กรุงไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 20 Aug 2024 10:10:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดมุมมอง ‘ผยง ศรีวณิช’ CEO ‘กรุงไทย’ ถึงการทำ ‘Virtual Bank’ จะเป็นตัวช่วยสำคัญ ‘ต่อลมหายใจ SME’ https://positioningmag.com/1486911 Tue, 20 Aug 2024 07:00:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486911 ประเทศไทยมีจำนวน SMEs ประมาณ 2 ล้านราย หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 99.5% ของผู้ประกอบการของไทย และ SMEs ก็รองรับการจ้างงานประมาณ 70% ของภาคการผลิตไทย แต่อย่างที่รู้กันว่าปัจจุบัน SMEs ไทยกำลังเผชิญกับความท้าทาย ดังนั้น การที่ SMEs จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในระบบ อาจเป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยให้ SMEs ลืมตาอ้าปากได้ แต่คำถามคือ จะทำอย่างไร

เศรษฐกิจนอกระบบไทยสูงถึง 50% ของ GDP

ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้เล่าถึง ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการเงินของไทย ภายในงาน CEO Vision : Business Strategy 2024 ว่า ไทยเป็นประเทศที่ เศรษฐกิจนอกระบบ สูงถึง 50% ต่อ GDP ซึ่งถือเป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคอาเซียนเลยทีเดียว โดยถ้าเทียบกับ เวียดนาม นั้นอยู่เพียง 14.4% เท่านั้น ส่วนเพื่อนบ้านที่มีตัวเลขสูง ๆ อาทิ ฟิลิปปินส์ ก็อยู่ที่ 39.8% หรือ มาเลเซีย ที่ 30.5%

เมื่อดูตัวเลขของ SMEs ที่ จดทะเบียนธุรกิจ มีเพียง 26% ขณะที่ ผู้ประกอบการที่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารมีเพียง 17% ด้านประชากรไทยที่ไม่สามารถเข้าถึงธุรกรรมการเงินได้ก็มีตัวเลขถึง 27% นอกจากนี้ จำนวนประชากรไทยหายออกไปจากระบบแรงงานหรือไม่มีข้อมูลในระบบธนาคารพาณิชย์ยังสูงถึง 51% ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ เงินกู้นอกระบบ จึงเป็นทางเลือกเดียวที่ประชาชนหรือผู้ประกอบการต้องไปหยิบยืมเพื่อนำไปดำเนินธุรกิจต่อ

 

ปรับรูปแบบปล่อยกู้แล้ว แต่ยังไม่พอ

ที่ผ่านมา กรุงไทยยังได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปล่อยสินเชื่อ จากที่ให้แต่ละสาขาสามารถอนุมัติเองได้มาเป็นการ อนุมัติผ่านศูนย์กลาง เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งคนทั่วไปและ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น แต่จากตัวเลขเศรษฐกิจนอกระบบก็แสดงให้เห็นว่า ยังไม่เพียงพอ ดังนั้น การมาของ Virtual Bank จะเข้ามาลดช่องว่างได้

ปัจจุบัน ธนาคารกรุงไทย มีลูกค้า 40 ล้านคน และมีลูกค้าที่ไม่อยู่ในช่องทางดิจิทัลเพียง 7 ล้านคน แต่ต้องยอมรับว่าไม่ใช่คนทุกกลุ่มที่จะใช้บริการดิจิทัลได้ โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ ดังนั้น ธนาคารกรุงไทยจึงเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่มี จำนวนสาขามากที่สุดในไทย เพื่อให้บริการลูกค้า

“เรามีสาขาและจุดบริการมากที่สุด 966 จุดทั่วประเทศ โดยเราพยายามทำให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล โดยเรามีการวัดระยะรัศมีจากสาขาหรือตู้เอทีเอ็มให้ครอบคลุมประชากรในระยะ 5-10 กิโลเมตร เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะบางคนมีมือถือ แต่ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ นี่จึงเป็นข้อจำกัด”

Virtual Bank ไม่ใช่ใครก็ทำได้

ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติให้มีการเปิดให้บริการ Virtual Bank โดยหนึ่งในปัจจัยหลัก ๆ คือ ต้องการแก้ปัญหาการเข้าสินเชื่อให้กลุ่มคนที่อยู่นอกระบบ อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อจำกัดเพื่อให้เป็น Virtual Bank แตกต่างจากแบงก์ก็คือ ห้ามมีสาขา ยกเว้นมีผ่านพันธมิตร เพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด อีกทั้งต้องมี Economy of Scale และสุดท้ายต้อง เข้าถึงลูกค้านอกระบบ ได้จริง ดังนั้น พันธมิตรต้องมีมิติที่มาเติมเต็มในสิ่งที่กรุงไทยไม่มี โดยเฉพาะศักยภาพการเข้าถึงช่องว่างของระบบเศรษฐกิจได้ ดังนั้น พันธมิตรต้องมีส่วนช่วยในการวิเคราะห์สินเชื่อ และเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนถึงฐานรากจริง ๆ

“ปัจจุบัน เรามีการใช้เอไอช่วยวิเคราะห์สินเชื่อ แต่ต่อให้ใช้เอไอยังไงก็หนีมิติ Humanization กับ Special Data ที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของคนที่ปล่อยกู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น พันธมิตรที่เข้ามาทำ Virtual Bank ต้องเติมเต็มตรงนี้ เพราะธนาคารไม่มีข้อมูลของเศรษฐกิจนอกระบบ ดังนั้น การที่ได้ข้อมูลจากพันธมิตร จะช่วยให้ธนาคารมีความเข้าใจพฤติกรรมได้ดีขึ้น

เพื่อตอบโจทย์ข้อกำหนดดังกล่าว กรุงไทยจึงได้ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานรายใหญ่ของไทย และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทย มาเป็น พันธมิตร ในการทำ Virtual Bank

เพราะกัลฟ์และเอไอเอสมี ฐานลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยให้ Virtual Bank สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากจำนวน สาขา ที่มีด้วย และเมื่อนำดาต้ามารวมกันจะยิ่งช่วยให้มีความเข้าใจตัวลูกค้า ซึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านราย แต่กรุงไทยมีลูกค้า 40 ล้านราย ส่วนเอไอเอสมีลูกค้า 40 ล้านราย ซึ่งมีจุดที่ทับซ้อนกันสูง ดังนั้น ก็จะสามารถนำดาต้าลูกค้ามาแมตช์กันเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อให้บริการได้อย่างแม่นยำและตรงจุด นอกจากนี้ ยังใช้ประโยชน์จากสาขาของเอไอเอสในการเข้าถึงลูกค้าได้ด้วย

Virtual Bank ก็เสี่ยงเจ๊ง

สุดท้าย ผยง ย้ำว่า Virtual Bank จะเข้ามาลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการเงิน แต่ไม่อยากให้มองว่าเป็น การผูกขาดของทุนใหญ่ เพราะการทำ Virtual Bank ก็มีความเสี่ยงที่จะ เจ๊ง

“ทุกคนเข้ามาโดยเชื่อว่าจะได้กำไร แต่ไม่ได้แปลว่าจะรอด อย่าง Virtual Bank ในสิงคโปร์ก็ยังร่อแร่ ดังนั้นคำว่า ผูกขาดปัญหาใหม่ แต่อยากให้ชั่งน้ำหนักปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาหนี้นอกระบบ ปัญหาหนี้ครัวเรือน”

]]>
1486911
ธ.กรุงไทย เปิดประมูลทรัพย์เด่น ทำเลดี น่าลงทุน 18 รายการ เม.ย.-พ.ค.นี้ https://positioningmag.com/1469147 Sat, 06 Apr 2024 03:45:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469147

เตรียมตัวให้พร้อม! สำหรับใครที่อยากได้ทรัพย์เด่น ทำเลดี โอกาสมาถึงแล้ว เพราะธนาคารกรุงไทยได้ประกาศประมูลแข่งขันราคาเสนอซื้อทรัพย์สินพร้อมขายของธนาคาร แบบวิธียื่นซองเสนอราคา (Sealed Bid) ในภาคกลางและภาคอีสาน จำนวนถึง 18 รายการ ในรอบประมูลทั้งหมด 7 รอบ ในเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้

 

โดยรอบประมูลที่ 1 เป็นทรัพย์ลงทุน จังหวัดปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ที่ดินเปล่า 1 แปลง ตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เนื้อที่รวม 60-1-23 ไร่ , ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 4 แปลง ตำบลคานหาม อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อที่รวม 19-3-95 ไร่ และ โรงสี 5 แปลง (ขายพร้อมเครื่องจักร 3 เครื่อง) ตำบลเทพมงคล อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อที่รวม 60-2-92 ไร่ ในวันที่ 23 เม.ย.2567

รอบประมูลที่ 2 เป็นทรัพย์ลงทุน จังหวัดลพบุรีและสระบุรี จำนวน 2 รายการ ได้แก่ โรงสี 7 แปลง ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เนื้อที่รวม 54-3-75.64 ไร่ และ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 11 แปลง ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี  เนื้อที่รวม 23-3-54 ไร่ ในวันที่ 30 เม.ย.2567

รอบประมูลที่ 3 เป็นทรัพย์ลงทุน จังหวัดเพชรบุรีและนครปฐม จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ศูนย์บริการ/โชว์รูม/ปั๊มน้ำมัน 9 แปลง ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่รวม 2-0-24.5 ไร่ , ที่ดินเปล่า 3 แปลง ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่รวม 156-2-33.5 ไร่ และ ที่ดินเปล่า 1 แปลง ตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เนื้อที่รวม 2-2-73 ไร่ ในวันที่ 7 พ.ค.2567

รอบประมูลที่ 4 เป็นทรัพย์ลงทุน จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 4 รายการ ได้แก่ ที่ดินเปล่า 3 แปลง ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เนื้อที่รวม 47-3-30 ไร่ , โรงสี 11 แปลง ตำบลวังลึก อำเภอสามชุก เนื้อที่รวม 59-2-78 ไร่ , โกดัง 1 แปลง เครื่องจักร 14 เครื่อง ตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เนื้อที่รวม 12-0-89 ไร่ และ โรงสี 2 แปลง เครื่องจักร 1 เครื่อง ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เนื้อที่รวม 9-3-25 ไร่ ในวันที่ 9 พ.ค.2567

รอบประมูลที่ 5 เป็นทรัพย์ลงทุน จังหวัดยโสธร จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ที่ดินเปล่า 3 แปลง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร เนื้อที่รวม 3-1-32.4 ไร่ ในวันที่ 14 พ.ค.2567

รอบประมูลที่ 6 ทรัพย์ลงทุน จังหวัดขอนแก่นและบุรีรัมย์ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 2 แปลง ตำบลหนองไผ่ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่รวม 23-1-70 ไร่ , ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 2 แปลง ตำบลโนนแดง กิ่งอำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่รวม 9-2-46.3 ไร่ และ ที่ดินเปล่า 2 แปลง ตำบลหนองคู อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่รวม 35-3-61 ไร่ ในวันที่ 15 พ.ค.2567

และรอบประมูลที่ 7 เป็นทรัพย์ลงทุน จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ศูนย์บริการ/โชว์รูม/ปั้มน้ำมัน ตำบลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ เนื้อที่รวม 4-0-84 ไร่ ในวันที่ 17 พ.ค.2567

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจข้อมูลและรายละเอียดทรัพย์เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายบริหารทรัพย์สินพร้อมขาย 2 ชั้น15 บมจ.ธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 (อาคารสุขุมวิท) เลขที่ 10 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2208-7528, 095-372-1902 (คุณพิชญ์สินี), 0-2208-8684, 095-372-1907 (คุณปริวรรตน์) บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา หรือหมายเลขโทรศัพท์ 02-111-1111 / KTB NPA Application / https://npa.krungthai.com

หมายเหตุ : เงื่อนไขอื่นเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนดธนาคารสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า และโปรดศึกษาหลักเกณฑ์เงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจ โปรดศึกษาเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และวิธีการแข่งขันราคาเสนอซื้อทรัพย์สินพร้อมขายของธนาคาร แบบวิธียื่นซองเสนอราคา (Sealed Bid) ก่อนเข้าร่วมแข่งขันราคา ที่ Website https://npa.krungthai.com

]]>
1469147
กรุงไทยรักเกาะปู วิถีชุมชนรักษ์ยั่งยืน https://positioningmag.com/1468887 Fri, 05 Apr 2024 03:35:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468887

จากท่าเรือแหลมกรวด จังหวัดกระบี่ “เรือหัวโทง” อัตลักษณ์แห่งท้องทะเลอันดามัน แล่นลอยลำกลางท้องทะเล 30 นาที ก่อนเทียบท่าบนผืนแผ่นดินที่ยังคงความบริสุทธิ์สวยงามของธรรมชาติ และวิถีชีวิตชาวเลดั้งเดิม ท่ามกลางเชื้อชาติและวัฒนธรรมหลากหลาย อบอุ่นด้วยความโอบอ้อมอารีของผู้คน

“เกาะปู” ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ชุมชนเกาะปูมีอายุยาวนานกว่า 200 ปี แบ่งเป็น 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านเกาะปู หมู่บ้านเกาะจำ และหมู่บ้านติงไหร ชาวบ้านส่วนใหญ่ เป็นชาวไทยมุสลิมและไทยพุทธ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ทำสวนยางพารา ทำผ้าบาติก พื้นที่โดยรอบเกาะมีทัศนียภาพสวยงาม อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่หลากหลาย อาทิ ป่าชายเลน ต้นมะพร้าว หญ้าทะเล หอยชักตีน ปลิงทะเล เกาะปูจึงเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบบรรยากาศเงียบสงบ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาพักผ่อนที่เกาะปูเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้วยศักยภาพที่โดดเด่นของชุมชนเกาะปู ธนาคารกรุงไทย จึงนำโมเดลต้นแบบจากการดำเนินโครงการ UNDP กรุงไทยรักเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการ “กรุงไทยรักชุมชนเกาะปู” เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและเติบโตอย่างเข้มแข็งในทุกมิติ พร้อมรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างสมดุล โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีที่เชี่ยวชาญ

มิติสังคม (Social) ธนาคารนำจุดแข็งทางด้านการเงิน มาถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความรู้ทางการเงิน ปลูกฝังวินัยการออม (Financial Literacy) ให้นักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะปู พร้อมต่อยอดไปสู่การจัดกิจกรรมให้กลุ่มชาวบ้าน เรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการหนี้สิน การเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน และนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

จากการติดตามประเมินผลพบว่า ชาวบ้านที่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายมีความภูมิใจที่ออมเงินได้มากขึ้น และนำไปต่อยอดการลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้ โดยธนาคารสนับสนุนการเลี้ยงปลิงทะเลจำนวน 4,000 ตัว ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ พร้อมให้ความรู้การบริหารจัดการบัญชี ร่วมวางแนวทางการบริหารจัดการกองทุน และถ่ายทอดองค์ความรู้ใน มิติธรรมาภิบาล (Governance) ให้กลุ่มผู้เลี้ยงปลิงทะเลดำเนินงานด้วยความสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมถึงต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้านในการพัฒนารูปแบบคอกเลี้ยงปลิง โดยปรับใช้ตาข่ายที่มีความถี่มากขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันการหลุดรอด ใช้ระยะเวลาเลี้ยง 1 ปี ปลิงทะเลจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 1 กิโลกรัม

ชาวบ้านนิยมนำมาตากแห้ง เนื่องจากมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 5,000 บาท ส่วนราคาขายสดตัวละ 100 -200 บาท แต่หากนำมาประกอบอาหารเป็นเมนูต่างๆ จะเพิ่มมูลค่าและสร้างอัตลักษณ์ทางอาหารพื้นถิ่น

ซึ่งธนาคารได้ร่วมกับ ณรงค์ฤทธิ์ แซ่ซอ หรือเชฟอิน อินฟลูเอนเซอร์ด้านอาหารพัฒนาสูตรและรังสรรค์เมนู อาทิ เมนูชักจะรัก กระทงทองสองเกลอ ลัดเลาะเกาะปู มรกตอันดามัน ต้มส้มหมึกเกลียวเหลียวหลัง โดยใช้ปลิงทะเลและหอยชักตีนเป็นวัตถุดิบชูโรง พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เชฟชุมชน ช่วยยกระดับและส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร

นอกจากนี้ ในเชิงศิลปหัตถกรรม ธนาคารวางแผนต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำผ้าบาติกย้อมสีธรรมชาติจากพืชท้องถิ่นที่ติดเนื้อผ้าได้คงทน ทดแทนสีย้อมเคมี เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้เสริม ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

มิติสิ่งแวดล้อม จิตอาสาของธนาคารกรุงไทย (VVE Vayu Volunteer) ร่วมปลูกหญ้าทะเลจำนวน 15,000 ต้น ให้เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะหอยชักตีน ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับชาวประมงในพื้นที่ รวมถึงเป็นแหล่งฟักไข่ตัวอ่อน ของปลิงทะเล พร้อมร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินการพัฒนา “เกาะปูโมเดล” โดยในปี 2566 ได้จัดเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ และสำรวจพื้นที่บริเวณทิศตะวันตกของเกาะ มีภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมในการวางปะการังเทียมโดมทะเล (Sea dome) หรือซั้งปลา และได้ถ่ายทอดให้ชาวบ้านลงมือทำโดมทะเล เพื่อนำองค์ความรู้มาต่อยอดการดูแลบำรุงรักษาในระยะยาว และขยายผลเป็นอาชีพสร้างรายได้สู่ชุมชน

โดยนวัตกรรมโดมทะเลทำจากปูนซีเมนต์สูง ประมาณ 1.2 เมตร รูปทรงโดมฐานเปิด ลักษณะเป็นรูพรุน เพื่อเป็นที่ยึดเกาะของแนวปะการัง มีพื้นที่หลบภัยกว้างขวาง เหมาะเป็นแหล่งอนุบาลเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นตู้เสบียงชุมชนที่มีต้นทุนต่ำแต่เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้ ยังป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้ดี โดยจิตอาสาของธนาคารกรุงไทย (VVE Vayu Volunteer) ร่วมกับผู้แทนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครูและนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะปู ผู้แทนจากอำเภอเหนือคลอง และชาวบ้านเกาะปู ร่วมกันนำปะการังเทียมโดมทะเลจำนวน 60 โดม วางกระจายครอบคลุมพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อให้ชาวบ้านทราบแนวเขตการทำประมงชายฝั่งบริเวณโดยรอบซั้งปลา ป้องกันปัญหาการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทำลายระบบนิเวศ

ส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องออกเรือไปไกลจากชายฝั่ง ลดต้นทุนจากการใช้น้ำมัน ลดมลภาวะ และมีส่วนร่วมในการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

“เกาะปูเริ่มเป็นจุดหมายปลายทางแห่งใหม่ของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบธรรมชาติแบบดั้งเดิม หลังจากที่ธนาคารกรุงไทยได้เข้ามาช่วยดูแล ชาวบ้านในชุมชนเกาะปูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลายด้าน บางครัวเรือนที่ไม่เคยมีเงินเก็บ ได้เรียนรู้การทำบัญชีรับจ่าย ก็รู้จักประหยัดอดออมจนมีเงินเหลือเก็บในบัญชี อาหารพื้นถิ่นที่ชาวบ้านเคยทำขายได้จานละ 50 บาท หลังจากเชฟอินได้พัฒนาเมนู ปรับปรุงรสชาติให้คงที่ สอนตกแต่งจานอาหารให้ดูสวยงาม สามารถเพิ่มมูลค่าให้ขายได้ราคาสูงขึ้น นักท่องเที่ยวติดใจรสชาติจนกลายเป็นเมนูประจำ

หญ้าทะเลที่นำมาปลูกเริ่มเติบโตเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำขนาดเล็กและการเพิ่มขึ้นหอยชักตีน ซึ่งชุมชนมีแผนจะต่อยอดให้เป็นจุดท่องเที่ยวแบบ Go Green และที่สำคัญคือ การวางโดมทะเลหรือซั้งปลา เพราะปลาคือ ทรัพยากรสำคัญของชาวประมงพื้นบ้านที่มีเรือขนาดเล็ก เดิมทีเคยมีการวางปะการังเทียม แต่อยู่ห่างไกลจากเกาะ ส่วนใหญ่เรือพาณิชย์จะได้ประโยชน์ แต่การวางซั้งปลาของธนาคารกรุงไทยมีการสำรวจพื้นที่ๆ เหมาะสม เรือประมงพื้นบ้านสามารถออกไปหาปลาได้ในระยะใกล้ คาดว่า ในระยะยาวจะมีพันธุ์ปลาชุกชุมขึ้น ชาวบ้านสามารถหาปลาได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องออกเรือไปไกล ส่วนในเรื่องของขยะซึ่งเป็นปัญหาสะสมมาหลายสิบปี ธนาคารได้ให้ความรู้เรื่อง การคัดแยกขยะที่มีมูลค่าสามารถนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ ส่วนขยะที่ต้องกำจัดได้หาแนวทางบริหารจัดการอย่างถูกวิธี ไม่ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาภูมิทัศน์ที่สวยงามของเกาะเอาไว้ให้ลูกหลานได้ดูแลต่อไป” นายสำราญ ระเด่น กำนันตำบลเกาะศรีบอยา อ.เหนือคลอง เล่าด้วยความภูมิใจ

“กรุงไทยรักชุมชนเกาะปู” ภาพสะท้อนการทำงานแบบบูรณาการความร่วมมือระหว่างธนาคารกรุงไทยกับภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อส่งเสริมให้โครงสร้างระดับรากแก้วของประเทศมีความเข้มแข็งในทุกมิติ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงบนพื้นฐานของความพอเพียง ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้สมดุล พร้อมส่งมอบคุณค่าและความภาคภูมิใจสู่คนรุ่นต่อไป โดยพัฒนาต่อยอดบ้านเกิดให้คงอยู่อย่างยั่งยืนด้วยความรักชุมชน สามารถยกระดับความเป็นอยู่ให้คนในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างการเติบโตให้กับทุกภาคส่วนของสังคม ตามวิสัยทัศน์ “กรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”

]]>
1468887
โอกาสตลาด ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ ในไทย อีก 7 ปีแตะ 1 ล้านคัน มีเเววต่อยอดเป็นฐานผลิต ‘รถไฮบริด’ https://positioningmag.com/1337621 Thu, 17 Jun 2021 11:40:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337621 เมกะเทรนด์การเปลี่ยนแปลง Krungthai COMPASS ประเมินอุตสาหกรรม ‘ยานยนต์ไฟฟ้าในไทย คาดปี 2028 มียอดผู้ใช้เเตะ 1 ล้านคัน ในจำนวนนี้จะเป็น ‘รถไฮบริด’ ถึง 93% เเนะรัฐออกมาตรการช่วยดัน มีโอกาสต่อยอดเป็นฐานผลิต’ ของภูมิภาค 

ช่วงวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจนเข้าสู่ภาวะถดถอยเเต่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กลับเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยยอดขายสูงถึง 3.2 ล้านคันทั่วโลก หรือเพิ่มขึ้นกว่า 43%

ในไทยก็ได้รับความนิยมไม่น้อย โดยมียอดจดทะเบียนสูงถึง 3 หมื่นคัน ขยายตัวถึง 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สวนทางยอดขายรถยนต์โดยรวมที่ลดลง 21%

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวถึงปัจจัยที่สนับสนุน EV ว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการตื่นตัวของภาครัฐในต่างประเทศเพื่อแก้ไขประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อตกลงปารีส โดยเฉพาะนโยบายยกเลิกการขายยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ควบคู่ไปกับการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม

ประกอบกับความเคลื่อไหวของผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่ปรับตัวหันไปทำตลาดยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นตามความสนใจของผู้บริโภคที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าสะสมทั่วโลกมีโอกาสแตะระดับ 25-45 ล้านคันได้ภายในปี 2030 จาก 10 ล้านคันในปัจจุบัน”  

ตลาดไทยยังเล็ก เเต่มีเเววต่อยอด ‘ฐานผลิตไฮบริด’ 

สำหรับประเทศไทยนั้น มียอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะสมในประเทศ ณ สิ้นปี 2020 อยู่ที่เพียง 1.9 แสนคัน หรือคิดเป็นเพียง 1% ของยานยนต์ทั้งหมด ถือว่ายังมีขนาดเล็กและอยู่ในช่วงเริ่มต้นเมื่อเทียบกับประเทศชั้นนำอื่นๆ

ดร.มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS มองว่าข้อได้เปรียบของไทย คือการเป็นฐานผลิตยานยนต์เครื่องยนต์ ICE แบบดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน ประกอบกับกลยุทธ์การทำตลาดของผู้ผลิตยานยนต์ OEM ในประเทศที่ยังคงเน้นทำตลาดยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดตามบริษัทแม่ในญี่ปุ่น

ยอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะสมในไทยมีโอกาสแตะ 1 ล้านคันได้ในปี 2028 หรือขยายตัวเฉลี่ยราว 24% ต่อปี โดยยอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่คาดว่าจะมีสัดส่วนสูงถึง 93% ของยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

โดยมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค จะเป็นส่วนสำคัญให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย มีโอกาสต่อยอดเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่แข็งแกร่งของภูมิภาคในอนาคตต่อไป

ผู้ประกอบการกลุ่มไหน ได้รับผลประโยชน์-ผลกระทบ ? 

การเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดของไทย นอกจากจะช่วยรักษาตลาดผู้ผลิตในกลุ่มเครื่องยนต์ ICE ในประเทศเเล้ว รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องในระยะปานกลางแล้ว ยังส่งผลดีต่อ ผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ผลิตวัสดุน้ำหนักเบาและแข็งแรงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม พิมฉัตร เอกฉันท์ นักวิเคราะห์ของ Krungthai COMPASS ระบุว่า ในระยะยาว การที่สัดส่วนยานยนต์ปราศจากการปล่อยมลพิษ หรือ Zero Emission Vehicle : ZEV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยตามกระแสเมกะเทรนด์ที่กำลังเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจพลังงานสะอาด (Green Economy) นั้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนในกลุ่ม Powertrain และ Engine ในไทย ซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงถึงเกือบ 3 แสนล้านบาท หรือประมาณ 20% ของรายได้ของผู้ผลิตชิ้นส่วนในตลาดทั้งหมด

โดยสรุปเเล้ว ในระยะสั้นปานกลาง อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยแบบดั้งเดิม จะถูกปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างเพื่อรองรับฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดมากขึ้น ทำให้ดีมานด์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มยานยนต์เครื่องยนต์ ทั้ง ICE แบบเดิม ควบคู่ไปกับระบบไฟฟ้าสมัยใหม่ ยังเป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศ

อย่างไรก็ดี กระแสเมกะเทรนด์ที่ตื่นตัวต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การปรับตัวของผู้ผลิตที่เน้นไปหายานยนต์แบบปราศจากมลพิษ (ZEV) มากขึ้น รวมทั้งการเปิดรับจากผู้บริโภคที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าแบบ ZEV จะทยอยเข้ามามีบทบาทในไทยมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งก็จะทำให้ในระยะยาวที่สัดส่วนยานยนต์ ZEV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ย่อมจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดยเฉพาะในกลุ่ม Powertrain และ Engine มากที่สุด

 

 

 

]]>
1337621
วิธีลงทะเบียน “คนละครึ่งเฟส 3” แบบใหม่ คนได้สิทธิเดิมก็ต้องจองใหม่ เริ่ม 14 มิ.ย. https://positioningmag.com/1336746 Sun, 13 Jun 2021 15:19:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336746 “กรุงไทย” เตรียมความพร้อมระบบทุกด้าน มั่นใจการลงทะเบียนโครงการ “คนละครึ่งเฟส 3” และ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ชูศักยภาพ “ระบบคลาวด์” รองรับผู้ลงทะเบียนพร้อมกันได้จำนวนมาก ส่วนแอปฯ เป๋าตัง สามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากกว่า 30 ล้านคน แนะทยอยลงทะเบียนรับสิทธิ โครงการคนละครึ่งให้สิทธิถึง 31 ล้านสิทธิ

สำหรับขั้นตอนการลงทะเบียน มีดังนี้

1. โครงการ “คนละครึ่ง” ระยะที่ 3 เริ่มเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ในเวลา 06.00 – 22.00 น.ของทุกวัน โดยผู้ที่เคยรับสิทธิโครงการคนละครึ่งระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 จะต้องลงทะเบียนรับสิทธิเช่นเดียวกับผู้ประสงค์รับสิทธิรายใหม่ ระบบ “ไม่มีการจองสิทธิ” ให้กับรายเดิม

1.1 กรณีเคยเข้าร่วมมาตรการ หรือโครงการของรัฐ ที่มีแอปฯ เป๋าตัง

  • สามารถลงทะเบียนผ่านแอปฯ เป๋าตัง หรือเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com โดยผู้ที่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐที่ลงทะเบียนผ่านแอปฯ เป๋าตัง จะ “ลดเวลา” การกรอกข้อมูล เนื่องจากระบบจะดึงข้อมูลเดิมมาให้อัตโนมัติ ผู้ลงทะเบียนเพียงตรวจสอบข้อมูล และกรอกข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน
  • รอ SMS แจ้งผลการลงทะเบียนภายใน 3 วัน

1.2 กรณีไม่เคยเข้าร่วมมาตรการ หรือโครงการของรัฐ

  • สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com
  • รอ SMS แจ้งผลการลงทะเบียนภายใน 3 วัน
  • ดาวน์โหลดแอปฯ เป๋าตัง เพื่อยืนยันตัวตน เพื่อใช้สิทธิผ่าน G-Wallet

ทั้งนี้ โครงการคนละครึ่ง รับสิทธิผ่านแอปฯ เป๋าตัง โดยใช้จ่ายในร้านค้าที่ร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2564 โดยประชาชนสามารถ “ทยอย” ลงทะเบียนรับสิทธิได้ เนื่องจากโครงการคนละครึ่งระยะที่ 3 เปิดให้สิทธิกับประชาชนทั้งหมดถึง 31 ล้านสิทธิ

2. โครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” เริ่มเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ในเวลา 06.00 -22.00 น. ของทุกวัน

2.1 กรณีเคยเข้าร่วมมาตรการ หรือ โครงการของรัฐ ที่มีแอปฯ เป๋าตัง

  • สามารถลงทะเบียนผ่านแอปฯ เป๋าตังหรือเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com
  • รอ SMS แจ้งผลการลงทะเบียนภายใน 3 วันทำการ

2.2 กรณีไม่เคยเข้าร่วมมาตรการหรือ โครงการของรัฐ

  • สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งใด้.com
  • รอ SMS แจ้งผลการลงทะเบียนภายใน 3 วันทำการ
  • ดาวน์โหลดแอปฯ เป๋าตัง เพื่อยืนยันตัวตนใช้สิทธิผ่าน G-Wallet

โครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” เริ่มใช้จ่ายจาก G-Wallet ในร้านค้าที่ร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2564 โดยจ่ายได้ไม่เกิน 5,000 บาท/คน/วัน ยอดใช้จ่าย 40,000 บาทแรก ได้รับ E-Voucher คืน 10% ยอดใช้จ่าย 40,001-60,000 ได้รับ E-Voucher คืน 15% โดยริ่มรับ E-Voucher ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม – 7 ตุลาคม 2564 และสิ้นสุดการใช้จ่ายเพื่อรับ E-Voucher วันที่ 30 กันยายน 2564

โดยผู้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง หรือ ยิ่งใช้ยิ่งได้ จะต้องไม่เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ใช้สิทธิโครงการเราชนะผ่านบัตรประชาชน โดยสามารถเลือกรับสิทธิได้เพียงโครงการเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง และยิ่งใช้ยิ่งได้ ก่อนใช้สิทธิครั้งแรก จะต้องยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชนที่สาขา หรือ ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย ยกเว้นผู้ที่เคยยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชนกับธนาคารกรุงไทย หรือผู้ที่มีแอปฯ “Krungthai NEXT” ซึ่งผ่านการยืนยันตัวตนมาแล้ว

]]>
1336746
โควิดรอบใหม่ ซัดเศรษฐกิจไทย สูญอย่างน้อย 1.6 เเสนล้าน ท่องเที่ยวซึมยาว สะเทือนจ้างงานหลายล้านคน https://positioningmag.com/1314167 Thu, 14 Jan 2021 16:41:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314167 เศรษฐกิจไทยในปี 2021 ยังเต็มไปด้วยความไม่เเน่นอน หลังเจอ COVID-19 ระลอกใหม่ฉุดการฟื้นตัว รายได้วูบอย่างน้อย 1.6 แสนล้าน ธุรกิจท่องเที่ยวซึมยาว สะเทือนการจ้างงานหลายล้านคน 

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวที่ระดับ 2.5% ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5%

เเม้ว่าจะทำให้ไทยพ้นจากภาวะถดถอยในปี 2020 ที่เศรษฐกิจติดลบไปถึง 6.5% เเต่การเเพร่ระบาดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นตั้งเเต่ช่วงต้นปี ได้กระทบการใช้จ่ายของภาคเอกชน การบริโภค การลงทุนและการท่องเที่ยวในประเทศค่อนข้างมาก 

“COVID-19 รอบใหม่ (เดือนม.ค.-ก.พ.) จะทำให้เกิดค่าเสียโอกาส ไม่ต่ำกว่า 1.6 เเสนล้านบาท จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ต้องล่าช้าออกไป ท่ามกลางความไม่เเน่นอน

ส่วนมาตรการการเยียวยาของภาครัฐครั้งล่าสุด คาดว่าจะต้องใช้งบราว 1.7 – 2 แสนล้านบาท เพื่อพยุงให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ไม่ให้ปรับลดลงมากนัก

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์โรคระบาดยืดเยื้อ ลากยาวถึง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.) คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศกว่า 2.39 แสนล้านบาท ซึ่งจะฉุดจีดีพีปีนี้ให้เติบโตได้เพียงระดับ 2% เท่านั้น เเละหากสถานการณ์ยาวนานกว่านี้ เชื่อว่าผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปเรื่อยๆ 

เมื่อเจาลึกลงไปในภาคการท่องเที่ยว พบว่า หากมาตรการที่รัฐบาลใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ภายใน 2-3 เดือน จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 109.6 ล้านคนต่อครั้ง ต่ำลงกว่าประมาณการเดิมที่ 131.8 ล้านคนต่อครั้ง แต่ก็ยังสูงกว่าปีก่อนหน้าที่ 91.2  ล้านคนต่อครั้ง
ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2021 คาดว่าจะมีเพียง 4.4 ล้านคนเท่านั้น

โดยมาตรการของรัฐที่คุมเข้มในช่วง 2 เดือน (ม.ค.- ก.พ.) คาดว่าจะส่งผลกระทบทำให้เม็ดเงินในธุรกิจท่องเที่ยวหายไปราว 1.1 แสนล้านบาท

ในกรณีที่ต้องคุมเข้มยาวถึง 3 เดือน จะทำให้นักท่องเที่ยวในประเทศลดเหลือ 100 ล้านครั้ง เม็ดเงินในธุรกิจท่องเที่ยวจะหายไปถึง 1.5 แสนล้านบาท จึงต้องหวังว่าไทยจะสามารถคุมสถานการณ์ COVID-19 รอบใหม่ให้ได้ภายใน 2 เดือนนี้

สำหรับปัญหาการว่างงาน ยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานหลายล้านคน เเม้ช่วงไตรมาส 3-4 ในปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวบ้าง เเต่อัตราการว่างงานเเละการมีชั่วโมงการทำงานน้อยกว่าปกติยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ซึ่งจะเป็นปัญหาระยะยาวของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

TMB Analytics ธนาคารทหารไทย มองว่า จากการที่ไทยมีสัดส่วนพึ่งพาภาคการค้าและการท่องเที่ยวถึง 22% ต่อจีดีพี มีการจ้างงานสูงรวมกันที่ 6.9 ล้านคน ดังนั้นคาดว่าผลกระทบจาก COVID-19 รอบใหม่ จะทำให้รายได้ภาคการค้าและการท่องเที่ยวลดลงรวมกันกว่า 1.4 แสนล้านบาท

ด้าน ‘ค่าเงินบาท’ มีเเนวโน้มว่าจะ ‘แข็งค่า’ ตลอดทั้งปี 2021 โดยมีโอกาสที่จะหลุดจาก 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เเละอาจแข็งค่าไปเเตะระดับ 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยหลักๆ เช่น ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า เม็ดเงินลงทุนที่ไหลออกจากประเทศไทยไปต่างประเทศยังน้อย รวมถึงการไหลเข้าของเม็ดเงินในตลาดกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เเละความท้าทายด้านการส่งออก ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

Krungthai COMPASS ประเมินว่า หากการเเพร่ระบาดรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ ก็มีโอกาสที่จะเห็นคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงจากปัจจุบันอยู่ที่ 0.50% เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ปัจจัยบวก

  • นโยบายเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
  • การลงทุนในเทคโนโลยีท่ีสอดรับกับยุค 5G และกระแส Green Economy
  • โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสู่ New Normal

ปัจจัยลบ

  • COVID-19 ระลอกใหม่
  • ภัยแล้งรุนแรงและยาวนาน
  • ปัญหาขาดแคลนต้คูอนเทนเนอร์
  • ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ

จับตา ‘The Great Reset’ 

มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า ภาคธุรกิจไทยต้องเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็น Megatrend ของโลก หลังวิกฤตโรคระบาด อย่างกระแสการปรับเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือ The Great Reset ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีความ Greener, Smarter และ Fairer

ภาคธุรกิจไทยต้องปรับตัว เพราะประเทศมหาอำนาจของโลกให้น้ำหนักกับประเด็นนี้มากขึ้น และอาจนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าได้ “

นอกจากนี้ ยังต้องจับตาท่าทีความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนทางการค้ารอบใหม่ เช่น แนวนโยบายภายใต้ ‘โจ ไบเดน’ ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ รวมไปถึง ‘แผนยุทธศาสตร์ 5 ปีของจีน’ ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีมากขึ้น

ตลอดจนความตกลง RCEP ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดโลก ซึ่งมองว่าความตกลง RCEP ที่จะส่งผลดีต่อไทยในการส่งออกสินค้า จากสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่เพิ่มขึ้น และอานิสงส์จากการค้าระหว่างคู่เจรจาที่จะคึกคักขึ้น

“ไทยจะได้ผลดีจากการเข้า RCEP เเละมองว่าเวียดนามจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย”

 

]]>
1314167
ทิศทาง “กรุงไทย” หลังพ้นรัฐวิสาหกิจ วางจุดยืน “แบงก์พาณิชย์ของรัฐ” https://positioningmag.com/1309417 Mon, 07 Dec 2020 12:03:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309417 กรุงไทย (KTB) กำลังเดินสู่ก้าวใหม่ หลังคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความสถานะของธนาคารว่าพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้องเผชิญกับความท้าทายของธุรกิจเเบงก์” ในยุคดิจิทัล ฝ่าฟันวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษ COVID-19 

การประกาศจะเป็น “เเบงก์ของคนต่างจังหวัด” เข้าถึงชุมชนในไทย เเละรองรับมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐ ก็เป็นอีกหนึ่ง “งานหิน” ที่ต้องพัฒนาต่อไปเช่นกัน วันนี้เรามาฟังทิศทางต่อไปของกรุงไทยชัดๆ จากเอ็มดี KTB กัน 

ชูจุดเด่น “เเบงก์พาณิชย์ของรัฐ” 

ประเด็นการพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ยืนยันว่า การเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเป็นเป็นการเปลี่ยนที่รูปแบบ เเต่ไม่ได้เป็นสารสำคัญ 

เรื่องนี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกรุงไทยเเต่อย่างใด เพราะเราวางตัวเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐมาโดยตลอด เเละจะไม่มีการปลดพนักงานออก

โดยผยงอธิบายเพิ่มว่า เเม้ธนาคารกรุงไทยจะพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจเเล้ว ตามการตีความด้วยสถานะ เเต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในภาคปฏิบัติยังคงเป็นธนาคารพาณิชย์ของกระทรวงการคลังของรัฐบาล ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และกระทรวงการคลัง ถือหุ้นใหญ่กว่า 55% มานานกว่า 30 ปีเเล้ว ซึ่งทุกอย่างก็ยังอยู่เหมือนเดิม 

ด้านเงินฝากของหน่วยงานรัฐรัฐวิสาหกิจนั้น ทางกระทรวงการคลังได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจฝากเงินกับธนาคารกรุงไทยต่อไปได้ ส่วนผลกระทบด้านอื่นๆ ก็ทยอยความชัดเจนออกมาต่อเนื่อง

ผู้บริหารกรุงไทยเน้นว่าการปฏิบัติงานต่างๆ เหมือนเดิม ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม

ตอนนี้เราค้นพบตัวเอง หาทางเดินที่เหมาะสม โดยการเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐเเห่งเดียวของประเทศไทยที่วางสถานะให้เเข่งขันกับเเบงก์ใหญ่เจ้าอื่นๆ ได้ อยากให้ความมั่นใจเเละไม่ต้องกังวล

-ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

ส่วนกระเเสข่าวที่ว่าจะเป็นการฉวยโอกาสเพื่อเอาพนักงานออกนั้นไม่ใช่เรื่องจริง

โดยการพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ในด้านสวัสดิการพนักงาน มีเพียงเรื่องเดียวที่จะเปลี่ยนคือ เรื่องการรักษาพยาบาล เนื่องจากพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้นจะอยู่ภายใต้ พ... งบประมาณฯ ไม่ต้องเข้า พ... ประกันสังคมเหมือนเอกชน

เเต่เมื่อพ้นสภาพมาเเล้ว ผยงกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะเเต่เดิมกรุงไทยก็ไม่ได้ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดินในการดำเนินงาน ดังนั้นธนาคารจะแก้ไขระเบียบภายในให้สามารถปรับการรักษาพยาบาลของพนักงานให้คงสิทธิ์เช่นเดิมได้ โดยได้หารือกับสหภาพเเรงงานถึงการเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเเล้ว เเละเป็นไปด้วยดี

เราจะยืนอยู่บนตัวตนของเรา เป็นพันธมิตรกับรัฐบาล จับมือกับพาร์ตเนอร์อื่นๆ ที่เข้าใจเราเเละเราเข้าใจเขา ทุ่มลงทุนเทคโนโลยี เเละศึกษาทางเลือกอยู่เสมอ

Photo : Shutterstock

เปลี่ยนบริการให้เป็นเซลส์ 

ช่วงที่ผ่านมา กรุงไทยเริ่มปรับตัวครั้งใหญ่ ด้วยการขยับไปสู่การเป็น Personal Life Banking เข้าไปอยู่ในการใช้ชีวิตของผู้คน ผ่านการยึดโยงทางดิจิทัล เป็น One Stop Service เเละเป็น Omni-Channel 

เราจะเเบงก์ของคนต่างจังหวัด ใกล้ชิดชุมชน เเละจะต่อยอดให้เข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุดต่อไป

ส่วนความท้าทายในการขับเคลื่อนองค์กรที่อยู่มานานนั้น ผยงตอบว่า คือการ ReskillUpskill เพิ่มทักษะยุคใหม่ให้พนักงาน รวมไปถึงการใช้ Data ที่ธนาคารมีอยู่มหาศาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยต่อไป กรุงไทย มีวิสัยทัศน์ธุรกิจ 5 เเนวทางหลักๆ ได้เเก่

  • ประคองธุรกิจหลัก ให้ก้าวผ่านช่วงวิกฤตโลก
  • สร้างธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่เเค่ธุรกรรมธนาคารเเต่ขยายในน่านน้ำอื่นๆ
  • ใช้กระดาษน้อยลง ประหยัดพลังงาน ดำเนินงานสาขาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม
  • หาพันธมิตรใหม่ๆ ร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม เเละลงทุนในเทคโนโลยี
  • ยึดถือสโลเเกนกรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน  ช่วยเหลือชุมชน SME เพิ่มทักษะให้พนักงาน

เรามีการเปลี่ยนบริการให้เป็นเซลส์ (การขาย) เช่น การเพิ่มบริการคอลเซ็นเตอร์ ด้านการทวงหนี้ ติดตามหนี้ ประเมินหลักทรัพย์ต่างๆ ไปให้บริการกับบริษัทอื่นเพื่อเป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่ง

นอกจากนี้ เเต่เดิมกรุงไทยตั้งการใช้งบฯ การลงทุนไว้ที่ 1.4 หมื่นล้าน เเต่ปีนี้ใช้ไปได้เเค่ 7-8 พันล้านจากสถานการณ์โรคระบาด จึงคาดได้ว่าปีหน้าจะมีการทุ่มลงทุนมากขึ้นอย่างเเน่นอน โดยเฉพาะในส่วนดิจิทัล เพื่อรองรับมาตรการต่างๆ ของรัฐ อย่าง เเอปฯ เป๋าตัง เว็บไซต์ลงทะเบียนคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ฯลฯ เเละขยายฐานลูกค้าผู้ใช้เเอปพลิเคชัน Krungthai NEXT จากผู้ใช้ตอนนี้ 9.95 ล้านรายให้ได้ 12 ล้านรายในปีหน้า

ธนาคารกรุงไทย ได้แต่งตั้งให้ไปรษณีย์ไทยเป็น Banking Agent อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการเงินให้สะดวกยิ่งขึ้น

ปี 2564 : ประคองธุรกิจ ดูแลสินเชื่อเก่าให้ดีและรอด

ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบหนักจาก COVID-19 ทั้งด้านผลกำไรที่ลดลงเเละราคาหุ้นที่ตกต่ำ เเม้จะผ่านช่วงวิ
กฤตไปเเล้ว เเต่ปีหน้ายังมีความท้าทายสูง จากความเสี่ยงหนี้เสียเเละคนตกงาน

ไม่ใช่ปีเเห่งกำไร หรือปีเเห่งการเติบโต เเต่เป็นปีเเห่งการรักษาความเเสถียร เน้นดูแลสินเชื่อเก่าให้ดีและรอด ผยง ศรีวณิช กล่าวถึงทิศทางธุรกิจในปี 2564

โดยมองว่า แผนดำเนินงานในปีหน้าจะยังไม่เน้นการเติบโตของสินเชื่อใหม่มากนัก ตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ 2-3% ใกล้เคียงกับการขยายตัวของจีดีพีไทย

ผยง คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะหดตัวในกรอบ -6% ถึง -7 % ขณะที่ปี 2564 เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.0% ถึง 4.0%

เเม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวบ้างเเล้ว เเต่ประเทศไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน โดยเฉพาะการพึ่งพาการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนกว่า 10% ของจีดีพี เเต่ยังฟื้นตัวจำกัด ยังไม่สามารถว่าจะมีนักท่องเที่ยวกลับมาได้เท่าใดเเละเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาเเละกระจายจายวัคซีน

ดังนั้น ธนาคารจึงต้องเน้นไปที่การประคองเศรษฐกิจ นำเสนอบริการที่เเยกตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ระวังตลาด
เเรงงานที่ยังเปราบาง อัตราว่างงานสูง ระวังความเสี่ยงจากหนี้เสีย (NPL) ซึ่งตอนนี้ของ KTB อยู่ที่ราว 4% นิดๆรวมไปถึงความเสี่ยงจากหนี้ครัวเรือนด้วย

ประเทศไทยจะลดหนี้ครัวเรือนไม่ได้ หากไม่เพิ่มรายได้ให้ประชาชน…”

ช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบขาก COVID-19 ที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของกรุงไทย คิดเป็น 18% ของสินเชื่อรวมที่ระดับ 1.8 ล้านล้านบาท ถือว่าไม่มากนัก เมื่อเทียบกับธนาคารอื่นจะอยู่ที่ราว 30-40% ปัจจัยหลักๆ มาจากลูกค้าเป็นกลุ่มข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้ ส่วนสินเชื่อรายย่อยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เชื่อมโยงไปยังซัพพลายเชนธุรกิจอื่นๆ มากนัก

ภาครัฐยังเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้า ต้องกระตุ้นกำลังซื้อภาคครัวเรือนให้ความต่อเนื่อง ทั้งโครงการคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ช้อปดีมีคืน

ผยง บอกอีกว่า การเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ จะเป็นแรงสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมถึงยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในระยะยาว

@ลุยต่อคนละครึ่งคาดเเห่ลงเฟส 2 ถึง 10 ล้านคน

หนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ ณ ขณะนี้ คงหนีไม่พ้น โครงการคนละครึ่ง ที่ส่งเสริมให้พ่อค้าเเม่ค้ารายย่อยมีรายได้มากขึ้น โดยภาครัฐจะช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ ภายใต้วงเงินอุดหนุน 30,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 23 ..-31 .. (เฟสเเรก)

ล่าสุดเฟส 2” จะเริ่มให้ใช้สิทธิในวันที่ 1 .. – 31 มี.. 2564 ขยายวงเงิน 3,500 บาทต่อคน และเพิ่มวงเงินให้แก่ผู้ได้รับสิทธิในเฟสแรกอีก 500 บาทต่อคน เปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ตั้งแต่วันที่ 16 ..นี้ เป็นต้นไป

เรากำลังเร่งฝ่ายไอทีให้ตรวจสอบเสถียรภาพ ไม่ให้เกิดปัญหาคอขวด แม้ว่าจะเปิดรับลงทะเบียนเพียง 5 ล้านคน แต่เชื่อว่าจะมีผู้สนใจมาลงทะเบียนสูงถึง 10 ล้านคน

โดยมีการปรับปรุงระบบการลงทะเบียนหน้าเว็บไซต์ ให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากขึ้นจาก 200,000 คน ต่อการเข้าใช้งาน 1 ครั้ง เป็น 500,000-1,000,000 คน ต่อการใช้งานในแต่ละครั้ง พร้อมประสานกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วของระบบการส่งข้อความยืนยัน โอทีพี (OTP) ผ่าน SMS

ส่วนผู้เข้าร่วมโครงการในเฟสเเรก แล้วต้องการต่อสิทธิ์อัตโนมัติรัฐบาลจะมีการเพิ่มปุ่มหรือส่งข้อความให้ผู้ลงทะเบียนเฟส 1 ยืนยันว่าจะเข้าร่วมมาตรการต่อในเฟส 2 หรือไม่ ขณะที่ผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์จากโครงการคนละครึ่ง เฟสเเรก เนื่องจากไม่ได้ใช้จ่ายภายใต้โครงการภายในวันที่กำหนดไว้ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเฟส 2 ได้ 

สำหรับโครงการคนละครึ่ง วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 8.9 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 9.5 ล้านคน มียอดการใช้จ่ายสะสม 33,754 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 17,236 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 16,518 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 181 บาทต่อครั้ง 

ส่วนจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช ชลบุรี และเชียงใหม่ โดยผู้ประกอบการร้านค้ายังคงสมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

]]>
1309417
ธนาคาร “กรุงไทย” เเจ้งพ้นสภาพการเป็น “รัฐวิสาหกิจ” หลังกฤษฎีกาตีความชัด https://positioningmag.com/1304981 Sat, 07 Nov 2020 11:29:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304981 ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เเจ้งต่อ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง “แจ้งความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อสถานภาพของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)” โดยมีเนื้อหาดังนี้

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ธนาคารได้รับหนังสือจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) ซึ่งแจ้งให้ธนาคารทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือตอบข้อหารือของกองทุนฯ ที่ขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับสถานภาพของกองทุนฯ และธนาคารกรุงไทย

โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งผลการพิจารณาว่า ธนาคารกรุงไทย ไม่มีลักษณะเป็นบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม (2) และ (3) ของบทนิยามคำว่า ‘รัฐวิสาหกิจ’ ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 

การเปลี่ยนสถานภาพของธนาคารตามความเห็นข้างต้น อาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารและต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจหลายฉบับ ซึ่งธนาคารอยู่ระหว่างการพิจารณาถึงผลกระทบในด้านต่างๆ หากได้ความชัดเจนแล้วธนาคารจะได้แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทราบในโอกาสต่อไป

อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้ศึกษาผลความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นด้านคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของธนาคารจนได้ข้อยุติ ว่า

“โดยผลของความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกอบกับการมีผลบังคับใช้ของพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและการบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 ส่งผลทำให้กรรมการ ผู้บริหารสูงสุด ตลอดจนพนักงานของธนาคาร ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานของกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518” 

สำหรับผลกระทบด้านกฎหมายฉบับอื่นๆ ธนาคารจะเรียนแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปเช่นกัน

โดยสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 คือ คำนิยามของคำว่ารัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หมายความว่า

1.องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ
2.บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตาม
  • มีทุนรวมทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ
3.บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตาม (1) หรือ (2) หรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) และ (2) รัฐวิสาหกิจตาม มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ

ใครคือผู้ถือหุ้นใหญ่ในกรุงไทย ? 

ราคาในตลาดหุ้นของธนาคารกรุงไทย (KTB) ณ วันที่ 7 พ.ย. 2563 อยู่ที่ 9.15 บาท มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 11 อันดับเเรก ดังนี้

ข้อมูลจาก set.or.th ณ วันที่ 7 พ.ย. 2563

จะเห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของธนาคารกรุงไทย คือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งถือหุ้นอยู่จำนวน 55.07% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้ว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกิน 50% ของกรุงไทยนั้น มีสถานะ ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยวินิจฉัยแล้วในปี 2543 ว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และธนาคารกรุงไทย มีสถานะเป็น “รัฐวิสาหกิจ” แต่ต่อมามีการปรับปรุง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2561 และมีการใช้พ.ร.บ.วิธีงบประมาณ 2561 และมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในบทนิยม “รัฐวิสาหกิจ” ใหม่

ล่าสุดในเดือนต.ค. 2563 หลังจากกองทุนฟื้นฟูฯ ขอให้วินิฉัยว่ามีฐานเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ รวมทั้งสถานภาพของธนาคารกรุงไทย เนื่องจากคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” มีการนิยามในกฎหมายหลายฉบับและมีความแตกต่างกัน

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) พิจารณาแล้ว มีความเห็นโดยสรุปดังนี้

1) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามคำนิยาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2561 กำหนดให้ ธปท.เป็นหน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นหน่วยงานในธปท.

2) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่ได้เป็น “หน่วยงานรัฐ” ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ เนื่องจากไม่ได้รับเงินงบประมาณ หรือ รายจ่ายอุดหนุนจากงบประมาณ เนื่องจากได้รับเงินจากอำนาจหน้าที่ของกองทุนฯ เองและได้รับการจัดสรรจากธปท.

3) ธนาคารกรุงไทย ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากกองทุนถือหุ้น 55.07%

4) ประเด็นการยื่นบัญชีทรัพย์สินนั้น กฤษฎีกาไม่ได้พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่าต้องปฏิบัติตามประกาศของป.ป.ช.อยู่แล้ว

5) ประเด็นเรื่องการมองฉันทะ หรือ มอบอำนาจให้กระทรวงการคลังได้หรือไม่นั้น สามารถดำเนินการได้ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.มหาชนจำกัด 2535 และการกำกับดูแลนั้นต้องทำผ่านกลไกคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

 

]]>
1304981
“กรุงไทย” มีกำไรในไตรมาส 3 มูลค่า 16,572 ล้าน เพิ่มขึ้น 16% ส่วน 9 เดือนเพิ่มขึ้น 12% https://positioningmag.com/1302570 Wed, 21 Oct 2020 07:00:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302570 ธนาคารกรุงไทย และบริษัทย่อย ประกาศผลประกอบการ มีกำไรจากการดำเนินงานช่วง 9 เดือน ปี 2563 เท่ากับ 54,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ไตรมาส 3 กำไรจากการดำเนินงาน เท่ากับ 16,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16%

ธนาคาร และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3/2563 เท่ากับ 16,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ นอกเหนือจากการบริหารจัดการทางการเงิน ท่ามกลางสภาวะดอกเบี้ยขาลง ประกอบกับรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงาน ในไตรมาส 3/2562 ส่งผลให้ Cost to Income ratio ลดลงเป็น 45.3% จาก 53% ในไตรมาส 3/2562

ธนาคารได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 12,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103.6% เมื่อเทียบกับการตั้งสำรองในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ส่งผลให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร ลดลงเป็น 3,057 ล้านบาท หรือลดลง 51.9%

ธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงาน 9 เดือนปี 2563 เพิ่มขึ้น 12.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเท่ากับ 68,023 ล้านบาท ขยายตัวขึ้น 0.6% ท่ามกลางสภาวะดอกเบี้ยนโยบายที่ถูกปรับลดจนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีสาเหตุหลักจากการได้รับรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ นอกเหนือจากการบริหารจัดการทางการเงิน จึงช่วยลดผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้

รายได้จากการดำเนินงานอื่นเติบโต 13.3% และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 13.8% จากรายการพิเศษสำรองด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายฯ และการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ Cost to Income ลดลงเป็น 42.2% จาก 48.8% ในช่วงเดียวกันของปี 2562

จากการพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ ประมาณการภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรงและมีความไม่แน่นอน ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพสินเชื่อ ธนาคารจึงได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 35,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 87.7% จากค่าใช้จ่ายสำรองในช่วงเดียวกันของปี 2562 ส่งผลให้มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 13,279 ล้านบาท ลดลง 39.2%

ณ 30 กันยายน 2563 ธนาคารมียอดสินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ 2,149,620 ล้านบาท โดยธนาคาร (งบการเงินเฉพาะ) มีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 15.01 และอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงที่ร้อยละ 18.42  ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

]]>
1302570
ธุรกิจไทย “รายได้หด” ส่อผิดนัดชำระหนี้พุ่ง กิจการ “ซมไข้ยาวนาน” อีก 2 ปียัง “ฟื้นตัวช้า” https://positioningmag.com/1301564 Thu, 15 Oct 2020 07:18:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301564 พิษไวรัสซ้ำเเผลเศรษฐกิจ ประเมินยอดขายภาคธุรกิจไทยปี 2563 หดตัวลึก 9% มองอีก 2 ปีข้างหน้ายัง “ฟื้นตัวจำกัด” กดดันความสามารถชำระหนี้ เสี่ยงทำให้มีธุรกิจ “ซมไข้ยาวนาน” เพิ่มจาก 9.5% ของกิจการทั้งหมดในปี 2562 เป็น 26% ภายในปี 2565 จับตา Zombie Firm “โรงแรม-อสังหาริมทรัพย์” น่าห่วงสุด

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า เศรษฐกิจไทยยังชะลอตัวต่อเนื่อง ส่งผลต่อภาคธุรกิจของไทย โดยเฉพาะผลกระทบจาก COVID-19 สะท้อนต่อรายได้ครึ่งปีแรก 2563 ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ลดลง 13.5% ขณะที่ภาคธุรกิจไทยยอดขายทั้งปี 2563 จะหดตัวถึง 9%

เมื่อรายได้และยอดขายของภาคธุรกิจลดลง เป็นปัจจัยที่สร้างความกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ และความเสี่ยงทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น

จากการวิเคราะห์ข้อมูลงบการเงินในระดับรายบริษัทกว่า 2 แสนราย พบว่า อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio : ICR) ซึ่งสะท้อนว่ากิจการมีกำไรจากการดำเนินงานเพียงพอที่จะจ่ายภาระดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหนนั้น ในภาพรวมจะลดลงจาก 3.62 เท่า ในปี 2562 มาอยู่ที่ 3.11 เท่า ในปี 2563 และจะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ถึงจะกลับไปสู่ระดับเดิม อีกทั้งกิจการที่มีกำไรจากการดำเนินงานไม่เพียงพอจ่ายดอกเบี้ย หรือมี ICR ต่ำกว่า 1 เท่า จะมีสัดส่วนมากถึง 28-30% ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า

Photo : Shutterstock

“สถานการณ์เศรษฐกิจซบเซาที่มีแนวโน้มลากยาว อาจส่งผลให้กิจการ “ซมไข้ยาวนาน” หรือที่เรียกว่า Zombie Firm ซึ่งเป็นกิจการที่มี ICR ต่ำกว่า 1 เท่า ติดต่อกันเป็นเวลา 3 รอบปีบัญชี มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยอยู่ที่ 9.5% ของกิจการทั้งหมด ในปี 2562 เป็น 14% ของกิจการทั้งหมดในปี 2563 และจะพุ่งสูงขึ้นเป็น 26% ภายในปี 2565”

สำหรับธุรกิจที่เปราะบาง ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจสื่อและความบันเทิง, ธุรกิจเครื่องหนังและรองเท้า, ธุรกิจเครื่องสำอาง, ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางมีความเสี่ยงที่จะอ่อนแอลงต่อเนื่อง หากไม่มีมาตรการช่วยเหลือ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ ฯลฯ

โดยปัจจัยหลักในการฟื้นตัว ยังขึ้นอยู่กับแนวโน้มการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและพัฒนาการของเศรษฐกิจโลก แนวโน้มกำลังซื้อในประเทศ ภาวะการมีงานทำ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน 

Krungthai COMPASS มองสถานการณ์เศรษฐกิจไทยว่า ต้องใช้เวลา 2-3 ปีจึงจะฟื้นตัว โดยเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวจะส่งผลต่อการส่งออกยังหดตัวสูง และการว่างงานอาจสูงขึ้น โดยคาดว่าปี 2563 จีดีพีไทยจะหดตัวที่ 9.1% และทยอยปรับตัวดีขึ้นโดยปี 2564 จะอยู่ที่ 4.1% ปี 2565 GDP จะขยายตัวที่ 6% และปี 2566-2568 จะอยู่ที่ 3% 

หากจะมองในมุมมองของนักลงทุนในตลาดทุนจากการสำรวจ พบว่า จากช่วงที่มีสถานการณ์ล็อกดาวน์ดัชนีตลาดหุ้นไทย -28.7% ปัจจุบันอยู่ที่ -21% โดยกลุ่มที่ลดลงมากได้แก่ อุตสาหกรรมการเงิน ทรัพยากร และอสังหาริมทรัพย์และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวบ้างหรือติดลบน้อยเป็นกลุ่ม อุปโภคบริโภค เกษตร-อาหาร และเทคโนโลยี

ขณะที่ดัชนีตลาด Nasdaq ช่วงล็อกดาวน์อยู่ที่ -14% ปัจจุบัน +13% กลุ่มที่บวกจะอยู่ในกลุ่มคอนซูเมอร์ เทคโนโลยี ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าการที่ตลาดหุ้นไทยยังไม่ฟื้นหลังคลายล็อกดาวน์แล้ว เพราะมีธุรกิจที่สอดรับกับพฤติกรรม New Normal น้อยกว่า

Photo : Shutterstock

ขณะที่มาตรการรัฐในระยะต่อไปที่ต้องดำเนินนโยบายต่างๆ Krungthai COMPASS มองว่า จากผลกระทบในแต่ละกลุ่มที่รุนแรงไม่เท่ากัน จึงจำเป็นต้องมีความเฉพาะเจาะจง ในแต่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงและยังมีแนวโน้มที่ฟื้นตัวยากให้มากขึ้น จากเดิมที่เป็นมาตรการในวงกว้าง เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่จะออกมาไม่ว่าจะเป็นโครงการ “คนละครึ่ง” “ช้อปดีมีคืน” และการต่ออายุมาตรการสนับสนุนท่องเที่ยว ก็ถือว่าตรงจุดในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงการป้องกันปัญหา Moral Hazard ที่อาจจะตามมาได้ โดยควรให้การสนับสนุนในมิติอื่นๆ นอกเหนือจากเงินทุนควบคู่ไปด้วย เช่น การยกเครื่องธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่กับการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสในตลาดศักยภาพใหม่ๆ ลดต้นทุน และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่สอดรับกับบริบท New Normal ต่อไป

 

]]>
1301564