Friday, April 26, 2024
Home Tags อัตราการเกิด

Tag: อัตราการเกิด

อัตราเกิดทรุดฮวบ! กระทบบริษัทใหญ่ในญี่ปุ่นเลิกผลิตไลน์สินค้า “ผ้าอ้อมเด็ก” หันมาผลิตแต่ “ผ้าอ้อมผู้ใหญ่”

“Oji Nepia” บริษัทผู้ผลิตสินค้าผ้าอ้อมสำเร็จรูปในญี่ปุ่น ประกาศยกเลิกการผลิตสินค้าประเภท “ผ้าอ้อมเด็ก” หันมาผลิตเฉพาะ “ผ้าอ้อมผู้ใหญ่” เท่านั้น หลังจากอัตราการเกิดในญี่ปุ่นทรุดเร็วกว่าที่คาด โดยเมื่อปี 2023 มีเด็กทารกเกิดใหม่เพียง 758,631 คน และสังคมญี่ปุ่นกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ

“ประชากรจีน” หดตัว 2 ปีติดเหลือ 1.409 พันล้านคน อัตราเกิดลดเหลือ 6.39/1,000 คน ทำสถิติต่ำสุดใหม่นับตั้งแต่ปี 1949

ทั้งปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจที่น้อยสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่เยาวชนอายุน้อยก็ตกงานกันเพียบ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ดูเหมือนจะส่งผลให้คนจีนเลือกที่จะมีลูกน้อยลง ทำให้อัตราการเกิดต่ำลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ประชากรจีนหดตัวซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญในอนาคต

เท่าไหร่ก็ไม่พอ! อัตราเกิดใน ‘สิงคโปร์’ ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แม้รัฐฯ อัดฉีดกว่า 3 แสนบาทเพื่อจูงใจ

แม้ว่า สิงคโปร์ จะถือเป็นประเทศที่มีความสุขสูงสุดในเอเชียและตะวันออกกลางตามรายงาน World Happiness Report จากสหประชาชาติ (U.N.) ก็ตาม แต่อัตราการเกิดของสิงคโปร์กลับลดต่ำลงเรื่อย ๆ โดยสาเหตุหลัก ๆ เลยก็คือ ค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ภาครัฐจะออกนโยบายกระตุ้น พร้อมให้สิทธิพิเศษมากมายก็เหมือนจะยังไม่สามารถจูงใจได้

คุณพ่อลูกสิบ ‘อีลอน มัสก์’ ชวนคนมี ‘ลูก’ หลังอัตราเกิดต่ำอาจเป็นอันตรายต่อ ‘อารยธรรมมนุษย์’

ต้องยอมรับว่าปัจจุบันอัตราการเกิดในหลาย ๆ ประเทศลดลงอย่างมาก โดยนับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา อัตราการอัตราการเติบโตของประชากรลดลงเหลือต่ำกว่า 1% โดยในปี 2564 เหลือเพียง 0.82% ซึ่ง อีลอน มัสก์ (Elon Musk) มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า โลกจำเป็นต้อง ผลิตลูกให้มากขึ้น และขุดหาน้ำมันต่อไป

นักวิชาการจีนเสนอรัฐบาลแจกเงิน “1 ล้านหยวน” กระตุ้นประชาชนมีลูก แก้วิกฤตการเกิดต่ำ

อาจารย์มหาวิทยาลัยชาวจีนคนหนึ่งเสนอแนวคิดให้รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนแก่ครอบครัวที่มีบุตรเกิดใหม่คนละ 1 ล้านหยวน (ราว 4.85 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีลูกมากขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาอัตราการเกิดในจีนที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ

อัตราการเกิด ‘จีน’ ลดลง 20% โตช้าสุดในรอบ 10 ปี คาดประชากร ‘อินเดีย’ จะแซงใน 5...

‘จีน’ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมาสุดที่สุดของโลกกำลังเผชิญกับ ‘อัตราการเกิด’ ที่ต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยลดลงจาก 20% แม้ว่าในปี 2016 จีนจะยกเลิกนโยบาย ‘ลูกคนเดียว’ ที่เคยประกาศใช้เมื่อปี 1979 เพื่อเป็นมาตรการควบคุมการเติบโตของประชากร

‘Meiji’ รุกตั้งบริษัทใน ‘เวียดนาม’ โอกาสขยายตลาด ‘นมผง’ หลังอัตราการเกิดมากกว่าญี่ปุ่น 70%

‘Meiji’ ยักษ์ใหญ่ด้านอาหารของญี่ปุ่น เตรียมตั้งบริษัทย่อยใน ‘เวียดนาม’ เพื่อนำเข้าและจำหน่ายนมผงสำหรับทารก หลังมี ‘อัตราการเกิด’ มากกว่าญี่ปุ่นถึง 70% นับเป็นโอกาสทางธุรกิจสำคัญที่จะเพิ่มยอดขายเเละขยายกิจการในตลาดใหม่ๆ โดย Meiji Food Vietnam จะเป็นบริษัทที่ Meiji เป็นเจ้าของเองทั้งหมด ซึ่งกำลังจะเปิดตัวที่กรุงฮานอยในวันที่ 1 เมษายน นี้ ด้วยเงินทุนประมาณ 200 ล้านเยน (ราว...

ประเทศพัฒนาแล้ว “อัตราการเกิด” ลดฮวบ ยิ่งล็อกดาวน์ยิ่ง “เครียด” มากกว่าได้ใช้เวลาดีๆ

ผ่าน 9 เดือนหลังจากช่วงล็อกดาวน์เมื่อปีก่อน ฝรั่งเศสเผชิญภาวะ "อัตราการเกิด" ต่ำกว่าปกติราว 10-25% ผิดจากที่คาดว่าการล็อกดาวน์จะทำให้คู่รักได้ใช้ช่วงเวลาดีๆ ด้วยกันมากขึ้น และมีบุตรสูงขึ้น เทรนด์นี้เกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง สาเหตุก็คือ แทนที่จะเป็นช่วงเวลาอบอุ่นของครอบครัว การล็อกดาวน์กลับเป็นตัวการความกังวลด้านเศรษฐกิจและความเครียดของคน

สิงคโปร์ งัดวิธี “เพิ่มโบนัส” จ่ายเงินกระตุ้นให้ประชาชน “มีลูก” ช่วง COVID-19

รัฐบาลสิงคโปร์ หาสารพัดวิธีแก้ปัญหาอัตราการเกิดต่ำ เตรียม “เพิ่มเงินโบนัส” กระตุ้นให้ประชาชน “มีลูก” ในช่วงวิกฤต COVID-19 สวนทางกับ “อินโดนีเซีย-ฟิลิปปินส์” ที่มีปัญหาตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงล็อกดาวน์  หนึ่งในเรื่องที่น่ากังวลในช่วงนี้ คือ ชาวสิงคโปร์จำนวนมากเลื่อนแผนการมีลูกของออกไป เพราะมีความเครียดทางการเงิน จากรายได้ลดน้อยลง และบางคนถึงขั้นตกงาน เพราะบริษัทจำเป็นต้องลดต้นทุนด้วยการปลดพนักงาน Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสิงคโปร์ ระบุว่า โครงการกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกมากขึ้นดังกล่าว กำลังอยู่ในช่วงพิจารณา โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนเงินและวิธีการจ่ายเงินโบนัส...

วิกฤตประชากรญี่ปุ่น : ขยายเวลาเกษียณอายุการทำงานเป็น 70 ปี แก้ปัญหาขาดเเรงงาน

การเป็นสังคมสูงวัยเต็มขั้นของญี่ปุ่น กำลังสร้างความกังวลให้กับการพัฒนาประเทศชาติ เพราะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โครงสร้างงบประมาณประกันสังคม อีกทั้งยังขาดเเคลนเเรงงานเเละมีอัตราการเกิดต่ำ ล่าสุดกับความพยายามแก้ปัญหาของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการผลักดันกฎหมายให้ภาคเอกชนขยายระยะเวลาทำงานหรือ "ขยายเวลาเกษียณอายุ" ให้กับลูกจ้างไปจนถึงอายุ 70 ปี จากเดิมที่บริษัทญี่ปุ่นมีภาระผูกพันที่จะต้องให้พนักงานทำงานจนถึงอายุ 65 ปี เเม้ในขณะนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะยังไม่ได้บังคับให้ทุกบริษัทต้องรักษาสภาพพนักงานไปจนถึงอายุ 70 ปี เเต่ก็ให้เป็นตัวเลือกมาลองใช้ 5 เเบบ ได้เเก่ การขยายเวลาเกษียณอายุ การปลดลูกจ้างต่อเมื่อไม่สามารถทำงานได้ เเละการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานเกินอายุที่กำหนด มีตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการทำงานยุคใหม่อีก 2 เเบบคือ การให้บริษัทจ้างงานลูกจ้างที่เกษียณอายุแล้วในรูปแบบ...