ผู้ประกอบการรายย่อย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 26 Oct 2023 05:26:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แบงก์นี้ใจใหญ่! รับโฆษณาร้านให้พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย “ฟรี” ช่วยเหลือกันช่วงเศรษฐกิจซบเซา https://positioningmag.com/1449300 Thu, 26 Oct 2023 06:50:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449300

SCB เปิดแคมเปญ “โฆษณาร้านค้าให้ฟรี จากสินเชื่อมณีทันใจ” อัดงบ 10 ล้านบาท ทำการตลาดให้กับผู้ประกอบการรายย่อย (SSME) ที่ได้รับคัดเลือก 52 ร้าน หวังช่วยแบ่งเบาภาระค่าการตลาดให้กับพ่อค้าแม่ค้า ผลักดันร้านค้าที่มีสินค้าดี ไอเดียดี ในยุคแข่งขันสูง

ในยุคเศรษฐกิจแข่งขันสูง กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (SSME) หรือพ่อค้าแม่ค้า คือกลุ่มที่ต้องต่อสู้อย่างยากลำบากมากที่สุด ด้วยภาระต้นทุนการผลิตที่ต้องแบกรับท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันการทำการตลาดก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น แต่นั่นคือภาระต้นทุนที่จะทับถมมากขึ้นไปอีกสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เล็งเห็นถึงภาระและข้อจำกัดด้านเงินทุนของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า จึงจัดตั้งแคมเปญ “โฆษณาร้านค้าให้ฟรี จากสินเชื่อมณีทันใจ” ขึ้นเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แคมเปญนี้มุ่งหวังแบ่งเบาภาระให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ด้วยการทำการตลาด โฆษณาร้านค้าให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับคัดเลือกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย


บูสต์โพสต์ฟรี-ฝากร้านให้อินฟลูเอนเซอร์ช่วยโฆษณา

“ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม” รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้เพียงแต่นำเสนอโซลูชันทางการเงินเพื่อสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าให้เติบโตอย่างยั่งยืนเท่านั้น แต่ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม ผ่านการสร้างเครือข่ายที่จุนเจือ เกื้อกูล และแบ่งปันกัน

นั่นจึงเป็นที่มาของแคมเปญ “โฆษณาร้านค้าให้ฟรี จากสินเชื่อมณีทันใจ” ที่ธนาคารใช้งบลงทุนไปกว่า 10 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือด้านการตลาดให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างราบรื่น

ภายใต้แคมเปญนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดรับสมัครร้านค้าเข้าร่วมแคมเปญ มาฝากร้านเพื่อรับการโปรโมตฟรีกับทางธนาคารระหว่างวันที่ 8-12 กันยายน 2566 โดยมีร้านค้าที่ได้รับคัดเลือกทั้งหมด 52 ร้าน กระจายไปในหมวดหมู่ต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านเสื้อผ้า ร้านสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง ร้านอุปกรณ์การเกษตร เป็นต้น

หลังจากนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ได้นำภาพและข้อมูลของร้านที่ได้รับคัดเลือก ทยอยลงโปรโมตในลักษณะอัลบัมรูปโพสต์ผ่านทาง Facebook Page: SCB Thailand พร้อมลงงบโฆษณาบูสต์โพสต์ให้ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2566

นอกจากนี้ ยังมีการคัดเลือก 15 ร้านค้าเพื่อรับการโปรโมตโดยอินฟลูเอนเซอร์พันธมิตรของธนาคารผ่านช่องทาง TikTok โดยมีครีเอเตอร์ที่มาร่วมแคมเปญ เช่น สูตรลับหลังร้าน (@smecookingsecrets), Gluta Story (@glutastory), ThomasTom และสยาโม (@tangmomovoice) เป็นต้น


ดึง “พลอย-ชิดจันทร์” – “โต้ง-ทูพี” ช่วยโปรโมตแคมเปญ

ในช่วงเปิดตัวแคมเปญ “โฆษณาร้านค้าให้ฟรี จากสินเชื่อมณีทันใจ” ธนาคารไทยพาณิชย์ยังลงทุนโปรโมตแคมเปญนี้ด้วยซีรีส์หนังโฆษณาทั้งหมด 5 ชิ้น ซึ่งได้นักแสดงและนักร้องดังอย่าง “พลอย-ชิดจันทร์” และ “โต้ง-ทูพี” มาร่วมถ่ายทำ

ในโฆษณาชุดนี้มีการโปรโมต SSME ไปทั้งหมด 4 ร้าน ได้แก่

  • ร้านเตี๋ยวกะตํา By’Pond ครบทุกรสที่เดียว มีมากกว่า 120 เมนู ราคาเริ่มต้นเพียง 35 บาท
  • ร้าน Destiny Nail & Spa เล็บบรรเจิดเลิศทุกลาย มีทั้งแวกซ์และสปาสูตรพิเศษ
  • ร้าน Star Award and Trophy เล็ก ใหญ่ ไทย อินเตอร์ เหรียญ ถ้วย โล่ มีครบทุกรางวัล ที่ซอยจุฬาฯ 6
  • ร้านโชคทรัพย์อนันต์ฟิชชิ่ง จำหน่ายอุปกรณ์ตกปลา & เหยื่อตกปลาทุกชนิด อยู่บางขุนเทียนชายทะเล

โฆษณาชุด “โฆษณาร้านค้าให้ฟรี จากสินเชื่อมณีทันใจ” มีผู้เข้าชมผ่านทาง YouTube มากกว่า 7.6 แสนครั้ง และธนาคารไทยพาณิชย์ยังส่งโฆษณาประชาสัมพันธ์แคมเปญขึ้นป้ายบิลบอร์ดดิจิทัลนอกบ้าน (DOOH) รวมถึงป้าย ณ จุดขายใน 7-Eleven ทั่วประเทศด้วย

จากการประชาสัมพันธ์แคมเปญทั้งหมด ทำให้ได้รับผลตอบรับที่ดี มีร้านค้าฝากร้านเข้ามาสมัครรับสิทธิโปรโมตฟรีกับทางธนาคารฯ เป็นจำนวนมาก ซึ่งทางธนาคารไทยพาณิชย์หวังว่าจะได้เป็นกำลังใจ ส่งแรงสนับสนุนให้กับพ่อค้าแม่ค้าทุกคน

ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังมีโซลูชันด้านการเงินที่สามารถช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยได้ คือ ผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อมณีทันใจ เพื่อธุรกิจ” ตอบโจทย์เรื่องการเป็นผู้ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อย เพียงมีบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ และรับชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ของธนาคารอย่างน้อย 1 ช่องทาง เช่น รับเงินโอนจากลูกค้าผ่านพร้อมเพย์ หรือโอนเข้าบัญชีของธนาคารไทยพาณิชย์ รวมเดือนละ 25,000 บาท ต่อเนื่องทุกเดือนในรอบ 3 เดือนล่าสุด ไม่ต้องส่งเอกสาร ไม่ต้องใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน ก็สามารถกดขอสินเชื่อมณีทันใจ ผ่านแอป SCB EASY รู้ผลอนุมัติไวสุดใน 5 นาที ขอสินเชื่อได้ตั้งแต่ 10,000 – 500,000 บาท ผ่อนสบายนานสูงสุด 60 เดือน

สมัครผ่านแอป SCB EASY คลิก https://link.scb/2G5PRAr
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://link.scb/33FQ2hK
**เงื่อนไขการอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด**

]]>
1449300
ttb business one ต่อยอดฟีเจอร์ใหม่ จาก Pain Point ชาวเอสเอ็มอี จัดการธุรกิจผ่าน ‘มือถือ’  https://positioningmag.com/1362565 Wed, 17 Nov 2021 09:55:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362565 SMEs ไทยปรับตัวเข้าหาดิจิทัล ttb business one จับโอกาสเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ รับโมบายแอปพลิเคชัน เเก้ Pain Point ผู้ประกอบการ จัดการธุรกิจผ่านมือถือได้ในระบบเดียว 

ปัจจุบันธุรกิจ SMEs’ (เอสเอ็มอี) ในไทย มีผู้ประกอบการมากถึง 3 ล้านราย คิดเป็นกว่า 99% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อ GDP ถึง 42% มีการจ้างงานเเละกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคต่างๆ

เเต่เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดลากยาวมาเกือบ 2 ปี ผู้ประกอบการรายย่อยรับผลกระทบหนัก ต้องปรับตัวให้อยู่รอด ดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนเเปลงไป

ในช่วงโควิด SMEs ส่วนใหญ่ยังต้องการความช่วยเหลือ โดย 52% ยังพอประคองตัวไปได้ อีก 10% ไปได้ดี เเต่อีกกว่า 38% อยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง

ต่อยอดเทคโนโลยีจาก Pain Point ผู้ประกอบการ 

จุดนี้เป็นโอกาสของ ทีเอ็มบีธนชาต ที่จะพัฒนาดิจิทัลโซลูชันttb business one’ มาจับกลุ่มตลาดลูกค้า SMEs โดยเฉพาะ โดยเน้นไปที่การเเก้ Pain Point ของผู้ประกอบการ SMEs ที่มักจะทำธุรกิจผ่านมือถือต้องเจอบ่อยๆ อย่าง

  • การทำธุรกรรมหลายประเภทต้องเข้าหลายระบบ หรือลืมรหัสผ่านเพราะมีหลายอัน
  • ดิจิทัลเเบงก์กิ้งบนคอมพิวเตอร์กับมือถือ ‘เเยกโปรไฟล์กัน’ ทำให้สับสน ใช้งานเฉลี่ย 7 คลิกต่อ 1 ธุรกรรม
  • ไม่รู้ว่าเงินโอนรับเข้ามานั้นมาจากคู่ค้ารายใด ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
  • ไม่รู้วิธีการจ่ายหรือการโอนเงินแบบไหนเร็วที่สุด หรือประหยัดที่สุด
  • โอนจ่ายโดยไม่รู้จำนวนเงินสำรองที่เหลือ
  • ไม่สามารถตั้งเมนู Personalize ได้ตามความต้องการของเเต่ละเเผนกได้

ปัจจุบัน ทีเอ็มบีธนชาต มีลูกค้าธุรกิจและเอสเอ็มอีที่ทำธุรกรรมบนดิจิทัลแบงก์กิ้ง ทั้งโมบายแอปพลิเคชัน และอินเทอร์เน็ต รวมเกือบ 200,000 ราย

หากเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประกอบการ SMEs หันมาใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 60% และลูกค้าธุรกิจทั้งหมดมีจำนวนรายการที่ทำผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว หรือเพิ่มขึ้น 160% ขณะที่สัดส่วนการทำธุรกรรมของลูกค้าระหว่างช่องทางดิจิทัลกับช่องทางสาขาเปลี่ยนจาก 40% ต่อ 60% เป็น 80% ต่อ 20% เเล้ว

การออกแบบโมบายแอปพลิเคชันในครั้งนี้ล้วนมาจากความคิดเห็นของลูกค้าจริง ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานให้มากที่สุด” สุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาต กล่าว 

ฟีเจอร์ใหม่ คุมธุรกิจได้ผ่าน ‘มือถือ’ 

ผ่านมาได้ 11 เดือน หลังทีเอ็มบีธนชาต เปิดตัวบริการ ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ครั้งนี้ก็ถึงเวลาขยายฟีเจอร์ใหม่ๆ ผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน อย่างเต็มรูปเเบบ อิงตามความต้องการของลูกค้า 

โดยคอนเซ็ปต์หลักๆ ของ ttb business one คือการวางจุดเด่นเป็น One Platform ระบบเดียวเข้าได้จากทุกอุปกรณ์ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์เดียวกันทั้งหมด เห็นทุกอย่างในโปรไฟล์เดียวกัน

One to Control คือระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม ซื้อ ขาย รับ จ่าย ทั้งในและต่างประเทศ ควบคุมธุรกิจได้จากที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายแอป จำหลาย user password เช่น โอนเงินในประเทศ ต่างประเทศ เรียกดูวงเงิน OD 

เเละ One to Command ระบบเดียว มองเห็นภาพรวมและข้อมูลสรุปทางการเงินภายในบริษัท ด้วย Dashboard ที่เรียกดูง่ายและเข้าใจง่าย สามารถสั่งการต่อได้เลย พร้อมระบบมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

“ฟีเจอร์บนมือถือ จะมีทั้งการอนุมัติรายการ ทำรายการที่ง่ายขึ้นไม่ต้องกดหลายครั้ง การเรียกดูรายงานต่าง ๆ ได้ในหน้าจอเดียว พร้อมการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายงานตามที่ต้องการ สามารถควบคุมทุกเรื่องธุรกิจได้จากมือถือ” 

รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัลลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต บอกว่า จากตัวเลขการใช้ธุรกรรมช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยืนยันว่า ttb business one มาถูกทางแล้ว ฟีเจอร์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางดิจิทัลได้เต็มที่ 100% มีข้อมูล Data Insightful ช่วยคาดการณ์กระแสเงินสดเข้า-ออก ภายในบริษัทได้ล่วงหน้า ทำให้บริหารจัดการกระแสเงินสดได้ ซึ่งตอนนี้ไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม

“ttb ตั้งเป้าว่าด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีลูกค้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น 60% ภายในสิ้นปี” 

 

]]>
1362565
รู้จัก ‘Funding Societies’ เเพลตฟอร์มระดมทุนเจ้าใหญ่ รุกหา SMEs ไทย ให้ ‘เงินทุน’ เเบบไม่มีหลักประกัน https://positioningmag.com/1318596 Mon, 15 Feb 2021 13:29:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318596 การไม่เข้าถึงเเหล่งเงินทุน เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของ SMEs เเละสตาร์ทอัพสัญชาติไทยเรื่อยมา เเละยิ่งเพิ่มมากขึ้นในยามเศรษฐกิจตกต่ำ เหล่านี้เป็นช่องว่างธุรกิจที่ดึงดูดให้แพลตฟอร์มระดมทุนจากต่างประเทศ เริ่มเข้ามาคว้าโอกาสนี้ในไทยกันมากขึ้น

ล่าสุดFunding Societies’ แพลตฟอร์มเงินทุนดิจิทัลสำหรับ SMEs รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน เป็นอีกเจ้าที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในบ้านเรา หลังได้รับใบอนุญาตการเป็นผู้ให้บริการระบบ Crowdfunding หรือแพลตฟอร์มระดมทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (...) 

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับFunding Societiesเเพลตฟอร์มระดมทุนที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างนักลงทุนเเละผู้ประกอบการรายย่อยให้มาพบกัน

ทำไม Funding Societies ถึงมาไทย ?

Funding Societies คือแพลตฟอร์มเงินทุนดิจิทัล ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย เปิดกิจการมาตั้งเเต่ปี 2015 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการระดมทุนอย่างถูกต้องทั้งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เเละล่าสุดในไทย

ที่ผ่านมามีการระดมทุนรวมมากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.5 หมื่นล้านบาท) ได้สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มาแล้วจำนวน 65,000 ราย มีนักลงทุนทั้งหมดบนแพลตฟอร์มราว 200,000 ราย 

มีบริษัทนักลงทุนใหญ่ๆ เข้าร่วมระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มของ Funding Societies อย่าง Sequoia India, Softbank Ventures Asia Corp, Qualgro, LINE Ventures ฯลฯ โดยได้รับการระดมทุน Series C 1,300 ล้านบาท (ราว 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา

เรามองเห็นศักยภาพของ SMEs และสตาร์ทอัพที่มีอยู่หลายล้านรายในประเทศไทย พวกเขาควรได้รับโอกาสทางการเงินที่เท่าเทียม วารุน บันดารี กรรมการผู้จัดการใหญ่ Funding Societies ประเทศไทย กล่าว

จากข้อมูลของบริษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) ระบุว่า แม้ประเทศไทยจะมีผู้ประกอบการ SMEs มากกว่า 3 ล้านราย แต่มากกว่าครึ่งกำลังประสบปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ โดยเฉพาะเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น

วารุน บันดารี กรรมการผู้จัดการใหญ่ Funding Societies ประเทศไทย

ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เกิดช่องว่างทางการเงินแก่ธุรกิจ SMEs มากกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.2 ล้านล้านบาท) เเละภาวะขาดแคลนเงินทุนยิ่งทวีความเลวร้ายมากขึ้นในวิกฤตโรคระบาด เพราะสถาบันการเงินต่างพยายามลดอัตราการปล่อยสินเชื่อให้น้อยลงเพื่อลดความเสี่ยง

วารุนบอกว่า ธุรกิจ SMEs มีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยมากกว่า 40% ทำให้เกิดอัตราการจ้างงานถึง 78.5% แต่กลับต้องเผชิญปัญหานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินรูปแบบเดิมเนื่องจากขาดแคลนหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันรวมถึงข้อกำหนดการยื่นเอกสารที่ยุ่งยากและขั้นตอนการอนุมัติที่ใช้เวลานาน

…นี่จึงเป็นโอกาสของ Funding Societies ที่จะเข้ามาทำธุรกิจในไทย

ตามหา SMEs โปรไฟล์ดี 

Funding Societies จะให้บริการ ‘Debt Crowdfunding’ หลักๆ ได้เเก่ ช่วยเหลือ SMEs ขนาดเล็ก โปรไฟล์ดี ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ต้องการเงินลงทุนตั้งแต่ 5-30 ล้านบาท ขณะที่ในเว็บไซต์ระบุว่าเงินทุนสูงสุด 50 ล้านบาท

โดยเป็นเเพลตฟอร์มเชื่อมระหว่าง SMEs และนักลงทุน ให้สามารถลงทุนได้ ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายบุคคล ซึ่งแพลตฟอร์มจะประเมินความเสี่ยงด้านสินเชื่อเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน

การพิจารณาการให้ทุน จะมีการตรวจสอบเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ รายการเดินบัญชีจากธนาคาร เบื้องต้นในบางกรณีจะสามารถอนุมัติเงินทุนได้ภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนปกติจะสามารถอนุมัติเงินทุนให้คุณได้เร็วสุดภายใน 3 วันหลังได้รับเอกสารครบถ้วน

เงินทุนเพื่อธุรกิจนี้เหมาะสำหรับนิติบุคคลในไทย ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ดำเนินธุรกิจมาแล้ว 12 เดือน เเละไม่มีประวัติค้างชำระหนี้เกิน 3 เดือน ซึ่งจะทำการพิจารณาคำขอระดมทุนเป็นรายกรณีไป 

สำหรับเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้น สืบพงศ์ ชัยวนนท์ รองประธานฝ่ายเครดิต Funding Societies ประเทศไทยให้ข้อมูลกับ Positioningmag ว่า จะคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2% ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเเต่ละกรณี เเละมีระยะการผ่อนชำระตั้งเเต่ระยะสั้น 3 เดือนไปจนถึงสูงสุด 24 เดือน

เมื่อถามว่า หากไม่มีการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเเล้ว หากมีการผิดชำระขึ้นมาจะจัดการอย่างไร ผู้บริหาร Funding Societies ตอบว่า จะดำเนินการตามตามสัญญากู้เงินที่ระบุไว้ตามข้อตกลง ซึ่งบริษัทพยายามจำกัดอัตราการผิดชำระหนี้ให้ต่ำกว่า 2% ซึ่งต่ำกว่าในตลาดที่อยู่ราว 5%

ด้านนักลงทุนสามารถเริ่มต้นลงทุนได้ตั้งแต่ 10,000 บาท เป็นการร่วมสนับสนุน SMEs ไทยที่นักลงทุนชื่นชอบให้สามารถขยายกิจการหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปได้ รวมถึงเป็นช่องทางในการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบเเทนเป็นที่พอใจ ซึ่งนักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ

โดยจะมีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยทำให้สามารถนำแสนอรูปแบบการระดมทุนแบบใหม่ๆ ที่รวดเร็วสะดวก และไม่แพงจนเกินไป

ผู้บริหาร Funding Societies กล่าวว่า การการันตีผลตอบแทนนั้น ขณะนี้อาจจะยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เเต่อ้างว่ามีอัตราสูงกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นกู้ชนิดอื่น ๆ 

Funding Societies บอกถึงเผนธุรกิจในในช่วง 1-2 ปีแรกของการรุกตลาดไทย ว่า ไม่ได้ตั้งเป้าหมายเป็นตัวเลข  ในช่วงเริ่มต้นเรายังไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า จะมีการระดมทุนให้ SMEs ไทยได้เท่าไหร่ และมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนผ่านแพลตฟอร์มของเราเท่าไหร่

เเต่ทิศทางธุรกิจจะเน้นไปที่การทำความเข้าใจความต้องการในตลาดเเละธุรกิจ SMEs ในไทยมากกว่า ว่าพวกเขาขาดอะไร ต้องการอะไร ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการ

ผู้เล่นในตลาด ‘ระดมทุน’ ไทย 

การระดมทุน แบบ Crowdfunding มีมานานมากเเล้วในต่างประเทศ เเต่ในไทยยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก หลักๆ ซึ่งเป็นที่นิยม จะมีอยู่ 2 ประเภท ได้เเก่ 1) Debt Crowdfunding 2) Equity Crowdfunding 

โดย Debt Crowdfunding ประเภทธุรกิจผู้ขอเงินทุน กลุ่ม SMEs หรือสตาร์ทอัพที่ต้องการเงินทุนเพื่อหมุนเวียนธุรกิจ จ่ายดอกเบี้ยต่ำ และความเสี่ยงของผู้ลงทุนต่ำกว่า โดยบริษัทที่เป็นผู้ขอเงินทุน จะอยู่ในสถานะลูกหนี้

Equity Crowdfunding คือ การระดมทุนจากบุคคลทั่วไป โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็น หุ้น (Equity) หรือ สิทธิความเป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งเจ้าของกิจการจะเป็นผู้ควบคุม และกำหนดนโยบายได้ว่าจะจ่ายผลตอบแทนเป็น กำไร เงินปันผล หรือ หุ้นให้กับผู้ลงทุน ประเภทธุรกิจผู้ขอเงินทุนจะเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ที่ต้องการเงินลงทุนในช่วงเริ่มต้น หรือ ช่วงขยายกิจการ

ปัจจุบัน แพลตฟอร์มระดมทุนที่เปิดให้บริการในประเทศไทยอย่าง

  • Taejai.com เทใจดอทคอม มุ่งให้ทุนเเก่ชกลุ่มที่อยากจะทำเรื่องดีดีเพื่อสังคม
  • DURIAN CORP Where Angle Meet Unicorns แพลตฟอร์มสร้างนวัตกรรมครบวงจรเสนอแหล่งเงินทุนเพื่อสตาร์ทอัพผลักดันให้บริษัทไทยเป็นยูนิคอร์น
  • Sinwattana สินวัฒนา เปิดตัวมาตั้งเเต่ปี 2013 จากเเนวคิดที่ว่า อยากให้เกิดแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิงในเอเชีย และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (...) เปิดให้บริการระดมทุนแบบครบวงจร
  • XUXU หรือสู้สู้แพลตฟอร์ม Crowfunding ของไทยให้เงินทุนกับธุรกิจใหม่ๆ ที่มีไอเดียเจ๋งๆ
  • Dreamaker Equity Crowdfunding เป็นการระดมทุนแบบ Investment-based Crowdfunding ผ่านทางเว็บไซต์ เน้นให้เงินทุนเเก่บริษัทที่มีเเนวโน้มจะเติบโต

นอกจากนี้ ยังมีแพลตฟอร์ม Crowdfunding ของต่างประเทศที่มาตีตลาดไทย อย่าง Kickstarter, Indiegogo เเละ StartEngine

ต้องจับตาดูว่าธุรกิจ Crowdfunding ที่เจาะตลาด SMEs ขนาดเล็กในไทยจะเป็นไปอย่างไร หลังมีเจ้าใหญ่กระโดดเเย่งชิงโอกาสทองนี้

 

]]> 1318596 ก้าวต่อไปของ Foodpanda ขอเป็น “ฟู้ดเดลิเวอรี่ ภูธร” มุ่งเข้าหา “ร้านอาหารเล็ก” ในชุมชน https://positioningmag.com/1305563 Thu, 12 Nov 2020 10:49:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305563 หลังเข้ามาตีตลาดในไทยได้ 8 ปี วันนี้ฟู้ดเเพนด้า” (Foodpanda) เดลิเวอรี่ชื่อดังจากเยอรมนี ขยายให้บริการครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ ได้เป็นเจ้าเเรกเเล้ว

อย่างที่ทราบกันว่า ฟู้ดเเพนด้า มีกลยุทธ์หลักคือ Hyperlocalization ขยายไปยังต่างจังหวัดให้ได้มากที่สุด เเตกต่างจากฟู้ดเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่รายอื่นที่เข้ามาทำตลาดไทย โดยเน้นพื้นที่กรุงเทพฯ เเละปริมณฑลเป็นหลัก

ฟู้ดเเพนด้า เป็นผู้เล่นรายแรกๆ ที่ทำตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทย มาตั้งแต่ปี 2012 ตอนนั้นกระเเสเดลิเวอรี่ไม่ได้บูมเช่นปัจจุบัน บริษัทเริ่มรุกตลาดต่างจังหวัดไปที่เชียงใหม่ในปี 2014 เเละตอนนี้ก็ยังครองตลาดเมืองเหนือได้อย่าง
เหนียวเเน่น

การลงเล่นในสนามฟู้ดเดลิเวอรี่ต่างจังหวัดนั้นมีโอกาสและความท้าทายอยู่ไม่น้อย

อเล็กซานเดอร์ เฟลเดอร์ กรรมการผู้จัดการ ฟู้ดแพนด้า ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่าประชากรไทยมีอยู่ราว 70 ล้านคน อยู่ในกรุงเทพฯ 10 ล้านคน ดังนั้นที่เหลืออีกกว่า 60 ล้านคนคือโอกาสที่จะมาเป็นลูกค้าเรา” 

เเม้ฟู้ดแพนด้าจะให้บริการ 77 จังหวัดเเล้ว เเต่ในต่างจังหวัดก็ยังจะครอบคลุมเเค่พื้นที่ในเมืองเป็นหลักเท่านั้น ซึ่งก้าวต่อไปที่บริษัทจะต้องทำให้ได้ ก็คือการเข้าถึงพื้นที่ชุมชนที่เล็กกว่านั้นเจาะทั้งอำเภอเเละตำบลต่างๆ

อเล็กซานเดอร์ เฟลเดอร์ กรรมการผู้จัดการ ฟู้ดแพนด้า ประเทศไทย

ปัจจุบัน ฟู้ดเเพนด้ามีจำนวนร้านอาหารอยู่ในระบบราว 120,000 ร้าน เพิ่มขึ้นกว่า 70,000 ร้าน ในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา จากอานิสงส์ช่วงล็อกดาวน์จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีไรเดอร์หรือคนขับ เพิ่มขึ้นเป็นหลักเเสนคน” (จากช่วงกลางปีอยู่ที่ 90,000 คน)

บริษัทเคลมว่า ตอนนี้มีระยะเวลาการจัดส่งอาหารถึงมือผู้สั่งเร็วที่สุดในบรรดาฟู้ดเดลิเวอรี่ไทยที่ 19.9 นาที จากเดิมในปี 2016 ท่ีมีระยะเวลาส่งเฉลี่ย 45 นาที

ฟู้ดเดลิเวอรี่ “ต่างจังหวัด” …ไม่ง่าย 

หลังการดำเนินกลยุทธ์ Hyperlocalization มาหลายปี มองอะไรเป็นความท้าทายเเละอุปสรรคของการทำตลาดเจาะฟู้ดเดลิเวอรี่ต่างจังหวัดในไทย

ผู้บริหารฟู้ดเเพนด้า ตอบว่า เเม้วงการนี้จะมีการเเข่งขันที่ดุเดือด เเต่ในต่างจังหวัดยังไม่มีคู่เเข่งมากนัก เป็นโอกาสที่จะไปเปิดฐานลูกค้าใหม่ โดยปัจจุบันบริษัทมีคำสั่งซื้อจากต่างจังหวัดสูงถึง 50% ของออเดอร์ทั้งหมด

เเต่ยังมีความท้าทายสำคัญที่ต้องฝ่าฟันต่อไป เช่น ระยะทางของร้านอาหารกับผู้ซื้อที่ห่างกันเเละจำนวนไรเดอร์ก็มีน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่เเละกรุงเทพฯ จึงทำให้มีระยะเวลาการจัดส่งอาหารนานขึ้นตามไปด้วย

อีกทั้งผู้บริโภคต่างจังหวัดในเมืองรอง ยังไม่คุ้นชินกับการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่มากนัก ส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารเเล้วทานที่ร้านเลย

ซึ่งต่อไปฟู้ดเเพนด้าจะพยายามอุดช่องว่างปัญหาเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด ผ่านการโปรโมตต่างๆ จัดโรดโชว์เพิ่มการรับรู้เรื่องการใช้เเอปพลิเคชัน เเละอัดโปรโมชันส่วนลด เพื่อดึงดูดให้คนต่างจังหวัดหันมาใช้มากขึ้น

ทั้งนี้ คู่เเข่งรายใหญ่อย่าง Grab ให้บริการใน 32 จังหวัด ส่วน LINE Man WongNai เปิดให้บริการใน 14 จังหวัด , Gojek ให้บริการใน 6 จังหวัด ขณะที่น้องใหม่ Robinhood จากค่ายไทยพาณิชย์ ยังให้บริการเเค่ในกรุงเทพฯ ส่วนที่เหลือจะเป็นเเอปฯ ฟู้ดเดลิเวอรี่เล็กๆ ท้องถิ่นของคนไทย

เจาะ “ร้านเล็ก” ขยาย Grocery 

จำนวนร้านอาหารในระบบของฟู้ดเเพนด้า ล่าสุดที่มีอยู่ราว 120,000 ร้านนั้น หากเเบ่งเป็นสัดส่วนจะเห็นว่า กว่า 90% เป็นร้านอาหารรายย่อยแบบสแตนด์อะโลน ส่วนอีก 10% เป็นร้านอาหารของเชนแบรนด์ใหญ่

เฟลเดอร์ บอกว่า ถือเป็นจำนวนร้านเล็กที่สูงกว่าฟู้ดเดลิเวอรี่เจ้าอื่นๆ เเต่ตลาดเมืองไทยยังมีโอกาสที่บริษัทจะขยายไปได้มากกว่านั้น เพราะยังมีร้านอาหารมากกว่าอีก 3-4 แสนแห่งที่อยู่นอกระบบรอเราอยู่

อย่างที่ทราบกันว่า ความท้าทายของร้านอาหารเล็กๆคือเมื่อเจอการหักค่าธรรมเนียมสูง เเต่ออเดอร์ต่อรายการยังน้อยกว่าเชนใหญ่ ทำให้บางร้านไม่สามารถขายผ่านเเพลตฟอร์มด้วยราคาปกติได้

สำหรับประเด็นการหักค่า GP และการจ่ายเงินร้านอาหารล่าช้านั้น ผู้บริหารฟู้ดเเพนด้า ตอบว่า การหัก GP ในเรตดังกล่าวถือเป็นตัวเลขที่เหมาะสมแล้วในแง่ของการดำเนินธุรกิจ

บริษัทต้องพัฒนาเเพลตฟอร์ม ลงทุนด้านดิจิทัลให้ตอบโจทย์กับทุกฝ่าย ทั้งร้านอาหารที่ต้องขายได้ คนขับที่ต้องมีรายได้ เเละลูกค้าที่จะจ่ายในราคาที่สมเหตุสมผล เเละยังต้องช่วยผลักดันยอดขายร้านอาหารนั้นๆ ให้สูงขึ้นตามไปด้วย อย่างการทำตลาดออนไลน์ให้ โดยที่ร้านอาหารไม่ต้องไปลงทุนทำเดลิเวอรี่ด้วยตัวเอง ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า

เป้าหมายต่อไปของฟู้ดเเพนด้า คือการการขยับมาส่งทุกอย่างไม่จำกัดเเค่อาหาร เเต่ครอบคลุมการใช้ชีวิตของผู้คนอย่างหลากหลาย เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ , ยา , เครื่องสำอาง หรือเเม้กระทั่งดอกไม้

ในช่วงเดือนก.ย. ที่ผ่านมา ฟู้ดแพนด้าปล่อยฟีเจอร์ “แพนด้ามาร์ท” รับส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ตามโมเดล Quick Commerce การันตีการส่งภายใน 20 นาที นำร่องเปิด 7 โลเคชั่นในกรุงเทพฯ ต่อยอดความสำเร็จจากสิงคโปร์ที่ได้เปิดให้บริการมาเกือบ 1 ปี มีการเติบโต 20-25 เท่า ได้มาปรับใช้ในไทย เป็นอีกโมเดลเพื่อ “เสริมรายได้ทางใหม่”

โดยตั้งเป้าขยาย “แพนด้ามาร์ท” ให้ในครอบคลุม 30 แห่งทั่วประเทศ ล่าสุดผลตอบรับค่อนข้างดี จึงได้เริ่มเปิดที่ “เชียงใหม่” ก่อนจะกระจายไปยังภาคใต้ เริ่มจาก “ภูเก็ต” เเม้ตอนนี้จะยังไม่ได้ทำรายได้ในสัดส่วนที่มากนัก เเต่เป็นอีกช่องทางธุรกิจที่จะเติบโตไปข้างหน้าอย่างเเน่นอน

pandamart

ยิ่งเเข่งดุ…ยิ่งโต 

การเเข่งขันฟู้ดเดลิเวอรี่ในประเทศไทยนั้น ยิ่งจะดุเดือดเเละชิงเค้กกันมากขึ้นตามกระเเสความนิยมเเละทางเลือกที่หลากหลายของผู้บริโภค

ผู้เล่นรายใหญ่ๆ ที่มีสายป่านยาว ยังเผาเงินขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จากการแข่งขันในธุรกิจนี้ เนื่องจากต้องวางรากฐานให้ลูกค้าติดก่อนเเละค่อยหวังผลระยะยาวในอนาคต โดยในปี 2019 ฟู้ดเเพนด้าขาดทุนที่ 1,264.50 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ก็มีผู้ให้บริการหน้าใหม่เข้ามาไม่ขาดสาย อย่าง Robinhood ของ SCB ที่กระโดดเข้ามาร่วมสงครามนี้ ดูการชูไม่เก็บค่า GP ส่วน LINE MAN ก็ประกาศควบรวมกิจการกับสตาร์ทอัพไทยอย่าง Wongnai ด้าน Gojek ก็รีแบรนด์จาก Get ประเทศไทย

โดยภาพรวมการเติบโตของตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยปี 2020  มีปริมาณคำสั่งอาหารต่อวันที่ 1.5 ล้านออเดอร์ นับว่าเติบโตจากปีที่เเล้วราว  6-7 เท่า ชะลอลงจากการเติบโตระหว่างปี 2018-2019 ซึ่งทำได้ที่ 8-9 เท่า

ผู้บริหารฟู้ดเเพนด้า เชื่อว่า ยิ่งตลาดมีการแข่งขันดุเดือดมากเท่าไหร่ตลาดยิ่งโตเเละผู้บริโภคก็ยิ่งได้ประโยชน์มากเท่านั้น ซึ่งตลาดไทยยังมีโอกาสขยายไปได้อีกมาก เเละทิศทางของธุรกิจแพลตฟอร์มสั่งอาหารก็จะเติบโตแบบต่อเนื่อง

 

 

]]>
1305563
มองธุรกิจ SMEs ไทย หลังวิกฤต COVID-19 ส่วนใหญ่ “ปรับตัวได้” เเต่กำไรหายไปมาก https://positioningmag.com/1303092 Mon, 26 Oct 2020 13:28:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303092 ธุรกิจ SMEs นับเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย ทั้งในแง่รายได้และการจ้างงาน โดย SMEs ไทยมีจำนวนกว่า 3 ล้านราย จ้างงานกว่า 12 ล้านคน 

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมาก ทั้งรายได้ที่หดหายไป การขาดสภาพคล่องทางการเงิน เเม้สถานการณ์จะดีขึ้นบ้างเเล้ว เเต่ธุรกิจจำนวนมากก็ยังมีความเสี่ยงจะปิดกิจการ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินธุรกิจ SMEs หลังสถานการณ์ COVID-19 บรรเทาลง โดยเเบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม Slow คือ ธุรกิจที่ปรับตัวได้ช้า มีความจำเป็นต้องเร่งปรับโครงสร้างเพื่อความอยู่รอด ได้แก่ ธุรกิจขนส่งผู้โดยสาร ค้าปลีกเสื้อผ้า สถานบันเทิง ประดับยนต์ และโรงแรม

กลุ่ม Viable คือ ธุรกิจที่พอปรับตัวได้ แต่ยังมีความเสี่ยงอยู่ ต้องดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังเพื่อประคองกิจการ ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ร้านอาหาร ขายเครื่องจักร บริการทางธุรกิจ และธุรกิจที่ปรึกษา

กลุ่ม Swift คือ ธุรกิจที่มีความพร้อมในการปรับตัวค่อนข้างรวดเร็ว ได้แก่ ธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค บริการคอมพิวเตอร์ ร้านขายยา/เวชภัณฑ์ ร้านสะดวกซื้อ และสถานพยาบาล

เศรษฐกิจ ประเทศไทย
Photo : Shutterstock

โดยวิเคราะห์แนวโน้มการฟื้นตัวตามลักษณะของธุรกิจ (V, U, L Shape Recovery) ว่าจะส่งผลกระทบไปยังผลการดำเนินงานของธุรกิจส่งผ่านไปยังกำไรก่อนหักภาษีของกิจการ (Earning Before Tax: EBT) โดยใช้ข้อมูลงบการเงินของธุรกิจ SMEs จำนวนกว่า 3 แสนราย ที่ดำเนินธุรกิจอยู่และส่งงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผลศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ 65.7% อยู่ใน “กลุ่ม Viable” ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ กำไรลดลง แต่ผลการดำเนินงานยังเป็นบวกมี 92.9% และขาดทุน 7.1%

ลำดับต่อมา 21.7% เป็น “กลุ่ม Slow” ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ กำไรลดลงแต่ผลการดำเนินงานยังเป็นบวกมี 73.7% และขาดทุน 26.3%

ส่วนอีก 12.6% เป็น“กลุ่ม Swift” ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ กำไรลดลงแต่ผลการดำเนินงานยังเป็นบวกมี 96.1% และมีขาดทุนเพียง 3.9%

เมื่อประเมินผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว พบว่า “กลุ่ม Swift” เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ผลการดำเนินงานของกิจการลดลงบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ยังพอมีกำไรอยู่ จึงเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีความพร้อมในการปรับตัวได้ค่อนข้างดี

ส่วน “กลุ่ม Viable” เป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่รายได้ลดลงเป็นบางส่วน ตลาดยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ทำให้กำไรของกิจการลดลงค่อนข้างมาก ธุรกิจในกลุ่มนี้จึงยังมีความเสี่ยงอยู่ ต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง เพื่อประคองกิจการให้ข้ามผ่านไป

ในขณะที่ “กลุ่ม Slow” หนักสุดเป็นกลุ่มที่ส่วนใหญ่ รายได้ยังไม่ฟื้นตัวและรายจ่ายไม่สามารถลดลงได้ และกำลังซื้อที่ชะลอตัว ผลกำไรที่ลดลงมากจึงทำให้ผลการดำเนินงานขาดทุนมาก เป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับโครงสร้าง เพื่อความอยู่รอดในระยะต่อไป

สุขภาพการเงิน SMEs ใครยังไหวอยู่?

TMB Analytics ได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงสุขภาพทางการเงินของ SMEs เพื่อให้ทราบว่า ผู้ประกอบการ SMEs กิจการมีความสามารถทำกำไรอยู่ในระดับใด และภาวะสภาพคล่องทางการเงินยังไหวหรือไม่ ด้วยการประเมินสุขภาพการเงินว่า สามารถรองรับวิกฤตและอยู่รอดข้ามผ่าน COVID-19 ได้ดีเพียงใด ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางที่ช่วยให้ธุรกิจมีศักยภาพดีขึ้นสำหรับดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยนำข้อมูลทางการเงิน 2 ด้านมาประเมินร่วมกันคือ 1. ความสามารถในการทำกำไร 2. สภาพคล่องธุรกิจ

ด้วยวิธีการประเมินสุขภาพการเงินที่กล่าวมาข้างต้น จากจำนวน 3 แสนรายที่ดำเนินธุรกิจอยู่ และส่งงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดย TMB Analytics จัดลักษณะธุรกิจออกมาเป็น 4 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ‘พร้อมโต’ เป็นกลุ่มที่สุขภาพทางการเงินดีที่สุด จากความสามารถในการทำกำไรสูง และมีสภาพคล่องธุรกิจที่แข็งแรง จากการวิเคราะห์พบว่า มี SMEs ที่อยู่ในกลุ่มนี้ 27% ของธุรกิจ SMEs ทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต่ำ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค

“กลุ่มนี้มีศักยภาพการเติบโตสูง หากสามารถวางแผนการลงทุนและการตลาดล่วงหน้าได้ เพื่อทำการขยายธุรกิจและรองรับการเติบโตในอนาคต”

กลุ่มที่ 2 ‘พร้อมฟื้น’ เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพทางการเงินรองลงมา โดยมีความสามารถในการทำกำไรที่สูง แต่ยังมีสภาพคล่องธุรกิจที่เปราะบาง จากการวิเคราะห์พบว่า มีสัดส่วนธุรกิจอยู่ในกลุ่มนี้ 27% จากธุรกิจ SMEs ทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ค่อนข้างต่ำ เช่น ค้าปลีกสินค้ายา เครื่องจักร เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 ‘รอฟื้น’ เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพทางการเงินพอไปได้ ด้วยธุรกิจยังมีสภาพคล่องธุรกิจที่แข็งแรง สามารถประคองธุรกิจให้ไปต่อ แต่มีความสามารถในการทำกำไรที่ต่ำลง พบว่ามีสัดส่วนจำนวนธุรกิจที่ 19% โดยส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจขนส่งผู้โดยสาร งานบริการทางธุรกิจ เช่น รับเหมาก่อสร้าง ที่ปรึกษา เป็นต้น

กลุ่มที่ 4 ‘รอรักษา’ เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพทางการเงินอ่อนแอกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรค COVID-19 อย่างหนักจากรายได้ที่หดหายไปมาก กระทบต่อสภาพคล่องธุรกิจ ส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรและสภาพคล่องธุรกิจไม่ดี ในกลุ่มนี้มีจำนวนกระจุกตัว 34% ส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจโรงแรมที่พัก บริการท่องเที่ยว ค้าปลีกเสื้อผ้า เป็นต้น

 

 

]]>
1303092
กำไร “แบงก์ไทย” ลดฮวบ คาดไตรมาส 3 หดตัวลึก -66.5% หาย 6 หมื่นล้าน สิ้นปี “ทรุดกว่า” https://positioningmag.com/1300840 Fri, 09 Oct 2020 09:48:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300840 ธนาคารพาณิชย์ในไทย เจอพิษ COVID-19 ไตรมาส 3 ปีนี้ คาดกำไรสุทธิหดตัวลึก -66.5% หรือลดฮวบลงกว่า 6 หมื่นล้านบาท มองไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” จากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว คุณภาพหนี้แย่ลง หาทางรับมือหลังหมดมาตรการ “พักหนี้”

จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ยังคงกดดันความสามารถในการ “ทำกำไร” ของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/2563 โดยรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม มีแนวโน้มลดลงตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ภาคส่วน นอกจากนี้ รายได้ดอกเบี้ยของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ยังได้รับผลกระทบมากขึ้น จากทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ด้วย

กำไร “เเบงก์ไทย” ลดฮวบ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ ถึงผลประกอบการระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3 /2563 โดยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ จะยังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง แม้ระดับกำไรสุทธิอาจจะขยับขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563

โดยคาดว่า กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3/2563 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท หรือ -66.5% YoY เมื่อเทียบกับที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 9.16 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง มีกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทประกันซึ่งธนาคารถือหุ้นอยู่

อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิที่ระดับดังกล่าวขยับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ ในไตรมาส 3/2563 ของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งอาจชะลอลงบางส่วน หลังจากที่มี
นโยบายการตั้งสำรองฯ เชิงรุกในระดับที่สูงมากในไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา

ขณะที่ “รายได้จากธุรกิจหลัก” ยังคงไม่ฟื้นตัวขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ที่โดนกระทบหนักจากวิกฤต COVID-19

สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 4/2563 คาดว่า การประคองทิศทางรายได้และกำไรสุทธิ จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น เนื่องจากต้องรับมือกับการจัดการปัญหาหนี้เสีย การดูแลปรับโครงสร้างลูกหนี้ ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ และอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นไปพร้อมกัน

Photo : Shutterstock

สินเชื่อ ชะลอตัว – NIM ปรับลด – คุณภาพหนี้แย่ลง

KBANK มองว่า “สินเชื่อ” ของธนาคารพาณิชย์ไทย อาจเติบโตในอัตราที่ชะลอลงมาที่ 4.5-4.8% YoY ในไตรมาส 3/2563 จาก 5.1% YoY ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังต้องประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้าที่มาขอสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวัง ประกอบกับมีการทยอยชำระคืนสินเชื่อของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่บางราย

ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนว่าหลังจากมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินทยอยครบกำหนดลง มีลูกหนี้ธุรกิจและรายย่อยบางส่วนเริ่มกลับมาชำระคืนหนี้ในช่วงไตรมาส 3/2563 นี้ด้วยเช่นกัน

โดย NIM ไตรมาส 3/2563 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 2.65-2.70% จาก 2.73% ในไตรมาส 2/2563 เป็นผลต่อเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงก่อนหน้านี้ ประกอบกับสินเชื่อปล่อยใหม่ส่วนใหญ่ รวมถึงสินเชื่อรีไฟแนนซ์ในระยะนี้ เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง นอกจากนี้ เพดานใหม่สำหรับดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็เริ่มมีผลบังคับแล้ว ตั้งแต่เดือนส.ค. 2563 ที่ผ่านมา

ด้าน “คุณภาพสินเชื่อ” ในพอร์ตถดถอยลง ตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจ คาดว่า สัดส่วน NPLs ของระบบธนาคารไทยในไตรมาส 3/2563 จะขยับขึ้นไปที่กรอบประมาณ 3.25-3.35% จากระดับ 3.21% ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของมาตรการพักชำระหนี้ของภาคธุรกิจ ประกอบกับคาดว่า ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะเร่งจัดการปัญหาหนี้เสียในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งด้วยวิธีการตัดขายหนี้ด้อยคุณภาพ และเร่งปรับโครงสร้างหนี้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การตั้งสำรองฯ จะยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาส 3/2563 แม้จะมีการตั้งสำรองฯ ก้อนใหญ่ไปแล้วในไตรมาส 2/2563 ดังนั้นสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ต่อสินเชื่อ (Credit Cost) อาจชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ในกรอบประมาณ 1.80-1.95% ในไตรมาส 3/2563 เทียบกับ 2.15% ในไตรมาส 2/2563

“ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คงเตรียมความพร้อมในส่วนนี้ไว้เพื่อรองรับปัญหาคุณภาพหนี้ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ทยอยสิ้นสุดลงหลังในเดือนตุลาคมนี้” 

โจทย์ยาก เมื่อ SMEs หมดมาตรการ “พักหนี้”

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เมื่อจบไตรมาส 3/2563 สินเชื่อที่ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์จะมีสัดส่วนประมาณ 28.5% ต่อสินเชื่อรวม ลดลงเล็กน้อยจากสัดส่วนประมาณ 31.0% ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากลูกหนี้บางส่วนกลับมาชำระคืนหนี้ได้ตามปกติหลังมาตรการช่วยเหลือรอบแรกทยอยสิ้นสุดลง

“การประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้บุคคลและลูกหนี้ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs หลังจากมาตรการพักหนี้สิ้นสุดลง ยังคงเป็นโจทย์ยากและมีความท้าทายสำหรับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังมีสถานะทางการเงินที่เปราะบาง ขณะที่สัญญาณอ่อนแอทางเศรษฐกิจที่ลากยาวต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้ได้อีกในอนาคต” 

ดังนั้น แม้มาตรการพักชำระหนี้ธุรกิจเป็นการทั่วไปจะทยอยสิ้นสุดลง แต่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะยังคงให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ทั้งลูกหนี้ธุรกิจและลูกหนี้รายย่อยในรูปแบบอื่นต่อไป ควบคู่ไปกับการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ตามแนวทางของธนาคาร หรือผ่านโครงการ DR BIZ มาตรการรวมหนี้ ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 ซึ่งยังสามารถเข้าโครงการได้จนถึงสิ้นปี 2563

โดยหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาความสอดคล้องกันระหว่างกระแสรายได้-ภาระหนี้ ซึ่งแยกตามลักษณะของลูกหนี้แต่ละกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและมีจังหวะและโอกาสในการฟื้นธุรกิจแตกต่างกัน

Photo : Shutterstock

ไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” 

การประคองความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ยังคงมีความท้าทายไม่น้อยไปกว่าหลายๆ ไตรมาสที่ผ่านมา เพราะแม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยกลับมาหลังการคลายล็อกดาวน์ แต่ก็เป็นการฟื้นตัวที่เปราะบางมากเพราะแรงขับเคลื่อนพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ยังไม่สามารถฟื้นกลไกการทำงานกลับมาได้อย่างเต็มที่

“ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ คาดว่าจะยังเป็นช่วงที่ธนาคารมีค่าใช้จ่ายรวมสูงกว่าไตรมาสอื่นๆ เพราะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ที่น่าจะยังอยู่ในระดับสูง ค่าแคมเปญการตลาด ค่าอุปกรณ์และสถานที่ และรายจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งท้ายที่สุด คาดว่าจะมีผลกดดันให้กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยติดลบ YoY ต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยระดับกำไรสุทธิมีแนวโน้มลดต่ำลงกว่ากำไรสุทธิในไตรมาส 3/2563 ซึ่งคาดไว้ที่ประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท”

 

]]>
1300840
SME ฮ่องกง ชะตากรรมเเขวนอยู่บนเส้นด้าย เกือบครึ่งคาดอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน หากรัฐไม่ช่วย https://positioningmag.com/1293733 Fri, 21 Aug 2020 15:04:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293733 ผู้ประกอบการรายย่อยในฮ่องกง กำลังเจอมรสุมหนัก ทั้งผลกระทบจาก COVID-19 เเละสถานการณ์ความขัดเเย้งทางการเมือง โดยผลสำรวจล่าสุดชี้ว่า SME เกือบครึ่งคาดว่าจะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ไม่เกิน 6 เดือน หากรัฐไม่ช่วยให้การสนับสนุนครั้งใหม่

จากการศึกษาของหอการค้าฮ่องกง พบว่า องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด จากผลกระทบของ COVID-19

ยิ่งไปกว่านั้น ฮ่องกงมี SME ทั้งหมด 340,000 ราย คิดเป็น 98% ของธุรกิจทั้งหมด ขณะที่การจ้างงานกว่า 45% ของฮ่องกงอยู่ในภาคเอกชน

หอการค้าฯ สอบถามไปยังสมาชิกราว 4,000 ราย ที่มีทั้ง SME และธุรกิจใหญ่ โดยผู้ประกอบการรายย่อยกว่าครึ่งหนึ่ง บอกว่า ผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังต่อเนื่อง อาจทำให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน โดย SME กว่า 60% เเละธุรกิจใหญ่อีก 29% ยอมรับว่ามีสถานการณ์ไม่สู้ดีนัก เพราะต้องสูญเสียรายได้ไปถึงครึ่งหนึ่ง

โดยผู้ตอบแบบสำรวจดังกล่าว ได้เรียกร้องให้รัฐบาลฮ่องกงเร่งออกมาตรการช่วยเหลือครั้งใหม่ เเละประกาศมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน ในการแถลงนโยบายเดือนต..นี้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เร็วเเละชัดเจนขึ้น

ส่วนมาตรการต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมานั้น ผู้ประกอบการมองว่า โครงการสนับสนุนการจ้างงาน มูลค่า 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 3.2 เเสนล้านบาท) ที่รัฐบาลช่วยจ่ายเงินเดือนครึ่งหนึ่งให้พนักงานสูงสุดเดือนละ 9,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 3.6 หมื่นบาท) ระหว่างเดือนมิ..-.. เป็นโครงการที่ให้ประโยชน์มากที่สุด รองลงมากคือการแจกเงินสดให้แก่ผู้ใหญ่ชาวฮ่องกงที่พำนักอยู่ถาวร รายละ 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 4 หมื่นบาท) และการอุดหนุนอุตสาหกรรมอื่น ๆ

สำหรับสถานการณ์ COVID-19 ในฮ่องกงนั้นยังน่าเป็นห่วง หลังจากช่วงเดือนมิ.. ต้องเผชิญกับการระบาดระลอก 3 เเละทางการต้องกลับมาเข้มงวดมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอีกครั้งในเดือนก.ค. โดยร้านอาหารต่างๆ ต้องถูกจำกัดเวลาให้บริการ ขณะที่ธุรกิจบันเทิงและกีฬา เช่น โรงยิม คลินิกเสริมความงาม และโรงภาพยนตร์ ถูกสั่งให้ปิดชั่วคราวในช่วงนั้น

ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของฮ่องกง กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค โดยตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 ติดลบ 9% จากไตรมาสเเรกของปีนี้อยู่ที่ 9.1% ซึ่งถือเป็นการลดลงอย่างเร็วที่สุดในช่วงไตรมาส นับตั้งแต่มีการบันทึกในปี 1974

 

ที่มา  : SCMP 

]]>
1293733