H&M – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Mar 2024 05:51:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ฝรั่งเศสเตรียมเข็นกฎหมายชุดใหม่ พุ่งเป้าแบรนด์ Fast Fashion ปรับเงินรายชิ้น ให้เหตุผลทำลายสิ่งแวดล้อม https://positioningmag.com/1465451 Thu, 07 Mar 2024 04:42:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465451 ฝรั่งเศสเตรียมเข็นกฎหมายชุดใหม่ พุ่งเป้าแบรนด์ Fast Fashion โดยชี้ถึงการกระตุ้นทำให้คนจับจ่ายใช้สอยมากเกินไป โดยไม่นำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ขณะที่บทลงโทษคือการปรับเงินสินค้ารายชิ้นละ 10 ยูโร และจะเพิ่มขึ้นเป็น 50% ของราคาสินค้าภายในปี 2030

สำนักข่าว Reuters และ Euronews รายงานข่าวว่า ฝรั่งเศสเตรียมที่จะเข็นกฎหมายชุดใหม่โดยพุ่งเป้าไปยังแบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion หลายแบรนด์ โดยชี้กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายมากเกินไป และยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งฝรั่งเศส มองว่าเหล่าแบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ในระดับหลายพันรายการต่อวัน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายมากเกินไปและยังก่อให้เกิดมลภาวะที่ไม่จำเป็น

ในร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ได้กล่าวถึง วิวัฒนาการของเครื่องแต่งกายไปสู่แฟชั่นแบบชั่วคราว ผสมกับจำนวนสินค้าที่เพิ่มขึ้นและราคาที่ถูกนั้นกำลังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคสิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างแรงกระตุ้นในการซื้อและทำพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวยังระบุถึง Shein แบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion ที่กำลังมีชื่อเสียงในเวลานี้ โดยชี้ว่าบริษัทจากจีนรายดังกล่าวได้นำเสนอเสื้อผ้ารุ่นใหม่มากกว่า 7,200 รุ่นต่อวัน และผลิตผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันมากกว่า 470,000 รายการให้กับผู้บริโภค

คริสตอฟ เบชู รัฐมนตรีกระทรวงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของฝรั่งเศส ได้กล่าวว่า เสื้อผ้าที่เป็น Fast Fashion ถือเป็นหายนะทางระบบนิเวศ โดยเขาชี้ว่าเสื้อผ้าเหล่านี้มีกระบวนการผลิตที่ไม่ดี มีการซื้อกันอย่างแพร่หลาย และถูกโยนทิ้งไปอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลจาก UNEP ชี้ว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าทั่วโลกมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 10% ซึ่งมากกว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจากการขนส่งทางอากาศและทางทะเลด้วยซ้ำ

สำหรับบทลงโทษดังกล่าวถ้าหากกฎหมายออกมา คาดว่าจะมีการปรับเงินเหล่าแบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion เป็นรายชิ้นขั้นต่ำที่ 10 ยูโรต่อชิ้นและอาจปรับเงินเป็นจำนวนมากถึง 50% ของราคาสินค้าภายในปี 2030

ที่มา – Reuters, Euronews

]]>
1465451
H&M แก้เกมหลังโดน Shein รุกหนัก ขายสินค้าจับกลุ่มตลาดบนเพิ่มขึ้น ไม่เน้นสินค้าราคาถูกอย่างเดียว https://positioningmag.com/1455999 Sun, 17 Dec 2023 16:46:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455999 H&M ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นจากจีนอย่าง Shein ไม่น้อย โดยล่าสุดแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นจากสวีเดนรายนี้ได้งัดกลยุทธ์ใหม่เพื่อที่จะทำให้อัตราการทำกำไรดีขึ้นั่นก็คือ “ขายเสื้อผ้าที่มีราคาแพงมากขึ้น” เพื่อเจาะลูกค้ากลุ่มกำลังซื้อสูง

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า H&M แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นจากสวีเดน เริ่มได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของ Shein ซึ่งเป็นแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นจากประเทศจีน โดยเน้นขายสินค้าเสื้อผ้าแบบราคาถูก ทำให้บริษัทต้องเปลี่ยนกลยุทธ์อื่นมาสู้แทน

H&M ได้นำกลยุทธ์ใหม่มาใช้คือการออกเสื้อผ้าในราคาแพงมากขึ้น เพื่อที่จะจับลูกค้ากลุ่มตลาดบนที่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ยังทำให้อัตราการทำกำไรของบริษัทนั้นมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นด้วย

คอลเลกชัน Rabanne ซึ่งเป็น 1 ในคอลเลกชันสินค้าราคาแพงของ H&M นั้นมีสินค้า เช่น เดรสตาข่ายเมทัลลิกที่ทำจากอะลูมิเนียม ราคา 749 ดอลลาร์สหรัฐ มินิเดรสปักเลื่อม ราคา 399 ดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงรองเท้าบูทคาวบอยสีเงิน ราคา 399 ดอลลาร์สหรัฐ

ซึ่งราคาสินค้าคอลเลกชันใหม่ดังกล่าวนั้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าปกตินั้นถือว่ามีราคาแพงอย่างมาก และ H&M กำลังเร่งนำคอลเลกชันใหม่ที่มีราคาสูงกว่าเดิมออกสู่ตลาดให้ไวที่สุด เพื่อที่จะแข่งขันกับ Zara ซึ่งเป็นคู่แข่งเดิมรวมถึง Shein ที่เป็นคู่แข่งรายใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

กลยุทธ์ของ Shein ที่กดดัน H&M คือการขายเสื้อผ้าหรือสินค้าแฟชั่นราคาถูก เช่น การขายเดรสของผู้หญิงในราคา 8 ดอลลาร์สหรัฐ เสื้อยืดในราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ หรือแม้แต่เครื่องประดับในราคา 2 ดอลลาร์สหรัฐ สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้อุตสาหกรรมเกิดความปั่นป่วนขึ้นมาทันที

การเข้ามาของ Shein นั้นไม่ได้สร้างแรงกดดันให้กับ H&M ซึ่งเป็นแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นเท่านั้น แต่ยังกดดันถึงผู้เล่น E-commerce รายใหญ่อย่าง Amazon ด้วยเช่นกัน เนื่องจากราคาสินค้าโดยเฉพาะประเภทเสื้อผ้านั้นมีราคาที่ถูกกว่า Amazon อย่างมาก

โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา Shein เองยังเป็นแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นอันดับ 2 ที่ครองใจวัยรุ่นชาวสหรัฐฯ เนื่องจากราคาสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศจีนที่มีราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับคู่แข่ง ส่งผลทำให้แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นไม่เว้นแม้แต่ H&M ต้องงัดกลยุทธ์อื่นมาใช้

อย่างไรก็ดีการใช้กลยุทธ์ขายสินค้าที่เน้นตลาดบนมากขึ้น  H&M เองก็ได้รับแรงกดดันจากลูกค้าไม่น้อย เนื่องจากแบรนด์คู่แข่งที่จับลูกค้าตลาดบนเน้นลูกค้าจับจ่ายใช้สอยราคาแพงนั้นมีอยู่หลายแบรนด์เช่นกัน

]]>
1455999
‘H&M’ เริ่มขาย “เสื้อผ้ามือสอง” บนแฟลกชิปสโตร์ในลอนดอน หลังจากเคยจำหน่ายเฉพาะบนออนไลน์ https://positioningmag.com/1444214 Wed, 13 Sep 2023 10:56:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444214 ย้อนไปช่วงเดือนพฤจิกายน 2022 แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นอันดับ 2 ของโลกอย่าง H&M ได้ทดลองขาย เสื้อผ้ามือสอง ในสหราชอาณาจักร ล่าสุด แบรนด์ก็ได้นำเสื้อผ้ามือสองมาขายในแฟลกชิปสโตร์ในลอนดอนเป็นครั้งแรก

เนื่องจากแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นต่อบริษัทฟาสต์แฟชั่นในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้หลายบริษัทเริ่มส่งเสริมการ นํากลับสินค้ามาใช้ใหม่และการรีไซเคิลเสื้อผ้า โดยแบรนด์ H&M (เอช แอนด์ เอ็ม) ก็เป็นหนึ่งในแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นที่เริ่มทดลองนำสินค้ามือสองมาขายแบบออนไลน์ โดยเริ่มใน สหราชอาณาจักร ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วเป็นที่แรก

ล่าสุด H&M ได้เตรียมนำ เสื้อผ้าและเครื่องประดับมือสอง มาขายที่ แฟลกชิปสโตร์ในลอนดอน โดยจะเริ่มวางขายตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคมนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้เปิดเผยถึงราคาและแหล่งที่มาของเสื้อผ้ามือสองที่จะนำมาจำหน่าย

โดยหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ H&M เนื่องจากสหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบใหม่เพื่อปราบปรามขยะจากสิ่งทอ โดยอียูเสนอให้ประเทศสมาชิกจะต้องแยกขยะสิ่งทอออกจากขยะประเภทอื่น ๆ ภายในเดือนมกราคม 2025 นอกจากนี้ ยังเสนอกฎให้บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้า จ่ายเงินช่วยรับภาระค่าใช้จ่ายสำหรับงานเกี่ยวกับ การคัดแยกเสื้อผ้าใช้เเล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการเอาวัตถุดิบไปรีไซเคิล

แม้ว่าเรื่องกฎระเบียบจะหนึ่งในปัจจัยที่บีบให้แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นต้องหันมาขายเสื้อผ้ามือสอง แต่อีกปัจจัยก็คือ ตลาดเสื้อผ้ามือสองที่ใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ thredUP, Vinte,  Depopmultiplying และแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นหลายแบรนด์ก็เริ่มหันมาขาย เสื้อผ้ามือสองของตัวเอง เช่น Zara ได้เปิดตัวบริการมือสองออนไลน์ในฝรั่งเศส

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ ThredUP เว็บไซต์ซื้อขายเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นมือสองได้คาดการณ์ว่า ตลาดเสื้อผ้ามือสองทั่วโลกจะเติบโตขึ้น +127% ภายในปี 2026 โดยคาดว่ามูลค่าตลาดจะอยู่ที่ราว 2.18 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 7.63 ล้านล้านบาท ถือว่าโตเร็วกว่าตลาดเสื้อผ้าโดยรวมเฉลี่ยเป็น 3 เท่า

Source

]]>
1444214
H&M เตรียมยุติการจ้างโรงงานที่พม่าผลิตสินค้าให้ หลังมีกรณีการละเมิดสิทธิแรงงานเพิ่มมากขึ้น https://positioningmag.com/1441575 Fri, 18 Aug 2023 08:37:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441575 H&M แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังอีกราย เตรียมยุติการจ้างโรงงานที่พม่าผลิตสินค้าให้ หลังมีการละเมิดสิทธิแรงงานเพิ่มมากขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมาตรการดังกล่าวของบริษัท ตามหลังแบรนด์เสื้อผ้ารายอื่น ที่ใช้พม่าเป็นฐานการผลิต

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า H&M แบรนด์ Fast Fashion รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกประกาศว่าเตรียมยุติในการจ้างโรงงานในประเทศพม่าผลิตสินค้าให้กับบริษัท หลังจากที่มีการรายงานถึงการละเมิดสิทธิแรงงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในประเทศเพิ่มขึ้น

ประเด็นสำคัญที่ทำให้แบรนด์ Fast Fashion ต้องยุติการจ้างผลิตสินค้าในพม่า เนื่องจากกลุ่มรณรงค์สิทธิมนุษยชนในอังกฤษได้ติดตามกรณีซึ่งกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิคนงานในในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าของพม่ามาตั้งแต่เดือนก.พ. ปี 2022 ถึงปี 2023 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 156 กรณี

จำนวนของกรณีการละเมิดสิทธิแรงงานเพิ่มมากขึ้น 56 กรณีในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานั้นบ่งชี้ถึงการเสื่อมถอยของสิทธิแรงงานพม่านับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในปี 2021 เป็นต้นมา โดยกรณีที่ถูกรายงานมากที่สุดคือการลดค่าจ้างรวมถึงการโกงค่าจ้าง ขณะที่กรณีอื่นๆ รองลงมา ไม่ว่าจะเป็น การเลิกจ้างงานจ้างอย่างไม่เป็นธรรม สภาพการทำงานที่ไร้มนุษยธรรม และการบังคับทำงานล่วงเวลา

แถลงการณ์ของบริษัทได้กล่าวว่า “หลังจากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว บริษัทได้ตัดสินใจที่จะค่อยๆ ยุติการดำเนินงานในพม่า” โดย H&M เป็นแบรนด์ล่าสุดที่เตรียมยุติการใช้โรงงานในพม่าผลิตสินค้าให้ ตามหลังแบรนด์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Zara หรือแม้แต่ Marks & Spencer เป็นต้น

อย่างไรก็ดีการประกาศของ H&M ที่ออกมานั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับการเผยแพร่รายงาน แต่เป็นผลจากการประเมินสถานการณ์ของตนเอง

โดยผู้ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ต่างๆ มักจะใช้แรงงานจากประเทศที่มีค่าแรงต่ำ เพื่อที่จะสามารถผลิตสินค้าที่มีราคาถูกออกมาได้ และประเทศพม่าถือเป็นฐานการผลิตเสื้อผ้าที่ได้รับความนิยม ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในละแวกนี้เป็นฐานการผลิตเสื้อผ้าที่สำคัญคือ บังกลาเทศ หรือแม้แต่ กัมพูชา

ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทต่างชาติได้ทยอยถอนการลงทุนในประเทศพม่าหลังจากการรัฐประหารในปี 2021 เป็นต้นมา เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากทั้งข้อระเบียบต่างๆ ข้อระเบียบด้าน ESG ไปจนถึงแรงกดดันจากนักลงทุน หรือแม้แต่แรงกดดันจากสถาบันการเงินต่างๆ เอง

ที่มา – Reuters [1], [2]

]]>
1441575
‘H&M’ เตรียมปลดพนักงาน 1,500 รายทั่วโลก หวังลดต้นทุน 6.6 พันล้านบาท/ปี https://positioningmag.com/1410688 Thu, 01 Dec 2022 04:26:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410688 H&M แบรนด์แฟชั่นต้นเบอร์ 2 ของโลกกำลังเจอกับปัญหายอดขายที่ลดลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้บริโภครัดเข็มขัด รวมถึงการแข่งขันจากคู่แข่งหน้าใหม่ ทำให้บริษัทมีแผนที่จะปรับโครงสร้างใหม่เพื่อลดต้นทุนลง โดยเตรียมที่จะลดพนักงานทั่วโลกประมาณ 1,500 ราย

บริษัทฟาสต์แฟชั่นสัญชาติสวีเดน วางแผนที่จะลดจำนวนพนักงานทั่วโลกลง 1,500 ราย จากปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมดราว 155,000 ราย เนื่องจากวิกฤตเงินเฟ้อและต้นทุนที่สูงขึ้น โดยคาดว่าการลดจำนวนพนักงานในครั้งนี้จะช่วยให้บริษัทลดต้นทุนได้ปีละ 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6,650 ล้านบาท

“เมื่อผู้บริโภคใช้จ่ายไปกับค่าครองชีพ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ และน้ำมัน พวกเขาก็จะใช้จ่ายน้อยลง ดังนั้นสิ่งที่ชัดเจนคือ เขาต้องความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายเพิ่มขึ้น เรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่และอุตสาหกรรมการค้าปลีกทั้งหมดกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย” Nils Vinge หัวหน้าฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของ H&M กล่าว

ย้อนไปในช่วงเดือนกันยายน H&M มียอดขายรายไตรมาสที่ต่ำกว่าที่คาดไว้มาก เนื่องจากผู้บริโภครัดเข็มขัดจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้ H&M ได้ประกาศว่ามีแผนจะ ขึ้นราคาสินค้า เพื่อชดเชยต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ H&M ต้องเจอกับการแข่งขันทั้งที่ใหญ่กว่าอย่าง Zara และจากผู้เล่นรายใหม่ที่ทำราคาได้ดีกว่า อย่าง Primark แบรนด์แฟชั่นของอังกฤษที่เพิ่งได้ประกาศแผนการเพิ่มงาน 1,800 ตำแหน่ง ในสเปนและอังกฤษเพื่อขยายกิจการ

สำหรับ H&M ก่อตั้งขึ้นในสวีเดนในปี 2490 นอกจากร้านค้าปลีกเสื้อผ้าแล้ว กลุ่มนี้ยังรวมถึงแบรนด์ต่าง ๆ เช่น COS, Monki, Weekday, Cheap Monday, & Other Stories, H&M Home, ARKET และ Afound มีร้านค้าประมาณ 4,664 แห่งใน 77 ตลาดและมีตลาดออนไลน์ 57 แห่ง

Source

]]>
1410688
จีนแบน H&M! ถอดสินค้าออกจาก 3 แอปฯ ออนไลน์ ประเด็นการใช้ “ฝ้ายซินเจียง” https://positioningmag.com/1324996 Thu, 25 Mar 2021 10:17:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324996 การเมืองโลกโยงเศรษฐกิจการค้า! “ฝ้ายซินเจียง” เป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง เมื่อค่ายตะวันตกโจมตีจีนจากประเด็นนี้ ทำให้ฝั่งจีนใช้พลังอำนาจซื้อของประชาชนโจมตี โหมกระแสแบนแบรนด์ตะวันตกที่เคยกล่าวโจมตีฝ้ายซินเจียง โดยมี H&M เป็นเป้าหมายแรก ถูกแบนออกจากแอปฯ ขายของออนไลน์ 3 แห่ง และตำแหน่งร้านค้าถึงกับถูกลบออกจากแอปฯ แผนที่!

ฝ้ายซินเจียงกลับมาเป็นประเด็นร้อนบนเวทีโลกอีกครั้ง เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 64 สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป (EU), สหราชอาณาจักร และแคนาดา ร่วมกัน “คว่ำบาตร” เจ้าหน้าที่รัฐของจีนจำนวนหนึ่ง โดยสั่งห้ามเข้าประเทศและยึดทรัพย์

สาเหตุการแบน เกิดจากประเด็นที่พวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเขตปกครองตนเองซินเจียงทั้งนี้ ประเทศตะวันตกมีการรายงานเสมอเรื่องแคมป์กักกันชาวมุสลิมอุยกูร์ในซินเจียง และใช้แรงงานทาสคนอุยกูร์ในไร่ฝ้าย

ต่อมารัฐบาลจีนออกมาตอบโต้ประเด็นนี้ทันทีโดยปฏิเสธเช่นเคยว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียง ขณะที่ CGTN สื่อของรัฐบาลจีนมีการเผยแพร่วิดีโอคลิปใน Weibo โซเชียลมีเดียยอดฮิตของจีน แสดงภาพการใช้ระบบออโตเมชันเก็บฝ้ายในซินเจียง และเกษตรกรชาวอุยกูร์คนหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า คนอุยกูร์ต้องต่อสู้ชิงตำแหน่งงานในไร่ฝ้ายเพราะว่าได้รายได้สูง

กระแสรณรงค์จึงถูกจุดขึ้นทั่วโลกออนไลน์ของจีน โดยแฮชแท็กที่แปลว่า “ฉันสนับสนุนฝ้ายซินเจียง” ถูกพูดถึงบน Weibo มากกว่า 1.8 พันล้านครั้ง

H&M สาขาปักกิ่ง (Photo : Shutterstock)

เรื่องนี้ไปเกี่ยวพันกับ H&M เพราะปีที่แล้ว H&M เคยออกแถลงการณ์ว่า แบรนด์มีความ “กังวล” เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิชาวอุยกูร์ และยืนยันว่าแบรนด์ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่ผลิตจากซินเจียง เมื่อชาวเน็ตพบข้อมูลดังกล่าว กระแสบอยคอต H&M จึงแพร่สะพัดทันที

กระแสที่รุนแรงนี้ทำให้ H&M เป็นแบรนด์แรกที่ถูกถอดรายการสินค้าทั้งหมดออกจากแอปฯ ขายของออนไลน์ดัง 3 แห่ง ได้แก่ JD.com, Taobao (เถาเป่า) และ Pinduoduo (พินตัวตัว) ตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. 64 ผู้ใช้จะค้นหาสินค้าไม่เจออีกต่อไป แม้แต่แอปฯ แผนที่ของจีน เช่น Baidu (ไป่ตู้) ก็ถึงกับลบข้อมูลร้าน H&M ออกจากแผนที่ไปเลย หรือแอปฯ เรียกรถอย่าง Didi ก็ลบร้าน H&M ออกจากสารบบ ผู้ใช้จะไม่สามารถปักหมุดเรียกรถไปกลับจาก H&M สาขาใดๆ ได้

ไม่ใช่แค่ H&M อีกหลายแบรนด์ต่างประเทศกำลังเป็นเป้าหมายถัดไป เพราะเคยออกแถลงการณ์ไม่ใช้ฝ้ายซินเจียง เช่น Nike, Uniqlo, Adidas และแบรนด์ที่เริ่มมีชื่อตกเป็นเป้าบ้างแล้ว เช่น New Balance, Burberry

กระแสนี้เป็นเรื่องใหญ่มากในจีน เพราะแม้แต่ดาราเซเลบจีนหลายคน เช่น หวังอี้ป๋อ, หวงเซวียน, วิคตอเรีย ซ่ง ยังร่วมรณรงค์กับประชาชน โดยประกาศตัดสัมพันธ์ ยกเลิกสัญญากับแบรนด์ที่เป็นเป้าบอยคอต โดยให้เหตุผลว่า “ประโยชน์ของชาติอยู่เหนือทุกอย่าง”

ในทางกลับกัน กระแสบอยคอตแบรนด์ต่างชาติกลายเป็นอานิสงส์เชิงบวกให้กับแบรนด์จีน หลายแบรนด์พลิกกลับมาแรงตามความรู้สึก “ชาตินิยม” ที่เกิดขึ้น เช่น Li Ning (หลี่หนิง) แบรนด์เสื้อผ้ากีฬาชื่อดัง จนหุ้นของบริษัทพุ่งขึ้น 8.31% วันนี้

Source: BBC, SCMP, Yahoo Finance

]]>
1324996
“เลิกซื้อ ‘เสื้อผ้า’ ขูดรีดแรงงาน-ทำลายสิ่งแวดล้อม” ทัศนคติของผู้บริโภครุ่นใหม่ที่แบรนด์ต้องฟัง https://positioningmag.com/1319145 Fri, 12 Feb 2021 11:37:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319145 “แฟชั่น” หรือ “เสื้อผ้า” ดูเผินๆ เหมือนไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวโยงกับสิ่งแวดล้อมมาก หากเทียบกับพลาสติก และดูจะไม่ใช่สินค้าหนักที่ต้องขูดรีดแรงงาน แต่ความเป็นจริงนั้นตรงกันข้าม เสื้อผ้าแฟชั่นคือหนึ่งในผู้ร้ายที่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และขูดรีดแรงงานในหลายขั้นตอนการผลิต ความจริงเหล่านี้เมื่อออกสู่สายตาผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อเริ่มรับผิดชอบสังคมด้วยตนเอง นั่นคือเลิกซื้อแบรนด์ที่ไม่สนับสนุนการดูแลแรงงานและสิ่งแวดล้อม

ย้อนกลับไปเมื่อเช้าวันที่ 24 เมษายน 2013 ตึกรานา พลาซา ใกล้กรุงดากา ประเทศบังกลาเทศ เกิดถล่มลงมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,134 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 2,500 คน ตึก 8 ชั้นแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงงานเย็บผ้าหลายบริษัท และคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็คือคนงานเย็บผ้า

ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ โครงสร้างตึกเริ่มมีอาการร้าวตั้งแต่วันก่อนหน้า ทำให้บริษัทอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรงงานเย็บผ้าประกาศปิดชั่วคราว แต่คนงานเย็บผ้ากลับถูกสั่งให้กลับมาทำงานอีกในวันรุ่งขึ้น และกลายเป็นโศกนาฏกรรมกลางเมืองหลวง

โศกนาฏกรรมตึกรานา พลาซา บังกลาเทศ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2013 (Photo : Shutterstock)

โศกนาฏกรรมนี้ทำให้ความจริงเบื้องหลังอุตสาหกรรมแฟชั่นถูกเปิดโปง เพราะในบรรดากองเสื้อผ้าภายใต้ซากตึกถล่มคือเสื้อผ้าแบรนด์ดังระดับโลก เช่น Prada, Gucci, Versace, Mango ฯลฯ โดยที่เจ้าของแบรนด์ส่วนมากไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเสื้อผ้าของตนถูกผลิตขึ้นที่นั่น จนต้องใช้เวลาสืบสาวกันหลายสัปดาห์กว่าจะรู้ว่าสัญญากับซัพพลายเออร์รายใดที่ไปผูกโยงกับโรงงานในตึกรานา พลาซา

 

“แฟชั่น” ขูดรีดแรงงาน-ทำลายสิ่งแวดล้อม

จุดปริแตกที่รานา พลาซา ทำให้ผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงการขูดรีดแรงงาน เพราะแหล่งผลิตเสื้อผ้าส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น บังกลาเทศ อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา รวมถึงประเทศไทยด้วย และคนงานเหล่านี้มักจะได้รับรายได้ต่ำแต่ทำงานหนัก เพื่อแข่งขันทำต้นทุนให้ถูกที่สุด มิต้องพูดถึงความปลอดภัยในชีวิตและที่ทำงานซึ่งอยู่ในระดับต่ำจนเกิดเหตุตึกถล่มขึ้น

ไม่เฉพาะโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า แต่ย้อนกลับไปถึงวัตถุดิบทำเส้นใยผ้าอย่าง “ไร่ฝ้าย” ชาวไร่ฝ้ายในอินเดียก็ได้รับรายได้ต่ำเช่นกัน รวมถึงไร่ฝ้ายในเขตซินเจียง ประเทศจีน มีรายงานว่าจีนมีการใช้แรงงานทาสชาวอุยกูร์ในไร่ฝ้ายและโรงงานผลิตเส้นใยฝ้าย แต่ทางการจีนปฏิเสธเรื่องนี้เสมอมา (อ่านเพิ่มเติม : สหรัฐฯ เตรียมแบนสินค้าที่ใช้ “ฝ้าย” จากซินเจียง โจมตีจีนละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์)

ไร่ฝ้ายในมณฑลซินเจียง กำลังไถพรวนดินเพื่อรอหว่านเมล็ด ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563 (Photo by VCG via Getty Images)

ในด้านสิ่งแวดล้อม การผลิตผ้าคืออุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำล้างสีย้อมผ้าปริมาณมหาศาล และน้ำที่ชะล้างสีทำให้มีสารเคมีปนเปื้อน อุตสาหกรรมผ้าจึงเป็นตัวการสร้าง “น้ำเสีย” ถึง 20% ของโลก และถ้าย้อนกลับไปถึงไร่ฝ้าย ฝ้ายเป็นพืชที่มักจะใช้สารกำจัดศัตรูพืชสูง โดยคิดเป็น 10-20% ของสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ทั้งโลก (ข้อมูลจากธนาคารโลก)

ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนตระหนักถึงความรับผิดชอบของแบรนด์แฟชั่น แม้ว่าแบรนด์หนึ่งๆ จะมีซัพพลายเออร์ที่ทำงานด้วยนับร้อยๆ ราย หรือบางบริษัทอาจมีนับพันๆ ราย แต่ผู้บริโภคก็ต้องการให้แบรนด์ตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกรายว่ามีการผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคมในทุกๆ ด้าน รวมถึงเริ่มมองเห็นความรับผิดชอบของตัวเอง และอำนาจของผู้ซื้อที่จะบีบให้แบรนด์ต้องสร้างความยั่งยืนขึ้น

 

ผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ

กระแสการตระหนักถึงปัญหาของอุตสาหกรรมแฟชั่น ทำให้ผู้บริโภคมองการแก้ปัญหาเป็นสองทาง ทั้งตัวแบรนด์ที่ควรจะดูแลซัพพลายเชนดังกล่าว และตัวผู้บริโภคเองที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าด้วย

ย้อนไปก่อนหน้านี้ ตลาดแฟชั่นกำลังฮิตแบรนด์สินค้าแบบ “ฟาสต์แฟชั่น” นั่นคือเสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูก คุณภาพต่ำ เปลี่ยนเทรนด์เร็ว เติมสินค้าแบบใหม่กันแทบจะสัปดาห์ต่อสัปดาห์ ด้วยราคาที่ถูกและการสร้างค่านิยมเปลี่ยนเสื้อผ้าตามแฟชั่นให้ทัน ทำให้ผู้บริโภคสบายใจที่จะใส่เสื้อผ้าแค่ 1-2 ครั้งแล้วโยนทิ้ง ซื้อใหม่ กลายเป็นการสร้างขยะเสื้อผ้ากองโต และกระตุ้นให้แบรนด์ผลิตเสื้อผ้ามากขึ้นเรื่อยๆ

เสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูก คุณภาพต่ำ เปลี่ยนเทรนด์เร็ว ด้วยราคาที่ถูกและการสร้างค่านิยมเปลี่ยนเสื้อผ้าตามแฟชั่นให้ทัน ทำให้ผู้บริโภคสบายใจที่จะใส่เสื้อผ้าแค่ 1-2 ครั้งแล้วโยนทิ้ง ซื้อใหม่ กลายเป็นการสร้างขยะเสื้อผ้ากองโต

มีการสำรวจของ Greenpeace เมื่อปี 2015 ที่ประเทศเยอรมนี สอบถามคนเยอรมันวัย 18-69 ปี ให้จัดแบ่งเสื้อผ้าในตู้ของตนเองว่าได้ใส่บ่อยแค่ไหน ค่าเฉลี่ยสัดส่วนเสื้อผ้ามีดังนี้ 36% ถูกสวมใส่เป็นประจำ 25% ถูกสวมใส่อยู่เรื่อยๆ 20% นานๆ หยิบใส่สักครั้ง และน่าตกใจที่มี 19% ของเสื้อผ้าในตู้ที่เจ้าของไม่เคยสวมใส่เลย ทั้งนี้ รายงานนี้ยังระบุด้วยว่าประเภทเสื้อผ้าที่ถูกใส่น้อยที่สุดคือ “ชุดงานปาร์ตี้” มีการใส่เฉลี่ยแค่ 1.7 ครั้ง

เมื่อเป็นดังนี้ ผู้บริโภคเริ่มเข้าใจแล้วว่า “ฟาสต์แฟชั่น” และวิธีบริโภคของตนเองคือสิ่งกระตุ้นให้เกิดการผลิตในราคาถูก ต้นตอการกดขี่แรงงาน ดังนั้น จึงเกิดกระแสลด ละ เลิกการใส่เสื้อผ้าแบบใช้ไม่กี่ครั้งก็โยนทิ้ง สนับสนุนแบรนด์ที่มีนโยบายความยั่งยืน รวมถึงนิยมเสื้อผ้ามือสองมากขึ้น

 

กระแสจุดติด รณรงค์เลิก “ฟาสต์แฟชั่น”

เทรนด์เลิกซื้อเสื้อผ้าบ่อยๆ และการมองหาแบรนด์ที่สร้างความโปร่งใสด้านแรงงาน-สิ่งแวดล้อม เริ่มเห็นได้ชัดช่วง 3-4 ปีก่อนนี้เอง ยิ่งเกิดโรคระบาด COVID-19 ขึ้น ยิ่งทำให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะฝั่งตะวันตกคำนึงถึงผลการกระทำของตนเองที่มีต่อโลก จากการสำรวจของ McKinsey สอบถามผู้บริโภค 2,000 คนในสหราชอาณาจักรและเยอรมนี เมื่อเดือนเมษายน 2020 คำถามบางส่วนเจาะลึกไปที่ธุรกิจแฟชั่นและเศรษฐกิจหมุนเวียน

McKinsey พบว่า ผู้บริโภคมีปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกเมื่อเลือกซื้อเสื้อผ้า คือ สไตล์ที่ชอบ สวมใส่สบาย และคุณภาพวัสดุ

McKinsey พบว่า ผู้บริโภคมี ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกเมื่อเลือกซื้อเสื้อผ้า คือ สไตล์ที่ชอบ สวมใส่สบาย และ คุณภาพวัสดุ

ส่วนเรื่อง “ความใหม่ เทรนด์ออกใหม่” กลายเป็นปัจจัยสุดท้ายที่คนให้ความสำคัญ รวมถึงเรื่อง “แบรนด์ที่มั่นใจ” ก็เป็นปัจจัยท้ายๆ เหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคพร้อมจะซื้อแบรนด์ใหม่ๆ มากขึ้น

นอกจากนี้ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่า ตัวเองตั้งใจจะเก็บเสื้อผ้าไว้ใช้งานให้นานกว่าเดิม และ 57% ตอบว่าตัวเองตั้งใจจะซ่อมแซมเสื้อผ้าเพื่อให้เสื้อผ้าชิ้นนั้นใช้ได้นานขึ้น

แบบสอบถามยังพบว่า 48% ของคนเจนวาย (อายุ 24-39 ปี) และคนเจนซี (อายุ 18-23 ปี) มีแนวโน้มที่จะซื้อเสื้อผ้ามือสอง หลังจากเกิด COVID-19 ส่วนเจนที่อายุมากกว่านี้จะมีแนวโน้มซื้อเสื้อผ้ามือสองน้อยกว่า

 

แบรนด์ยักษ์ขยับตามผู้บริโภค

เห็นได้ชัดว่ากระแสการตระหนักถึงความรับผิดชอบในการบริโภคแฟชั่นจุดติดแล้วในสังคมตะวันตก ส่วนผู้บริโภคไทยอาจจะยังเป็นนิชมาร์เก็ต แต่ก็มีการพูดถึงบนอินเทอร์เน็ต และมีบางแบรนด์ที่หยิบขึ้นมาเป็นจุดขาย เช่น Pomelo ที่ทำคอลเลกชัน Purpose ซึ่งผลิตเสื้อผ้าจากสีย้อมผ้าธรรมชาติ ไม่ทิ้งสารเคมี

ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุเครื่องจักรรีไซเคิลผ้าของ H&M

ความตระหนักรู้ได้กดดันให้แบรนด์ระดับโลกต้องยอมขยับทำอะไรสักอย่าง ยกตัวอย่างเช่น H&M เริ่มมีจุดรับคืนเสื้อผ้าเพื่อนำไปรีไซเคิลและนำเส้นใยนั้นมาผลิตใหม่ในคอลเลกชัน H&M CONSCIOUS หรือ Uniqlo เริ่มมีการรับเสื้อผ้าไปรีไซเคิลเช่นกัน รวมถึงมีเทคโนโลยีลดการใช้น้ำระหว่างผลิตผ้ายีนส์ด้วย (อ่านเพิ่มเติม : Uniqlo ทำอะไรไปแล้วบ้างเพื่อ “ความยั่งยืน” และอะไรที่ยังเป็นประเด็นอนาคต)

จากข้อมูลของ Fashion Revolution กลุ่มรณรงค์ให้แบรนด์แฟชั่นมีนโยบายที่โปร่งใสด้านแรงงาน-สิ่งแวดล้อมมีการจัดอันดับ Fashion Transparency Index 2020 โดยตรวจสอบนโยบายความยั่งยืนของแบรนด์ด้วยดัชนีชี้วัด 250 รายการ ตรวจสอบไปกว่า 250 แบรนด์ทั่วโลก รวมทั้งฟาสต์แฟชั่น ลักชัวรี และแบรนด์ที่ขายออนไลน์เท่านั้น โดยต้องเป็นแบรนด์ที่มียอดขายมากกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

แบรนด์ที่ได้คะแนนมากกว่า 50% จากการจัดอันดับความโปร่งใสของ Fashion Revolution Index 2020

องค์กรนี้พบว่า ค่าเฉลี่ยความโปร่งใสด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อมของโลกแฟชั่นอยู่ที่ 23% เท่านั้น แต่ดีขึ้นจากปี 2019 ที่มีค่าเฉลี่ยเพียง 21% โดยมุมบวกของปีที่ผ่านมาคือมีแบรนด์ที่ใส่ใจการจัดทำนโยบายมากขึ้น ส่วนมุมลบคือในแง่ความโปร่งใสด้านแรงงาน มีแบรนด์ไม่มากที่กล้าเปิดรายชื่อผู้ผลิตทั้งหมดในซัพพลายเชน และมีแค่ 5 แบรนด์เท่านั้นที่ประกาศไทม์ไลน์ชัดเจนในการส่งเสริมให้แรงงานในสายการผลิตทั้งหมดได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม

สำหรับแบรนด์ที่ทำคะแนนมากกว่า 60% มีเพียง 6 แบรนด์ ได้แก่ H&M (72.8%), C&A (69.8%), Adidas (69.4%), Reebok (69.4%), Esprit (64.2%) และ Patagonia (60.4%)

ส่วนแบรนด์กลุ่มฟาสต์แฟชั่นยักษ์ใหญ่ได้คะแนนความโปร่งใสในระดับรองลงมา เช่น ASOS (54.8%), Gap (50%), Zara (44.2%), Uniqlo (39.6%), Topshop (38.2%) และ Mango (21.6%)

กระเป๋า Gucci Dionysus (Photo : Christian Vierig/Getty Images)

แบรนด์ลักชัวรีเองก็เข้าร่วมในเส้นทางสู่ความยั่งยืนด้วยเช่นกัน โดยในรายงานนี้ แบรนด์ลักชัวรีที่ได้คะแนนมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ Gucci (48.4%), Balenciaga (46.8%), Saint Laurent (46.8%), Bottega Veneta (46.4%) และ Burberry (36%)

กระแสผู้บริโภคมีพลังมากเมื่อร่วมมือกัน ทำให้แบรนด์ใหญ่ก็ต้องฟังความต้องการและปรับตัวตาม แต่จุดที่ต้องระวังจากนี้คือ นโยบายของแบรนด์เป็นสิ่งที่ ‘ทำจริง’ หรือเป็นเพียงแค่ข้อความการตลาด (greenwashing) เท่านั้น

Source: Fashion Revolution, McKinsey, EcoWatch

]]>
1319145
Gap ปรับกลยุทธ์ค้าปลีกแฟชั่น หลัง COVID-19 ปิดสาขาในยุโรปเเละ UK ลุยทำตลาด “แฟรนไชส์” https://positioningmag.com/1303005 Mon, 26 Oct 2020 07:55:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303005 หลังวิกฤต COVID-19 วงการค้าปลีกเเฟชั่นต้องปรับตัวขนานใหญ่ ล่าสุดเเบรนด์ดังจากอเมริกาอย่าง “Gap” ตัดสินใจปิดสาขาที่บริหารเองทั้งหมดในสหราชอาณาจักรเเละบางส่วนในยุโรป ทำให้พนักงานหลายพันตำเเหน่งเสี่ยงตกงาน พร้อมปรับทิศทางหันไปมุ่งทำตลาดเเบบแฟรนไชส์แทน

โดยคาดว่าสาขาของ Gap ในสหราชอาณาจักร ไอร์เเลนด์เเละอิตาลี จะปิดตัวลงในช่วงฤดูร้อนปี 2021 พร้อมกับการปิดศูนย์กระจายสินค้าในอังกฤษด้วย

ต่อไปบริษัทจะเปลี่ยนไปเน้นทำตลาดในยุโรปให้เป็นลักษณะ “พาร์ตเนอร์ชิป” ในรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งสาขาหน้าร้านเเละอีคอมเมิร์ซ ซึ่งปัจจุบัน Gap มีสาขาที่บริหารเองกลุ่มยุโรปทั้งหมด 129 สาขา และมีหน้าร้านที่อยู่ในรูปแบบแฟรนไชส์ราว 400 สาขา

ธุรกิจค้าปลีกเสื้อผ้าเเฟชั่น ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤต COVID-19 หลังต้องปิดสาขาชั่วคราวในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ ขณะเดียวกัน พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปทั้งการเดินทางมาช้อปปิ้งน้อยลงเเละหันไปช้อปปิ้งออนไลน์อย่างรวดเร็ว ซึ่งคู่เเข่งรายสำคัญของ Gap อย่าง Asos และ Boohoo ก็เข้ามาเเย่งฐานลูกค้าเเละรุกทำตลาดออนไลน์ได้ประสบความสำเร็จมากกว่า

โดยก่อนที่จะเกิดโรคระบาด สถานการณ์ของ Gap ก็อยู่ในช่วงที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคหลายอย่าง หลังต้องเสียฐานลูกค้าคนรุ่นใหม่ ให้กับเเบรนด์ฟาสต์เเฟชั่นที่ราคาถูกกว่าอย่าง Zara, H&M และ Forever 21 ซึ่งเเบรนด์เหล่านี้ก็กำลังปรับทิศทางการขายมาเน้นออนไลน์ เเละปิดสาขาเพื่อลดต้นทุนมากขึ้นเช่นกัน

เมื่อต้นปีนี้ Gap เปิดเผยว่า มีแผนที่จะปิดสาขาที่ไม่ทำกำไรกว่า 225 แห่งทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างบริษัท โดยวิกฤต COVID-19 ทำให้ Gap ต้องขาดทุนกว่า 740 ล้านปอนด์ในช่วง 3 ไตรมาสที่สิ้นสุดเดือนพ.. จึงเป็นปัจจัยที่เร่งให้เเผนการปรับลดต้นทุนเเละปรับมาทำธุรกิจแบบแฟรนไชส์เร็วขึ้นกว่าเดิม

เหล่านักช้อปเริ่มกลับมาซื้อสินค้าแฟชั่นอีกครั้งหลังร้านต่างๆ กลับมาเปิดอีกครั้ง โดย JP Morgan ระบุว่ายอดขายเสื้อผ้าแฟชั่นในยุโรปลดลงราว 15% ในเดือนก.ฟื้นตัวขึ้นจากเดือนพ.ที่ลดลงถึง 42% ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็มีการเลือกซื้อเสื้อผ้าที่เปลี่ยนไปเช่นกัน เช่นมีการสั่งซื้อเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายและไม่เป็นทางการมากขึ้น เมื่อต้องทำงาน Work from Home เเละงานสังสรรค์ปาร์ตี้ต่างๆ ถูกยกเลิกไปในช่วงที่ผ่านมา

 

 

ที่มา : BBC , The Guardian

]]>
1303005
เปลี่ยนเสื้อเก่าเป็นของใหม่! H&M สวีเดนเปิดตัวเครื่องจักร “รีไซเคิล” ผ้าให้ลูกค้าชมสดที่สาขา https://positioningmag.com/1300672 Thu, 08 Oct 2020 13:45:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300672 H&M สวีเดนเปิดตัวเครื่องจักร “รีไซเคิล” เสื้อผ้า ให้ลูกค้าสามารถนำเสื้อผ้าเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาปั่นเส้นด้ายขึ้นรูปเป็นตัวใหม่ได้ที่สาขาสตอกโฮล์ม โดยลูกค้าสามารถชมทุกกระบวนการได้จากด้านนอกตู้คอนเทนเนอร์ พร้อมรับเสื้อผ้าใหม่กลับบ้านได้ทันที หวังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภครู้คุณค่าของเสื้อผ้า ตามแนวทางของ H&M ที่พยายามมุ่งสู่เส้นทางความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อีกหนึ่งความพยายามบนเส้นทางเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม H&M สวีเดน เปิดตัวระบบรีไซเคิลเสื้อผ้า Looop ที่สาขา Drottninggatan กรุงสตอกโฮล์ม โดยเครื่องจักรรีไซเคิลผ้าจะอยู่ภายในตู้คอนเทนเนอร์กระจกใส ทำให้ลูกค้าสามารถชมกระบวนการทำงานได้จากภายนอก และรอรับเสื้อผ้าใหม่หลังรีไซเคิลได้ทันที

กระบวนการทำงานของเครื่องจักรนี้ จะนำเสื้อผ้าเก่าของลูกค้ามาทำความสะอาด หั่นเป็นเส้นใย ปั่นเป็นเส้นด้าย และถักทอขึ้นรูปเป็นเสื้อผ้าชิ้นใหม่ โดยระหว่างกระบวนการจะมีการเติมวัสดุใหม่ลงไปด้วย แต่จะใส่เป็นสัดส่วนให้น้อยที่สุดที่เป็นไปได้ รวมถึงตลอดกระบวนการจะไม่มีการใช้น้ำและสารเคมีเพิ่ม

ลูกค้าสามารถมาใช้เครื่องจักรที่เหมือนย่อส่วนโรงงานรีไซเคิลผ้าให้เหลือเท่าตู้คอนเทนเนอร์นี้ได้ โดยผู้ที่เป็นสมาชิก H&M จะมีค่าธรรมเนียม 100 โครนาสวีเดน (ประมาณ 350 บาท) ส่วนผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกจะมีค่าธรรมเนียม 150 โครนาสวีเดน (ประมาณ 525 บาท) โดยรายได้ทั้งหมดบริษัทจะนำส่งให้โครงการต่างๆ ที่วิจัยเกี่ยวกับวัสดุ

ตัวโครงการเครื่องจักรรีไซเคิล Looop นี้เองก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการไม่แสวงหากำไร H&M Foundation ร่วมมือกันพัฒนากับ HKRITA (สถาบันวิจัยด้านสิ่งทอและเครื่องแต่งกายแห่งฮ่องกง) และบริษัทปั่นเส้นด้ายจากฮ่องกง Novetex Textiles

“จุดประสงค์ของโครงการนี้คือการให้แรงบันดาลใจกับลูกค้าของเรา ให้พวกเขาเก็บเสื้อผ้าของตนไว้ใช้ให้นานที่สุดที่เป็นไปได้ แต่ก็ยังช่วยให้พวกเขาเข้าใจด้วยว่า เสื้อผ้าเก่าเหล่านั้นยังมีคุณค่าเมื่อนำไปรีไซเคิล” พาสคาล บรุน หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนแบรนด์ H&M กล่าวกับสำนักข่าว Reuters

“สิ่งที่เราต้องการรีไซเคิลนั้นนอนอยู่ก้นตู้เสื้อผ้าของลูกค้านั่นเอง” อีริค แบง แห่ง H&M Foundation กล่าวเสริม ทั้งนี้ บริษัทไม่เปิดเผยว่าจะมีการขยายตู้คอนเทนเนอร์ปั่นเสื้อผ้าตัวใหม่จากตัวเก่านี้ไปสาขาใดอีกหรือไม่

อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ก่อให้เกิดมลพิษมากที่สุด จากการใช้น้ำและสารเคมีมหาศาลในการผลิตผ้าสักชิ้น โดยมีธุรกิจเสื้อผ้าแบบฟาสต์แฟชั่นเป็นตัวเร่งให้มีการผลิตเสื้อผ้ามากเกินจำเป็น เพราะลักษณะธุรกิจเน้นการกระตุ้นให้ลูกค้าใส่เสื้อผ้าแบบครั้งเดียวทิ้ง และเปลี่ยนเสื้อผ้าตามแฟชั่นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงผลเสียมากขึ้น ทำให้แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นต่างต้องปรับตัว

เป้าหมายของ H&M หลังการปรับตัวดังกล่าวนั้น ต้องการให้วัสดุ 100% ที่ใช้ผลิตเสื้อผ้าของแบรนด์ทำจากผ้ารีไซเคิลหรือมาจากแหล่งผลิตที่มีความยั่งยืนภายในปี 2030 โดยตัวเลขล่าสุดในปี 2019 อยู่ที่ 57% นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าจะกำจัดการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดระหว่างขั้นตอนผลิตให้ได้ภายในปี 2040

ก่อนหน้านี้ H&M มีโครงการเพื่อกระตุ้นด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นระยะ เช่น โครงการรับคืนเสื้อผ้าเก่าที่สาขาเพื่อบริษัทจะนำไปรีไซเคิล อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ต้องหยุดกะทันหันเพราะโรคระบาด COVID-19 ทำให้เกิดความกังวลในการเก็บเสื้อผ้ามือสอง

นอกจากนี้ H&M Foundation กับ HKRITA มีความร่วมมือกันอีกโครงการหนึ่งในสเกลที่ใหญ่กว่า คือการพัฒนาระบบแยกส่วนเส้นใยฝ้ายกับเส้นใยโพลีเอสเตอร์ออกจากกันในกลุ่มผ้าเส้นใยผสม โดยโรงงานที่จะใช้ระบบนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง

Source: H&M และ Reuters

]]>
1300672
ปรับรับลูกค้าเปลี่ยน “ช้อปเสื้อผ้าออนไลน์” มาเเรง H&M ตัดสินใจปิดสาขา 250 แห่งทั่วโลก https://positioningmag.com/1299764 Fri, 02 Oct 2020 09:14:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299764 กระเเสผู้บริโภคหันมาซื้อเสื้อผ้าออนไลน์กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง COVID-19 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ H&M ยักษ์ฟาสต์เเฟชั่นอันดับ 2 ของโลกจากสวีเดน ตัดสินใจปิดร้าน 250 สาขาทั่วโลก คิดเป็นกว่า 5% ของจำนวนร้านสาขาทั้งหมด 5,000 แห่ง

H&M เริ่มกลยุทธ์ปิดร้านเพิ่มขึ้นเปิดน้อยลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่หันมาซื้อออนไลน์ ท่ามกลางการเเข่งขันของวงการค้าปลีกเสื้อผ้าเเฟชั่นที่ดุเดือด เเละยิ่งประสบปัญหาใหญ่ เพราะผลกำไรของปีนี้ต้องลดลงอย่างมาก จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19

H&M ระบุในเเถลงการณ์ว่าลูกค้าเริ่มช้อปปิ้งทางออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆโดยในช่วงที่แบรนด์ต้องปิดสาขาชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ปรากฏว่า ยอดการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ กลับพุ่งสูงขึ้นกว่า 80% เมื่อเทียบกับยอดขายของหน้าร้านตามปกติ

ยอดขายของบริษัทในไตรมาส 3 ตั้งแต่เดือนมิ..ถึงเดือนส.. เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น หลังผ่านช่วงวิกฤต จากการที่สามารถเปิดร้านได้อีกครั้ง และการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เติบโตและทำกำไรอย่างไรก็ตาม ยอดขายเดือนก.. ลดลง 5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนจนถึงวันที่ 31 .. ของ H&M มีกำไรก่อนหักภาษีลดลงเหลือ 2.37 พันล้านโครนาสวีเดน (ราว 8.3 พันล้านบาท) ถือว่าดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

แม้ความท้าทายต่างๆ จะยังไม่สิ้นสุด แต่เราเชื่อว่าบริษัทได้ผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเราจะฟื้นตัวจากวิกฤตได้อย่างแข็งแกร่ง” Helena Helmersson ซีอีโอของ H&M กล่าว

H&M สาขาแมนฮัตตัน นิวยอร์ก (photo: Shutterstock)

โดยเเผนต่อไป H&M จะเพิ่มการลงทุนในส่วนดิจิทัลเพื่อรองรับผู้บริโภคทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนจะมีการปรับเเผนการดำเนินงานใหม่ ทั้งการลงทุน ค่าเช่า การจัดหาพนักงาน และการจัดหาเงินทุน 

กลุ่มสินค้าเเฟชั่น เริ่มมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยผู้นำฟาสต์เเฟชั่นอย่าง Inditex เจ้าของเเบรนด์ดังอย่าง Zara ก็สามารถพลิกกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง ในช่วงไตรมาส 2 โดยมียอดขายออนไลน์” ที่พุ่งกระฉุดกว่า 74% เป็นพระเอก บ่งชี้ว่าการปรับกลยุทธ์ของธุรกิจฟาสต์เเฟชั่น ที่ผสมทั้งออนไลน์เเละสาขาเข้าด้วยกันนั้นประสบความสำเร็จ

ช่วงที่ผ่านมา Inditex มีการ “ลดต้นทุน” ปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 21% รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลัง เน้นการผลิตในสเปนเเละประเทศใกล้เคียง อีกทั้งยังตั้งเป้าจะปิดร้านค้าขนาดเล็กประมาณ 1,000-1,200 สาขาทั่วโลก ภายในช่วง 2 ปีนี้เพื่อโฟกัสเฉพาะสาขาใหญ่เท่านั้น เเละหันมาบุกออนไลน์อย่างเต็มสูบ

โดย Inditex ตั้งเป้าว่าจะทำยอดขายออนไลน์ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% ของยอดรวมภายในปี 2022 เมื่อเทียบกับ 14% ที่สามารถทำได้ในปี 2019

ไม่ใช่เเค่เจ้าใหญ่อย่าง H&M และ Inditex เท่านั้น ตอนนี้ค้าปลีกเเฟชั่นอย่าง American Eagle Outfitter (AEO) และ GameStop (GME) ก็เพิ่งประกาศแผนการปิดสาขาไปหลายร้อยแห่ง เนื่องจากกระเเสช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กระตุ้นให้เเบรนด์ต่างๆ ต้องรีบมาทุ่มลงทุนด้านดิจิทัลเเทนนั่นเอง

]]>
1299764