โบอิ้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 21 Aug 2024 04:34:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “โบอิ้ง” หยุดการทดสอบเครื่องบินรุ่นใหม่ “777X” หลังพบชิ้นส่วนโครงสร้างเสียหาย https://positioningmag.com/1486994 Tue, 20 Aug 2024 11:48:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486994 “โบอิ้ง” ประกาศหยุดการทดสอบเครื่องบินรุ่นใหม่ “777X” ไปก่อน หลังพบว่าชิ้นส่วนโครงสร้างเกิดความเสียหาย โดยเครื่องบินรุ่นนี้ส่งมอบให้ลูกค้าล่าช้าจากกำหนดการเดิมมาแล้ว 4 ปี และความเสียหายนี้ยังไม่แน่ว่าจะกระทบกับกำหนดการส่งมอบใหม่ในปี 2025 หรือไม่

บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน “โบอิ้ง”​ แถลงว่าบริษัทพบความเสียหายของชิ้นส่วนโครงสร้างเครื่องบินรุ่น 777X เครื่องบินรุ่นใหม่ที่ยังอยู่ระหว่างทดสอบ โดยความเสียหายที่พบเกิดขึ้นบริเวณระหว่างตัวเครื่องกับเครื่องยนต์ และพบในช่วงการซ่อมบำรุงตามตารางปกติ

หลังจากนั้นโบอิ้งจึงสั่งหยุดทดสอบการบินของเครื่องบิน 777X ทั้งฝูงบินซึ่งมีทั้งหมด 4 ลำ ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องบินลำไหนในฝูงนี้ที่มีกำหนดการทดสอบการบิน

“ทีมงานของเรากำลังเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหาย และถอดบทเรียนจากชิ้นส่วนดังกล่าว รวมถึงจะกลับไปทดสอบการบินอีกครั้งเมื่อพร้อม” โบอิ้งประกาศในคำแถลงการณ์ และยังบอกด้วยว่า บริษัทได้แจ้งองค์การบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ​ (FAA) และลูกค้าที่ได้สั่งซื้อเครื่องบินรุ่น 777X เรียบร้อยแล้ว

สำหรับเครื่องบินรุ่น 777X เป็นเครื่องบินแบบลำตัวกว้างที่มีผู้สั่งซื้อสะสมแล้ว 481 ลำ ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ของโบอิ้งพบผู้สั่งหลักของเครื่องบินรุ่นนี้คือ Emirates รองลงมาคือ Qatar Airways ตามด้วย Singapore Airlines

ยังไม่แน่ชัดว่าการค้นพบชิ้นส่วนเสียหายในเครื่องบินทดสอบครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อกำหนดการส่งมอบหรือไม่ โดยเครื่องรุ่นนี้ถือว่าส่งมอบช้ากว่ากำหนดการมานานแล้ว เพราะกำหนดการแรกที่ประกาศคือจะส่งมอบภายในปี 2020 แต่เมื่อการพัฒนาและผลิตไม่ทันกำหนด ทำให้โบอิ้งเปลี่ยนกำหนดการใหม่เป็นส่งมอบภายในปี 2025

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวจากสำนักข่าว The Air Current ว่า ซีอีโอใหม่ของโบอิ้งอย่าง “เคลลี่ ออร์ตเบิร์ก” กำลังพยายามกู้วิกฤตเรื่อง “ความปลอดภัย” ของบริษัทอย่างสุดความสามารถ จากเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อต้นปีนี้ที่เครื่องบินของบริษัทเกิดประตูหลุดกลางอากาศมาแล้ว

Source

]]>
1486994
Boeing สารภาพข้อหาสมรู้ร่วมคิดฉ้อโกงรัฐบาลสหรัฐฯ ในคดีเครื่องบิน 737 MAX ตกในอินโดนีเซียและเอธิโอเปีย https://positioningmag.com/1481765 Mon, 08 Jul 2024 05:12:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481765 ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่อย่าง โบอิ้ง (Boeing) ได้สารภาพข้อหาสมรู้ร่วมคิดฉ้อโกงรัฐบาลสหรัฐฯ ในคดีเครื่องบิน 737 MAX ตกในอินโดนีเซียและเอธิโอเปียในปี 2018 และ 2019 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และยังสร้างผลกระทบต่อความเชื่อถือของบริษัท

Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้รับสารภาพข้อหาสมรู้ร่วมคิดฉ้อโกงรัฐบาลสหรัฐฯ ในคดีเครื่องบิน 737 MAX 8 ตกในอินโดนีเซียและเอธิโอเปีย ในปี 2018 และ 2019 ตามลำดับ ซึ่งกรณีดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันมากถึง 346 ราย

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นต่อเนื่องมาจากคดีในปี 2021 ที่ Boeing ถูกดำเนินคดีอาญาจากกระทรวงยุติธรรม เนื่องจากพบว่าบริษัทละเมิดข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุร้ายแรง

อัยการสหรัฐฯ ชี้ว่านักบินของ Boeing สองคนปกปิดข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานกำกับด้านการบินของสหรัฐฯ เกี่ยวกับระบบควบคุมอัตโนมัติใหม่ หรือ MCAS ในเครื่องบินรุ่น 737 MAX ซึ่งตัวระบบดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุขัดข้องของเครื่องบินที่ตกในอินโดนีเซียและเอธิโอเปีย

เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมยังกล่าวว่า ผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้ยังจะต้องจ่ายค่าปรับทางอาญาจำนวน 243.6 ล้านดอลลาร์ และบริษัทตกลงที่จะลงทุนอย่างน้อย 455 ล้านดอลลาร์ในช่วง 3 ปีข้างหน้า เพื่อที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงการด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

กรณีเครื่องบิน 737 MAX 8 ตกในอินโดนีเซียและเอธิโอเปียห่างกันในระยะเวลา 5 เดือน สร้างผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบริษัทไม่น้อย เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินทั่วโลกได้สั่งให้เครื่องบินรุ่นดังกล่าวต้องจอดไว้ชั่วคราว เพื่อที่จะตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้มีการซื้อกิจการของ Spirit AeroSystems เพื่อแก้ปัญหาผลิตเครื่องบินไม่ทัน เนื่องจากปัญหาของคุณภาพชิ้นส่วนในการผลิต หรือแม้แต่เรื่องความปลอดภัย

ขณะเดียวกันหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินเองก็ห้าม Boeing เพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX จนกว่าจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย

การสารภาพข้อหาสมรู้ร่วมคิดฉ้อโกงรัฐบาลสหรัฐฯ ของ Boeing นั้นยิ่งทำให้เพิ่มความยากลำบากในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้กลับมา แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาบริษัทพยายามในเรื่องดังกล่าวแล้วก็ตาม

ที่มา – Reuters, CNBC, BBC

]]>
1481765
Boeing ซื้อกิจการซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนเครื่องบิน Spirit AeroSystems เพื่อแก้ปัญหาผลิตเครื่องบินไม่ทัน https://positioningmag.com/1480550 Mon, 01 Jul 2024 15:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480550 ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง ‘โบอิ้ง’ ล่าสุดได้ควักเงินมากถึง 4,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซื้อกิจการซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนเครื่องบิน Spirit AeroSystems เพื่อแก้ไขปัญหาที่บริษัทผลิตเครื่องบินไม่ทัน รวมถึงความปลอดภัยในชิ้นส่วนเครื่องบิน ซึ่งส่งผลกับความน่าเชื่อถือของบริษัทในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ประกาศเข้าซื้อกิจการของ Spirit AeroSystems ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนเครื่องบิน โดยดีลดังกล่าวนั้นมีมูลค่า 4,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 172,480 ล้านบาท

Pat Shanahan ซึ่งเป็น CEO ของ Spirit AeroSystems ได้กล่าวว่า ดีลการซื้อกิจการดังกล่าวทำให้ทั้ง 2 บริษัทสามารถร่วมกันทำงานในด้านวิศวกรรมและด้านการผลิตได้อย่างเต็มที่ รวมถึงในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยของชื้นส่วนเครื่องบิน

สำหรับ Spirit AeroSystems เคยเป็นส่วนหนึ่งของ Boeing ก่อนที่จะมีการแยกกิจการออกไปในปี 2005 โดยซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนเครื่องบินรายนี้มีลูกค้าที่คิดเป็นสัดส่วนรายได้มากกว่า 70% ของบริษัทนั่นก็คือ Boeing รองลงมาคือ Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินจากยุโรปที่ 25%

ขณะที่ธุรกิจของ Spirit AeroSystems ในทวีปยุโรปนั้นทาง Airbus จะซื้อกิจการดังกล่าว เพื่อที่จะทำให้บริษัทสามารถผลิตเครื่องบินรุ่น A220 และ A350 ได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมาผู้ผลิตเครื่องบินจากสหรัฐรายนี้ประสบปัญหาในการประกอบเครื่องบิน โดยในปี 2023 บริษัทได้กล่าวว่าปัญหาใหญ่มาจากเรื่องของ Supply Chain ส่งผลทำให้การผลิตและส่งมอบเครื่องบินเป็นไปอย่างล้าช้ากว่าที่คาดไว้

ขณะเดียวกัน Boeing ยังประสบปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือของเครื่องบิน ในเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เครื่องบินรุ่น 737 MAX 8 ตก 2 ครั้ง จนทำให้หน่วยงานด้านการบินทั่วโลกสั่งหยุดบินเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะไฟเขียวให้เครื่องบินรุ่นนี้กลับมาบินได้อีกครั้ง

หรือแม้แต่กรณีชิ้นส่วนหลุดออกจากเครื่องบินรุ่น 737 MAX 9 ของสายการบิน Alaska จนทำให้หน่วยงานกำกับดูแลการบินของสหรัฐอเมริกาต้องออกมาสั่งให้ Boeing ห้ามเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่นดังกล่าว จนกว่าจะทำให้หน่วยงานกำกับดูแลพึงพอใจในเรื่องของความปลอดภัย

การตัดสินใจดังกล่าวดำเนินการขึ้นในขณะที่ Boeing พยายามที่จะแก้ไขวิกฤตองค์กรและภาพพจน์ของอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งท้ายที่สุดบริษัทได้เลือกการซื้อกิจการของ Spirit AeroSystems กลับมา

ที่มา – The Guardian, CNN, CBS News

]]>
1480550
หน่วยงานกำกับการบินในสหรัฐฯ สอบ Boeing กรณีผลิตเครื่องบินรุ่น 787 อาจมีการปลอมแปลงผลการทดสอบ https://positioningmag.com/1472226 Tue, 07 May 2024 04:43:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472226 องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศเข้าตรวจสอบโบอิ้ง (Boeing) ในกรณีการผลิตเครื่องบินรุ่น 787 ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ของบริษัท อาจมีการการปลอมแปลงผลการทดสอบ ขณะเดียวกันบริษัทยังกล่าวว่าสายการผลิตเครื่องบินดังกล่าวอาจผลิตได้ช้าลง

องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ได้ประกาศเข้าตรวจสอบ Boeing ในกรณีการผลิตเครื่องบินรุ่น 787 ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ของบริษัท อาจมีการการปลอมแปลงผลการทดสอบ หลังจากในช่วงที่ผ่านมาผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้กำลังประสบปัญหาเรื่องของความเชื่อมั่น

FAA ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่ากำลังตรวจสอบว่า Boeing ได้ทำการตรวจสอบเครื่องบินเสร็จสิ้นหรือไม่ เพื่อยืนยันว่าการยึดเกาะและการต่ออุปกรณ์ต่างๆ ในตำแหน่งที่ปีกเชื่อมต่อกับลำตัวของเครื่องบินรุ่น 787 Dreamliner บางลำนั้นดีเพียงพอ

กรณีดังกล่าวตามมาหลังจากผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวกล่าวว่าพนักงานบางคนได้ประพฤติมิชอบ โดยอ้างว่าการทดสอบบางอย่างเสร็จสิ้นแล้ว และทีมวิศวกรของบริษัทได้ประเมินเรื่องดังกล่าว และได้แจ้งกับ FAA ทันที

โดย Boeing ได้เตรียมตรวจสอบเครื่องบินรุ่น 787 ที่กำลังอยู่ในสายการผลิตของบริษัท และยังเตรียมที่จะมีแผนตรวจสอบเครื่องบินที่ผลิตแล้วเสร็จและใช้งานโดยสายการบินต่างๆ ด้วย แต่ตัวแทนของบริษัทได้กล่าวว่าการปลอมแปลงผลการทดสอบอาจไม่สัมพันธ์กับเรื่องความปลอดภัยแต่อย่างใด

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา วิศวกรของ Boeing ได้เข้าให้การในการไต่สวนของสภาคองเกรส กรณีการตรวจสอบด้านความปลอดภัยในส่วนการผลิตเครื่องบินในรุ่นต่างๆ ซึ่งรวมถึงเครื่องบินในรุ่น 787 นี้ด้วย โดยมีการกล่าวถึงวัฒนธรรมในองค์กรที่พยายามปกปิดสิ่งเหล่านี้

สำหรับกรณีของ Boeing นั้นไม่ใช่ครั้งแรกที่หน่วยงานกำกับดูแลได้เข้ามาตรวจสอบการผลิตของบริษัท แต่กรณีของเครื่องบินรุ่น 737 MAX ของบริษัท ก็มีคำสั่งให้ผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้งดเพิ่มกำลังการผลิต เนื่องจากปัญหาการควบ คุมคุณภาพการผลิต คล้ายกับกรณีของเครื่องบินรุ่น 787

นอกจากนี้ Boeing เองยังกล่าวว่า การผลิตเครื่องบินในรุ่น 787 อาจมีการผลิตและส่งมอบเครื่องบินให้กับสายการบินต่างๆ ช้าลง เนื่องจากบริษัทขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตที่สำคัญ 

ที่มา – NPR

]]>
1472226
วิศวกร “Boeing” แฉต่อหน้าสภาคองเกรส บริษัท “ข่มขู่” ให้ปิดเงียบเรื่องเครื่องบิน “ไม่ปลอดภัย” https://positioningmag.com/1470283 Thu, 18 Apr 2024 07:43:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470283 วิศวกรบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน “Boeing” ขึ้นให้การต่อหน้าสภาครองเกรส ยืนยันตนเองถูกเจ้านาย “ข่มขู่” หลังจากที่เขาแสดงความกังวลเรื่องความปลอดภัยของเครื่องบินของบริษัท

“Sam Selehpour” วิศวกรและเป็นผู้แจ้งเบาะแสคนสำคัญเกี่ยวกับการทำงานที่หละหลวมและไม่ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของ Boeing ขึ้นให้การต่อหน้าสภาคองเกรสเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2024 ว่า เขาถูกเจ้านายโทรศัพท์มาต่อว่ายาว 40 นาที และรถยนต์ของเขาถูกเจาะยางด้วยตะปู หลังจากเขาแสดงความกังวลในบริษัทว่าขั้นตอนการดำเนินการผลิตเครื่องบิน “ไม่ปลอดภัย”

หลังจากการไต่สวนโดยสภาคองเกรสครั้งนี้ Boeing มีการออกแถลงการณ์ว่า “พวกเราทราบดีว่าเรายังมีงานต้องทำอีกมาก และเรากำลังลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ไขทั้งบริษัท”

Boeing เริ่มเผชิญวิกฤตหลังจากเครื่องบินรุ่นใหม่ของบริษัท “737 Max 8” เกิดเหตุ “เครื่องบินตก” ถึง 2 ครั้งในปี 2018 และปี 2019 รวมมีผู้เสียชีวิตถึง 346 คน

หลังจากนั้นเมื่อเดือนมกราคม 2024 เครื่องบินรุ่น “737 Max 9” ของสายการบิน Alaska Airlines มาเกิดเหตุไม่คาดฝันอีก เมื่อชิ้นส่วนของเครื่องบินหลุดออกระหว่างทำการบิน เป็นโชคดีที่ไม่มีผู้โดยสารคนใดได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต แต่เมื่อเหตุมาเกิดซ้ำทำให้บริษัทถูกจับจ้องและตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง

การตรวจสอบครั้งนี้มีการนำตัวพยานผู้แจ้งเบาะแสทั้งหมด 3 คนมาให้การต่อสภาคองเกรส หนึ่งในนั้นคือ Sam Salehpour ซึ่งเป็นวิศวกรที่ทำงานกับ Boeing มานาน 17 ปี เขากล่าวว่าเขาได้แจ้งความกังวลต่อหัวหน้าเรื่องการใช้ “ทางลัด” ในการผลิตเครื่องบิน และเขาได้แจ้งเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาตลอด 3 ปีนับตั้งแต่ปี 2020 แต่เขาถูกโต้กลับจากหัวหน้าว่าให้ “หุบปาก”

“ผมถูกละเลย ผมได้รับคำตอบแค่ว่าอย่าทำให้การส่งมอบล่าช้า” Salehpour กล่าว พร้อมเสริมว่าเวลาต่อมาเขาถูกย้ายงานไปทำตำแหน่งอื่น “นี่ไม่ใช่วัฒนธรรมการทำงานที่ปลอดภัยเลย เพราะคุณจะถูกข่มขู่เมื่อพูดเรื่องที่ขัดแย้งขึ้นมา”

 

จับตา Boeing 787 อีกหนึ่งรุ่นที่อาจไม่ปลอดภัย

ความกังวลของ Salehpour ในเวลานี้คือ เครื่องบินรุ่น Boeing 787 ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบลำตัวกว้าง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุวิกฤต Alaska Airlines หรือวิกฤตปี 2018-19 แต่มีปัญหาเรื่องการผลิตเช่นเดียวกัน

เขากล่าวว่า ชิ้นส่วนที่ใช้ผลิตเครื่องบินรุ่นนี้ไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะผิดพลาดได้ในอนาคต

เขาได้แจ้งเรื่องนี้กับทางองค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) ไปแล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และเผยตัวพร้อมๆ กับ FAA เมื่อหน่วยงานแจ้งเรื่องนี้ต่อสาธารณะเมื่อต้นเดือนเมษายน

FAA ระบุว่าพวกเขากำลังสืบสวนเรื่องนี้อยู่ ส่วนบริษัท Boeing ปฏิเสธข้อกล่าวหา

Salehpour ยังเล่ารายละเอียดระหว่างการไต่สวนว่า เขารู้สึกมีแรงบังคับภายในให้ต้องออกมาพูด เพราะเขาเคยมีเพื่อนคนหนึ่งที่ทำงานโครงการกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ เพื่อนคนนั้นไม่ได้รับการตอบสนองเมื่อแจ้งข้อกังวลในการทำงานเช่นกัน และสุดท้ายกระสวยชาเลนเจอร์ก็ระเบิดออกระหว่างขึ้นบินเมื่อปี 1986

เขากล่าวว่า หลังเขาแจ้งเรื่องข้อกังวลต่างๆ ไปแล้ว บริษัทตอบกลับเขาด้วยแรงกดดันต่างๆ เช่น ทำให้เขาลางานไปพบแพทย์ยากขึ้น ระหว่างการให้การ Salehpour ถึงกับหลั่งน้ำตา และยอมรับว่าเขา “ไม่มีหลักฐาน” ว่าตะปูในยางล้อรถของเขานั้นเกี่ยวกับกรณีนี้หรือไม่ แต่เชื่อว่าเขาถูกเจาะยางระหว่างอยู่ที่ทำงาน พร้อมบอกว่าเขารู้สึก “เหมือนอยู่ในนรก”

“Richard Blumenthal” วุฒิสมาชิกผู้นำการไต่สวนในครั้งนี้ กล่าวว่าเขาและคณะกรรมการจะสืบสวนประเด็นนี้ต่อไป และแค่เพียงการประกาศว่าจะมีการไต่สวนก็ได้กระตุ้นให้ผู้แจ้งเบาะแสอีกหลายคนกล้าที่จะออกมาให้ข้อมูล

“เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจัง ถึงระดับที่น่าตกใจ” Blumenthal กล่าว “มีรายงานข้อกล่าวหาหนักเข้ามาเป็นกองพะเนินว่า Boeing มีการละเมิดวัฒนธรรมความปลอดภัย และมีระเบียบการทำงานที่ยอมรับไม่ได้” พร้อมกับบอกว่าการไต่สวนครั้งต่อไปจะเรียกตัวผู้บริหารจากบริษัทมาให้การด้วย

ทาง Boeing เองแจ้งว่า การกลั่นแกล้งจากการแจ้งเบาะแสเป็นเรื่องที่ “ต้องห้ามโดยเด็ดขาด” และบอกว่าบริษัทได้รับรายงานจากพนักงาน “เพิ่มขึ้นมากกว่า 500%” นับตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา “ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเกิดความคืบหน้าในการสร้างวัฒนธรรมการรายงานเรื่องราวในบริษัทโดยไม่ต้องหวั่นเกรงหรือเกิดการกลั่นแกล้งเอาคืน”

 

พยานแฉอีก บริษัทช่วยกัน “กลบเกลื่อน”

ส่วนการสืบสวนเบื้องต้นโดยรัฐบาลสหรัฐฯ พบว่า เที่ยวบินของ Alaska Airlines ที่มีชิ้นส่วนหลุดออก เกิดจากสลักบางส่วนหายไป ขณะนี้บริษัท Boeing กำลังถูกสืบสวนสอบสวนและมีคดีความตามมาอีกมาก

นอกจากวิศวกร Salehpour แล้ว พยานอีกคนที่เข้ามาแจ้งเบาะแสคือ “Ed Pierson” ซึ่งเป็นอดีตผู้จัดการในบริษัท Boeing แต่ขณะนี้เป็นผู้อำนวยการบริหารให้กับมูลนิธิเพื่อความปลอดภัยการเดินอากาศ Pierson กล่าวหาบริษัทว่ามีการ “กลบเกลื่อนการสร้างอาชญากรรม” และบอกด้วยว่าตัวเขาเองให้เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสลักที่หายไปของ 737 Max 9 กับหน่วยงานสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) เรียบร้อยแล้ว

เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2024 วันเดียวกันกับการไต่สวนที่คองเกรส สายการบิน United Airlines ดำเนินการยื่นฟ้องร้องต่อ Boeing ขอให้บริษัทจ่ายค่าชดเชยแก่สายการบิน หลังจากเหตุ Alaska Airlines มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของ United Airlines

United Airlines ถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ของ Boeing พวกเขามีฝูงบินที่ใช้เครื่องบินรุ่น 737 Max 9 เช่นกัน ทำให้เมื่อเกิดเหตุกับ Alaska Airlines ฝูงบินนี้ของ United Airlines ถูกระงับสั่งห้ามขึ้นบินไปด้วยและกระทบยาว 3 สัปดาห์ ทางสายการบิน United Airlines ออกมาตำหนิผ่านสื่อเมื่อไม่นานมานี้ว่า ผลกระทบต่อเนื่องนี้ทำให้บริษัทสูญรายได้ไปกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 7,300 ล้านบาท) เมื่อไตรมาสแรกของปี 2024

Source

]]>
1470283
การบินไทยประกาศซื้อเครื่องบินจาก Boeing จำนวน 45 ลำ ให้เหตุผลทดแทนเครื่องรุ่นเก่า ดึงส่วนแบ่งการตลาดกลับมา https://positioningmag.com/1462744 Thu, 15 Feb 2024 01:33:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462744 ‘การบินไทย’ สายการบินแห่งชาติได้ประกาศซื้อเครื่องบินจาก Boeing จำนวน 45 ลำ โดยเป็นรุ่นลำตัวกว้าง นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ของเครื่องบินมาใช้ผู้ผลิตอย่าง GE Aerospace แทน Rolls-Royce โดยให้เหตุผลเพื่อทดแทนเครื่องบินรุ่นเก่า ดึงส่วนแบ่งการตลาดกลับมา แต่ไม่กระทบต่อการชำระหนี้ของสายการบิน

การบินไทยประกาศการซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่จาก Boeing เป็นจำนวน 45 ลำ โดยเป็นเครื่องบินแบบลำตัวกว้าง โดยสายการบินแห่งชาติได้ให้เหตุผลถึงการการดึงส่วนแบ่งทางการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังยืนยันว่าในการจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่นั้นไม่กระทบกับการชำระหนี้

สำหรับการจัดหาเครื่องบิน 45 ลำดังกล่าว บริษัทได้เซ็นสัญญากับทาง Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินจากสหรัฐอเมริกา รวมถึง GE Aerospace ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งถ้าหากมีการซื้อขายเครื่องบินแล้วเสร็จนั้นจะทำให้การบินไทยมีเครื่องบินประจำฝูงบิน 96 ลำ ซึ่งยังต่ำกว่าตัวเลขในปี 2013 ที่การบินไทยมีฝูงบิน 100 ลำ

ก่อนหน้านี้การบินไทยใช้เครื่องยนต์จาก Rolls-Royce ผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นจากอังกฤษเป็นหลัก แต่ในรายงานของสำนักข่าว Bloomberg ได้ชี้ว่า ราคาเครื่องยนต์ไอพ่นจากผู้ผลิตรายดังกล่าวมีราคารวมถึงค่าบำรุงซ่อมแซมที่สูง จึงทำให้การบินไทยได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์เจ็ตจาก GE Aerospace แทน

การบินไทยได้ให้เหตุผลถึงการซื้อเครื่องบินชุดใหม่เพื่อที่จะลดข้อจำกัดด้านฝูงบินของบริษัททั้งในเชิงปริมาณและประสิทธิภาพของเครื่องบินในฝูงบิน ซึ่งส่งผลทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทที่ลดลงอย่างต่อเนื่อในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทที่สนามบินสุวรรณภูมิมีสัดส่วนลดลงจาก 51.3% ในปี 2013 เหลือแค่ 27% ในปี 2023

สายการบินแห่งชาติยังได้ชี้ว่าถ้าหากไม่มีการจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่แล้ว ภายในปี 2033 การบินไทยจะเหลือเครื่องบินที่ประจำฝูงบินแค่ 51 ลำเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลต่อการหารายได้ของสายการบินทำให้เม็ดเงินที่ได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้สินได้

แผนการเงินที่จะนำมาชำระค่าเครื่องบินและเครื่องยนต์นั้น การบินไทยได้เตรียมความพร้อมทางการเงินและคาดการณ์สภาพคล่องในอนาคตว่ามีจำนวนเพียงพอต่อการชำระค่าเครื่องบินและเครื่องยนต์ ยังรวมถึงการพิจารณาแหล่งเงินทุนและเลือกวิธีการจัดหาเงินทุนที่เหมาะสมอีกครั้ง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเงิน สภาพคล่องของการบินไทย รวมถึงความคุ้มค่าทางการเงิน ซึ่งการบินไทยเปิดกว้างพิจารณารูปแบบการเช่าดำเนินการและเช่าซื้อเครื่องบินในสัดส่วนที่เหมาะสม และการจัดหาเครื่องบินในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทฯ ตามแผนฟื้นฟูกิจการแต่อย่างใด

เครื่องบินรุ่นใหม่ของการบินไทยที่ได้สั่งซื้อจาก Boeing จะได้รับมอบในปี 2027 และในปี 2033 และรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจะมีการเปิดเผยในงาน Singapore Airshow ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

]]>
1462744
“โบอิ้ง” งานเข้าไม่หยุด! เจอสหภาพแรงงานขอ “ขึ้นค่าจ้าง” 40% ขู่รวมตัว “สไตรค์” หากไม่ตกลง https://positioningmag.com/1461890 Wed, 07 Feb 2024 09:50:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461890 สำนักข่าว Bloomberg รายงานจากแหล่งข่าวจากกลุ่มสหภาพแรงงานการบินว่า พวกเขาต้องการขอ “ขึ้นค่าจ้าง” อีก 40% ภายใน 3-4 ปีข้างหน้า และหากไม่เป็นไปตามที่ต้องการก็อาจจะก่อสไตรค์หยุดงานเพื่อกดดันนายจ้าง

“จอห์น โฮลเด้น” ประธาน สมาพันธ์ช่างยนต์และพนักงานด้านการบินสากล หรือ IAM ซึ่งเป็นตัวแทนสหภาพแรงงานด้านอุตสาหกรรมการบินกว่า 6 แสนคนในสหรัฐฯ บอกกับสำนักข่าวว่า เป้าหมายของสหภาพฯ คือเจรจาสัญญาที่น่าพอใจให้กับเพื่อนสมาชิก

ในบรรดาบริษัทใหญ่ที่จะได้รับผลกระทบคือ “โบอิ้ง” (Boeing) ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ในสหรัฐฯ ซึ่งมีพนักงานในบริษัทกว่า 1.5 แสนคน ทางสหภาพแรงงานหมายมั่นจะให้การเปิดโต๊ะเจรจาครั้งนี้ขึ้นค่าจ้างได้ตามเป้า เพราะการเจรจาครั้งล่าสุดย้อนไปเมื่อปี 2014 นั้นถือว่าทางสหภาพฯ เสียเปรียบจากการที่พนักงานโบอิ้งได้ขึ้นค่าจ้างเฉลี่ยไม่ถึง 1%

กระแสการสไตรค์ประท้วงขอขึ้นค่าจ้างเกิดขึ้นมาแล้วในสองอุตสาหกรรมใหญ่ของสหรัฐฯ เมื่อปีก่อน ได้แก่ กลุ่มแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในดีทรอยต์ และ กลุ่มนักแสดงและนักเขียนในฮอลลีวูด ซึ่งอาจจะทำให้การประท้วงเกิดขึ้นเป็นโดมิโนในอุตสาหกรรมอื่นๆ บ้าง

ข่าวนี้ถือเป็นข่าวร้ายซ้ำเติมตัวบริษัทโบอิ้ง เพราะเมื่อเดือนก่อนโบอิ้งเพิ่งจะประสบเหตุเครื่องบินโบอิ้งรุ่น 737 Max 9 ของสายการบิน Alaska Airlines เกิดประตูหลุดกลางอากาศ จนทำให้สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) สั่งระงับไม่ให้เครื่องบินรุ่นนี้ขึ้นบินไปถึง 1 เดือน กว่าจะกลับมาอนุญาตให้บินได้อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม เหตุครั้งนี้มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในเครื่องบินของโบอิ้งอย่างมาก แม้แต่ United Airlines สายการบินที่เป็นลูกค้าโบอิ้งรายใหญ่ ยังหันไปพิจารณาแผนในอนาคตว่าอาจจะไม่จัดซื้อเครื่องบินโบอิ้งตระกูล Max รุ่นต่อๆ ไปอีกแล้ว

Source

]]>
1461890
หน่วยงานกำกับการบินสหรัฐฯ สั่ง Boeing งดเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX ออกไปก่อน https://positioningmag.com/1460226 Thu, 25 Jan 2024 07:02:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460226 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของสหรัฐอเมริกา สั่งให้ Boeing งดเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX ออกไปก่อน หลังจากมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยจากกรณีเครื่องบิน Boeing รุ่น 737 MAX 9 ของ Alaska Airlines มีชิ้นส่วนหลุดระหว่างการเดินทาง

หน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของสหรัฐอเมริกา (FAA) ได้สั่งให้โบอิ้ง (Boeing) งดเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX ออกไปก่อน ซึ่งเครื่องบินรุ่นดังกล่าว บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินจากสหรัฐอเมริการายนี้ต้องการที่จะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อตอบรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากกรณีเครื่องบิน Boeing รุ่น 737 MAX 9 ของ Alaska Airlines มีชิ้นส่วนหลุดระหว่างการเดินทาง บนความสูง 16,000 ฟุต จนทำให้สายการบินต้องนำเครื่องบินกลับสนามบินต้นทาง และเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้โดยสาร

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ FAA ต้องประกาศมาตรการตรวจสอบเครื่องบินรุ่นดังกล่าวทันที ซึ่งแถลงการณ์ของ FAA เมื่อวันที่ 7 มกราคม กล่าวว่า “เราได้สั่งระงับเครื่องบินที่ได้รับผลกระทบ และเครื่องบินเหล่านี้จะยังคงถูกระงับจนกว่า FAA จะพอใจได้ว่าเครื่องบินเหล่านี้มีความปลอดภัย”

หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ FAA ตรวจสอบเครื่องบิน 737 MAX 9 ทั้งหมดทุกสายการบินในสหรัฐอเมริกา และยังทำให้หลายสายการบินที่ใช้เครื่องบินรุ่นดังกล่าวที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกาต่างตรวจสอบชิ้นส่วนว่ามีปัญหาหรือไม่

Mike Whitake ผู้บริหารสูงสุดของ FAA ได้กล่าวว่า ทางหน่วยงานจะไม่ตกลงกับคำขอใดๆ ของ Boeing ในการขยายการผลิตหรืออนุมัติสายการผลิตเพิ่มเติมสำหรับ 737 MAX จนกว่า FAA จะพอใจว่าปัญหาการควบคุมคุณภาพได้รับการแก้ไขแล้ว

หลังจากนี้ FAA จะเข้าตรวจสอบการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX ของ Boeing ว่ามีความปลอดภัย ได้มาตรฐานของหน่วยงานกำกับดูแลหรือไม่ และจะมีการสืบสวนต่อผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้ถึงคุณภาพในการผลิตรวมถึงต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

เครื่องบินรุ่น 737 MAX ได้สร้างปัญหาให้กับ Boeing อย่างหนักนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา จากเหตุการณ์สายการบิน Ethiopian และ Lion Air ที่ใช้เครื่องบินรุ่น 737 MAX 8 ตกในระยะเวลาไล่เลี่ยกันในช่วง 5 เดือน จนทำให้เครื่องบินรุ่นดังกล่าวต้องจอดทิ้งไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อที่จะตรวจสอบและแก้ไขปัญหา ก่อนที่จะสามารถกลับมาบินได้อีกครั้ง

ปัจจุบัน Boeing ผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX ได้ประมาณเดือนละ 38 ลำ บริษัทยังมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิต โดยคาดว่า David Calhoun ซึ่งเป็น CEO ของ Boeing จะมีการประกาศเป้าหมายการผลิตเครื่องบินรุ่นดังกล่าวภายในช่วงสิ้นเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ ก่อนที่จะโดนเบรกโดย FAA

]]>
1460226
สายการบินหลายแห่งระงับบิน Boeing 737 MAX 9 เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย หลังชิ้นส่วนหลุดกลางอากาศ https://positioningmag.com/1457879 Mon, 08 Jan 2024 04:31:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457879 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของสหรัฐอเมริกา (FAA) ได้ประกาศให้เครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 ระงับบินเป็นการชั่วคราว หลังจากที่เครื่องบินรุ่นดังกล่าวของ Alaska Airlines มีชิ้นส่วนหลุดกลางอากาศ ปัญหาดังกล่าวนั้นทำให้ CEO ของ Boeing ต้องเตรียมเรียกความมั่นใจกลับมา

สายการบินทั้งในสหรัฐอเมริกา รวมถึงในต่างประเทศ ต่างระงับบินเครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 เป็นการชั่วคราว หลังจากเครื่องบินของ Alaska Airlines นั้นมีชิ้นส่วนหลุดระหว่างการเดินทาง โดยเครื่องบินรุ่นดังกล่าวได้สร้างปัญหาให้กับ Boeing อย่างหนัก นับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 ถูกระงับบินคือ เครื่องบินของ Alaska Airlines เที่ยวบินที่ 1282 ที่ใช้เครื่องบินรุ่นดังกล่าวเป็นหลัก มีชิ้นส่วนหลุดระหว่างการเดินทาง บนความสูง 16,000 ฟุต ซึ่งชิ้นส่วนสำคัญคือประตูฉุกเฉินบริเวณท้ายเครื่องบิน จนทำให้เครื่องบินต้องขอบินกลับสนามบินต้นทาง

เหตุดังกล่าวทำให้ FAA ต้องประกาศมาตรการตรวจสอบเครื่องบินรุ่นดังกล่าวทันที ซึ่งแถลงการณ์ของ FAA เมื่อวันอาทิตย์ (7 มกราคม) กล่าวว่า “เราได้สั่งระงับเครื่องบินที่ได้รับผลกระทบ และเครื่องบินเหล่านี้จะยังคงถูกระงับจนกว่า FAA จะพอใจได้ว่าเครื่องบินเหล่านี้มีความปลอดภัย”

นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังค้นหาประตูฉุกเฉินบริเวณท้ายเครื่องบินที่หลุดออกมา เพื่อที่จะนำมาตรวจสอบถึงปัญหาดังกล่าวด้วย

ในสหรัฐอเมริกา สายการบินที่ใช้เครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 เป็นหลักได้แก่ Alaska Airlines รวมถึง United Airlines ได้นำเครื่องจอดไว้ตามสนามบินต่างๆ เพื่อตรวจสอบ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวต่อเที่ยวบินของ 2 สายการบินมีมากถึง 600 เที่ยวบิน และยังทำให้ผู้โดยสารมากถึง 25,000 รายได้รับผลกระทบตามไปด้วย

สายการบินอื่นๆ นอกสหรัฐอเมริกาที่ใช้เครื่องบินรุ่นดังกล่าว เช่น Turkish Airlines จากตุรกี สายการบินจากปานามา Copa Airlines หรือแม้แต่สายการบินในเม็กซิโกอย่าง Aeromexico ได้งดใช้งานเครื่องบินรุ่นดังกล่าวเพื่อทำการตรวจสอบเครื่องบินเช่นกัน

ข้อมูลล่าสุดจาก Flightradar24 ไม่มีเครื่องบินรุ่นดังกล่าวใช้งานในประเทศไทยแต่อย่างใด

ทางด้านฝั่งของ David Calhoun ซึ่งเป็น CEO ของ Boeing จากเดิมที่ต้องไปเข้าร่วมงานสัมมนาด้านผู้นำ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริหารสูงสุดของผู้ผลิตเครื่องบินรายดังกล่าว ต้องเตรียมที่จะแถลงข่าวในเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่เป็นสายการบิน หรือแม้แต่ผู้ใช้งานเครื่องบินรุ่นดังกล่าว

โดย CEO รายดังกล่าวต้องการสร้างความเชื่อมั่นว่า Boeing สัญญาที่จะผลิตเครื่องบินที่มีความปลอดภัย คุณภาพ หรือแม้แต่ความโปร่งใส ตรงไปตรงมา

เครื่องบินรุ่น 737 MAX ได้มีการนำกลับมาใช้งานอีกครั้งในสหรัฐอเมริกาช่วงปลายปี 2020 หลังจากการตรวจสอบด้านความปลอดภัย และเครื่องบินรุ่นดังกล่าวได้มีการอัปเกรดระบบซอฟต์แวร์ รวมถึงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากอุบัติเหตุตก 2 ครั้งในรอบ 5 เดือน

Boeing ได้คาดหวังกับเครื่องบิน Boeing 737 MAX ว่าจะเป็นเครื่องบินรุ่นที่สร้างกระแสเงินสดให้กับบริษัทในอนาคต อย่างไรก็ดีกลับกลายเป็นว่า เครื่องบินรุ่นดังกล่าวได้สร้างปัญหาให้กับ Boeing เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อมั่นจากลูกค้าสายการบิน หรือแม้แต่ผู้โดยสาร 

ที่มา – BBC, NPR, Fox Business [1], [2]

 

]]>
1457879
CEO ของ Boeing เผย “ปัญหาใหญ่เวลานี้คือเรื่อง Supply Chain ทำให้การผลิตเครื่องบินไม่ทันความต้องการ” https://positioningmag.com/1446194 Fri, 29 Sep 2023 07:21:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446194 ผู้บริหารสูงสุดของ Boeing ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ของบริษัทว่าความต้องการเครื่องบินยังมีสูงมากจากความต้องการที่อัดอั้นมานาน ไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยว การเดินทาง ที่ยังเติบโต แต่บริษัทเองก็พบปัญหาเรื่อง Supply Chain ที่ทำให้การผลิตเครื่องบินไม่ทันด้วย

Dave Calhoun CEO ของ Boeing ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ CNBC ว่า โดยมองถึงความต้องการของเครื่องบินนั้นกลับมา จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ยังกลับมาเติบโตได้ อย่างไรก็ดีเขาพบว่าปัญหาที่ทุกคนต้องเจอคือเรื่อง ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ ส่งผลต่อการผลิตกับบริษัท

เขาชี้ว่ายอดการสั่งซื้อรวมถึงความต้องการเครื่องบินของบริษัทนั้นแข็งแกร่งเท่าที่เคยเห็นมาในชีวิตการทำงานของเขาขณะเดียวกันเขาก็ยังกล่าวว่าความต้องการที่อัดอั้นมานาน (Pent Up Demand) นั้นกำลังกลับมาอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การท่องเที่ยว

หัวเรือใหญ่ของ Boeing ได้กล่าวว่า “ปัญหาที่เราทุกคนกำลังต่อสู้อยู่คือ Supply Chain จะฟื้นคืนความยืดหยุ่นที่เคยมีมาก่อนการแพร่ระบาดของโควิดได้อย่างไร เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้”

ตัวเลขในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Boeing สามารถส่งมอบเครื่องบินได้เพียง 35 ลำ ลดลงจากเดือนกรกฎาคมซึ่งอยู่ที่ 43 ลำ โดยบริษัทได้ให้เหตุผลถึงเรื่อง Supply Chain ทำให้บริษัทไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากไปกว่านี้

สอดคล้องกับมุมมองของ CEO บริษัทให้เช่าเครื่องบินรายใหญ่อย่าง Aercap ที่กล่าวในเดือนสิงหาคมโดยมองว่าความต้องการเครื่องบินยังสูง แต่ปัญหาคือผู้ผลิตเครื่องบินซึ่งรวมถึง Boeing ไม่สามารถส่งมอบเครื่องบินได้ทันกับความต้องการ และสายการบินอาจต้องใช้เครื่องบินรุ่นเก่าไปอีกสักระยะ

ความกังวลเรื่องของเครื่องบินที่ประกอบในประเทศจีนอย่าง Comac C919 ที่อาจกลายเป็นคู่แข่ง CEO ของ Boeing มองว่าเครื่องบินรุ่นดังกล่าวต้องใช้เวลาอีกยาวนานกว่าจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของบริษัท และถ้ามองว่าเครื่องบินจากจีนขึ้นมาเป็นคู่แข่งจริงๆ เขาก็มองว่าไม่ใช่เรื่องเลวร้ายด้วยซ้ำ เนื่องจากความต้องการท่องเที่ยวยังสูงไปจนถึงปี 2050

เมื่อ CEO ของ Boeing ได้ถูกถามเกี่ยวกับความกลัวที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เขากล่าวว่าความกังวลเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในอุตสาหกรรมการบิน ขณะที่เรื่องความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์รอบๆ ประเทศจีน เขาหวังว่าเรื่องดังกล่าวจะเริ่มคลี่คลายลงเล็กน้อย และมองว่าอุตสาหกรรมการบินในจีนจะกลับมาได้

]]>
1446194