ไทยเที่ยวไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 27 Aug 2024 08:03:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คนไทยยัง “เที่ยวไทย” แต่ยอดใช้จ่ายเข้าโหมดประหยัด ททท. วางแผนใช้ “กิจกรรม” ดึงเม็ดเงิน https://positioningmag.com/1487506 Tue, 27 Aug 2024 04:47:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1487506 เป้าหมายการท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2567 ช่วง 7 เดือนแรกจำนวนคนไทย “เที่ยวไทย” เป็นไปตามคาด แต่ยอดใช้จ่ายหลุดเป้าอย่างแรง นักท่องเที่ยวเข้าโหมดประหยัดลดการช้อปปิ้ง ททท. วางแคมเปญรับมือ “เที่ยวที่ใช่ ออกไปทำกิจกรรมที่ชอบ” กระตุ้นคนไทยทำกิจกรรมสันทนาการระหว่างท่องเที่ยวให้มากขึ้น

“สมฤดี จิตรจง” รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. วางเป้าหมายปี 2567 ผลักดันตลาดการท่องเที่ยวภายในประเทศ ต้องการกระตุ้นนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวในไทย 200 ล้านคนครั้ง เป้ารายได้ 1.08 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มีนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวในประเทศแล้ว 160 ล้านคนครั้ง คิดเป็นเม็ดเงินรายได้ 5.82 แสนล้านบาท จะเห็นได้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มจะเป็นไปตามเป้า แต่เม็ดเงินรายได้กลับน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากเศรษฐกิจซบเซาทำให้คนไทยแม้จะยังออกท่องเที่ยวแต่ต้องเริ่มรัดเข็มขัด

เมื่อเจาะลึกใน 4 หมวดการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าช้อปปิ้ง และค่ากิจกรรมนันทนาการ พบว่าส่วนที่นักท่องเที่ยวไทยลดการใช้จ่ายอย่างมากคือ “ค่าช้อปปิ้ง”

“ที่ขาดหายไปอย่างหนักคือการช้อปปิ้ง เพราะคนไทยเริ่มประหยัดการใช้จ่ายระหว่างท่องเที่ยว คนไทยรู้สึกว่าของที่ขายในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ไม่แตกต่างกัน ทำให้ไม่รู้สึกว่าอยากจ่าย” สมฤดีกล่าว

Happy female traveling on boat, Krabi Thailand

ถือเป็นโจทย์หนึ่งที่ ททท. กำลังไขคำตอบหาสินค้าประจำถิ่นที่ลอกเลียนแบบได้ยาก เพื่อชูให้เป็นสินค้าที่ควรซื้อเมื่อมาท่องเที่ยว เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำถิ่น ในจังหวัดต่างๆ มีสุราชุมชนที่ผลิตจากวัตถุดิบในถิ่นนั้นเท่านั้น เช่น เหล้าอุ เหล้าสาโท ไวน์ผลไม้ กำลังหาทางส่งเสริมเพื่อให้เป็นสินค้าเพื่อช้อป ชิม และนำไปเป็นของฝาก

ขณะเดียวกัน ในภาพระยะสั้นของปีนี้ สมฤดีชี้ให้เห็นว่ายังมีหมวดใช้จ่ายด้าน “กิจกรรม” ที่ยังมีช่องว่างให้เติบโต เพราะปกติแล้วคนไทยจะใช้จ่ายกับหมวดนี้น้อยกว่าหมวดอื่นเมื่อไปท่องเที่ยว แต่ ททท. จะมีการกระตุ้นให้เห็นว่ามีกิจกรรมมากมายให้ทำผ่านแคมเปญ “เที่ยวที่ใช่ ออกไปทำกิจกรรมที่ชอบ” เช่น ดำน้ำดูปะการัง ล่องแก่ง พายเรือคายัค ขับรถเอทีวี ปีนผา เรียนมวยไทย นวดไทย ฝึกวาดชามตราไก่ ตีกอล์ฟ เต้นสวิงแดนซ์ ฯลฯ มีนันทนาการหลายอย่างในไทยที่เหมาะกับคนทุกแบบ

ปัจจุบันค่าใช้จ่าย “ไทยเที่ยวไทย” เฉลี่ยจะอยู่ที่ 4,000 บาทต่อคนต่อทริป ตัวเลขอาจจะดูค่อนข้างต่ำเพราะคนไทยนิยมเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับค่อนข้างมาก ทำให้ไม่มีค่าที่พัก แต่สมฤดีมองว่าต่อจากนี้ค่าใช้จ่ายมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นเพราะคนไทยเริ่มมีเทรนด์ “พักสบาย” มองโรงแรมเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่ต้องไปมากยิ่งขึ้น

]]>
1487506
‘ท่องเที่ยวไทย’ เจ็บซ้ำ โควิดระลอก 3 เงินหาย 1.3 แสนล้าน เเนะรัฐเร่งฉีด-เปิดทางเลือกวัคซีน https://positioningmag.com/1327761 Mon, 12 Apr 2021 12:39:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327761 โควิดระลอก 3 ซัดเศรษฐกิจไทย KBANK ประเมินเที่ยวสงกรานต์เงินหายหมื่นล้านกระทบต่อรายได้อุตฯ ท่องเที่ยวครึ่งปีแรก อาจสูญ 1.3  แสนล้าน เเนะรัฐเร่งเปิดทางเลือก ‘จัดหาวัคซีน’ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยผลวิจัยล่าสุด เกี่ยวกับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ‘ระลอก 3’ ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา

โดยภาคการท่องเที่ยวไทยนั้น คาดว่าในช่วงสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 10-18 เมษายน 2564 จะสูญเสียรายได้ไปราว 1 หมื่นล้านบาท จากการยกเลิกหรือเปลี่ยนแผนการเดินทางของนักท่องเที่ยว

พร้อมประเมินว่า การควบคุมการระบาดระลอก 3น่าจะใช้ระยะเวลานานกว่ารอบก่อนหน้าเนื่องจากพบผู้ติดเชื้อสูงและการแพร่เชื้อที่รวดเร็ว ซึ่งกระทบต่อแผนการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยต่อไปในช่วงไตรมาส 2

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การระบาดของโควิด-19 ทั้ง 2 ครั้งที่เกิดขึ้น (นับตั้งเเต่ต้นปี) จะส่งผลกระทบทำให้ในครึ่งแรกของปี 2564’ รายได้ตลาดไทยเที่ยวไทยมีมูลค่าประมาณ 1.37 แสนล้านบาท คิดเป็นรายได้ท่องเที่ยวที่หายไปเป็นมูลค่ากว่า 1.3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนที่จะเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 รายได้ท่องเที่ยวของคนไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 สูญเสียไปคิดเป็นมูลค่า 34,000 ล้านบาท

เเละเมื่อเทียบกับสถานการณ์ปกติในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ก่อนที่จะเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 รายได้คนไทยเที่ยวในประเทศช่วงครึ่งแรกปี 2564 สูญเสียไปคิดเป็นมูลค่าถึง 385,400 ล้านบาท

นักท่องเที่ยวไทย ‘ยกเลิกเเผนเที่ยว’ ได้ทุกเมื่อ 

นับเป็นข่าวร้ายต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่กำลังเริ่มกลับมาสู่เส้นทางการฟื้นตัว หลังจากที่ต้องหยุดชะลอลงจากเหตุการณ์การระบาดในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

จากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาล่าสุด พบว่า การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยในเดือน ก.. 64 เพิ่มขึ้นกว่า 30% จากเดือนม.. 64 ซึ่งในเดือนม..ที่ผ่านมา เป็นเดือนที่ตลาดไทยเที่ยวไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิดระลอกที่ 2 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเหลือเพียง 4.51 ล้านคน-ครั้ง

การระบาดของโควิดระลอกที่ 3 นี้ พบผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นกลุ่มก้อนจำนวนมากกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และกระจายไปในอีกหลายจังหวัดตั้งแต่ต้นเดือนเม.. นั้น ทำให้ทางการต้องยกระดับมาตรการการเฝ้าระวังการระบาดอีกครั้ง การขอความร่วมมือทำงานที่บ้านและงดการเดินทางข้ามจังหวัด

นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีแผนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงไตรมาส 2 ต่างต้องปรับเลื่อนแผนการการท่องเที่ยวออกไป

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่มีความอ่อนไหวต่อข่าวการระบาดของโรคโควิด-19 และพร้อมที่จะยกเลิกหรือเลื่อนแผนการท่องเที่ยวได้ทุกเมื่อ

เเนะรัฐเร่งฉีด-เปิดทางเลือกจัดหา ‘วัคซีน’ 

การระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่ยุติลงในระยะเวลาอันใกล้ทั้งในและต่างประเทศแม้จะมีการเริ่มฉีดวัคซีนแล้วแต่ยังมีจำนวนจำกัดขณะที่ประสิทธิผลของวัคซีนยังไม่สรุปได้ว่าคนที่ฉีดแล้วจะไม่แพร่เชื้อรวมถึงระยะเวลาป้องกันการติดโรคโควิดก็ยังไม่แน่นอน

ทำให้นับต่อจากนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จะต้องดำเนินการอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

KBANK มองว่าสิ่งสำคัญในช่วงเวลานี้คือการสร้างความเชื่อมั่นของภาครัฐ ด้วยการเร่งฉีดวัคซีนที่มีอยู่การเเละเปิดทางเลือกที่หลากหลายต่อประเด็นการจัดหาวัคซีน เพื่อให้คนไทยได้รับการฉีดวัคซีนที่เร็วและครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

“ตลอดจนการคำนึงถึงประเด็นที่ว่าประชากรหนึ่งคนอาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนต่อเนื่องหลายเซตในช่วงปีข้างหน้า” 

ขณะที่ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เพื่อลดความเสี่ยงเชิงนโยบายและปัจจัยแวดล้อมของตลาด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในระยะยาว ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการควบคุมการระบาดของโรคให้จบในเร็ววัน

]]>
1327761
เปิดมุมซีอีโอ KBANK มองท่องเที่ยวไทยยุคใหม่ หลังโควิดทุบเงินหาย 2.1 ล้านล้าน รอฟื้นยาว 3 ปี https://positioningmag.com/1325349 Sun, 28 Mar 2021 13:05:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325349 เปิดมุมมองซีอีโอ KBANK กับความท้าทายของการท่องเที่ยวยุคใหม่ ประเมิน 2 เดือนเเรกของปีนี้ ไทยสูญรายได้ท่องเที่ยวไปแล้ว 5.5 หมื่นล้าน คาดรออีก 3 ปีถึงกลับมามีรายได้เเตะ 2.7 ล้านล้านบาท ใกล้ระดับก่อน COVID-19 ในปี 2567 จับตาความคืบหน้าของ ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ เเนะผู้ประกอบการเเก้ ‘โจทย์ระยะใกล้’ ประคองธุรกิจให้รอด วางเเผนระยะไกลสู่ ‘การท่องเที่ยวยั่งยืน”  

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา (25512563) เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าภูมิภาคอาเซียน โดยรายได้จากธุรกิจ ‘ท่องเที่ยว’ เป็นเสมือน ‘ฮีโร่’ ช่วยพยุงเศรษฐกิ

โดยในปี 2562 ธุรกิจท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประเทศ 3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 18% ของจีดีพีประเทศ ในจำนวนนี้เป็นรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 12% ของจีดีพี และรายได้จากนักท่องเที่ยวไทย 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6% ของจีดีพี   

“วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ธันวาคม 2562 เป็นต้นมา ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลกทรุดตัวต่ำสุดในรอบ 33 ปี” 

Photo : Shutterstock

โดยในปี 2563 รายได้ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยหายไปจากระบบเป็นมูลค่ากว่า 2.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 13% ของจีดีพี ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทั้งระบบตั้งแต่ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของฝาก ธุรกิจรถเช่า ที่อยู่ในจังหวัดท่องเที่ยว

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อ COVID-19 ระลอกใหม่เกิดขึ้น ทำให้การฟื้นตัวของธุรกิจช้ากว่าเดิม โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2564 ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยสูญเสียรายได้ไปแล้วคิดเป็นมูลค่ากว่า 5.5 หมื่นล้านบาท 

“ธุรกิจท่องเที่ยวไทย จะฟื้นตัวช้ากว่าธุรกิจอื่น คาดว่าอาจจะต้องใช้เวลากว่า 3 ปี หรือประมาณปี 2567 ในการจะฟื้นตัวกลับมามีรายได้ที่ประมาณ 2.ล้านล้านบาท ใกล้เคียงกับที่เคยทำได้ในปี 2562 ที่ ล้านล้านบาท” 

อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทย นโยบายการให้ออกมาเที่ยวนอกประเทศของแต่ละประเทศ และความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน 

ไทม์ไลน์ฟื้นฟู ‘ภาคท่องเที่ยว’ 

ภาพการฟื้นฟูของภาคการท่องเที่ยวจะแบ่งเป็น 3 เฟส ได้เเก่ 

เฟสที่ 1 : ตลาดไทยเที่ยวไทย จะกลายมาเป็นตลาดหลัก ในช่วงปี 25642565 ช่วยให้สถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2563

เฟสที่ 2 : การเดินทางในระดับภูมิภาค ที่ใช้เวลาเดินทางสั้น 3-5 ชั่วโมง โดยจะเป็นการเดินทางเพื่อธุรกิจป็นหลัก

เฟสที่ 3: การเดินทางในระดับโลก จะมาเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งจะเป็นนักท่องเที่ยวจริง ๆ ส่วนการเดินทางเพื่อธุรกิจในกลุ่มนี้ อาจจะลดลงเยอะมากเนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีการติดต่อกันแบบ Virtual ได้ ซึ่งลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง  

จับตา ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ ประคองธุรกิจให้รอด

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นตัวช่วยให้การท่องเที่ยวฟื้น คือ วัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport) แต่อาจจะต้องใช้เวลา ขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนของคนทั่วโลก การยอมรับในประสิทธิผลของวัคซีน และกระบวนการของประเทศไทยในการรองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยว             

ขัตติยา เเนะว่า ‘โจทย์ระยะใกล้’ คือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจยังรอด การจ้างงานยังพอไปได้ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถประเมินตนเองได้ด้วยแนวทางเบื้องต้น ดังนี้ 

  • รายได้ ควรลดลงไม่เกิน 70% และมีแหล่งรายได้ที่หลากหลาย สร้างรายได้จากช่องทางอื่นได้ 
  • รายจ่าย บริหารค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ โดยมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนน้อยกว่า 65% ของรายได้ 
  • สภาพคล่อง ควรมีเงินทุนหมุนเวียนขั้นต่ำ 6 เดือน และ “คืนทุนแล้ว” โดยเป็นกิจการที่ดำเนินธุรกิจมาจนคืนทุน หรือมีภาระดอกเบี้ยจ่ายต่ำ 

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวของไทย ในการพากิจการผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้ คือ “เจาะตลาดไทยเที่ยวไทย” ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่สอดรับกับพฤติกรรมคนไทย สร้างรายได้ทางอื่นด้วยวิธีที่แตกต่าง และบริหารจัดการต้นทุน โดยไม่แข่งขันด้านราคา” 

มุ่งสร้างการ ‘ท่องเที่ยวที่ยั่งยืน’

สำหรับ “โจทย์ระยะไกล” คือ สร้างธุรกิจการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (Sustainable Tourism) แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างและทรัพยากรต่าง ๆ ที่กระทบขีดความสามารถทางการแข่งขัน กระจายรายได้สู่ชุมชน ธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมไม่ถูกทำลาย นับเป็นโจทย์ที่ต้องปรับตัวทั้งในนโยบายระดับประเทศ และภาคธุรกิจต้องร่วมมือกัน ในการสร้างความสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

ที่สำคัญคือ ต้องดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (Sustainable Tourism) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 

1. การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ (New Travel Culture) ปรับตัวจากการแข่งขันด้านราคา (Red Ocean) และเน้นนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ยกระดับไปสู่การท่องเที่ยวคุณภาพ (Blue Ocean) เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) การท่องเที่ยวด้านการแพทย์ (Medical Tourism) เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวให้สูงขึ้น และพัฒนาสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (Green Ocean) และตอบโจทย์สังคม (White Ocean

2. การสร้างความร่วมมือ (Collaboration) โดยภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว สร้างความเข้าใจให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ ใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นสร้างเอกลักษณ์การท่องเที่ยวเฉพาะพื้นที่ และให้ความสำคัญในการดูแลและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ 

3. การใช้เทคโนโลยีและข้อมูล (Digitalization) มาเป็นเครื่องมือเพื่อการท่องเที่ยวเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจ การทำตลาดที่ทันสถานการณ์ แชร์ข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้อง อำนวยความสะดวกในการวางแผนการเดินทาง สร้างสังคมออนไลน์ เปิดประสบการณ์ใหม่ในการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวและการทำธุรกิจ 

ด้วยรูปแบบธุรกิจการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนข้างต้นจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำภาคธุรกิจการท่องเที่ยวไทยไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ให้นักท่องเที่ยวอยู่พักนานขึ้น มีการใช้จ่ายเพื่อท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น กระจายรายได้ท่องเที่ยวสู่เมืองรอง เพิ่มความสะดวกสบายและส่งมอบคุณค่าให้นักท่องเที่ยวได้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การกลับมาเที่ยวซ้ำอีก  

 

]]>
1325349
มอง ‘ท่องเที่ยวไทย’ ปี 2021 ยังเหนื่อย คนเที่ยวน้อย-ใช้จ่ายลด เเข่ง ‘เเย่งลูกค้า’ ดุเดือด https://positioningmag.com/1312134 Fri, 25 Dec 2020 09:47:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312134 ธุรกิจท่องเที่ยวไทยต้องกัดฟันสู้กันอีกยาว ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง เจอระบาดรอบใหม่ซ้ำเติม ต้องล็อกดาวน์ในหลายจังหวัด ผู้คนเดินทางท่องเที่ยวลดลง เเต่ผู้ประกอบการต้องเเข่งขัน “เเย่งลูกค้า” กันรุนเเรงขึ้น 

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) วิเคราะห์ว่า ภาคการท่องเที่ยวของไทย ในช่วงที่ผ่านมา มีการทยอยฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวของคนไทยด้วยกันเอง แต่ทั้งจำนวนและรายได้ ก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้า

อีกทั้งการฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมายังไม่ทั่วถึงโดยจังหวัดที่คนไทยนิยมท่องเที่ยวอยู่แล้ว ในอดีตก็ยังเป็นกลุ่มที่สามารถฟื้นตัวได้ดีกว่า

คนไทยเที่ยวน้อยลง จ่ายน้อยลง

โดยล่าสุด จำนวนนักท่องเที่ยวคนไทยในช่วงเดือนตุลาคม ยังต่ำกว่าในช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าถึง -34.5% (หดตัวน้อยลงจาก -38.1% ในไตรมาส 3)

ขณะที่รายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวคนไทยก็ต่ำกว่าอยู่ถึง -49.2% (หดตัวน้อยลงจาก -57.2% ในไตรมาส 3) ซึ่งการที่รายได้ มีการหดตัวมากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวนั้น หมายความว่า นอกจากคนไทยจะเดินทางท่องเที่ยวน้อยลงแล้ว ยังใช้จ่ายต่อคนเฉลี่ยลดลงอีกด้วย

จากข้อมูลการสำรวจ ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของภาคครัวเรือนไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครัวเรือนไทยใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.9% ต่อปี แม้การใช้จ่ายในภาพรวมจะชะลอลง -0.5% ต่อปี การเข้ามาของโรคระบาดจึงเป็นการสะดุดลงของแนวโน้มการขยายตัวของการท่องเที่ยวของคนไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

Photo : Shutterstock

แม้จะเริ่มมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในเดือนตุลาคม แต่ก็ยังเป็นจำนวนที่น้อยมากเพียง 1,201 คนเท่านั้น หรือคิดเป็นเพียง 0.04% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมในเดือนเดียวกันของปีก่อน

EIC คาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 
จะอยู่ที่ราว 8.5 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลัง

เราเที่ยวด้วยกัน “ดี” เเต่ยังไม่ทั่วถึง 

ในภาวะที่ซบเซานี้ การมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ถือว่ามีส่วนช่วยภาคการท่องเที่ยวในประเทศ โดย ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการแล้ว 6.4 ล้านคน และมีผู้ใช้สิทธิ์จองที่พัก
ที่ชำระเงินแล้วจำนวน 4 ล้านสิทธิ์ จาก 5 ล้านสิทธิ์ คิดเป็นมูลค่าห้องพักที่จอง 10,961 ล้านบาท

“การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในประเทศมีลักษณะที่ไม่ทั่วถึง ซึ่งจังหวัดที่มีการฟื้นตัวได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยมักเป็นจังหวัดยอดนิยม
ของคนไทยอยู่แล้ว” 

ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม (ข้อมูลล่าสุด) จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเฉลี่ย
หดตัวที่ -37.0% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

EIC มองว่า ภาคการท่องเที่ยวไทยผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในประเทศยังไม่ครอบคลุม โดยจังหวัดที่มีการฟื้นตัวได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยมักเป็นจังหวัดยอดนิยม เช่น เชียงใหม่ เพชรบุรี ชลบุรี ฯลฯ

โดยในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ทิศทางการฟื้นตัวของจังหวัดท่องเที่ยวที่ “ไกลจากกรุงเทพฯ” เริ่มปรับดีขึ้น หลังนักท่องเที่ยว
เริ่มมีความเชื่อมั่นในการโดยสารด้วยเครื่องบินมากขึ้น โดยมองว่า ต้นไตรมาสที่ 4 เห็นทิศทางการฟื้นตัวของจังหวัดท่องเที่ยวที่ไกลจากกรุงเทพฯ เริ่มปรับดีขึ้น

ส่วนกรณี “สมุทรสาคร” ส่งผลโดยตรงต่อการท่องเที่ยวช่วงปลายปี และกระทบความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการควบคุมโรคของภาครัฐเริ่มลดลง ซึ่งหลายส่วนประกาศงดกิจกรรมต่างๆ ในช่วงปลายปี เเละการพบผู้ติดเชื้อที่กระจายอยู่ในหลายจังหวัดอาจส่งผลให้ประชาชนบางส่วนตัดสินใจเลื่อนทริปท่องเที่ยวช่วงปลายปี จากความกังวลต่อการแพร่ระบาดในสถานที่ต่างๆ และการขาดความมั่นใจในการเดินทางด้วยเครื่องบินและการขนส่งสาธารณะภาคพื้นดิน

ที่มา : SCB EIC

จับตา “ท่องเที่ยวไทย” ปีหน้า 

EIC มองว่าธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย ในปี 2564 ยังมีอีกหลายความท้าทาย ตามปัจจัยต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 

ประเมินว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะได้รับวัคซีนเป็นวงกว้างและเข้าสู่ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 “ไทยน่าจะมีการเริ่มฉีดในช่วงกลางปีหน้า และจะเข้าสู่ภาวะคุ้มกันหมู่
ได้ภายในครึ่งแรกของปี 2565”

EIC มองว่า ถึงแม้จะต้องใช้เวลา
อีกระยะหนึ่งกว่าที่ไทยจะได้รับวัคซีน แต่ภาครัฐและผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวก็ควรมีการเตรียมพร้อมสำหรับการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึงแก่บุคลากร
ภาคการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนและสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงการวางระบบตรวจสอบข้อมูล
ด้านสุขอนามัย และข้อมูลการฉีดวัคซีนที่อาจจำเป็นมากขึ้นในการท่องเที่ยวในช่วงหลังจากนี้

  • กำลังซื้อของนักท่องเที่ยวที่ซบเซา

เป็นปัจจัยที่เกิดจากผลกระทบของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มาตรการกระตุ้นจากภาครัฐจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการประคับประคองการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวไปอีกระยะหนึ่ง 
การขยายระยะเวลาของ “เราเที่ยวด้วยกัน” หรือการออกแคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยวใหม่ ๆ จึงมีส่วนสำคัญสำหรับการท่องเที่ยวในช่วงต้นปีหน้า ภายใต้สมมติฐานว่า ไทยจะสามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่นี้ได้

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 

ต้องระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยที่เพิ่มมากขึ้น การหลีกเลี่ยงสถานที่ที่แออัด การมองหาโปรโมชันที่จูงใจ คุ้มค่ากับราคาในภาวะที่กำลังซื้อมีจำกัด

  • การแข่งขันระหว่างธุรกิจท่องเที่ยวด้วยกันที่รุนแรงมากขึ้น

เกิดการเเข่งขันดุเดือด ทั้งในด้านการลดราคาและการนำเสนอโปรโมชัน
จูงใจต่าง ๆ ที่น่าจะยังมีอยู่ต่อไปในภาวะที่อุปสงค์การเข้าพักต่ำลงจากการหายไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในขณะที่อุปทานห้องพักมีเท่าเดิม จนกว่าจะเริ่มมีปัจจัยสนับสนุนด้านความต้องการเข้าพักจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมา

อ่านเพิ่มเติม : Travel Bubble ความหวังใหม่กระตุ้นท่องเที่ยว “ฮ่องกง-สิงคโปร์” สะดุด ต้องเลื่อนยาวไป “ปีหน้า”

 

 

]]>
1312134
ประเมินตลาด “ไทยเที่ยวไทย” โค้งสุดท้ายปี 63 ยังหดตัว 37% ยอดใช้จ่ายต่อทริปลดลง https://positioningmag.com/1303246 Tue, 27 Oct 2020 10:59:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303246 ประเมินตลาดไทยเที่ยวไทยช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ คาดเงินสะพัด 1.8 แสนล้าน หดตัว 37% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนทั้งปี 2563 คาดหดตัวถึง 53% จากพิษ COVID-19 ห่วงปัจจัยเศรษฐกิจชะลอตัว และประเด็นการเมือง

ผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่าในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ กลุ่มตัวอย่างมีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วน 77.3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน

“การท่องเที่ยวไทย ยังมีความไม่แน่นอนสูง เมื่อกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มองว่าหากมีการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศจะมีผลต่อการปรับแผนการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมทั้งยังมีประเด็นการเมืองที่ต้องติดตาม” 

ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความกังวลในเรื่องภาวะเศรษฐกิจส่งผลทำให้จำนวนความถี่ในการเดินทางท่องเที่ยวเฉลี่ยลดลง แผนการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อทริป ปรับลดลงประมาณ 5.5% เมื่อเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน

(Photo by Anusak Laowilas/NurPhoto via Getty Images)

ภายใต้กรณีหากไม่มีการระบาดของ COVID-19 ในประเทศอีกครั้ง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวและการชุมนุมทางการเมืองที่อยู่ในขอบเขตจำกัด คาดว่าจะช่วยทำให้การใช้จ่ายของคนไทยเที่ยวในประเทศช่วง 3 เดือนสุดท้าย มีมูลค่าประมาณ 1.8 แสนล้านบาท หดตัว 37.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ดีขึ้นจากที่หดตัวแรงในช่วงก่อนหน้า โดยทั้งปี 2563 การใช้จ่ายของคนไทยเที่ยวในประเทศน่าจะมีมูลค่าราว 5.06 แสนล้านบาท หดตัว 53.3% จากปีก่อน 

“ตลาดไทยเที่ยวไทยน่าจะยังรักษาระดับการเพิ่มขึ้นได้ โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศน่าจะมีจำนวน 36.1 ล้านคน และการใช้จ่ายของคนไทยเที่ยวในประเทศน่าจะมีมูลค่า 1.8 แสนล้านบาท”

ขณะที่ภาพรวมตลาดไทยเที่ยวไทยทั้งปี 2563 คาดว่า การเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยจะแตะที่กรอบล่างของการประมาณการที่ประมาณ 89.5 ล้านคน หดตัว 46.4% โดยการใช้จ่ายของคนไทยเที่ยวในประเทศน่าจะมีมูลค่า 5.06 แสนล้านบาท หดตัว 53.3% จากปี 2562

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เเนะว่า ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ควรใช้โอกาสที่ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยว ทำการตลาดควบคู่ไปอย่างการจัดแพ็กเกจท่องเที่ยวพิเศษ และผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่เริ่มมีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไปท่องเที่ยว ต้องมีการอัปเดตข้อมูลข่าวสารในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวไทยที่จะเดินทางเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

 

]]>
1303246