Tinder – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 Jul 2023 05:14:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ทัศนคติใหม่ในการหา “คนคุย” ของคน Gen Z เลิกใช้กลยุทธ์ “เล่นตัว” ไม่ตอบแชต เน้นตรงๆ จริงใจ https://positioningmag.com/1437936 Mon, 17 Jul 2023 04:36:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437936 ผลการศึกษาจาก Tinder พบว่าทัศนคติการใช้แอปฯ หาคู่ของคน Gen Z นั้นเปลี่ยนไปจากยุคคน Gen Y คนรุ่นใหม่จะไม่นิยมใช้กลยุทธ์ “เล่นตัว” ไม่ตอบแชตเป็นสัปดาห์ เน้นการแสดงออกที่ตรงไปตรงมา จริงใจมากขึ้น

Tinder’s Future of Dating Report 2023 รายงานการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้งานแอปพลิเคชันหาคู่ของ Tinder มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมการหาคู่ผ่านแอปฯ ของคน Gen Z ในยุคนี้ โดยคน Gen Z บนแอปฯ Tinder จะอยู่ในช่วงวัย 18-25 ปี และคนวัยนี้ปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของฐานผู้ใช้งานแอปฯ

Tinder พบว่า 75% ของคน Gen Z มองว่าตนเองกำลังท้าทายและเปลี่ยนแปลงมาตรฐานวัฒนธรรมในการคุยกับ “คนคุย” ของคนรุ่นก่อนหน้า โดยต้องการให้การหาคนคุยเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพจิตมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา

ยกตัวอย่างพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ กลยุทธ์การ “เล่นตัว” หรือแสดงออกให้ดูกำกวมไว้ก่อน

กลยุทธ์เล่นตัวนี้คน Gen Y เคยใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นเรื่องที่ยอมรับได้กันทั่วไป โดยคน Gen Y แม้จะรู้สึกสนใจฝ่ายตรงข้าม แต่อาจจะแกล้งทำเป็นนิ่ง ไม่ตอบแชตหลายชั่วโมงหรือหลายวัน แต่คนรุ่นใหม่ Gen Z จะไม่ค่อยทำแบบนี้กันแล้ว โดย 77% ของคน Gen Z ถ้าสนใจก็จะตอบแชตเลยภายใน 30 นาที และ 40% ตอบเร็วภายใน 5 นาทีด้วยซ้ำ

Photo : Shutterstock

กรณีที่คุยๆ กันไปแล้วเริ่มไม่ถูกใจ คน Gen Y ก็มีจำนวนมากที่จะ “เท” อีกฝ่ายไปแบบเงียบๆ ไม่ตอบไปเสียเฉยๆ โดยไม่อธิบายอะไร ปรากฏว่า คน Gen Z ยุคใหม่มีแนวโน้มน้อยลง 32% ที่จะเทคนอื่นเงียบๆ แบบนี้เมื่อเทียบกับคน Gen Y

 

คน Gen Z ต้องการ “ความจริงใจ”

กุญแจหลักในวิธีคิดของ Gen Z คือ “ความจริงใจ” นั่นเอง คนยุคใหม่มองหาการแสดงออกตัวตนอย่างชัดเจน เป็นตัวเองในการคุยกัน และมีอีกหลายๆ คุณสมบัติที่คนรุ่นนี้ให้ความสำคัญในการหาคู่หรือ “คนคุย” เช่น

  • 78% ให้คุณค่ากับคนที่เคารพนับถือในตัวตนของอีกฝ่าย
  • 79% ให้คุณค่ากับคนที่ซื่อสัตย์
  • 61% มองหาคนที่มีใจเปิดกว้าง
  • 80% ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของตน และต้องการให้คนคุยอีกฝ่ายมองว่าเรื่องนี้สำคัญเช่นกัน
  • 56% ให้ความสำคัญกับรูปร่างหน้าตาภายนอก (ถือว่าเป็นปัจจัยที่ยังสำคัญเสมอสำหรับคนทุกยุค)
Photo : Pixabay

Faye Iosotaluno ซีโอโอของ Tinder มองว่า อิทธิพลของคน Gen Z จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในสังคมและปฏิวัติแง่มุมบางอย่างในชีวิต อย่างค่านิยมใหม่ในการหาคู่ก็เช่นกัน เชื่อว่าจะทำให้สังคมเปลี่ยนวิธีการออกเดตและการเลือกคู่

Paul Brunson ผู้เชี่ยวชาญด้านอินไซต์ความสัมพันธ์ประจำ Tinder Global คาดการณ์ว่า Gen Z จะเป็นเจนเนอเรชันที่ประสบความสำเร็จมากกว่าในชีวิตการแต่งงาน เพราะเป็นเจนที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึกที่ดีต่อกันในความสัมพันธ์ และให้ค่าเรื่องการสื่อสารที่ชัดเจนระหว่างกัน

ในยุคดิจิทัลแบบนี้ Gen Z ยังริเริ่มการใช้ AI มาช่วยในการหาคู่ด้วย โดย 34% ของคนเจนนี้เปิดกว้างถ้าจะใช้ AI เป็นผู้ช่วยสร้างโปรไฟล์ที่น่าสนใจบนแอปฯ เห็นได้ว่าคนเจนใหม่กำลังจะทำให้วิธีการใช้แอปฯ หาคู่เปลี่ยนแปลงไปในไม่ช้า

Source

]]>
1437936
คิดไม่ออกบอก AI ! วิจัยพบผู้ชาย 1 ใน 5 ใช้ ChatGPT ช่วยต่อบทสนทนากับ ‘คนคุย’ ในแอปฯ หาคู่ https://positioningmag.com/1436090 Thu, 29 Jun 2023 07:20:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436090 AI กำลังจะรันทุกวงการแม้แต่ในวงการหา ‘คนคุย’ หลังมีงานวิจัยพบว่าผู้ชาย 1 ใน 5 คนบนแอปฯ หาคู่ใช้เครื่องมือ AI เช่น ChatGPT เป็นตัวช่วยบนแอปฯ ตั้งแต่การเขียนประวัติย่อที่น่าสนใจ ไปจนถึงคิดประโยคโต้ตอบโดนๆ

Attractiontruth ทำการสำรวจผู้ชาย 1,371 คน ครอบคลุมเพศวิถีที่หลากหลาย เพื่อหาคำตอบว่าผู้ชายมีการใช้ AI เพื่อช่วยให้การหา ‘คนคุย’ บนแอปพลิเคชันหาคู่ดีขึ้นและราบรื่นขึ้นบ้างหรือไม่ โดยแอปฯ ที่พวกเขาใช้เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ Tinder, Bumble และ Hinge

ผลปรากฏว่า ประมาณ 20% ของผู้ถูกสำรวจมีการใช้เครื่องมือ AI เช่น ChatGPT เป็นตัวช่วย โดยส่วนใหญ่คนที่ใช้งานเทคโนโลยีนี้จะอยู่ในวัย 25-35 ปี

วิธีการใช้ AI ช่วยจะเริ่มตั้งแต่การเขียนประวัติย่อ (bio) ให้น่าดึงดูดใจ ไปจนถึงการเขียนข้อความต่อบทสนทนากับคนคุยในแบบที่เป็นตัวเอง น่าสนใจ และสอดคล้องกับบุคลิกของคนคุยที่แมตช์ด้วย

ในกลุ่มผู้ชายที่ใช้ AI พบว่า 37% ในกลุ่มนี้รู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อคุยกับอีกฝ่าย และ 24% บอกว่าตัวเองรู้สึกได้พัฒนาทักษะการ ‘คุย’ บนแอปฯ หาคู่

Photo : Shutterstock

ยกตัวอย่างจาก “Am” ชายคนหนึ่งที่ใช้ AI ช่วยบนแอปฯ เขาป้อนคำสั่งให้ ChatGPT ทำการ “เขียนประวัติย่อ (bio) เพื่อใช้ในแอปฯ หาคู่ Bumble ที่อ่านแล้วดูขำๆ แต่ก็จริงจัง” โดยชายคนนี้ให้ข้อมูลกับ AI เพิ่มเติมไปว่าเขาเป็นคนอิตาเลียนและต้องการให้ bio “มีอะไรที่เกี่ยวกับพาสต้าหรืออาหารอิตาเลียน” และต้องการมุ่งเป้าหาคนคุยที่ “เป็นคนชอบการเต้นรำ เป็นคนที่อยากออกไปเดตจริงๆ มากกว่าแชตคุยกันไปเรื่อยไม่รู้จบ และสนใจจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน”

แชตบอตอย่าง ChatGPT สามารถสร้าง bio ให้ได้ตามสั่ง แถมใส่อีโมจิธงชาติอิตาลีและไวน์แดงมาให้ด้วย “ปัดขวาถ้าคุณพร้อมจะแบ่งปันเสียงหัวเราะ สูตรอาหาร และท่าเต้นไปด้วยกัน” เป็นตัวอย่างประโยคหนึ่งที่ AI คิดมาให้

Am บอกว่าหลังจากเขาเปลี่ยน bio เป็นเวอร์ชันที่ AI คิดมาให้ ทำให้เขาได้รับข้อความจากคนคุยที่ทักมาเล่นมุกเกี่ยวข้องกับความเป็นคนอิตาเลียนของเขาโดยตรง

Photo : Pixabay

ผู้ชายคนอื่นๆ ในการสำรวจครั้งนี้บอกว่า พวกเขาใช้ AI ช่วยคิดบทสนทนาด้วย โดยเฉพาะประโยคเปิดบทสนทนาที่ดีขึ้น ทำให้พวกเขา “ได้รับการตอบกลับจากคู่แมตช์เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” และทำให้การสนทนาน่าสนใจขึ้นด้วย

แล้วฝั่งที่ได้รับข้อความจาก AI เหล่านี้รู้สึกอย่างไร? การสำรวจไม่ได้วัดผลอย่างชัดเจน แต่บอกว่าฝ่ายรับข้อความมีทั้งที่รู้สึกเป็นบวกกับการอ่านข้อความ AI ถ้าเป็นข้อความที่ให้เกียรติและให้ความจริงใจ และมีกลุ่มที่รู้สึกไม่ดีกับข้อความ AI เหมือนกัน เพราะเห็นว่าเป็นประโยคที่ ‘น่าขนลุก’ หรือ ‘ไม่มีความเป็นมนุษย์’

นอกจากผู้ใช้หัวใสเหล่านี้จะทดลองใช้ AI กับการหาคู่ด้วยตนเองแล้ว บริษัทผู้พัฒนาแอปฯ หาคู่เองก็กำลังหาทางใช้ AI ให้เป็นประโยชน์เหมือนกัน ย้อนไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา OkCupid เริ่มหาไอเดียด้วย AI ว่าควรจะเพิ่มคำถามคัดสรรเพื่อจับคู่เดตอย่างไรให้โดนกว่าเดิม เป็นที่มาของการเพิ่มคำถามใหม่ๆ ในการสร้างโปรไฟล์ เช่น “คุณมองว่าตัวเองเป็นคน Introvert หรือ Extrovert มากกว่า?”

หลังจากนั้นไม่กี่เดือน Bernard Kim ซีอีโอของ Tinder ก็เริ่มเกริ่นว่าบริษัทกำลังสร้างฟีเจอร์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ AI โดยจะเป็นฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้ “ค้นหาไอเดียออกเดตดีๆ” และไอเดียในการต่อบทสนทนาบนแอปฯ ได้ดีขึ้นเพื่อลดโอกาส ‘โดนเท’

น่าสนใจว่าการใช้ AI เข้ามาช่วยในแอปฯ หาคู่จะทำให้คนเราได้พบความรักที่ตามหาได้ง่ายขึ้นหรือไม่

Source

]]>
1436090
พรีเมียมไปอีก! Tinder ซุ่มปั้นฟีเจอร์ใหม่ ‘Tinder Vault’ หวังเก็บค่าสมาชิกเดือนละ 17,000 บาท! https://positioningmag.com/1426307 Tue, 04 Apr 2023 12:57:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426307 Tinder กำลังซุ่มปั้นฟีเจอร์ใหม่ที่พรีเมียมยิ่งกว่าเดิมในชื่อ ‘Tinder Vault’ โดยคาดว่าจะเก็บค่าสมาชิกเดือนละ 500 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 17,000 บาท) เพื่อรับสิทธิพิเศษ เช่น ได้เห็นโปรไฟล์คนในระดับเดียวกัน หรือ บริการกงเซียจให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง

แอปพลิเคชันหาคู่ Tinder กำลังปั้นฟีเจอร์ใหม่ในราคาสุดแพงเพื่อดึงดูดกลุ่มคนมีฐานะโดยเฉพาะ สำนักข่าว The Fast Company รายงานข้อมูลจาก Mark Van Ryswyk ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ระบุว่าบริษัทกำลังทดลองระบบชื่อ Tinder Vault เป็นฟีเจอร์ใหม่ราคาสมาชิกเดือนละ 500 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 17,000 บาท) หรือปีละ 5,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 170,000 บาท) เพื่อที่จะมีสิทธิพิเศษยิ่งกว่าเดิม

ประเด็นสำคัญอย่างแรกคือผู้สมัคร Tinder Vault จะได้เห็นโปรไฟล์ของคนที่สมัครฟีเจอร์เดียวกัน (ทำให้มีโอกาสได้เจอคนฐานะใกล้เคียงกัน) อย่างที่สองคือ ได้สถานะ “priority pass” โปรไฟล์จะถูกดันไปให้คนอื่นเห็นมากกว่าผู้ใช้ในระดับอื่นๆ สุดท้ายคือ จะได้รับสิทธิ “บริการกงเซียจส่วนตัว” พร้อมตอบสนอง 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ เน้นให้เคล็ดลับการจีบและสานสัมพันธ์

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ก็ยังเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้น บริษัทยังมีโอกาสที่จะเปลี่ยนชื่อฟีเจอร์ เปลี่ยนราคา หรือสิทธิต่างๆ ที่จะมากับฟีเจอร์นี้

ก่อนหน้านี้ Tinder มีฟีเจอร์ที่แพงที่สุดคือผู้ใช้ระดับ “Platinum” เก็บค่าสมาชิกเดือนละ 30 เหรียญสหรัฐ (ในไทยราคาเดือนละ 369 บาท) ซึ่งปลดล็อกสิทธิพิเศษต่างๆ จากทุกระดับไม่ว่าจะ Plus หรือ Gold เช่น กด Like ได้ไม่อั้น, ระบบ Passport ไปปัดหาคู่ได้ทุกที่บนโลก, ดูได้ว่าใครกด Like ตัวเอง และมีสิทธิพิเศษเฉพาะระดับ Platinum เช่น ส่งข้อความไปก่อนจะ Match ได้, ดูว่าตัวเองกด Like ใครไปในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

การปรับเพิ่มฟีเจอร์ที่แพงสุดๆ ใน Tinder ที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเจ้าของแอปฯ อย่าง Match Group นั้นมีแอปฯ หาคู่ในมืออีกเพียบ เช่น OkCupid, Hinge และปีที่แล้วก็เพิ่งจะซื้อแอปฯ ชื่อ The League เข้ามา โดยแอปฯ นี้เก็บค่าสมาชิกสูงมาก เพราะวางตัวเองเป็นแอปฯ สำหรับคนระดับบนที่พร้อมสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว

ขณะที่ Tinder เองเพิ่งจะเผชิญความเปลี่ยนแปลงในองค์กรเมื่อปีก่อน เพราะซีอีโอคนก่อนคือ Renate Nyborg ประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้น Tinder พยายามอย่างหนักที่จะเปลี่ยนตัวเอง ไม่ให้มีภาพลักษณ์เป็นแอปฯ หาคู่แบบ “สัมพันธ์ชั่วข้ามคืน”

เมื่อปี 2022 บริษัท Match Group รายงานรายได้รวมของบริษัทลดลง 2% จากปีก่อนหน้า Bernard Kim ซีอีโอของบริษัท ระบุว่า ปี 2023 นี้บริษัทจะเริ่มทำ “แคมเปญการตลาดสุดปัง” สำหรับแอปฯ หาคู่ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในโลก และแย้มมาแล้วว่าจะมีการออก “ฟีเจอร์สมาชิกระดับพรีเมียม” เพื่อที่จะหาทางทำรายได้ได้กว้างกว่าเดิม

Source

]]>
1426307
CEO หญิงคนแรกของ ‘Tinder’ ประกาศ ‘ลาออก’ หลังทำงานได้ไม่ถึงปี https://positioningmag.com/1395186 Thu, 04 Aug 2022 11:16:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395186 ผู้บริหารระดับสูงหญิงคนแรกของ ทินเดอร์ (Tinder) ต้องลาออกทั้งที่ทำงานได้ไม่ถึงปี และถือเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหญิงคนที่สองที่จะลาออกจากบริษัทแม่ Match Groupนเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

หลังจากที่มูลค่าตลาดของบริษัทแม่ Match Group เจ้าของแพลตฟอร์มหาคู่อย่าง Tinder, Hinge และ Match.com ร่วงลงกว่า 1 ใน 5 หรือราว 20% เนื่องจากจากรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวังโดยเฉพาะจาก Tinder ส่งผลให้ Renate Nyborg ซีอีโอหญิงคนแรก ต้อง ลาออก ทั้งที่ทำงานไม่ถึงปี

Bernard Kim ซีอีโอ Match Group ระบุว่า เขาจะดูแล Tinder ไปก่อน โดยมี Faye Iosotaluno เป็นซีโอโอที่จะรายงานตรงกับเขา ในระหว่างที่บริษัทมองหาคนใหม่เพื่อมาแทนที่ Renate Nyborg โดย Renate Nyborg ได้รับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในปลายเดือนกันยายน 2021 โดยงานต่อจาก Jim Lanzone ผู้บริหารด้านสื่อที่ทำงานมาประมาณหนึ่งปี

“ยอมรับว่า Tinder ยังบกพร่องในการดำเนินการผลิตภัณฑ์ที่จะดึงดูดผู้ใช้ใหม่ และดึงดูดผู้คนให้ใช้จ่าย โดยจากนี้เราจำเป็นต้องดำเนินการมากขึ้นเพื่อกระตุ้นฐานผู้ใช้ของเรา และผมจะดูแล Tinder จนกว่ากระบวนการค้นหา CEO คนใหม่เสร็จสิ้น” Bernard Kim หัวหน้าผู้บริหารของ Match Group กล่าว

อย่างไรก็ตาม แผนที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ใน Tinder ไม่ว่าจะเป็น Tinder Coins สกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง, เมตาเวิร์ส กำลังอยู่ในช่วงการพิจารณาว่าจะไปต่อหรือไม่ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างใหม่ เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่เป็นไปตามที่คาด

Kim กล่าวว่า แม้ทั่วโลกจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และเข้าสู่วิถีชีวิตที่ปกติมากขึ้น แต่ความตั้งใจของผู้บริโภคที่จะลองใช้ผลิตภัณฑ์หาคู่ออนไลน์เป็นครั้งแรกกลับยังไม่กลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด

ทั้งนี้ Match Group มีรายได้รวม 795 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ระหว่าง 800-810 ล้านดอลลาร์ ขณะที่สัดส่วนรายได้จากฝั่งของ Tinder กลับติดลบ จากที่อดีตเคยเติบโตดีมาตลอด อย่างไรก็ตาม Match Group เชื่อว่า Tinder ยังสามารถเติบโตได้ทั้งในส่วนของผู้ใช้และรายได้ โดยบริษัทจะพยายามแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ และหลากหลายเพื่อกระตุ้นการเติบโตนั้น

Source

]]>
1395186
ส่อง 3 กิจกรรมเหล่า ‘คนโสด’ ช่วงวัน ‘วาเลนไทน์’ ที่ปีนี้ยังไงต้องไม่นก! https://positioningmag.com/1373803 Mon, 14 Feb 2022 02:53:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373803 ‘วันวาเลนไทน์’ เป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ผู้คนต่างให้ความสนใจและออกมาแสดงความรักต่อกันในหลากหลายรูปแบบ ฝั่งคู่รักก็ออกมาโพสต์รูปคู่หวานชื่นพร้อมควงคู่กันออกเดต บางคนถูกเซอร์ไพรส์ขอแต่งงาน หรือแม้แต่คนโสดเองก็ออกมาแสดงความคิดเห็นกันว่าเป็นวันทำร้ายจิตใจ ในฝั่งแบรนด์เอง กุมภาพันธ์ถือเป็นอีกหนึ่งเดือนที่จะสามารถกระตุ้นยอดขายได้ หลายธุรกิจออกมาสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดมาเอาใจทั้ง คู่รักและคนโสด จึงทำให้เกิดกระแสมากมายบนโลกโซเชียล

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ทำการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 10 มกราคม – 10 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวันวาเลนไทน์ โดยทั้งคนมีคู่ และคนโสดได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมากถึง 21,271,853 เอ็นเกจเมนต์ ซึ่งในบทความนี้เราต้องการโฟกัสไปที่ ‘คนโสด’ เราจึงได้ทำการสรุป 3 กิจกรรมยอดฮิต! ของ #วาเลนไทน์คนโสด ในช่วงเทศกาลแห่งความรัก โดยเรียงลำดับตามเอ็นเกจเมนต์ ดังนี้

ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมหวังเรื่องความรัก (659,596 เอ็นเกจเมนต์)

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมซึ่งเป็นเหมือนที่พึ่งทางใจของคนโสด และในยุคโควิดแบบนี้ เราจึงได้เห็นการคลั่งรักสายมูสุดเก๋ล้อไปกับกระแส Metaverse อย่างการ “ไหว้พระตรีมูรติขอพรในโลกเสมือนจริงผ่านร่างอวตาร” ที่จัดขึ้นโดยเซ็นทรัล นอกจากออนไลน์แล้วชาวโซเชียลมีการไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จาก 5 สถานที่ยอดฮิต คือ

1. พระตรีมูรติ ลานเซ็นทรัลเวิลด์

2. พระแม่อุมาเทวี วัดแขก สีลม

3. พระแม่ลักษมี ศูนย์การค้าเกษร

4. ศาลเจ้าแม่ประดู่ ตลาดเก่าเยาวราช

5. ศาลแม่นาคพระโขนง วัดมหาบุศย์

ไม่เพียงแต่การขอพรไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ การดูดวงก็เป็นของคู่กับคนไทยที่เหล่าคนโสดสายมูแห่กันไปเช็กดวงชะตา คู่แท้จะมาตอนไหน อยู่กับราศีไหนจะส่งเสริมกันคบกันแล้วรักปัง นับว่าเป็นอีก 1 กิจกรรมที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจไม่น้อยจนถูกแซววัน “ชาวพุทธ ขอพรเทพฮินดู ในวันสำคัญของชาวคริสต์” ไปซะงั้น

ภาพจาก Facebook CentralwOrld

ไม่ขอพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอใช้เทคโนโลยีแก้หาคู่ (302,077 เอ็นเกจเมนต์)

หนุ่มโสด สาวโสด ขอหาคู่ต่อไม่รอแล้วนะ! เพราะในโลกออนไลน์ การหาคู่ง่ายนั้นขึ้นเพียงแค่หนึ่ง Swipe ผ่านแอปฯ หาคู่ยอดฮิตในดวงใจของชาวโซเชียล 5 อันดับ ได้แก่

1. Tinder

2. Bamble

3. Kooup

4. Happn

5. Omi

โดยนับว่าเป็นอีกปีที่แอปฯหาคู่สร้างสรรค์กิจกรรมแปลกใหม่เอาใจคนโสดอย่าง “Tinder x พระตีมูรติ” แจกชุดไหว้ขอพร แค่โชว์แอปฯ Tinder ที่หน้าลานเซ็นทรัลเวิลด์ คนขอพรเยอะก็เกรงว่าเทพคงจะมีคิวยาว เอาเป็นว่าโหลดแอปฯ หาคู่น่าจะเร็วกว่า เรียกว่าขอพรปุ๊ป เข้าแอปฯ ปั๊ป ปัดสองสามทีก็น่าจะ Match ได้แล้ว เหมาะกับคนยุคใหม่ที่ไม่ยอมเสียเวลารออะไรนาน ๆ

ใช้เงินแก้ปัญหา เช่า-ซื้อ ไปเลย! (99,354 เอ็นเกจเมนต์)

เหล่าคนโสดคงจะเบื่อกับคำถามจากพ่อแม่ ญาติ เพื่อน หรือแม้แต่คนรู้จักว่า “เมื่อไรจะมีแฟน” ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเพราะเทรนด์การเช่าแฟนทิพย์กำลังมา เช่น เป็นแฟนเฉย ๆ 500 บาท, เป็นแฟน+ขึ้นสเตตัส+รูปคู่ 2,500 บาท หรือเหมาทั้งวัน 8,500 บาท รวมถึงยังมีการเช่าแฟนทิพย์ในรูปแบบการคุยกับบอทที่ทำให้คนโสดเสียอาการได้ไม่ต่างกับคุยกับคนจริงๆ สำหรับคนโสดที่เพียงแค่อยากหาแค่คนคุยแก้เหงาในช่วงวันวาเลนไทน์ที่แสนน่าเบื่อก็นับว่าเป็นไอเดียบรรเจิดให้ได้ทำคอนเทนต์ อวดแฟน (ทิพย์) กันบนโลกโซเชียล

นอกจากประเด็นกิจกรรมที่คนโสดอยากทำและพูดถึงในช่วงวันวาเลนไทน์แล้ว คนมีคู่ก็พากันแสดงความรักแบบไม่แผ่ว! ทั้งโพสต์รูปคู่ หาของขวัญ หรือหาสถานที่ออกเดต ซึ่งในยุคโควิดหลายคู่แสดงความรักด้วยการห่างกัน หรือบางคู่ให้ของขวัญเป็นหน้ากากอนามัย หลายคนเฝ้าภาวนาขอให้โควิดหมดไปเร็ว ๆ เพื่อให้เทศกาลวันวาเลนไทน์กลับมาครึกครื้นอีกครั้ง ใครที่ยังไม่มีคู่ก็ขอให้พบคู่แท้ในปีนี้นะ ส่วนใครที่มีแล้วก็ขอให้รักหวานชื่นยิ่ง ๆ ขึ้นไปเลยจ้า

]]>
1373803
7 ที่สุดของคน “Gen Z” ชาวไทยบน Tinder ปี 2021 ถึงล็อกดาวน์ก็ยังปัดขวากันได้! https://positioningmag.com/1368413 Thu, 23 Dec 2021 04:51:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368413 ผ่านไปอีกหนึ่งปีท่ามกลางการล็อกดาวน์ แต่การหาคู่เดทบน Tinder ยังไม่ลดความร้อนแรงโดยเฉพาะในหมู่คน Gen Z โดยแพลตฟอร์มได้สรุปข้อมูลในรอบปี 2021 มาให้เราชมกันว่าปีนี้คนไทยนิยมทำอะไรกันบ้าง

Tinder เผยผลสำรวจ Year in Swipe จากการเก็บข้อมูลประวัติส่วนตัวบน Tinder ของผู้ใช้งานชาวไทยวัย Gen Z ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 – 30 พฤศจิกายน 2564 พบ 7 ที่สุดที่น่าสนใจดังนี้

  1. ที่สุดของฟีเจอร์ Passport : กรุงโซล

ฟีเจอร์ Passport ที่ทำให้ผู้ใช้ปักหมุดหาคู่ที่เมืองอื่นได้ ปีนี้แชมป์ก็ยังเป็นของ “กรุงโซล” ประเทศเกาหลีใต้ ตามด้วย “ลอนดอน” ประเทศอังกฤษ “นิวยอร์ก” ประเทศสหรัฐฯ “โตเกียว” ประเทศญี่ปุ่น และ “ลอสแอนเจลิส” ประเทศสหรัฐฯ

แต่ถ้านับเฉพาะภายในประเทศไทย เมืองที่มีคนปักหมุดไปหาคู่แมตช์มากที่สุดคือ “กรุงเทพฯ” ตามด้วย “เชียงใหม่” “ขอนแก่น” “ปทุมธานี” และ “หาดใหญ่ จ.สงขลา”

2. ที่สุดของเมืองที่ชื่นชอบการเดทแบบวิดีโอคอล : โคราช+ขอนแก่น

เนื่องจากการล็อกดาวน์ ทำให้การไปเดทกันแบบเจอตัวอาจจะยุ่งยาก ฟีเจอร์ “วิดีโอคอล” ภายในแอปฯ Tinder จึงตอบโจทย์มากขึ้นในการทำความรู้จักเบื้องต้น โดยสถิติทั่วโลกมีคนใช้งานวิดีโอคอลในแอปฯ เพิ่มขึ้น 52%

ส่วนในไทย Gen Z ก็นิยมการเดทออนไลน์แบบนี้มากขึ้น มี 2 เมืองที่ใช้งานฟีเจอร์นี้มากที่สุดคือ นครราชสีมา และ ขอนแก่น

3. ที่สุดของกิจกรรมเดทแรก : กางเต็นท์

น่าสนใจว่ากิจกรรมเดทแรกของคน Gen Z ต้องการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่และทำให้ได้รู้จักกันจริงๆ Tinder พบว่าคำว่า “กางเต็นท์” ถูกใช้มากขึ้น 3.2 เท่า ในหน้าโปรไฟล์ และทำให้สถานที่เดทอย่างภูเขาและทะเลได้รับความนิยมสูง อย่างไรก็ตาม การเดทแบบอื่น เช่น เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง ก็ยังได้รับความนิยมเหมือนกัน

กางเต็นท์
กิจกรรมกางเต็นท์ แคมปิ้ง คือที่สุดของการเดทยุคนี้ (Photo : chulmin1700 / Pixabay)
4. ที่สุดของเช็คลิสต์ก่อนออกเดท : ฉีดวัคซีนหรือยัง?

ปี 2564 เป็นปีที่มีเช็คลิสต์ใหม่ก่อนออกเดทเกิดขึ้น นั่นคือการแชร์ข้อมูลว่าตนเอง “ฉีดวัคซีนแล้ว” บนหน้าประวัติส่วนตัว โดยมีข้อมูลระบุเรื่องนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 27 เท่า เนื่องจากคนเข้าถึงวัคซีนกันมากขึ้น และการแชร์ข้อมูลเรื่องนี้จะทำให้คู่เดทรู้สึกปลอดภัย

5. ที่สุดของข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เพื่อสร้างความประทับใจ : หมูกระทะ

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ คำว่า “หมูกระทะ” กลายเป็นคำยอดฮิตของ Gen Z บนหน้าโปรไฟล์ โดยคำนี้มีการใช้เพิ่มขึ้น 2 เท่า เพราะเป็นการแสดงข้อมูลความชอบเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยสร้างความประทับใจ ทำให้คู่แมตช์เห็นว่ามีความชอบตรงกัน นอกจากนี้คำว่า “บุฟเฟต์” ก็เพิ่มขึ้นถึง 25%

หมูกระทะ
(Photo : Shutterstock)
6. ที่สุดของเพลงบน Tinder : STAY ของ The Kid LAROI & Justin Bieber

เพลง เป็นอีกหนึ่งช่องทางแสดงความรู้สึกของคนบน Tinder โดยปีนี้เพลงฮิตมาแรงที่อยู่บนหน้าโปรไฟล์ชาวไทยคือ STAY ของ The Kid LAROI & Justin Bieber รองลงมาเป็นเพลง good4u ของ Olivia Rodrigo ตามด้วย Kiss Me More ของ Doja Cat, SZA

7. ที่สุดของอิโมจิ :  👀

อิโมจิรูปลูกตาสองข้างด้านบนนี้ กลายเป็นอิโมจิแห่งปีบนแอปฯ ทั่วโลกมีการใช้เพิ่ม 40% เป็นการแสดงออกถึงความสงสัยผสมกับความรู้สึกมองโลกในแง่ดี

แล้วปีนี้การปัดขวาของคุณบน Tinder เป็นอย่างไรบ้าง?

Tinder

อ่านเพิ่มเติม

]]>
1368413
“Tinder” เตรียมเปิดฟีเจอร์ “รับรองตัวตนจริง” คัดกรองผู้ใช้งาน-อาชญากรทางเพศ https://positioningmag.com/1347371 Tue, 17 Aug 2021 09:42:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347371 Tinder เตรียมเปิดฟีเจอร์ใหม่ “ID Verification” หรือการตรวจสอบตัวตนผู้ใช้งานว่ามีตัวตนจริง ตรงตามเอกสารที่ใช้ระบุตัวตนได้ โดยจะเริ่มใช้งานทั่วโลกภายในไตรมาสต่อไป

ฟีเจอร์ใหม่ “ID Verification” หรือ “รับรองตัวตนจริง” ที่ Tinder จะนำมาใช้ทั่วโลกนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นระบบสมัครใจ ยกเว้นในประเทศที่กฎหมายท้องถิ่นระบุให้การใช้งานแอปฯ หาคู่ต้องยืนยันอายุจริงก่อน เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ Tinder ทดลองฟีเจอร์นี้เป็นประเทศแรกตั้งแต่ปี 2019 หลังจากญี่ปุ่นบังคับให้ผู้ใช้งานต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป

วิธีใช้งาน เมื่อยืนยันตัวตนตามเอกสารที่ระบุตัวตนได้เรียบร้อยแล้ว จะมี ‘badge’ พิเศษขึ้นในโปรไฟล์เพื่อรับรองว่ามีตัวตนจริง เหมือนกับที่ก่อนหน้านี้ Tinder มี badge สำหรับคนที่ยืนยันแล้วว่าใช้รูปจริง

การเปิดให้ยืนยันตัวตนจริงของผู้ใช้งาน Tinder มองว่าจะทำให้สังคมในแพลตฟอร์มมีความปลอดภัยมากขึ้น ผู้ใช้สบายใจขึ้นเมื่อทำความรู้จักกับใครสักคน

Photo : Shutterstock

“เรารู้ว่าในหลายส่วนของโลกและในกลุ่มของผู้ที่ถูกกีดกันทางสังคม อาจมีเหตุผลไม่สามารถหรือไม่ต้องการเปิดเผยตัวตนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ การสร้างทางออกที่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริงด้วยยืนยันตัวตนด้วย ID Verification จึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย และเป็นโปรเจกต์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งพวกเราต้องการความเห็นจากสมาชิกรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญในการช่วยพัฒนาเรื่องดังกล่าว”เทรซี่ เบรเดนท์ รองประธานบริหารฝ่าย Safety and Social Advocacy ของ Match Group บริษัทเจ้าของแอปฯ Tinder กล่าว

นอกจากนี้ ในภูมิภาคที่ Tinder สามารถเข้าถึงประวัติอาชญากรรมได้ บริษัทจะนำดาต้ามาใช้ร่วมกับการยืนยันตัวตน ตามระเบียบของแพลตฟอร์มที่ไม่อนุญาตให้ผู้มีประวัติอาชญากรรมร้ายแรง กระทำผิดทางเพศ หรือใช้ความรุนแรง เข้ามาใช้แอปฯ Tinder โดยปัจจุบันแพลตฟอร์มมีการตรวจเช็กผ่านข้อมูลบัตรเครดิตที่ผูกไว้กับแอปฯ อยู่แล้ว

ที่มา: Tinder, TechCrunch

]]>
1347371
คนไทยใช้ Tinder ปักหมุดไป “โซล เกาหลีใต้” มากสุด ส่วน “อินเดีย” ปักหมุดมาไทย https://positioningmag.com/1328494 Tue, 20 Apr 2021 14:51:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328494 Tinder เปิดอินไซต์ คนไทย Gen Z ปัดขวากันรัวๆ ใช้ฟีเจอร์ Passport ได้ฟรีเพื่อเสิร์ชโลเคชั่น ปักหมุด พูดคุยกับเพื่อนใหม่ และหาคู่แมตช์ได้ทั่วโลก คนไทยนิยมปักหมุดไปหาโอปป้าที่เกาหลีใต้ ส่วนคนอินเดียนิยมปักหมุดมาไทยมากที่สุด

Tinder ได้เก็บข้อมูลการใช้งานของสมาชิกอายุระหว่าง 18-25 ปีที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 เป็นพฤติกรรมของผู้ใช้ว่านิยมหาคู่ที่จังหวัดอะไร เมืองอะไรมากที่สุด

10 เมืองในไทยที่มีคนปักหมุดเพื่อหาคู่แมตช์มากที่สุด

  1. เชียงใหม่ – กรุงเทพฯ
  2. ขอนแก่น – กรุงเทพฯ
  3. ปทุมธานี – กรุงเทพฯ
  4. หาดใหญ่ – กรุงเทพฯ
  5. นครราชสีมา – กรุงเทพฯ
  6. นครปฐม – กรุงเทพฯ
  7. พัทยา – กรุงเทพฯ
  8. อุดรธานี – กรุงเทพฯ
  9. ชลบุรี – กรุงเทพฯ
  10. อุบลราชธานี – กรุงเทพฯ
Photo : Shutterstock

10 เมืองทั่วโลกที่คนไทยปักหมุดหาคู่แมตช์มากที่สุด

  1. โซล เกาหลีใต้
  2. ลอนดอน สหราชอาณาจักร
  3. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
  4. โตเกียว ญี่ปุ่น
  5. ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
  6. ซิดนีย์ ออสเตรเลีย
  7. ไทเป ไต้หวัน
  8. สิงคโปร์
  9. ปารีส ฝรั่งเศส
  10. เซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน
Photo : Shutterstock

10 เมืองทั่วโลกที่ปักหมุดมายังประเทศไทยมากที่สุด

  1. เดลี อินเดีย
  2. สิงคโปร์
  3. เกซอน ฟิลิปปินส์
  4. อิสตันบูล ตุรกี
  5. ลอนดอน สหราชอาณาจักร
  6. จาการ์ตา อินโดนีเซีย
  7. กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
  8. มุมไบ อินเดีย
  9. โฮจิมินห์ เวียดนาม
  10. ปารีส ฝรั่งเศส
]]>
1328494
8 เรื่องน่ารู้ อัปเดตเทรนด์หาคู่ของคน Gen Z ใน Tinder หลังล็อกดาวน์ทำคนปัดมากขึ้น https://positioningmag.com/1327673 Sun, 11 Apr 2021 16:28:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327673 เปิดพฤติกรรมการหาคู่ของคนชาว Gen Z (อายุระหว่าง 18-25 ปี) ที่เป็นเป็นกลุ่มใหญ่ของ Tinder จากสมาชิกทั่วโลกมากกว่าครึ่งเป็นกลุ่มคน Gen Z ได้กำหนดนิยามและรูปแบบใหม่ของการออกเดตมาตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ปีที่ผ่านมานับเป็นปีที่มีผู้ใช้งาน Tinder มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเรียกได้ว่าเป็นทศวรรษใหม่ของการหาคู่

ผู้คนพูดคุยกันมากขึ้นบนทินเดอร์ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มคน Gen Z ใช้เวลาสนทนาบนทินเดอร์มากขึ้นกว่าเดิม โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีการส่งข้อความต่อวันมากขึ้น 19% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน และการพูดคุยยาวนานขึ้นกว่า 32%

คน Gen Z ได้เปลี่ยนไปคุยกันทางวิดีโอมากขึ้นโดยผู้ใช้งานเกือบครึ่งบนทินเดอร์ใช้การวิดีโอคอลกับคู่ที่แมตช์ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด และ 40% จะใช้วิดีโอคอลเพื่อพูดคุยทำความรู้จักกันต่อไปแม้ว่าการแพร่ระบาดจะจบลงแล้ว การใช้งานและกิจกรรมบนทินเดอร์มียอดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตลอดทั้งปี โดยมีการปัด (Swipe) เพิ่มขึ้น 11% และมีการแมตช์เพิ่มขึ้นถึง 42% ต่อสมาชิกหนึ่งคน

Photo : Shutterstock

กลุ่มคน Gen Z แหกกฎการหาคู่และข้อห้ามเดิมๆ และเปลี่ยนจากการออกเดตแบบค่อยเป็นค่อยไป มาเป็นการทำตัวลื่นไหลไปตามสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ความคาดหวัง (ไม่คิดเยอะ เป็นไงเป็นกัน) แง่ของอารมณ์ (ซื่อตรงและเป็นตัวของตัวเอง) และแง่ของประสบการณ์ (ทำกิจกรรมที่มีความหมายด้วยกันมากกว่าแค่ละลายพฤติกรรม – นี่คือความโดดเด่นของการออกเดตในยุคดิจิทัล)

สไตล์การหาคู่ของคน Gen Z นั้นมีความย้อนแย้งในตัว กล่าวคือในขณะที่พวกเขาขยายขอบเขตในการหาคู่ให้กว้างขึ้น แต่กลับคว้าคนใกล้ตัวในบริเวณเดียวกันเพื่อออกเดต และในขณะที่พวกเขาใช้เวลาอย่างเร่งรีบไปกับการพาตัวเองออกเดต ก็ไม่ลืมที่จะหาเวลาเล็กๆ น้อยๆ ให้กับโมเมนต์หวานๆ เช่นกัน

8 ท็อปเทรนด์การหาคู่

1. คนหาคู่จะมีความซื่อตรงและเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

COVID-19 ส่งผลให้หลายคนเห็นภาพ และมุมมองต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ทำให้สมาชิกทินเดอร์ยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นมากกว่าเคย ทั้งในเรื่องตัวตน ภาพลักษณ์ และประสบการณ์ส่วนตัว ในช่วงการแพร่ระบาด มีการใช้คำว่า “วิตกกังวล” และ “ทำให้เป็นเรื่องปกติ” ในโปรไฟล์เพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้คำว่า “วิตกกังวล” เพิ่มมากขึ้น 31% ส่วนคำว่า “ทำให้เป็นเรื่องปกติ” นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 15 เท่า

Photo : Shutterstock
2. การมีขอบเขตในเรื่องต่างๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดการถกเถียงกันในเรื่องของขอบเขตความเป็นส่วนตัวมากขึ้น สมาชิกทินเดอร์ใช้โปรไฟล์ของตัวเองเพื่ออธิบายความคาดหวังของพวกเขาอย่างชัดเจน เช่น การใช้คำว่า “สวมหน้ากากอนามัย” เพิ่มขึ้นสูงถึง 100 เท่าในช่วงที่มีการระบาด

“ขอบเขต” เป็นอีกคำที่ถูกใช้มากขึ้นกว่าเดิม (มากขึ้น 19%) และคำว่า “ความยินยอม” ก็พุ่งสูงขึ้น 11% การกระทำเหล่านี้จะทำให้บทสนทนาเกี่ยวกับความยินยอมเป็นเรื่องปกติและเกิดความสบายใจมากขึ้น

3. ผู้คนอยากมีความสัมพันธ์แบบ “เป็นไงเป็นกัน” มากขึ้น

ผลสำรวจล่าสุดของสมาชิกทินเดอร์ คนหาคู่จำนวนมากกำลังมองหาความสัมพันธ์แบบ “ไม่ต้องมีคำนิยาม” เพิ่มมากขึ้นเกือบ 50% ดังนั้น การแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงเป็นแรงขับให้คนยุคต่อไปที่กำลังหาคู่ มองหาความสัมพันธ์แบบเปิดที่ไม่ผูกมัดมากกว่าความต้องการที่จะแต่งงาน

4. การออกเดตออนไลน์จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตใหม่

ในยุคที่การพบปะแบบเจอหน้ากันมาพร้อมกับความเสี่ยง คนที่มองหาคู่จึงหันไปหาประสบการณ์เสมือนจริงเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยผลสำรวจล่าสุดของทินเดอร์พบว่า คนที่ลองออกเดตออนไลน์มองว่าการเดตแบบนี้จะมีความรู้สึกกดดันน้อยลงในการศึกษาเพื่อนใหม่ ซึ่งสมาชิกทินเดอร์วัย Gen Z จำนวน 40% กล่าวว่าพวกเขาจะยังคงออกเดตออนไลน์ต่อไป แม้ว่าสถานที่นัดพบในการออกเดตจะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติแล้วก็ตาม

Photo : Shutterstock

5. เดตแรกในอนาคต เน้นการทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างสรรค์มากกว่าเดิม

การที่บาร์ และร้านอาหารหลายแห่งปิดให้บริการในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สถานที่ในการออกเดตแรกตามขนบแบบเดิมๆ ไม่ใช่ตัวเลือกอีกต่อไป ดังนั้นเวลานัดเจอกัน พวกเขาจะเลือกกิจกรรมของเดตแรกที่มีความสร้างสรรค์ มีความเป็นส่วนตัว และมีความสบายๆ มากขึ้นกว่าในอดีต

ดังตัวอย่างที่ทินเดอร์พบในโปรไฟล์ที่มีการใช้คำว่า “กำลังเล่นโรลเลอร์สเก็ต” เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า รวมถึงการระบุว่าอยากให้กิจกรรมของเดตแรกเป็นการก่อสร้างปราสาทด้วยกัน ไปจนถึงการปาหิมะใส่กัน

6. ก้กตัวมานาน การสัมผัสทางร่างกายกลายเป็นสิ่งจำเป็น

ผู้คนใช้โปรไฟล์ของตัวเองในการแสวงหาการแสดงออกถึงความรักใคร่ เช่น การจับมือ อ้อมกอด หรือการที่มีใครบางคนมาลูบไล้ผม โดยมีการใช้คำว่า “อ้อมกอด” เพิ่มขึ้น 23% และคำว่า “จูงมือกัน” สูงขึ้น 22% หลังจากที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคมโดยไม่มีการสัมผัสกันทางร่างกายร่วมเดือน

เมื่อได้รับการสัมผัสอีกครั้งจึงทำให้คนที่กำลังหาคู่รู้สึกมีความสุขกับพฤติกรรมนั้นมากขึ้น ดังนั้นแม้ว่าการออกไปพบกันจะกลับไปเป็นเหมือนปกติแล้วก็ตาม แต่การแสดงออกทางกายภาพจะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในชีวิตของคนที่ออกเดต

Photo : Shutterstock

7. ปัดขวาไปไกลได้ทั่วโลก แต่เลือกเดตกับคนที่อยู่ใกล้

ผู้คนย้ายที่อยู่ก็จะสมัครใช้งานทินเดอร์เพื่อค้นหาผู้คนใหม่ๆ ที่อยู่ในเมืองนั้นด้วยการระบุว่า “ย้ายบ้านใหม่” ในโปรไฟล์ของตัวเองสูงขึ้น 28% โดยในปี 2563 นอกจากเทคโนโลยีจะเป็นตัวช่วยให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตหรือทำงานจากที่ไหนก็ได้แล้ว ผู้คนยังใช้ทินเดอร์ในการหาเพื่อนใหม่ที่อาศัยอยู่ใกล้กับพวกเขาอีกด้วย

8. เรื่องดีๆ ในแบบ “ซัมเมอร์แห่งรัก” กำลังจะเกิดขึ้น

ข้อมูลในเดือนตุลาคม 2563 บอกกับเราว่า สมาชิกทินเดอร์มากกว่า 40% ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ไม่เคยได้พบกับคู่ที่แมตช์ตัวเป็นๆ แต่โปรไฟล์ของทินเดอร์กลับบอกตรงกันข้าม โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 การใช้คำว่า “กำลังไปออกเดต” ในโปรไฟล์ทำลายสถิติสูงสุดตลอดกาลในสหรัฐอเมริกา

Photo : Shutterstock

และแม้ว่าการออกเดตแบบเจอกันตัวเป็นๆ ในปี 2563 จะลดน้อยลงไป (54% ของคนโสดให้ข้อมูลกับ YPulse ว่า “COVID-19 เข้ามาถ่วงเวลาชีวิตรักของพวกเขาให้ดำเนินไปช้ากว่าเดิมมาก”) แต่ถ้าได้รับวัคซีนเมื่อไรพวกเขาก็พร้อมที่จะออกนอกบ้านทันที

คำจำกัดความ: ข้อมูลทั้งหมดนี้มาจากโปรไฟล์บนทินเดอร์หรือการรวบรวมกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนแอปพลิเคชันทินเดอร์ซึ่งเป็นข้อมูลที่ดึงมาศึกษาตั้งแต่มกราคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2654 ข้อความ คือจำนวนข้อความโดยเฉลี่ยที่ถูกส่งออกโดยสมาชิกหนึ่งคนการอัปเดตโปรไฟล์ คือจำนวนการปรับเปลี่ยนโปรไฟล์หรือข้อมูลส่วนตัวโดยเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน WAV/ข้อมูลการสำรวจมาจาก **ข้อมูลอ้างอิงจากการสำรวจสมาชิกทินเดอร์ราว 5,000 คนในสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 6-12 พฤษภาคม 2563 และระหว่างวันที่ 14-24 สิงหาคม 2563

YPulse Finding Love Post-COVID Trend Report. ข้อมูลอ้างอิงจากแบบสำรวจคนอายุ 13-39 ปี จำนวน 1 พันคนในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนธันวาคม 2020

]]>
1327673
ส่องปรากฎการณ์ #แปลรักฉันด้วยไลน์แมน เมื่อ “อาหาร” สื่อความรักไม่แพ้ดอกไม้ https://positioningmag.com/1319949 Fri, 19 Feb 2021 12:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319949
เป็นอีกหนึ่งการ Collaboration ที่น่าสนใจในตลาด เมื่อ 2 แอปพลิเคชั่นขวัญใจคนรุ่นใหม่อย่าง LINE MAN ได้จับมือกับ Tinder ส่งแคมเปญ #แปลรักฉันด้วยไลน์แมน ฉลองเดือนแห่งความรัก นอกจากจะได้ส่งอาหารแทนความรักแบบฟินๆ แล้ว ยังสามารถส่งการ์ดวาเลนไทน์ผ่านไลน์ รวมถึงได้เซอร์ไพร์สเพื่อนด้วยโค้ด Tinder Plus ทดลองใช้ฟรีๆ ให้หายเหงาอีกด้วย

สื่อรักด้วย “อาหาร”

เริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ ขึ้นชื่อว่าเป็นเดือนแห่งความรักที่อบอวลไปด้วยความโรแมนติก แน่นอนว่าเราคงได้เห็นหลายแบรนด์จัดโปรโมชั่นกันกระหน่ำ ตั้งแต่ต้นเดือนยาวไปจนถึงวันวาเลนไทน์ หรืออาจจะยาวไปถึงสิ้นเดือนเลยก็มี ในปีนี้ได้เห็นความพิเศษของแคมเปญหนึ่งเป็นการจับมือกันของแบรนด์ในดวงใจของใครหลายๆ คน อย่าง LINE MAN และ Tinder เกิดเป็นแคมเปญ “แปลรักฉันด้วยไลน์แมน” สามารถสร้างมิติใหม่ให้การตลาดอย่างมาก

แนวคิดของแคมเปญนี้เกิดจากความคิดที่ว่า “อาหาร” เป็นสิ่งที่สื่อถึงความรักได้ไม่แพ้ดอกไม้ที่หลายๆ คนมอบให้คนรักในวันวาเลนไทน์ เราสามารถเลือกเมนูอร่อยๆ หรือเมนูโปรด เพื่อส่งให้กับคนที่เรารักได้ ไม่ว่าจะเป็นแฟน เพื่อน หรือครอบครัว สื่อให้เห็นถึงความเอาใจใส่ ความห่วงใย และความรู้ใจได้แบบไม่ต้องเอ่ยปากพูด

ซึ่งจริงๆ แล้วแคมเปญนี้ตรงกับจริตคนไทยอย่างมาก เป็นคนที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ไม่กล้าบอกความในใจกับคนที่เรารักแบบตรงๆ แต่แคมเปญนี้ได้ LINE MAN เป็นสื่อการในการส่งมื้ออาหาร เพื่อแทนคำในใจ หรือความรักนั่นเอง

แคมเปญนี้จึงมาพร้อมกับโปรโมชั่นที่จัดเต็ม โดนใจทุกความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็น ขนความอร่อยจาก 200 ร้าน พร้อมแนบการ์ดวาเลนไทน์สุดเอ็กซ์คลูซีฟเพื่อบอกความในใจ พิเศษสุด! สำหรับคนที่กำลัง หาคนพิเศษมานั่งกินมื้ออร่อยๆ ด้วยกัน LINE MAN ควง Tinder Thailand มอบเซอร์ไพรส์แจกโค้ด Tinder Plus ให้ใช้ฟรีถึง 7 วัน มีรายละเอียด ดังนี้

กองทัพร้านอาหารกว่า 200 ร้านใน Valentine’s Collection ที่ยกทัพมาให้อิ่มเป็นคู่ด้วยโปรโมชัน 1 แถม 1 หรือส่วนลดสูงสุดกว่า 50% อาทิ Auntie Anne’s, Cold Stone Creamery, SHINKANZEN SUSHI, After You, O’s Coffee, Cafe Amazon, Starbucks, On the table, Burger King, Swensen’s, Pizza Hut, Dunkin’, Baskin Robbins, Kinza Gyoza, The Alley และ อื่นๆ อีกมากมาย

ส่งการ์ดบอกความในใจผ่านไลน์

นอกจากจะสั่งเมนูอาหารให้คนพิเศษแล้ว ความพิเศษอยู่ที่สามารถกดส่งการ์ดสื่อรักพร้อมข้อความบอกความในใจผ่าน LINE ต้องบอกว่าดีไซน์ของการ์ดจะเอ็กซ์คลูซีฟแค่เฉพาะช่วงวาเลนไทน์เท่านั้น จะมีข้อความน่ารักๆ เช่น รักนะ จุ๊บๆ, All I Need is You, Love at First Bite, Have a Nice Day และอื่นๆ อีกมากมาย

นอกจากการ์ดนี้จะทำหน้าที่ในการสื่อรัก บอกความในใจแล้ว ยังสามารถติดตามสถานะการจัดส่งเมนูอาหารได้ด้วย แจ้งเตือนให้รู้ว่า “ของอร่อยกำลังไปถึงแล้วนะ”

เซอร์ไพร์สเพื่อนให้หายเหงา ด้วย Tinder

อีกหนึ่งความพิเศษที่ต้องบอกว่าเซอร์ไพร์สมากๆ เพราะการที่ LINE MAN จับมือกับ Tinder เพื่อเป็นการตอบโจทย์คนพิเศษที่ยังไม่มีคู่ หรืออยู่ในสถานะคนเหงา อาจจะเป็นเพื่อน หรือครอบครัวก็ได้ สามารถส่งอาหาร พร้อมกับส่งโค้ด Tinder ได้ด้วย

วิธีการอยู่ที่ว่า เมื่อสั่งเมนูโปรดจาก LINE MAN เสร็จ ก็เลือกชื่อเพื่อนในแอปฯ LINE เพื่อทำการส่ง “Tinder Valentine’s Card” ซึ่งการ์ดนี้จะเหมือนกับการ์ดบอกความในใจ แต่จะซ่อนเซอร์ไพรส์ด้วยสิทธิ์รับโค้ด Tinder Plus ใช้งานได้ฟรี 7 วันสำหรับคนที่สั่งอาหาร และเพื่อนที่รับอาหาร (รับสิทธิ์ได้ 1 ครั้งต่อผู้ใช้เท่านั้น)

แค่นี้ก็ทำให้เราสามารถปัดไลก์ได้ไม่จำกัด และยังมีพาสปอร์ตให้ไปหาเพื่อนกินข้าวจากระยะไกลได้อีกต่างหาก

แคมเปญนี้สื่อให้เห็นว่า ความรักไม่ได้จำกัดอยู่แค่คำหวานๆ ช่อดอกไม้ หรือช็อกโกแลต แต่อาหารก็เป็นหนึ่งในสื่อรักได้ เราสามารถส่งเมนูโปรด เมนูอร่อยจากร้านเด็ดให้คนที่เรารักได้ เป็นการแสดงความรักได้อย่างดี คนรับก็อิ่มท้อง คนให้ก็อิ่มใจ ฟินกันไปสุดๆ

#แปลรักฉันด้วยไลน์แมน ชวนคนในทุกความสัมพันธ์มาฉลองเทศกาลแห่งความรักผ่านมื้ออร่อยได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 11-28 กุมภาพันธ์นี้เท่านั้น สั่งเลยที่ https://lineman.onelink.me/1N3T/f1c26183


]]>
1319949