ตลาดลักชัวรี่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 17 Nov 2022 05:57:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สินค้า ‘ลักชัวรี’ เติบโตเป็นประวัติการณ์ ‘Gen Z’ ฐานลูกค้าใหม่ช่วยดันตลาด https://positioningmag.com/1408708 Thu, 17 Nov 2022 05:03:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1408708 แม้จะมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจท่วโลก แต่อุตสาหกรรมสินค้าหรูหราทั่วโลกยังคงเติบโตและคาดว่าจะขยายตัวต่อไปในปี 2566 และยาวไปจนถึงปี 2573 ตามผลการศึกษาล่าสุดของ Bain & Company Luxury ที่ความร่วมมือกับ Fondazione Altagamma

ยอดขาย สินค้าลักชัวรี ทั่วโลกเติบโตเร็วกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย โดยได้แรงหนุนจากความต้องการของลูกค้าที่อั้นตั้งแต่ช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยคาดว่ามูลค่าของตลาดลักชัวรีปีนี้จะเติบโต 22% ในปีนี้เป็น 3.53 แสนล้านยูโร (1.3 ล้านล้านบาท) จากปี 2564 ที่มีมูลค่า 2.90 แสนล้านยูโร (1 ล้านล้านบาท) และคิดว่าจะเติบโตเป็น 5.5-5.7 แสนล้านยูโร ภายใน 5 ปีข้างหน้า

“การบริโภคไม่ใช่แค่กลับมาอยู่ในระดับก่อนวิกฤต แต่เป็นการเกิดใหม่ของตลาด เนื่องจากเห็นการเติบโตของฐานผู้บริโภคอายุน้อย Claudia D’Arpizio ผู้ร่วมวิจัยกล่าว

ปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมสินค้าลักชัวรีเติบโตนอกจากที่อั้นมาจาก 2-3 ปีก่อนแล้ว อีกส่วนคือ ฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น โดย อายุเฉลี่ยของนักช้อปสินค้าลักชัวรีลดลงเรื่อย ๆ แม้ปัจจุบัน 50% ของนักช้อปจะมาจากกลุ่มอายุ 25-40 ปี แต่กลุ่ม Gen Z (12-25 ปี) คิดเป็นเกือบ 20% ของยอดขายสินค้าลักชัวรี และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ แบรนด์เองก็พัฒนาด้านการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียจนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมถึงการมุ่งเน้นประสบการณ์การช้อปปิ้งในช็อปของแบรนด์

ในส่วนของตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นตลาดที่แข็งแกร่งที่สุด แม้จะมีสัญญาณความอิ่มตัว โดยแต่ละตลาดเติบโตขึ้นประมาณ 1 ใน 4 โดยในตลาดสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะสูงถึง 1.13 แสนล้านยูโรในปีนี้ ในขณะที่ยุโรปเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกที่มียอดขาย 9.4 หมื่นล้านยูโร ส่วนตลาดรัสเซียที่กำลังทำสงครามกับยูเครนนั้น แทบจะไม่ส่งผลกระทบเพราะคิดเป็นเพียง 2% ของตลาดรวม

วิถีคนรวย! LVMH ขายดีสวนกระแสเศรษฐกิจ ดีมานด์กระเป๋า-เสื้อผ้าหรูแรงต่อเนื่อง

ส่วนกลุ่ม ผู้บริโภคชาวจีน ยังเป็นตัวขับเคลื่อนที่แข็งแกร่ง แม้ว่ามีผลกระทบจากการล็อกดาวน์ COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ ทำให้น้ำหนักโดยรวมของพวกเขาก็ลดลงจากการเกิดขึ้นของตลาดใหม่ โดยก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่านักช้อปชาวจีนจะคิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของตลาดภายในปี 2573 แต่ปัจจุบันคาดว่าจะลดลงเหลือ 40%

สำหรับเทรนด์สินค้าลักชัวรี่ที่มาแรง อาทิ กระเป๋าถือขนาดเล็กที่สำหรับผู้บริโภควัยรุ่น นอกจากนี้ แบรนด์ก็เริ่มทำราคาที่จับต้องได้มากขึ้นเพื่อสร้างความผูกพันกับแบรนด์ อย่างไรก็ตาม ภายในรายงานดังกล่าวไม่ได้ใช้เป็นข้อพิสูจน์ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย แม้ว่ายอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยพุ่งสูงขึ้นก็ตาม

Source

]]>
1408708
เพียง 3 เดือนเเรกของปีนี้ ยอดขาย ‘Hermes’ พุ่งเกือบ 44% คนรวยเอเชียทุ่มช้อปเเบรนด์หรู https://positioningmag.com/1329060 Fri, 23 Apr 2021 11:45:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329060 ‘Hermes’ เเบรนด์เเฟชั่นหรูจากฝรั่งเศส เจ้าของกระเป๋า Birkin สุดโด่งดัง ทำยอดขายในไตรมาสแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบ 44% จากพลังช้อปของเหล่าคนรวยในเอเชีย โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน หลังมีการผ่อนคลายมาตรการสกัดโรคระบาดเเละกลับมาเปิดร้านค้าได้อีกครั้ง

ความนิยมซื้อของหรูของกลุ่มคนมั่งคั่ง ไม่เเผ่วลงในช่วงวิกฤต COVID-19 โดยผลประกอบการของ Hermes ประจำไตรมาส 1/2021 เพิ่มขึ้น 43.7% ในอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จากปี 2020 โดยสามารถรายได้รวมถึง 2,083 ล้านยูโร (ราว 7.8 หมื่นล้านบาท) ในช่วงเเค่ 3 เดือนแรกของปีนี้เท่านั้น เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ว่าคาดจะเพิ่มขึ้น 24%

ปัจจัยที่ส่งเสริมรายได้ของ Hermes ในช่วงนี้ก็คือยอดขายในเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถึงถึง 93.6% เมื่อเทียบกับจากไตรมาสแรกของปี 2020 โดยเฉพาะยอดขายในจีน ที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว บวกกับยอดขายที่ทรงตัวในเกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย 

ญี่ปุ่นยังเป็นตลาดสำคัญที่เติบโตได้ดีของ Hermes โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น 20% ส่วนยอดขายฝั่งอเมริกาก็เพิ่มขึ้นกว่า 24% ช่วยชดเชยยอดขายที่ลดลงในตลาดยุโรป ที่เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 4.4% เพราะยังต้องเผชิญกับการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกใหม่

โดยสินค้าขายดีที่สุดของเเบรนด์ Hermes เป็นกลุ่มเครื่องหนัง , เสื้อผ้า Ready-to-Wear และผ้าไหม 

Eric du Halgouët ผู้บริหารระดับสูงของ Hermes ยืนยันว่า การเติบโตของยอดขายในไตรมาสดังกล่าวไม่ใช่แรงหนุนจาก ‘ราคาที่เเพงขึ้นเพราะบริษัทมีการปรับราคาขึ้นเพียง 1.4%ในปีนี้

ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 100% หรือมากกว่านั้นในทุกภูมิภาค และมีแนวโน้มที่จะเกิน 1 พันล้านยูโรในไม่ช้า

ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นไฮเอนด์ต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณการกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งของกลุ่มสินค้าลักชัวรี โดยคู่แข่งอย่าง LVMH และ Kering ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในวิกฤตนี้ เช่นในญี่ปุ่นที่ COVID-19 กำลังกลับมาระบาดรุนเเรงอีกครั้ง

 

 

ที่มา : Reuters , wwd 

]]>
1329060
“Gucci” เตรียมเปิดขายบน Tmall Luxury Pavilion อีคอมเมิร์ซตลาดสินค้าหรูของจีน https://positioningmag.com/1311087 Fri, 18 Dec 2020 10:24:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311087 Gucci แบรนด์แฟชั่นลักชัวรีระดับโลก เตรียมเปิดสโตร์บน Tmall Luxury Pavilion แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเครือ Alibaba ประเทศจีน สะท้อนให้เห็นความสำคัญของตลาดจีนและการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยเฉพาะในปีที่โรคระบาด COVID-19 ทำให้กำลังซื้อลูกค้าทั่วโลกต่ำลง

Gucci เป็นแบรนด์สำคัญในพอร์ตของบริษัท Kering ประเทศฝรั่งเศส และเป็นแบรนด์ล่าสุดที่ตอบรับเข้าร่วมเปิดสโตร์ออนไลน์บนแพลตฟอร์มของ Tmall Luxury Pavilion แพลตฟอร์มที่เปิดจำหน่ายเฉพาะแบรนด์สินค้าหรู
และเป็นหนึ่งในเครือบริษัท Alibaba

แบรนด์ดัง Gucci จะแยกสโตร์ออกเป็น 2 ร้าน คือ กลุ่มแฟชั่น-เครื่องหนัง จะเปิดตัววันที่ 21 ธันวาคมนี้ ส่วนอีกร้านหนึ่งจะเป็น กลุ่มสินค้าเครื่องสำอาง เตรียมเปิดตัวเดือนกุมภาพันธ์ 2021 และบริหารโดยพาร์ตเนอร์คือบริษัท Coty ก่อนหน้านี้ Gucci มีเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ของตนเองอยู่แล้วคือ gucci.cn และมีการทำตลาดผ่านโซเชียลมีเดียคือ Weibo และ WeChat แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการเปิดขายผ่านมาร์เก็ตเพลซจีน

Tmall Luxury Pavilion นั้นเพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2017 ลักษณะเป็นเหมือนฟีเจอร์ภายในแอปพลิเคชัน Tmall  ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มขายสินค้าแบบ B2C อยู่แล้ว แต่กลุ่ม Luxury Pavilion นั้นจะขายเฉพาะแบรนด์หรู และร้านที่จะได้เปิดขายต้องได้รับเชิญเข้ามาเท่านั้น ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 200 แบรนด์ที่เปิดสโตร์แล้ว เช่น Coach, Balmain, Salvatore Ferragamo, Burberry, Hugo Boss, De Beers เป็นต้น

Tmall Luxury Pavilion เปิดตัวเมื่อปี 2017

การขายสินค้าหรูบนโลกออนไลน์อาจจะดูเหมือนยังไปด้วยกันไม่ได้ แต่ในประเทศจีนนั้นตลาดมีความแตกต่าง โดยพื้นฐานแล้วลูกค้าจีนจะช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านมือถือเป็นสัดส่วนที่มากยิ่งกว่าสหรัฐฯ หรือยุโรป ทำให้กลายเป็นตลาดที่น่าสนใจมากขึ้นในแง่การขายออนไลน์

โดยเฉพาะปีนี้ที่ COVID-19 ระบาดหนัก ประเทศจีนเป็นหนึ่งในไม่กี่ตลาดของกลุ่มสินค้าหรูที่ยังกลับมาเติบโตได้และช่องทางอีคอมเมิร์ซกลายเป็นช่องทางสำคัญ ทำให้แบรนด์ลักชัวรีต่างถูกบีบให้มุ่งความสนใจไปที่อีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ยังได้เห็นการเจาะกลุ่มลูกค้าที่เด็กลง เพราะเป็นกลุ่มที่คาดการณ์ว่าจะกลับมาใช้จ่ายมากที่สุดหลัง COVID-19

ก่อนหน้าจะเกิด COVID-19 ระบาด ประเทศจีนเป็นตลาดที่ครองมาร์เก็ตแชร์ฝั่งผู้ซื้อสูงถึง 35% ในตลาดสินค้าลักชัวรีอยู่แล้ว โดยบริษัทที่ปรึกษา Bain ประเมินว่า จนถึงปี 2025 ประเทศจีนจะเพิ่มส่วนแบ่งฝั่งผู้ซื้อสินค้าลักชัวรี ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า และเครื่องเพชร มากถึงเกือบ 50% ของทั้งโลก

Source

]]>
1311087
ตลาด “ลักชัวรี” จีนฟื้นเร็ว คนรวยแห่ซื้อเเบรนด์เนม ยอดขาย Prada กลับมาโตกว่าปีก่อน COVID-19 https://positioningmag.com/1296739 Sun, 13 Sep 2020 12:01:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296739 เเม้ว่ากลุ่มสินค้าเเบรนด์หรู จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ยอดขายลดฮวบ โดยคาดว่าทั้งตลาดจะหดตัวกว่า 35% ในปีนี้ เเต่กลุ่มคนมีเงินในตลาดจีนนั้นกลับออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น สะท้อนให้เห็นจากยอดขายสินค้าหรูที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในเเดนมังกร

Patrizio Bertelli ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Prada เปิดเผยว่า ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา เเม้จะต้องเผชิญวิกฤตโรคระบาดอย่างหนักในจีน เเต่ยอดขายของ Prada เพิ่มสูงขึ้นในระดับที่ดีกว่าปีที่แล้ว

ความต้องการสินค้าแบรนด์หรูของผู้บริโภคในจีน กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หลังเคยลดลงอย่างหนักในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา ตั้งเเต่ช่วงปลายปี 2019 จนเเบรนด์หรูต่างๆ ต้องปิดทำการสาขาชั่วคราว ขณะที่โรงงานที่รับผลิตสินค้าก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

ยอดขายในจีนเริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด มาตั้งแต่ปลายเดือนมี.. และเติบโตด้วยอัตราสูงกว่า 60% ในเดือนต่อๆ มา โดยยอดขายในวันวาเลนไทน์ของจีนซึ่งตรงกับวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมานั้น ทำสถิติสูงที่สุดตั้งแต่ทำตลาดในจีน และเชื่อว่ากระแสดีมานด์นี้จะต่อเนื่องไปจนสิ้นปี

ตามผลสำรวจของบริษัทวิจัย Bain ระบุว่า ในปี 2019 ชาวจีนซื้อสินค้าหรูถึง 37% ของยอดขายทั่วโลก โดยส่วนใหญ่เป็นการซื้อขณะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ เเละเมื่อปีนี้ไม่สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ จึงทำให้ชาวจีนหันมาช้อปปิ้งเเบรนด์หรูกันมากขึ้น ทำให้ดีมานด์สินค้าหรูในจีนยังคงสูงต่อเนื่อง 

ยอดขายของ Prada ในช่วงครึ่งปีนี้ ส่วนใหญ่มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 44% สะท้อนการบริโภคของคนรวยชาวเอเชีย เเต่เมื่อดูยอดขายของ Prada ทั่วโลกเเล้วจะพบว่าลดลงถึง 40% เพราะเศรษฐกิจในหลายประเทศยังคงไม่ฟื้นตัวจาก COVID-19 ดังนั้นตลาดลักชัวรีก็ยังคงต้องสู้กันต่อไปอีกยาว

ท่ามกลางยอดขายทั้งตลาดที่มีเเนวโน้มจะลดฮวบในปีนี้ หลายแบรนด์ดำเนินการแก้เกม เช่น ขึ้นราคาสินค้า ออกสินค้าไลน์ใหม่ ใช้สินค้า Collab ที่มีจำนวนจำกัด ดึงลูกค้ากลุ่มแฟนพันธุ์แท้ให้ซื้อต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะต้องลุ้นเทรนด์ ‘Revenge Spending’ ของผู้บริโภคที่จะกลับมาช้อปกระหน่ำด้วยความอัดอั้น และลุ้นให้มีการเปิดการท่องเที่ยวระหว่างกันมากขึ้น เพื่อให้ยอดซื้อจากคนเดินทางกลับมาอีกครั้ง

อ่านต่อ : พิษไวรัสเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคลักชัวรีจนยอดขายร่วง แบรนด์เร่งหากลยุทธ์แก้เกม

 

ที่มา : Reuters , CNBC

 

]]>
1296739
เคลียร์กันไม่ได้ Tiffany & Co. ยื่นฟ้อง LVMH ส่อ “ล้มดีล” ซื้อกิจการ หลังเเบรนด์หรูยอดขายร่วง https://positioningmag.com/1296386 Thu, 10 Sep 2020 12:25:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296386 ดีลนี้จะล้มไม่ล้มเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เเบรนด์หรูยอดขายลดฮวบจากพิษไวรัส สะเทือนข้อตกลงทางธุรกิจ ล่าสุด Tiffany & Co. แบรนด์อัญมณีชื่อดัง เตรียมยื่นฟ้อง LVMH กลุ่มบริษัทแบรนด์เนมยักษ์ใหญ่ของโลก หลังส่อจะผิดนัดล้มดีลเข้าซื้อกิจการ มูลค่ากว่า 5 เเสนล้านบาท

ก่อนหน้านี้ LVMH ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลฝรั่งเศส ให้ชะลอการเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ของ Tiffany & Co. จากปัญหาอัตราภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯ ทำให้ขั้นตอนพิจารณาถึงข้อตกลงในการซื้อกิจการมูลค่า 1.62 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 5 แสนล้านบาท) ในราคา 135 เหรียญต่อหุ้น ต้องหยุดชะงัก ก่อนจะเกิดวิกฤตการเเพร่ระบาดของ COVID-19

เเต่เมื่อเกิดโรคระบาดที่กระทบต่อธุรกิจทั่วโลก มีกระเเสข่าวว่า เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ ซีอีโอเครือ LVMH กำลังต่อรองกับ Tiffany & Co. ให้ยอมลดราคาต่อหุ้นลงมาจากเดิม เเต่ทาง LVMH ยืนยันว่าบริษัทไม่มีการพิจารณาซื้อหุ้นของ Tiffany ตามเเถลงการณ์ ณ วันที่ 4 มิ.. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นก็ยังมีข่าวลือว่า LVMH จะกลับลำไม่เข้าเทกโอเวอร์กิจการออกมาต่อเนื่อง

จากความไม่เเน่นอนดังกล่าว ทำให้ Tiffany & Co. ตัดสินใจเตรียมที่จะยื่นฟ้องต่อ LVMH ว่ามีความจงใจหลีกเลี่ยงที่จะทำให้ข้อตกลงซื้อกิจการให้สำเร็จลุล่วง รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับราคาที่เสนอขายกิจการ และความโปร่งใสในการดำเนินกิจการของ LVMH ที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาษี

Roger Farah ประธานของ Tiffany & Co. กล่าวว่า LVMH พยายามหาวิธีหลีกเลี่ยงที่จะจัดทำข้อตกลงเพื่อถือครองกรรมสิทธิ์ ตามเงื่อนไขที่เคยตกลงกันไว้

เดิมที ความต้องการซื้อ Tiffany & Co. เกิดจากวิสัยทัศน์การขยายกิจการของ LVMH ที่ต้องการบุกตลาดสหรัฐฯ อย่างเต็มที่และเพิ่มแบรนด์เครื่องประดับเข้าพอร์ต มีการคาดการณ์ว่าจะปิดดีลได้เรียบร้อยภายในกลางปี 2020 แต่กลับมาเกิดวิกฤต COVID-19 เสียก่อน ทำให้บริษัทต้องหันมาบริหารความเสี่ยงและทำให้บริษัทอยู่รอดให้ได้

ด้านแถลงการณ์ของ LVMH ที่เป็นเจ้าของแบรนด์หรูกว่า 75 แบรนด์อย่าง Louis Vuitton , Christian Dior เเละ Dom Perignon ระบุว่า คณะกรรมการของบริษัทต้องทบทวนถึงสถานการณ์นี้ เพราะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจกลุ่มลูกค้าสายแฟชั่นรุ่นใหม่

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบให้รายได้ในกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม โดยผลประกอบการของ LVMH ในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 18,393 ล้านยูโร ลดลง -27% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่กำไรจากการทำธุรกิจอยู่ที่ 1,671 ล้านยูโร ลดลง -68% ส่วนยอดขายของ Tiffany & Co. ลดลงถึง 36% ในช่วงครึ่งปีแรกซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงไปถึงปัญหาการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้

โดยสถานการณ์ตลาดแฟชั่นหรูจนถึงสิ้นปี 2020 ทาง McKinsey บริษัทที่ปรึกษารายใหญ่ ประเมินไว้ว่าน่าจะหดตัว -35% ถึง -39% เพราะเหตุผลหลายประการทำให้ผู้บริโภคจะใช้จ่ายน้อยลงกับสินค้าลักชัวรี

 

ที่มา : BBC , Forbes

]]>
1296386