อุตสาหกรรม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 17 Oct 2021 12:36:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เหล่าประเทศใน EU ทุ่มเงินลงทุน ‘เวียดนาม’ เพิ่มขึ้น แม้เจอวิกฤตโควิด เน้นอุตฯ ไฮเทค https://positioningmag.com/1356950 Sun, 17 Oct 2021 11:50:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356950 สหภาพยุโรป (EU) ลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้นกว่า 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบเป็นรายปี ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ท่ามกลางการระบาดหนักของโควิด-19

สื่อท้องถิ่นอย่าง VnExpress เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุดที่รัฐบาลส่งไปยังรัฐสภา ระบุว่า เหล่าประเทศสมาชิก EU ลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น 26 ประเทศจากทั้งหมด 27 ประเทศ

โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาลงทุนหลักๆ เช่น Shell Group จากเนเธอร์แลนด์ , Total Elf Fina จากฝรั่งเศส – เบลเยียม, Daimler Chrysler จากเยอรมนี , Siemens และ Alcatel Comvik จากสวีเดน

เนเธอร์แลนด์เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดด้วยเงินเกือบ 1.04 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน 382 โครงการ รองลงมาคือฝรั่งเศสที่ 3.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเยอรมนีที่ 2.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มีเเนวโน้มว่า ชาติยุโรปจะเข้ามาลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งระยะกลางและระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทค

ปัจจุบัน สินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม ได้แก่ โทรศัพท์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ รองเท้า สิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องใช้ เครื่องมือและอะไหล่ และผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า

การค้าระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนาม เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่ข้อตกลงเขตการค้าเสรี EUเวียดนาม (EBFTA) มีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคมปีที่เเล้ว เเม้จะมีอุปสรรคใหญ่จากโควิด

โดยมูลค่าการค้าปีนี้ เพิ่มขึ้นเกือบ 12% เมื่อเทียบปีต่อปี เป็น 54,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.82 ล้านล้านบาท) ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกของเวียดนามถึง 38,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.28 ล้านล้านบาท

เเละเพื่อดึงดูดการลงทุนของสหภาพยุโรป หลายเมืองในเวียดนามเริ่มดำเนินการจัดหาที่ดินรอบนิคมอุตสาหกรรม เเละจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาแรงงานมีทักษะในภาคการเกษตร การผลิต โลจิสติกส์ และปรับปรุงระบบราชการให้คล่องตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงต้องใช้ความพยายามอีกมากที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานด้านความยั่งยืนที่เคร่งครัดและมาตรฐานทางเทคนิคต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ EU นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

 

ที่มา : VnExpress 

]]>
1356950
เเรงงาน ‘เวียดนาม’ หลายล้านคน กำลังจะแห่หนี ‘กลับบ้านเกิด’ ป่วนซัพพลายเชนโลก https://positioningmag.com/1355806 Fri, 08 Oct 2021 10:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355806 เเรงงานหลายล้านคนในเวียดนาม กำลังเเห่เดินทางกลับบ้านเกิดสะเทือนห่วงโซ่อุปทานการผลิตของเเบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก

การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้โรงงานและท่าเรือในเอเชีย ต้องปิดทำการชั่วคราว ครอบคลุมถึงการผลิตชิปคอมพิวเตอร์ วัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภคเเละชิ้นส่วนรถยนต์ รวมไปถึงสินค้าเเฟชั่นอย่าง เสื้อผ้า รองเท้า ของเล่น

เวียดนามได้กลายเป็นประเทศ ‘ฐานผลิต’ สำคัญของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่เลือกย้ายการผลิตมายังอาเซียนมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐฯ

โดยนครโฮจิมินห์’ ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตของเวียดนาม และเป็นที่ตั้งของโรงงานซัพพลายเออร์ให้แบรนด์ดังอย่าง Nike , Adidas เเละ Abercrombie & Fitch Co

เเต่หลังจากรัฐบาลได้ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางเมื่อวันที่ 1 ..ที่ผ่านมา ทำให้ให้มีแรงงานหลายหมื่นคน เดินทางออกจากนครโฮจิมินห์ และจังหวัดใกล้เคียงอย่างบินห์ดอง , ดองไน และลองอัน

การที่รัฐบาลเวียดนามสั่งการให้โรงงานต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมทางตอนใต้ของประเทศ จัดเตรียมที่พักให้กับคนงานหรือปิดการดำเนินงานชั่วคราวนั้น ก็สร้างความกังวลให้เหล่าเเรงงานไม่น้อย ตามรายงานของเว็บไซต์รัฐบาลเวียดนาม คาดว่าตอนนี้ยังมีเเรงงานในโซนอุตสาหกรรมกว่า 2.1 ล้านคน ที่ต้องการกลับภูมิลำเนาอีก 

ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดรถโดยสารหลายร้อยคัน เพื่อขนส่งคนงานเหล่านี้กลับไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนคนที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบโดส ก็จะถูกส่งไปยังศูนย์กักตัวก่อน

(Photo by Linh Pham/Getty Images)

การอพยพกลับถิ่นฐานของเเรงงานในเวียดนามจำนวนมากนี้ ทำให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีมาก่อนเเล้วในช่วงวิกฤตโควิด มีความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ เเละอาจจะส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั่วโลก

ประธานสมาคมสิ่งทอและเสื้อผ้าของเวียดนาม ให้สัมภาษณ์ว่า อุตสาหกรรมเสื้อผ้าของประเทศ อาจเจอปัญหาแรงงานลดลงถึง 37% ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้

ด้านรองประธานสมาคมผู้ผลิตรองเท้าและกระเป๋าเวียดนาม เปิดเผยว่า ตอนนี้กว่า 40% ของคนงานในอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า เดินทางกลับบ้านไปแล้วและยังไม่ชัดเจนว่าพวกเขาจะกลับมาทำงานตามเดิมได้มากน้อยเเค่ไหน

หลายปีที่ผ่านมา เวียดนามขึ้นเเท่นเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้ารายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของบริษัทในสหรัฐฯ โดยผลิตสินค้าให้แบรนด์สัญชาติอเมริกันมากกว่า 1,000 แบรนด์

ปัญหาเหล่านี้ ทำให้เเบรนด์ยักษ์ใหญ่เริ่มมีการปรับเเผนสินค้าใหม่ โดย Urban Outfitters และ Abercrombie & Fitch ได้ประกาศเตือนถึงการขาดแคลนสินค้าในช่วงเทศกาลวันหยุด

ขณะที่ Nike ได้ปรับลดคาดการณ์ยอดขายลง จากสาเหตุหลักๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโรงงานผลิตในเวียดนามกว่า 80% ในภาคใต้ และเกือบครึ่งหนึ่งของโรงงานผลิตเสื้อผ้าที่ต้องปิดทำการ ส่วน Adidas ก็มีการจัดสรรการผลิตสินค้าใหม่ไปยังประเทศอื่น ๆ ชั่วคราว

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสถิติ คาดการณ์ว่า จีดีพีของประเทศจะเติบโตเพียง 2.5% ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลเคยตั้งเป้าไว้มากถึง 6.5%

โดยสถานการณ์โรคระบาดที่รุนเเรงจากสายพันธุ์เดลตา มาตรการล็อคดาวน์ที่ยาวนานเกินไป เเละการเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค เป็นตัวเเเปรสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเวียดนาม

 

ที่มา : Bloomberg , Reuters

]]>
1355806
ความเห็น ‘ซีอีโอ’ 45 กลุ่มอุตฯ หนุนรัฐเปิดประเทศปลายปี พักหนี้-หยุดดอกธุรกิจท่องเที่ยว https://positioningmag.com/1354224 Thu, 30 Sep 2021 07:45:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354224 เปิดผลสำรวจความเห็นซีอีโอกว่า 150 คนจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 ...จังหวัด ส่วนใหญ่กว่า 78% หนุนรัฐผ่อนคลายล็อกดาวน์เเละเปิดประเทศ .. – ..นี้ รับต่างชาติเเบบให้อยู่ในพื้นที่ Sandbox 14 วัน หากไม่พบเชื้อหลังจากนั้น สามารถเดินทางไปทั่วประเทศได้ โดยต้องเร่งฉีดวัคซีน 2 เข็มให้ประชาชนไม่ต่ำกว่า 70%

วันนี้ (30 ..64 )สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส... เผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 ในหัวข้อภาคอุตสาหกรรมพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?”

พบว่าผู้บริหาร ส... ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ในช่วงเดือนตุลาคมพฤศจิกายนนี้ โดยขอให้ภาครัฐดำเนินนโยบายที่มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น และบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้

สำหรับข้อเสนอสำคัญ คือ ภาครัฐต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการพักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคเอกชน ขยายระยะเวลาเคอร์ฟิวเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิงเปิดให้บริการได้ 

พร้อมแนะภาคเอกชนเร่งปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19

จากการสำรวจผู้บริหาร ส... (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 จำนวน 7 คำถาม ได้ดังนี้

ท่านเห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือนตุลาคมพฤศจิกายนนี้หรือไม่

เห็นด้วย 78.0%
ไม่เห็นด้วย 22.0%

ปัจจัยใดที่ต้องนำมาพิจารณาในการเปิดประเทศ

อันดับที่ 1 : อัตราการฉีดวัคซีน 2 เข็มให้แก่ประชาชนไม่ต่ำกว่า 70% 86.0%
อันดับที่ 2 : มาตรการคัดกรอง ตรวจติดตามผู้เดินทางเข้าประเทศ 66.7%
อันดับที่ 3 : ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน 62.7%
อันดับที่ 4 : ความพร้อมด้านระบบสาธารณสุขในการรองรับผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่ 59.3%

Photo : Shutterstock

ภาครัฐควรดำเนินนโยบายการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และดูแลเศรษฐกิจอย่างไร

อันดับที่ 1 : ผ่อนคลายภาคธุรกิจและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น 73.3%
อันดับที่ 2 : เข้มงวดในการบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคทุกช่องทาง 14.0%
อันดับที่ 3 : เร่งเปิดประเทศ โดยให้ความสำคัญด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นสำคัญ 12.7%

แนวทางการเปิดประเทศแบบใดที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

อันดับที่ 1 : เปิดให้อยู่ในพื้นที่ Sandbox 14 วัน หากไม่พบเชื้อหลัง 14 วันสามารถเดินทางได้ทั่วประเทศ 44.7%
อันดับที่ 2 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศในรูปแบบการจับคู่ระหว่างประเทศ (Travel Bubble) โดยไม่ต้องกักตัว 26.0%
อันดับที่ 3 : เปิดเฉพาะพื้นที่ Sandbox เท่านั้น ห้ามออกนอกพื้นที่ 16.7%
อันดับที่ 4 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศ แต่ต้องผ่านการกักตัวในสถานที่กักตัว 14 วัน 12.6%

การเตรียมความพร้อมเปิดประเทศรัฐควรให้ความสำคัญในเรื่องใด

อันดับที่ 1 : การเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ Sandbox 70.0%
อันดับที่ 2 : การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน 69.3%
อันดับที่ 3 : ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีในการติดตามและเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศ 67.3%
อันดับที่ 4 : ความพร้อมในการตรวจเชื้อแบบ RT-PCR และการจัดหาชุดตรวจ Antigen Test Kit 63.3%

หลังเปิดประเทศรัฐควรมีการส่งเสริมอย่างไร

อันดับที่ 1 : พักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ย สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน 76.0%
อันดับที่ 2 : ขยายระยะเวลาเคอร์ฟิว และผ่อนผันให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิงเปิดให้บริการได้ 74.0% อันดับที่ 3 : ออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนการจัดงาน Exhibition และการประชุมในประเทศ 54.0%
อันดับที่ 4 : ลดค่าน้ำ ค่าไฟ อุดหนุนค่าเช่า ให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง 50.7%

ภาคอุตสาหกรรมควรเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศอย่างไร

อันดับที่ 1 : ปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง 73.3%
อันดับที่ 2 : นำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ 71.3%
อันดับที่ 3 : พัฒนาสินค้าและบริการที่ให้ความสำคัญด้านสุขอนามัย และการรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค 66.0%
อันดับที่ 4 : ปฏิบัติตามมาตรการ Bubble and Seal ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยง 57.3%

 

]]>
1354224
‘โตโยต้า’ ปรับลดการผลิต ‘รถยนต์’ ทั่วโลกลง 40% ในเดือน ก.ย. เซ่นวิกฤต ‘ขาดเเคลนชิป’ https://positioningmag.com/1347976 Fri, 20 Aug 2021 12:04:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347976 วิกฤตขาดเเคลนชิปผสมกับวิกฤตโควิดทำให้อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ทั่วโลกสะดุด ล่าสุดยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้า’ ต้องปรับลดการผลิตลงถึง 40% จากเเผนเดิมในเดือนก.นี้

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป (Toyota Motor Corp) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกจากญี่ปุ่น จะปรับกำลังการผลิตในช่วงเดือนก..ลดลง 40% จากแผนเดิม เนื่องจากปัญหาการขาดเเคลนเซมิคอนดักเตอร์

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงประมาณการยอดขายและกำลังผลิตทั้งหมดของปีนี้ ไว้ตามเป้าหมายเดิม โดยโตโยต้า คาดว่าจะสามารถผลิตรถยนต์ทั่วโลกได้ตามเป้าหมายที่ 9.3 ล้านคัน เเละหวังจะทำยอดขายให้ได้ 8.7 ล้านคัน ในปีงบประมาณนี้ (เม.. 2021 – มี.. 2022) 

ในช่วงที่ผ่านมา นับว่าโตโยต้าสามารถจัดการปัญหาขาดเเคลนชิปได้ดีกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ เพราะมีการสต็อกของไว้จำนวนมาก เเต่เมื่อสถานการณ์ยังยืดเยื้อ บวกวิกฤตโควิดที่ทวีความรุนเเรงขึ้น ความเสี่ยงในภาคการผลิตก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

โตโยต้า ระบุว่า การลดการผลิตในเดือนก..นี้ จะครอบคลุมโรงงาน 14 แห่งในญี่ปุ่น และโรงงานในต่างประเทศ และบริษัทจะลดการผลิตตามแผนทั่วโลกในเดือนเดียวกันนี้ ลงประมาณ 360,000 คัน

Photo : Shutterstock

บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกต่างปรับลดการผลิตลงในช่วงนี้ หลังจากภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ประกอบกับยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่สูงขึ้นในประเทศที่เป็นฐานการผลิตอย่าง ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย และมาเลเซีย ซึ่งมีมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด

โดย Volkswagen ของเยอรมนี เพิ่งประกาศว่า อาจต้องลดการผลิตเพิ่มเติมและคาดว่าซัพพลายของชิปในไตรมาส 3 จะผันผวนและตึงตัวมากเช่นเดียวกัน Ford Motor Co ที่จะปิดทำการโรงงานประกอบรถยนต์ในเมืองแคนซัสซิตี้ สหรัฐฯ ชั่วคราว เนื่องจากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์

ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia รายงานว่า โตโยต้า ได้ระงับสายการผลิตที่โรงงานในญี่ปุ่นเเล้วเป็นบางแห่ง ในช่วงปลายเดือนก..ถึงต้นเดือนส.. เพราะขาดแคลนชิ้นส่วนจากเวียดนาม

เเหล่งข่าวในวงการรายหนึ่ง บอกกับ Reuters ว่า โตโยต้า ได้ระงับการผลิตในโรงงานแห่งหนึ่งที่เมืองกวางโจวประเทศจีนด้วย

เมื่อปลายเดือนก..ที่ผ่านมาโตโยต้าต้องหยุดการผลิตโรงงานประกอบรถยนต์ 3 แห่งในไทยชั่วคราว เนื่องจากผู้ป้อนอะไหล่ในท้องถิ่นหยุดการผลิตเพราะสถานการณ์โควิด

ทั้งนี้ โรงงาน 3 แห่งในไทย นับเป็นโรงงานหลักของโตโยต้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นฐานการผลิตในต่างประเทศที่ใหญ่รองจากจีน และสหรัฐฯ สามารถผลิตรถยนต์ได้ราว 750,000 คันต่อปี 

 

ที่มา : Reuters , kyodonews

]]>
1347976
สิงคโปร์ เจอวิกฤตขาดเเคลน ‘เเรงงานต่างชาติ’ จากมาตรการคุมเข้มสกัดโควิด-19 https://positioningmag.com/1331629 Tue, 11 May 2021 10:55:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331629 สิงคโปร์’ กำลังเจอปัญหาขาดเเคลนเเรงงานต่างชาติหลังการอนุมัติเดินทางเข้าประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า จากมาตรการควบคุมชายเเดนที่เข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้บรรดาบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การขนส่งทางทะเลและภาคการผลิต ได้รับผลกระทบอย่างหนัก

Lawrence Wong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดการโควิด-19 ของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างใหม่ๆ จำนวนมากอาจจะล่าช้าออกไปอีก 1 ปีหรือมากกว่านั้น ขณะที่บริษัทในภาคการขนส่งทางทะเลและภาคการผลิต จะต้องสูญเสียโอกาสทางธุรกิจใหม่

โดยบริษัทใดก็ตาม หากต้องการนำเข้าแรงงานต่างชาติจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูง จะต้องเผชิญกับความล่าช้าอย่างมาก เเละรอการอนุมัติการเข้าประเทศนานกว่า 6 เดือน ซึ่งข้อจำกัดใหม่นี้ มีผลบังคับใช้กับทุกประเทศที่มีความเสี่ยงสูง ยกเว้นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, บรูไน, จีน, ไต้หวัน, ฮ่องกง และมาเก๊า 

สิ่งที่น่ากังวลคือ การที่บริษัทต่างๆ ต้องเจอความยากลำบากหรือถูกบังคับให้ปิดกิจการ จะส่งผลให้ชาวสิงคโปร์ตกงานมากขึ้นตามไปด้วย

หอพักจำนวนมากที่เป็นสถานที่พักอาศัยของแรงงานต่างชาติ ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียใต้เป็นศูนย์กลางของการระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว เเละเมื่อช่วงปลายเดือนเม..ที่ผ่านมา รัฐบาลเพิ่งกักตัวเพื่อดูอาการแรงงานต่างด้าวราว 1,200 คนในโรงงานแห่งหนึ่ง หลังจากพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ในกลุ่มแรงงานชายที่คิดว่าหายดีจากการติดเชื้อเเล้ว

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่จัดการโควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งตอนนี้กำลังเร่งกระจายวัคซีนของ Pfizer เเละ Moderna ให้กับประชาชน

อย่างไรก็ตาม ยังต้องใช้เวลาในการโน้มน้าวให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากการพบผู้ติดเชื้อในประเทศน้อย ทำให้หลายคนยังลังเล ไม่ตื่นตัว เเละมีความกังวลเกี่ยวกับมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสและผลข้างเคียงจากวัคซีนที่เร่งรีบในการพัฒนา

โดยล่าสุดประชาชนสิงคโปร์ราว 1.8 ล้านคน ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส (ณ วันที่ 9 พฤษภาคม) หรือคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของประชากร

 

 

ที่มา : Bloomberg , CNA

]]>
1331629