รัสเซีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 22 Apr 2024 13:26:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตึงเครียดทั่วโลก! งบ ‘การทหาร’ ทั่วโลกพุ่งทะลุ 2.44 ล้านล้านดอลลาร์ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากภาวะสงคราม https://positioningmag.com/1470667 Mon, 22 Apr 2024 12:17:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470667 จากสงคราม รัสเซีย-ยูเครน ตามด้วยความตึงเครียดแถบตะวันออกกลางของ อิสราเอล กับภัยคุกคาม ทั้งจาก กลุ่มฮามาส ฮิซบอลเลาะห์ อิหร่าน และในเขตเวสต์แบงก์ ยังไม่รวมความขัดแย้งของ จีน-สหรัฐฯ ที่พลอยทำให้ จีนกับไต้หวันเริ่มตึง ๆ ใส่กัน ดังนั้น การที่งบที่ใช้จ่ายกับการทหารทั่วโลกจะสูงขึ้น จึงไม่ใช่อะไรที่น่าแปลกใจนัก

ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) เปิดเผยว่า ในปี 2566 ที่ผ่านมา งบการลงทุนทางทหารทั่วโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 2.44 ล้านล้านดอลลาร์ +6.8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2552 ที่มีรายงานเรื่องแนวโน้มการใช้จ่ายทางทหาร

“การใช้จ่ายทางทหารที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นการตอบสนองโดยตรงต่อการเสื่อมถอยของสันติภาพและความมั่นคงทั่วโลก” หนาน เทียน นักวิจัยอาวุโสในโครงการการใช้จ่ายทางทหารและการผลิตอาวุธของ SIPRI กล่าว

รายงานระบุว่า รายจ่ายทางการทหารเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 9 และรายจ่ายทางการทหารเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน และความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นใน ตะวันออกกลาง

แน่นอนว่ายูเครนและรัสเซียซึ่งอยู่ในภาวะสงครามอย่างแข็งขัน ติดอันดับประเทศที่เพิ่มการใช้จ่ายทางทหารมากที่สุดในปี 2566 อยู่ที่ 51% และ 24% ตามลำดับ โดยค่าใช้จ่ายทางการทหารตามจริงของ รัสเซีย ยังคงสูงกว่ายูเครนอยู่มาก โดยอยู่ที่ประมาณ 109,000 ล้านดอลลาร์ ส่วน ยูเครน อยู่ที่ 64,800 ล้านดอลลาร์

โดย รัสเซีย กลายเป็นรายจ่ายทางการทหารรายใหญ่ อันดับ 3 ของโลก ตามหลัง สหรัฐฯ ที่ใช้จ่าย 916,000 ล้านดอลลาร์ +2.3% และ จีน ใช้จ่าย 296,000 ล้านดอลลาร์ +6% ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของ เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้น +9% และ +7.9% ตามลำดับ ส่วน อิสราเอล ซึ่งกำลังอยู่ในความขัดแย้งเช่นกัน ใช้จ่าย 27,500 ล้านดอลลาร์ +24%

“ค่าใช้จ่ายทางทหารรายเดือนของอิสราเอลเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่เริ่มสงครามในฉนวนกาซา”

ในแถบเอเชีย ประเทศอย่าง ไต้หวัน ใช้จ่ายทางทหารที่ 16,600 ล้านดอลลาร์ +11% ซึ่งเป็นยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากสุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากไต้หวันก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามจากรัฐบาลจีน ส่วน เกาหลีใต้ ใช้ 47,900 ล้านดอลลาร์ +1.1%

ที่น่าสนใจคือ ญี่ปุ่น ที่ใช้มากถึง 50,200 ล้านดอลลาร์ +11% ซึ่งถือเป็นงบประมาณที่เพิ่มขึ้น มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2515 และยังถือเป็นงบสร้างกองทัพที่มากที่สุดของญี่ปุ่น นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

สำหรับ ไทย มีการใช้จ่ายทางทหารอยู่อันดับที่ 38 ของโลก โดยมีงบประมาณอยู่ที่ 5,800 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากปีก่อนหน้า 6.5%

]]>
1470667
“เกาหลีเหนือ” เริ่มเปิดพรมแดนรับ “นักท่องเที่ยว” กลุ่มแรกจาก “รัสเซีย” หลังปิดประเทศมานาน 4 ปี https://positioningmag.com/1458589 Fri, 12 Jan 2024 03:27:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458589 กรุ๊ปทัวร์จาก “รัสเซีย” กำลังจะเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปเยือน “เกาหลีเหนือ” นับตั้งแต่มีการปิดพรมแดนเนื่องจากโควิด-19 เมื่อ 4 ปีก่อน

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า “เกาหลีเหนือ” หนึ่งในประเทศที่มีการปิดพรมแดนอย่างแน่นหนาท่ามกลางโควิด-19 ล่าสุดมีข่าวว่าประเทศนี้กำลังจะต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกจาก “รัสเซีย” ให้เข้าไปเยือนได้ในที่สุด

ย้อนไปเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน ผู้ว่าการเขตการปกครองปริมอร์สกี เขตที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้สุดของประเทศรัสเซียและเป็นเขตที่ติดกับพรมแดนเกาหลีเหนือ ได้เข้าพบปะเยี่ยมเยือนภายในเปียงยางและมีการพูดคุยเพื่อให้เกาหลีเหนือเปิดการท่องเที่ยวกับรัสเซีย นำมาสู่การจัดกรุ๊ปทัวร์กลุ่มแรกในครั้งนี้

เอเจนซีทัวร์แห่งหนึ่งที่มีสำนักงานใหญ่ในเมืองวลาดิวอสตอค เมืองใหญ่ของรัสเซียที่ใกล้เกาหลีเหนือที่สุด เริ่มโฆษณาทัวร์เกาหลีเหนือ 4 วันที่จะออกเดินทางวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ รายละเอียดทัวร์จะมีการท่องเที่ยวในกรุงเปียงยางและพักผ่อนบนสกีรีสอร์ต

ด้าน “ไซ่ม่อน ค็อคเคอเรล” ผู้จัดการทั่วไปของ Koryo Tours เอเจนซีทัวร์จีนจากกรุงปักกิ่ง (ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดทัวร์รัสเซีย-เกาหลีเหนือ) กล่าวกับ Reuters ว่า พันธมิตรของบริษัทในเกาหลีเหนือยืนยันมาแล้วว่า ทัวร์จากรัสเซียจะได้รับอนุญาตให้เข้าเกาหลีเหนือได้ภายใต้สถานการณ์พิเศษ

“เป็นสัญญาณที่ดี แต่ผมยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นสัญญาณสำคัญที่นำไปสู่การเปิดพรมแดนให้กว้างขึ้นหรือไม่ เพราะนี่เป็นสถานการณ์พิเศษสำหรับกรุ๊ปทัวร์กรุ๊ปเดียวเท่านั้น” ค็อคเคอเรลกล่าว “แต่จากการที่ไม่มีนักท่องเที่ยวสักคนได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศเกาหลีเหนือมา 4 ปี ทัวร์ท่องเที่ยวใดๆ ก็ตามที่เข้าไปได้ก็น่าจะถือว่าเป็นความก้าวหน้าเชิงบวก”

ความสัมพันธ์ของเกาหลีเหนือกับรัสเซียดูจะยังแน่นแฟ้น เพราะเมื่อเดือนกันยายน 2023 “คิมจองอึน” ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ ได้เข้าพบ “วลาดิเมียร์​ ปูติน” ประธานาธิบดีรัสเซีย ในงานซัมมิทที่จัดขึ้นในภาคตะวันออกของรัสเซีย งานครั้งนั้นทั้งสองผู้นำประเทศได้จับมือเป็นพันธมิตรที่ลึกซึ้งขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร โดยไม่หวั่นต่อการคว่ำบาตรจากประเทศอื่น

ข้อมูลจาก NK News สำนักข่าวในเกาหลีใต้ระบุว่า ก่อนที่จะเกิดโรคระบาดโควิด-19 ขึ้น 1 ปี ประเทศเกาหลีเหนือเริ่มเปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวจาก “จีน” สูงขึ้นมาก และทำให้ปี 2019 ประเทศนี้มีรายได้จากการท่องเที่ยวมากขึ้น 175 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6,100 ล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังเกิดโควิด-19 เกาหลีเหนือเพิ่งต้อนรับชาวจีนเข้าประเทศได้เมื่อเดือนธันวาคม 2023 และออกวีซ่าอนุญาตให้เข้าเฉพาะชาวจีนที่มีวัตถุประสงค์ด้านการทำงานในกลุ่มนักลงทุน ค้าขาย และผู้ชำนาญการด้านการก่อสร้างเท่านั้น ยังไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวจีนกลับเข้ามาได้เหมือนเดิม

Source

]]>
1458589
คลื่นลูกค้า “รัสเซีย” ซัดตลาดอสังหาฯ “ภูเก็ต” ใหญ่กว่าเมื่อสิบปีก่อน 2-3 เท่าตัว จากการหนี “ภัยสงคราม” https://positioningmag.com/1445122 Thu, 21 Sep 2023 13:23:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445122
  • “รัสเซีย” เคยเป็นกลุ่มผู้ซื้อต่างชาติกลุ่มใหญ่ในตลาดอสังหาฯ ไทยเมื่อช่วงสิบปีก่อน ก่อนจะหายเงียบไปเพราะวิกฤต “ค่าเงินรูเบิล” เมื่อปี 2557
  • ล่าสุดคลื่นลูกค้าเศรษฐีรัสเซียกลับมาซัดสาดตลาดอสังหาฯ ไทยอีกครั้งใน จ.ภูเก็ต จากวิกฤตสงครามรัสเซียยูเครน ทำให้กลุ่มคนมีเงินเลือกอพยพหนีสงคราม
  • “โบทานิก้า” นักพัฒนาพูลวิลล่าท้องถิ่นในภูเก็ต ประเมินว่าคลื่นรัสเซียรอบนี้จะใหญ่กว่าเมื่อสิบปีก่อน 2-3 เท่าตัว และภูเก็ตถือเป็นปลายทางอันดับ 1 ของเศรษฐีระดับกลางจากรัสเซีย
  • ก่อนหน้านี้ คลื่นลูกแรกของกลุ่มลูกค้าเศรษฐี “รัสเซีย” เคยซัดสาดเข้าสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์เมืองไทยมาแล้วในช่วงสิบปีก่อน ชาวรัสเซียเริ่มเข้ามาซื้อคอนโดมิเนียมในไทยโดยเฉพาะแถบเมืองพัทยาตั้งแต่ปี 2545 แต่มาบูมสุดขีดหลังช่วงปี 2553 เพราะเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันพุ่ง ทำให้คนรัสเซียมีเงินถุงเงินถังพอที่จะออกมาซื้อคอนโดฯ ตากอากาศในเมืองไทยได้

    อย่างไรก็ตาม ความฝันของนักพัฒนาคอนโดฯ เพื่อจับตลาดรัสเซียก็ต้องพังทลายหลังปี 2557 รัสเซียเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าลงถึง 50% ทำให้ผู้ซื้อรัสเซียยอมที่จะทิ้งดาวน์หรือขายดาวน์คอนโดฯ ไทยในราคาขาดทุน หลังจากนั้นผู้ซื้อรัสเซียจึงบางตาลงไปในทศวรรษที่ผ่านมา

     

    “ภูเก็ต” บูมในฐานะแหล่งอพยพหนีสงคราม

    อสังหาฯ ไทยไม่ได้พูดถึงผู้ซื้อรัสเซียบ่อยนักจนกระทั่งเกิดจุดเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อ “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ปะทุขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ทำให้คนรัสเซียหวาดหวั่นต่อภัยสงคราม รวมถึงการถูกเกณฑ์ทหารเพื่อไปร่วมรบ ชาวรัสเซียกลุ่มที่มีความมั่งคั่งสูงจึงเริ่มหาลู่ทางย้ายออกนอกประเทศ และ “ไทย” คือหนึ่งในปลายทางที่คนรัสเซียนิยมอพยพหนีสงครามมา

    รัสเซีย ภูเก็ต
    อวาดิน่า ฮิลส์ บาย อนันตรา วิลล่าสุดหรูราคาเฉียด 300 ล้านบาท ทำเลหาดลายัน

    ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ REIC ระบุว่า ยอดโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ โดยผู้ซื้อชาวรัสเซียเมื่อปี 2565 มีการโอนทั้งสิ้น 2,682 ล้านบาท เห็นสัญญาณเพิ่มขึ้นเกือบ 14% จากยอดโอนคอนโดฯ โดยชาวรัสเซียเมื่อปี 2562 (ปีสุดท้ายก่อนเกิดโควิด-19)

    REIC ยังพบด้วยว่า เมื่อปี 2565 จุดหมายที่คนรัสเซียนิยมซื้อคอนโดฯ มากที่สุดคือ “ภูเก็ต” คอนโดฯ ที่ขายให้ชาวต่างชาติบนเกาะภูเก็ตมีถึง 40% ที่ขายให้กับชาวรัสเซีย ต่างจากค่าเฉลี่ยทั้งประเทศที่จะมีสัดส่วนผู้ซื้อรัสเซียเพียง 5%

    ต่อมาช่วงปี 2566 คนรัสเซียยิ่งเร่งเข้ามาจับจองคอนโดฯ ในไทย REIC ระบุว่า แค่เพียงครึ่งปีแรกนี้มีการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ให้คนรัสเซียไปแล้ว 2,556 ล้านบาท เป็นไปได้สูงที่ทั้งปี 2566 จะมีการโอนคอนโดฯ ขายให้คนรัสเซียทะลุ 5,000 ล้านบาท

    ปรากฏการณ์นี้ทำให้เมื่อต้นปี 2566 สำนักข่าวต่างประเทศอย่าง Al Jazeera ลงพื้นที่ภูเก็ตสัมภาษณ์เอเย่นต์ขายคอนโดฯ ให้คนรัสเซีย พบว่า ลูกค้ารัสเซียส่วนใหญ่เป็นผู้มีฐานะที่ต้องการจะหนีสงครามมาอาศัยอยู่ในภูเก็ตแบบถาวร โดยเลือกภูเก็ตเพราะเป็นเมืองตากอากาศชายทะเล และมีโรงเรียนนานาชาติสำหรับลูกๆ ขณะที่บางคนเดินทางมาแล้วมาหางานทำในเกาะภูเก็ตแบบผิดกฎหมายด้วย เช่น ขับแท็กซี่, ทำอาชีพไกด์นำเที่ยว

     

    “โบทานิก้า” เชื่อคลื่นลูกค้ารัสเซียรอบนี้ใหญ่กว่าเดิม 2-3 เท่า

    นอกจากคอนโดฯ ที่ขายดีแล้ว อีกโปรดักส์ที่เศรษฐีรัสเซียนิยมคือ “วิลล่าตากอากาศ” ซึ่งเป็นบ้านเดี่ยวมีที่ดินจึงซื้อขาดไม่ได้ (ยกเว้นจัดตั้งนิติบุคคลร่วมกับชาวไทย) แต่ชาวรัสเซียยอมรับการเช่าระยะยาวแบบลีสโฮลด์ 30 ปี

    “อรรถสิทธิ์ อินทรชูติ” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โบทานิก้า ลักเซอรี่ ภูเก็ต จำกัด มองว่า กระแสการเข้าซื้ออสังหาฯ ไทยของคนรัสเซียในรอบนี้จะเป็น ‘big wave’ ที่ใหญ่กว่ารอบสิบปีก่อน 2-3 เท่า เนื่องจากภัยสงคราม ‘บีบ’ ให้คนที่มีกำลังทรัพย์ย้ายออก ไม่ใช่แค่หาจุดหมายการลงทุน

    “อรรถสิทธิ์ อินทรชูติ” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โบทานิก้า ลักเซอรี่ ภูเก็ต จำกัด

    โบทานิก้านั้นเป็นบริษัทท้องถิ่นที่พัฒนาอสังหาฯ ขายบนเกาะภูเก็ตมานาน 20 ปี เน้นโปรดักส์กลุ่มวิลล่าระดับบน ราคาตั้งแต่ 7 ล้านบาทจนถึงมากกว่า 100 ล้านบาทต่อหลัง โดยมียอดขายสะสมแล้ว 500 หลัง รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท

    บริษัทนี้ยังเน้นขายวิลล่าให้ชาวต่างชาติ ลูกค้า 95% ของโบทานิก้ามาจากต่างประเทศ และครึ่งหนึ่งเป็นคน “รัสเซีย”

    รัสเซีย ภูเก็ต
    วิลล่าหรูของโบทานิก้าในโครงการมอนท์เอซัวร์

    อรรถสิทธิ์กล่าวว่า ปกติเศรษฐีรัสเซียมีจุดหมายปลายทางของการพักผ่อนหลายแห่งบนโลก แต่แหล่งใหญ่ที่ขณะนี้ต้องตัดออกจากตัวเลือกคือ “ยุโรป” เพราะมีการคว่ำบาตรซึ่งกันและกัน

    ทำให้ตัวเลือกรองๆ ลงมาสำหรับเศรษฐีระดับบนจะเป็นประเทศตุรกีและดูไบ UAE โดยลงทุนซื้อคฤหาสน์ราคา 200-300 ล้านบาทต่อหลัง

    ส่วนประเทศไทยโดยเฉพาะ “ภูเก็ต” นั้นคือตัวเลือกเบอร์ 1 ของเศรษฐีระดับกลางในรัสเซีย ส่วนใหญ่จะนิยมซื้อวิลล่าหลังละ 50 ล้านบาท

    ด้วยความนิยมที่หลั่งไหลเข้ามาขนาดนี้ อรรถสิทธิ์กล่าวว่าดีมานด์ที่พุ่งขึ้นทำให้ราคาที่ดินในภูเก็ตพุ่งตามไป 2-4 เท่าภายในปีเดียว ปัจจุบันราคาที่ดินติดหน้าหาดหรือมองเห็นวิวทะเลขายกันที่ราคาขั้นต่ำ 50-60 ล้านบาทต่อไร่ ซึ่งจะทำให้ราคาโปรดักส์ในภูเก็ตหลังจากนี้ยิ่งถีบตัวสูงขึ้นแน่นอน

    ]]>
    1445122
    ราคา ‘น้ำมันดิบ’ ทำสถิติสูงสุดของปี หลัง ซาอุดีอาระเบีย-รัสเซีย จับมือลดกำลังการผลิตยาวถึงสิ้นปี https://positioningmag.com/1443635 Wed, 06 Sep 2023 07:30:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443635 ราคาน้ํามันแตะระดับสูงสุดใหม่อีกครั้งสําหรับปีนี้ หลังจากที่ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

    ราคา น้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานโลกเพิ่มขึ้น +1.8% โดยมีการซื้อขายสูงกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมัน West Texas Intermediate (WTI) ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันที่ 87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจาก ซาอุดีอาระเบีย และ รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC+ ตกลงที่จะลดการผลิตลงอย่างมากและลากยาวไปถึงสิ้นปี

    แหล่งข่าวอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย เปิดเผยกับสํานักข่าว state-run SPA ว่า ทางประเทศจะลดกำลังการผลิตเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม หลังจากที่เคยกำหนดว่าจะลดกำลังการผลิตถึงแค่เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ นับตั้งแต่ที่ตัดสินใจลดกำลังการผลิตตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดีอาระเบียเหลือเพียง 9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

    ในขณะเดียวกัน อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า ประเทศจะลดการส่งออกลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสมดุลในตลาดน้ำมัน แม้ว่ารัสเซียกําลังพยายามเพิ่มรายได้เพื่อสนับสนุนในการทําสงครามกับยูเครน 

    การลดการผลิตโดย OPEC+ ซึ่งถือเป็น ผู้ผลิตน้ํามันดิบ 40% ของโลก ได้ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งส่งผลเสียต่ออัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยราคาก๊าซเฉลี่ยในสหรัฐฯ ได้ลอยสูงขึ้นเป็น 3.81 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ซึ่งสูงกว่าช่วงนี้ของปีที่แล้ว 2-3 เซ็นต์

    Source

    ]]>
    1443635
    หวานหมู “สมาร์ทโฟนจีน” หลังเกิดสงครามยูเครน Xiaomi-Realme แท็กทีมครองตลาด “รัสเซีย” https://positioningmag.com/1427924 Wed, 19 Apr 2023 12:34:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427924 Xiaomi และ Realme ผงาดขึ้นครองตลาดสมาร์ทโฟนใน “รัสเซีย” แทนที่ Samsung และ Apple หลังเกิดสงครามยูเครนและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

    M. Video-Eldorado Group บริษัทค้าปลีกท้องถิ่นในรัสเซียเปิดข้อมูล แบรนด์สมาร์ทโฟนจากจีนครองมาร์เก็ตแชร์สูงขึ้นเรื่อยๆ หลังจากแบรนด์ตะวันตกคว่ำบาตรตลาดนี้เนื่องจากเหตุรัสเซียบุกรุกดินแดนยูเครน

    โดยยอดขายสมาร์ทโฟนจีนเติบโตขึ้น 42% ในเชิงปริมาณ และมีมาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 70% รวมถึงมีแบรนด์หลักที่ครองตลาดคือ Xiaomi ปรับขึ้นจากอันดับ 2 มาเป็นเบอร์ 1 ของตลาด ขณะที่ Realme ก็ดีดจากเบอร์ 4 มาเป็นอันดับ 2 ของตลาด

    ในไตรมาสแรกปี 2023 ชาวรัสเซียซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ประมาณ 6.5 ล้านเครื่อง ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ถ้าคิดเป็นมูลค่าต่อเครื่องแล้ว ราคาที่ซื้อตกลง 23% เหลือเฉลี่ยเครื่องละ 22,000 รูเบิล (ประมาณ 9,200 บาท)

    Realme จีน อินเดีย
    Realme ดีดขึ้นจากสมาร์ทโฟนเบอร์ 4 มาเป็นเบอร์ 2 ในตลาดรัสเซีย

    สำหรับสมาร์ทโฟนที่ตกอันดับคือ Samsung ที่เคยเป็นเบอร์ 1 ในรัสเซีย ปัจจุบันลงมาอยู่อันดับ 3 และ Apple ที่เคยอยู่อันดับ 3 ก็ร่วงมาเป็นอันดับ 4 แทน Counterpoint Research รายงานว่า สองแบรนด์ใหญ่นี้เคยมีมาร์เก็ตแชร์รวมกันแตะ 57% แต่เมื่อถอนตัวจากตลาดแล้วทำให้มาร์เก็ตแชร์ลดเหลือ 34%

    ขณะที่อันดับ 5 ปัจจุบันเป็นของแบรนด์ Tecno จากจีน ซึ่งเติบโตได้อย่างรวดเร็วในตลาดรัสเซีย

    หลังจากแบรนด์ใหญ่อย่าง Samsung และ Apple ถอนตัวออกจากรัสเซียเมื่อเดือนมีนาคมปีก่อน ทำให้เหล่า “สมาร์ทโฟนจีน” ได้โอกาสในการตีตลาดเพิ่มขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ที่ทั้งสองแบรนด์ยังคงมียอดขายอยู่แม้จะประกาศถอนตัวจากตลาดไปแล้ว เป็นเพราะรัฐบาลรัสเซียอนุญาติให้มีการนำเข้าได้โดยไม่ผ่านช่องทางอย่างเป็นทางการ ยกตัวอย่างเช่น M. Video-Eldorado Group ก็หันมานำเข้าสมาร์ทโฟน Samsung และ Apple ผ่านทางประเทศคาซัคสถานแทน

    Samsung และ Apple เสียส่วนแบ่งการตลาดในรัสเซีย หลังมาตรการคว่ำบาตร

    ขณะที่จีนก็ยังคงทำการค้ากับรัสเซียตามปกติและยิ่งเพิ่มมูลค่าซื้อขายระหว่างกัน เมื่อปี 2022 การค้าระหว่างจีนกับรัสเซียมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 34.3% ขึ้นไปแตะ 1.89 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และทั้งสองประเทศยังวางเป้าหมายที่จะมีมูลค่าการค้าขายระหว่างกันขึ้นไปแตะ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2024 อีกด้วย

    การดำรงการค้าของเอกชนจีนกับรัสเซียก็มิใช่ว่าจะไม่มีผลกระทบทางลบเสียเลย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อสัปดาห์ก่อน หน่วยงานต่อต้านการคอร์รัปชันในยูเครน นำชื่อบริษัท Xiaomi และผู้ก่อตั้ง/ซีอีโอ “เหล่ย จุน” รวมถึงชื่อบริษัท/ผู้บริหารอีกมากมาย ไปไว้ในทำเนียบรายชื่อ “ผู้สนับสนุนสงครามระหว่างประเทศ” ซึ่งทาง Xiaomi ออกมาปฏิเสธแล้วว่าบริษัทไม่ได้สนับสนุนการทำสงครามใดๆ ทั้งสิ้น

    Source

    ]]>
    1427924
    ‘รัสเซีย’ ยกเลิกการเปิดทาง ‘ยูเครน’ ส่งออกธัญพืช อ้างถูกโจมตี https://positioningmag.com/1405952 Sun, 30 Oct 2022 07:12:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405952 หลังจากในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตัวแทนจากสหประชาชาติ ตุรกี รัสเซีย และยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อเปิดท่าเรือยูเครน เพื่อเปิดทางเดินเรือสำหรับส่งออกธัญพืชและอาหารอื่น ๆ เพื่อบรรเทาวิกฤตอาหารโลก แต่ล่าสุด รัสเซียก็ขอยุติข้อตกลงดังกล่าว โดยอ้างว่าถูกยูเครนโจมตีหนัก

    สำหรับโครงการ Black Sea Grain Initiative เป็นข้อตกลงที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติในเดือนกรกฎาคม ที่ขอให้รัสเซียผ่อนคลายการปิดล้อมทางทะเล และเห็นการเปิดท่าเรือสำคัญ 3 แห่งของยูเครนอีกครั้ง โดยเรือลำแรกออกจากท่าเรือโอเดสซาของยูเครนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. พร้อมบรรทุกข้าวโพดมากกว่า 26,000 เมตริกตัน ตั้งแต่นั้นมา เรือเกือบ 400 ลำที่บรรทุกน้ำหนักรวม 9 ล้านตันได้ออกจากท่าเรือของยูเครน

    อย่างไรก็ตาม ล่าสุด รัสเซียระงับข้อตกลงในโครงการดังกล่าวอย่างไม่มีกำหนด โดยทางกระทรวงกลาโหมของรัสเซียอ้างว่า นี่เป็นการตอบโต้ การก่อการร้าย ของยูเครนต่อเรือรบรัสเซีย แถมอังกฤษยังมีส่วนด้วย

    “กองกำลังติดอาวุธของยูเครนเปิดการโจมตีทางอากาศและทางทะเลครั้งใหญ่โดยใช้ยานบินไร้คนขับกับเรือ โจมตีโครงสร้างพื้นฐานของกองเรือทะเลดำที่ฐานทัพเรือในเซวาสโทพอล โดยมีเจ้าหน้าที่อังกฤษได้ช่วยเหลือกองทัพของยูเครนในการโจมตีก่อน โดยพบว่ามีโดรนอย่างน้อย 15 ลำที่เกี่ยวข้อง”

    ทางด้าน Dmytro Kuleba รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน กล่าวว่า รัสเซียกำลังใช้การโจมตีดังกล่าวเป็นข้ออ้างสำหรับการปิดกั้นการส่งออกสินค้าทางการเกษตร ซึ่งเป็นภัยต่อความมั่นคงด้านอาหารสำหรับผู้คนหลายล้านคน

    ที่ผ่านมา ยูเครนและรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 4 ของการส่งออกธัญพืชทั่วโลก จนกระทั่งการขนส่งเหล่านั้นต้องหยุดชะงักลงอย่างรุนแรงเป็นเวลาเกือบ 6 เดือนเนื่องจากสงคราม โดยยูเครนเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันดอกทานตะวัน และเมล็ดพืชอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่อันดับ 7 ของโลกอีกด้วย

    ]]>
    1405952
    ยังไม่หมด? ‘Sony’ ถอนตัวจาก ‘ธุรกิจเพลง’ ในรัสเซีย พร้อมโอนศิลปินให้ค่ายเพลงท้องถิ่น https://positioningmag.com/1400027 Tue, 13 Sep 2022 10:47:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1400027 นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ ‘รัสเซีย’ เปิดฉากรุกราน ‘ยูเครน’ ปัจจุบันก็ยืดเยื้อนานกว่า 6 เดือนแล้ว แต่ดูเหมือนว่าการคว่ำบาตรของแบรนด์ต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจในรัสเซียจะถอนตัวออกไม่หมด แม้ว่าที่ผ่านมาจากมีมากกว่า 400 บริษัท ล่าสุด ‘โซนี่’ (Sony) บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นก็ถอนตัวจากธุรกิจเพลงในรัสเซีย

    ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Sony Group Corp ยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์และความบันเทิงของญี่ปุ่น ได้ระงับการจำหน่ายเครื่องเกม Play Station 5 (Ps5) พร้อมกับปิด PlayStation Store ของประเทศรัสเซีย รวมถึง ระงับการฉายภาพยนตร์ จากค่ายด้วย แต่ดูเหมือนว่าหน่วยธุรกิจที่เยอะเลยทำให้โซนี่ยังถอนตัวออกไม่หมด

    ล่าสุด บริษัทก็ได้ถอนตัวจาก ธุรกิจเพลง ในรัสเซีย โดยแหล่งข่าวให้สาเหตุว่ามาจาก ผลกระทบด้านมนุษยธรรมจากการรุกรานยูเครนของประเทศ ทำให้การดำเนินงานต่อเนื่องที่นั่นไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ โดยโซนี่ได้ขายหน่วยธุรกิจเพลงของรัสเซียและ โอนศิลปิน ที่เซ็นสัญญาให้กับค่ายเพลงโลคอล

    อย่างไรก็ตาม ทางโซนี่ไม่ได้ออกมาเปิดเผยถึงมูลค่าและรายละเอียดอื่น ๆ ของธุรกรรมดังกล่าว แต่หากอ้างอิงจากตัวเลขการรายงานรายได้ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รายได้จากประเทศรัสเซียและยูเครนคิดเป็นเพียง 0.7% ของรายได้ทั่วโลกของบริษัทเท่านั้น ดังนั้น การถอนตัวออกจากรัสเซียจึงไม่ได้ส่งผลต่อรายได้อย่างมีนัยสำคัญ

    Source

    ]]>
    1400027
    “รัสเซีย” รอดพ้นภาวะเศรษฐกิจโคม่ามาได้ …แต่เลือดก็ยังไม่หยุดไหลในระยะยาว https://positioningmag.com/1397972 Sun, 28 Aug 2022 15:56:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397972 “รัสเซีย” เปิดฉากรุกทางการทหารเข้าสู่ยูเครน ทำให้ถูกชาติตะวันตกร่วมกันคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ 6 เดือนหลังจากนั้นเศรษฐกิจรัสเซียซึ่งพึ่งพิงการส่งออก “น้ำมัน” เป็นหลัก พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าสามารถยืนหยัดรับมือการคว่ำบาตร รอดพ้นภาวะเศรษฐกิจพังพินาศมาได้ แต่ในระยะยาวเศรษฐกิจรัสเซียก็อาจหนีไม่พ้นภาวะถดถอยอยู่ดี

    “ผมขับรถผ่านกลางกรุงมอสโควก็ยังเจอรถติดเหมือนเดิม” อังเดรย์ เนชาเยฟ อดีตรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย ช่วงต้นทศวรรษ 1990s กล่าวกับสำนักข่าว CNN

    ตลาดจีนและอินเดียที่พร้อมรับซื้อน้ำมันราคาถูกจากรัสเซียนั้นช่วยเศรษฐกิจประเทศนี้ไว้ได้มาก แต่ทั้งเนชาเยฟและนักวิเคราะห์อื่นๆ ต่างก็มองว่าเศรษฐกิจรัสเซียเริ่มถดถอยแล้ว และเป็นไปได้ว่าจะเกิดภาวะ ‘stagnation’ ในระยะยาว

    ภาพภายนอกดูเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยน เชลฟ์ขายสินค้าในห้างสรรพสินค้าอาจจะมีแบรนด์ตะวันตกให้เลือกน้อยลง McDonald’s อาจจะเปลี่ยนชื่อเป็น “Vkusno i tochka” และ Starbucks ก็กลับมาเปิดใหม่ในชื่อ Stars Coffee

    ธุรกิจตะวันตกที่ถอนตัวออกไป การคว่ำบาตรสินค้ากลุ่มน้ำมันและทำลายระบบการเงิน มีผลกระทบกับรัสเซียแน่นอน แต่ไม่ได้มากเท่าที่ใครต่อใครคาดไว้

    เนชาเยฟซึ่งเคยพาเศรษฐกิจรัสเซียฝ่าฟันช่วงที่ตกต่ำที่สุดมาแล้ว มองว่าหัวเรือที่ช่วยให้รัสเซียรอดพ้นได้มากที่สุดคือ ธนาคารกลาง

    สกุลเงินรูเบิลร่วงชะลูดสู่จุดต่ำสุดเมื่อต้นปีนี้หลังจากตะวันตกแช่แข็งเงินทุนสำรองของรัสเซียมูลค่า 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่สุดท้ายแล้วเงินรูเบิลก็สามารถเด้งคืนกลับมาแข็งค่าได้ และแข็งมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018

    สาเหตุมาจากการแก้เกมของธนาคารกลางในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเมื่อช่วงฤดูใบไม้ผลิ แต่หลังจากนั้นก็เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยลงจนต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดสงครามแล้ว ธนาคารกลางยังบอกด้วยว่า อัตราเงินเฟ้อที่เคยขึ้นไปสูงสุดเกือบ 18% เมื่อเดือนเมษายน ปัจจุบันก็ชะลอลงและน่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีนี้ลดเหลือ 12-15% เท่านั้น

    ธนาคารกลางยังปรับคาดการณ์จีดีพีของปีนี้ด้วย โดยคาดว่าจะหดตัว 4-6% เป็นสถานการณ์ที่ดีขึ้นจากเมื่อเดือนเมษายนที่คาดว่าทั้งปีจะหดตัว 8-10% ขณะที่ IMF ก็คาดว่าเศรษฐกิจรัสเซียจะหดตัวประมาณ 6% เท่านั้น

     

    รัสเซียเตรียมตัวรับแรงกระแทกมานานแล้ว

    เหตุที่รัฐบาลมอสโควยังรับมือได้ดี เป็นเพราะรัสเซียมีเวลารับมือถึง 8 ปี หลังจากตะวันตกเริ่มมีการคว่ำบาตรบ้างแล้วนับตั้งแต่รัสเซียบุกเข้าสู่ไครเมียเมื่อปี 2014

    “การออกจากตลาดของ Mastercard และ Visa แทบไม่มีผลอะไรกับการชำระเงินในประเทศ เพราะธนาคารกลางมีระบบชำระเงินทางเลือกเตรียมไว้อยู่แล้ว” เนชาเยฟกล่าว โดยรัสเซียเริ่มตั้งระบบบัตรเครดิต Mir ไว้ตั้งแต่ปี 2017

    ส่วนเหตุผลที่ McDonald และ Starbucks ยังดำเนินธุรกิจต่อได้แม้จะต้องเปลี่ยนชื่อแบรนด์ “คริส วีเฟอร์” หุ้นส่วนผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจข้ามชาติ Macro Advisory กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2014 แบรนด์ตะวันตกจำนวนมากต้องทำตามแรงกดดันจากรัฐบาลที่ต้องการให้ใช้ซัพพลายเชนในประเทศมากขึ้น ดังนั้น เมื่อบริษัทถอนตัวออกไป แต่แฟรนไชซีในรัสเซียก็เพียงแต่ซื้อวัตถุดิบจากบริษัทเจ้าเดิม แค่เปลี่ยนหีบห่อแพ็กเกจจิ้งเท่านั้น

    “คนเดิม สินค้าเดิม ซัพพลายเดิม” วีเฟอร์กล่าวให้เห็นภาพ

    แต่ก็ไม่ได้ราบรื่นไปเสียทุกเรื่องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่นเมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา McDonald ภายใต้แบรนด์ใหม่ก็ต้องเผชิญปัญหามันฝรั่งในรัสเซียขาดแคลน และไม่สามารถหามันฝรั่งจากที่อื่นมาเสริมได้เพราะการคว่ำบาตร

     

    “น้ำมัน” รัสเซียจะยังขายดีต่อไปไหม?

    อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจรัสเซียจะเสถียรแค่ไหนขึ้นอยู่กับธุรกิจ “พลังงาน” ธุรกิจที่ส่งรายได้ให้กับรัฐบาลมากที่สุด และราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นคือฉนวนป้องกันให้กับรัสเซีย

    International Energy Agency ระบุว่า รายได้การขายน้ำมันและก๊าซให้กับยุโรประหว่างเดือนมีนาคม-กรกฎาคมปีนี้กลับเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเทียบกับปีก่อน ทั้งที่การส่งก๊าซให้กับยุโรปลดลง 75% ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา

    Oil pump cold winter and snow. Back light, white cloudy and blue sky background, sunlight

    ส่วนน้ำมันที่เหลือขายวันละ 3 ล้านบาร์เรลนั้นก็ถูกส่งออกไปที่ตลาดใหม่ในเอเชียแทน Kpler บริษัทที่ปรึกษาด้านสินค้าโภคภัณฑ์ ระบุว่า น้ำมันที่ส่งออกทางทะเลส่วนใหญ่ของรัสเซียนั้นถูกส่งไปเอเชียแทนตั้งแต่เริ่มมีสงคราม

    ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคมปีนี้ “จีน” นำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียเพิ่มขึ้นถึง 40% และมีการเพิ่มการนำเข้าก๊าซธรรมชาติด้วย แม้ว่าจีนจะพยายามทำตัวเป็นกลางในสงครามรัสเซีย-ยูเครนก็ตาม ส่วน “อินเดีย” นั้นนำเข้าน้ำมันรัสเซียเพิ่มถึง 1,700% ทั้งหมดนี้เป็นเพราะรัสเซียลดราคาน้ำมันอย่างหนัก

    แต่จุดที่น่าสนใจคือเมื่อยุโรปตัดการซื้อน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก จะทำให้น้ำมันรัสเซียมีซัพพลายเหลืออีกวันละ 2 ล้านบาร์เรล ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าส่วนใหญ่น้ำมันนั้นจะถูกขายให้ตลาดเอเชีย แต่ดีมานด์จะมากพอที่จะดูดซับน้ำมันรัสเซียทั้งหมดหรือไม่ Kpler ประเมินว่าจีนคงจะไม่ซื้อเพิ่มอีกเพราะเศรษฐกิจในประเทศก็เริ่มชะลอลง

    “ราคา” ก็จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญ ขณะนี้รัสเซียส่งออกน้ำมันได้ไม่ยากเพราะลดราคาได้มาก ทำให้ตลาดใหม่ๆ สนใจซื้อ

    “การลดราคา 30% จากราคา 120 เหรียญต่อบาร์เรลนั้นก็เรื่องหนึ่ง” อดีตรัฐมนตรีเนชาเยฟชี้ให้เห็นจุดต่าง “แต่การลดราคาจากราคาตั้ง 70 เหรียญต่อบาร์เรลจะเป็นหนังคนละม้วนเลย”

     

    “เศรษฐกิจรัสเซีย” จะถูกกัดกินอย่างช้าๆ

    แม้ว่าเงินเฟ้อทั่วโลกจะเป็นผลดีกับภาคพลังงานของรัสเซีย แต่มันก็สร้างความเดือดร้อนให้คนรัสเซียเองด้วย เหมือนๆ กับที่เกิดขึ้นในยุโรป ชาวรัสเซียต่างต้องทนทุกข์กับวิกฤตค่าครองชีพ

    “ถ้าเราเทียบมาตรฐานการครองชีพ ถ้าวัดกันด้วยรายได้ที่ได้รับจริงๆ ละก็ ตอนนี้เราเหมือนกับเดินถอยหลังไปประมาณ 10 ปี” เนชาเยฟกล่าว

    (Photo : Shutterstock)

    รัฐบาลรัสเซียพยายามจะแก้สถานการณ์ด้วยการใช้เงินคลังต่อสู้ เมื่อเดือนพฤษภาคม รัฐบาลประกาศจะเพิ่มเงินบำนาญและเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอีก 10%

    รัฐบาลยังมีระบบที่ทำให้ลูกจ้างในบริษัทซึ่ง “จำต้องหยุดการดำเนินกิจการชั่วคราว” สามารถโอนย้ายไปอยู่กับบริษัทอื่นได้โดยไม่ต้องลาออกหรือฉีกสัญญาทำงานกับที่ทำงานเก่า รวมถึงรัฐบาลยังใช้เงิน 1.7 หมื่นล้านรูเบิล เพื่อซื้อหุ้นกู้ของสายการบินรัสเซียต่างๆ เป็นการพยุงภาวะวิกฤตของสายการบินจากการถูกแบนห้ามบินผ่านนานฟ้า และการคว่ำบาตรไม่ให้ซื้ออะไหล่ซ่อมเครื่องบินจากโรงงานผลิตในต่างประเทศ

    อย่างไรก็ตาม จุดที่หนักที่สุดที่คาดว่าจะซึมลึกในเศรษฐกิจระยะยาว คือการคว่ำบาตรทางเทคโนโลยี เมื่อเดือนมิถุนายน “จีน่า ไรมอนโด” รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ บอกว่าการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ไปให้รัสเซียร่วงลง 90% ตั้งแต่เกิดสงคราม ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อการผลิตรถยนต์จนถึงคอมพิวเตอร์ ทำให้รัสเซียเสียความสามารถในการแข่งขันทางเทคโนโลยีลงไปอีก

    “ผลกระทบจากการคว่ำบาตรจะเป็นผลซึมลึกมากกว่าการพังทลายครั้งเดียว” วีเฟอร์ ที่ปรึกษาทางธุรกิจกล่าว “รัสเซียมองเห็นแล้วด้วยว่า เป็นไปได้ที่ประเทศจะต้องเจอภาวะ stagnation”

    เนชาเยฟยิ่งฟันธงลงไปมากกว่านั้นอีก “ขณะนี้เศรษฐกิจรัสเซียเริ่มต้นถดถอยแล้ว” เขากล่าวปิดท้าย

    Source

    ]]>
    1397972
    รัสเซียผุด ‘Stars Coffee’ เสียบแทน ‘Starbucks’ ที่ถอนตัวออกจากประเทศ https://positioningmag.com/1396919 Fri, 19 Aug 2022 07:47:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396919 ย้อนไปเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แบรนด์กาแฟรายใหญ่ของโลกอย่าง สตาร์บัคส์ (Starbucks) ได้ประกาศถอนตัวออกจาก รัสเซีย โดยปิดหน้าร้านทั้งหมด 130 สาขา เนื่องจากต้องการแสดงจุดยืนให้เห็นว่าไม่สนับสนุนการบุกยูเครนของรัสเซีย

    เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมที่สตาร์บัคส์ได้ส่งสัญญาณว่าจะยุติการทำธุรกิจในรัสเซีย โดยเริ่มยุติการขนส่งผลิตภัณฑ์ของสตาร์บัคส์ทั้งหมดมายังรัสเซีย เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่สนับสนุนการโจมตียูเครน จนมาช่วงปลายเดือนพฤษภาคมสตาร์บัคส์ก็ได้ปิดหน้าร้านทั้ง 130 สาขา พร้อมกับจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานในรัสเซียนาน 6 เดือน

    เป็นเวลาเกือบ 3 เดือนที่สตาร์บัคส์จากไป ล่าสุด ก็มีแบรนด์กาแฟใหม่เข้ามาแทนที่สตาร์บัคส์ภายใต้ชื่อ Stars Coffee (สตาร์คอฟฟี่) ซึ่งเรียกได้ว่าคล้ายตั้งแต่ชื่อยันโลโก้ ที่เรียกได้ว่าอาจเป็น ฝาแฝด ของนางเงือกสตาร์บัคส์ โดยมีผมที่พลิ้วไหว รอยยิ้มลึกลับเล็ก ๆ และดาวบนหัว ขณะที่เมนูต่าง ๆ ที่มีก็ต่างคุ้นตาแฟนสตาร์บัคส์

    สำหรับแบรนด์ Stars Coffee เกิดจาก Yunus Yusupov ศิลปินแร็ปยอดนิยมที่ใช้ชื่อในวงการว่า Timati และเจ้าของภัตตาคาร Anton Pinsky ได้ร่วมมือกันซื้อทรัพย์สินของสตาร์บัคส์ จากนั้นก็ออกแบบชื่อและโลโก้ร้านให้ ใกล้เคียงเดิม โดยพวกเขาระบุว่าจะ เปิดร้านสตาร์บัคส์เดิมทั้งหมด (130 สาขา) อีกครั้งภายใต้อัตลักษณ์ใหม่ (Stars Coffee)

    (AP Photo/Dmitry Serebryakov)

    “ตอนนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจยากลำบาก แต่นี่เป็นช่วงเวลาแห่งโอกาส” Oleg Eskindarov ประธานบริษัทโฮลดิ้งที่ร่วมมือในข้อตกลงของสตาร์บัคส์กล่าว

    แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ Stars Coffee ที่เข้ามาแทนที่แบรนด์ดังที่ถอนตัวออกจากรัสเซียไป แต่ก่อนหน้านี้ก็มี Vkusno — i Tochka ที่มาแทนที่แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังอย่าง McDonald’s ซึ่งการจากไปของบริษัทเหล่านี้ส่งผลทางจิตวิทยาต่อชาวรัสเซียที่เคยชินกับความสะดวกสบายของวัฒนธรรมผู้บริโภคแบบตะวันตก ทำให้ผู้ประกอบการชาวรัสเซียมองเห็นโอกาสในร้านค้าหายไป โดยการเปิดร้านใหม่ที่ คล้ายกัน มาแทนที่

    Source

    ]]>
    1396919
    ‘รัสเซีย’ รับยิงขีปนาวุธใส่ท่าเรือ ‘ยูเครน’ หลังเพิ่งลงนามเปิดทางส่งออก ‘ธัญพืช’ เนื่องจากมีเป้าหมายทางทหาร https://positioningmag.com/1393733 Mon, 25 Jul 2022 07:05:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393733 บรรดาผู้นำโลกแห่ประณามการโจมตีด้วยขีปนาวุธของ ‘รัสเซีย’ ที่ ‘ท่าเรือโอเดสซา’ ของ ‘ยูเครน’ หลังจากที่ทั้ง 2 ประเทศลงนามข้อตกลงเปิดทางการเดินเรือสำหรับส่งออกธัญพืชและอาหารอื่น ๆ เพื่อแก้วิกฤตอาหารโลก

    หลังจากที่ตัวแทนจากสหประชาชาติ ตุรกี รัสเซีย และยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อเปิดท่าเรือยูเครน 3 แห่งอีกครั้ง เพื่อเปิดทางเดินเรือสำหรับส่งออกธัญพืชและอาหารอื่น ๆ เพื่อเบาเทาวิกฤตอาหารโลก แต่ยังไม่ทันครบ 1 วัน ก็พบว่ามีขีปนาวุธจากรัสเซียยิงถล่มท่าเรือโอเดสซา ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของยูเครน แสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลอีกครั้งในความพยายามที่ไร้ผลในการบรรเทาวิกฤตการณ์อาหารโลกที่เพิ่มสูงขึ้น

    “หมึกยังไม่ทันแห้ง แต่ก็มีการยั่วยุที่เลวร้ายสองอย่างจากรัสเซีย ทั้งการโจมตีท่าเรือในโอเดสซาและคำแถลงของกระทรวงกลาโหมของรัสเซียว่าท่าเรือของยูเครนนั้นเป็นอันตรายต่อการขนส่ง” ที่ปรึกษาประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กล่าวบนทวิตเตอร์

    ด้านรัสเซียจากที่ปฏิเสธในตอนแรก ล่าสุด อิกอร์ โคนาเชนคอฟ โฆษกกระทรวงกลาโหมรัสเซีย กล่าวว่า ขีปนาวุธที่ยิงมีเป้าหมายทางการทหารเท่านั้น โดยต้องการที่จะทำลายเรือรบยูเครนที่จอดเทียบท่าและโกดังเก็บขีปนาวุธฮาร์ปูนที่ยูเครนได้รับจากสหรัฐฯ

    หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาประณามอย่างรุนแรงต่อการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย และกล่าวว่ารัสเซียต้องรับผิดชอบในการทำให้วิกฤตอาหารของโลกรุนแรงขึ้น

    “การโจมตีดังกล่าวบ่อนทำลายงานของสหประชาชาติ ตุรกี และยูเครนในการจัดหาอาหารที่สำคัญสู่ตลาดโลก” บลิงเคนกล่าวในแถลงการณ์

    อย่างไรก็ตาม กองทัพยูเครนระบุว่า การโจมตีดังกล่าวไม่ได้สร้างความเสียหายหนัก โดยกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าเตรียมการกลับมาส่งธัญพืชที่ตกค้างออกจากท่าเรือทุกแห่งในทะเลดำ รวมถึงท่าเรือที่เมืองโอเดสซา

    Source

    ]]>
    1393733