Zoom – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 13 Nov 2023 05:45:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Zoom ปรับแผนใหม่หลังคนกลับเข้าสำนักงานมากขึ้น นำ AI มาใช้ในผลิตภัณฑ์ช่วยในการทำงาน https://positioningmag.com/1451501 Mon, 13 Nov 2023 05:26:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451501 จากในอดีตแอปพลิเคชันอย่าง Zoom นั้นทุกคนรู้จักในฐานะแอปพลิเคชันสำหรับการประชุม แต่ล่าสุดบริษัทได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่โดยนำ AI เข้ามาผนวกกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถทำงานได้อย่างสะดวก มีประสิทธิผลในการทำงานมากกว่าเดิม

Business Insider รายงานว่า Zoom แอปพลิเคชันชื่อดังสำหรับการประชุม ได้เตรียมปรับกลยุทธ์ของบริษัทอีกครั้ง โดยบริษัทได้ยอมรับว่าจุดเปลี่ยนสำคัญคือการกลับเข้ามาทำงานในสำนักงานอีกครั้ง

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Zoom ถือว่าเป็นงแอปพลิเคชันสำหรับการประชุม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งการประชุมด้านธุรกิจของบริษัทต่างๆ ไปจนถึงใช้ในการเรียนการสอน ส่งผลทำให้บริษัทมีรายได้มหาศาลอย่างมาก ส่งผลไปยังราคาหุ้นของบริษัทด้วย

อย่างไรก็ดีหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ผ่านไป Zoom กลับมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือมีการเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนราวๆ 1,300 คน หรือประมาณ 15% ของพนักงานทั้งหมดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จากเหตุผลคือความต้องการใช้บริการดิจิทัลลดลง ซึ่งกระทบถึงรายได้ของบริษัทอย่างมาก

Frederik Maris ผู้บริหารประจำยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ของ Zoom ได้กล่าวว่า สำหรับบริษัทต่างๆ เช่น Zoom แพลตฟอร์มการสื่อสารผ่านวิดีโอ การเปลี่ยนแปลงจากการต้องกลับเข้าทำงานในสำนักงานนั้นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อปรับตัวให้เข้ากับโลกแห่งการทำงานใหม่

ผู้บริหารรายนี้ยังกล่าวว่า “เมื่อสองปีก่อน โดยพื้นฐานแล้ว Zoom เป็นเพียงแอปพลิเคชันการประชุมเท่านั้น” แต่ตอนนี้ทุกอย่างได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เขายังกล่าวว่า คนรู้จักแบรนด์ Zoom ในฐานะของแอปพลิเคชันสำหรับการประชุม ซึ่งในแง่หนึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่อีกแง่หนึ่งถือเป็นคำสาปด้วยเช่นกัน

แม้แต่วัฒนธรรมการทำงานของ Zoom เองก็เปลี่ยนไปเช่นกัน โดยนโยบายล่าสุดถ้าหากพนักงานอยู่ในรัศมี 50 ไมล์จากสำนักงานจะต้องเข้าสำนักงานอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์เช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงของ Zoom คือ การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยให้การทำงานนั้นสะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการช่วยร่างอีเมล การสรุปประชุม หรือแม้แต่ช่วยคิดหาไอเดียใหม่ๆ ในการประชุม ซึ่งบริษัทได้เปิดตัวเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ผู้บริหารประจำยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ของ Zoom ยังกล่าวว่า “ทุกคนกำลังพยายามหาวิธีใช้ AI ในลักษณะที่ช่วยให้พนักงานมีประสิทธิผลมากขึ้น” โดยเขาเองยอมรับว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีคู่แข่งรายสำคัญก็คือ Microsoft ซึ่งมีแอปพลิเคชันรวมถึงบริการอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งกับบริษัท

]]>
1451501
กลับลำ! ซีอีโอ “Meta” “Snap” “Zoom” เลิกอวย Work from Home หันมากดดันพนักงานที่ไม่เข้าออฟฟิศ https://positioningmag.com/1443468 Tue, 05 Sep 2023 06:42:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443468 หมดยุคทองของการ Work from Home แล้วหรือเปล่า? ล่าสุดทั้งซีอีโอของ Meta, Snap และ Zoom ต่างเปลี่ยนนโยบายให้พนักงานกลับมาเข้าออฟฟิศ และเริ่มกดดันลงโทษทางวินัยหรือไล่ออกพนักงานที่ไม่ยอมทำตาม ทั้งที่ก่อนหน้านี้ในช่วงโควิด-19 บรรดาซีอีโอต่าง อวย การทำงานจากบ้านว่าดีกับสมดุลชีวิตและการงานมากกว่า

3 ปีที่ผ่านมา โรคระบาดบีบให้หลายบริษัทต้องใช้นโยบาย Work from Home สำหรับพนักงานออฟฟิศ จนวิถีชีวิตการทำงานลักษณะนั้นเกือบจะมาแทนที่การเข้าออฟฟิศแบบเดิมๆ ไปโดยเฉพาะในโลกตะวันตก

อย่างไรก็ตาม บางบริษัทเริ่มทยอยเปลี่ยนใจ หันมาใช้นโยบาย “กลับเข้าออฟฟิศ” เหมือนเก่าแล้ว เช่น Meta และ Goldman Sachs ที่เริ่มต้นใช้นโยบายกลับเข้าออฟฟิศมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยมาพร้อมกับการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากพนักงานไม่เข้าออฟฟิศบ่อยครั้งเท่าที่กำหนด อาจจะมีบทลงโทษทางวินัยถึงขั้นไล่ออกได้

ที่ผ่านมาพนักงานส่วนใหญ่ให้ค่ากับบริษัทที่มีนโยบายอนุญาตการทำงานทางไกล (remote work) ไว้สูงมาก The Wall Street Journal เคยรายงานไว้ว่า พนักงานมองว่าการมีนโยบายยืดหยุ่นเรื่องที่ทำงานนั้นเทียบเท่ากับการให้เงินเดือนเพิ่ม 8% เลยทีเดียว ดังนั้น การปรับระบบกลับมาเข้มงวดเรื่องเข้าออฟฟิศจึงเป็นสิ่งที่สวนทางกับความรู้สึกพนักงาน

ในช่วงโควิด-19 มีซีอีโอหลายรายที่อวยยศให้การ Work from Home เป็นนวัตกรรมการทำงานที่ดี แต่ปัจจุบันนี้ ‘กลับลำ’ อย่างแรง เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานไม่ได้ดีอย่างที่คิด

 

‘Mark Zuckerberg’ แห่ง Meta จากอวยสู่ไล่ออก

(Photo by David Ramos/Getty Images)

ย้อนไปในช่วงเดือนพฤษภาคม 2020 หลังล็อกดาวน์ในสหรัฐฯ ผ่านไป 2 เดือน Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta เคยกล่าวในการประชุมภายในบริษัทว่า การมีนโยบายที่ทำงานแบบยืดหยุ่นทำให้บริษัทมีโอกาสเปิดกว้างขึ้นในการจ้างงาน ‘ทาเลนต์’ เพราะทาเลนต์ที่ไม่ต้องการย้ายมาอยู่เมืองใหญ่ก็สามารถทำงานกับ Meta ได้

ในแง่ชีวิตส่วนตัวของพนักงาน เขามองว่าการทำงานทางไกลทำให้ตัวเขาเองมีพื้นที่และเวลาได้คิดมากขึ้น และได้ใช้ชีวิตกับครอบครัวมากขึ้น ซึ่งทำให้เขามีความสุขและทำงานได้มีประสิทธิภาพ

เมื่อปี 2020 Zuckerberg ถึงกับวาดฝันว่าพนักงานของ Facebook จะได้ทำงานทางไกลกันใน 5-10 ปีข้างหน้า เขาถึงขั้นบอกด้วยว่าในปี 2022 เขาจะเริ่มทำงานจากระยะไกลสักครึ่งปี

ตัดภาพมาในปี 2023 บริษัท Meta กลับลำอย่างแรงเรื่องของการทำงานจากที่ไหนก็ได้ สำนักข่าว Business Insider รายงานว่า Meta จะเริ่มเข้มงวดเรื่องการกลับเข้าออฟฟิศของพนักงานตั้งแต่เดือนกันยายน 2023

พนักงานบางคนอาจจะได้รับอนุมัติให้ทำงานระยะไกลได้ แต่ส่วนใหญ่จะต้องเข้าออฟฟิศเกือบทั้งสัปดาห์การทำงาน พนักงานจะเริ่มถูกมอนิเตอร์จากฝ่ายบริหารว่าเข้ามาออฟฟิศจริง และจะเริ่มมีบทลงโทษทางวินัยหรือไล่ออก หากพนักงานไม่ให้ความร่วมมือเรื่องเข้าออฟฟิศ

ภาพการสนับสนุนของ Zuckerberg ว่าการทำงานแบบ Work from Home ช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพนั้นไม่มีอีกแล้ว ปัจจุบันเขากล่าวว่า จากการติดตามดาต้าด้านประสิทธิภาพการทำงานในบริษัท เขาพบว่า “คนที่ทำงานจากบ้านไม่มีประสิทธิภาพ และวิศวกรที่มาออฟฟิศนั้นทำงานสำเร็จได้มากกว่า”

 

Snap: จากใช้เวลากับครอบครัว ตอนนี้ขอใช้เวลากับพนักงาน

Even Spiegel ซีอีโอของ Snap ในงาน Snap Partner Summit 2023 (Photo by Joe Scarnici/Getty Images for Snap, Inc.)

Even Spiegel ซีอีโอของโซเชียลมีเดียใหญ่ Snap ในอดีตก็คิดคล้ายๆ กัน หลังผ่านการทำงานจากบ้านในช่วงล็อกดาวน์ไปเพียงเดือนครึ่ง เขาถึงกับบอกสื่อว่า “ผมบอกทีมผมแล้วว่า ผมจะไม่กลับไปออฟฟิศอีก”

เหตุเพราะการทำงานจากบ้านทำให้เขาได้ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น ได้ทานอาหารเช้าและข้าวเย็นกับที่บ้าน ได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว

แต่ตัดภาพมาถึงเดือนพฤศจิกายน 2022 ดูเหมือน Spiegel จะใช้ชีวิตกับครอบครัวมาจนพอแล้ว

เอกสารภายในของ Snap มีคำสั่งให้พนักงานของบริษัททุกคนต้องกลับเข้าออฟฟิศ 4 วันต่อสัปดาห์ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ซึ่งนโยบายนี้ถูกกำหนดให้ใช้กับสำนักงานของ Snap ทั้ง 30 แห่งทั่วโลก

เหตุผลเพราะตอนนี้เขามองว่าการมาทำงานร่วมกันแบบเจอหน้ากันจะทำให้ได้ใช้ศักยภาพสูงสุดในการทำงาน และความสะดวกสบายส่วนตัวที่แต่ละคนต้องสละไปนั้น เขาเชื่อว่าจะนำมาสู่การประสบความสำเร็จร่วมกันในทีม

 

แม้แต่ Zoom ยังให้เข้าออฟฟิศ

อีริค หยวน ขึ้นเป็นวิทยากรในงาน Dropbox Work In Progress Conference ปี 2019 (photo: Matt Winkelmeyer/Getty Images for Dropbox)

ในยุคการทำงานทางไกลระหว่างเกิดโควิด-19 “Zoom” คือบริษัทสุดฮอตที่พุ่งทะยานตีคู่มากับบรรดาบริษัทวัคซีน

นั่นทำให้ Eric Yuan ซีอีโอของ Zoom ยากที่จะปฏิเสธไม่ให้พนักงานทำงานทางไกลได้ เพราะถ้าทำเช่นนั้นก็เหมือนปฏิเสธบริการของบริษัทตัวเอง

เมื่อเดือนมกราคม 2022 ในช่วงที่บริษัทอื่นเริ่มให้กลับเข้าออฟฟิศได้แล้ว แต่ Zoom ประกาศว่ามีพนักงานของบริษัทเพียง 2% ที่เลือกกลับมาออฟฟิศ ตามนโยบายของบริษัทที่ให้พนักงานมีทางเลือก สามารถ Work from Home ได้

อย่างไรก็ตาม แม้จะสร้างโปรดักส์ที่เกี่ยวกับการทำงานทางไกลโดยตรง แต่ Yuan คือหนึ่งในกลุ่มซีอีโอที่ ‘รู้สึกคลางแคลงใจ’ กับการให้พนักงาน Work from Home ได้ตลอดไป เขาเป็นหนึ่งในคนที่มองว่าหลังผ่านช่วงโรคระบาดแล้ว ออฟฟิศต่างๆ น่าจะมีการทำงานแบบไฮบริดมากกว่า

ในที่สุด เมื่อเดือนสิงหาคม 2023 บริษัท Zoom แจ้งกับพนักงานของตนเองให้กลับมาออฟฟิศ โดยใครก็ตามที่อาศัยอยู่ในระยะ 50 ไมล์จากออฟฟิศ (ประมาณ 80 กิโลเมตร) จะต้องกลับมาทำงานในออฟฟิศอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์

Yuan กล่าวว่า การทำงานทางไกลทำให้พนักงานยากที่จะทำความรู้จักกันและสร้างความเชื่อใจกัน “ความเชื่อใจเป็นรากฐานของทุกอย่าง ถ้าไม่มีความเชื่อใจ เราจะทำงานได้ช้าลง” Yuan กล่าวในการประชุมภายในบริษัท

“เราไม่สามารถอภิปรายกับคนอื่นได้ดีนัก เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ใช้ Zoom ทุกคนจะพยายามทำตัวให้เป็นมิตรมากๆ” Yuan กล่าวยอมรับว่า Zoom มักจะไม่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดียอย่างตรงไปตรงมา แต่ว่าบริษัทของเขาจะพยายามพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อไป

น่าสนใจว่าการทำงานระยะไกลหรือ Work from Home ที่เคยถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ดี ทำให้พนักงานมีความสุขและมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น และอาจจะกลายเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ ปัจจุบันนี้มีแนวโน้มมีข้อเสียมากกว่าข้อดี เมื่อองค์กรพบว่าวิธีการทำงานแบบนี้ทำให้พนักงานไม่มีวัฒนธรรมองค์กร และบางทีก็ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานด้อยลงด้วย

Source

]]>
1443468
ซีอีโอ ‘Zoom’ ยอมลดเงินเดือน 98% พร้อมรับ “บริหารผิดพลาด” จนต้องปลดพนักงาน 1,300 คน https://positioningmag.com/1418341 Wed, 08 Feb 2023 04:42:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1418341 ย้อนไปในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ใหม่ ๆ หนึ่งในบริษัทที่ได้อานิสงส์จากตรงนี้ไปเต็ม ๆ ก็คือ Zoom แพลตฟอร์มวิดีโอแชทและวิดีโอคอลสำหรับทำงานในช่วงล็อกดาวน์ ส่งผลให้บริษัทได้จ้างพนักงานใหม่อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์การระบาดดีขึ้น ทำให้การใช้งานแพลตฟอร์มลดลง จนนำไปสู่การปลดพนักงานในที่สุด

Eric Yuan ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Zoom ได้เปิดเผยว่า บริษัทจะ เลิกจ้างพนักงาน ประมาณ 1,300 คน หรือประมาณ 15% ของพนักงานทั้งหมด โดยการปลดพนักงานจะส่งผลกระทบต่อทุกส่วนขององค์กร โดยการประกาศดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ Zoom เป็นอีกบริษัทเทคโนโลยีที่ปลดพนักงานในปีนี้ เนื่องจากความต้องการใช้บริการดิจิทัลลดลง

Yuan ยอมรับว่า เขาบริหาร ผิดพลาด ในช่วงที่เกิดการระบาด เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงแรก ๆ ของแพลตฟอร์ม Zoom โดยเฉพาะจาก ลูกค้าองค์กร ที่หันมาทำงานจากระยะไกล และเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นทำให้บริษัทได้จ้างพนักงานเพิ่มเป็นจำนวนมาก โดยภายใน 24 เดือน Zoom มีการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น 3 เท่า เพื่อจัดการกับความต้องการนี้ ในขณะเดียวกันก็เปิดใช้งานนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อความผิดพลาดดังกล่าว เขาและผู้บริหารคนอื่น ๆ จะยอมลดเงินเดือนลง โดยเขาจะลดเงินเดือนตัวเอง 98% ส่วน สมาชิกในทีมผู้นำฝ่ายบริหาร จะลดฐานเงินเดือนลง 20% ในปีงบประมาณที่จะถึงนี้ รวมถึงจะ ไม่ได้โบนัส ในปีงบประมาณ 2566 ด้วย

“ในฐานะซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Zoom ผมต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดเหล่านี้และการกระทำของเราในวันนี้ และผมต้องการแสดงความรับผิดชอบไม่ใช่แค่คำพูด แต่รวมถึงการกระทำของตัวเองด้วย ด้วยเหตุนี้ ผมจะลดเงินเดือนสำหรับปีงบประมาณที่จะถึงนี้ลง 98% และจะไม่รับโบนัสของปีงบประมาณ 2566” Eric Yuan กล่าว

หลังการประกาศดังกล่าว หุ้นของ Zoom เพิ่มขึ้นเกือบ 9% อย่างไรก็ตาม หุ้นของ Zoom ลดลงอย่างมากในปีที่แล้ว เนื่องจากมีพนักงานกลับไปทำงานออฟฟิศมากขึ้น

สำหรับบริษัทเทคโนโลยีที่ทำการลดคนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ ไม่ได้มีแค่ Zoom แต่มีทั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง eBay ที่เปิดเผยว่าจะลดงานประมาณ 500 ตำแหน่งทั่วโลก หรือประมาณ 4% นอกจากนี้ยังมี Dell ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 6,650 ตำแหน่ง หลังยอดขายคอมพิวเตอร์-โน้ตบุ๊กตก 37%

Source

]]>
1418341
สำหรับ “การประชุม” บางประเภท จริงๆ แล้ว “Zoom” อาจให้ผลที่แย่กว่าการ “โทรศัพท์” https://positioningmag.com/1381382 Tue, 12 Apr 2022 06:03:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381382 งานทดลองพบว่า “การประชุม” บางประเภทอาจไม่เหมาะกับการใช้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เช่น Zoom กลายเป็นว่า การใช้ “โทรศัพท์” อาจจะดีกว่า เพราะการเปิดหน้าในวิดีโอกลับส่งเสริมให้คนใดคนหนึ่ง ‘พูดอยู่คนเดียว’ มากกว่า

นักวิจัยจาก Carnegie Mellon University ศึกษาประสิทธิภาพในการร่วมมือกันทำงานของกลุ่มคน เปรียบเทียบเมื่อใช้การประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับผ่านโทรศัพท์ และเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจเมื่อนักวิจัยพบว่า “วิดีโอคอนเฟอเรนซ์กลับลดประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มที่ต้องการความร่วมมือระหว่างกันและการช่วยกันแก้ปัญหา”

“เราพบว่า วิดีโอคอนเฟอเรนซ์กลับกลายเป็นการลดความฉลาดของกลุ่ม (collective intelligence)” อนิตา วิลเลียมส์ วูลลีย์ หนึ่งในนักวิจัยและผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านทฤษฎีและพฤติกรรมองค์กรที่ Carnegie Mellon กล่าว “สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะ วิดีโอได้นำไปสู่การมีส่วนร่วมในบทสนทนาที่ไม่เท่าเทียมกัน และทลายการประสานเสียงในบทสนทนา งานวิจัยของเราเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการพูดคุยด้วยเสียง ซึ่งกลายเป็นว่าถูกลดทอนไปจากการเข้าถึงการใช้วิดีโอ”

งานวิจัยนี้ยังตั้งคำถามต่อเนื่องว่า ถ้าเช่นนั้นแล้วการใช้วิดีโอเพื่อประชุมงานยังจำเป็นอยู่ไหม

นักวิจัยพบว่าการใช้เสียงประชุมงานสำคัญยิ่งกว่าการใช้ใบหน้า จากการทดลองให้คู่ทำงาน 99 คู่ร่วมกันทำภารกิจ 6 อย่าง การทดลองพบว่าวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไม่เพียงแต่ลดความฉลาดของกลุ่มลง เทคโนโลยีนี้ยังทำให้การใช้เสียงพูดคุยกันได้อย่างราบรื่นลดลงไปด้วย เพราะแต่ละคู่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่ากันระหว่างสองฝั่ง

หากจะเทียบกับประสบการณ์ตรงของการใช้ Zoom คุณคงเคยพบเจอการประชุมที่คุณเอนหลังนั่งเงียบๆ และปล่อยให้คนใดคนหนึ่งพูดอยู่คนเดียวตลอดการประชุม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ยากกว่าหากประชุมผ่านทางโทรศัพท์ เพราะการโทรศัพท์มักจะมีช่วงว่างที่ไม่มีใครพูด (dead air) กดดันให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องพูดขึ้นมาบ้าง

อย่างไรก็ตาม การวิจัยด้านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ก็ยังใหม่มากในโลกนี้ และการทดลองครั้งนี้ก็ยังมีลักษณะเฉพาะ เน้นการประชุมเพื่อแก้ปัญหา ยังไม่รู้ว่าหากเป็นการบำบัดจิตผ่านวิดีโอจะให้ผลเหมือนกันไหม รวมถึงยังไม่รวมตัวแปรอื่นๆ เข้ามา เช่น ตำแหน่งหน้าที่ หากบอสคุยกับลูกน้องจะส่งผลอย่างไร หรือเพศที่ต่างกันจะส่งผลต่างกันไหม

ยังต้องติดตามการวิจัยในประเด็นนี้ต่อไปว่า การประชุมผ่าน Zoom ได้ผลน้อยกว่าการโทรศัพท์จริงหรือไม่

Source

]]>
1381382
การเติบโต ‘Zoom’ เริ่มชะลอตัว เนื่องจากทั่วโลกเริ่มกลับมาทำงานตามปกติ https://positioningmag.com/1375862 Tue, 01 Mar 2022 04:51:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375862 การเติบโตของรายได้ของ Zoom เริ่มชะลอตัวลงเนื่องจากพนักงานเริ่มกลับมาที่ออฟฟิศตามปกติ ขณะที่บริษัทต่าง ๆ ก็เริ่มหยุดการซื้อซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานทางไกล และหากย้อนไปตั้งแต่ที่บริษัท Zoom มีมูลค่าสูงสุดในเดือนตุลาคมปี 2020 ปัจจุบันมูลค่าได้หายไปมากกว่า 3 ใน 4

Zoom ออกมาเปิดเผยถึงรายได้ไตรมาส 4 ตามปีงบประมาณ 2022 ซึ่งสิ้นสุดในเดือนมกราคม โดยปิดที่ 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น 21% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2021 แต่ถือว่าชะลอตัวลงจากการเติบโต 35% ในไตรมาสก่อนหน้า มีกำไรสุทธิ 490.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 76% จากที่ไตรมาสก่อนเติบโต 74.2%

สำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน Zoom มีรายได้อยู่ที่ 4.53 – 4.55 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายถึงการเติบโต 10.7% โดย Zoom ระบุว่า บริษัทมีลูกค้า 509,800 ราย ลดลงจาก 512,100 ราย ในเดือนตุลาคม มีลูกค้าระดับองค์กร ที่สั่งซื้อผ่านฝ่ายขายของ Zoom โดยตรง มีจำนวนราว 191,000 ราย เติบโต 35%

“ธุรกิจองค์กรควรเติบโตประมาณ 20% เมื่อเทียบเป็นรายปีในปีงบประมาณปัจจุบัน ในขณะที่ธุรกิจออนไลน์จะทรงตัวเนื่องจากลูกค้ารายเล็กมักจะเข้า ๆ ออก ๆ” Kelly Steckelberg หัวหน้าฝ่ายการเงินของ Zoom กล่าว

ธุรกิจของ Zoom เริ่มเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่ เนื่องจากคนงาน นักศึกษา และผู้บริโภคปรับตัวเข้ากับชีวิตที่บ้านและการสื่อสารผ่านวิดีโอ ส่งผลให้มูลค่าตามราคาตลาดของบริษัทสูงสุดในเดือนตุลาคม 2020 ที่ประมาณ 1.59 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมูลค่าเกือบเท่ากับ Cisco ซึ่งมีมูลค่าตามราคาตลาดอยู่ที่ประมาณ 1.70 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจุบัน หุ้นของ Zoom ลดลงเกือบ 29% ซึ่งต่ำกว่าดัชนี S&P 500 ซึ่งลดลงประมาณ 9% ในช่วงเวลาเดียวกัน และเมื่อเทียบกับมูลค่าสูงสุดในเดือนตุลาคมปี 2020 ปัจจุบันมูลค่าได้หายไปมากกว่า 3 ใน 4

Source

]]>
1375862
HSBC ลอง ‘Zoom-free Friday’ งดประชุมทุกวันศุกร์ ลดความเหนื่อยล้าเกินไป เมื่อต้องทำงานที่บ้าน https://positioningmag.com/1331829 Wed, 12 May 2021 11:08:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331829 สถาบันการเงินรายใหญ่อย่าง HSBC ปรับกลยุทธ์ทำงานเเบบใหม่ รับเทรนด์ Remote Working ทดลอง Zoom-free Fridayงดประชุมออนไลน์ทุกวันศุกร์เพื่อลดความเครียด ความเหนื่อยล้าเกินไปของพนักงานที่ต้องทำงานจากบ้าน

การมาของโควิด-19 ทำให้หลายองค์กรต้องเปลี่ยนรูปเเบบการทำงาน ลดการใช้ออฟฟิศเเละหันมาประชุมออนไลน์มากขึ้น

HSBC ก็เตรียมลดขนาดพื้นที่สำนักงานลงกว่า 40% ภายหลังการระบาดใหญ่ พร้อมด้วยแผนการลดต้นทุนที่จะปลดพนักงานลงถึง 35,000 ตำเเหน่ง

สำหรับโครงการ Zoom-free Friday งดประชุมออนไลน์ทุกวันศุกร์โดยเฉพาะช่วงบ่ายนั้น จะเริ่มใช้กับพนักงานบางส่วนในสหราชอาณาจักรก่อน เเละให้พนักงานสามารถเอาช่วงเวลานั้นไปทำงานอย่างอื่นได้

ความสำคัญของ Work-life balance ในองค์กร ถูกจุดประเด็นขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อ Jonathan Frostick พนักงานระดับผู้จัดการ วัย 45 ปีของ HSBC ทำงานหนักจนป่วยเป็นโรคหัวใจวาย เเละต้องเข้าโรงพยาบาลเเบบกะทันหัน

เขาได้เเชร์เรื่องราวลงใน LinkedIn ส่วนตัว ถึงความเหนื่อยล้าจากการประชุมที่มากเกินไป คิดถึงเเต่เรื่องงานอยู่ตลอดเวลา ขณะที่พักรักษาตัวอยู่นั้น เขาก็คิดขึ้นได้ว่าต่อไปนี้ ฉันจะไม่ใช้เวลาทั้งวันไปกับ Zoom อีกต่อไป

โดยโพสต์ดังกล่าว มีผู้คนมาร่วมเเสดงความคิดเห็นกว่า 11,000 คอมเมนต์ ผู้ใช้เเพลตฟอร์มคนหนึ่ง ระบุว่าบริษัทต่างๆ กดดันให้พนักงานทำงานเกินขีดจำกัด โดยไม่คำนึงถึงความเป็นอยู่เเละชีวิตส่วนตัว

Photo : Shutterstock

การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องถูกจำกัดการเดินทาง หลายบริษัทงดให้พนักงานเดินทางมาที่ออฟฟิศ เเละให้ทำงานเเบบ Remote Working จากที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ ในเเต่ละวันเเพลตฟอร์มประชุมออนไลน์อย่าง Zoom , Microsoft Teams , Google Meet ฯลฯ จึงกลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญให้พนักงานสามารถพบปะกันเเละสื่อสารงานต่างๆ ได้

อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งก็ทำให้เกิด ‘Zoom fatigue’ หรือความเหนื่อยล้าจากการประชุมผ่าน Zoom โดยพบว่าพนักงานจำนวนมากมีความกังวลเพิ่มขึ้น เมื่อการงานได้รุกล้ำชีวิตส่วนตัวภายในบ้าน

เเม้เเต่ ‘อีริค หยวน’ ผู้ก่อตั้งเเพลตฟอร์ม Zoom ก็เปิดใจว่า เขาเองก็รู้สึกเหนื่อยจากประชุมออนไลน์ที่ไม่มีกำหนดเวลาเเละมากเกินไป

ก่อนหน้านี้ Citibank ได้ออกนโยบาย ‘ห้ามประชุมทุกวันศุกร์’ เพราะความไม่ชัดเจนของเส้นแบ่งระหว่างที่บ้านกับที่ทำงาน รวมถึงบริษัทหลายแห่งก็มีนโยบาย ‘จำกัดเวลาประชุมออนไลน์’ ออกมาเช่นเดียวกัน

ด้านทางเลือกการทำงานเเบบ ‘ไฮบริด’ ออฟฟิศผสมออนไลน์ ก็ได้รับความสนใจไม่น้อย อย่าง KPMG บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านบัญชี ก็อนุญาตให้พนักงานกว่า 16,000 คน สามารถ ‘เลิกก่อนเวลา’ ได้หนึ่งวันต่อสัปดาห์

 

ที่มา : BBC , Telegraph

]]>
1331829
Zoom ดาวรุ่งจากโควิด ยอดขายพุ่ง 326% มองปีนี้โตได้อีก ‘ทำงานที่ไหนก็ได้’ คือเทรนด์เเห่งอนาคต https://positioningmag.com/1321639 Wed, 03 Mar 2021 06:20:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321639 เเอปพลิเคชันวิดีโอคอล ‘Zoom’ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เเจ้งเกิดได้อย่างสวยงาม ในช่วงวิกฤตโรคระบาด เมื่อผู้คนต้องทำงานทางไกล เเละเรียนออนไลน์ในช่วงล็อกดาวน์ กลายเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตใหม่ที่จะดำเนินต่อไปเเม้ผ่านพ้น COVID-19

โดยในปี 2020 บริษัททำยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 326% สู่ระดับ 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีผลกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 671.5 ล้านดอลลาร์ จากเพียง 21.7 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 30 เท่า

Zoom Video Communications Inc. เผยผลประกอบการไตรมาสที่ 4/2020 (..2020 – ..2021) มีรายได้อยู่ที่ 882.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 369% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 69.7% เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 3/2020 ซึ่งอยู่ที่ 66.7%

‘Zoom’ ดังเป็นพลุเเตกชั่วข้ามคืน กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มหลักที่หลายองค์กรเลือกใช้สำหรับสื่อสารทางไกลระหว่างการทำงาน ขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้

นผีที่ผ่านมา การเเข่งขันเพื่อชิงตลาดของแอปพลิเคชันประชุมทางไกล เรียกได้ว่าถึงขั้นดุเดือดเมื่อ Zoom ต้องเจอคู่แข่งรายใหญ่ที่ก่อตั้งมานานอย่าง WebEx ของ Cisco, Google Hangouts และ Microsoft Teams 

อีริค หยวนผู้ก่อตั้ง Zoom ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง Zoom บอกว่า ตัวเลขยอดขายไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว เป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก นับเป็นปีที่มีสิ่งที่คาดไม่ถึง เกิดขึ้นมากมาย

เเม้ตอนนี้สถานการณ์โรคระบาดจะกลับดีมาดีขึ้น เเละมีการกระจายวัคซีนทั่วโลก เเต่เขาเชื่อว่า Zoom จะเติบโตได้ต่อเนื่อง ถึงจะไม่พุ่งเท่ากับปีก่อนก็ตาม การทำงานของ Zoom เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น

อีริคมองว่าการ ‘ทำงานที่ไหนก็ได้’ เเบบ Remote Working จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเทรนด์เเห่งอนาคต และแพลตฟอร์มของบริษัทจะยังคงตอบสนองกับเทรนด์นี้ เเละเตรียมความพร้อมให้กับผู้ใช้บริการต่อไป

โดยในปี 2021 บริษัทตั้งเป้าจะเติบโตมากกว่า 40% เพื่อทำยอดขายให้เเตะระดับ 3,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้อัตราการเติบโตจะไม่มากเท่ากับปี 2020 ที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ เเต่เชื่อว่าจะเป็นการเติบโตที่มั่นคงเเละยั่งยืนมากขึ้น

ต้องติดตามดูว่า Zoom จะมีกลยุทธ์เเละฟีเจอร์ใหม่ๆ อะไรออกมาดึงดูดลูกค้าในปีนี้ เมื่อผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติ พร้อมๆ กับที่บริษัทเทคเจ้าใหญ่ต่างเร่งเครื่องพัฒนาเเพลตฟอร์มวิดีโอคอล เพื่อเเข่งขันในตลาดนี้อย่างเต็มรูปเเบบ

 

]]>
1321639
ส่อง 10 ปรากฏการณ์ฝั่งไอทีปี 2020 ที่ได้ COVID-19 เป็นป๋าดัน https://positioningmag.com/1312416 Tue, 29 Dec 2020 12:04:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312416 กำลังจะหมดปี 2020 แล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นปีที่หนักสำหรับโลกและใครหลาย ๆ คนเพราะการระบาดของ ‘COVID-19’ แต่ก็มี ‘บางธุรกิจ’ ที่ได้อานิสงส์ที่ดีจากการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เราไปย้อนรอยความปังจากฝั่งธุรกิจ ‘ไอที’ กันดีกว่าว่ามีธุรกิจไหนที่ปังบ้าง

1. ปรากฏการณ์ ‘เจน-นุ่น-โบว์’ บน ‘TikTok’

สำหรับ ‘TikTok’ ในประเทศไทยเริ่มได้รับความนิยมเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่ภาพลักษณ์นั้นค่อนไปทางที่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะหลายคนมองว่ามีแต่เด็ก ๆ เล่น แต่ในปี 2020 เจ้า COVID-19 ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องกักตัวจนเบื่อบ้าน คนเลยต้องหาทางระบายซึ่ง TikTok คือหนึ่งในตัวช่วยนั้น เพราะทั้งมีฟีเจอร์ที่ถูกจริตคนไทยโดยเฉพาะสาย ‘ฮา’ ถูกใจแน่นอน แถมยังมี Challenge มาให้เล่นอีก ดังนั้น TikTok จึงเข้ามาตอบโจทย์ให้การอยู่บ้านมีสีสันมากขึ้น โดยไวรัลที่คนน่าจะจำได้เป็นอย่างดีก็คือ ‘เจน-นุ่น-โบว์’ หรืออย่างแฮชแท็ก #เมษาAtHome ที่ชวนคนไทยมาแชร์คลิปการกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์มียอดวิวรวมถึง 1.9 พันล้านครั้ง

2. ปลุกความเป็น ‘แม่ค้า’ ด้วยสารพัด ‘มาร์เก็ตเพลส’

เพราะห้างร้านต่าง ๆ ต้องปิดลงชั่วคราวในช่วงล็อกดาวน์ แต่เงินที่มีมันช่างร้อนนัก ต้องหาทางระบาย ประกอบกับพ่อค้าแม่ค้า หรือคนที่ว่างงานต้องพยายามหารายได้หรือสถานที่ในการขายของใหม่ ดังนั้น ‘eCommerce’ จึงเป็นทางออกเดียว นั่นเลยทำให้ทั้ง Lazada และ Shopee ต่างโกยลูกค้ารวมถึงพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ได้เพียบ

แต่ที่ถือว่าเป็นทีเด็ดจริง ๆ ต้องเป็น ‘Facebook Group’ เพราะในช่วงล็อกดาวน์เราได้เห็นการเปิดกลุ่มมาเพื่อขายของกันบานเบอะ ที่ดัง ๆ ก็มีอย่าง ‘จุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส’ ที่กลายเป็นต้นแบบให้หลาย ๆ สถาบันมาเปิดกลุ่มขายของบ้าง นอกจากนี้ ‘Facebook Live’ ที่เริ่มดังตั้งแต่ปี 2019 เพราะ ‘บังฮาซัน’ ในปี 2020 ก็ยิ่งปังมากกว่าเดิม โดยการไลฟ์ขายของในไทยเติบโตขึ้นถึง 173% สูงที่สุดในทวีปเอเชียเลยทีเดียว

คนดังชาวจุฬาฯ ฝากร้านในจุฬาฯมาร์เก็ตเพลส

3. Zoom ตัวช่วยประชุมและดูคอนเสิร์ต!

แพลตฟอร์ม VDO Conference มีมานานแล้ว แต่ยังไม่ได้ใช้แพร่หลายมากนัก เพราะทั้งการทำงานและการประชุมต่าง ๆ ก็มักจะทำกันที่ออฟฟิศเป็นปกติอยู่แล้ว แต่เพราะ COVID-19 ที่ทำให้คนต้อง Work from Home กัน แพลตฟอร์ม VDO Conference ต่างก็เลยได้อานิสงส์ไปเต็ม ๆ แต่ที่โดดเด่นสุดเห็นทีจะเป็น ‘ZOOM’ ที่ปังขนาดที่เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทมีมูลค่าตลาดสูงถึง 1.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

และไม่ได้ใช้แค่การทำงานเท่านั้น แต่ยังกระจายไปถึง ‘คอนเสิร์ต’ โดยแสตมป์-อภิวัชร เอื้อถาวรสุข ประกาศจัดคอนเสิร์ต “Stamp แอบดู Birthday Live” เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบรอบ 38 ปีของเจ้าตัว แต่เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้งานครั้งนี้เลือกจัดเป็นคอนเสิร์ตเสมือนจริง (Virtual Concert) บนโลกออนไลน์แทน โดยเปิดขายบัตรทั้งหมด 1,000 ใบ ราคาใบละ 380 บาท ซึ่งก็ขายเกลี้ยงใน 18 ชั่วโมงเท่านั้น

4. ฟู้ดเดลิเวอรี่ New Normal ที่แท้ทรู

อยากกินก็ต้องได้กิน แม้จะออกจากบ้านไม่ได้เพราะล็อกดาวน์ ซึ่งนั่นทำให้บริการ ‘ฟู้ดเดลิเวอรี่’ กลายเป้นพระเอกของคนไทยในช่วงล็อกดาวน์ไปโดยปริยาย และถือเป็นอีกทางรอดของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยจากเดิมช่วงก่อน COVID-19 ร้านอาหารหลายเเห่งอาจจะมีสัดส่วนการขายหน้าร้านต่อออนไลน์ ประมาณ 90:10 เเต่หลังจากมีโรคระบาด ร้านบางเเห่งอาจมีสัดส่วนมากถึง 70:30 หรือ 50:50 เลยก็ว่าได้

แต่ด้วยความปังของบริการทำให้มี ‘ดราม่า’ ออกมาเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของ ค่าส่วนแบ่งยอดขาย (GP Food Delivery) ที่ร้านอาหารระบุว่าผู้ให้บริการบางรายถือโอกาสขึ้นค่า GP ในข่วงขาขึ้นนี้ ซึ่งนั่นก็ทำให้ 2 แบงก์อย่าง ‘ไทยพาณิชย์’ ที่เปิดตัวบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ของตัวเองในนาม Robinhood และ ‘กสิกร’ ที่เปิดตัว Eatable (อีทเทเบิล) ใช้ช่องว่างนี้โกยลูกค้าด้วยการ ไม่เก็บค่า GP’ และการมาของผู้เล่นใหม่ ๆ แบบนี้ ปีหน้าคงได้เห็นอะไรเดือด ๆ อีกแน่นอน

5. Nintendo Switch ไอเทมสุดปัง

Nintendo เป็นอีกเเบรนด์ที่ได้รับ ‘อานิสงส์ที่ดี’ จากวิกฤต COVID-19 เพราะช่วงล็อกดาวน์คนแห่ ‘เล่นเกม’ ตอนอยู่บ้าน ทำให้ Nintendo สามารถกำไรครึ่งปีเเรกถึง 3 เท่า ปิดที่ 2.13 แสนล้านเยน (ราว 6.3 หมื่นล้านบาท) สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และในอาเซียนเอง Nintendo Switch กลายเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ได้รับความนิยมสูงสุดโดยขายดีเป็นลำดับต้น ๆ ใน 5 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ฮ่องกง และไทย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น Nintendo Switch ขายดีจนขาดตลาด ส่งผลให้จากราคาที่เคยขายกันหลักหมื่นต้น ๆ ก็พุ่งไปถึงกว่า 2 หมื่นบาทเลยทีเดียว

nintendo switch
Photo : Shutterstock

6. มือถือจอพับ

เป็นอีกนวัตกรรมที่ฮือฮาตั้งเเต่ปี 2019 สำหรับ ‘สมาร์ทโฟนจอพับ’ ที่หลายค่ายต่างพยายามโชว์ของกันสุดพลัง และในปี 2020 นี้ เบอร์ 1 ในตลาดโลกอย่าง ‘ซัมซุง’ ก็ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนจอพับรุ่นที่ 2 ก็คือ ‘Samsung Galaxy Z Flip’ สานต่อความสำเร็จของ Samsung Galaxy Fold ส่วนฝั่งของจีนอย่าง ‘หัวเว่ย’ ที่ขับเคี่ยวขึ้นเป็นเบอร์ 1 กับซัมซุง ก็ไม่น้อยหหน้าส่ง ‘Huawei Mate Xs 5G’ ลุยตลาดโดยมีราคาสุดสะพรึงที่ 89,990 บาท

นอกจากนี้ยังมีค่ายในตำนานอย่าง ‘โมโตโรล่า’ ก็เอาด้วย โดยส่ง ‘Motorola razr 5G’ มาประเดิมในสังเวียน แต่ไม่ใช่เเค่จอพับจะเป็นเทรนด์อีกต่อไป เพราะอีกหนึ่งค่ายใหญ่ของจีนอย่าง ‘ออปโป้’ ได้ส่งสมาร์ทโฟนตัวต้นแบบที่หน้าจอยืดได้ หดได้มาให้ชมกันในงาน OPPO X 2021

7. VIDEO Streaming โตกระโดด

อะไรก็ตามที่ทำให้คนแก้เบื่อช่วงล็อกดาวน์ได้สิ่งนั้นเติบโหมด ยิ่งโรงภาพยนตร์ยังไม่เปิดให้บริการ หรือเปิดแต่ก็ยังไม่มีหนังใหม่ ๆ เข้า ก็เลยเข้าทางบริการ ‘Video Streaming’ อย่าง ‘Netflix’ ก็โตพุ่งมาก โดยไตรมาสแรกของปีมีผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 16 ล้านราย หรือเป็นสองเท่าจากจำนวนผู้ใช้งานใหม่ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2019 และไตรมาส 2 ผู้ใช้ใหม่ยังเพิ่มอีก 7 ล้านราย หรือน้องใหม่อย่าง ‘Disney+’ ก็มีผู้ใช้ทะลุ 73.7 ล้านรายภายในเวลา 1 ปีเท่านั้น ส่วนในไทยเองหลายแพลตฟอร์มก็ปังไม่แพ้กันอย่าง ‘LINE TV’ ปัจจุบันมีผู้รับชมถึง 40 ล้านคน โดยมีแม่เหล็กอย่าง ‘ซีรีส์ Y’ หรือแพลตฟอร์มสัญชาติจีนอย่าง ‘Viu’ ก็มีเสียงพากย์ ‘อีสาน’ เจาะตลาดท้องถิ่นอีกด้วย

8. แบน Pornhub

จริง ๆ มีอีกแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งที่ปังแม้ไม่มี COVID-19 ซึ่งก็คือ ‘Pornhub’ ที่แถมยังใจดีแจก Premium ฟรีตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมาจนถึง 23 เมษายน เพื่อดึงดูดให้คนอยู่แต่บ้านไม่ต้องไปไหน แต่ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาก็เกิดเหตุการณ์ช็อกผู้ใช้ชาวไทย เมื่อ ‘กระทรวงดีอี’ สั่งให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับ เว็บ Pornhub จำนวนกว่า 191 URLs ที่มีเนื้อหาลามก อนาจาร ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือทุกค่ายต้องปฏิบัติตาม จนเหล่าชาวเน็ตผุด #SavePornhub พร้อมกับหา VPN เพื่อที่จะหาทางเข้าเว็บให้ได้อีกครั้ง

9. 5G ที่มาถูกเวลา

จริง ๆ แล้วศึก 5G แข่งขันกันตั้งเเต่ช่วงปลายปี 2019 หรือตั้งเเต่ยัง ‘ไม่มี 5G’ ด้วยซ้ำ โดยจะเห็นว่าค่ายสีเขียวและสีแดงต่างก็แย่งชิงพื้นที่เพื่อ ‘โชว์ศักยภาพ’ ของ 5G ว่าทำอะไรได้บ้าง และหลังจากที่ประมูลคลื่น 5G เสร็จในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นไม่นานก็ต้องเจอกับการ ‘ล็อกดาวน์’ เพราะ COVID-19 ซึ่งช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่แต่ละค่ายได้โชว์ศักยภาพของ 5G ในด้านเฮลท์แคร์ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ทางไกลหรือการใช้ ‘หุ่นยนต์’ ในโรงพยาบาลเพื่อลดการสัมผัส

และเเน่นอนว่าสำหรับผู้บริโภคเองก็ค่อนข้างจะตื่นตัวไม่น้อย เพราะ ‘iPhone 12’ ซึ่งเป็นรุ่นเเรกของค่าย Apple ที่รองรับ 5G ก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม โดยหลายคนได้วิเคราะห์ว่ายอดขาย iPhone 12 สะท้อนว่ากระเเสสมาร์ทโฟน 5G ในปีหน้าจะยิ่งแรงขึ้นอีกแน่นอน

10. ดราม่า OTP

อีกหนึ่งดราม่ารับสิ้นปีก็คือกรณี OTP ยืนยันการสมัคร ‘คนละครึ่ง’ โครงการที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศหลังจากมี COVID-19 ของค่าย ‘ดีแทค’ ดัน ‘ล่ม’ ทำให้ลูกค้าของดีแทคต้องเสียสิทธิ์ในการลงทะเบียนโครงการดังกล่าวจนเกิดแฮชแท็ก #dtac และ #คนละครึ่งเฟส2 ติดเทรนด์ทวิตเลย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ดีแทคเองต้องออกมาตรการมาชดเชยลูกค้าเป็นมูลค่า 3,500 บาท นับเป็นความปังส่งท้ายปีของค่ายสีฟ้าที่น่าเห็นใจเลยทีเดียว

]]>
1312416
เราอยู่ในยุคที่ Zoom แพลตฟอร์มประชุมทางไกล มีมูลค่าบริษัทสูงกว่า Exxon บริษัทน้ำมัน! https://positioningmag.com/1303935 Sat, 31 Oct 2020 06:20:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303935 Zoom แจ้งเกิดแบบเบิ้มๆ ในช่วงล็อกดาวน์จากโรคระบาด COVID-19 และปัจจุบันมูลค่าบริษัทพุ่งทะยานจนสูงกว่า ExxonMobil หนึ่งในบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว สะท้อนชัดว่าธุรกิจเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่น้ำมันในฐานะธุรกิจขาขึ้น

จากการประเมินเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2020 บริษัท Zoom มีมูลค่าตลาดสูงถึง 1.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐแล้ว เทียบกับบริษัท ExxonMobil ที่มีมูลค่าตลาด 1.389 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยการเติบโตของ Zoom ถือว่าพุ่งทะยานได้อย่างเหลือเชื่อ เพราะเมื่อต้นปี 2020 บริษัทนี้ยังมีมูลค่าตลาดเพียง 1.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

Exxon เองเพิ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า บริษัทจะเลย์ออฟพนักงาน 14,000 ตำแหน่งทั่วโลก (1,900 คนในจำนวนดังกล่าวเป็นพนักงานในสหรัฐฯ) เป็นความพยายามครั้งล่าสุดที่จะลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในสถานการณ์โรคระบาด ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับทั้งอุตสาหกรรมน้ำมัน

ขณะที่ “อีริค หยวน” ผู้ก่อตั้ง Zoom กลับมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวภายในเวลาเพียง 3 เดือน เขาถูกจัดอยู่ในลิสต์เศรษฐีที่รวยที่สุดในสหรัฐฯ 400 คน หรือ Forbes 400 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2020 โดยขณะนั้นเขามีสินทรัพย์ 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ต่อมาในวันที่ 29 ตุลาคม 2020 เขามีสินทรัพย์เพิ่มเป็น 2.13 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

อีริค หยวน ขึ้นเป็นวิทยากรในงาน Dropbox Work In Progress Conference ปี 2019 (photo: Matt Winkelmeyer/Getty Images for Dropbox)

แน่นอนว่าสินทรัพย์ของเขาเพิ่มขึ้นก็เพราะ Zoom ธุรกิจที่โตเร็วติดจรวด เมื่อคนทำงานจำนวนมากยังพึ่งพิงการประชุมทางไกลอย่างต่อเนื่อง และ Zoom เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่เบียดแย่งตลาดผู้ใช้กลุ่มนี้มาได้ จนราคาหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นถึง 600% ภายในรอบ 1 ปี

ในแง่ผลประกอบการของบริษัทช่วงไตรมาส 2 ของปีประกอบการ สิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2020 บริษัทรายงานรายได้ที่ 663.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 500.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัทยังคาดการณ์ว่าจะเติบโตต่อเนื่องด้วย แม้ว่าโรคระบาดจะคลี่คลายสถานการณ์ไปแล้วในหลายตลาด โดยตั้งเป้าทำรายได้ช่วงไตรมาส 3 ของปีประกอบการ สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2020 ไว้ที่ 690 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมประเมินรอบปีประกอบการนี้ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2021 ว่าจะทำรายได้แตะ 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับรอบปีก่อนที่ทำรายได้ 623 ล้านเหรียญ เป็นการเติบโตเกือบ 300%

อีริค หยวนไม่ใช่คนเดียวที่อู้ฟู่ขึ้นมากจากผลสำเร็จของบริษัท “เคลลี่ สเตคเคลเบิร์ก” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ Zoom มีสินทรัพย์เพิ่มเป็น 340 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว และกลายเป็นเศรษฐีหญิงหน้าใหม่ที่สร้างฐานะขึ้นมาด้วยตนเองของสหรัฐอเมริกา

Source

]]>
1303935
ปังไม่หยุด หุ้น ‘Zoom’ พุ่ง 41% ดันมูลค่าบริษัททะลุ 37,000 ล้านดอลลาร์ แซง ‘IBM’ https://positioningmag.com/1295101 Wed, 02 Sep 2020 07:05:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295101 ในช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนัก ส่งผลให้หลายองค์กรทั่วโลกต้องใช้มาตรการ ‘Work from Home’ ซึ่งทำให้แพลตฟอร์ม Video Conference เติบโตอย่างก้าวกระโดดแทบทุกราย โดยเฉพาะ ‘Zoom’ ที่เคยปังขนาดที่หุ้นเติบโตกว่า 121% และแม้จะมีปัญหาเรื่องข้อมูลรั่วหรือกรณีที่มีคนเข้ามาป่วนการสนทนา และมีการบังคับให้โทรออกโดยอัตโนมัติ รวมถึงไม่มีการเข้ารหัสแบบ end-to-end แต่สุดท้าย Zoom ก็ผ่านวิกฤติดังกล่าวมาได้ และยังคงเติบโต แม้กระแส Work from Home จะลดลง

อ่าน >>> มรสุม! ‘Zoom’ จบปัญหาข้อมูลรั่ว แต่เจอคู่แข่งใหม่ ‘Messenger Rooms’ ฉุดหุ้นหล่น 6%

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา หุ้นของ Zoom พุ่งสูงขึ้น 41% โดยปิดที่ 457.69 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ซึ่งทำให้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยรายได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีเติบโต 355% เป็น 663.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินโดยเฉลี่ย 163.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อหักต้นทุนต่าง ๆ พบว่า Zoom มีกำไรที่ 186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ยอดผู้ใช้งานของ Zoom เติบโตถึง 458% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจำนวนลูกค้าที่สร้างรายได้เกิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี มีอัตราการเติบโตมากกว่าสองเท่าจากปีก่อนหน้า

“ในขณะที่การแพร่ระบาดยังคงมีอยู่ เรามุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างหนักกับบทบาทของเราในการทำให้เกิดการสื่อสารทั่วโลกในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้” อีริค หยวน ซีอีโอ Zoom กล่าว

จากการเติบโตดังกล่าว ส่งผลให้ Zoom ได้ตั้งเป้าหมายรายได้ประจำปีสำหรับปี 2021 ไว้ที่ 2.37-2.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโต 282% โดยจะเน้นเปลี่ยนผู้ใช้บริการฟรีให้เป็นผู้ใช้บริการแบบชำระเงินให้มากที่สุด

ปัจจุบัน Zoom เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่มีค่าที่สุด 20 แห่งในสหรัฐฯ โดยมี Market Cap สูงกว่า IBM และใหญ่กว่า VMware มากกว่าสองเท่า

Source

]]>
1295101