GM – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 20 Mar 2022 10:35:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘GM’ ทุ่ม 2.1 พันล้านซื้อหุ้น Cruise ของ ‘SoftBank’ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไร้คนขับ https://positioningmag.com/1378239 Sun, 20 Mar 2022 09:03:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378239 ดูเหมือนจะไม่ใช่แค่แข่งกันพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าแล้ว แต่กำลังแข่งขันกันพัฒนา เทคโนโลยีไร้คนขับ ด้วย โดยล่าสุด ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกาอย่าง General Motors หรือ GM ก็กำลังซื้อหุ้นมูลค่า 2.1 พันล้านดอลลาร์ของ SoftBank ที่ลงทุนใน Cruise ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนด้านรถยนต์ไร้คนขับ

ย้อนไปปี 2018 SoftBank ได้เข้าลงทุนใน Cruise ด้วยมูลค่า 900 ล้านดอลลาร์ และมีแผนจะลงทุนเพิ่มอีก 1,350 ล้านดอลลาร์ เมื่อ Cruise สามารถให้บริการรถแท็กซี่ไร้คนขับ ต่อมา Cruise ได้ทดสอบให้บริการแท็กซี่ไร้คนขับและยื่นขอใบอนุญาต และในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Cruise เผยว่า SoftBank จะลงทุนเพิ่ม 1,350 ล้านดอลลาร์ ตามแผนที่เคยประกาศไว้

แต่เนื่องจาก SoftBank มีปัญหาเรื่องหนี้สิ้น จึงได้เริ่มทยอยขายหุ้นที่เคยลงทุนในบริษัท Alibaba และ T-Mobile รวมถึงตัดสินใจขาย ARM ให้กับ Nvidia ในปี 2020 แต่ดีลดังกล่าวไม่สำเร็จ ทำให้ GM ได้ซื้อหุ้น Cruise มูลค่า 2.1 พันล้านดอลลาร์จาก Softbank พร้อมกับจะลงทุนในการลงทุนอีก 1.35 พันล้านดอลลาร์ แทน SoftBank ที่เคยประกาศแผนไว้

ทั้งนี้ GM ก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงทุนใน Cruise อยู่แล้ว และนอกจากนี้ยังมี Microsoft, Walmart และ Honda ที่ร่วมลงทุนด้วย ซึ่งการซื้อหุ้นของ SoftBank ทำให้ GM มีสัดส่วนผู้ถือหุ้น 80% สามารถบริหารจัดการ Cruise ในการพัฒนาระบบขับขี่อัตโนมัติได้อย่างเต็มที่ และอาจเพิ่มมูลค่าบริษัทด้วยการเสนอขายหุ้น IPO ในอนาคต

Cruise ทำให้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองกลายเป็นจริงและเป็นผู้นำในเส้นทางสู่การแชร์รถอัตโนมัติและการส่งมอบในเชิงพาณิชย์ ซึ่งสร้างมูลค่าที่สำคัญสำหรับทั้งผู้ถือหุ้นของ GM และผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของ Cruise” GM กล่าวในแถลงการณ์

ย้อนไปเมื่อปลายปีที่แล้ว GM ได้ประกาศแผนการที่จะเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์อัตโนมัติอีกประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์ รวมเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้นกว่า 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์จนถึงปี 2025 โดย Mary Barra หัวหน้า GM กล่าวว่า เป้าหมายของ GM ก็คือ “การมีโลกที่ไม่มีการชน ไม่มีการปล่อยมลพิษ และความแออัดเป็นศูนย์”

Source

]]>
1378239
บริษัท ‘ยานยนต์’ ทั่วโลกแห่ ‘คว่ำบาตรรัสเซีย’ สั่งเบรกส่งออก-หยุดสายการผลิต https://positioningmag.com/1376249 Thu, 03 Mar 2022 08:20:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376249 ดูเหมือนมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศจะเริ่มรุนแรงมากขึ้น เริ่มจากที่ชาติตะวันตกได้ปิดธนาคารรัสเซียบางแห่งจากเครือข่ายการเงินทั่วโลกของ SWIFT ทำให้บริษัทระดับโลกหลายสิบแห่งหยุดการส่งออกและหยุดการดำเนินงานในประเทศชั่วคราว ทุบค่าเงินรูเบิล และบังคับให้ธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ย ล่าสุด บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกก็เริ่มระงับการผลิตและส่งออกไปยังรัสเซียแล้ว

ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่น เริ่มจาก โตโยต้า (Toyota) ได้ระงับสายการผลิตในรัสเซีย ส่วนหนึ่งมาจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกภายหลังการรุกรานยูเครน ทำให้กระทบต่อการขนส่งและตัดซัพพลายเชน โดยโตโยต้าระบุเพิ่มเติมว่า บริษัทยังได้ระงับการส่งออกรถยนต์ไปยังรัสเซียอย่าง ไม่มีกำหนด เช่นเดียวกันกับ ฮอนด้า (Honda) และ มาสด้า (Mazda)

โตโยต้า ถือเป็นแบรนด์ชั้นนำของญี่ปุ่นในรัสเซีย โดยสามารถผลิตรถยนต์ได้ประมาณ 80,000 คันที่โรงงานในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยมีพนักงานรวมกว่า 2,000 คน

ในส่วนของผู้ผลิตรถยนต์จากฝั่งยุโรป ก็มี Volvo ถือเป็นบริษัทผู้ผลิตยานยนต์แรกที่ออกมาประกาศระงับการส่งออกไปยังรัสเซีย ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และตามมาด้วย General Motors (GM), Mercedes-Benz, Ford และ BMW ก็หยุดการผลิตและส่งออกรถยนต์ไปยังรัสเซีย

สำหรับ Mercedes-Benz ไม่ใช่แค่ระงับการผลิตและส่งออก แต่ยังเตรียมขายหุ้น 15% ของบริษัท Kamaz ผู้ผลิตรถบรรทุกสัญชาติรัสเซียให้เร็วที่สุดอีกด้วย

แทบทุกอุตสาหกรรมร่วมคว่ำบาตร

เรียกได้ว่าตอนนี้แทบทุกอุตสาหกรรมกำลังคว่ำบาตรรัสเซีย อย่างฝั่งของโลจิสติกส์ก็มี MSC สายการเดินเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ Maersk ระงับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปและกลับจากประเทศรัสเซีย โดย Maersk ระบุว่า “การขนส่งอาหารและเวชภัณฑ์ไปยังรัสเซียมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายหรือเน่าเสียเนื่องจากความล่าช้าที่สำคัญที่ท่าเรือและศุลกากร”

ส่วน Amazon.com ก็ได้เปิดเผยว่าบริษัทกำลังใช้ความสามารถด้านโลจิสติกส์เพื่อจัดหาสิ่งของให้กับผู้ที่ต้องการและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลและบริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนยูเครน นอกจากนี้ Japan Airline และ ANA Holdings ซึ่งปกติใช้น่านฟ้ารัสเซียสำหรับเที่ยวบินยุโรปก็ได้ออกมายกเลิกเที่ยวบินทั้งหมดไปและกลับจากยุโรป

ในส่วนของธุรกิจพลังงาน ก็มีบริษัทพลังงานสหรัฐฯ Exxon Mobil บริษัทพลังงานของอังกฤษ BP และ Shell ต่างก็ถอนการลงทุนในรัสเซีย

นอกจากนี้ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่าง ๆ อาทิ Spotify ก็ได้ปิดสำนักงานในรัสเซียอย่างไม่มีกำหนด ส่วน Netflix ได้เบรกออริจินอลคอนเทนต์ 4 เรื่องที่ถ่ายทำในรัสเซีย ส่วนบริษัทด้านความบันเทิงยักษ์ใหญ่อย่าง Disney และ Warner Bros. ได้ประกาศระงับการฉายภาพยนตร์ทุกเรื่องในรัสเซีย

บริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ อาทิ H&M บริษัทสินค้าแฟชั่นสัญชาติสวีเดน ได้หยุดการขายในรัสเซียชั่วคราว ส่วน Apple ก็หยุดการขาย iPhone และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในรัสเซียด้วย

Reuter / Japantoday / variety

]]>
1376249
รู้จัก ‘Rivian’ ผู้ผลิต ‘รถกระบะไฟฟ้ารายแรก’ ที่ปาดหน้าทั้ง Tesla, GM และ Ford https://positioningmag.com/1352232 Fri, 17 Sep 2021 04:22:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352232 ส่งมอบไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ ‘รถกระบะไฟฟ้า R1T’ ของ ‘Rivian’ สตาร์ทอัพสัญชาติอเมริกาที่ปาดหน้า Tesla, GM และ Ford เปิดตัวรถกระบะไฟฟ้าเป็นรายแรก แน่นอนว่าคนไทยเองอาจจะไม่ค่อยคุ้นกับแบรนด์นี้ ดังนั้น Positioningmag จะพาไปทำความรู้จัก

Rivian เกิดขึ้นในปี 2009 โดย Robert RJ Scaringe นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT ในด้านวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งตอนแรก Robert ไม่ได้จะมาผลิตรถกระบะ แต่อยากทำรถสปอร์ตไฟฟ้า แต่เพราะรถยนต์กระบะยังไม่มีผู้เล่นในตลาด โดยผู้เล่นส่วนใหญ่เน้นไปที่รถเก๋งมากกว่า เขาจึงเบนเข็มมาพัฒนารถกระบะและรถ SUV ไฟฟ้าแทน

รถกระบะไฟฟ้า ‘R1T’ คันแรกที่ถูกขับโดยผู้ก่อตั้ง Robert RJ Scaringe

สิ่งที่ทำให้ Rivian พิเศษกว่าแบรนด์อื่นไม่ใช่แค่เป็นรายแรกที่คิดจะทำรถกระบะไฟฟ้า แต่เพราะ ‘Skateboard Platform’ ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาช่วงโครงช่วงล่างของรถยนต์ ที่บริษัทสร้างเพื่อให้โครงสร้างของรถมีศูนย์ถ่วงที่ต่ำ และนำมอเตอร์ไฟฟ้า, แบตเตอรี่ และแผงควบคุมต่าง ๆ ติดตั้งไว้ด้านล่างของตัวรถ ทำให้การขับขี่สนุก และเหมาะกับการขับเคลื่อนสี่ล้อ เหมาะกับรถยนต์ประเภท Off-Road อย่างรถกระบะและ SUV นอกจากนี้ยังทำให้การออกแบบทำได้อิสระมากขึ้น โดย Skateboard Platform นี้

  • รองรับการติดตั้งมอเตอร์ได้สูงสุด 4 ตัว
  • ใช้ระบบกันสะเทือนแบบถุงลมแยกอิสระ
  • ติดตั้งระบบจัดการแบตเตอรี่อัจฉริยะ
  • ติดตั้งระบบควบคุมไฮดรอลิกช่วงล่าง
  • ติดตั้งระบบระบายความร้อน
ช่วงล่างแบบ Skateboard Platform

ด้วยแนวคิดดังกล่าวทำให้ Rivian สามารถระดมทุนจากบริษัทใหญ่ ๆ ได้มากมาย โดยได้เงินทุนจาก 450 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนรายใหญ่ 3 ราย ได้แก่ Abdul Latif Jameel ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทลงทุนจากซาอุดีอาระเบีย, Sumitomo Corp จากญี่ปุ่น และธนาคาร Standard Chartered จากอังกฤษ

จนในปี 2018 บริษัท Rivian ก็ได้ผลิต ‘Rivian R1T’ เป็นรถกระบะไฟฟ้าต้นแบบรุ่นแรกที่ใช้พื้นฐานรถแบบ Skateboard Platform ออกมาสำเร็จ โดย R1T มาพร้อมความสามารถวิ่งได้ไกลสูงสุด 644 กิโลเมตร มอเตอร์แบบสี่ตัว ขับเคลื่อนสี่ล้อ สามารถเร่งความเร็ว 0-96 กม./ชม. ใน 3 วินาที เท่านั้น จากนั้นก็เปิด ‘Rivian R1S’ ตัวต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้า SUV โดย Rivian ได้ประกาศว่าจะผลิตในปี 2019 และส่งมอบออกจำหน่ายในปี 2020

ซึ่งหลังจากวางเป้าที่จะผลิตรถยนต์ในปี 2019 Rivian ก็สามารถระดมทุนได้อีก โดยได้เงินกว่า 700 ล้านดอลลาร์จาก Amazon ตามมาด้วย Ford อีก 500 ล้านดอลลาร์ จากนั้นก็มี Cox Automotive เว็บขายรถของอเมริกาอีก 350 ดอลลาร์ และได้เงินทุนอีก 1,300 ล้านดอลลาร์ จาก T. Rowe Price Associates บริษัทที่เคยลงทุนมหาศาลใน Tesla

Rivian R1T และ Rivian R1S

แม้จะบอกว่าจะส่งมอบรถภายในปี 2020 แต่จากวิกฤติ COVID-19 ทำให้ต้องเลื่อนไปเป็นต้นปี 2021 แต่แม้จะเลื่อนไปต้นปี แต่สุดท้าย R1T ก็เพิ่งออกจากสายการผลิตที่โรงงานในเมือง Normal รัฐอิลลินอยส์ เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา โดยราคาเริ่มต้นสำหรับรถกระบะไฟฟ้า R1T จะอยู่ที่ 69,000 ดอลลาร์ (2,110,050 บาท) และรถ SUV ไฟฟ้า R1S ก็คือ 72,500 ดอลลาร์ (2,188,200 บาท)

จากนี้ก็คงต้องจับตาสงครามรถยนต์ไฟฟ้าว่าจะเป็นอย่างไร ค่ายรถยนต์รุ่นบุกเบิกตั้งแต่สมัยรถน้ำมันคงไม่ยอมที่จะถูกสตาร์ทอัพใหม่ ๆ เหล่านี้ดิสรัปต์ง่าย ๆ เพราะจะเห็นแต่ละค่ายอัดงบลงทุนไปมหาศาลเพื่อจะบุกเบิกตลาดรถยนต์ไฟฟ้า จากนี้คงต้องขึ้นอยู่กับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ว่าจะเลือกไปอยู่ค่ายไหน

]]>
1352232
Walmart ทุ่มลงทุนใน ‘Cruise’ ผู้ผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ขยายเครือข่ายเดลิเวอรี่ ‘ไร้คนขับ’ https://positioningmag.com/1328076 Sun, 18 Apr 2021 10:20:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328076 หลังจากที่ ‘Walmart’ ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของโลก ร่วมมือกับ ‘Cruise’ นำรถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับมาส่งสินค้าอุปโภคบริโภคเเบบเดลิเวอรี่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

เมื่อเห็นศักยภาพที่จะพัฒนาต่อ Walmart จึงประกาศเข้าลงทุนใน Cruise บริษัทรถยนต์ไร้คนขับในเครือ General Motors (GM) ที่ได้รับเงินทุนจาก Softbank , Honda  เเละบิ๊กเทคฯ อย่าง ‘Microsoft’ ร่วมลงขันกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.2 หมื่นล้านบาท)

เเม้ดีลของ Walmart เเละ Cruise ครั้งนี้จะไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเงินลงทุนเเน่ชัด เเต่ก็มีการประเมินว่าน่าจะไม่ต่ำกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.3 หมื่นล้านบาท) เนื่องจาก Cruise ระบุยอดระดมทุนครั้งใหม่ว่าอยู่ที่ราว 2.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มจากตัวเลขเดิมที่ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

John Furner ซีอีโอของ Walmart กล่าวว่า การลงทุนครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เเสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่จะนำประโยชน์ของรถยนต์ไร้คนขับมาให้บริการลูกค้าในธุรกิจค้าปลีก เเละรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ร่วมงานกับพันธมิตรอย่าง GM, Honda และ Microsoft เพื่อบุกเบิกเทคโนโลยีใหม่นี้

ที่ผ่านมา Walmart เป็นพาร์ตเนอร์กับผู้พัฒนารถยนต์ไร้คนขับหลายบริษัท อย่างเช่น Ford, Nuro เเละ Waymo ของ Google เป็นต้น

โฆษกของ Walmart ย้ำว่า จะยังคงยังคงทำงานร่วมกับบริษัทรถยนต์รายอื่น ต่อไป แม้ว่าจะลงทุนใน Cruise เเล้วก็ตาม

โดยล่าสุดมูลค่าบริษัทของ Cruise อยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นหนึ่งในตัวท็อปของวงการรถยนต์ไร้คนขับที่กำลังถูกจับตามอง

“รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตนเอง จะทำให้การขนส่งปลอดภัย สะอาดและเข้าถึงได้มากขึ้นสำหรับทุกคน” Dan Ammann ซีอีโอของ Cruise ระบุ

ด้าน Amazon คู่แข่งรายใหญ่ของ Walmart เพิ่งเข้าซื้อ Zoox บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไร้คนขับ เมื่อปีที่แล้วและได้ตั้งบริษัทลูกเพื่อพัฒนาเเบรนด์ตัวเองขึ้นอย่าง Aurora Amazon พร้อมทดสอบใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กเพื่อจัดส่งพัสดุบนทางเท้า

การผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในเชิงพาณิชย์เป็นเรื่องที่ท้าทายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ บางบริษัทต้องล้มเลิกไป เเต่ Mary Barra ซีอีโอของ GM กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า บริษัทมั่นใจว่า Cruise จะเปิดตัวและดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เร็วกว่าที่หลายคนคิด

 

ที่มา : CNBC , CNN

]]> 1328076 ตลาดรถยนต์ไตรมาสแรกโต ‘9%’ แม้จะขาดแคลนชิปสำหรับผลิต https://positioningmag.com/1326452 Fri, 02 Apr 2021 12:53:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326452 Automakers ได้มีการรายงานยอดขายรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ท่ามกลางตลาดที่ประสบปัญหามากมาย ทั้งเรื่องการขาดแคลนชิปสำหรับการผลิตจนต้องหยุดไลน์ผลิตบางแห่ง หรือแม้แต่ปัญหาด้านการขนส่ง

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 8-9% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2020 ซึ่ง COVID-19 ได้ระบาดหนักในช่วงเดือนมีนาคมจนทำให้ตัวแทนจำหน่ายและโรงงานผลิตรถยนต์ต้องปิดตัว โดยยอดขาย Volkswagen เติบโตขึ้น 21%, Toyota เพิ่มขึ้น 21.6%, Hyundai เพิ่มขึ้น 28%, Kia เพิ่มขึ้น 22.8%, Ford เพิ่มขึ้น 1% ส่วนยอดขายของ General motors (gm) เพิ่มขึ้น 3.9%

“เราเห็นการเติบโตขึ้นเล็กน้อย ดูเหมือนว่าพวกเขาจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่หยุดผลิตรถยนต์เนื่องจากทรัพยากรที่จำกัด” เจสสิก้า คาลด์เวลล์ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายข้อมูลเชิงลึกของ Edmunds.com กล่าว

GM กล่าวว่า ยอดขายในส่วนของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 19% ในไตรมาสแรก ขณะที่ยาดขายลูกค้าองค์กรและภาครัฐลดลง 35% จากปีก่อนหน้า GM คาดว่าความต้องการของผู้บริโภคจะยังคงฟื้นตัวได้ตลอดทั้งปีนี้

“ความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นและการกลับมาเติบโตอีกครั้งของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง” อีเลน บัคเบิร์ก หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ GM กล่าว

เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา แบรนด์รถยนต์และซัพพลายเออร์เริ่มเตือนของการขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งสวนทางกับความต้องการสำหรับยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นแข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้ โดยชิปเซ็ตถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งของยานยนต์รุ่นใหม่สำหรับระบบต่าง ๆ โดยในรถ 1 คันจำเป็นต้องมีชิปจำนวนมาก อย่าง Ford ประกาศแผนการลดกำลังการผลิตที่โรงงาน 6 แห่งในอเมริกาเหนือเนื่องจากปัญหานี้

“ปัญหาการขาดแคลนชิปนี้ส่งผลกระทบต่อทุกคน เราหวังว่าหากในอีก 4-5 เดือนข้างหน้าสถานการณ์จะดีขึ้นบางที Q3, Q4 น่าจะฟื้นตัว” Jose Munoz ซีอีโอของ Hyundai North America กล่าว

บริษัทที่ปรึกษา AlixPartners ประเมินว่าการขาดแคลนชิปจะลดรายได้อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกในปีนี้ถึง 60.6 พันล้านดอลลาร์ การลดการผลิตจากปัญหาการขาดแคลนชิปทำให้ยานพาหนะลดลง ทำให้รถรุ่นยอดนิยมอาจมีจำนวนที่ จำกัด โดย Edmunds ประเมินว่าจำนวนคลังรถใหม่ในตัวแทนจำหน่ายทั่วอเมริกาจะลดลง 36% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

“ปัญหาสินค้าคงคลังดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับการแก้ไขในเร็ว ๆ นี้ และทุกอย่างจะส่งผลต่อยอดขายในปลายปีนี้” คาลด์เวลล์ กล่าว

Source

]]>
1326452
รถกระบะ ‘GM’ บางรุ่นจะก่อ ‘มลพิษ’ มากขึ้นเนื่องจากการขาดแคลนชิปจัดการเชื้อเพลิง https://positioningmag.com/1323675 Tue, 16 Mar 2021 13:58:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323675 อย่างที่รู้กันว่าปัญหาขาดแคลน ‘ชิป’ กำลังส่งผลกระทบในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เครื่องเกม หรือแม้กระทั่ง ‘รถยนต์’ จนบริษัทรถหลายรายต้องปรับแผนการผลิตใหม่ทั้ง ๆ ที่ตลาดกำลังฟื้น แต่ล่าสุด ‘เจนเนอรัลมอเตอร์ส’ หรือ ‘GM’ เจ้าของแบรนด์ ‘เชฟโรเลต’ ได้ตัดสินใจที่จะผลิตรถปิกอัพโดยไม่มีชิปโมดูลการจัดการเชื้อเพลิง

วิกฤต ‘ชิป’ ขาดตลาดพ่นพิษ ‘ตลาดรถยนต์’ คาดแบรนด์ใหญ่สูญเสียการผลิต 100,000 คันในไตรมาสแรก

เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนไมโครชิปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ GM ยอมที่จะผลิตรถปิกอัพรุ่นใหม่ในปี 2021 ที่ใช้เครื่องเครื่องยนต์ EcoTec3 V8 ขนาด 5.3 ลิตรของ GM (รวมถึงรุ่นที่มีระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดหรือ 8 สปีด) ซึ่งอยู่ในรถรุ่น Chevy Silverado และ GMC’s Sierra โดยไม่มีชิปโมดูลจัดการเชื้อเพลิง

โดยโมดูลดังกล่าวจะช่วยให้รถกระบะเหล่านี้ลดการปล่อยก๊าซน้อยลงประมาณหนึ่งไมล์ต่อแกลลอนซึ่งหมายความว่าหากไม่มีชิปดังกล่าว รถเหล่านั้นจะเผาผลาญเชื้อเพลิงมากขึ้นในระยะทางเดียวกัน และปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น

GMC’s Sierra ภาพจาก edmunds.com

นอกจากนี้ โมดูลนี้เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนระบบ “Active Fuel Management” หรือ “Dynamic Fuel Management” ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของ GM โดยในรถกระบะที่มีโมดูลเหล่านี้ จะทำให้รถปิดการใช้งานกระบอกสูบของเครื่องยนต์บางส่วนเพื่อเพิ่มการประหยัดน้ำมัน ดังนั้น การตัดสินใจดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย

วิกฤต ‘ชิปขาดตลาด’ อาจหนักขึ้น หลังไต้หวันเจอ ‘ภัยแล้ง’ ส่งผลต่อการผลิต

GM ตัดสินใจสร้างรถกระบะโดยไม่มีโมดูลเชื้อเพลิงเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการผลิต ก่อนหน้านี้ฟอร์ดได้ประกาศว่าจะลดผลผลิตของรถกระบะ F-150 ที่เป็นรุ่นยอดนิยมในช่วงสั้น ๆ อันเป็นผลมาจากปัญหาการขาดแคลนชิป โดยผู้ผลิตรถยนต์หลายรายกำลังเผชิญกับการขาดแคลนชิป ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการที่แบรนด์ต่างปรับลดคาดการณ์จำนวนการผลิตที่ต้องการ เนื่องจากวิกฤต COVID-19 แต่พอยอดขายกลับมาอีกครั้ง ซึ่งมาพร้อมกับความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้เกิดความขาดแคลน

Source

]]>
1323675
‘Microsoft’ ทุ่มเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ ลงทุนในบริษัทรถยนต์ไร้คนขับในเครือ ‘GM’ https://positioningmag.com/1315420 Wed, 20 Jan 2021 12:13:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315420 ‘Cruise’ บริษัทรถยนต์ไร้คนขับซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ‘General Motors (GM)’ ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา มีประวัติอันยาวนานกว่า 112 ปี ที่ปัจจุบันมีแบรนด์ในเครือ อย่าง Chevrolet, Buick, Cadillac, GMC และ Holden กำลังมาแรงสุด ๆ เพราะ ‘Microsoft’ ได้ทุ่มเงินถึง 2 พันล้านดอลลาร์ร่วมลงทุน

ช่วงนี้เทรนด์รถไฟฟ้าและรถยนต์ไร้คนขับกำลังมาแรง ซึ่ง ‘Cruise’ ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยที่ผ่านมาได้ ‘Walmart’ ได้เปิดโครงการนำร่องร่วมกับ Cruise โดยนำรถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับมาส่งสินค้าอุปโภคบริโภคเดลิเวอรี่สินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังได้เงินลงทุนจาก Softbank และ Honda อีก ล่าสุด ‘Microsoft’ ก็ได้ร่วมลงทุนรวมมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือกว่า 6 หมื่นล้านบาท

Cruise รถยนต์ไร้คนขับ มีการทดสอบส่งเดลิเวอรี่อาหารในซานฟรานซิสโกไปแล้ว 20,000 ครั้ง (Photo : Cruise)

สำหรับการลงทุนดังกล่าวถือว่าเป็นครั้งแรกที่ Microsoft ลงทุนในบริษัทรถยนต์ไร้คนขับ โดยระบุว่าเป็นการสร้างพันธมิตรระยะยาว และ Cruise จะต้องใช้ ‘Azure’ ระบบ Cloud Computing ของ Microsoft เพื่อช่วยพัฒนาระบบและบริการ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยว่า Microsoft นั้นจะมีสัดส่วนการถือหุ้นใน Cruise เท่าไหร่ แต่ Cruise ยืนยันว่า General Motors จะรักษาสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ Microsoft ที่เริ่มขยับเข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่อย่าง Apple ก็ได้เริ่มแผนการใหม่เพื่อสร้างรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตนเองไฟฟ้าของตัวเอง ส่วน Google ก็มี ‘Waymo’ ซึ่งเป็นคู่แข่งของ Cruise

Source

]]>
1315420
GM ปรับสู่ “รถไฟฟ้า-รถยนต์ไร้คนขับ” จริงจัง ทุ่ม 8.2 แสนล้าน มุ่งผลิต EV ให้ได้ 40% ในปี 2025 https://positioningmag.com/1306981 Fri, 20 Nov 2020 07:30:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306981 ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ General Motors (GM) ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์ของสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นถึงการปรับกลยุทธ์มุ่งหารถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มสูบ

โดย GM ประกาศเเผนใหม่ว่า จะทุ่มเงินลงทุนกว่า 2.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8.2 แสนล้านบาท) เพื่อพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถยนต์ไร้คนขับ วางเป้าหมายจะบรรลุผลสำเร็จให้ได้ภายในปี 2025

หนึ่งในนั้นคือ GM ตั้งเป้าจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ เป็นสัดส่วนมากกว่า 40% เเละจะเร่งเปิดตัวรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ ให้ได้มากกว่า 30 โมเดลในตลาดทั่วโลกภายในปี 2025 นี้เช่นกัน

Mary Barra ซีอีโอของ GM กล่าวว่าปัญหาโลกร้อนเเละการเปลี่ยนเเปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง บริษัทต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการเเก้ปัญหานี้ โดยการมุ่งพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่มั่นคง ไปสู่การเปลี่ยนพอร์ตฯ รถยนต์ของ GM ให้เป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเต็มตัว

ซีอีโอ GM ยังระบุถึงความได้เปรียบในการพัฒนารถยนต์ EV ว่า บริษัทมีความสามารถในการเเข่งขันด้านเเบตเตอรี่ ซอฟต์เเวร์ การประยุกต์ใช้ฟังก์ชันต่างๆ ของรถยนต์ มีโรงงานการผลิต เเละความเข้าใจในประสบการณ์ของผู้ใช้ที่สั่งสมมายาวนาน

ก่อนหน้านี้ GM ประกาศว่าจะใช้งบประมาณกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งเงินทุนกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัท จะทุ่มให้กับโครงการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเเละรถยนต์ไร้คนขับ โดยได้จับมือกับพันธมิตรวงการยานยนต์อย่าง Honda ร่วมผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 2 รุ่นเพื่อทำตลาดในปี 2024 

ขณะเดียวกัน GM เริ่มมีการปรับโรงงานผลิตรถยนต์ใหม่ ให้เป็น  Factory Zero เพื่อมุ่งสร้างรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งจะเริ่มต้นที่รถกระบะรุ่น Hummer ที่คาดว่าจะใช้เวลาพัฒนาราว 1 ปี

โรงงาน Factory Zero ของ GM

GM ขยับมาร่วมมือกับธุรกิจค้าปลีกอย่าง Walmart ด้วยการนำรถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติไร้คนขับของ Cruise (บริษัทลูกของ GM) มาเป็นเครื่องมือเดลิเวอรี่ส่งสินค้าอุปโภคบริโภค จะเริ่มต้นทดลองในช่วงต้นปี 2021

สำหรับเรื่องเเบตเตอรี่ยังเป็นปัจจัยสำคัญในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า เพราะทำให้ EV  มีราคาสูงกว่ารถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ดังนั้นการเร่งพัฒนาเเบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพเเละราคาถูกลง จะช่วยพลิกรูปแบบการใช้รถใช้ถนนของคนทั่วโลก ให้ขยับไปใช้พลังงานสะอาดเร็วขึ้น

โดย GM เป็นอีกหนึ่งบริษัทใหญ่ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่รูปแบบใหม่ของตัวเอง ที่มีชื่อว่า The New Ultium Battery System ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการทดสอบ ซึ่งหากประสบความสำเร็จด้วยดี จะทำให้ต่อไป ราคารถยนต์ไฟฟ้ากับรถยนต์ใช้น้ำมันจากค่าย GM ใกล้เคียงกันมากขึ้น

ด้านดาวรุ่งเเห่งรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla ก็กำลังตามหาเเหล่งขุมทรัพย์ “เเบตเตอรี่” เช่นกัน โดยได้เจรจาลงทุนกับรัฐบาลอินโดนีเซีย ประเทศผู้ผลิต “แร่นิกเกิล” มากที่สุดในโลก เเละมีกระเเสข่าวว่าได้เจราจากับทางการไทยด้วย จากกลยุทธ์การขยายโรงงานในเอเชียเพิ่มเติมนอกจากที่ประเทศจีน

 

ที่มา : CNN , Autonews

]]> 1306981 ปิดฉาก “เชฟโรเลต” ขายโรงงาน-เลิกทำตลาดในไทยสิ้นปี 63 แต่ยังบริการหลังการขาย https://positioningmag.com/1264664 Mon, 17 Feb 2020 03:56:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264664 เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) จะยุติการจัดจำหน่ายรถยนต์ เชฟโรเลตในตลาดประเทศไทยภายในสิ้นปี 2563 แต่จะยังคงให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าเชฟโรเลต อาทิ การรับประกันคุณภาพรถยนต์ การซ่อมบำรุง และการบริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายของศูนย์บริการ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชฟโรเลตทั่วประเทศ

แอนดี้ ดันสแตน ประธานกรรมการตลาดเชิงกลยุทธ์ พันธมิตรและผู้แทนจำหน่าย จีเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล โอเปอเรชั่นส์ กล่าวว่า การถอนเชฟโรเลตออกจากตลาดรถยนต์ประเทศไทยนั้นเป็นการตัดสินใจของจีเอ็ม หลังจากที่มีการขายศูนย์การผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ของจีเอ็ม ประเทศไทย ในจังหวัดระยองให้แก่ เกรท วอล มอเตอร์ส

จีเอ็มทราบดีถึงผลกระทบที่จะมีต่อพนักงานและคู่ค้าของเราจากการตัดสินใจครั้งนี้ เราให้คำมั่นที่จะปฏิบัติต่อพนักงาน คู่ค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราด้วยความเคารพตลอดระยะเวลา การปรับเปลี่ยนนี้ จีเอ็มได้ประเมินทางเลือกหลายทางในการรักษาเชฟโรเลตไว้ในตลาดประเทศไทย แต่ความเป็นจริงก็คือ หากไม่มีฐานการผลิตในประเทศไทยแล้ว เชฟโรเลตก็ไม่อาจที่จะแข่งขันในตลาดรถยนต์ประเทศไทยได้เลย” 

Photo : Shutterstock

จีเอ็มได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์โดยละเอียดถึงแผนธุรกิจที่จะจัดสรรโครงการรถยนต์รุ่นใหม่ให้แก่ศูนย์การผลิตในจังหวัดระยอง แต่พบว่าจะมีอัตราการใช้กำลังการผลิตของศูนย์การผลิตแห่งนี้ได้อย่างไม่เต็มที่ ตลอดจนความต้องการสินค้าในตลาดประเทศไทยและตลาดส่งออกที่คาดการณ์ไว้นั้นจะมีจำนวนน้อย อีกทั้งยังมีปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายประการที่ไม่เอื้อต่อแผนธุรกิจนี้

การตัดสินใจในครั้งนี้ไม่ได้สะท้อนถึงศักยภาพและความสามารถของทีมงานในประเทศไทย รวมถึงผู้จัดจำหน่ายของเราแต่อย่างใด ผมต้องขอขอบคุณพวกเขาที่ทำงานและให้การสนับสนุนจีเอ็มรวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยมาโดยตลอด นอกจากนี้ ผมต้องขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของเรามาอย่างยาวนานในตลาดรถยนต์ที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูงมาก ในประเทศไทย

ทั้งนี้ จีเอ็ม และเกรท วอล มอเตอร์ส ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายศูนย์การผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ของจีเอ็ม ประเทศไทยในจังหวัดระยอง ทั้งสองบริษัทคาดว่าการซื้อขายและส่งมอบศูนย์การผลิตทั้งสองจะเสร็จสิ้นในปลายปี 2563

นายเฮกตอร์ บีจาเรียล ประธานกรรมการ จีเอ็ม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายเฮกตอร์ บีจาเรียล ประธานกรรมการ จีเอ็ม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับ เฮกตอร์ บีจาเรียล ประธานกรรมการ จีเอ็ม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า บริษัทให้คำมั่นสัญญาที่จะดูแลช่วยเหลือพนักงานและลูกค้า และจะปรับเปลี่ยนการดำเนินงานต่างๆ สำหรับลูกค้า พนักงาน ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์เชฟโรเลตและผู้จัดหาวัตถุดิบหรือบริการให้สำเร็จเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย

เราจะให้ความช่วยเหลือและมอบแพ็กเกจเงินชดเชยให้กับพนักงานที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดในจำนวนที่มากกว่ากฎหมายแรงงานไทยกำหนด ขณะที่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์เชฟโรเลตจะได้รับการเสนอโปรแกรมการช่วยเหลือพิเศษในการปรับเปลี่ยนธุรกิจอย่างเหมาะสมหลังจากที่ร่วมเป็นคู่ค้ากับเรามาอย่างยาวนาน รวมถึงโอกาสในการเปลี่ยนธุรกิจของตนให้เป็นศูนย์บริการที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชฟโรเลต

แต่ก็พบว่า เชฟโรเลต แคปติวา ใหม่ที่เพิ่งจะเปิดตัวเมื่อปลายปี ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

เราให้คำมั่นสัญญาว่าจะดูแลและให้บริการลูกค้าของเราต่อไป ท่านเจ้าของรถยนต์เชฟโรเลตมั่นใจได้ว่าเราจะยังคงปฏิบัติตามการรับประกันคุณภาพรถยนต์ทุกคันและให้บริการหลังการขายผ่านเครือข่ายของเราในประเทศไทย เชฟโรเลตจะร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายของเราอย่างใกล้ชิด โดยเราจะเสนอโอกาสในการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้แก่ผู้จัดจำหน่าย ให้เปลี่ยนเป็นศูนย์บริการที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชฟโรเลตนายเฮกตอร์ กล่าว

ลูกค้าเชฟโรเลตสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ โทร 1734

Source

]]>
1264664
ค่ายรถหน้าเขียว! GM ควง Ford โละพนักงาน-ปิดโรงงานอื้อซ่าปี 2019 https://positioningmag.com/1258518 Wed, 25 Dec 2019 19:25:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258518 สรุปความเคลื่อนไหวค่ายรถก่อนจบปี 2019 หลายค่ายรัดเข็มขัดจนหน้าเขียวหน้าแดงทั้ง GM, Ford และ Mercedes-Benz ที่ไม่เพียงประกาศเลิกจ้างพนักงานหลายพันตำแหน่ง แต่ยังพร้อมใจปรับโครงสร้างการดำเนินงานทั่วโลกเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายหลักพันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ โลกหวั่นใจปี 2020 อาจซ้ำรอยการล่มสลายของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกที่เคยเกิดเมื่อทศวรรษที่แล้ว ทั้งการชะลอตัวของยอดขายรถยนต์ และความหวั่นใจเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวที่กำลังตั้งเค้าเมฆครึ้มมาแต่ไกล

ปีแห่งการดื้นครั้งใหญ่

ปี 2019 ถือเป็นปีที่ค่ายรถลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเองหลายด้าน เช่น การลงทุนในเทคโนโลยีเกิดใหม่อย่างรถยนต์ขับเคลื่อนตัวเองอิสระแบบไร้คนขับ และรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งหมดถือเป็นความพยายามเพื่อรับมือกับตลาดในสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว

ยอดขายรถยนต์ที่ถูกมองว่าชะลอตัวนั้น แม้ประเทศไทยจะมียอดขายปี 61 เพิ่มขึ้น 19.2% เป็น 1,039,158 คัน แต่ในตลาดโลก ยอดขายรถยนต์กลับลดลงเหลือ 80.6 ล้านคัน จากที่ยอดขายรถใหม่ปี 60 เคยอยู่ที่ 81.8 ล้านคัน ปี 60 นั้นถือเป็นปีแรกในรอบ 10 ปีที่ยอดขายรถใหม่โลกหกตัว (นับจากปี 2009) สำหรับปี 62 คาดว่ายอดขายรถใหม่จะหดตัวอีก 4% เหลือแค่ 77.5 ล้านคัน

ยอดขายรถใหม่ในปี 2020 จึงถูกมองว่าจะลดลงเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ปัจจัยหลักของภาวะนี้คือความต้องการในตลาดจีนที่หดตัว ในปี 2020 มีแนวโน้มว่ายอดขายรถใหม่จะดิ่งลงมากกว่า 17 ล้านคัน เป็นตัวเลขประเมินการลดลงที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งล่าสุด

แน่นอนว่าค่ายรถผู้ผลิตรถยนต์ได้เรียนรู้บทเรียนจากการถดถอยครั้งที่แล้ว ซึ่งนำไปสู่การล้มละลายของ GM ตามติดมาด้วยคิวถัดไปอย่าง Chrysler ในปี 2009 หลายค่ายใหญ่จึงไม่อายที่จะปรับโครงสร้างการดำเนินงานเชิงรุกในปีนี้ ทำให้มีผลกำไรที่แข็งแกร่งบนยอดขายที่ชะลอตัว

Michelle Krebs นักวิเคราะห์บริหารของ Cox Automotive กล่าวว่า อุตสาหกรรมรถยนต์กำลังเตรียมพร้อมรับมือวิกฤติ และทุกฝ่ายจดจำได้ดีถึงความผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ทำผิดพลาดแบบเดียวกัน หลายบริษัทจึงพยายามลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ในภาวะที่ผลประกอบการยังสวยงาม ถือเป็นจุดที่แตกต่างจากภาวะช่วง 10 ปีที่แล้ว

ชิ้นพายในตลาดกำลังเล็กลง ค่ายรถจึงวางตัวเองให้พร้อมเพื่อรับมือกับทุกสถานการณ์ รวมถึงอนาคตใหม่ที่กำลังมาทุกคนอยู่ในเรือลำเดียวกันในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

ปิดโรงงานเกิน 10 แห่ง

ความเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดคือ GM และ Ford ที่ประกาศเลิกจ้างงานหลายพันตำแหน่ง ขณะเดียวกันก็ปิดหรือประกาศแผนการปิดโรงงานประมาณ 12 แห่งทั่วโลก ในจำนวนนี้ 4 แห่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา

Mary Barra CEO ของ GM เคยกล่าวเมื่อครั้งประกาศการปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ในเดือนพฤศจิกายน 2018 ว่า บริษัทกำลังดำเนินการเชิงรุกเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพธุรกิจหลักของ GM เพื่อป้องกันการชะลอตัวของบริษัท และสร้างมูลค่าให้ผู้ถือหุ้น การประกาศทำให้ GM ลดจำนวนพนักงานลง 14,000 คนในช่วงปีที่แล้วถึงปีนี้ และปิดโรงงาน 7 แห่งทั่วโลก ซึ่ง 5 แห่งตั้งในอเมริกาเหนือ เวลานั้นผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติดีทรอยต์คาดว่าโครงการนี้จะช่วยให้บริษัทลดต้นทุนได้สูงถึง 6 พันล้านดอลลาร์ต่อปี

Ford เดินหน้ารัดเข็มขัดในทางเดียวกัน ซึ่ง Jim Hackett ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Ford ย้ำว่าเพื่อให้ธุรกิจยังคงมีชีวิตชีวาอย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เริ่มเป็น CEO ให้ Ford ในปี 2560 หัวเรือใหญ่อย่าง Hackett ได้ใช้มาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายทั่วโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างมูลค่า 11,000 ล้านดอลลาร์ที่จะขยายผลถึงช่วงต้นปี 2563

ในเดือนมิถุนายน Ford ประกาศว่าจะลดพนักงานรายชั่วโมงลง 12,000 งานในสายการผลิตที่ยุโรปภายในสิ้นปี 2563 การประกาศนี้เกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนหลังจากที่ Ford ประกาศแผนลดพนักงานประจำประมาณ 7,000 ตำแหน่งทั่วโลก ซึ่ง 2,300 คนอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ปีนี้ Ford กล่าวว่าจะปิดโรงงานผลิตเครื่องยนต์ในรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา และเตรียมปิดตัวหรือขายโรงงาน 6 แห่งในยุโรป จากที่มี 24 แห่ง กลายเป็น Ford ที่ผู้บริหารมองว่าผอมกำลังดี และรักษาตัวในจุดยืนตำแหน่งที่ดีมาก

ยังไม่นับ Fiat Chrysler ที่เตรียมยุบรวมกับผู้ผลิตรถสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง PSA Group และ Daimler ต้นสังกัด Mercedes-Benz ที่วางแผนลดพนักงาน 10,000 รายทั่วโลกในช่วง 3 ปีนับจากนี้ ยังมีแบรนด์ลูกของ Volkswagen อย่าง Audi ที่เตรียมหั่นทิ้ง 9,500 ตำแหน่งงานหรือ 10.6% ของพนักงานรวมให้ได้ในปี 2025

มองที่ฝั่งญี่ปุ่น Nissan Motor ยังมีแผนปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี โดยประกาศเมื่อ .. 62 ที่ผ่านมาว่าจะเลิกจ้างพนักงานมากกว่า 12,500 รายทั่วโลกภายในมีนาคม 2023 การประกาศนี้ตามหลัง Honda Motor ที่มีแผนปิดโรงงานที่ประเทศอังกฤษ จนคาดว่าจะมีพนักงานถูกลอยแพ 3,500 ตำแหน่ง

ถ้าค่ายรถไม่หน้าเขียว ก็คงเป็นพนักงานที่จะหน้าเขียวแทน.

]]>
1258518