ตกงาน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Apr 2024 11:52:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 การมาของ AI จะแบ่งพนักงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ “คนที่ทำงานได้ดีขึ้น” กับ “คนที่ตกงาน” https://positioningmag.com/1470173 Tue, 16 Apr 2024 11:52:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470173 รายงานวิจัยจากสหรัฐฯ คาดว่า “AI” จะกระทบพนักงานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ “คนที่ทำงานได้ดีขึ้น” กับ “คนที่ตกงาน” โดยจะมี 20% ของพนักงานที่เสี่ยงตกงานในอนาคต และกลุ่มพนักงานรายได้ต่ำจะเสี่ยงมากที่สุด

ยังไม่มีอะไรที่แน่นอนนักเกี่ยวกับอนาคตของเทคโนโลยี AI แต่มี 3 อย่างที่ชัดเจนขึ้นแล้วในขณะนี้คือ 1) AI จะมากระทบหรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานนับล้านตำแหน่งในไม่กี่ปีข้างหน้า 2) AI น่าจะทำให้พนักงานบางส่วนทำงานได้ดีขึ้น และ 3) AI น่าจะมาทดแทนตำแหน่งงานบางตำแหน่งได้

แต่สุดยอดคำถามของเรื่องนี้คือ ‘จะมีพนักงานมากเท่าไหร่ และอาชีพไหน ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบมากที่สุดจาก AI ?’

สภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจแห่งทำเนียบขาว มีการออกรายงานวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า 20% ของพนักงานอเมริกันขณะนี้ อยู่ในตำแหน่งงานที่มี “ความเสี่ยงสูง” ที่จะได้รับผลกระทบเชิงลบจากเทคโนโลยี AI

คนกลุ่ม 20% นี้ไม่ได้จะถูกทดแทนด้วย AI โดยสิ้นเชิง แต่อาจจะถูกทดแทนได้เป็นบางส่วนในเนื้องานที่ทำ ซึ่งจะทำให้คนกลุ่มนี้ ‘เสี่ยง’ มากกว่าอาชีพอื่นๆ

รายงานชิ้นนี้สรุปไฮไลต์ไว้ว่า การมาของ AI จะเป็นข่าวดีของพนักงานบางกลุ่มและข่าวร้ายของอีกกลุ่ม เพราะการใช้ AI จะทำให้พนักงานกลุ่มหนึ่งมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ไม่ต้องใช้เวลามากกับงานที่น่าเบื่อ ได้รายได้สูงกว่าเดิม และอาจจะได้ทำงานน้อยลงเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ ขณะที่พนักงานอีกกลุ่มอาจจะต้องแข่งขันสูงขึ้น ถูกกดค่าแรงลง หรือเลวร้ายที่สุดคือใช้ AI ทำแทนพวกเขาได้เลย

 

งานที่ได้เงินเดือนต่ำมีความเสี่ยงสูงที่สุดที่จะถูก AI ทดแทน

รายงานนี้ไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าอาชีพไหนหรืออุตสาหกรรมไหนที่จะถูก AI มากระทบในทางลบมากที่สุด

แต่ทางสภาฯ ระบุเลยว่า พนักงานที่เสี่ยงที่สุดที่จะถูก AI ทดแทน ประกอบด้วย 2 ดัชนีชี้วัด คือ 1) เป็นอาชีพที่ AI สามารถทำแทนได้มาก 2) เนื้องานไม่ต้องการศักยภาพการทำงานที่สูงมากนักเนื่องจากเนื้องานไม่ยากหรือซับซ้อนเท่าไหร่ ทำให้ถูกทำเป็นระบบอัตโนมัติได้

สภาฯ พบว่ามี 10% ของพนักงานอเมริกันที่ตรงกับดัชนีชี้วัดทั้งสองข้อ และคนกลุ่มนี้มักจะเป็นพนักงานรายได้ต่ำและมีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าชั้นปริญญาตรี

นั่นหมายความว่า AI จะเข้ามาทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นไปอีก เพราะจะมาทดแทนแรงงานในกลุ่มรายได้ต่ำ แต่กลับทำให้งานที่ได้รายได้สูงยิ่งได้เงินเดือนเพิ่มสูงขึ้นอีก

อย่างไรก็ตาม รายงานนี้ยังชี้ด้วยว่า บางครั้ง AI อาจจะมาแทนที่อาชีพหนึ่งได้ แต่อาจจะเกิดเป็นอาชีพใหม่ขึ้นมาด้วย เช่น หากวันหนึ่ง “รถโรงเรียน” สามารถขับเคลื่อนอัตโนมัติได้เอง จนไม่ต้องมีอาชีพ “คนขับรถโรงเรียน” แต่ในเหตุการณ์จริงโรงเรียนและสังคมย่อมต้องการบุคลากรที่เป็นผู้ใหญ่ทำหน้าที่ “คนดูแลบนรถ” คอยกำกับดูแลนักเรียนอยู่ดี ซึ่งก็เป็นไปได้ที่โรงเรียนจะยังจ้างคนขับรถต่อไปเพียงแต่ต้องเปลี่ยนไปทำหน้าที่แบบอื่น

 

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมักจะ ‘ช่วย’ คนหนึ่งแต่ ‘ทำร้าย’ อีกคน

AI ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งแรกในเชิงเศรษฐกิจ หากย้อนกลับไปเมื่อทศวรรษ 1980s ในช่วงที่ประเทศจีนเริ่มขึ้นมาเป็นตัวแปรสำคัญในการค้าโลก นักเศรษฐศาสตร์บางคนเชื่อว่า การล้นทะลักเข้ามาของสินค้าจีนต้นทุนต่ำจะเป็นคุณแก่สหรัฐฯ แม้ว่าภาคการผลิตท้องถิ่นของสหรัฐฯ เองต้องพ่ายแพ้ไป

“คนที่เสียอาชีพการงานไปเพราะสินค้าจีนเข้ามาทุบตลาดย่อมเกิดอาการช็อก แต่คนอื่นๆ จะได้สินค้าราคาถูกจาก Walmart หรือ Target หรือห้างอื่นๆ” Angus Deaton นักเศรษฐศาสตร์ผู้ชนะรางวัล Nobel Memorial Prize กล่าวกับ Business Insider “และทฤษฎียังบอกด้วยว่า คุณค่าที่เราได้รับมากกว่าสิ่งที่เราสูญเสียไป”

อย่างไรก็ตาม Deaton เองก็เริ่มไม่ค่อยแน่ใจมากขึ้นๆ ว่าการแลกในครั้งนั้นยังถือว่าคุ้มค่าหรือไม่ ดังนั้น การมาของ AI นั้นก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นคุณและคุ้มค่ากับชาวอเมริกันหรือเปล่า

Source

]]>
1470173
เยอะจนไม่กล้าเปิดเผย? ‘จีน’ ประกาศงดเผยแพร่สถิติการ “ว่างงานของเด็กจบใหม่” หลังตัวเลขพุ่งสูงต่อเนื่อง https://positioningmag.com/1440948 Tue, 15 Aug 2023 05:31:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440948 ย้อนไปในช่วงเดือนมิถุนายน อัตราการว่างงานของเยาวชนจีนพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่  21.3% นอกจากนี้ ยังเห็นตัวเลขของ เด็กจบใหม่เกือบครึ่งที่เดินทางกลับบ้านเกิด เพราะไม่สามารถสู้ค่าครองชีพในเมืองใหญ่ ๆ ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้

หลังจากที่เปิดเผยข้อมูลของการดำเนินงานในโรงงานอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้ ล่าสุด สำนักงานสถิติของจีน (NBS) ก็ได้ออกมาประกาศว่า นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป สำนักงานจะ ระงับการเผยแพร่ข้อมูลการว่างงานของเยาวชน (อายุ 16-24 ปี) อย่างไม่มีกำหนด โดยอ้างว่า ต้องปรับปรุงกลไกการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลใหม่

เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ตกต่ำ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายบางฉบับที่ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยี และการศึกษาได้รับผลกระทบ ส่งผลไปถึงการจ้างงานในจีน โดยเฉพาะเยาวชนและเด็กจบใหม่ที่มีสถิติการว่างงานสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา 

ปัญหาใหม่เศรษฐกิจจีน: วัยรุ่น 1 ใน 5 คน​ “ว่างงาน” เรียนจบสูงแต่ไม่มีตำแหน่งรองรับ

โดยอัตราการว่างงานโดยรวมของจีนในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 5.3% เพิ่มขึ้นจาก 5.2% ในเดือนมิถุนายน ขณะที่ อัตราการว่างงานในกลุ่มวัยรุ่นจีน ช่วงเดือนมิถุนายนสูงถึง 21.3% ถือเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่ โดยถือว่าเพิ่มขึ้น 0.5% จากสถิติของเดือนพฤษภาคมซึ่งอยู่ที่ 20.8% และเมื่อเดือนที่แล้ว ศาสตราจารย์ชาวจีนคนหนึ่ง คาดว่า อัตราว่างงานของเยาวชนที่แท้จริงในประเทศอาจเข้าใกล้ 50% ในเดือนมีนาคม

ตัวเลขที่ศาสตราจารย์คนดังกล่าวนั้นใกล้เคียงกับตัวเลขของ ผู้สำเร็จการศึกษาราว 47% กลับบ้านเกิดภายใน 6 เดือนหลังจากสำเร็จการศึกษาในปี 2022 เพิ่มขึ้นจาก 43% ในปี 2021 เนื่องจากเด็กจบใหม่ที่หางานไม่ได้เดินทางออกจากเมืองใหญ่กลับสู่บ้านเกิด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าครองชีพในเมืองใหญ่ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกรุงปักกิ่งที่มีค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้น 5% และนครกว่างโจวและนครเซินเจิ้น ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.8%

จากการตัดสินใจของ NBS ที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลการยว่างงานของเด็กจบใหม่ได้ถูกนำไปล้อเลียนและวิพากษ์วิจารณ์ทันทีบน Weibo แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของจีน โดยแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องได้รับการดูมากกว่า 10 ล้านครั้ง 

Source

]]>
1440948
ยอดขาย ‘ลอตเตอรี่’ ของจีนโตสูงสุดในรอบ 10 ปี เหตุเด็กจบใหม่ตกงานสูง อยากรวยในชั่วข้ามคืน https://positioningmag.com/1434733 Tue, 20 Jun 2023 06:53:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434733 ดูเหมือนว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ จะทำให้คนหันไปพึ่ง ดวง มากกว่าจะทำงานไปวัน ๆ แล้วไม่รู้จะรวยตอนไหน อย่างในประเทศจีนตอนนี้ ยอดขาย ลอตเตอรี่ กำลังเติบโตอย่างมาก ขณะที่ อัตราว่างงาน ของคนอายุน้อยก็พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์เช่นกัน

ถ้าพอมีความหวังอยู่สักนิดที่จะรวยจาก หวย รวยเพราะ รางวัลที่ 1 ใคร ๆ ก็คงอยากจะเสี่ยงดูจริงไหม แน่นอนว่าไม่ใช่แค่คนไทยที่คิด แต่คนจีนก็ไม่ต่างกัน โดย ยอดขายลอตเตอรี่ในจีนช่วง 4 เดือนแรกของปี มีมูลค่าถึง 175.15 พันล้านหยวน เติบโต 49.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

หากนับยอดขายเฉพาะในเดือนเมษายนมีมูลค่าสูงถึง 50.33 พันล้านหยวน เติบโตขึ้น 62% ซึ่งเป็นการ เติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี

ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์กับการขายสลากกินแบ่ง โดยนักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า สาเหตุที่ยอดขายลอตเตอรี่พุ่งสูงเป็นเพราะ คนหนุ่มสาว มีความต้องการที่จะเสี่ยงโชคมากขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นหลังเกิดโรคระบาด โดย อัตราว่างงานของเด็กจบใหม่นั้นสูงถึง 20.4% แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การเติบโตของ GDP ของจีนในไตรมาสแรกอยู่ที่ 4.5% เท่านั้น โดยมีพนักงานเอกชนหลายคนระบุว่า เพราะกลัวจะ ตกงาน เลยต้องซื้อลอตเตอรี่

“คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวัยรุ่นหวังที่จะร่ำรวในชั่วข้ามคืนด้วยการลงทุนเงินเล็กน้อยในการซื้อลอตเตอรี่ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เนื่องจากคนหนุ่มสาวจำนวนมากไม่มีอะไรทำเลยเลือกจะเสี่ยงกับลอตเตอรี่” ยี่ เซียนหรง นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิงเต่า กล่าว

ย้อนไปในปี 2492 พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ปกครองจีนสั่งห้ามการพนันหลังจากเข้ายึดอำนาจ แต่ลอตเตอรี่ถือเป็นสินค้าที่ขายโดยรัฐ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่เริ่มจำหน่ายในปี 2523 โดยทั่วไปลอตเตอรี่จะขายในรูปแบบของผ่านร้านที่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีตั้งแต่ร้านที่ขายเฉพาะลอตเตอรี่ ไปจนถึงเคาน์เตอร์ในซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ทำการไปรษณีย์ และปั๊มน้ำมัน

Source

]]>
1434733
CEO ของ IBM เผย “บริษัทเตรียมชะลอการจ้างงานในตำแหน่งที่ AI สามารถทดแทนได้” https://positioningmag.com/1429348 Wed, 03 May 2023 02:03:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429348 ผู้บริหารสูงสุดของ IBM ได้กล่าวว่าบริษัทเตรียมชะลอการจ้างงานในตำแหน่งที่ AI และระบบอัตโนมัติ สามารถทดแทนได้ภายในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งงานบางตำแหน่งในสำนักงานที่มีความเสี่ยงมากที่สุด 

Arvind Krishna ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ IBM ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง Bloomberg โดยกล่าวว่าบริษัทเตรียมชะลอการจ้างงานในตำแหน่งที่ AI สามารถทดแทนได้ภายในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ คาดว่าตำแหน่งงานที่อาจได้รับผลกระทบในระยะใกล้นี้จะกระทบมากถึง 7,800 ตำแหน่ง

CEO ของ IBM ยังได้กล่าวว่าภายใน 5 ปีหลังจากนี้ พนักงานมากถึง 30% โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นงานด้านทรัพยากรบุคคล ไปจนถึงงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับลูกค้านั้นอาจกระทบกับพนักงานสูงถึง 26,000 ตำแหน่ง

ความสามารถแชทบอทระบบ AI ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT ยังแสดงความสามารถในการช่วยทำงานในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือด้านการเขียน ไปจนถึงการตรวจสอบการเขียนโปรแกรม ฯลฯ ทำให้หลายฝ่ายกังวลถึงเรื่องตำแหน่งงานของมนุษย์ในอนาคตเช่นกัน

สอดคล้องกับคาดการณ์จาก World Economic Forum (WEF) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากบริษัทชั้นนำกว่า 800 แห่งทั่วโลกพบว่าเมื่อบริษัทต่างๆ ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อาจทำให้ตำแหน่งงานทั่วโลกสั่นคลอนในอีก 5 ปีข้างหน้า

ปัจจุบัน IBM มีพนักงานจำนวนมากถึง 260,000 ราย ซึ่งมีทั้งตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไปจนถึงพนักงานด้านการขาย CEO ของ IBM ยังได้กล่าวว่าปัจจุบันการหาพนักงานใหม่นั้นถือเป็นเรื่องที่ง่ายลง เมื่อเทียบกับช่วง 1 ปีก่อนหน้านี้ หลังจากบริษัทต่างๆ เริ่มมีการปลดพนักงานออกมาจากแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นใจ

อย่างไรก็ดี CEO ของ IBM ยังได้กล่าวว่า จะมีการย้ายพนักงานระหว่างแผนกเกิดขึ้น นอกจากนี้งานในองค์กรบางอย่าง เช่น การประเมินองค์กรในเรื่องของกำลังคนรวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายด้านทรัพยากรบุคคลนั้นอาจจะไม่ถูก AI แทนที่ในทศวรรษหน้า

]]>
1429348
โควิดปี 2020 ทำให้ชาวอาเซียนกว่า 4.7 ล้านคน ‘ยากจนขั้นรุนเเรง’ ตกงาน-ไม่มีรายได้ https://positioningmag.com/1377981 Thu, 17 Mar 2022 08:25:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377981 การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีที่เเล้ว มีส่วนทำให้ประชาชนในอาเซียนเข้าสู่ภาวะยากจนขั้นรุนแรง’  (Extreme Poverty) เพิ่มขึ้นกว่า 4.7 ล้านคน เเละสูญเสียงานถึง 9.3 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโรคระบาด

การระบาดใหญ่นำไปสู่การว่างงานเป็นวงกว้าง ความเหลื่อมล้ำที่เลวร้ายลง และความยากจนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิง เเรงงานที่อายุน้อยและผู้สูงอายุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” Masatsugu Asakawa ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าว

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา เนื่องจากยังคงต้องต่อสู้กับโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่า ADB คาดว่าการเติบโต 5.1% ในปี 2022 จากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง แต่ก็เตือนว่าหากเกิดไวรัสกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ ก็สามารถลดการเติบโตได้มากถึง 0.8%

ภาพรวมเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงเปราะบางเเละหลายครัวเรือน กำลังเผชิญการสูญเสียรายได้เเละต้องเเบกรับหนี้สินจำนวนมาก

โดยประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 มากที่สุดในภูมิภาคนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ ได้แก่ เวียดนาม 6.55 ล้านคน , อินโดนีเซีย 5.91 ล้านคน และมาเลเซีย 3.87 ล้านคน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือแรงงานไร้ทักษะผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและเศรษฐกิจนอกระบรายย่อยตลอดจนธุรกิจที่ไม่ได้ใช้ดิจิทัล

ผลกระทบของการระบาดใหญ่ส่งผลต่อความยากจนและการว่างงาน ทำให้การเข้าถึงโอกาสของคนยากจนยิ่งแย่ลงไปอีก” ADB ระบุ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น ความเหลื่อมล้ำอย่างรุนเเรงจะส่งต่อไปยังรุ่นต่อรุ่น

ภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมากในการเติบโต อย่างเช่น ประเทศไทย โดยคาดว่าจะค่อยๆ เห็นการฟื้นตัวขึ้น เมื่อมีการเปิดพรมแดนเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น เป็นโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวมจะเพิ่มขึ้น 58% ในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับปี 2019 ถึง 64%

ในปัจจุบัน สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงการขนส่ง ที่พัก นันทนาการและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ ยังคงอ่อนแอ เพราะการเดินทางยังคงถูกจำกัดและมีการบังคับเว้นระยะห่างทางสังคม

โดย ADB เรียกร้องให้รัฐบาลในอาเซียนจัดสรรเงินลงทุนเพิ่มเติมในระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อปรับปรุงการเฝ้าระวังโรค และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ในอนาคต การเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาจเพิ่มขึ้นอีก 1.5% หากการใช้จ่ายด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้มีมูลค่าเเตะ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ 3%

 

ที่มา : CNBC , ADB 

]]>
1377981
อัปเดต : คนไทย ‘ว่างงาน’ ลดลงเหลือ 6.3 แสนคน เด็กรุ่นใหม่ 15-24 ปี ตกงานยาวมากสุด https://positioningmag.com/1373142 Mon, 07 Feb 2022 14:18:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373142 อัปเดตอัตราการ ‘ว่างงานของคนไทย มีเเนวโน้มลดลงเหลือ 6.3 แสนคน เเต่ต้องระวังผู้เสมือนว่างงานที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้ทำงานน้อยกว่า 10 ชั่วโมงเเละ1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ยังมีมากถึง 5.3 แสนคน ขณะที่คนรุ่นใหม่ 15-24 ปี เป็นกลุ่มที่ตกงานระยะยาวมากที่สุด

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 4 ปี 2564 ระบุว่า โครงสร้างตลาดแรงงานไทย เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงโควิด-19 พร้อมๆ กับการที่ผู้ประกอบการได้ลดการจ้างแรงงานลงและเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีมากขึ้น 

แรงงานถูกเลิกจ้างหรือถูกพักงาน โดยไม่มีรายได้หรือลดรายได้ จากการลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน รวมถึงแรงงานที่จบการศึกษาใหม่ มีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น

เเนวโน้มว่างงานลดลง 

จากผลสำรวจพบว่า โครงสร้างกำลังแรงงานไตรมาส 4 ปี 2564 ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 57.2 ล้านคน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 38.6 ล้านคน และในจำนวน 38.6 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 37.9 ล้านคน (ไตรมาส 3 จำนวน 37.7 ล้านคน)

  • ผู้ไม่มีงานทำ 6.3 แสนคน (ไตรมาส 3 จำนวน 8.7 แสนคนและเป็นผู้รอฤดูกาลประมาณหนึ่งแสนคน
  • ผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน มีจำนวน 18.5 ล้านคน โดยอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานไตรมาส 4 ปี 2564 คือ 67.6%

ทั้งนี้ ผู้ชายมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานมากกว่าผู้หญิง (76.0% เเละ 59.7%) และเมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ อัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานอายุ 55-64 ปี คือ 68.8% ในขณะที่อายุ 65 ปีขึ้นไป คือ 27.1%

สถานการณ์แรงงานไตรมาส 4 ปี 2564 มีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2564 ภายหลังจากมาตรการด้านโควิดของรัฐบาลเริ่มผ่อนคลายขึ้น แรงงานมีงานทำมากขึ้น และมีการเคลื่อนย้ายแรงงานกลับเข้ามาสู่ภาคการบริการและการค้า และภาคการผลิต

อัตราการมีงานทำอยู่ที่ 66.3% โดยส่วนใหญ่ทำงานในภาคการบริการและการค้า (45.1%) รองลงมาคือ ภาคเกษตรกรรม และภาคการผลิต ตามลำดับ (33.2% และ 21.6%)

อาชีพกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรป่าไม้ และประมงเป็นกลุ่มอาชีพที่มีอัตราการมีงานทำมากที่สุด รองลงมา คือพนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า

Photo : Shutterstock

5.3 แสนคน ยังมีชั่วโมงการทำงานที่น้อยมาก 

เมื่อวิเคราะห์เชิงลึก พบว่า อาชีพกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง มีอัตราการมีงานทำสูงที่สุด

ประเด็นที่น่าสนใจคือ การทำงานที่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานในรอบสัปดาห์ที่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง (49.3%) และน้อยกว่า 1 ชั่วโมง (39.8%) คิดเป็นจำนวนแรงงานกว่า 5.3 แสนคนมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพกลุ่มอื่น

สำหรับกลุ่มอายุที่มีงานทำสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-54 ปี 35-44 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ

โดยอัตราการมีงานทำอยู่ระหว่าง 21 – 24% ในขณะที่การมีงานทำของเยาวชนหรือผู้ที่มีอายุ 15-24 ปี อัตราการมีงานทำประมาณ 9%

ผู้มีงานทำในไตรมาส 4 ปี 2564 ที่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ 35-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2563 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

เมื่อพิจารณาชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ของผู้มีงานทำน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พบว่า มีจำนวน 6.95 ล้านคน เป็นกลุ่มไม่ประสงค์ทำงานเพิ่ม 6.51 ล้านคน และประสงค์ทำงานเพิ่ม 0.44 ล้านคน สำหรับผู้ที่มีจำนวนชั่วโมงทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และประสงค์ที่จะทำงานเพิ่มนั้น เรียกว่า ผู้ทำงานต่ำระดับด้านเวลา คิดเป็น 1.2 % ส่วนผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (โอกาสเป็นผู้ว่างงานแฝง) คิดเป็น 1.9%

คนรุ่นใหม่ ตกงานยาว 1 ปีขึ้นไป 

สถานการณ์การว่างงานมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีขึ้น ผลสำรวจพบว่า ผู้ว่างงานลดลงจาก 8.7 แสนคน ในไตรมาส 3 เหลือ 6.3 แสนคนในไตรมาส 4 เป็นผลต่อเนื่องมาจากมาตรการภาครัฐที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆรวมถึงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศในพื้นที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสำคัญๆ

โดยระยะการว่างงานของผู้ว่างงาน ประมาณ 62% เป็นการว่างงานระยะกลาง และเป็นการว่างงานของเยาวชนมากที่สุด ในจำนวนผู้ว่างงานทั้งหมด แบ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 3.8 แสนคน และไม่เคยทำงานมาก่อน 2.5 แสนคน ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน มีแนวโน้มว่าจะเป็นนักศึกษาจบใหม่

จากสถิติการศึกษาในแต่ละปีมีผู้สำเร็จการศึกษาในทุกระดับประมาณสามแสนคน และเมื่อสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมในการหางาน หรือสมัครงานของ ผู้ว่างงานทั้งที่เคยทำงานก่อน และไม่เคยทำงานมาก่อน พบว่าในช่วง 8-30 วันที่ผ่านมา มีการหางานและสมัครงาน ประมาณร้อยละ 50 (ไม่เคยทำงานมาก่อน 54.5% เคยทำงานมาก่อน 46.9%)

ปัญหาการว่างงานระยะยาว หรือ การว่างงานที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่สะท้อนระดับปัญหาการว่างงานของประชากร

โดยในไตรมาส 4 อัตราการว่างงานระยะยาวในสัดส่วนที่สูง คือ 0.4 % ในขณะที่ไตรมาส 3 อยู่ที่ 0.2 % นอกจากนี้ ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่การว่างงานระยะยาวเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 15-24 ปี รองลงมา คือ ผู้ที่มีอายุ 25-34 ปี

Photo : Shutterstock

จับตา ‘ผู้เสมือนว่างงาน’ เพิ่มขึ้น 

ขณะเดียวกัน ผู้เสมือนว่างงานก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มผู้ที่มีงานทำภาคเกษตรกรรม 0-20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และกลุ่มผู้ที่มีงานทำนอกภาคการเกษตรกรรม 0-24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เรียกว่าผู้เสมือนว่างงาน

จากผลสำรวจในไตรมาส 4 ปี 2564 มีจำนวน 2.6 ล้านคน เพิ่มจากไตรมาส 3 ปี 2564 2.6 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอาชีพในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งคนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นผู้ว่างงานในอนาคตได้

 

]]>
1373142
สิงคโปร์ เริ่มใช้มาตรการคุมเข้ม เเรงงานที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด เสี่ยง ‘ตกงาน’ https://positioningmag.com/1370513 Sun, 16 Jan 2022 10:26:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370513 เเรงงานในสิงคโปร์ที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด กำลังจะตกอยู่บนความเสี่ยงที่จะตกงาน หลังรัฐบาลเริ่มใช้มาตรการคุมเข้มที่ประกาศใช้ตั้งเเต่วันที่ 15 .. เป็นต้นไป

Bloomberg รายงานว่า ช่วงเวลาผ่อนปรนที่รัฐเคยอนุญาตให้ผู้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือผู้ที่ตรวจพบเชื้อเป็นลบสามารถเข้าไปในที่ทำงานได้จะถูกยกเลิก ตั้งเเต่วันที่ 15 ..64

โดยนายจ้างมีสิทธิ์ที่จะโยกย้ายพนักงานที่ไม่ฉีดวัคซีนไปทำงานที่ทำได้จากบ้าน หรือให้พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง  หรือทางเลือกสุดท้ายคือให้ออกจากงาน หากพวกเขาไม่สามารถที่จะทำงานโดยไม่เข้าออฟฟิศได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนด้วยเหตุผลทางการแพทย์ จะยังคงได้รับอนุญาตให้อยู่ในสำนักงานได้ เเต่นายจ้างควรพิจารณาอนุญาตให้พวกเขาทำงานจากที่บ้านหากสามารถทำได้ และไม่ควรมีผลต่อการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาด้วย

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงที่สุดในโลกที่ 87% ของประชากรทั้งหมด และได้ใช้แนวทางปฏิบัติที่เข้มงวดกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน

โดยมีการห้ามไม่ให้เข้าใช้บริการในร้านอาหาร หรือเข้าไปซื้อของในห้างสรรพสินค้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงการแพร่ระบาด ที่จะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ เเละใช้นโยบายอยู่ร่วมกับโควิด’ เปิดให้ผู้คนใช้ชีวิตตามเป็นปกติแบบค่อยเป็นค่อยไป

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสิงคโปร์ ออกกฎเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เลือกไม่ฉีดวัคซีน หลังยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับมาพุ่งสูง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

ด้านเอกชนสหรัฐฯ ก็มีความเคลื่อนไหวที่เข้มงวดมากขึ้น อย่าง Citigroup สถาบันการเงินรายใหญ่ของโลก ที่ประกาศใช้มาตรการเข้มงวด ‘no-jab , no job’ เลิกจ้างพนักงานที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด ตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้พนักงานทุกคนที่ทำงานภายใต้โครงการที่มีการทำสัญญากับรัฐ จะต้องฉีดวัคซีนโควิดให้ครบโดส ท่ามกลางความเสี่ยงของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว 

 

ที่มา : Bloomberg

]]>
1370513
ผลสำรวจชี้ โควิดทำ ‘วัยรุ่นอาเซียน’ ยิ่งเครียดเรื่องหางาน ‘ธุรกิจส่วนตัว’ อาชีพในฝันอันดับ 1 https://positioningmag.com/1368035 Tue, 21 Dec 2021 12:42:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368035 หากอ้างอิงภาพรวมตลาดการหางานในไทยจาก จ๊อบส์ ดีบี พบว่าการระบาดระลอก 4 ของ COVID-19 ในไทยทำให้ประกาศงานหายไปเกือบ 50% อัตราการแข่งขันของผู้หางานอยู่ที่ 80 ใบสมัครต่อ 1 ประกาศงาน ขณะที่เด็กจบใหม่ยิ่งลำบาก เนื่องจากบริษัทต้องการเลือกจ้างคนที่มีประสบการณ์มากกว่าเด็กจบใหม่ และจากการสำรวจของ DHL พบว่าไม่ใช่แค่ไทย แต่วัยรุ่นทั้ง อาเซียน ต่างก็มีความกังวลในการหางาน

90% กังวลเรื่องความสามารถในการหางาน

ดีเอชแอล ผู้ให้บริการลอจิสติกส์ ได้เผยแพร่รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการหางานของเยาวชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยบริษัทฯ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นทางออนไลน์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ และได้รวบรวมคำตอบจากเยาวชนอายุ 15 ปีขึ้นไปกว่า 950 คนจาก 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา และเวียดนาม โดยพบว่า

  • กว่า 90% รู้สึก วิตกกังวล หรือ วิตกกังวลอย่างมาก เกี่ยวกับความสามารถของตนเองในการหางาน
  • เกือบ 95% ยอมรับว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อกระบวนการหางาน

อย่างไรก็ตาม เยาวชนเหล่านี้ยังคงมีความรู้สึกเชื่อมั่น และมองโลกในแง่ดี โดย 88% เชื่อว่าตนเองมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน และกว่า 70% คาดว่าจะสามารถหางานได้ในระยะเวลาไม่ถึง 6 เดือนหลังจากที่จบการศึกษา

“คนรุ่นใหม่ในตลาดแรงงานอาจรู้สึกวิตกกังวลกับความไม่แน่นอนของอาชีพการงาน ราว 66% ของคนไทยเผยว่าภาวะการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสาเหตุของความเครียด ขณะที่อีก 62% มองว่าเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยติดต่อกันเป็นเวลานาน” เฮอร์เบิต วงษ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย กล่าว

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDC) เผยว่ามีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 870,000 คนในไตรมาสที่สามของปี 2564 และผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงสุด (3.63%) ตามด้วยผู้จบการศึกษาระดับปวส. (3.16%)

สาธารณสุขและการแพทย์ อาชีพมั่นคงสูง

เยาวชนกว่า 360 คนจากในอาเซียน รู้สึกว่าการทำงานในสายด้านสาธารณสุขและการแพทย์ เช่น แพทย์ หรือพยาบาล เป็นอาชีพที่มั่นคงที่สุดในภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าบุคลากรเหล่านี้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก

แต่ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เมื่อถามว่างานแรกที่อยากทำมากที่สุดคืออะไร มากกว่า 20% ตอบว่าอยากทำธุรกิจส่วนตัว เปรียบเทียบกับ 14% ที่เลือกสายงานด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ซึ่งที่จริงแล้ว ตำแหน่งงานในภาคการศึกษา และธุรกิจโรงแรม/ท่องเที่ยว ครองอันดับที่สองและสาม ส่วนการแพทย์อยู่ในอันดับที่สี่

ความท้าทายเป็นปัจจัยสำคัญสุดในการเลือกงาน

สำหรับปัจจัยที่วัยรุ่นมองว่าเป็น สิ่งสำคัญที่สุดในการพิจารณาตกลงการเข้าทำงาน คือ โอกาสในการเรียนรู้ และความท้าทาย ตามด้วย ความมั่นคงของงาน โดยผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 20% ระบุว่าปัจจัยนี้มีความสำคัญอย่างมาก และที่ไม่น่าแปลกใจคือ ราว 38% ของเยาวชนที่ตอบแบบสอบถามมองว่าวิธีการแบบเดิม ๆ เช่น การฝึกงาน เป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงาน รวมถึงคำแนะนำจากผู้สอนงานและอาจารย์ก็เป็นตัวช่วยที่สำคัญ

และถึงแม้ว่าแหล่งรวมตำแหน่งงานทางออนไลน์จะเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน แต่ก็ถูกมองว่าเป็นช่องทางที่มีประโยชน์น้อยที่สุด เพราะไม่มีการสร้างความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเหมือนกับการเป็นพนักงานฝึกหัด หรือการที่มีคนช่วยแนะนำในการเข้าทำงาน ทั้งนี้ นอกเหนือจากทักษะด้านเทคนิคและความถนัดเฉพาะทางแล้ว 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลก็มีความสำคัญเช่นกัน ขณะที่ 30% คิดว่าทักษะด้านภาษาจะช่วยในการหางานได้ง่ายขึ้น

]]>
1368035
อัปเดต : คนไทยว่างงาน 8.7 แสนคน หนี้ครัวเรือนพุ่ง 14.27 ล้านล้าน ระวังหนี้เสียบัตรเครดิต https://positioningmag.com/1363146 Mon, 22 Nov 2021 07:38:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363146
อัปเดตตัวเลขผู้ว่างงาน Q3/64 มีมากกว่า 8.7 แสนคน สูงสุดนับตั้งแต่เกิดโควิด-19 เด็กจบใหม่หางานยาก หนี้ครัวเรือนไทยยังพุ่งต่อเนื่อง เเม้สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP จะปรับลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ต้องเฝ้าระวังหนี้เสียจากบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคลที่เพิ่มขึ้น

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผย ภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/64 พบว่า การว่างงาน เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่มีการระบาดของโควิด โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 2.25%

ผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงสุด 3.63% รองลงมาเป็น ปวส. 3.16% ซึ่ง ผู้ว่างงานส่วนใหญ่จบในสาขาทั่วไป (บริหารธุรกิจ การตลาด) จึงมีแนวโน้มประสบปัญหาการว่างงานยาวนานขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้อย่างจำกัด และคนกลุ่มนี้ที่มีทักษะไม่ต่างกัน จึงหางานได้ยากขึ้น

เด็กจบใหม่ หางานยาก

โดยแรงงานที่มีอายุ 15-19 ปี มีอัตราการว่างงานสูงสุด 9.74% รองลงมาเป็นอายุ 20-24 ปี ที่ 8.35% สะท้อนว่าโควิดส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการที่เคยชะลอการเลิกจ้างบางส่วนไม่สามารถรับภาระต่อได้และจำเป็นต้องเลิกจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น

“เด็กจบใหม่ยังไม่มีตำแหน่งรองรับ เนื่องจากผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบและรอดูสถานการณ์ จึงชะลอการขยายตำแหน่งงาน” 

ทั้งนี้ การว่างงานของแรงงานในระบบ มีสัดส่วนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานต่อผู้ประกันตนอยู่ที่ 2.47% ลดลงจากช่วงไตรมาสก่อนหน้าและปีก่อน เนื่องจากช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและผู้ประกันตนในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ประกอบกับสถานประกอบการมีการหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัยแทนการเลิกจ้าง ซึ่งมีจำนวนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย 2.1 แสนคน ในเดือนกันยายน 2564 เพิ่มขึ้นจาก 0.9 แสนคน ณ สิ้นไตรมาสก่อน

ภาพรวมการจ้างงาน ผู้มีงานทำ มีจำนวนทั้งสิ้น 37.7 ล้านคน ลดลง 0.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมยังคงขยายตัวได้ ซึ่งมีการจ้างงาน 12.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.0% เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มฤดูการเพาะปลูกข้าว

การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมลดลง 1.3% โดยสาขาที่มีการจ้างงานลดลงมาก ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ที่ลดลงถึง 7.3% และ 9.3% ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลของมาตรการควบคุมการเปิดปิดสถานประกอบการ ทั้งการปิดแคมป์คนงาน และจำกัดการขายอาหาร

สำหรับสาขาที่ขยายตัวได้ ประกอบด้วย สาขาการผลิต ขายส่ง/ขายปลีก และสาขาขนส่ง/เก็บสินค้า ขยายตัวได้ 2.1% 0.2 และ 4.6% ตามลำดับ สาขาการผลิตที่มีการจ้างงานขยายตัวได้ดี อาทิ การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตรถยนต์ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ทางการแพทย์

สำหรับ ชั่วโมงการทำงานหลักโดยเฉลี่ยของภาคเอกชนอยู่ที่ 43.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีชั่วโมงการทำงานอยู่ที่ 44.0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีผู้ว่างงานชั่วคราวสูงถึงเกือบ 9 แสนคน (ผู้มีงานทำที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ หรือทำงาน 0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาทิ ลาหยุด ลาป่วย ถูกพักงาน หรือสถานประกอบการหยุดกิจการชั่วคราว) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนเพียง 4.7 แสนคน เท่านั้น

Photo : Shutterstock

สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป ได้แก่

1.การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อการจ้างงานในภาคการท่องเที่ยว และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเปิดประเทศยังต้องมีมาตรการเพิ่มเติม คือ การควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดที่ต้องเข้มงวดขึ้น

“การหามาตรการช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็ก การอำนวยความสะดวกในการจ้างงานให้กับภาคท่องเที่ยวซึ่งอาจมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และการดำเนินมาตรการอื่นควบคู่เพื่อฟื้นฟู่เศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยเฉพาะจากโครงการ พ.ร.ก.กู้เงินฯ ฉบับใหม่ ซึ่งต้องเน้นให้เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น”

2.ผลกระทบของอุทกภัยต่อแรงงานภาคเกษตรและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร โดยรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาเบื้องต้นจากความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ทั้งนี้ อาจต้องมีมาตรการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อนำไปใช้ในการซ่อมแซมบ้านเรือนและเป็นทุนในการทำการเกษตรอีกทางหนึ่ง

3.ภาระค่าครองชีพที่อาจปรับเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ว่างงานชั่วคราวที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 7.8 แสนคน ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีปัญหาในการดำรงชีพ

4.การจัดการปัญหาการสูญเสียทักษะจากการว่างงานเป็นเวลานานและการยกระดับทักษะให้กับแรงงาน โดยในระยะถัดไป ภาครัฐอาจส่งเสริมให้แรงงานโดยเฉพาะกลุ่มผู้ว่างงานเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะให้เพิ่มขึ้น

5. การส่งเสริมให้แรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระที่ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อรับการช่วยเหลือเยียวยาให้เป็นผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง

หนี้ครัวเรือนพุ่งไม่หยุด ระวังหนี้บัตรเครดิต

ด้าน ‘หนี้สินครัวเรือน’ ไตรมาส 2 ปี 2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.27 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.3 ต่อ GDP ลดลงจากร้อยละ 90.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วกว่าหนี้สินครัวเรือน

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด ด้านคุณภาพสินเชื่อยังต้องเฝ้าระวังหนี้บัตรเครดิตที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น

แม้ว่าสัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อบัตรเครดิตต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน จากร้อยละ 3.04 ในไตรมาสก่อนมาเป็นร้อยละ 3.51 รวมถึงลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสียจากบัตรเครดิต 1 ใน 3 เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี

หนี้สินครัวเรือน ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุจาก

  • ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับปกติ แม้ว่าทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว แต่เป็นการขยายตัวจากฐานต่ำ สะท้อนว่ารายได้ครัวเรือนยังคงไม่ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะกระทบต่อสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน
  • ผลกระทบของอุทกภัย ทำให้ครัวเรือนต้องก่อหนี้เพื่อนำมาซ่อมแซมบ้านเรือนและเครื่องใช้ที่ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค

ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในระยะถัดไป ได้แก่

1. หนี้เสียโดยเฉพาะบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งหากลูกหนี้ผิดนัดชำระจะต้องเสียดอกเบี้ยปรับในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหนี้ประเภทอื่น

2. การส่งเสริมให้ลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จากปัจจุบันที่หนี้เสียของครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงแม้ว่าจะมีการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดจากการไม่รับรู้ถึงมาตรการช่วยเหลือ จึงควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดภาระและเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้

3. การก่อหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในรอบครึ่งปี 2564 พบว่า มีมูลค่าหนี้นอกระบบรวม 8.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีเพียง 5.6 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าจากปี 2562

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม : ภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/2564

]]>
1363146
ยอดว่างงานพุ่ง 7.3 แสนคน ซ้ำเติม ‘อาชีวะ-ป.ตรี’ จบใหม่ คนตกงาน ‘ยาวเป็นปี’ เพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1348525 Wed, 25 Aug 2021 08:32:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348525 สภาพัฒน์ เผยตัวเลขอัตราว่างงานของคนไทย ไตรมาส 2 เเตะ 7.3 แสนคน ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ซ้ำหนักนักศึกษาจบใหม่ตกงานลากยาวเป็นปีเพิ่มขึ้น เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลกลุ่มคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงถึงภาวะสังคมไทยในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564 โดยมีประเด็นที่น่าสนใจอย่างการว่างงานของประชาชนคนไทยยังอยู่บนความเสี่ยง

โดยล่าสุด อัตราการว่างงาน อยู่ที่ระดับ 1.89% ลดลงเล็กน้อยจาก 1.96% ในไตรมาส 1 ของปี 2564 คิดเป็นผู้ว่างงานทั้งสิ้นราว 7.3 แสนคน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง

สิ่งที่จะต้องจับตาดูในช่วงนี้คือกลุ่มผู้ว่างงานโดยไม่เคยทำงานมาก่อนหรือผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 10.04% ซึ่งขณะนี้มีอยู่กว่า 2.9 แสนคน ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 4.4 แสนคน ลดลง 8.38%  

เเรงงานทักษะสูง หางานยาก-ตกงานยาว 

เมื่อพิจารณาระยะเวลาของการว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานมีแนวโน้มว่างงานนานขึ้น โดยผู้ว่างงานนานกว่า 12 เดือน มีจำนวน 1.47 แสนคน เพิ่มขึ้น 1.2 เท่าจากช่วงเดียวกันของไตรมาสที่แล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็น 3.18% และ 3.44% ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า การว่างงานในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะสูง

ภาพรวมตลาดแรงงานเเม้จะปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ

โดยไตรมาสสอง ปี 2564 การจ้างงานเพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการจ้างงานภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น 2.4% จากการเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานของแรงงานที่ว่างงานและถูกเลิกจ้าง และราคาสินค้าเกษตรที่จูงใจ

ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.8% โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากได้แก่

  • สาขาก่อสร้าง 5.1%
  • สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร 5.4%
  • สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า 7.1%

ด้านสาขาการผลิต และการขายส่ง/ขายปลีก การจ้างงานหดตัว’ ลง 2.2% และ 1.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ การจ้างงานที่หดตัวในสาขาการผลิต ซึ่งใช้แรงงานเข้มข้นเป็นหลัก ขณะที่สาขาการผลิตเพื่อการส่งออกมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ สาขาเครื่องคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง และยานยนต์ 

Photo : Shutterstock

ชั่วโมงการทำงาน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติที่ 41.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 8.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแรงงานที่ทำงานล่วงเวลามีจำนวน 6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 32%

การว่างงานในระบบ ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีจำนวน 3.1 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนต่อผู้ประกันตน 2.8% ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยแต่ยังคงสูงกว่าสถานการณ์ปกติ

ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมีจำนวน 32,920 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวนเพียง 7,964 คน

ผลกระทบจากการระบาดที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมาตรการควบคุมการระบาด ส่งผลต่อความสามารถในการหารายได้ของแรงงาน

กลุ่มที่ทำงาน WFH ได้ยังมีน้อย 

มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงและมีแนวโน้มจะลดลงมากกว่าการระบาดในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อการจ้างงาน/การมีงานทำและรายได้ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้

ทั้งนี้ ลูกจ้างภาคเอกชนที่สามารถทำงานที่บ้านได้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด มีเพียง 5.5% หรือมีจำนวน 5.6 เเสนคน จาก 10.2 ล้านคนเท่านั้น และมีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระจำนวน 7.3 ล้านคน ที่จะได้รับผล
กระทบ  

Photo : Shutterstock

“ธุรกิจส่วนใหญ่พยายามคงการจ้างงานเอาไว้ แต่อาจจะมีการลดค่าจ้าง และอาจทำให้มีจำนวนผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ส่วนแนวโน้มการว่างงานในไตรมาส 3 นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง”

เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานจะส่งผลให้แรงงานมีความเปราะบางมากขึ้น ทางสภาพัฒน์เเนะนำว่า ภาครัฐจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือที่ เข้มข้นกว่า การช่วยเหลือจากการระบาดในระลอกที่ผ่านมา เช่น

ช่วยสนับสนุนค่าจ้างบางส่วนให้กับผู้ประกอบการเพื่อรักษาการจ้างงาน

ให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่แรงงานผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากมาตรการควบคุมการระบาด หรือมีความจำเป็น ต้องกักตัว เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้าย ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการปรับตัวของแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน และผู้จบการศึกษาใหม่ 

จากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้แรงงานเคลื่อนย้ายกลับสู่ภูมิลำเนา ซึ่งมีทั้งแรงงานถูกเลิกจ้างและกำลังแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานส่งผลให้ผู้ว่างงานในแต่ละภูมิภาคมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันพบว่า ผู้ที่ว่างงานหางานลดลง เนื่องจากมีความกังวลต่อสถานการณ์และแรงงานที่กลับไปทำงานในภูมิลำเนา มีแนวโน้มประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมทักษะอาชีพอิสระที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้สะดวก และฝึกฝนได้ด้วยตนเอง

 

]]>
1348525