์ทีวี 

ละคร เรื่องที่ได้รับความนิยมในช่วงที่ผ่านมา คือ เมียน้อย ทางช่องจีเอ็มเอ็ม 25 และ ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง โดยนิยมดูผ่านยูทูบและแอป Mello เพราะหากเป็นละครชองช่อง 3 จะดูได้เร็วกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ

ดารา ที่ได้รับความนิยมตลอดกาล คือ อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ ตามด้วย เบลล่า ราณี แคมเปน และ เวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศ ความน่าสนใจ คือ คนในจังหวัดนั้นๆ มักจะสนับสนุนดาราที่อยู่ในจังหวัดของตัวเอง อีกทั้งยังชื่นชอบคนที่เป็นแฟนด้วย เช่น คนชอบ ณเดชน์ คูกิมิยะ ก็จะชอบ ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ โดยนิยมติดตามผ่านอินสตาแกรมและเฟซบุ๊ก

รายการข่าว นิยมดู ข่าวเช้าช่อง 8 เพราะเป็นการนำเสนอข่าวที่ไม่หนัก ไม่ซีเรียล เป็นการเล่าไปเรื่อยๆ ตามด้วย ไทยรัฐ ที่นิยมดูผ่านเฟซบุ๊กเพจ

รายการกีฬา คนไทยนิยมสนับสนุนนักกีฬาไทยไม่เปลี่ยนแปลง โดยนิยมกีฬาวอลเลย์บอลและแบดมินตัน ตามด้วยการดูกีฬาในต่างประเทศ เช่น ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก

“แอป” ที่ได้รับความนิยม (Top Application 2019 in Thai Consumer)

ข่าว ต้องยกให้ “เฟซบุ๊ก” ซึ่งมีผู้ใช้มากกว่า 50% รองลงมา คือ ยูทูบ อินสตาแกรม และทวิตเตอร์

การสื่อสาร Line และ Facebook messenger ทั้งคู่มีการใช้งานที่มากกว่า 50%

เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ยูทูบและกูเกิล มีการใช้งานมากกว่า 50% ซึ่งไม่น่าแปลกใจมากนัก เพราะอยากรู้อะไรถามทั้ง 2 แพลตฟอร์ม ตามด้วย ไลน์ทีวี Joox แอป Mello และ Netflix

การเงิน กรุงไทยและกสิกรไทย ครอง 2 อันดับแรกที่มีผู้ใช้มากกว่า 50% พบว่าการใช้แอปกรุงไทยจำนวนมากมาจากการรับเงินเดือนของข้าราชการ จากนั้นจะโอนเงินไปยังแอปกสิกรไทยเพื่อใช้งาน ที่เหลือเป็นแอป SCB กรุงศรี และ TMB

ช้อปปิ้ง ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์และเฟซบุ๊กเพจ เป็น 2 แอปที่ใช้มากที่สุด มากกว่าแพลตฟอร์ม “อี-มาร์เก็ตเพลส” อย่าง Lazada และ Shopee เสียอีก

ค้นหาข้อมูล กูเกิลและเฟซบุ๊ก

ท่องเที่ยว Traveloka และ Booking.com สามารถเข้าถึงการจองทุกบริการด้านการท่องเที่ยว เป็นการเปลี่ยนแปลงจากการใช้แอปของสายการบินโดยตรง แต่ด้วยพื้นที่ของสมาร์ทโฟนที่มีจำกัด จึงเลือกใช้แอป รวมทุกบริการท่องเที่ยวแทน

ต้องบอกว่าพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของผู้บริโภควันนี้ ใช้งานด้วยสกิลที่เก่งขึ้นในทุกด้าน และอยู่ในทุกไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค นั่นเท่ากับ “โอกาส” ที่มีอยู่ทุกที่ ทุกช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าของสินค้าและแบรนด์ต่างๆ ในยุคนี้.

]]>
1223369