Tag: Insight
อย่างนี้สิคุ้ม…โฆษณาใหม่ ทีเอ็มบี โหวตก่อนค่อยออนแอร์
ยุคของผู้บริโภคพันธุ์ใหม่ที่มีพลังการมีส่วนร่วมอย่างแรงกล้า กับช่วงเวลาที่แบรนด์ต้องบริหารต้นทุนให้คุ้มค่า กลายเป็นจังหวะที่ลงตัวของแบงก์ ทีเอ็มบี ในโอกาสตอกย้ำ “ความต่าง” ที่หวังสร้างความผูกพันระหว่างกลุ่มเป้าหมายกับแบรนด์ให้ได้ หลังจากธนาคารทหารไทย หรือทีเอ็มบี ปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น มีกลุ่มไอเอ็นจี แบงก์มาร่วมทุนเมื่อปี 2550 และเริ่มเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างหลากหลาย จนกลายเป็นฐานให้ทีเอ็มบีสู่กระบวนการรีแบรนด์ได้อย่างไม่กลวง แต่ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจธนาคาร ที่ผลิตภัณฑ์เหมือนกันถูกก๊อบปี้ออกมาจนหาความต่างกันไม่ได้ สุดท้ายคำตอบคือต้องทำให้ “ผู้บริโภคเลือกเพราะแบรนด์” และนี่คือสิ่งที่ทีเอ็มบีอยากไปให้ถึง ...
ยุค Ad Selector
การดึงผู้บริโภคให้มามีส่วนร่วมกับโฆษณา เป็นเทคนิคทำให้แบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ยิ่งโฆษณาทำได้สนุกและผู้บริโภคเล่นเดียว ที่สุดคือการซึมซับแบรนด์เข้าไปในใจ กรณีนี้ผู้บริโภครู้ทันอยู่แล้ว แต่ก็ยินดีเล่นเพราะสนุก ในกรณีของแบรนด์ Tippex ลิควิดเปเปอร์ เป็นกรณีศึกษาถึงการใช้ออนไลน์ได้อย่างเป็นประโยชน์ โดยเสนอทางเลือกให้ผู้บริโภคเล่น มาตั้งแต่ปี 2553 กรณีหมีป่ากับนายพราน ให้ผู้ชมเติมคำในช่องแล้วหมีกับนายพรานจะปฏิบัติการตามคำที่เราเติมลงในช่องว่าง จนล่าสุดปี 2555 ก็ออกโฆษณาออนไลน์ทาง YouTube มาให้เล่นอีก เพิ่งเผยแพร่เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เป็นเรื่องราวระหว่างหมีกับนายพรานกำลังจะจัดปาร์ตี้วันเกิดกัน แล้วจู่ ๆ...
เปิดปูมศึก ม.เอกชน
การแข่งขันอย่างเข้มข้นของมหาวิทยาลัยเอกชนในยุคนี้ สะท้อนออกมาผ่านตัวเลขงบซื้อสื่อโฆษณาที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ในอดีตที่ผ่านมา งบโฆษณาสูงสุดที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งใช้อยู่ประมาณ 20-25ล้านต่อปี กระทั่งในช่วง 4ปีที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 30-35ล้านบาท ล่าสุดพุ่งไปเป็น 40-45 ล้านบาท สาเหตุ มาจากนโยบายเปิดเสรีการศึกษาทำให้มีคู่แข่งจากมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศหลายแห่งมาเปิดสาขาในประเทศไทย รวมถึงการยกระดับขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยของสถาบันราชภัฏและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยของรัฐ อาทิ จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดล เกษตรศาสตร์ ที่เปิดหลักสูตรพิเศษ โดยเปิดสอนในตอนเย็นวันธรรมดาและเสาร์อาทิตย์ คิดราคาค่าหน่วยกิตในอัตราเดียวกับมหาวิทยาลัยเอกชน ...
ไขรหัสแบรนด์ ผ่านแอดโฆษณา
แคมเปญโฆษณาของมหาวิทยาลัยเอกชนทั้ง 6 แห่ง ที่แต่ละแห่ง “จัดหนัก-จัดเต็ม” จะมีมิติทางการตลาดและการสื่อสารแบรนด์ได้อย่างไร ผศ.ดร.ธีรพันธ์ โล่ทองคำ เป็นนักกลยุทธ์การตลาดและประธานกรรมการบริหารบริษัท ธรู เดอะ ไลน์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ให้ความเห็นว่า ภาพรวมของแคมเปญโฆษณามหาวิทยาลัยเอกชนทั้ง 6 แห่งนี้ แต่ละแห่งสื่อสารแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายด้วย Advertising Execution หรือวิธีการที่นำเสนอสิ่งจูงใจของโฆษณาแตกต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อนำ Brand...
“บิวตี้ บล็อกเกอร์” ปั้นได้
“บิวตี้ บล็อกเกอร์” เป็นอีกอาชีพที่มาแรงแซงโค้ง “บล็อกเกอร์” ทั่วไป บางคนถึงกับทำเป็นอาชีพประจำ มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ หรืออย่างกรณีของ “โมเม พาเพลิน” -นภัสสร บูรณศิริ ที่ผันตัวจากนักร้อง มาทำรายการสอนภาษาอังกฤษ ก่อนจะมาเป็นบล็อกเกอร์ความงามชื่อดัง เจ้าของวลี "ผู้หญิงไม่สวยไม่มี มีแต่ผู้หญิงขี้เกียจ" ที่กลายเป็นกระแสสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงในสังคม แต่กว่าที่จะมาถึงวันที่ "โมเม พาเพลิน" จะกลายเป็นรายการที่สาววัยรุ่นจนถึงคนทำงานทุกคนต้องรู้จัก...
เปิด Case Study : ลอรีอัลกับการใช้บิวตี้ บล็อกเกอร์
กรณิการ์ กลีบแก้ว ผู้จัดการด้านสื่อดิจิตอล ลอรีอัล ประเทศไทย เปิดเผยอินไซต์ของผู้หญิงที่ทำให้บล็อกเกอร์กลายเป็นบุคคลผู้ทรงอิทธิผลในธุรกิจนี้ว่า "เพราะว่าโปรดักต์ความสวยความงามมันมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก 99% ของผู้หญิง ไม่มีใครรู้หมดหรอกว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดใช้ยังไง จะเห็นได้ว่าเรามี BA (Beauty Adviser) อยู่คู่ชั้นวางหรือที่ร้านมานานแล้ว ก็เพื่อคอยอธิบายถึงการใช้งานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทีนี้พอมาถึงยุคที่สื่อดิจิตอลสามารถตอบสนองตรงนี้ได้ก็กลายเป็นการใช้ออนไลน์ และผลิตภัณฑ์ความงาม ผู้หญิงจะหาข้อมูลก่อนเสมอ ยิ่งถ้าเป็นระดับพรีเมียม หรือว่าต้องใช้กับผิวหน้า ก็ยิ่งต้องหาข้อมูลมากกว่าสินค้าออกแนวคอนซูเมอร์" นอกจากเรื่องของผู้หญิงกับความงามแล้ว สื่อก็มีผลที่ทำให้บล็อกเกอร์แจ้งเกิด...
บิวตี้ บล็อกเกอร์ใช้อย่างไรให้คุ้ม
บิวตี้ บล็อกเกอร์ใช้อย่างไรให้คุ้ม อัจฉรา กมลเพ็ชร Digital Strategic Planner, CJ Worx บอกถึงวิธีการเลือกบิวตี้ บล็อกเกอร์ ว่าจะต้องประเมินจากตัวเลขผู้เข้าชมบล็อกหรือพื้นที่เว็บไซต์ของบิวตี้ บล็อกเกอร์รายนั้น โดยอาศัยเครื่องมือดิจิตอลช่วย เช่น Google Analytic ประกอบกับการพิจารณาคอนเทนต์ของบิวตี้ บล็อกเกอร์รายนั้นว่าเหมาะสมกับกับแคมเปญการตลาดหรือเปล่า ส่วนการพิจารณาผลของแคมเปญ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์เป็นหลักว่าต้องการยอดขายหรือว่า Awerness ที่แบรนด์สินค้า ซึ่งในฐานะดิจิตอล...
ศึกชิงโชคชาเขียว …ใครป๋ากว่า คนอื่นไปญี่ปุ่น เพียวริคุให้ลูกค้าเปิดเซเว่นฯ
นอกจากเรื่องราคาและรสชาติ จะเป็นสองกลยุทธ์ที่ชาพร้อมดื่มฟาดฟันกันมาตลอด “แคมเปญชิงโชคหน้าร้อน” ถือเป็น “บิ๊กแคมเปญ” ที่ทุกค่ายต่างไม่ยอมแพ้กัน เพราะหมายถึงยอดขายมากกว่า 1 ใน 3 ของทั้งปี ปล่อยให้คู่แข่งอย่างโออิชิและอิชิตัน คู่แข่งตลอดกาล พร้อมใจกันอัดบิ๊กแคมเปญ “ทัวร์ยกแก๊งไปญี่ปุ่น” จนเป็นกระแส Talk of the town ได้พักใหญ่ ล่าสุด...
LEGO Friends เพื่อเด็กสาวไทย
เลโก้ แบรนด์ของเล่นที่มีอายุ 83 ปี นับเป็นแบรนด์ที่เป็นตัวอย่างของการไม่ปล่อยให้ตัวเองตกยุคสมัย เพราะไม่ว่าสังคมพัฒนาไปอย่างไร เลโก้จะเกาะติดไปเป็นส่วนหนึ่งได้ด้วยเสมอ ภายใต้รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เดิมๆ นี่แหละ เพียงแต่เพิ่มเติมฟังก์ชันให้อินเทรนด์ เพียงเท่านี้ก็ทำให้คนรักแบรนด์ไม่หนีไม่ไปไหน ขณะเดียวกันก็ได้ลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ จากตลาดตัวต่อที่ขายแต่ในตลาดของเล่นไปสู่ตลาดของเล่นยุคใหม่ และหมวดสินค้าอื่น เช่น การนำลักษณะเฉพาะของเลโก้จากตัวต่อรูปอิฐสีสันต่างๆ พัฒนาไปสู่การเป็นสินค้าในกลุ่มเครื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และ Gadget ต่างๆ เช่น Thump...
คาเฟ่ ดอยตุง ถึงเวลาเปลี่ยน “ชาวดอย” เป็น “บาริสต้า”
เอ่ยคำว่า “ดอยตุง” มีสักกี่คนที่จะนึกถึงกาแฟที่ชงเสิร์ฟมาในถ้วยภายใต้บรรยากาศอบอุ่นสบายหรูนิดๆ พ่วงด้วยอารมณ์ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ แต่ร้อยทั้งร้อยมักจะนึกไปถึงโครงการพัฒนาดอยตุงซึ่งเป็นการพัฒนาอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาวเขาในที่สูงเสียมากกว่า แต่นั่นคือเป้าหมายของการสร้างแบรนด์คาเฟ่ดอยตุง (Café Doi Tung) ร้านกาแฟที่ต่อยอดมาจากการปลูกและผลิตกาแฟคั่วจากโครงการพัฒนาดอยตุง ที่ทีมงานคนรุ่นใหม่ของโครงการกำลังปลุกปั้นกันอย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อปรับเปลี่ยนจากชาวเขาผู้ปลูกและเก็บกาแฟจนกระทั่งพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วบดไปสู่ผู้ประกอบการค้าปลีกร้านกาแฟ เพื่อต้องการให้เป็นแบรนด์ที่ได้มาตรฐานเดียวกับร้านกาแฟแบรนด์ดังของโลกอย่างสตาร์บัคส์ (Starbucks) ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการพัฒนา โครงการพัฒนาดอยตุง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ถึงแนวคิดของการสร้างแบรนด์ดอยตุงให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น “เราเริ่มธุรกิจค้าปลีกกาแฟมาได้ระยะหนึ่งแล้ว...