ประชากร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 09 Feb 2024 11:35:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ลี เซียนลุง’ แนะนำให้ชาวสิงคโปร์มีลูกเพิ่มต้อนรับปีมังกร ชี้ปีนี้เป็นปีที่ดี หลังอัตราการเกิดของทารกมีจำนวนน้อยลง https://positioningmag.com/1462167 Fri, 09 Feb 2024 07:06:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462167 นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ได้ส่งข้ออวยพรประชาชนในช่วงตรุษจีน โดยมองว่าปีนี้ถือเป็นปีมังกรถือเป็นปีที่ดีตามความเชื่อของชาวจีน และเชิญชวนให้ประชาชนสิงคโปร์เพิ่มจำนวนประชากร หลังจากที่ตัวเลขการเกิดของทารกในสิงคโปร์ทำสถิติต่ำสุด แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการหลายอย่างออกมาแล้วก็ตาม

ลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ได้ส่งข้ออวยพรประชาชนในช่วงตรุษจีน โดยมองว่าปีนี้ถือเป็นปีมังกรถือเป็นปีที่ดีตามความเชื่อของชาวจีน และเชิญชวนให้ประชาชนสิงคโปร์เพิ่มจำนวนประชากร หลังจากจำนวนการเกิดของทารกในสิงคโปร์ลดลง

นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ได้เขียนข้อความว่า “เนื่องจากครอบครัวชาวจีนจำนวนมากถือว่าเด็กที่เกิดในปีมังกรเป็น ฤกษ์ดีโดยเฉพาะ และปีนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับครอบครัวที่จะต้อนรับ “มังกรตัวน้อย” และคู่รักหนุ่มสาวที่ต้องการมีลูก ก็ถือว่าปีนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีเช่นกัน

โดยนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ยังกล่าวเสริมว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์แห่งพลัง ความแข็งแกร่ง และโชคลาภ ซึ่งเป็นความเชื่อของคนจีนอีกด้วย

นอกจากนี้เขายังหวังว่าประชาชนชาวสิงคโปร์จะมีลูกมากขึ้น หรือแม้แต่การมีลูกไวขึ้น และเขากล่าวว่ารัฐบาลเตรียมออกโครงการ Singapore Made for Families และส่งเสริมให้ประชากรนั้นแต่งงานหรือมีบุตรเพิ่มมากขึ้น

อัตราการเกิดของชาวสิงคโปร์แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งข้อมูลล่าสุดในปี 2023 นั้นอยู่ที่ 1.04 เท่านั้น และนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ยังชี้ว่าปัญหากการเกิดของทารกในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งรวมถึงสิงคโปร์ถือว่ามีตัวเลขที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ

ในปี 2023 ที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ได้ออกมาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนมีลูก ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินพ่อแม่เป็นเงิน 11,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกคนแรกและคนที่สอง เพิ่มขึ้นจากเดิม 8,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และให้สิทธิ์พ่อแม่สามารถลางานได้เพิ่มเติม

อย่างไรก็ดีมาตรการดังกล่าวอาจยังไม่จูงใจให้ชาวสิงคโปร์มีลูกเพิ่มมากนัก เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการมีลูกนั้นเพิ่มสูงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ที่เพิ่มขึ้นในปี 2023 ที่ผ่านมา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์ต้องเร่งให้ประชากรมีบุตร หรือแม้แต่การออกมาตรการเชิญชวนให้คู่หนุ่มสาวมีบุตรเกิดจากผู้สูงอายุเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาในหลายประเทศ และปัญหาดังกล่าวนั้นมีผล กระทบกับเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวได้

ที่มา – CNA, Government of Singapore

]]>
1462167
“จีน” เปิดตัว 20 “เมืองนำร่อง” เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ ส่งเสริมให้ประชากร “มีบุตร” https://positioningmag.com/1430587 Mon, 15 May 2023 13:09:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430587 ปัญหาประชากรมีอัตราการเกิดต่ำยังคงท้าทายใน “จีน” ทำให้รัฐบาลเตรียมเปิดตัว 20 “เมืองนำร่อง” ที่จะสร้างวัฒนธรรมใหม่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ส่งเสริมให้ประชากร “มีบุตร” เพิ่มมากขึ้น

สมาคมวางแผนการมีบุตรแห่งประเทศจีน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลจีนในการสร้างเสริมการเพิ่มจำนวนประชากรและอัตราเจริญพันธุ์ หน่วยงานนี้กำลังจะเปิดตัวโครงการใหม่เพื่อกระตุ้นให้สตรีแต่งงานและมีบุตร รายงานข้อมูลจากสื่อของรัฐ Global Times

โดยจะมีการจัด “เมืองนำร่อง” ทั้งหมด 20 แห่ง เช่น ปักกิ่ง กวางโจว ฮานดัง เพื่อเป็นโครงการทดลองให้รัฐบาลช่วยผลักดันประชากรในการแต่งงานมีลูก สร้างวัฒนธรรมให้พ่อแม่มีหน้าที่ผลัดกันเลี้ยงลูก ลดราคา “สินสอด” ที่สูงมาก รวมถึงธรรมเนียมโบราณต่างๆ ที่ขัดกับเป้าหมายของโครงการนี้

“สังคมจำเป็นต้องนำทางคนหนุ่มสาวให้ไปสู่แนวทางของการแต่งงานและการมีลูกมากกว่านี้” เหอย่าฝู นักประชากรศาสตร์กล่าวกับ Global Times

นอกจากโครงการนี้แล้ว ก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนมีนโยบายแรงจูงใจให้คนมีลูกออกมาก่อนแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนทางภาษี อุดหนุนด้านที่อยู่อาศัย และสนับสนุนการศึกษาฟรีให้แก่บุตรคนที่ 3 ของครอบครัว และที่ปรึกษาทางการเมืองของรัฐยังแนะนำให้รัฐอนุญาตให้หญิงโสดสามารถทำ IVF ได้ด้วย จากขณะนี้กฎหมายอนุญาตให้เฉพาะหญิงที่แต่งงานแล้วเท่านั้นที่ทำได้

จีนเคยมีนโยบายอันเข้มงวดให้ “มีลูกคนเดียว” ตั้งแต่ปี 1980-2015 แต่ปัจจุบันได้ผ่อนคลายนโยบายนี้ไปแล้ว และคนจีนสามารถมีลูกได้สูงสุดครอบครัวละ 3 คน เพราะจีนเริ่มมีปัญหาประชากรลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ทศวรรษ

ปัจจัยที่ทำให้หญิงจีนมากมายไม่อยากมีลูกเลยหรือไม่อยากมีเพิ่ม เป็นเพราะค่าใช้จ่ายในการดูแลบุตรหลานปัจจุบันนี้สูงมาก และผู้หญิงหลายคนต้องลาออกจากงานเพื่อเลี้ยงลูก เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันทางเพศบีบให้ฝ่ายหญิงต้องเป็นฝ่ายที่เลี้ยงลูกฝ่ายเดียว

Source

]]>
1430587
“ญี่ปุ่น” มีอัตราเกิดลดลงครั้งใหญ่สุดรอบกว่า 100 ปี “อีลอน มัสก์” ทวิตฯ อีกหน่อยก็คงหายไป https://positioningmag.com/1387852 Wed, 08 Jun 2022 14:35:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387852 รอยเตอร์ รายงานว่า ในปี 2564 ญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดต่ำที่สุดในรอบกว่าร้อยปี ตัวเลขดังกล่าวน่าจะทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการลดจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นประเด็นที่มีมาช้านานในแวดวงนโยบายของประเทศ อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีและผู้บริหารระดับสูงของของเทสลา เพิ่งโพสต์ข้อความ Twitter เมื่อเดือนที่แล้วว่าญี่ปุ่นจะ “สิ้นการดำรงอยู่ในที่สุด” เว้นแต่ว่าแนวโน้มด้านประชากรศาสตร์จะเปลี่ยนไป

ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการเกิด 811,604 คน (อัตราการเกิดลดลง 3.5% จากปีก่อนหน้า) และเสียชีวิต 1,439,809 คนในปีที่แล้ว (2021) ซึ่งหมายความว่าประชากรลดลง 628,205 คน นับเป็นการลดลงตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีข้อมูลบันทึก

หลังจากญี่ปุ่นปิดด่านตรวจคนเข้าเมืองมาอย่างยาวนาน เล็งเปิดกว้างท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

เจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการบอกกับสำนักข่าว Jiji Press ว่าอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงในปีที่แล้วเป็นผลมาจากจำนวนผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ที่ลดลง

ข้อมูลนี้เป็นข่าวร้ายสำหรับประชากรญี่ปุ่นที่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมของประชากรสูงอายุและการหดตัวของประเทศ ซึ่งเกือบ 30% ของประชากรมีอายุมากกว่า 65 ปี การลดลงของจำนวนประชากรในวัยทำงานจะมีส่วนทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน หลังการระบาดของโคโรนาไวรัส ทำให้เกิดความกังวลว่ากำลังจะเกิดขึ้นวิกฤตแรงงานที่เลวร้าย

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าอัตราการเกิดที่ลดลงมาจากกลุ่มปัจจัยต่างๆ

Photo : Shutterstock

เจนนิเฟอร์ โรเบิร์ตสัน ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์ศิลปะแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าวว่า “มันไม่เกี่ยวกับการไม่มีเพศสัมพันธ์ โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่นำไปสู่การใช้ชีวิต”

ผู้ชายพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้งานที่ดี ทำให้พวกเขาไม่คิดแต่งงาน และคนญี่ปุ่นไม่ค่อยยอมรับการมีลูกนอกสมรสด้วย อาซาฮี ชิมบุน หนังสือพิมพ์ชั้นนำของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า จำนวนการแต่งงานลดลงเป็นปีที่สองติดต่อกันในปี พ.ศ. 2564 เหลือ 501,116 คู่

ในขณะเดียวกัน สัดส่วนของผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ในสังคมที่ผู้หญิงยังคงถูกคาดหวังให้ใช้แรงงานทำงานบ้านมากกว่าคู่ครองชายอย่างมีนัยสำคัญ ผู้หญิงจำนวนมากเลือกที่จะครองความโสด ไม่อยากเข้าวงจรความเป็นแม่/แม่บ้าน เพื่อมุ่งเน้นไปที่อาชีพการงานของตนแทน

“ประเทศญี่ปุ่นนี้อนุรักษ์นิยมอย่างมาก และต้องการอนุรักษ์ไม่ให้มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง พวกเขาจะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายมหาศาลในการดูแลประชากรสูงอายุ”

อาซาฮีรายงานว่า โตเกียวมีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำที่สุดที่ 1.08 ขณะที่ตัวเลขเฉลี่ยล่าสุดทั่วประเทศต่ำกว่าอัตราเป้าหมายของรัฐบาลที่ 1.8 ตรงข้ามกับจำนวนผู้เสียชีวิตในปี 2564 นั้นสูงที่สุดในประเทศนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่โรคมะเร็งเป็นสาเหตุสำคัญ

Photo : Shutterstock

แต่ญี่ปุ่นไม่ใช่ประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกที่ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง ประเทศจีนเปิดเผยผลการสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อปีที่แล้ว ก็แสดงให้เห็นว่าแม้จำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เพิ่มเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ในปี 2020 อัตราการเจริญพันธุ์ในฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวันต่ำกว่าญี่ปุ่น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มในประเทศที่ร่ำรวยในเอเชียตะวันออกของผู้คนที่เลื่อนการแต่งงานออกไปและไม่ค่อยมีลูกนอกสมรส การศึกษาของลูก ๆ ยังเป็นภาระมีต้นทุนในประเทศเหล่านี้ นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องยากสำหรับคนหนุ่มสาวทั่วทั้งภูมิภาคที่จะซื้อบ้านเรือนหอ

ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกนโยบายเพื่อจูงใจให้ผู้คนมีบุตรเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงสิ่งจูงใจด้านเงินสดและเด็กก่อนวัยเรียนฟรี โดยมีผลที่หลากหลาย

อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีและผู้บริหารระดับสูงของของเทสลา เพิ่งโพสต์ข้อความ Twitter เมื่อเดือนที่แล้วว่าญี่ปุ่นจะ “สิ้นการดำรงอยู่ในที่สุด” เว้นแต่ว่าแนวโน้มด้านประชากรศาสตร์จะเปลี่ยนไป

นักวิจารณ์แย้งว่า ญี่ปุ่นไม่ได้เสี่ยงต่อการสูญหาย แต่อนาคตขึ้นอยู่กับการย้ายถิ่นฐานพลเมือง

Photo : Shutterstock

ความวิตกกังวลด้านประชากรศาสตร์ได้กระตุ้นให้มีการพิจารณานโยบายการย้ายถิ่นฐานของประเทศอีกครั้ง ถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่เข้มงวดที่สุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่นไม่ค่อยให้สถานะผู้ลี้ภัย แรงงานต่างด้าว เช่น คนเวียดนามที่เป็นพนักงานร้านอาหารของญี่ปุ่น สามารถอยู่ในประเทศได้เพียงห้าปีและไม่สามารถพาครอบครัวเข้ามาในประเทศได้

การย้ายถิ่นฐานเป็นข้อห้ามทางการเมืองมานานหลายทศวรรษ โดยฝ่ายขวาของญี่ปุ่นกังวลว่าการไหลเข้าของชาวต่างชาติจะทำให้ความบริสุทธิ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมของประเทศเจือจางลง

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายข้อจำกัด คนงานก่อสร้างจากประเทศจีนในเดือนเมษายนกลายเป็นแรงงานต่างชาติคนแรกที่ได้รับการยอมรับภายใต้ระบบวีซ่า “ทักษะเฉพาะ” ที่กำหนดขึ้นใหม่ในปี 2019 ซึ่งหมายความว่าภรรยาและลูกชายของเขาสามารถมาอาศัยอยู่กับเขาในญี่ปุ่นได้

ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐฯ ระบุว่า รัฐบาลมีแผนที่จะผ่อนคลายกฎเกณฑ์ไปยังภาคส่วนอื่นๆ ที่ขาดแคลน นอกเหนือจากการก่อสร้างและการต่อเรือ

Source

]]>
1387852
นักวิชาการจีนเสนอรัฐบาลแจกเงิน “1 ล้านหยวน” กระตุ้นประชาชนมีลูก แก้วิกฤตการเกิดต่ำ https://positioningmag.com/1331757 Thu, 13 May 2021 14:48:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331757 อาจารย์มหาวิทยาลัยชาวจีนคนหนึ่งเสนอแนวคิดให้รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนแก่ครอบครัวที่มีบุตรเกิดใหม่คนละ 1 ล้านหยวน (ราว 4.85 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีลูกมากขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาอัตราการเกิดในจีนที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ

ผลการสำรวจสำมะโนประชากรจีนครั้งล่าสุดพบว่า จำนวนประชากรจีนในช่วงระหว่างปี 2010-2020 เติบโตช้าที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายวิตกว่าจำนวนพลเมืองวัยทำงานอาจไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และโอบอุ้มประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น

เหลียง เจียนจาง (Liang Jianzhang) อาจารย์ประจำสำนักวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้แสดงความคิดเห็นผ่านคลิปวิดีโอที่โพสต์ลงเวยปั๋วว่า จีนจะต้องใช้งบลงทุนถึง 10% ของ GDP จึงจะสามารถเพิ่มอัตราการเกิดจาก 1.3% ในปัจจุบันให้เป็น 2.1% หรือเทียบเท่ากับเงิน 1 ล้านหยวนต่อบุตร 1 คน ซึ่งรัฐอาจจะจัดสรรให้ในรูปของการจ่ายเงินสด, การลดภาษี หรืออุดหนุนที่อยู่อาศัย เป็นต้น

“ผมได้พูดคุยกับคนหนุ่มสาวจำนวนมาก เงินแค่ไม่กี่หมื่นหยวนไม่สามารถโน้มน้าวให้คนมีลูกเพิ่มได้” เหลียง กล่าว

Photo : Shutterstock

อาจารย์เศรษฐศาสตร์ผู้นี้เชื่อว่า เม็ดเงินลงทุนนี้จะได้กลับคืนมาหลังจากที่ประชากรรุ่นใหม่เติบโต และทำประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ

“ถ้า 1 ครอบครัวมีลูกเพิ่มอีก 1 คน สิ่งที่เด็กคนนั้นจะมอบคืนให้ในรูปของเงินประกันสังคม และการจ่ายภาษีในอนาคตจะเกินกว่า 1 ล้านหยวนแน่นอน”

แนวคิดของ เหลียง ได้กลายเป็นเทรนด์ฮิตในเวยปั๋ว โดยชาวเน็ตจำนวนมากต่างแสดงความคิดเห็นว่ามันเป็นการนำเงินภาษีมาใช้อย่างคุ้มค่าหรือไม่ และบ้างก็ว่าเงินแค่ 1 ล้านหยวนอาจไม่พอจ่ายค่าเล่าเรียนบุตรด้วยซ้ำ

“หากมีลูก 1 คนแต่ไม่สามารถนำพรสวรรค์ของเขาออกมาใช้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการก่ออาชญากรรมสำหรับสังคมในยุคนี้” ผู้ใช้เวยปั๋วคนหนึ่งให้ความเห็น ขณะที่อีกคนบอกว่า “ควรทำให้เร็วที่สุดเลยนะ ถ้ารอไปอีก 2-3 ปี ต่อให้เพิ่มเงินเป็น 2 ล้านหยวน ก็ไม่มีใครอยากมีลูกเพิ่มหรอก”

Source

]]>
1331757
อัตราการเกิด ‘จีน’ ลดลง 20% โตช้าสุดในรอบ 10 ปี คาดประชากร ‘อินเดีย’ จะแซงใน 5 ปี https://positioningmag.com/1331634 Tue, 11 May 2021 10:43:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331634 ‘จีน’ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมาสุดที่สุดของโลกกำลังเผชิญกับ ‘อัตราการเกิด’ ที่ต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยลดลงจาก 20% แม้ว่าในปี 2016 จีนจะยกเลิกนโยบาย ‘ลูกคนเดียว’ ที่เคยประกาศใช้เมื่อปี 1979 เพื่อเป็นมาตรการควบคุมการเติบโตของประชากร

เมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา จำนวนประชากรของประเทศจีนสูงถึง 1.41 พันล้านคนเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10 ปีก่อนที่มีประชากร 1.33 พันล้านคน โดยอัตราการเติบโตของประชากรเฉลี่ยต่อปี 0.53% ช้ากว่า 0.57% ที่วัดได้ในปี 2010 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มอัตราการเกิดของจีน โดยจำนวนทารกแรกเกิดในปี 2020 อยู่ที่ 12 ล้านคนลดลงเกือบ 20% จากปีก่อนหน้า

สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็น 18.7% ซึ่งมากกว่าปี 2010 ที่มีจำนวน 13.26% ในขณะที่ประชากรวัยทำงานของผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปีลดลงเหลือ 63.35% จาก 70.14% แม้ว่าสัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 0-14 ปีจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 16.6% เป็น 17.95%

“อายุเฉลี่ยของประชากรจีนคือ 38.8 ปี ซึ่งร่ำรวยและแข็งแกร่งกว่าเมื่อเทียบกับอายุ 38 ปีของสหรัฐฯ แต่สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและผู้สูงวัยจะกลายเป็นพื้นฐานของประเทศเราในอนาคต” Ning Jizhe หัวหน้า NBS กล่าว

(Photo by Miguel Candela/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนการพึ่งพา ซึ่งหมายถึงภาระในการดูแลเด็กและผู้สูงอายุของคนวัยทำงาน และเนื่องจากครัวเรือนที่มีขนาดเล็กลง รวมถึงผู้สูงวัยที่มากขึ้น และกำลังแรงงานในอนาคตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจะจำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน

ทั้งนี้ ประชากรวัยทำงานของจีน คือ คนที่มีอายุ 16-59 ปี แม้ว่าจะลดลงไป 40 ล้านคน เมื่อเทียบกับการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดในปี 2010 แต่ เจิง ยู่ผิง หัวหน้านักระเบียบวิธี กล่าวว่า ขนาดประชากรวัยทำงานทั้งหมด 880 ล้าน ยังมีขนาดใหญ่อยู่ และยังมีกำลังแรงงานมากมาย

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนไม่เห็นว่าการลดลงของประชากรทำให้แผนการเติบโตในระยะยาวของจีนลดลง โดย Fang Hanming ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มองว่า ระบบอัตโนมัติจะเข้ามาทดแทนแรงงานที่ลดลงได้

“การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรไม่ควรก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ สำหรับเป้าหมายในการเพิ่มรายได้ต่อคนเป็นสองเท่าภายในปี 2035 หากจีนเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้นและใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ ๆ”

ตามรายงานของ United Nation ในปี 2019 ประชากรของจีนคาดว่าจะถึงจุดสูงสุดภายในปี 2030 ในขณะที่อินเดียปัจจุบันมีประชากรอยู่ที่ 1.36 พันล้านคน โดยคาดว่าอินเดียจะแซงหน้าจีนในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในราวปี 2025

Source

]]>
1331634
สิงคโปร์ งัดวิธี “เพิ่มโบนัส” จ่ายเงินกระตุ้นให้ประชาชน “มีลูก” ช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1300225 Tue, 06 Oct 2020 13:28:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300225 รัฐบาลสิงคโปร์ หาสารพัดวิธีแก้ปัญหาอัตราการเกิดต่ำ เตรียมเพิ่มเงินโบนัสกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกในช่วงวิกฤต COVID-19 สวนทางกับอินโดนีเซียฟิลิปปินส์ที่มีปัญหาตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงล็อกดาวน์ 

หนึ่งในเรื่องที่น่ากังวลในช่วงนี้ คือ ชาวสิงคโปร์จำนวนมากเลื่อนแผนการมีลูกของออกไป เพราะมีความเครียดทางการเงิน จากรายได้ลดน้อยลง และบางคนถึงขั้นตกงาน เพราะบริษัทจำเป็นต้องลดต้นทุนด้วยการปลดพนักงาน

Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสิงคโปร์ ระบุว่า โครงการกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกมากขึ้นดังกล่าว กำลังอยู่ในช่วงพิจารณา โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนเงินและวิธีการจ่ายเงินโบนัส จะแจ้งให้ประชาชนทราบในเร็ว ๆ นี้

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาอัตราการเกิดต่ำที่สุดในโลก และปีนี้มีอัตราการเกิดต่ำสุดในรอบ 8 ปี ซึ่งอัตราการเกิดในปี 2018 คือ 1.14 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน

ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามส่งเสริมให้คนในประเทศมีลูก ตามนโยบายมีลูกเพื่อชาติด้วยการจ่ายเงินให้ประชาชนมาหลายทศวรรษ ซึ่งปัจจุบันมีการจ่ายเงินโบนัสให้ประชาชนที่มีบุตรสูงถึง 10,000 เหรียญสิงคโปร์ (ราว 2.2 เเสนบาท)

หลายประเทศในเอเชีย กำลังเผชิญกับปัญหาอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง เเละอาจเลวร้ายลงไปอีกในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่มีอัตราการเกิดต่ำมากอยู่เเล้ว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาอัตราการเกิดต่ำของสิงคโปร์เเละญี่ปุ่น กลับตรงกันข้ามกับเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ 

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) คาดการณ์ว่า หากมาตรการการล็อกดาวน์ในฟิลิปปินส์ ยังต่อเนื่องไปถึงสิ้นปีนี้ จะทำให้มีการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจเพิ่มขึ้นเกือบ 50% หรือจำนวน 2.6 ล้านคน

ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 108.4 ล้านคน เเละมีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 รุนเเรงในอาเซียน โดยมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 307,000 คนเเล้ว

วุฒิสมาชิก Risa Hontiveros หัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านสตรี ให้ความเห็นกับ BBC ว่าปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในฟิลิปปินส์ถูกมองข้ามไปในช่วงที่ประเทศเจอวิกฤต COVID-19 รัฐบาลควรจะเเก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังเเละควรเพิ่มเจ้าหน้าที่หญิงเพื่อทำงานนี้ด้วย

 

ที่มา : BBC , Telegraph

 

]]>
1300225
วิกฤตประชากรญี่ปุ่น : ขยายเวลาเกษียณอายุการทำงานเป็น 70 ปี แก้ปัญหาขาดเเรงงาน https://positioningmag.com/1263684 Fri, 07 Feb 2020 19:04:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263684 การเป็นสังคมสูงวัยเต็มขั้นของญี่ปุ่น กำลังสร้างความกังวลให้กับการพัฒนาประเทศชาติ เพราะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โครงสร้างงบประมาณประกันสังคม อีกทั้งยังขาดเเคลนเเรงงานเเละมีอัตราการเกิดต่ำ

ล่าสุดกับความพยายามแก้ปัญหาของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการผลักดันกฎหมายให้ภาคเอกชนขยายระยะเวลาทำงานหรือ “ขยายเวลาเกษียณอายุ” ให้กับลูกจ้างไปจนถึงอายุ 70 ปี จากเดิมที่บริษัทญี่ปุ่นมีภาระผูกพันที่จะต้องให้พนักงานทำงานจนถึงอายุ 65 ปี

เเม้ในขณะนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะยังไม่ได้บังคับให้ทุกบริษัทต้องรักษาสภาพพนักงานไปจนถึงอายุ 70 ปี
เเต่ก็ให้เป็นตัวเลือกมาลองใช้ 5 เเบบ ได้เเก่ การขยายเวลาเกษียณอายุ การปลดลูกจ้างต่อเมื่อไม่สามารถทำงานได้
เเละการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานเกินอายุที่กำหนด

มีตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการทำงานยุคใหม่อีก 2 เเบบคือ การให้บริษัทจ้างงานลูกจ้างที่เกษียณอายุแล้วในรูปแบบ “ฟรีแลนซ์” เเละให้จ้างงานลูกจ้างให้ทำงานเป็นการกุศลของบริษัท

โดยจะมีผลักดันร่างกฎหมายนี้เข้าสู่สภานิติบัญญัติ และคาดว่าจะบังคับใช้ให้ได้ภายในเดือนเมษายนปี 2021

ต่อจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนจะทำให้การขยายเวลาเกษียณอายุงานไปถึง 70 ปีกลายเป็นพันธะผูกพันในอนาคต ซึ่งหากมองอีกมุมก็สร้างความกังวลให้กับคนรุ่นใหม่ไม่น้อย เพราะการทำงานตลอดชีวิตของพวกเขาจะต้องยืดไปอีก 5 ปีนั่นเอง

วิกฤตประชากรญี่ปุ่น อีกด้านที่น่าวิตกคือมีอัตราการเกิดที่ต่ำมาก โดยในปี 2019 มีเด็กเกิดใหม่ลงต่ำกว่า 900,000 คน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติมาในรอบ 120 ปี

อัตราการเกิดที่ลดลงจนน่ากังวลเช่นนี้ จะนำไปสู่การขาดเเคลนวัยเเรงงานซึ่งเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเเละเป็นกลุ่มคนจ่ายภาษี ซึ่งจะมีผลกระทบด้านสวัสดิการมากขี้น เนื่องจากรัฐต้องใช้เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุจำนวนมากในประเทศ

ที่ผ่านมาทางการญี่ปุ่นพยายามอย่างหนักที่จะเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ (Fertility Rate) ให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ที่ 1.8 ภายในสิ้นปี 2025 โดยออกมาตรการสนับสนุนการเลี้ยงเด็กและการจ้างงานคนรุ่นใหม่ เพื่อจูงใจให้ประชาชนมีบุตรกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม อัตราการเจริญพันธุ์ที่เป็นค่าเฉลี่ยการให้กำเนิดบุตรต่อประชากรของผู้หญิงในญี่ปุ่น เมื่อปรับตามรายอายุและหมวดอายุของสตรีแล้ว ยังอยู่ที่ 1.42 ในปี 2018

นอกจากนี้ จำนวนคู่รักที่แต่งงานใหม่ในปี 2019 ลดลงกว่า 3,000 คู่ เเละต่ำกว่า 583,000 คู่ เป็นครั้งแรกนับตั้งเเต่หลังสงครามโลก ขณะเดียวกันคู่แต่งงานที่มีการหย่าร้างในปี 2019 ก็เพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 คู่ โดยอยู่ที่ 210,000 คู่

อ่านเพิ่มเติม : วิกฤตประชากรญี่ปุ่น : จำนวนเด็กเกิดใหม่ปีนี้ ต่ำสุดในรอบ120 ปี เเต่งงานน้อย-หย่าร้างเพิ่ม

 

ที่มา : japantoday , scmp

]]>
1263684