Tag: Agriculture
พาณิชย์ เปิดงาน “รวมพลคนอินทรีย์ ปี 2552”
กระทรวงพาณิชย์ - นายอลงกรณ์ พลบุตร (ที่ 4 จาก ซ้าย) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานเปิดงาน “รวมพลคนอินทรีย์ ปี 2552” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยให้มีความแข็งแกร่ง โดยภายในงานมีการจัดสัมมนาในหัวข้อ “โอกาสสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับตลาด ระบบการผลิต การรับรองมาตรฐาน แนวทางส่งเสริมนวัตกรรม ตลอดจนนิทรรศการแสดงศักยภาพการผลิต การตลาด การเจรจาธุรกิจ และคูหาจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์จากทั่วประเทศอีกกว่า 100...
มิตรผลวิจัยฯ พัฒนา SIMS ยกระดับการจัดการอ้อย ขานรับแผนพัฒนาวาระอ้อยแห่งชาติ
บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ในกลุ่มมิตรผลขานรับวาระอ้อยแห่งชาติ หลังประสบความสำเร็จในการพัฒนา “ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการบริหารจัดการเพื่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล” (Sugarcane Information and Management System: SIMS) โดยการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เทคโนโลยีการบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS) และการใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถจัดเก็บรวบรวมข้อมูลในการจัดการอ้อยและการผลิตน้ำตาลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เชื่อสามารถยกระดับผลผลิตอ้อยไทยให้สูงขึ้นได้อย่างแน่นอน ดร. พิพัฒน์...
ได้เวลาบุกตลาดเมือง
สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น และสิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ ทั้งกลยุทธ์ “ปากว่า” ที่ให้พนักงานมายืนอธิบายตามจุดต่างๆ “ตาเห็น” ที่ปักป้ายแสดงรายละเอียดบริเวณแปลงผักและดอกไม้แต่ละชนิด และ “มือคลำ” ที่มีแปลงผักให้ทดลองตัดได้จริง ล้วนถูกนำมาใช้ในงานเจียไต๋แฟร์เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภค งานเจียไต๋แฟร์เป็นงานท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา โดยปีนี้เจียไต๋รุกไปข้างหน้าอีกหนึ่งสเต็ปด้วยการดึงพันธมิตรอย่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและไปรษณีย์ไทยเข้ามาร่วมด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยช่วยสนับสนุนทางด้านการประชาสัมพันธ์ ด้วยการลงโฆษณาผ่านเว็บไซต์ ลงประชาสัมพันธ์ในนิตยสาร อสท. นำโบรชัวร์กระจายไปยังสำนักงาน ททท.ทั่วประเทศ...
เทสโก้ โลตัส เป็นผู้รับซื้อผลิตผลรายใหญ่จากมูลนิธิโครงการหลวง ช่วยเหลือครอบครัวเกษตรกรไทย
เทสโก้ โลตัส เปิดตัวเทศกาลผักโครงการหลวงเพื่อสุขภาพ เพื่อตอกย้ำถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างมูลนิธิโครงการหลวงกับเทสโก้ โลตัส ซึ่งเทสโก้ โลตัส เป็นผู้รับซื้อผลิตผลจากมูลนิธิฯ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาทในแต่ละปี “เทสโก้ โลตัส คือผู้รับซื้อรายใหญ่ของมูลนิธิโครงการหลวง โดยมียอดรับซื้อมากกว่าร้อยละ 31% ของยอดผลิตผลทั้งหมดของโครงการ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาทในแต่ละปี” คุณสุนทร อรุณานนท์ชัย ประธานกรรมการเทสโก้ โลตัส...
ไบเออร์ ครอปซายน์เปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวแห่งใหม่ในประเทศไทย
เมื่อเร็วๆ นี้ ไบเออร์ ครอปซายน์ บริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการเกษตร นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. เฟรดริก แบร์เชาเออร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของไบเออร์ ครอปซายน์ เอจี ได้เปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวแห่งใหม่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด สุพรรณบุรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ...
ราคายางพาราร่วงเกินจริง เป็นโอกาสดีของการลงทุนระยะยาว
จากการที่ราคายางพาราในประเทศไทย ปรับตัวลดลงกว่า 50% จากราคาสูงสุด 108 บาท/ก.ก. จนเหลือ 55 บาท/ก.ก. เมื่อช่วงเดือนตุลาคมนั้น นายชานนทน์ ภู่เจริญยศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเอสพี ฟิวเจอร์ส จำกัด (โบรกเกอร์ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย) ให้ความเห็น ราคายางพาราตกร่วงรุนแรงมากเกินไป สาเหตุมาจากความตกใจของชาวสวนยางที่คุ้นเคยการอ้างอิงราคาจากตลาดยางพาราที่ประเทศญี่ปุ่น (TOCOM) จนลืมไปว่าเราเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก...
ส่งออกสินค้าเกษตรสู่ตลาดใหม่ : ความท้าทาย…โอกาสและปัญหา
วิกฤติในภาคการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2552 ส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทย โดยจะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงเช่นกัน บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในปี 2552 เป็น 2 กรณี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผลกระทบทางเศรษฐกิจ ดังนี้ กรณีแรก เป็นกรณีที่ได้รับผลกระทบไม่มากนักนั้นเป็นการประเมินว่าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีอัตราชะลอตัวลง และคาดหวังว่ามาตรการต่างๆของแต่ละประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาวะวิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯ และพยุงภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ซบเซามากนัก โดยคาดว่าในปี 2552 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น...
ราคาสินค้าเกษตรดิ่งลงในปี’52 : ต้องเร่งปรับตัว…รับสถานการณ์
จากวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลก กำลังซื้อมีแนวโน้มลดลง ผนวกกับสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นการจับจ่ายใช้สอยจึงมีแนวโน้มลดลงด้วย ประเทศคู่ค้าของไทยในตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นชะลอนำเข้า และหันมาต่อรองราคาสินค้านำเข้า เมื่อจะหันไปเจาะขยายตลาดส่งออกใหม่ๆ ก็ไม่ง่ายนัก เนื่องจากตลาดเหล่านั้นก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินในสหรัฐฯเช่นกัน รวมทั้งยังต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรต่างหันไปพึ่งตลาดส่งออกใหม่ๆกันมากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดใหม่บางประเทศยังมีปัญหาในเรื่องการชำระเงิน นอกจากจะต้องเผชิญปัญหากดดันทางด้านตลาดแล้ว ในด้านการผลิตสินค้าเกษตรก็มีปัญหาเรื่องผลผลิตล้นตลาดด้วย เนื่องจากปริมาณการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีการเพาะปลูก 2551/52 เนื่องจากราคาในปี 2551 อยู่ในเกณฑ์สูงจูงใจให้เกษตรกรขยายการเพาะปลูก ดังนั้น ตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี...
ข้าวหอมมะลิ : ครองส่วนแบ่งตลาด 75% ในตลาดสหรัฐฯ…พึงระวังผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ
ท่ามกลางความวิตกกังวลถึงผลกระทบจากปัญหาวิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯที่จะส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกซบเซา ผลกระทบต่อเนื่องถึงการส่งออกในปี 2552 มีแนวโน้มชะลอตัว โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่พึ่งพิงตลาดสหรัฐฯเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์ปัจจุบันข้าวหอมมะลินับว่าเป็นหนึ่งในบรรดาสินค้าเกษตรที่คาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย และเป็นสินค้าที่ยังมีโอกาสที่จะเติบโตในตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ และยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในสหรัฐฯ รวมทั้งภาครัฐบาลเป็นหัวหอกนำภาคเอกชนเข้าไปเจาะขยายตลาดข้าวหอมมะลิในสหรัฐฯ และราคาข้าวหอมมะลิของไทยอยู่ในระดับต่ำกว่าข้าวหอมที่ผลิตได้ในสหรัฐฯประมาณ 92 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ส่งผลให้ตลาดข้าวหอมมะลิในสหรัฐฯเติบโตอย่างมากในปี 2551 และคาดการณ์ว่าการส่งออกข้าวหอมมะลิไปยังตลาดสหรัฐฯ ในปี 2552 ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไปยังตลาดสหรัฐฯยังคงต้องติดตามผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างใกล้ชิด เนื่องจากถ้าผลกระทบนั้นรุนแรงมากกว่าที่ประเมินในปัจจุบัน และเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งจะกระทบถึงกำลังซื้อของคนอเมริกัน...
แนวโน้มการส่งออกข้าวครึ่งหลังปี’51 ต่อเนื่องถึงปี’52 : แข่งขันรุนแรง…ตลาดเป็นของประเทศผู้ซื้อ
การส่งออกข้าวในช่วงปี 2550 ถึงในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ปริมาณและมูลค่าการส่งออก เนื่องจากประเทศคู่แข่งสำคัญในตลาดโลก โดยเฉพาะเวียดนามและอินเดียชะลอการส่งออกข้าว จากที่ต้องการรักษาความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ ไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนข้าว และเกิดปัญหาอัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวต่างแย่งซื้อข้าวจากไทย ผลักดันให้ปริมาณและราคาส่งออกข้าวของไทยพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังปี 2551 สถานการณ์เริ่มพลิกกลับ โดยเวียดนามเริ่มกลับเข้าตลาดส่งออกข้าวในช่วงไตรมาสที่ 3 และคาดว่าอินเดียจะกลับเข้าตลาดในช่วงปลายไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 รวมทั้ง การคาดการณ์ถึงปริมาณการผลิตข้าวในฤดูการผลิต 2551/52...