Thursday, November 28, 2024
Home Tags Exclusive

Tag: Exclusive

เจ้าหนูสิงห์นักปั่น ขี่อย่างครีเอทีฟ

“เจ้าหนูสิงห์นักปั่น” เป็นแก๊งจักรยานกลุ่มหนึ่งที่เป็นที่รู้จักของเหล่านักปั้นด้วยกัน เพราะกิจกรรมสารพัดที่กลุ่มนี้เป็นโต้โผจัดงานอยู่เรื่อยๆ ตามเวลาจะอำนวย หลังว่างเว้นจากงานประจำที่ส่วนใหญ่เป็นคนทำงานในเอเยนซี่บริษัทโฆษณา ส่งผลให้งานโฆษณาหลายชิ้นมีจักรยานเข้าไปเป็นองค์ประกอบ จนอาจเรียกได้ว่าพวกเขาคือผู้ที่นำเอาความนิยมจักรยานออกมาจากโลกของคนขี่เฉพาะกลุ่มมาสู่สังคมในวงกว้าง เจ้าหนูฯ เกิดตั้งแต่ยังไม่มีให้ปั่น กลุ่มเจ้าหนูสิงห์นักปั่นถือกำเนิดประมาณกลางปี 2009 ระหว่างการสังสรรค์ของเหล่าครีเอทีฟ ในวงสนทนาได้เปิดคลิปวิดีโอจากยูทูบดูเรื่องราวต่างๆ กันไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสะดุดอยู่ที่คลิปจักรยาน Fixed Gear ซึ่งตรงกับความต้องการในกลุ่มที่อยากหากิจกรรมมีประโยชน์ทำร่วมกันอยู่แล้ว จึงมาลงเอยกันที่ “จักรยาน” ด้วยดีไซน์ เสน่ห์ และความท้าทายของฟิกซ์ เกียร์...

Spoke Card ถ้อยแถลงของจักรยาน

Spoke Card เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่เอาไว้ตกแต่งจักรยานและแสดงตัวตน นอกจากจะมีเครื่องแต่งกายของผู้ขี่ กับสารพันอุปกรณ์ที่ช่วยให้การขี่จักรยานปลอดภัยและง่ายขึ้น ตัว Spoke Card จะเป็นรูปภาพหรือข้อความขนาดโปสต์การ์ดเสียบไว้ที่ซี่ล้อจักรยาน ในยุคเริ่มแรก Spoke Card มีเอาไว้ใส่เลข เพื่อบ่งบอกความแตกต่างของจักรยานที่ใช้ในการแข่งขัน แม้ว่าในการแข่งขันจริงๆ Spoke Card อาจจะหลุดออกไปก่อนจะถึงเส้นชัย หรือเกิดเสียงเวลาที่ตัวการ์ดกระทบกับซี่ล้อ รวมทั้งดูยากเวลาที่ล้อรถกำลังหมุน แต่มันก็เป็นวิธีการที่ง่ายและถูกที่สุดที่จะแสดงเอกลักษณ์ ต่อมาในทศวรรษที่ 1990...

1000ways นักปั่น “พัน” ทาง

กลุ่ม 1000ways (Thousand Ways) หรือพันทาง เป็นการรวมตัวกันปั่นจักรยานของคนที่ทำงานโปรดักชั่นเฮาส์ที่เริ่มต้นโดยบริษัทฟิโนมิน่า โปรดักชั่นเฮาส์อันดับหนึ่งของประเทศไทย สื่อความหมายถึงหนทางมากมายที่สามารถปั่นจักรยานไปได้ กับพ้องเสียงคำว่า “พันทาง” เพื่อบอกว่า จะรถแบบไหนขอแค่เป็น “สองล้อแล้วใช้แรงคน” ก็ร่วมกรุ๊ปได้ทั้งนั้น คันนี้ของคนหัวใจเด็ก ไซม่อน-ศราวุธ บุญประเสริฐ เป็นคนแรกในฟิโนมิน่าที่ปั่นจักรยานอย่างจริงจัง เขาเล่าให้ฟังว่า สมัยมัธยมต้นเคยซื้อจักรยานเสือหมอบตามเพื่อนรุ่นพี่ในราคา 3,000 บาท หลังจากนั้นชีวิตกับจักรยานได้ห่างหายไปตามเวลา จนกระทั่งปี...

Fixie Updator กับกันตพัฒน์ สิริเกียรติยศ แห่ง BKKFIXED

สามปีก่อน กันตพัฒน์ สิริเกียรติยศ และ มณฑล จิรา เทรนด์เซตเตอร์ระดับต้นๆ ของไทย ได้ร่วมกันสร้างคอมมูนิตี้ออนไลน์ของจักรยานฟิกซ์เกียร์ให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ภายใต้ยูอาร์แอล BKKFIXED.com เพียงเพื่อต้องการรวบรวม “รี้พลคนคอฟิกซ์” ที่มีอยู่น้อยนิดในขณะนั้น ให้ได้มีโอกาสมาปั่น มาแชร์ประสบการณ์ และโชว์ท่า (Trick) ของตัวเองด้วยกัน “ตอนนั้นผมเริ่มจากความชอบเพียงอย่างเดียวเลยครับ ไม่ได้คิดว่าจะมาทำธุรกิจด้านนี้ พอดีผมมีเพื่อนชาวฮ่องกงชื่อ Brian Fu...

PLUSONE : First Thai Custom Cycle Cap

ล่าสุด กระแสความนิยมในการปั่นจักรยานยังได้ส่งแรงกระเพื่อมมายังบรรดานักออกแบบไทย ผ่านการดีไซน์เสื้อผ้า และกระเป๋าสะพาย (เฉียง) ซึ่งในอเมริกาและยุโรปถือว่าเป็นตัวแทนอารยธรรมสตรีทแฟชั่นที่คูลเป็นลำดับต้นๆ และเมื่อเดือนที่ผ่านมา บ้านเราก็มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับ “PLUSONE” หมวกสำหรับคนขี่จักรยานแบรนด์แรกของไทยโดย ณรงศักดิ์ พรหมมาลา ซึ่งน่าจะเป็นไอเท็มใหม่ของคนขี่จักรยานที่น่าสนใจมากทีเดียว “ผมปั่นฟิกซ์เกียร์และทำงานด้านศิลปะ กราฟิกดีไซน์อยู่ครับ ผมเองมีโอกาสได้แสดงงานในนิทรรศการศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจจากจักรยาน พอเราไปอยู่กับจักรยานนานๆ ก็เกิดอาการอยากหาแอคเซสซอรี่ที่เกี่ยวกับจักรยานมาใส่ เลยเริ่มศึกษากระทั่งไปเจอแบบหมวกต่างประเทศซึ่งผมชอบมาก” หมวกผ้าสำหรับนักปั่นในเมืองนอกมีราคาเริ่มต้นอย่างน้อยๆ 30 – 60 เหรียญสหรัฐ...

PEDALICIOUS ปากกินตีนถีบ ไบค์คาเฟ่ฝีมือชาวเอเยนซี่

ภาพจากฟุตเทจเก่าๆ ของการขี่จักรยานในสนามแข่งได้รับการฉายผ่านโปรเจกเตอร์ก่อนสะท้อนลงบนฉากหลังขนาดห้องแถวหนึ่งคูหาของร้าน Pedalicious ในยามค่ำคืน ทางหนึ่งเพื่อให้เตะตาผู้ที่ขับขี่ยวดยานผ่านไปมาในซอยเอกมัย 12 ขณะที่อีกด้านก็เป็นเสมือนคำเชิญให้ผู้ที่ชื่นชอบในไลฟ์สไตล์เช่นนี้ รวมถึงนักขี่จักรยานทั้งหน้าใหม่และเก่าไม่ให้ผลีผลามปั่นเลยลึกและจากไป ด้านหน้าร้านมีจักรยานเกาะกำแพงอยู่บนที่แขวนซึ่งออกแบบโดยเจ๊กกี้-สุรพร เลิศวงศ์ไพฑูรย์ อดีตครีเอทีพไดเรคเตอร์แห่ง JWT เอเยนซี่โฆษณายักษ์ใหญ่แห่งวงการ อาจารย์และศิลปินชื่อดัง ผู้ที่กำลังขะมักเขม้นในการเติมลมยางให้แก่ลูกค้า “จริงๆ แล้วหุ้นส่วนร้านนี้ถ้าไม่เปิดร้านอาหาร ก็เปิดเอเยนซี่โฆษณาได้เลย” วันเขษม ชุติวงศ์ กล่าวพร้อมรอยยิ้ม ด้วยหุ้นส่วนทั้งหกคนของร้าน Pedalicious เกิดจากการรวมตัวกันตามฝันของคนเอเยนซี่แห่ง...

ระบายบาร์ ที่ดื่มของแก๊งจักรยาน

สำหรับร้านอาหารที่ต้อนรับคนขี่จักรยาน ไม่ได้มีแค่ร้าน Pedalicious ที่เน้นให้บริการอาหาร และเครื่องดื่มเบาๆ เป็นหลักเท่านั้น ร้านประเภทบาร์ ที่เน้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยามคํ่าคืน ร้านระบายบาร์ก็พร้อมให้บริการพื้นที่สำหรับคนปั่นจักรยานให้มานั่ง ระบายบาร์ ตั้งอยู่บริเวณลาดพร้าว 80 ตั้งมาสองปีกว่าเกือบสามปี แรกเริ่มเดิมทีก็ไม่มีที่แขวน หรือที่จอดจักรยานตั้งแต่ต้น แต่หลังจากหุ้นส่วนร้านให้ความสนใจกับจักรยานก็เลยปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่า น่าจะมีพื้นที่เฉพาะเพื่อจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ และผลของการบริการด้านนี้ก็ทำให้ร้านได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มาจากแก๊งจักรยาน และเจ้าของร้านจักรยานเองก็ใช้เวลาหลังจากปิดร้านมาแฮงค์เอาต์ที่นี่ ด้วยทำเลลาดพร้าว 80 ซึ่งตัดออกเส้นเรียบทางด่วนรามอินทรา กับเส้นลาดพร้าว และเกษตรได้...

HOUSE RCA โรงหนังอินดี้กับนักปั่นอินเทรนด์

เท่าที่นับดูแล้ว ห้างร้านในกรุงเทพฯ ที่จัดสรรพื้นที่ไว้ให้สำหรับคนปั่นจักรยานได้แวะพักนั้นมีเพียงไม่กี่แห่ง นอกจากเซ็นทรัลบางสาขา สยามพารากอน เค-วิลเลจ จามจุรีสแควร์ และอาคารอื้อจื่อเหลียงแล้ว ก็ยังมีโรงภาพยนตร์อินดี้อย่าง “เฮ้าส์ อาร์ซีเอ” ที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการให้บริการที่จอดรถจักรยาน แรงผลักดันเกิดจาก “นภสร แย้มอุทัย” ผู้จัดการหนุ่มแห่งโรงภาพยนตร์เฮ้าส์ อาร์ซีเอ ที่ชอบการปั่นจักรยานฟิกซ์เกียร์เป็นชีวิตจิตใจ “จริงๆ ผมเริ่มชอบมานานแล้วล่ะ แต่เพิ่งมาจริงจังเมื่อกลางปีที่แล้ว ผมว่ามันสวยโดนกว่าจักรยานแบบอื่น” สมาชิกเล่า ฟิกซ์เกียร์คันแรกของนภสรเป็นยี่ห้อ...

จักรยาน เทรนด์ที่นักการตลาดยังไม่เจอ

ปริมาณจักรยานที่ปรากฏตามท้องถนน การเพิ่มพื้นที่ขายยานพาหนะสองล้อตามช็อป และเคาน์เตอร์อุปกรณ์กีฬาของดิสเคานต์สโตร์ไปจนถึงห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค หรือแม้แต่เว็บไซต์ดังอย่างพันทิป ต้องเพิ่มพื้นที่สำหรับกระทู้ที่พูดคุยเรื่องของจักรยานโดยเฉพาะ ทั้งหมดนี้คือปรากฏการณ์ที่แผนก Invention ต้องทำหน้าที่มอนิเตอร์แล้วต่อมายัง มายด์แชร์ เพื่อนำไปสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดให้กับลูกค้า อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังไม่มีนักการตลาดแบรนด์ใดที่หยิบยกเอากระแสเรื่องจักรยานมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งๆ ที่ผู้ขับขี่จักรยานมีหลายระดับ ตั้งแต่จักรยานคันละแสน ไปจนถึงมูลค่า 4-5 พันบาท สำหรับผู้เริ่มต้น จุดเริ่มต้นของเทรนด์ “สองล้อ” นุวีร์ เลิศบรรณพงษ์...

โออิชิตัน ศึกแค้นสั่งฟ้าชาเขียว

การมีคู่แข่ง ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ทุกธุรกิจต้องเจอ แต่ไม่ใช่สำหรับกรณีของ "โออิชิ" และ "อิชิตัน" เมื่อเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งไทยเบฟฯ ต้องเจอกับคู่แข่งที่ชื่อ "ตัน ภาสกรนที" ซึ่งไม่ใช่คู่แข่งปกติ แต่เป็นคู่แข่งที่ขายกิจการชาเขียวโออิชิให้กับเจ้าสัวเจริญ และย้อนกลับมาเป็นคู่แข่งกับโออิชิ แบรนด์ที่เขาปั้นมากับมือ ใครเป็นไทยเบฟฯ ก็ต้องบอกว่า "เจ็บ จำ และไม่ลืม" เพราะตันไม่ได้ออกมามือเปล่า แต่ยังพาทีมงาน 30...