ขนส่งพัสดุ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 12 Aug 2021 02:37:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KERRY ทุบสถิติยอดส่งครึ่งปีแรก 167 ล้านชิ้น เตรียมเปิดขนส่งควบคุมอุณหภูมิไตรมาส 4 https://positioningmag.com/1346370 Wed, 11 Aug 2021 14:40:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346370 KERRY Express ทุบสถิติยอดส่งนิวไฮ 167 ล้านชิ้นในครึ่งปีแรก เติบโต 10% กำไรสุทธิไตรมาส 2 โต 7.3% ภายในไตรมาส 4 เตรียมเปิดบริการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ และ KERRY Wallet ระบบอีเพย์เมนต์

กำไรพุ่ง รับล็อกดาวน์

เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (KERRY Express) ปิดงบไตรมาส 2/2564 กำไรพุ่ง 336 ล้านบาท ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิเติบโตกว่า 7.3% อานิสงส์จากล็อกดาวน์ และ WFH ดันยอดขนส่งพัสดุ “นิวไฮ” ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทะลุ 167 ล้านชิ้นในครึ่งปีแรก เติบโตกว่า 10.8%

อเล็กซ์ อึ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2564 มีรายได้ 4,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 412 ล้านบาท หรือ 9.8% จากไตรมาสก่อนหน้า และกำไรสุทธิ 336 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33 ล้านบาท หรือ 10.8% จากไตรมาสก่อนหน้า ที่อัตรากำไรสุทธิ 7.3%

โดยในครึ่งปีแรกของปี 2564 เคอรี่ เอ็กซ์เพรส มีปริมาณการจัดส่งพัสดุที่เติบโตอย่างโดดเด่น โดยมียอดการจัดส่งพัสดุทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ (New High Record) กว่า 167 ล้านชิ้นในครึ่งปีแรกของปีนี้ หรือเพิ่มขึ้นถึง 10.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ประกอบกับในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการล็อคดาวน์หลายพื้นที่ ซึ่งทำให้มีการทำงานที่บ้านหรือ WFH มากขึ้น กระตุ้นให้มีการใช้จ่ายผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้น

KERRY ได้บริหารจัดการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด และการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งต่อพนักงานและลูกค้า ประกาศแคมเปญ KerryPrompt เพื่อกระตุ้น และตอบแทนพนักงานทุกคนให้เข้ารับวัคซีนอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ศูนย์คัดแยก และกระจายสินค้าเกิดการหยุดชะงัก และไม่ให้เกิดปัญหาการขนส่งพัสดุกับลูกค้าปลายทาง

เตรียมเปิดบริการใหม่ครึ่งปีหลัง

เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับพัสดุในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทเตรียมเปิดให้บริการใหม่ร่วมกับพันธมิตรหลากหลาย ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับ Cold Chain หรือระบบคลังสินค้า และขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่มากกว่า 30 กิโลกรัมขึ้นไป

ล่าสุดได้ต่อยอดสู่ “เคอรี่ วอลเล็ท” พัฒนาระบบวอลเล็ทเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โซเชียลคอมเมิร์ซ ที่เติบโตต่อเนื่อง และตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้ซื้อขายสินค้าออนไลน์มากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะเปิดตัวในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ซึ่งจะเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าขาประจำใช้จ่ายเงิน และร่วมกิจกรรมผ่านวอลเล็ทอย่างต่อเนื่องทั้งระบบ

คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติจ่ายปันผลระหว่างกาลที่ 0.743 บาทต่อหุ้น แจ้งวันกำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้น (Record Date) ที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในวันที่ 25 สิงหาคม 2564 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 10 กันยายน 2564 ตามลำดับ

]]>
1346370
ขนส่งสินค้าออนไลน์สะดุด ‘โควิด’ ชั่วคราว ตลาดยังโตได้ ต้องสู้ตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น  https://positioningmag.com/1345391 Thu, 05 Aug 2021 10:00:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345391 โควิดระบาดรุนเเรงบวกมาตรการล็อกดาวน์ต่อเนื่อง กระทบภาคขนส่งสะเทือนธุรกิจขายของออนไลน์ KBANK มองเป็นปัญหาชั่วคราวต่อการจัดส่งสินค้า เเต่ภาพรวมตลาดปีนี้ ยังเติบโตได้ 7.1 หมื่นล้านเเต่จะโตน้อยลง ต้องสู้เเข่งตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น 

ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ หรือ Last-mile delivery เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ขยายตัวตามการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคกังวลในเรื่องของความปลอดภัยและงดทำกิจกรรมนอกบ้าน มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายและหันมาซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น จึงหนุนให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย

สะดุด เจอพนักงานติดโควิด 

เเต่จากการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น จนทำให้ปัจจุบันมีพนักงานขนส่งสินค้าออนไลน์ของหลายบริษัทและในหลายพื้นที่ติดเชื้อโควิด โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สีแดงเข้ม เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี อยุธยา ชลบุรี ประกอบกับการขยายมาตรการล็อกดาวน์ออกไปอีกอย่างน้อย 14 วันในเดือนสิงหาคม 2564 (อาจมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนมาตรการอีกครั้ง) จนส่งผลให้ศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญในบางพื้นที่ รวมถึงสาขาที่รับ-ส่งสินค้าบางแห่ง ทั้งที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าและนอกห้างสรรพสินค้าต้องปิดทำการชั่วคราว

“บางสาขาที่ยังคงเปิดให้บริการได้นั้น ก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่ปลายทางที่นานขึ้นกว่าช่วงปกติ” 

เหล่านี้ ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์อาจได้รับผลกระทบและทำให้การจัดส่งสินค้าออนไลน์ติดขัดเป็นการชั่วคราว ประกอบกับการแข่งขันของธุรกิจที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันเรื่องราคาค่าขนส่งสินค้า

“ธุรกิจขนส่งในภาพรวมปีนี้ แม้คาดว่ารายได้จะยังคงเติบโต แต่ก็เผชิญความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ” 

shopping online

สินค้าอาหาร-ของสด กระทบหนักสุด

การจัดส่งสินค้าออนไลน์ในกลุ่มอาหาร (Food) น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าสินค้าในกลุ่มที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่เน่าเสียง่าย ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารแห้ง ผัก ผลไม้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มสินค้าจำเป็นที่คาดว่าผู้บริโภคน่าจะยังคงมีการวางแผนใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในช่วงที่โควิดระบาด

แต่เมื่อขนส่งไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ หรือใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ รวมถึงยานพาหนะที่ใช้ในการจัดส่งสินค้ากลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เอื้อต่อการจัดเก็บหรือควบคุมคุณภาพได้นาน สินค้ามีความเน่าเสียได้ง่าย จึงทำให้ได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างมาก จนผู้ประกอบการบางราย บางพื้นที่ต้องงดรับการจัดส่งสินค้าในกลุ่มนี้เป็นการชั่วคราว

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) หรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง ของตกแต่งบ้าน เนื่องจากยอดขายได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดตัว และใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้

ดังนั้น สถานการณ์ดังกล่าว ก็อาจจะกระทบต่อการจัดส่งสินค้ากลุ่มนี้ในระดับที่น้อยกว่า หรือหากมีคำสั่งซื้อมองว่าผู้บริโภคบางรายก็อาจจะรอสินค้าได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าว น่าจะเป็นปัญหาชั่วคราว และจากการเร่งแก้ปัญหาและการปรับตัวของผู้ประกอบการ ส่งผลให้สาขาในบางพื้นที่ที่ปิดทำการชั่วคราวเริ่มกลับมาเปิดทำการได้บ้าง แต่ยังคงต้องรอสินค้าที่นานกว่าช่วงปกติ

ขนส่งต้องสู้เเข่งตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น 

ส่วนรายได้ของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ ในภาพรวมปี 2564 ยังคงขยายตัวได้จากการระบาดของโควิดที่ยังคงหนุนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น แต่การเติบโตคาดว่าจะชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า ปัจจัยหลักๆ มาจากการแข่งขันด้านราคาค่าส่งสินค้า อีกทั้งยังต้องเผชิญกับต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น

แม้ว่าการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น จนส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่งสินค้าให้หยุดชะงักลงเป็นการชั่วคราวในบางพื้นที่ แต่เนื่องจากผู้บริโภคยังคงกังวลกับการออกไปใช้จ่ายหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน การประกาศล็อกดาวน์ของภาครัฐ อีกทั้งผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ มีการอัดโปรโมชันกันอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้บริโภคยังคงใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ 

“ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ในปัจจุบันที่แข่งขันกันรุนแรงจากจำนวนผู้เล่นในตลาดมากราย โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคาค่าขนส่งของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ต้องปรับตัวตาม และท้ายที่สุดหากผู้ประกอบการรายใดไม่สามารถแบกรับหรือบริหารจัดการต้นทุนได้ ก็อาจจะเผชิญการแข่งขันที่ยากลำบากขึ้น” 

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า แม้ว่ารายได้ของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ (Last-mile delivery) ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 71,800 ล้านบาท ขยายตัว 19.0% ซึ่งเป็นการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 31.3%

แต่หากพิจารณาในส่วนของต้นทุนในการบริหารจัดการคาดว่าน่าจะปรับเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการโควิดเพื่อสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและพนักงาน ต้นทุนจากการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น (ทดแทนพนักงานที่ติดโควิด และรองรับกับคำสั่งซื้อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น) 

รวมถึงต้นทุนในการบริหารจัดการเส้นทางการส่งสินค้าใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางเดิมที่มีปัญหา ในขณะที่ต้องลดราคาค่าขนส่งให้ถูกลง เพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าผลประกอบการของผู้ประกอบการบางรายยังคงประสบภาวะขาดทุน

เเนะลงทุนเพื่อความปลอดภัย ให้ลูกค้ามั่นใจสั่งของ 

การเติบโตของรายได้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ในภาพรวมที่อัตรา 2 หลัก อาจจะไม่ได้สะท้อนถึงผลประกอบการสุทธิที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการได้ทุกราย และเมื่อมองไปข้างหน้า ด้วยสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่คลี่คลาย ความเสี่ยงต่างๆ ยังคงเกิดขึ้นได้ ก็น่าจะทำให้ต้นทุนในการบริหารจัดการโควิดของผู้ประกอบการยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยจากโรค การกระจายศูนย์กระจายสินค้าไปยังพื้นที่ศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงการให้บริการเรื่องของสินค้าที่ครบวงจร 

หากผู้บริโภคมีความกังวลและไม่มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยจนทำให้มีการสำรองสินค้ามากขึ้นเพื่อลดจำนวนครั้งในการสั่งซื้อ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการจัดส่งที่น้อยลงและส่งผลต่อผลประกอบการของธุรกิจตามมา

โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดในเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุน เงินทุน และการปรับตัวที่ไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ทัน ซึ่งน่าจะยังคงเผชิญความยากลำบากในการแข่งขัน

 

 

 

]]>
1345391
‘ไปรษณีย์ไทย’ เปิดเเผนจัดการ ‘พัสดุตกค้าง’ หลังพนักงานติดโควิด แบ่งทีม-ปรับเวลาทำงาน ย้ำจะไม่ปิดบังข้อมูล  https://positioningmag.com/1344274 Tue, 27 Jul 2021 09:37:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344274
‘ไปรษณีย์ไทย’ เปิดเเผนใหม่ จัดการ ‘พัสดุตกค้าง’ หลังพนักงานติดโควิด แบ่งทีม-ปรับเวลาทำงาน ย้ำจะให้ข้อมูลตรงไปตรงมา ไม่ปิดบัง 

จากการระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้มีเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทยจำนวนหนึ่งติดเชื้อ และไปรษณีย์บางแห่งต้อง ‘ปิดให้บริการชั่วคราว’ เพื่อป้องกันการระบาดนั้น

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ชี้เเจงว่า กรณีดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่บางส่วนต้องทำการรักษาและกักตัวชั่วคราว แต่ไปรษณีย์ไทยซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ให้บริการด้านขนส่งและการสื่อสารภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังคงต้องให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่องแม้ในภาวะวิกฤต “จึงอาจมีการจัดส่งสิ่งของล่าช้าในบางพื้นที่”

ปัจจุบันไปรษณีย์ไทย มีปริมาณไปรษณียภัณฑ์และพัสดุด่วน เฉลี่ยอยู่ที่ 8 ล้านชิ้นต่อวัน

จากการระบาดของ ไปรษณีย์ไทย ให้ความสำคัญในการไม่ให้งานตกค้าง โดยได้มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง และแนวทางดำเนินงานรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาด ดังนี้

1.แบ่งเจ้าหน้าที่นำจ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกำหนดให้ทำงานเหลื่อมเวลากัน

2.นำเจ้าหน้าที่จากไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้เคียงมาปฏิบัติหน้าที่ในการนำจ่ายแทนเจ้าหน้าที่ของไปรษณีย์ที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราว

3.ปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ศูนย์ไปรษณีย์ที่ใช้ในการคัดแยกปลายทางซึ่งเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดพื้นที่ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัย ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

4.กำชับให้เว้นระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยง แยกกันรับประทานอาหาร ห้ามสูบบุหรี่ร่วมกัน และห้ามจับกลุ่มคุยกันอย่างใกล้ชิด

5.ไปรษณีย์ที่มีพื้นที่ปฏิบัติงานหลายจุดให้กำหนดเป็นพื้นที่ปฏิบัติงานสำรอง ในกรณีที่จุดใดจุดหนึ่งต้องปิด

6.ปรับสถานที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นำจ่ายให้มีระยะห่างกันเพิ่มมากขึ้น

ไปรษณีย์ไทย ย้ำว่าจะไม่ปกปิดข้อมูล หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่ติดเชื้อและจะรายงานให้ผู้ใช้บริการทุกท่านทราบผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ของไปรษณีย์ไทยอย่างตรงไปตรงมา แต่ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันอาจส่งผลกระทบให้การนำจ่ายสิ่งของในช่วงนี้อาจล่าช้าบางพื้นที่ จึงต้องขออภัยผู้ใช้บริการมา ณ ที่นี้

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทย ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เช่น

  • ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งต้องคัดกรองผู้ใช้บริการก่อนเข้าที่ทำการอย่างเข้มงวด
  • ให้บริการเจลล้างมือแอลกอฮอล์ตั้งแต่เข้าที่ทำการ ระหว่างใช้บริการ และหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม จัดระยะห่างทั้งเคาน์เตอร์ให้บริการ เก้าอี้พักรอใช้บริการ
  • ทำความสะอาดจุดสัมผัสในที่ทำการ เช่น จุดกดบัตรคิว มือจับประตู เคาน์เตอร์ให้บริการทุกๆ 20 นาที
    คัดกรองเจ้าหน้าที่ก่อนปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาระหว่างปฏิบัติงาน ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และงดการพูดคุยระหว่างให้บริการ
  • เจ้าหน้าที่นำจ่ายต้องตรวจวัดอุณหภูมิก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ระหว่างนำจ่ายสิ่งของให้ลูกค้าทุกครั้ง ศูนย์ไปรษณีย์มีการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนพัสดุทุกชิ้น
  • สำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องการลงนามรับสิ่งของ สามารถแจ้งให้บุรุษไปรษณีย์บันทึกชื่อ-นามสกุล แทนการลงนามได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัส

ก่อนหน้านี้ ไปรษณีย์ไทยได้ระงับการฝากส่ง ‘ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย’ เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ก.ค. 2564 เพื่อป้องกันผลไม้และต้นไม้เสียหาย เนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่อง รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การจัดส่งและนำจ่ายสิ่งของเป็นไปอย่างจำกัด และบางพื้นที่การจัดส่งอาจล่าช้า

โดยไปรษณีย์ไทยจะแจ้งข้อมูลที่ทำการไปรษณีย์ที่ปิดให้บริการรับฝากชั่วคราว หรืองดนำจ่ายชั่วคราว หรือนำจ่ายล่าช้า รวมทั้งการปิดทำการชั่วคราวของไปรษณีย์บางแห่ง ให้ผู้ใช้บริการทราบทุกวัน ผ่านช่องทาง เว็บไซต์ www.thailandpost.co.th เฟซบุ๊ก ไปรษณีย์ไทย ทวิตเตอร์ @Thailand_Post เเละไลน์ออฟฟิเชียล @Thailand Post

]]>
1344274
เทียบฟอร์ม Flash VS Kerry ยูนิคอร์นไฟเเรงกับเเบรนด์หุ้น IPO ในสงครามขนส่ง ‘ตัดราคา’ https://positioningmag.com/1335409 Fri, 04 Jun 2021 14:34:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335409 ธุรกิจขนส่งพัสดุ’ ในไทย เติบโตตามอีคอมเมิร์ซที่พุ่งพรวดในวิกฤตโรคระบาด เเบรนด์เล็กเเบรนด์ใหญ่ งัดสารพัดวิธีครองใจลูกค้า ทั้งทุบราคา ยกระดับบริการ ขยายสาขา เเย่งชิงพนักงาน อัดโฆษณาโหมพรีเซ็นเตอร์

ไม่กี่วันที่ผ่านมา สงครามของธุรกิจนี้ก็ดุเดือดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อน้องใหม่ค่ายสีเหลืองที่เพิ่งเปิดมาได้เพียง 3 ปีกว่าๆ อย่าง ‘Flash Express’ (แฟลช เอ็กซ์เพรส) เขย่าบัลลังก์เจ้าตลาด ด้วยการปิดระดมทุนได้ 4,700 ล้านบาท ขึ้นเเท่นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายแรกของคนไทย

ดีลนี้เป็นหมัดหนักที่สะเทือนคู่เเข่งค่ายสีส้มอย่าง ‘Kerry Express’ (เคอรี่ เอ็กซ์เพรส) ได้ไม่น้อย หลังโดนตีตื้นจนอยู่ไม่สุขมานาน ไปจนถึงสร้างความกังวลใจให้พี่บิ๊กเบอร์หนึ่งอย่างไปรษณีย์ไทย ที่ต่อไปนี้ต้องดิ้นรนหาอะไรมาสู้บ้างเพื่อไม่ให้โดนเเซงไปได้ในที่สุด

เเบรนด์เก๋าติดตลาด ปะทะ ยูนิคอร์นไฟเเรงเฟร่อ 

Kerry ดำเนินกิจการในประเทศไทยมาตั้งเเต่ปี 2549 เพิ่งระดมทุนหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อช่วงปลายปี 2563 ภายใต้ชื่อ KEX มีมูลค่าบริษัทล่าสุดอยู่ที่ราว 75,000 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 13,565.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,185.10 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 19,894.60 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,328.55 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 19,010.05  ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,405.02 ล้านบาท

ส่วน Flash เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาด ก่อตั้งเมื่อปี 2560 เพิ่งระดมทุนซีรีส์ D และ E ได้สำเร็จ เป็นยูนิคอร์นที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 31,000 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 47 ล้านบาท ขาดทุน 183 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,123 ล้านบาท ขาดทุน 1,666 ล้านบาท
ปี 2563 ยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เเต่จากข่าวประชาสัมพันธ์ ระบุว่า บริษัทมียอดส่งรวมทั้งปี 2563 มากกว่า 300 ล้านชิ้น หรือเติบโตขึ้นกว่า 500% ทำให้คาดว่าจะมีรายได้รวมจะเยอะขึ้นหลายเท่าตัว

ดังนั้น Kerry จึงมีมูลค่าบริษัทมากกว่า Flash กว่าสองเท่า เเต่ตอนนี้กำลังประสบภาวะราคาหุ้นขาลง(วันที่ 4 มิ.ย. อยู่ที่ราว 40 บาท) ผลประกอบการยังทำกำไรสุทธิในช่วงโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น เเต่ในส่วนรายได้ลดลง จากการปรับราคาต่อพัสดุเชิงรุกและการเจาะกลุ่มตลาดจัดส่งราคาประหยัด ชี้ให้เห็นสัญญาณการเเข่งขันในตลาดที่คู่เเข่งกำลังไล่เบียดมาติดๆ

ส่วน Flash กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น’ รายได้พุ่งสูงเเต่ยังขาดทุน ตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพที่ต้องเผาเงินเพื่อเอาฐานลูกค้า โดยมีจุดเเข็งคือการเป็น ‘ดาวรุ่งเนื้อหอม’ ที่มีผู้สนับสนุนเป็นบริษัทระดับท็อปของไทย ต่างมุ่งหวังผลักดัน ยูนิคอร์นตัวนี้ให้มีอนาคตไกล

ชิงเเต้มต่อ ‘เเบ็กอัพใหญ่’ 

คมสันต์ แซ่ลีซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Flash Express ยืนยันว่า ธุรกิจของเขาเป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งและดำเนินงานโดยคนไทยไม่ใช่กลุ่มทุนต่างชาติเเม้ช่วงเเรกๆ จะมีกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาร่วมลงทุนด้วย เเต่ในการระดมทุนซีรีส์ D และ E เป็นนักลงทุนจากไทยมากขึ้น

เมื่อพูดถึงเเบ็กอัพของ Flash ก็ต้องบอกว่าเป็นบริษัททุนหนาที่มีเงินลงทุนในมือหลายหมื่นล้าน มุ่งหา New Business เพื่อขยายเครือข่ายธุรกิจเดิม หลีกหนีการถูกดิสรัปต์ในยุคใหม่

เริ่มจาก SCB 10X บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ปลุกปั้นขึ้นมาเพื่อพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีเเละลงทุนในธุรกิจใหม่ มีเป้าหมายลงทุนในสตาร์ทอัพทั่วโลก การมีส่วนสร้างยูนิคอร์นในไทยคือหนึ่งในภารกิจหลัก ซึ่งการได้ Flash มาเป็นลูกรัก ก็คงจะได้เห็นการต่อยอดร่วมกันอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะบริการทางการเงิน 

ถัดมาคือบิ๊กพลังงานอย่าง OR บริษัทลูกของ ปตท. ที่เพิ่งขายหุ้น IPO สูงสุดเป็นประวัติการณ์ การจับมือกับ Flash จะช่วยขยายอีโคซีสเต็มได้ดี ทำให้ปั๊มน้ำมันที่มีอยู่ทั่วประเทศมาเป็นศูนย์กระจายสินค้าเเละจุดรับส่งพัสดุภายในร้าน Café Amazon เป็นการเพิ่มทราฟฟิกลูกค้าไปในตัว รวมไปถึงการบริการน้ำมันให้กับรถขนส่งของ Flash ที่มีมากกว่าหมื่นคัน

นอกจากนี้ยังมีกรุงศรีฟินโนเวตในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) อีกเเบงก์ที่มอบทุนก้อนใหญ่ให้สตาร์ทอัพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง E-commerce Ecosystem ที่สมบูรณ์ในเมืองไทยร่วมกัน เเละ Durbell ธุรกิจกระจายสินค้าในเครือกลุ่ม TCP เจ้าของเครื่องดื่มกระทิงแดง สปอนเซอร์ ฯลฯ ที่มาช่วยเสริมเเกร่งกันในด้านโลจิสติกส์ให้พร้อมขยายต่อไปในอาเซียน

ส่วน Kerry Express มีบริษัท เคแอลเอ็น โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ถือหุ้นใหญ่ ตามมาด้วย บมจ. วีจีไอ (บริษัทที่แยกออกมาจาก BTS) เเละกัลฟ์ โฮลดิ้งส์ โดย Kerry ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจสำคัญที่ทำกำไรให้กับเครือ BTS 

สงคราม ‘ตัดราคา’ เปิดสาขาที่ไหน…ไปด้วย 

Kerry Express บุกเบิกตลาดขนส่งพัสดุโดยเอกชนรายเเรก เป็นช่วงโอกาสธุรกิจที่ไปรษณีย์ไทย ณ ขณะนั้น ยังไม่ทรานส์ฟอร์มองค์กร ประเดิมด้วยการจัดส่งแบบ ‘Next Day’ เเละเป็นเจ้าแรกที่ให้บริการรับชำระเงินปลายทาง 

ผู้บริหาร Kerry เคยให้สัมภาษณ์กับ Positioning ว่าต้องการขยายจุดส่งพัสดุให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด จากตอนนี้ที่มีจุดให้บริการตามถนนสายหลักต่อไปจะเข้าไปหาลูกค้าตามซอกซอยให้ได้

ทั้งนี้ จุดให้บริการราว 15,000 ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศนั้น เป็นสาขาที่เคอรี่ดำเนินการเองราว 2,000 เเห่ง เป็นการจับมือกับพันธมิตรอีก 3,000 เเห่ง เเละที่เหลืออีกกว่า 1 หมื่นเเห่งเป็นสาขาของ SME รายย่อย มีจำนวนรถรับส่งพัสดุราว 25,000 คัน มียอดจัดส่งราว 1.9 ล้านชิ้นต่อวันทำการ ส่วนในไตรมาส 1/64 ปริมาณพัสดุเพิ่มสูงขึ้น 13% (หากเทียบกับไตรมาส 1/63)

เมื่อถามถึงการเเข่งขันด้านราคาที่หลายคนมองว่า Kerry อาจจะมีค่าบริการที่สูงกว่าเจ้าอื่นในตลาดนั้น ผู้บริหารตอบว่า บริษัทมีการดูเเลเรื่องนี้โดยตลอด เช่นการจัดเรตราคาตามหมวดหมู่ของสินค้า โดยอยากให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณภาพในการจัดส่งว่ามีความชัวร์เเละคุ้มค่า ในราคาที่ไม่เเพงไปกว่ากันมากนัก 

ท่ามกลางคู่แข่งที่เต็มไปหมด การบริการขยับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ Kerry ไม่อาจดำเนินกลยุทธ์เเบบที่เคยทำสมัยบุกเบิกตลาดได้ จึงต้องหาลูกเล่นใหม่ๆ มาทดลองตลาด อย่างการสร้างแบรนด์ให้เป็น Lifestyle & Creative Logistics ขณะที่บริษัทหน้าใหม่ๆ เน้นใช้การ ‘ตัดราคาเป็นตัวนำในการเจาะธุรกิจนี้

Flash Express ก็ใช้กลยุทธ์เรื่องราคา มาจับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องการลดต้นทุนการส่ง ด้วยการเป็นเจ้าเเรกที่ ‘รับพัสดุฟรีถึงที่ตั้งแต่ชิ้นแรก ให้บริการ 365 วันไม่หยุด’ ไม่ว่าลูกค้าจะส่งที่ช็อป หรือเรียกให้ไปรับ ค่าบริการไม่บวกเพิ่ม โดยในปี 2564 บริษัทมีจำนวนพัสดุเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 ล้านชิ้น เติบโตจากเดิมที่มียอดส่งพัสดุเฉลี่ยอยู่ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน

ตลาดขนส่งพัสดุในปีนี้ยังจะมีการแข่งขันกันใน 3 เรื่องหลัก คือ ราคา คุณภาพ และความคุ้มค่าในการให้บริการ ซึ่งน่าจะเป็น 3 เรื่องหลักที่ผู้เล่นทุกรายในตลาดยังคงต้องโฟกัส รวมไปถึงเรื่องความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการที่สุด

เเละตอนนี้ไม่ใช่เเค่คู่ปรับอย่าง Kerry เเละ Flash เท่านั้น ขนส่งเอกชนยังต้องสู้กับ J&T Express , Nim Express , SCG Express , Ninja Van เเละเจ้าอื่นๆ ที่พร้อมตัดราคากันเพื่อเเย่งลูกค้า ไม่เว้นเเม้เเต่ไปรษณีย์ไทย โดยมีราคาเริ่มต้นที่ราว 18-30 บาท

ส่วนใครขยายสาขาไปที่ไหน ก็พร้อมเฮตามกันไปที่นั่น เราจึงได้เห็นร้านข้างๆ กันที่มีทั้งค่ายสีส้ม สีเหลือง สีเเดง ฯลฯ โดยเริ่มขยายเป็นโมเดลแฟรนไชส์ ธุรกิจ Drop-Off มากขึ้น เพราะบริษัทเจ้าของเเบรนด์ไม่ต้องใช้เงินทุนมากนัก

ขณะเดียวกัน Lazada เเละ Shopee ก็เป็นสองคู่เเข่งที่น่ากลัว เมื่อเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลส ลงสนามมาเล่นธุรกิจขนส่งด้วยตัวเอง ดังนั้นก็มีเเนวโน้มที่จะ ‘จัดสรรพัสดุ’ ที่สั่งในเเพลตฟอร์มตัวเองมา ‘ส่งเอง’ ได้ด้วย

สตอรี่ ‘นักสู้’ กลายมาเป็นอีกหนึ่งจุดขาย 

ที่ผ่านมาธุรกิจโลจิสติกส์มักเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์มาเพื่อสื่อสารเเบรนด์ เน้นเป็นพระเอกดังที่ผู้คนรู้จักกันดี มีคาเเร็กเตอร์เป็นสายลุย น่าเชื่อถือ อย่าง Kerry Express ที่เลือกเวียร์ศุกลวัฒน์ คณารศ , Flash Express ที่เลือก ติ๊กเจษฎาภรณ์ ผลดี , BEST Express ขนส่งสัญชาติจีนที่เลือก ณเดชน์ คูกิมิยะ หรือ J&T Express ที่เลือกมาริโอ้ เมาเร่อ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์

ตอนนี้มีกิมมิกเล็กๆ เเต่น่าสนใจคือชีวิตของซีอีโอก็มาเป็นจุดขายของเเบรนด์ได้เหมือนกัน อย่างเรื่องราวการสู้ชีวิตของคมสันต์ แซ่ลีนักธุรกิจหนุ่มวัย 29 ปี จากดอยวาวี จังหวัดเชียงราย ผู้ก่อตั้ง Flash Express ด้วยคาเเร็กเตอร์ ‘กล้าคิด กล้าทำ มุ่งมั่น’

การเป็นคนรุ่นใหม่ที่สามารถปั้นธุรกิจ 3 ปีกว่าๆ ให้โตไปถึงระดับเป็นยูนิคอร์น กลายเป็นเเรงบันดาลใจให้ใครหลายคน สร้างการรับรู้เเละภาพจำให้คนรู้จักเเบรนด์มากขึ้น นอกจากนี้ ทักษะการนำเสนอที่ดี ความฉลาดเเละการสู้ไม่ถอย ก็มีส่วนที่ทำให้ผู้ลงทุนเชื่อมั่นและยอมให้เงินลงทุนด้วย

เเต่สงครามธุรกิจขนส่งพัสดุยังต้องสู้กันอีกยาวไกล นี่จึงเป็นเเค่การเเข่งขันยกใหม่ พร้อมเงินทุนก้อนใหม่เท่านั้น…ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็ต้องติดตามกันต่อไป

 

 

 

]]>
1335409