Line – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 Sep 2023 11:08:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ได้ใช้แน่! ‘LINE’ เตรียมอัปเกรด ‘Group Chat’ ให้ “เก็บไฟล์ได้นานขึ้น” พร้อมเพิ่มฟีเจอร์ใหม่อีกเพียบ https://positioningmag.com/1445639 Wed, 27 Sep 2023 00:41:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445639 12 ปีที่แพลตฟอร์ม ไลน์ (LINE) ให้บริการในประเทศไทย จนปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 54 ล้านแอคเคาท์ และจากจุดเริ่มต้นเป็น แชทแอปฯ ปัจจุบันไลน์ได้เข้าไปอยู่เกือบทุกการใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน ทั้งเพย์เมนต์, การสั่งอาหาร, บริการเรียกรถ ฯลฯ แต่ที่น่าสนใจคือ ในปี 2023-2024 นี้ ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย ประกาศว่า ฟีเจอร์ แชท โดยเฉพาะ ไลน์กรุ๊ป จะถูกอัพเกรดให้ดีขึ้นในช่วงปี 2023-2024 นี้

ไทยมีไลน์กรุ๊ปกว่า 10 ล้านกลุ่ม

หนึ่งในฟีเจอร์ที่มีมานานของไลน์ก็คือ Group Chat หรือ ไลน์กลุ่ม ที่คนไทยใช้กันจนคุ้นเคยดีอยู่เเล้ว โดย นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ได้เล่าว่า ปัจจุบันกรุ๊ปไลน์ที่แอคทีฟในไทยมีสูงถึง 10 ล้านกลุ่ม เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเติบโตถึง +56% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยหมวดหมู่ยอดนิยม ได้แก่

  • กลุ่มเพื่อน 82%
  • ครอบครัว 80%
  • กลุ่มงาน 77%
  • โรงเรียน 27%
ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ยเเล้ว กลุ่มงาน เป็นกลุ่มที่ผู้ใช้มีมากที่สุดเฉลี่ย 9 กลุ่ม/คน ตามด้วย

  • กลุ่มเพื่อน 7 กลุ่ม/คน
  • กลุ่มของนักเรียน, นักศึกษา 5 กลุ่ม/คน
  • กลุ่มครอบครัว 4 กลุ่ม/คน

อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ คนไทยมีการส่งไฟล์ต่าง ๆ มากกว่าในหลายประเทศ โดย

  • ไฟล์รูปภาพ +68%
  • ไฟล์งาน (PDF, Word) +67%
  • ไฟล์เสียง +33%
  • ไฟล์วิดีโอ +21%

“ต้องยอมรับว่าในช่วงปี 1990-2010 คนอาจใช้อีเมลในการติดต่อการทำงาน เเต่ปัจจุบันไลน์กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้ทำงาน เพราะใช้ง่ายและสื่อสารได้เรียลไทม์”

 

ขณะที่ กลุ่มผู้ใช้ Group Chat มีทุกเจเนอเรชั่น ได้แก่

  • 15 – 19 ปี (45%)
  • 20 – 29 ปี (31%)
  • 30 – 39 ปี (32%)
  • 40 – 44 ปี (33%)
  • 45 – 49 ปี (34%)
  • 50+ ปี (37%)

ทั้งนี้ ในแต่ละกลุ่มก็จะมีช่วงอายุผู้ใช้ที่แตกต่างกันไป อาทิ กลุ่มงานผู้ใช้หลักจะเป็นช่วงอายุ 25-49 ปี แต่ที่แอคทีฟมากสุดเป็นช่วงอายุ 35-39 ปี เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่เป็นระดับซีเนียร์ของบริษัทที่ต้องคอยตามงาน ส่วนกลุ่มครอบครัวผู้ใช้ที่แอคทีฟมากสุดจะเป็นผู้สูงอายุและเด็ก

นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ

เตรียมพบฟีเจอร์ใหม่ในไลน์กลุ่มปีหน้า

ด้วยความที่คนไทยมีการประยุกต์ใช้ไลน์กลุ่มในหลายบทบาทการใช้ชีวิต ดังนั้น ในปี 2023-2024 จากนี้ ทีมงานไลน์ก็จะมุ่งไปที่ฟีเจอร์ใหม่สำหรับไลน์กรุ๊ป ซึ่งจะเป็นการเดเวลอปโดยทีมงานไทย สำหรับใช้ในไทย ซึ่งจะได้เห็นกันในปีหน้า

เบื้องต้น อาจจะมีฟีเจอร์ที่ช่วยในการฟีเจอร์ นัดหมาย ฟีเจอร์ คำนวณการแชร์ค่าอาหาร ที่จะเหมาะกับกลุ่มเพื่อน หรือในส่วนของการทำงานก็จะมีการ ยืดอายุการเก็บไฟล์, การบริหารจัดการโฟลเดอร์ เป็นต้น

“เราจะเน้นพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ให้เกิดสมดุลในการทำงาน การใช้ชีวิตและครอบครัวไปพร้อมกัน บางโซลูชันอาจมีลักษณะเป็น B2B2C ที่องค์กรอาจต้องซื้อเพื่อให้พนักงานใช้”

ไลน์สติกเกอร์แบบซับสคริปชั่นใช้ไม่อั้น

ในส่วนของ ไลน์สติกเกอร์ (LINE STICKERS) ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้หลักให้กับไลน์ โดยปัจจุบัน ผู้ใช้ไลน์จะมีสติกเกอร์เฉลี่ยประมาณ 5 ชุด/คน ล่าสุด ไลน์ก็ได้เปิดตัว LINE STICKERS Premium ที่เป็นรูปแบบซับสคริปชั่นโมเดล สามารถใช้สติกเกอร์ได้ไม่อั้นจากทั้งหมด 9 ล้านเซต แต่จะใช้ได้เฉพาะสติกเกอร์ที่วางจำหน่ายแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน

โดย LINE STICKERS Premium จะแบ่งเป็น 2 แพ็กเกจ ได้แก่

  • Basic ราคา 69 บาท/เดือน หรือ 699 บาท/ปี เลือกสติกเกอร์ใช้งานได้สูงสุดรวมไม่เกิน 5 เซ็ต สับเปลี่ยนเข้าออกได้ตลอดเวลา
  • Deluxe ราคา 139 บาท/เดือน หรือ 1,300 บาท/ปี นอกจากใช้สติกเกอร์แล้ว ยังสามารถใช้งานธีมกว่า 1.5 ล้านแบบ และอีโมจิอีก 120,000 อีโมจิ แบบไม่จำกัดจำนวน

 

รัฐธีร์ ฉัตรดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจโฆษณา อธิบายว่า หนึ่งในสาเหตุที่ไลน์เพิ่มโมเดล Subscription เป็นเพราะ พฤติกรรมการใช้งานของ คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ Gen Z ที่ คุ้นชินกับบริการแบบ Subscription มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการ เพิ่มโอกาสให้ครีเอเตอร์ เนื่องจากผู้ใช้มีโอกาสที่จะได้ลองใช้งานสติกเกอร์ได้มากขึ้น ทำให้สามารถกระจายรายได้ไปสู่ครีเอเตอร์ได้ดีขึ้น โดยสติกเกอร์เซตไหนถูกใช้ รายได้ก็จะแบ่งให้กับครีเอเตอร์คนนั้น ๆ

อย่างไรก็ตาม ทางไลน์ไม่ได้มองว่าโมเดล Subscription จะทำให้รายได้จากไลน์สติกเกอร์เพิ่มมากขึ้น แต่จะทำให้ รายได้มีความเสถียร ไม่ต้องรอขายสติกเกอร์เป็นเชต ๆ แบบเดิม

“ราคาเริ่มต้น 69 บาท ซึ่งมันไม่ต่างจากซื้อสติกเกอร์เป็นเซตมาก เราเลยไม่ได้คาดหวังว่ารายได้จากสติกเกอร์จะเติบโตมากขึ้น แต่มันจะเสถียรมากขึ้น”

เปิด Open Platform ให้เดเวลอปเปอร์ Plug-In สร้างรายได้

วีระ เกษตรสิน รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ได้เปิดเผยว่า ในช่วง 5 ปี จากนี้ LINE จะมุ่งสู่การเป็น แพลตฟอร์มเปิด ให้องค์กรรัฐ เอกชน หรือเดเวลอปเปอร์ สามารถเข้ามา Plug-In เพื่อสร้างบริการและโซลูชันที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานทั้งภาค ธุรกิจ พันธมิตรของไลน์ และผู้ใช้งานทั่วไป ผ่าน 4 กลยุทธ์ ได้แก่

  1. Extensive Plug-Ins เปิดการเชื่อมต่อกับระบบหรือโซลูชันอื่น ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งโซลูชันที่คิดค้นเพิ่มเติมโดยไลน์เอง และระบบที่พาร์ตเนอร์หรือนักพัฒนาทั่วไปได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ชาวไทยในมิติที่กว้างและลึกขึ้น
  2. Data Utilization ส่งเสริมให้พันธมิตรและนักพัฒนาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างไร้รอยต่อ นำไปสู่การใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตได้อย่างแท้จริง 
  3. Performance Marketing เพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดบนแพลตฟอร์ม ด้วยศักยภาพการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่แข็งแกร่งขึ้น สร้างการเติบโตให้ภาคธุรกิจผ่านโซลูชันต่าง ๆ ของ LINE ได้อย่างยั่งยืน
  4. Privacy Focused คงไว้ซึ่งการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างเคร่งครัด
วีระ เกษตรสิน รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์

นอกจากนี้ ไลน์ได้วาง 3 โรดแมป ยกระดับเทคโนโลยี ได้แก่ 

  1. Customer Data Tools เพิ่มขีดความสามารถในจัดการข้อมูลลูกค้าผ่านเครื่องมือ MyCustomer ในการเก็บรวบรวม 1st Party Data ของผู้บริโภค โดยให้อำนาจร้านค้าในการเข้าถึงและจัดการข้อมูลได้มากกว่าที่เคย โดยมีแผนการเปิดตัว MyCustomer สำหรับกลุ่มธุรกิจรายย่อย (SME) และในอนาคต สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ต้องการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการทำ CRM โดยเฉพาะ
  2. Ads Improvement ปรับปรุงเครื่องมือสำหรับการโฆษณาบน LINE ให้สามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ข้อมูลที่แบรนด์ได้มาเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น อาทิ การเพิ่ม Segment ในการหากลุ่มเป้าหมายผ่าน Persona Targeting ให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น และการเปิดให้ภาคธุรกิจ ร้านค้า สามารถนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคบน LINE SHOPPING มาวิเคราะห์แบ่งกลุ่ม เพื่อการยิงโฆษณาผ่าน LINE ADS ได้แม่นยำและครอบคลุมขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
  3. API & Plug-In เปิดขยายการเชื่อมต่อ API ให้มีความหลากหลายและตอบโจทย์เฉพาะด้านได้อย่างครอบคลุมขึ้น อาทิ LINE SHOPPING API, Messaging API รวมถึงแผนการเปิดตัว LINE OA Plus Plug-in Store แหล่งรวมโซลูชันสำหรับนักพัฒนานอกองค์กร LINE ในการนำเสนอโซลูชันใหม่ ๆ และยังเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย ในการมองหาโซลูชันให้ตรงกับความต้องการ

“เรามองว่าไลน์คนเดียวไม่สามารถตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาให้กับลูกค้าหรือพาร์ตเนอร์ได้ทุกเรื่อง ดังนั้น หากมี Plug-In ที่ตอบโจทย์ได้ เราก็จะเติบโตได้เร็วขึ้น ดีขึ้น ส่วนเดเวลอปเปอร์ก็จะมีรายได้จากเรเวอร์นิวแชร์ริ่ง หรือในอนาคตอาจจะมีผลตอบเเทนรูปแบบอื่น ๆ ที่เดเวลอปเปอร์จะคุ้มต่าแน่นอน” วีระ ทิ้งท้าย

]]>
1445639
LINE BK ลุยธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต จับมือ MTL ส่งประกันชีวิตและสุขภาพ ราคาเข้าถึงได้ https://positioningmag.com/1445636 Tue, 26 Sep 2023 18:54:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445636 LINE BK ได้เปิดตัวธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต ภายใต้บริษัท กสิกร ไลน์ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด โดยบริษัทได้จับมือกับ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต นำเสนอประกันที่ซื้อกรมธรรม์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแอปพลิเคชัน LINE โดยจับจุดเด่นในเรื่องราคาที่เข้าถึงได้

ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด ได้กล่าวว่า LINE BK ตั้งเป้าที่จะเข้ามาทำให้เรื่องเงินเป็นเรื่องง่ายในแอปพลิเคชัน LINE โดยมุ่งพัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการด้านการเงินของลูกค้า เช่น การออม สินเชื่อ การป้องกันความเสี่ยง และการลงทุน โดยบริษัทได้เปิดตัวบริการ LINE BK Insurance Broker ภายใต้ บริษัท กสิกร ไลน์ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ LINE BK มองถึงตลาดประกันฯ ก็คือ ประกันฯ เป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินพื้นฐาน ที่จะเข้ามาช่วยให้ลูกค้าสามารถวางแผนบริหารจัดการทางการเงิน เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดเกี่ยวกับสุขภาพและอุบัติเหตุได้ดีมากยิ่งขึ้น

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ LINE BK มองว่า ขณะเดียวกันก็มองว่าธุรกิจประกันชีวิต ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประชาชนเริ่มให้ความสำคัญของการทำประกันชีวิตและสุขภาพมากขึ้น แนวโน้มค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐเรื่องมาตรการลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เป็นต้น

สาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการผสานความแข็งแกร่งของทั้งสององค์กรในการเป็นช่องทางที่จะช่วยทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแบบประกันชีวิตและความคุ้มครองสุขภาพ ซึ่งสามารถเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเมืองไทยประกันชีวิต ยังได้กล่าวเสริมว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์กับ LINE BK ยังมองว่าสามารถเจาะตลาดใหม่ได้มากขึ้น ซึ่งเขาเห็นโอกาสจากข้อมูลที่ว่าวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี เริ่มสนใจในการซื้อประกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งแตกต่างกับอดีต โดยมีปัจจัยเรื่องของราคาเข้ามาด้วย

ในเบื้องต้น LINE BK ได้นำ 5 ผลิตภัณฑ์ ของ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กับแพ็กเกจประกันชีวิตและสุขภาพมานำเสนอบนช่องทาง LINE BK ดังนี้

  1. ผู้ป่วยนอกเบาเบา ช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก
  2. โรคร้ายเจอจ่าย รับเงินก้อนเมื่อตรวจเจอโรคร้ายทั้งระยะเริ่มต้นและระยะรุนแรง
  3. ผู้ป่วยในท็อปอัพ ช่วยเติมเต็มค่ารักษาส่วนเกินจากประกันหรือสวัสดิการที่มีอยู่เมื่อนอนโรงพยาบาล
  4. ผู้ป่วยในเหมาเหมา เหมาจ่ายค่าห้องเดี่ยวมาตรฐานและค่ารักษาตามจริง
  5. ชดเชยไม่ขาดเงิน ให้ความคุ้มครองค่าชดเชยรายวัน

สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์สามารถดูรายละเอียดได้จาก LINE BK ได้ ซึ่งในแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีค่าเบี้ยที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน โดยทุกแบบประกันสามารถสมัครได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงตอบคำถามสุขภาพตามความเป็นจริง และไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาลคู่สัญญาของเมืองไทยประกันชีวิต

ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจประกันชีวิต ในฐานะโบรกเกอร์ของ LINE BK คงหนีไม่พ้นเรื่องของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ เรื่องปัญหาปากท้อง ที่ต้องคอยติดตามว่ามีแนวโน้มดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ในอนาคตตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ออนไลน์ร่วมกับพันธมิตร เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ธนา ยังได้กล่าวว่า การส่งประกันออกมานั้นต้องการที่จะเจาะลูกค้าของ LINE BK ซึ่งเขายังไม่ได้ตั้งเป้าหมายในปีนี้ แค่อยากรู้ว่าผู้บริโภคสนใจเข้ามาดูผลิตภัณฑ์มากแค่ไหนแล้วค่อยมาปรับแผนธุรกิจอีกที เหมือนเป็นการทดลอง และถ้าหากแก้ปัญหา Pain Point ของคนตัวเล็กได้ ก็สามารถทำให้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วไปได้มากขึ้น

]]>
1445636
ผู้บริโภคจะเห็นอะไรใหม่หลัง Rabbit LINE Pay กลายเป็นของ LINE MAN Wongnai และ LINE เต็มตัว https://positioningmag.com/1443484 Tue, 05 Sep 2023 09:04:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443484 ถือเป็นดีลที่สองของปี หลังจากที่ LINE MAN Wongnai เข้าซื้อกิจการ FoodStory สตาร์ทอัพไทยผู้พัฒนาระบบ POS (Point of sale) ล่าสุด LINE MAN Wongnai และ LINE ได้เข้าซื้อ Rabbit LINE Pay จากผู้ถือหุ้นเดิม สำหรับผู้ที่ใช้งานอยู่แล้วจะได้เห็นอะไรจากนี้บ้าง ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai และ ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย ได้ออกมาอธิบายให้ฟัง

LINE MAN Wongnai ถือหุ้นสูงสุดใน RLP

ถ้าเป็นคนกรุงเทพฯ ที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS บ่อย ๆ เชื่อว่าก็คงจะใช้บริการ Rabbit LINE Pay (RLP) แน่นอน ซึ่ง Rabbit LINE Pay นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดจาก LINE Thailand ร่วมมือกับทาง Rabbit Card และ mPay แพลตฟอร์มบริการทางการเงินของ AIS เข้ามาลงทุนร่วมกันเมื่อปี 2018 โดยทั้ง 3 พาร์ทเนอร์นั้นถือหุ้นเท่า ๆ กัน

โดยจุดเด่นของ Rabbit LINE Pay ก็คือ การใช้งานผ่านแพลตฟอร์ม LINE ได้เลยโดยไม่ต้องโหลดแอปฯ เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตั๋ว BTS, ซื้อสินค้าใน LINE เช่น สติกเกอร์ รวมไปถึงร้านค้าชั้นนำต่าง ๆ ทั้งนี้ ตัวเลข ณ ปี 2022 Rabbit LINE Pay มีจำนวนผู้ใช้กว่า 10 ล้านราย

แม้จะไม่มีการเปิดเผยถึงมูลค่าการเข้าซื้อหุ้น RLP ต่อจาก แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด และ บริษัท แรบบิทเพย์ ซิสเทม จำกัด แต่ ยอด ชินสุภัคกุล เปิดเผยว่า LINE MAN Wongnai เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยเชื่อว่า RLP นั้นเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจของ LINE MAN Wongnai โดยเปรียบเสมือน น้ำมันหล่อลื่น ให้กับธุรกิจ เพราะในทุกบริการต้องใช้ระบบเพย์เมนต์ นอกจากนี้ ยอด ยังมองว่า ตลาดอีเพย์เมนต์ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

“ทุกบริการของ LINE MAN Wongnai ไม่ว่าจะเป็น Food, Taxi Messengers หรือ LINE เองก็มีบริการอีคอมเมิร์ซอย่าง LINE Shopping และทุกอย่างต้องใช้ระบบเพย์เมนต์ทั้งหมด ดังนั้น RLP จะมาช่วยให้บริการต่าง ๆ มันไร้รอยต่อ (Seamless) มากขึ้น” ดร.พิเชษฐ กล่าวเสริม

จะได้เห็นอะไรใหม่?

ในแง่ขององค์กร RLP ยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทั้งออฟฟิศและพนักงาน ในส่วนของผู้ใช้ก็เช่นเดียวกัน บริการไหนที่เคยใช้ได้ก็ยังใช้ได้ตามเดิม ไม่ว่าจะเติมเงินขึ้นรถไฟฟ้า BTS หรือการใช้จ่ายผ่านร้านค้าพันธมิตร ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคอยากรู้คือ บริการใหม่ที่จะได้เห็น

ซึ่ง ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ได้เปิดเผยว่าจะมีบริการใหม่ ๆ เกิดขึ้นแน่นอน อย่างน้อยที่จะได้เห็นก็คือ สิทธิพิเศษที่มากขึ้น หากใช้งาน RLP ผ่าน LINE หรือ LINE MAN รวมถึงความเป็นไปได้ของบริการ กู้เงินออนไลน์ เพราะทาง LINE เองก็มี LINE BK บริการทางการเงินแบบ Social Banking ของบริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างบริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (บริษัทในเครือของธนาคารกสิกรไทย) และบริษัท ไลน์ ไฟแนนเชียล เอเชีย (LINE Financial Asia) อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแผนชัดเจนว่าจะเห็นบริการใหม่ ๆ เร็วสุดเมื่อไหร่

“อาจยังไม่ชัดเจนว่าจะมีบริการอะไรใหม่ ๆ แต่เราจะพยายามดันทรานแซคชั่นของทั้ง LINE MAN Wongnai และ LINE เข้าไปใช้ใน RLP ให้ได้มากที่สุด แต่เราอยากให้คนเข้ามาในแพลตฟอร์มของเราแล้วทำได้ทุกอย่างตั้งแต่สั่งอาหารจนถึงกู้เงิน” ดร.พิเชษฐ กล่าว

ไม่ได้แข่งแค่กับ e-Wallet ด้วยกัน

แม้ว่าตลาดอี-วอลเล็ตปีนี้ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง ดอลฟิน วอลเล็ต จะหายไป แต่การแข่งขันก็ไม่ได้ลดน้อยลง โดย ยอด อธิบายว่า ตลาดอีเพย์เมนต์ยังมีความท้าทายจาก พร้อมเพย์ ที่ทำให้ทุกอย่างใช้งานได้อย่างเปิดกว้าง นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม เป๋าตัง ของรัฐบาล ดังนั้น การแข่งขันจึงกว้างมากเพราะมีทั้งธนาคารและแพลตฟอร์มอีวอลเล็ต ซึ่ง RLP ก็อยากจะเป็นผู้เล่นหลักของตลาดไทย ดังนั้น การมีบริการต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคยังใช้งานเป็นโจทย์ที่สำคัญ

“อย่างเป๋าตังเขาก็มีบริการซื้อสลากออนไลน์เพื่อดึงดูดให้ใช้งาน นี่ก็เป็นโจทย์ของเราว่านอกจากบริการที่มีที่ผู้บริโภคใช้อยู่แล้ว เราจะเพิ่มอะไรเข้าไปได้อีก”

อย่างไรก็ตาม ทิศทางของตลาดอีเพย์เมนต์ มีแต่ขาขึ้นไม่มีทางลง ตลาดจะใหญ่ขึ้นอีกเพราะผู้บริโภคใช้งานชินตั้งแต่เกิดโควิดระบาด คนใช้เงินสดน้อยลง เพียงแต่ตลาดยังไม่มาชัวร์ เพราะยังมีผู้เล่นที่ออกจากตลาดไปและยังมีผู้เล่นใหม่ ๆ เข้ามา

ปัจจุบัน แม้บริการ RLP จะยังไม่ทำกำไร โดยในปี 2565 รายได้รวม 319.63 ล้านบาท ขาดทุน 156.65 ล้านบาท แต่ในส่วนของผู้ใช้ยังคงเติบโต โดย ยอด กล่าวว่า ยังไงต้องทำให้ RLP มี กำไร และเติบโตในฐานะ STAND ALONE COMPANY ที่แข็งแกร่ง

]]>
1443484
คุยกับ ‘ไลน์ สติกเกอร์’ กับโจทย์ใหญ่จะ ‘ขาย’ อย่างไรในวันที่คน “ไม่อยากมีสติกเกอร์เพิ่ม” https://positioningmag.com/1422669 Sat, 11 Mar 2023 06:10:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422669 ก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด ‘ไลน์ สติ๊กเกอร์’ (LINE STICKERS) ที่ถือเป็น 1 ใน 3 ธุรกิจที่สร้างรายได้หลักให้กับ ไลน์ (LINE) ซึ่งกำลังอยู่ในช่วง อิ่มตัว แต่พอทุกคนต้องอยู่บ้านเพราะการระบาด การเติบโตของสติ๊กเกอร์ก็พุ่งขึ้นอีกครั้ง และในช่วงที่การระบาดกลับสู่ภาวะปกติ โจทย์เรื่องอิ่มตัวของสติ๊กเกอร์ก็กลับมาอีกครั้งหรือไม่ บี อิสรี ดำรงพิทักษ์กุล หัวหน้าธุรกิจ LINE STICKERS, LINE ประเทศไทย จะมาให้คำตอบ

ผู้ใช้ไลน์มีสติ๊กเกอร์เฉลี่ย 120 ชุด/คน

ปัจจุบัน แพลตฟอร์ม ไลน์ ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้สูงถึง 53 ล้านราย และสิ่งที่ผู้ใช้งานไลน์ทุกคนต้องมีก็คือ สติ๊กเกอร์ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกซื้อกว่า 5.8 ล้านชุด โดยในอดีตนั้นผู้ใช้งานไลน์มีสติ๊กเกอร์ในมือเฉลี่ยเพียง 40 ชุด/คน แต่ปัจจุบันได้เติบโตขึ้นเป็น 120 ชุด/คน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นสติ๊กเกอร์ที่ ซื้อเอง

อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 ธุรกิจสติ๊กเกอร์ของไลน์ก็เริ่มถึงจุด อิ่มตัว แต่เมื่อทั่วโลกเจอการระบาดของ COVID-19 ผู้บริโภคต้องอาศัยอยู่แต่บ้านทำให้ยอดขายสติ๊กเกอร์เติบโตสูงขึ้นกว่า 20% โดยเฉพาะการสติ๊กเกอร์ที่ จิกกัดสถานการณ์ของโควิด เพราะผู้บริโภคใช้สติ๊กเกอร์เป็นตัวสื่อถึงความรู้สึก

“พอคนอยู่บ้านเยอะ ๆ ไม่มีอะไรทำ เขาก็จะส่งสติ๊กเกอร์บอกความรู้สึกเพราะไม่มีเรื่องจะคุยกัน ดังนั้น แอคชั่นที่ส่งกันเยอะ ๆ ช่วงโควิดจะไม่ใช่สติ๊กเกอร์ที่เป็นคำพูด แต่เป็นสติ๊กเกอร์ที่สื่อถึงความรู้สึก” อิสรี อธิบาย

อิสรี ดำรงพิทักษ์กุล หัวหน้าธุรกิจ LINE STICKERS, LINE ประเทศไทย

ภาวะอิ่มตัวกลับมาอีกครั้ง

แม้ว่าจุดอิ่มตัวกำลังมา แต่โควิดก็ทำให้สติ๊กเกอร์กลับมาเติบโตอีกครั้ง และเมื่อการระบาดของโควิดกลายเป็นเรื่องปกติ ผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ จุดอิ่มตัวของสติ๊กเกอร์ก็กลับมาอีกครั้ง และมาในจุดที่ ผู้บริโภคไม่อยากจะมีสติ๊กเกอร์เพิ่ม เพราะซื้อไปเยอะแล้ว ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดแค่กับประเทศไทย แต่เป็นทั้งในญี่ปุ่นและไต้หวัน

“ความยากของสติ๊กเกอร์ตอนนี้คือ ช่วงโควิดเขาซื้อไปเยอะมาก เหมือนตอนนั้นเขามีความสุขที่ได้กดซื้อ มันเลยกลายเป็นว่า เขารู้สึกว่าสติ๊กเกอร์เยอะแล้ว การจะซื้อเพิ่มมันเลยยากขึ้น”

นอกจากผู้บริโภคจะไม่อยากซื้อ แต่สติ๊กเกอร์ก็ยัง ไม่หลากหลาย แม้ครีเอเตอร์ในระบบจะเพิ่มขึ้นจาก 5 แสนราย กลายเป็น 1 ล้านราย ก็ตาม เนื่องจากคอนเทนต์ถูกจำกัดอยู่กับแค่ไม่กี่เรื่อง เพราะคนส่วนใหญ่อยู่แต่บ้านไม่ได้ใช้ชีวิตจริง ๆ ทำให้แนวทางของคอนเทนต์ออกมาคล้ายกันไปหมด แต่ตอนนี้ต้องพยายามทำคอนเทนต์ให้หลากหลายขึ้น

ดังนั้น โจทย์ของทีมไลน์ สติ๊กเกอร์คือ ต้องทำให้ สติ๊กเกอร์ใหม่รู้สึกว่าน่าใช้กว่าสติ๊กเกอร์เก่า ซึ่งก็คือการ โฟกัสที่ คุณภาพ หรือก็คือสติ๊กเกอร์ที่สามารถ ใช้ได้ง่าย สื่ออารมณ์ได้ชัดเจน ไม่ใช่แค่มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่น ซึ่งสิ่งที่พยายามจะบอกครีเอเตอร์คือ สไตล์ไกด์ ที่ต้องระบุให้ชัดว่า คาแรกเตอร์ที่ออกแบบมีนิสัยแบบไหน ท่าทางการสื่ออารมณ์เป็นอย่างไร

“เราเห็นเลยว่าพฤติกรรมผู้บริโภคยุคแรกนั้นขอแค่สติ๊กเกอร์มี Wording ตรงใจเขาซื้อเลย แต่หลังจากโควิดตอนนี้เขาคิดเยอะขึ้น เขาดูจริง ๆ ว่าสติ๊กเกอร์ที่จะซื้อมันสื่อถึงสิ่งที่เขาต้องการสื่อหรือเปล่า เราเลยต้องการสติ๊กเกอร์ที่มีคุณภาพ”

นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยครีเอเตอร์ เช่น Creator Connect Day หรืองานประกวด LINE Creators Market Sticker Contest เพื่อพาผู้ชนะไปค้นหาแรงบันดาลใจที่ประเทศญี่ปุ่น โดยในปี 2022 ไลน์ก็ได้เพิ่ม ยอดขาย มาเป็นเกณฑ์ตัดสินในปีนี้ด้วย

“ถ้าเทียบกับประเทศญี่ปุ่นครีเอเตอร์ 1 ล้านคนของไทยถือว่าน้อยและครีเอเตอร์ที่ขายได้เยอะ ๆ ของญี่ปุ่นก็มีมากกว่า แต่ไทยก็ถือว่าพัฒนาขึ้นจากครีเอเตอร์ระดับท็อปที่มาประมาณ 5-6 คน ปัจจุบันก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ดังนั้น เราเลยต้องเอายอดขายมาเป็นเกณฑ์ในปีนี้”

ครีเอเตอร์ทั้ง 12 คนที่ชนะงานประกวด LINE Creators Market Sticker Contest

พร้อมดันโกอินเตอร์

ปัจจุบันในจำนวนครีเอเตอร์กว่า 1 ล้านรายก็มีประมาณ 10-20% ที่ทำเป็นอาชีพจริง ๆ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ไลน์พยายามผลักดัน และอีกหมุดหมายที่ไลน์ต้องการคือ ดันครีเอเตอร์ไทยให้ไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยแต่ละประเทศก็จะมีทีมที่คอยหาสติ๊กเกอร์ที่น่าจะดังในประเทศตัวเอง หรือหากทีมในไทยเห็นคาแรกเตอร์ที่คิดว่าน่าจะตรงกับกลุ่มเป้าหมายในประเทศนั้น ๆ ก็จะเสนอไป ปัจจุบัน มีประมาณ 30 คาแรกเตอร์ของคนไทยที่สามารถไปขายต่างประเทศ จากอดีตมีประมาณ 10 คาแรกเตอร์เท่านั้น

“แน่นอนว่าแต่ละประเทศจะมีความชอบไม่เหมือนกัน อย่าง ไต้หวันจะชอบคาแรกเตอร์ที่เป็นเด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชาย มีแอ็คชั่น ส่วนญี่ปุ่นจะเป็นคาแรกเตอร์ที่เป็นสัตว์ ไม่ชอบให้มีข้อความ เน้นแสดงอารมณ์ ดังนั้น อาจมีบางคาแรกเตอร์ที่ไม่ได้โดนคนไทย แต่อาจเติบโตได้ในต่างประเทศ”

นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ไลน์พยายามผลักดันคือ Licensing หรือ Merchandise เพราะญี่ปุ่นทำให้เห็นว่าคาแรกเตอร์สามารถต่อยอดเป็นสินค้าอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นของสะสม ของใช้ หรือแม้แต่เมนูอาหาร โดยปัจจุบันไลน์ก็เป็นตัวกลางในการจับคู่ครีเอเตอร์กับแบรนด์ ในการขายลิขสิทธิ์เพื่อไปคอลแลบหรือออกเป็นสินค้า โดยปัจจุบันไลน์มีคาแรกเตอร์ประมาณ 20 ตัวที่ช่วยจับคู่

เลิกพึ่งพาแต่ครีเอเตอร์ต้องใช้ฟีเจอร์เสริม

อิสรี ยอมรับว่า ที่ผ่านมา ไลน์พึ่งพาความสามารถของครีเอเตอร์ จนไม่ได้เน้นที่เรื่อง ฟีเจอร์ เท่าที่ควร ดังนั้น อีกกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตของสติ๊กเกอร์ก็คือ ฟีเจอร์ที่จะมาเสริมให้ผู้ใช้หาสติ๊กเกอร์เจอง่ายขึ้น แนวคิดการ นำสติ๊กเกอร์เก่ามาเป็นส่วนลดซื้อสติ๊กเกอร์เซตใหม่ หรือ ซื้อเป็นชิ้นที่อยากได้ไม่ต้องซื้อทั้งชุด

รวมไปถึง บิสซิเนสโมเดลใหม่ ๆ โดยเฉพาะโมเดล ซับสคริปชั่น ให้เลือกสติ๊กเกอร์ที่อยากได้แล้วจ่ายเป็นรายเดือนแทนที่จะซื้อขาด โดยโมเดลดังกล่าวได้เริ่มใช้ในไต้หวันและญี่ปุ่นแล้ว ซึ่งในช่วงแรกที่ออกโมเดลซับสคริปชั่นก็ส่งผลให้ยอดขายสติ๊กเกอร์ลดลง แต่สุดท้ายก็ดีดกลับมาเติบโต เพราะมีผู้บริโภคหลายคนที่ได้ลองใช้สติ๊กเกอร์พอชอบก็ซื้อขาด แต่ในส่วนของโปรโมชันคงจะมีน้อยลง เพราะที่ผ่านมาไลน์ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเสีย เพราะมีการลดราคาบ่อย ทำให้เขาเลิกซื้อสติ๊กเกอร์ราคาเต็ม

“โมเดลซับสคริปชั่น มันเหมือนกับฟีเจอร์ของโปรดักส์ที่กำลังจะตาย เพราะมันเป็นอะไรที่คุณไม่สามารถขายในราคาปกติได้แล้ว แต่สติ๊กเกอร์ยังไม่ได้อยู่ในช่วงนั้นแค่มันอาจไม่ได้โตหวือหวาเหมือนช่วงแรก และโมเดลนี้ตอนแรกเหมือนจะทำให้ยอดตก แต่สักระยะยอดขายก็กลับมา เพราะกลายเป็นว่าเหมือนเขาได้ลองใช้แล้วชอบ”

อย่างไรก็ตาม ในไทยยังไม่ได้กำหนดว่าจะลันช์ฟีเจอร์นี้เมื่อไหร่ เพราะตราบใดที่ขายได้เรื่อย ๆ ก็ยังไม่อยากจะเอาโมเดลซับสคริปชั่นมาใช้ นอกจากนี้ ทีมยังต้องดูความพร้อมของตลาดและความพร้อมของไลน์ โดยเฉพาะต้องทำใจให้ได้เพราะมันจะมีช่วงที่ยอดตกหากฟีเจอร์ถูกปล่อยไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะใช้เวลากลับมาเติบโตอีกครั้งตอนไหน เพราะในไต้หวันกับญี่ปุ่นก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน

อิสรี ทิ้งท้ายว่า เป้าหมายของไลน์ใน 10 ปีจากนี้ยังคงต้องการรักษาสถานะของสติ๊กเกอร์ให้เป็น 1 ใน 3 ช่องทางสร้างรายได้ให้ไลน์ พร้อมกับ รักษาการเติบโตให้ได้ 2 หลักต่อไปในทุกมิติ ทั้งยอดขายและจำนวนครีเอเตอร์

]]>
1422669
สรุปภาพ ‘โซเชียลมีเดีย’ ครึ่งปีแรก สำหรับ ‘แบรนด์’ เตรียมพร้อม รับมือช่วงเวลาที่เหลือ https://positioningmag.com/1394817 Wed, 03 Aug 2022 09:58:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394817 จากข้อมูลของ We Are Social พบว่าช่วง 6 เดือนแรกคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 9.06 ชั่วโมงต่อวัน สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก เฉพาะเวลาที่ใช้กับโซเชียลมีเดียอยู่ที่ 2.59 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 2.27 ชั่วโมงต่อวัน โดยไทยอยู่อันดับ 15 ร่วงลงมาจาก Top 5 เมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีก่อนหน้า โดยแนวโน้มชี้ไปว่าคนไทยเริ่มใช้โซเชียลมีเดียน้อยลง

ในส่วนของโซเชียลมีเดียยอดนิยมของไทย 5 ปีหลังพบว่า YouTube แซง Facebook ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ส่วน Line อยู่อันดับ 3 ตามด้วย Facebook Messenger เป็นอันดับ 4 ขณะที่ TikTok มาแรงแซงทั้ง Instagram และ Twitter

Facebook ไม่ได้ Dominated โซเชียลอีกต่อไป

ในส่วนของแพลตฟอร์มที่มีแบรนด์เปิดบัญชีทางการของตัวเองมากที่สุดในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2022 ได้แก่

  • Facebook 99%
  • Instagram 65%
  • YouTube 53%
  • Twitter 33%

“ตัวเลขของ Facebook ไม่เปลี่ยนมานาน มันกลายเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกแบรนด์ต้องมี ที่น่าสนใจคือ YouTube กับ Instagram ที่เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงในแง่เอ็นเกจเมนต์ด้วย แปลว่า Facebook ไม่ได้ dominated แบรนด์เริ่มกระจายไปยังแพลตฟอร์มอื่นแล้ว” กล้า ตั้งสุวรรณ Chief Executive Officer, Wisesight

อย่าสนใจ Like ให้สนรีแอคชั่นอื่น ๆ

จำนวนการกดไลก์เริ่มลดลงจาก 98% เหลือ 96% เนื่องจากผู้ใช้เริ่มกดอีโมชั่นอื่น ๆ มากขึ้น แปลว่า ไลก์ไม่ใช่ตัวชี้วัดอีกต่อไป แต่รีแอคชั่นอื่น ๆ มีความหมายมากขึ้น เพราะไลก์เป็นปุ่มที่กดง่ายที่สุด ดังนั้น ไม่มีความหมายอะไรทั้งนั้น

“ไลก์เยอะไม่ได้แปลว่าดี เพราะมันกดง่าย แต่ควรใส่ใจกับอีโมชั่นอื่น ไม่ว่าจะ Love หรือ Angry”

แบรนด์ทำคอนเทนต์เองมากกว่าจ้าง

จำนวนคอนเทนต์ของแบรนด์ในโลกโซเชียลมีปริมาณเพิ่มขึ้น 10.2% จาก 222,000 โพสต์ต่อเดือน เป็น 225,000 โพสต์ต่อเดือน แต่ที่ เอเจนซี่ กลับยิ่งเหนื่อยเป็นเพราะ แบรนด์ผลิตเอง เลือกที่จะไม่จ้างเอเจนซี่เนื่องจากต้องการ ประหยัดงบ ขณะที่อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทำก็หาได้ง่ายในราคาที่ไม่แพง

คนพิมพ์สั้นลงแต่โพสต์เยอะขึ้น

ชาวโซเชียลในปัจจุบันมีพฤติกรรมที่ชอบโพสต์ แต่พิมพ์ข้อความน้อยลง เนื่องจากกลัวว่าจะถูกมองว่า ไม่เรียล หรือถูกมองว่า โดนจ้างโพสต์ ซึ่งแปลว่าจากนี้ แบรนด์จะจับพฤติกรรมผู้บริโภคได้ยากขึ้นหากยังยึดติดกับ คีย์เวิร์ด หรือ แฮชแท็ก ดังนั้น แบรนด์อาจต้องหาเอไอจับโลโก้ เป็นต้น

“เรานึกภาพของโซเชียลมีเดียช่วง 3 เดือนก่อนไม่ออกด้วยซ้ำ เพราะอุตสาหกรรมดิจิทัลมีเดียเปลี่ยนแปลงเร็วมาก คงมีแค่ตลาดคริปโตฯ ที่เปลี่ยนเร็วกว่า และพฤติกรรมใหม่ ๆ ของผู้บริโภคถือเป็นสัญญาณที่ทำให้แบรนด์เข้าใจผู้บริโภคได้น้อยลง ถ้ายังวนเวียนกับคำว่าคีย์เวิร์ด”

]]>
1394817
โฆษณาที่คน Gen Z จะไม่กดข้าม! ‘LINE WEBTOON’ หมัดเด็ดของ “แบรนด์” เพื่อครองใจคนรุ่นใหม่ https://positioningmag.com/1379582 Tue, 29 Mar 2022 14:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379582

‘คนรุ่นใหม่ไม่ดูโฆษณากันแล้ว’ ข้อความนี้เป็นความจริง แต่เป็นความจริงที่แก้ไขได้ หากแบรนด์สามารถพลิกแพลงด้วย ‘Storytelling’ เข้ากับคอนเทนต์ที่คน Gen Z และ Gen Y ชื่นชอบ โดย ‘LINE WEBTOON’ เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ช่วยเปิดประตูแห่งโอกาสให้กับแบรนด์ จากความนิยมที่สูงมากในกลุ่มวัยรุ่นไทย มาดูกันว่า กลยุทธ์ที่แบรนด์สามารถทำได้ผ่านแพลตฟอร์มนี้ สามารถทำอย่างไรได้บ้าง

คนทั่วไปเมื่อเอ่ยชื่อ LINE (ไลน์) อาจจะนึกถึงแอปพลิเคชัน “แชท” เป็นแพลตฟอร์มเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน แต่จริงๆ แล้วระบบนิเวศของ LINE นั้นขยายไปไกลกว่าแค่การแชท โดยมีโปรดักส์อื่นๆ ตามมาอีกมาก เช่น LINE TODAY, LINE WEBTOON, LINE SHOPPING และ LINE OpenChat เป็นต้น

ระบบนิเวศทั้งหมดนี้ทำให้ LINE เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันทุกช่วงของคนไทย รวมถึงเป็นช่องทางให้กับธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ระบบนิเวศของ LINE เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นและครอบคลุม

ในยุคที่แพลตฟอร์ม “ดิจิทัล” มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจและการตลาด LINE ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลของไทยจึงจัดงานสัมมนาเพื่อช่วยติดอาวุธธุรกิจไทยให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ชื่องาน “THAILAND NOW AND NEXT 2022: PREPARING FOR THE CHANGING WORLD” รวมกูรูในวงการมาให้ข้อมูลด้านดิจิทัลที่ผู้ประกอบการควรรู้ ตั้งแต่เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ การใช้ดาต้าเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ จนถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากกฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โดยหนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจของงานสัมมนาคือหัวข้อ WEBTOON: THE NEXT MOVEMENT IN THAILAND” ชี้เป้าให้นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจเห็นว่า เทรนด์ที่กำลังมาในกลุ่มคนรุ่นใหม่ของไทยและจะเป็นโอกาสทางการตลาดให้แบรนด์ คือแพลตฟอร์มอ่านการ์ตูนออนไลน์นี่เอง


LINE WEBTOON แพลตฟอร์มยอดนิยมของคนรุ่นใหม่

อันแชวอน Partnership Manager ของ LINE WEBTOON อธิบายถึงโปรดักส์นี้ก่อนว่า เป็นแพลตฟอร์มที่นำความเพลิดเพลินจากหนังสือการ์ตูนในอดีตมาสู่อุปกรณ์ดิจิทัล โดยมีการปรับรูปแบบการนำเสนอให้เหมาะกับอุปกรณ์มากขึ้น

คอนเทนต์ยอดนิยมของ LINE WEBTOON มีการขายลิขสิทธิ์ไปผลิตเป็นซีรีส์และภาพยนตร์ดังหลายเรื่อง

LINE WEBTOON เปิดตัวครั้งแรกที่เกาหลีใต้เมื่อปี 2004 ก่อนจะเริ่มขยายไปยังต่างประเทศเมื่อปี 2014 จนปัจจุบันเป็นผู้นำในธุรกิจแพลตฟอร์มอ่านการ์ตูนออนไลน์ มียอดผู้ชมประจำเดือนทั่วโลก (MAUs) กว่า 82 ล้านคน และมีระยะเวลาการอ่านเฉลี่ยต่อคนต่อวันมากกว่า 24 นาที

จากการสั่งสมฐานแฟนและครีเอเตอร์มายาวนาน ทำให้ LINE WEBTOON อัดแน่นด้วยคอนเทนต์คุณภาพจนได้รับการต่อยอด ซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์ไปสร้างเป็นซีรีส์-ภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น Nevertheless, Hellbound, All of Us Are Dead, คุณแม่วัยใส และแต่ละเรื่องล้วนกลายเป็นคอนเทนต์สุดฮิตบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง

สำหรับประเทศไทย ถือเป็นตลาดสำคัญของ LINE WEBTOON เพราะแพลตฟอร์มนี้เป็นที่นิยมสูงมาก ไทยมียอดผู้ชมประจำเดือน (MAUs) 3.5 ล้านคน และมีระยะเวลาอ่านเฉลี่ยต่อคนต่อวันถึงมากกว่า 100 นาที! นอกจากนี้ ไทยยังเป็นตลาดที่มีการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มสูงเป็นอันดับ 3 รองจากอินเดียและจีน สะท้อนให้เห็นว่าผู้อ่านไทยชื่นชอบคอนเทนต์ มีการเข้าอ่านเป็นประจำ และเป็นแฟนตัวยง

ผู้อ่านหลักของ LINE WEBTOON จะเป็นกลุ่ม Gen Z และ Gen Y โดยมีผู้อ่านวัยต่ำกว่า 24 ปี และวัย 24-34 ปี รวมกันถึง 76% ทำให้ถ้าหากแบรนด์ใดมีเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่กลุ่มเดียวกัน นี่จะเป็นช่องทางที่ใช่สำหรับแบรนด์นั้นทันที


ช่องทางเข้าถึงใจ Gen Z + Gen Y

กลุ่มคน Gen Z และ Gen Y ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่นักการตลาดดิจิทัลไม่ควรมองข้าม เพราะไม่เพียงแต่พวกเขาจะเป็น ‘media savvy’ รับชมคอนเทนต์ออนไลน์ถึงวันละ 8 ชั่วโมง กลุ่มนี้ยังเป็นผู้นำความคิดในโลกออนไลน์ คอนเทนต์จากแบรนด์จะ “ไวรัล” หรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา

นอกจากนี้ กลุ่มคนรุ่นใหม่ยังเปิดใจกว้างกว่าวัยอื่น มากกว่า 20% ของคนกลุ่มนี้พร้อมจะลองแบรนด์ใหม่ๆ และมีกำลังซื้อพอที่จะจับจ่าย

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการส่งคอนเทนต์สู่สายตาคน Gen Z และ Gen Y คือ “พวกเขามีระยะความสนใจต่ำเพียง 8 วินาที” และไม่ชอบรับชมโฆษณา ทำให้การทำโฆษณาแบบดั้งเดิมนั้นอาจจะไม่ได้ผลอีกแล้ว เพราะพวกเขาจะกดข้ามทันที

ทางออกของเรื่องนี้คืออะไร? แชวอนแนะนำถึงกลยุทธ์การโฆษณาที่ซับซ้อนขึ้น ด้วยการสร้าง ‘storytelling’ เมื่อร้อยเรียงข้อความของแบรนด์เข้ากับเนื้อเรื่องที่คนรุ่นใหม่สนใจอยู่แล้ว จะทำให้คนรุ่นนี้สนใจมากกว่าการอ่านข้อความธรรมดาที่บอกเล่าตรงๆ ถึง 22 เท่า!

เหตุนี้เอง LINE WEBTOON จึงเข้ามาตอบโจทย์นักการตลาด ด้วยแพลตฟอร์มและคอนเทนต์ที่แฟนๆ ชื่นชอบ ทำให้ผู้อ่านไม่รู้สึกว่าถูกรบกวนหรือยัดเยียดเมื่อร้อยเรียงแบรนด์ลงไป และยังคงได้รับความบันเทิงพร้อมๆ กับการอ่านโฆษณา


Branded Story: สร้างเนื้อเรื่องของแบรนด์เข้ากับตัวละครดัง

แชวอนยกตัวอย่างงานโฆษณาในประเทศอื่นๆ ที่ร่วมมือกับ LINE WEBTOON และประสบความสำเร็จ สามารถเปลี่ยนความคิดของคน Gen Z ที่ไม่ชอบโฆษณา มาเป็นแนวหน้าช่วยเผยแพร่โฆษณาของแบรนด์ออกไปจนไวรัล ผ่านกลยุทธ์เหล่านี้

กุญแจสำคัญคือแบรนด์จะมีการสร้าง Branded Story ร่วมกับครีเอเตอร์ที่สามารถคอลแลปกันได้ โดยครีเอเตอร์จะใช้ตัวละครจากเรื่องมาเป็นตัวดำเนินเรื่อง มีการคิดสร้างสรรค์เนื้อเรื่องที่ช่วยส่งเสริมจุดประสงค์ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความตระหนักรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการโปรโมตแคมเปญ

ตัวอย่างจาก Com2Us: เนื้อเรื่องของแบรนด์ที่คอลแลปกับครีเอเตอร์วางอยู่ในช่วงท้ายตอนของเนื้อเรื่องปกติ (BEP: Branded Epilogue)

ในแง่วิธีการเผยแพร่ Branded Story บน LINE WEBTOON มีหลายตัวเลือกขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแบรนด์ เช่น Com2Us ซึ่งเป็นบริษัทเกม ต้องการจะสร้าง Brand Awareness ในระยะยาว จึงเลือกวางโฆษณาไว้ท้ายตอนปกติของการ์ตูนรวมทั้งหมด 25 เรื่อง

ขณะที่ Devsisters บริษัทเกมอีกแห่งหนึ่ง ต้องการเพิ่มยอดดาวน์โหลดแอปฯ ด้วย จึงเพิ่มแบนเนอร์ไว้ที่หน้าแรกของ LINE WEBTOON เพื่อให้คนอ่านคลิกเข้ามาที่เนื้อเรื่องโฆษณาได้ทันที และมีปุ่มกดคลิกดาวน์โหลดเกมแทรกไปใน Branded Story ของแบรนด์

ส่วน Samsung มีแคมเปญโปรโมตวิธีใช้งานผลิตภัณฑ์ใหม่คือ Samsung Galaxy Fold 3 และ Flip 3 จึงเลือกที่จะสร้าง Branded Story ยาวถึง 8 ตอนแยกออกมาโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ลงรายละเอียดการใช้งานผลิตภัณฑ์ตามเป้าหมายของแบรนด์ได้ดีกว่า ผลของการร่วมมือครั้งนี้ทำให้ Samsung มียอดเยี่ยมชมสโตร์ออนไลน์สูงขึ้นถึง 150%

ตัวอย่างจาก Samsung: พัฒนา Branded Story เป็นเนื้อเรื่องพิเศษ 8 ตอน แสดงถึงฟังก์ชันการใช้งานของผลิตภัณฑ์

อีกไอเดียที่น่าสนใจมาจาก Cash App แอปฯ ตัวกลางในการชำระเงินในสหรัฐฯ แบรนด์นี้ต้องการดึงผู้ใช้เข้ามามากขึ้น จึงมีแคมเปญกับ ‘Coins’ ในแอปฯ LINE WEBTOON

อธิบายก่อนว่าระบบ Coins คือสิ่งที่ใช้ในการปลดล็อก Fast Pass อ่านตอนต่อไปที่ล็อกอยู่บน LINE WEBTOON ซึ่งทำให้ Coins เป็นที่ต้องการของผู้อ่าน ดังนั้น Cash App จึงสร้างแคมเปญแจก Coins เมื่อผู้อ่านคลิกเข้ามาอ่าน Branded Story ของแบรนด์และดาวน์โหลด Cash App ปรากฏว่าแคมเปญนี้ทำให้มีผู้ใช้รายใหม่ของ Cash App มากกว่า 25,000 ราย

เนื้อเรื่องที่โดนใจของแต่ละแคมเปญยังทำให้ผู้อ่านนำไปพูดถึงจนเป็นไวรัลบนแพลตฟอร์มอื่น เช่น แคมเปญของ Devsisters ที่กลายเป็นไวรัลคอนเทนต์บนเว็บบอร์ด Reddit

โดยสรุปแล้ว แบรนด์ที่คอลแลปกับครีเอเตอร์และอาศัยช่องทาง LINE WEBTOON มีโอกาสที่ดีกว่าในการเข้าถึงคน Gen Z และ Gen Y เพราะสามารถโฆษณาแบรนด์ได้อย่างเป็นมิตร ไม่ถูกกดข้าม และแปลผลไปสู่ยอดขายได้จริง!

สำหรับผู้ที่สนใจงานสัมมนา “THAILAND NOW AND NEXT 2022: PREPARING FOR THE CHANGING WORLD”  งานนี้เปิดให้เข้าชมแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่าน LINE Official Account: @linebizth, FB Fanpage: LINE for Business และผ่านเว็บไซต์: https://lin.ee/JtJGilH/wcvn  ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคมนี้ ยังมีหัวข้อที่น่าสนใจรออยู่สำหรับผู้ประกอบการทุกท่าน

]]>
1379582
ทิศทาง ‘LINE for Business’ ธุรกิจลักชัวรี่-ภาครัฐมาเเรง ลุยโซลูชันจัดการข้อมูลเเละ NFT https://positioningmag.com/1379204 Fri, 25 Mar 2022 09:10:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379204 เปิดกลยุทธ์ LINE for Business เเพลตฟอร์มดิจิทัลยอดนิยม พบกลุ่มธุรกิจสินค้าหรูเติบโตก้าวกระโดด ภาครัฐไทยทำรายการดิจิทัลผ่าน LINE API โตถึง 482 % ปีนี้พร้อมบุกโซลูชันจัดการข้อมูล ‘อย่างง่าย’ จับธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก เริ่มทำตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล คว้าโอกาส NFT 

นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ LINE ประเทศไทย เล่าถึงภาพรวมธุรกิจในปีที่ผ่านมาว่าเป็น ‘ปีเเห่งความท้าทาย’ ที่ต้องปรับตัวอย่างมาก ทั้งวิถีการใช้ชีวิตเเละกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ

ในช่วงเเรกของวิกฤตโควิด-19 ผู้คนปรับตัวเเบบเฉพาะหน้า เเต่เมื่อเวลาผ่านไปมีหลายพฤติกรรมที่ได้กลายมาเป็นเทรนด์กระเเสหลักอย่างการทำงานจากที่บ้าน การใช้บริการส่งของหรือส่งอาหารเเบบเดลิเวอรี่ รวมไปถึงการหารายได้ในรูปเเบบสกุลเงินดิจิทัล

นอกจากนี้ เเรงกดดันจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นและแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก เหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ

ลักชัวรี่มาเเรง ภาครัฐใช้ LINE API โต 482%

ประเทศไทย มีการเติบโตในเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นอย่างมาก ในปี 2564 โดยมียอดผู้ใช้ LINE ทั้งสิ้น 50 ล้านราย เพิ่มจากสิ้นปี 2563 ที่มียอดผู้ใช้ 47 ล้านราย

ดัชนีชี้วัดของการใช้งานบริการดิจิทัลผ่าน LINE API เติบโตขึ้นถึง 47% จาก 4.6 หมื่นล้านการดำเนินการในปี 2563 สู่ 6.9 หมื่นล้านการดำเนินการในปี 2564

โดยธุรกิจกลุ่มสถาบันการเงินยังคงเป็นผู้นำในการใช้งาน ‘LINE API’ มากที่สุด

ส่วนกลุ่มธุรกิจสินค้าหรู ‘Luxury’ ถือเป็นธุรกิจกลุ่มใหม่ที่มีการบริโภคภายในประเทศสูงขึ้นเป็นอย่างมาก จากมูลค่าเงินลงทุนที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดบน LINE for Business ถึง 200% ในช่วงปี 2562-2564

ที่น่าสนใจ คือ กลุ่มภาครัฐและบริการสาธารณะ กลายเป็นกลุ่มที่เติบโตทางด้านดิจิทัลมากที่สุดในปี 2564 ด้วยยอดการทำรายการดิจิทัลผ่าน LINE API เติบโตถึง 482% เมื่อเทียบกับปี 2563

ตามมาด้วย กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ท่องเที่ยว และค้าปลีก ที่มียอดการเติบโตของการใช้งานผ่าน LINE API มากกว่า 100%

พัฒนาโซลูชันจัดการข้อมูล ‘อย่างง่าย’ จับธุรกิจกลาง-เล็ก

สำหรับกลยุทธ์ของ LINE ในปี 2565 จะมุ่งเป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับธุรกิจในการปรับตัวสู่ดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กลุ่มธุรกิจไทยให้เเข่งขันในได้ในระดับสากล

นอกจากนี้ จะมีการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องข้อมูล หรือ DATA ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต

ที่ผ่านมา LINE มีโซลูชันจัดการข้อมูลให้แบรนด์ธุรกิจขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ ‘MyCustome’ โซลูชันในการบริหารจัดการข้อมูลที่ทำให้แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลโดยได้รับการอนุญาตจากลูกค้าโดยตรง (1st party data consent)

ทั้งจากภายในแพลตฟอร์ม LINE หรือนำข้อมูลภายในของแบรนด์ หรือที่ได้จากช่องทางอื่นมารวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปใช้งานได้ทั้งในและนอกแพลตฟอร์ม LINE

เเละในปีนี้ LINE พัฒนาโซลูชันใหม่ล่าสุด ‘Business Manager’ ช่วยบริหารจัดการข้อมูลอย่างง่าย ตอบโจทย์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ได้ต้องการบริหารงานข้อมูลที่ซับซ้อน โดยจะเน้นไปที่การบริหารจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้นโดยตรงบนแพลตฟอร์ม LINE ระหว่าง LINE Official Account และ LINE Ads Platform เพื่อให้แบรนด์สามารถนำมาวิเคราะห์ นำเสนอสินค้าบริการที่โดนใจลูกค้า

ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเเบรนด์ นอกจาก บัญชีรับรอง (Verified Account) เเล้ว ในปีนี้จะมีโปรแกรม BLUE BADGE ให้ความรู้ จัดอันดับ และให้รางวัลแก่แบรนด์ที่ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทั้งในแง่ของสินค้า บริการ เเละการออกแบบผลิตภัณฑ์ร้านค้า

เดินหน้าลุย NFT for Business

ในปี 2022-2023 นี้ LINE เตรียมความพร้อมเพื่อเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจโลกใหม่ ผ่านการพัฒนาโซลูชันสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ NFT (Non-fungible Token)

โดย LINE ตั้งเป้าที่จะเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับองค์กรธุรกิจไทย ที่จะเดินหน้าสู่การทำการตลาดด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งในด้าน การจัดหา creator ให้กับแบรนด์ และเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ในการใช้งาน NFT เพื่อธุรกิจ (NFT for Business) ด้วยการร่วมมือกับ LINE Consumer Business ที่เพิ่งประกาศทิศทางในการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรม NFT อย่างเต็มรูปแบบ

โดย LINE เตรียมจะผลักดันให้เหล่าครีเอเตอร์ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 1 ล้านราย สร้างรายได้เพิ่ม ผ่านการสร้างสรรค์ commercial arts ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ Licensing IP Business หรือการขายสินค้า (Merchandising) โดยที่ผ่านมา มีครีเอเตอร์ชาวไทยมากกว่า 28 รายที่กลายเป็นผู้เล่นธุรกิจ IP ผ่านการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เช่น Uniqlo และ AIS สำหรับปีนี้ LINE ก็มีแผนจะจะเปิดตัว Line Valley สำหรับการขายสินค้าให้กับเหล่าครีเอเตอร์ด้วย

พร้อมออกโปรแกรมพัฒนาครีเอเตอร์ใหม่ จัดตั้ง LINE Creators Academy สร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ NFT ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงสำหรับครีเอเตอร์ที่สนใจ ซึ่งปัจจุบัน LINE ประเทศไทย ได้เป็นพันธมิตรกับตลาด NFT (NFT Marketplace) ชั้นนำ อาทิ EAST NFT, Bitkub NFT, Coral by KASIKORN X และ Zixel by Zipmex  NFT

เมื่อวันพุธที่ 23 มี..ที่ผ่านมา  LINE ประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศเเผนเตรียมเปิดตัว “LINE NFT” ในวันที่ 13 เม.ย.ที่จะถึงนี้ โดยจะเปิดให้ซื้อขาย NFT ได้ครบจบในแอปพลิเคชันเดียว ซึ่งจะมีการจัดแสดงผลงาน NFTs มากกว่า 100 รูปแบบ พร้อมเปิดให้ชมผลงาน NFT limited edition ของบริษัทบันเทิงญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่อย่าง Yoshimoto Kogyo ซึ่ง ณ ตอนนี้จะเปิดให้บริการ “LINE NFT” แค่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก NFT Nonfungible.com ระบุว่า ในปี 2021 ที่ผ่านมา มียอดขาย NFT ทั่วโลกถึง 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตถึง 21,000% จากปี 2020 ที่มียอดรวมเเค่ 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

]]> 1379204 ถอดบทเรียน 3 แบรนด์ดัง กับการใช้ Smart Channel Ads พื้นที่โฆษณาทำเลทองบน LINE https://positioningmag.com/1375974 Wed, 16 Mar 2022 04:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375974

ในยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเข้าถึงสื่อโฆษณาย่อมมีการเปลี่ยนไป โฆษณาในรูปแบบเดิมๆ ที่เคยประสบผลสำเร็จอาจจะใช้ไม่ได้ในยุคนี้แล้วก็ได้ แน่นอนว่ายุคดิจิทัลนำพามาด้วยแพลตฟอร์ม และเครื่องมือที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ 


ตำแหน่งโฆษณาที่ดี มีชัยมากกว่าครึ่ง

ขึ้นชื่อว่าการทำโฆษณาแล้ว โจทย์ของนักการตลาดส่วนใหญ่ก็ต้องการ Awareness หรือการรับรู้ในจำนวนมาก หรือมากไปกว่านั้นก็ต้องการเทิร์นการรับรู้เหล่านั้น มาเป็น Conversion หรือสามารถเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ หรือช่องทางการขาย เพื่อที่สามารถปิดการขายได้

นอกจากการสร้างการรับรู้แล้ว โลเคชั่น หรือจุดที่วางตำแหน่งโฆษณาสำคัญมากๆ ส่งผลต่อการมองเห็น และการตัดสินใจของผู้บริโภคเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าแคมเปญนั้นจะต๊าชมากแค่ไหน แต่ถ้าอยู่ในจุดที่ไม่เหมาะสม จุดที่คนไม่มองเห็น ก็เปล่าประโยชน์ แคมเปญอาจจะพังไม่เป็นท่าเลยก็ได้ สมัยนี้แค่คอนเทนต์ถูกใจ หรือภาพถูกตาก็ยังไม่พอ ต้องเลือกแพลตฟอร์มให้ถูกที่และวางให้ถูกเวลาอีกด้วย จึงจะได้ผลลัพธ์คุ้มค่า โดนใจ มีประสิทธิภาพสูงสุด

แต่เมื่อเครื่องมือการตลาด หรือแพลตฟอร์มมากมายเต็มไปหมด หลายเจ้าต่างชูจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าดูในรายละเอียดแล้ว ต้องบอกว่าเครื่องมือการตลาดในยุคนี้คงไม่มีอะไรที่น่าสนใจไปกว่า LINE อีกแล้ว เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากถึง 50 ล้านคน/เดือน มียอดแอคทีฟยูเซอร์ในระดับที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ

ที่สำคัญก็คือ กลุ่มผู้ใช้หลากหลาย ตั้งแต่เด็ก นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ทุกคนใช้ LINE ในการพูดคุยในชีวิตประจำวัน อีกทั้งในแต่ละวันคนไทยยังอยู่บน LINE โดยเฉลี่ยรวมเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในแอปฯ ที่คนไทยเปิดกันบ่อยตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงก่อนเข้านอนกันเลยทีเดียว

วันนี้ทาง Positioning จะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมการลงโฆษณาบน LINE ถึงมีประสิทธิภาพ แล้วตำแหน่งไหนที่จะทำให้ Ads มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งก็คือโฆษณาตรงตำแหน่งที่เรียกว่า Smart Channel หรือ Smart Channel Ads นั่นเอง


ทำไม Smart Channel ถึงเวิร์ก?

Smart Channel เป็นตำแหน่งโฆษณาที่ขึ้นอยู่ด้านบนหน้ารายการ Chat ของ LINE เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่มีการเข้าใช้งานสูงที่สุดบน LINE เพราะผู้ใช้จะเห็นห้องแชทของเพื่อนๆ หรือ กลุ่มโดยรวม ก่อนที่จะกดเข้าไปแชทนั่นเอง โดยรูปแบบโฆษณาที่แบรนด์สามารถนำมาขึ้นบนตำแหน่ง Smart Channel นี้แบ่งได้ 2 ประเภทคือ

  1. VDO Expandable Ads แบรนด์สามารถจัดทำชิ้นงานโฆษณาในรูปแบบ VDO เพื่อให้ลูกค้าคลิกขยาย และดูวิดีโอโฆษณาได้ทันที เสริมประสบการณ์ของลูกค้าในการรับข้อมูลสินค้าและบริการได้อย่างน่าสนใจ ก่อนที่จะสามารถคลิกเพิ่มเติมไปยังหน้าปลายทางที่แบรนด์ต้องการต่อได้
  2. Static Banner แบนเนอร์โฆษณาในรูปแบบภาพนิ่งที่สามารถนำลูกค้าไปสู่หน้าเว็บไซต์หรือหน้าปลายทางที่ต้องการได้ในคลิกเดียว ถือเป็นเครื่องมีทรงประสิทธิภาพในการสร้างทราฟฟิกให้กับเว็บไซต์อย่างมาก

คำถามที่ตามมาก็ได้ ทำไมการทำโฆษณาบนตำแหน่ง Smart Channel ถึงประสบผลสำเร็จ การทำโฆษณาในยุคปัจจุบัน เป็นยุคของการทำ Personalized ads โดย LINE มีเครื่องมือที่พร้อมที่จะทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ถูกที่ ถูกเวลา ตามความสนใจและพฤติกรรมของลูกค้า โดยลูกค้าจะมองเห็นคอนเทนต์และโฆษณาในตำแหน่ง Smart Channel นี้ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล ด้วยการทำงานของ AI / Machine learning จากพฤติกรรมในอดีต 

เช่น ลูกค้าจะเห็นเพียง 3-6 คอนเทนต์ต่อวันเท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่ทำให้จดจำโฆษณาได้ดีกว่า แต่ละคอนเทนต์ จะปรากฎอยู่เพียง 30 นาทีเท่านั้น และในบางคอนเทนต์จะไม่มาให้เห็นอีก ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ที่สำคัญคือ จุดที่วางโฆษณาค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติมากๆ เพราะอยู่ในตำแหน่งบนสุดของรายการแชท ส่วนถ้าเวอร์ชั่นเดสท์ท็อปจะอยู่แถบล่างสุด เรียกว่าไม่รบกวนสายตาจนเกินไป ไม่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกรำคาญ หรือคิดว่าถูกยัดเยียดให้ดูโฆษณา ผู้ใช้สามารถกดปิดได้ด้วย

การทำงานของ AI และ Machine Learning ของ LINE มีประสิทธิภาพสูง เพราะเป็นการเก็บข้อมูลจาก Ecosystem ทั้งหมด อาทิ พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ การเข้าดูข้อมูลต่างๆ บน LINE สิ่งที่สนใจหรือชอบ พฤติกรรมการตอบรับต่อข้อมูลของลูกค้าในรูปแบบ Real Time (เวลาเห็นข้อมูล มีการ React  อย่างไร)

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้ Smart Channel เป็นพื้นที่และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพราะ ไม่เป็นการให้ข้อมูล หรือโฆษณาแบบถาโถมที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกรำคาญ หรือถูกรบกวนจนเกินไป อยู่บนตำแหน่งที่โดดเด่น ส่งผลให้การมองเห็นโฆษณาของกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ละครั้งมีความหมาย น่าจดจำ และมีแนวโน้มในการนำไปสู่ความสนใจในสินค้าและบริการ ด้วยตัวเลขพิสูจน์ประสิทธิภาพของโฆษณาในแต่ละประเภทบน Smart Channel เมื่อเทียบกับการลงโฆษณาแบบทั่วไปในตลาด ซึ่งถือว่าสูงมาก ไม่ว่าจะเป็น


ทำเลทอง สร้างการจดจำได้มากกว่า

ถ้าให้เจาะถึงสถิติของรูปแบบโฆษณาแต่ละประเภทบน Smart Channel ต้องบอกว่ามีตัวเลขที่ค่อนข้างน่าประทับใจ เป็นสถิติที่ค่อนข้างสูง และวัดผลได้ เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยเฉพาะยอดการเข้าถึงของผู้ใช้งานหรือ Reach จากโฆษณาในตำแหน่งนี้ ที่สูงสุดถึง 31 ล้านคนต่อวัน จนกลายเป็นพื้นที่โฆษณาทำเลทอง พร้อมผลสถิติการใช้งานที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น

โฆษณาประเภท VDO Expandable Ads

  • เรตการคลิกเข้าชม VDO เฉลี่ย 8%
  • เรตการเข้าชม VDO จนจบ เฉลี่ย 15%
  • เรตการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ เฉลี่ย3%

โฆษณาประเภท Static Banner

  • เรตการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ เฉลี่ย  0.7%

นอกจากรูปแบบของชิ้นงานโฆษณาที่แบรนด์สามารถเลือกทำเป็นวิดีโอหรือภาพนิ่งได้แล้ว นักการตลาดยังสามารถวางแผนการทำการตลาดได้ล่วงหน้า เลือกอัตราการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือ target reach ของโฆษณาบนตำแหน่ง Smart Channel ไม่ว่าจะเป็น 25%, 50%, 75% หรือ 100% เต็มเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่วางไว้ด้วยได้เช่นกัน


กรณีศึกษา 3 แบรนด์ใหญ่ กับผลลัพธ์สุดปัง

ถ้ามาเล่าถึงรูปแบบการโฆษณาอย่างเดียวคงจะไม่เห็นภาพว่ามันทรงพลังอย่างไร จึงขอเล่าถึงกรณีศึกษาของแบรนด์ที่ลงโฆษณาในรูปแบบนี้แล้วประสบผลสำเร็จ ได้ผลลัพธ์สุดปัง

LINE BK กับผลงานโฆษณาสินเชื่อออนไลน์ โดยได้สร้างสรรค์งานครีเอทีฟในรูปแบบ Static Banner ได้ตรงใจ key message ชัดเจน เข้าใจง่ายและเข้ากับช่วงเวลา พร้อมเลขโปรโมชั่นที่จัดวางได้อย่างน่าดึงดูดใจ เมื่อวางในตำแหน่ง Smart Channel ที่เข้าถึงคนจำนวนมาก จึงสามารถสร้างคลิกเรต (CTR) ได้กว่า 1.53% ซึ่งถือเป็น Best Practice ของโฆษณาบนช่องทางนี้ทีเดียว

 

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้นำเสนอโฆษณาในรูปแบบภาพนิ่งหรือ Static Banner บนตำแหน่ง Smart Channel เช่นกัน โดยนำเสนอแคมเปญวัคซีนโมเดอน่าให้กับคนไทย โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างครอบคลุม คือกลุ่มคนที่สนใจเรื่องวัคซีน สุขภาพ การแพทย์ และเมื่อคอนเท้น งานครีเอทีฟสื่อสารได้ชัดเจน วางในตำแหน่งที่ถูกต้อง แคมเปญจึงประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก สร้างคลิกเรต (CTR) ได้มากถึง 1.41%

KFC เป็นอีกหนึ่งเคสที่น่าสนใจ ทำโฆษณาในรูปแบบ VDO Expandable Ads เพื่อโปรโมทโปรไก่ทอดเซ็ตพิเศษ เฉพาะวันอังคาร เพื่อตอกย้ำให้คนจดจำโปรได้มากขึ้น ด้วยงานครีเอทีฟ ภาพเคลื่อนไหวที่แค่เห็นก็อดน้ำลายไหลไม่ได้ พร้อมกลยุทธ์การเลือกช่วงเวลาในการนำเสนอโฆษณาบน Smart Channel อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงประสบความสำเร็จด้านการรับรู้เท่านั้น แต่ยังสร้างการจดจำได้ดีต่อลูกค้า ด้วยตัวเลขอัตราการคลิก (CTR) ที่มากกว่า Avg. CTR ใน Smart Channel ถึง 64% นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการแข่งขันด้านโฆษณาที่สูงมากในทุกวันนี้ ทุกแบรนด์แข่งกันให้ลูกค้าเห็น ให้ลูกค้าจดจำได้ แบรนด์จึงต้องอัพเดท และมองหาช่องทางที่ดีที่สุด ที่ตอบโจทย์ที่สุดอยู่ตลอดเวลา Smart Channel บนแพลตฟอร์ม LINE ไม่เพียงตอบโจทย์ในเรื่องการเข้าถึงคนจำนวนมาก ถูกที่ ถูกเวลา แต่ยังสามารถเปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถ Personalized คอนเท้น ให้ถูกใจลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย

ธุรกิจองค์กรที่สนใจ สามารถติดต่อพันธมิตรเอเจนซี่ของ LINE ที่ท่านร่วมงานอยู่ หรือตรวจสอบพันธมิตรเอเจนซี่ของ LINE ได้ที่ https://lineforbusiness.com/th/partner เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ 

 

]]>
1375974
‘LINE’ เตรียมพาครีเอเตอร์สติกเกอร์บุกตลาด ‘NFT’ พร้อมผุดบริการใหม่ ‘ดูดวงผ่าน VDO Call’ เอาใจสายมู https://positioningmag.com/1376736 Tue, 08 Mar 2022 10:01:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376736 ในปีที่ผ่านมา LINE ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจบริการ ขยาย LINE Consumer Business ซึ่งประกอบด้วย LINE STICKERS, LINE MELODY และ LINE ดูดวง มาปี 2565 นี้ ภายใต้การดำเนินงานของ นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร ที่เพิ่งขึ้นเป็น รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Office) หมาด ๆ ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงทิศทางและบริการใหม่ ๆ ในฝั่ง Consumer Business ว่าปีนี้จะมีอะไรบ้าง

ดันครีเอเตอร์สติกเกอร์สู่ตลาด NFT

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่อยู่คู่กับไลน์มาตลอด 10 ปี ก็คือ สติกเกอร์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งาน LINE กว่า 50 ล้านคน มีผู้ใช้งานสติกเกอร์ประมาณ 35 ล้านราย/เดือน แม้จะดูเป็นจำนวนที่สูง แต่ นรสิทธิ์ ยอมรับว่าการเติบโตในแง่ของจำนวนนั้นเริ่ม อิ่มตัวแล้ว

อย่างไรก็ตาม ตลาดครีเอเตอร์ไทยค่อนข้างแข็งแรง เนื่องจากผู้บริโภคชาวไทยชื่นชอบครีเอเตอร์ไทย เพราะสามารถผลิตสติกเกอร์ได้ตอบโจทย์การใช้งานและเข้ากับสถานการณ์ ทำให้จากนี้ LINE ประเทศไทยจะไม่เน้น Global Licensing มาเน้นครีเอเตอร์ไทยเป็นหลักซึ่งปัจจุบันมีกว่า 1 ล้านราย เติบโต 35% และมีสติกเกอร์วางจำหน่ายในตลาดของประเทศไทยกว่า 5.3 ล้านชุด

โดยปีนี้ LINE จะดันครีเอเตอร์ไทยต่อยอดไปสู่ธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่แค่ผลิตผลงานสติกเกอร์ แต่ต่อยอดไปสู่ Commercial Arts ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ Licensing IP Business หรือการขายสินค้าต่าง ๆ (Merchandising) โดยที่ผ่านมา มีครีเอเตอร์ชาวไทยมากกว่า 28 รายที่กลายเป็นผู้เล่นธุรกิจ IP ผ่านการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เช่น Uniqlo และ AIS สำหรับปีนี้  LINE ก็มีแผนจะจะเปิดตัว Line Valley สำหรับการขายสินค้าให้กับเหล่าครีเอเตอร์ด้วย

นอกจากนี้ LINE ก็พยายามผลักดันให้ครีเอเตอร์ไปสู่ตลาด NFT (Non-Fungible Token) โดยเตรียมจัดตั้ง LINE CREATORS Academy เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ข้องเกี่ยวกับ NFT ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงให้แก่ครีเอเตอร์และบุคคลที่สนใจ ซึ่งปัจจุบัน LINE ประเทศไทยได้เป็นพันธมิตรกับตลาด NFT (NFT Marketplace) ชั้นนำ อาทิ EAST NFT, Bitkub NFT, Coral by KASIKORN X และ Zixel by Zipmex  NFT

ต่อยอดบริการดูดวงด้วย VDO Call

เป็นที่ฮือฮาอย่างมาก เมื่อ LINE เพิ่มบริการสายมูไปเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่ใช่แค่ดูดวง แต่ยังรับ ขอพรแก้บน ตักบาตร ถวายผ้าไตร ทำสังฆทาน แก้ชง และอื่น ๆ ทำให้ปัจจุบัน LINE ดูดวง มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านคนต่อวัน และมีผู้ใช้บริการขอพร แก้บนมากกว่า 3,500 คน

โดยบริการที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ การขอพร-แก้บนจากหลวงพ่อทันใจ วัดพระธาตุดอยคำ และการแก้ชงในช่วงตรุษจีน ซึ่งตัวเลขผู้ใช้งานจะมีมากขึ้นในช่วงกลางเดือนและปลายเดือนของแต่ละเดือนซึ่งเป็นช่วงการประกาศผลสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมถึงมีการใช้งานมากขึ้นในช่วงเทศกาลสำคัญทางศาสนา ช่วงปีใหม่ และตรุษจีน

ด้วยความนิยมของการใช้งาน Line Video Call ที่เติบโตถึง 30% มีผู้ใช้ 22 ล้านคน ในขณะที่ Line Call มีผู้ใช้ 34 ล้านคน เพิ่มขึ้น 20% LINE จึงต่อยอดสู่บริการใหม่ ‘ดูดวงออนไลน์’ โดยเปิดให้ผู้ใช้จองเวลากับหมอดูเพื่อ ดูดวงผ่าน LINE Video Call โดยบิสซิเนสโมเดลจะเป็นการแบ่งรายได้จากหมอดู รวมถึงการโฆษณาอีกด้วย

MELODY ยังกระจุกแค่ในวัยรุ่น

ด้าน LINE MELODY เสียงเรียกเข้าและเสียงรอสายเมื่อโทรผ่าน LINE Call ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยในปี 2564 มีผู้ใช้งาน LINE MOLODY ต่อเดือนกว่า 2.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมปี 2563 กว่า 600% โดยปัจจุบันมีคลังเพลงทั้งสิ้นกว่า 38,000 เพลงจากกว่า 43 พันธมิตรค่ายเพลง

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่อายุ 20-34 ปี เป็นผู้หญิง 69% ผู้ชาย 31% ซึ่งเมื่อเทียบจำนวนผู้ใช้ LINE ทั้งหมดถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยอยู่มาก ดังนั้น นี่จึงเป็นการบ้านของทีมงานว่าจะสามารถดันให้เกิดดีมานด์ใน LINE MELODY ได้อย่างไร

“หากพูดถึงเทรนด์ที่จะเห็นปีนี้คงบอกยาก อะไรที่เป็นเอนเตอร์เทนเมนต์คนไทยเอาหมด ไม่ว่าจะเพลง ละคร NFT รวมไปถึงความเชื่อ ดังนั้น เราจึงพยายามดัน 3 ส่วนนี้ และก็ช่วยกระจายรายได้สู่รายย่อยได้ด้วย”

]]>
1376736
คุยกับ “นายต้นไม้” กับอาชีพ “นักออกแบบสติกเกอร์ไลน์” หาเลี้ยงชีพด้วยรายได้หลักแสน! https://positioningmag.com/1348880 Mon, 30 Aug 2021 06:33:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348880 เชื่อหรือไม่ว่า การออกแบบสติกเกอร์ไลน์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตอนนี้ ไม่ใช่แค่งานอดิเรก แต่สามารถเป็นอาชีพหลักได้ด้วยรายได้หลักแสนต่อเดือน ทาง Positioning พาไปพูดคุยกับ “ต้นไม้-มนันห์ตชัย ไพรสินธ์” เจ้าของคาแร็กเตอร์ “นายต้นไม้” ออกแบบสติกเกอร์ไลน์มาแล้วกว่า 30 ชุด

ยุคบุกเบิก Sticker Creator

ถ้าพูดถึงแอปพลิเคชัน “LINE (ไลน์)” ได้กลายเป็นแอปฯ แชทที่มีอิทธิพลต่อคนไทยอย่างยาวนาน กลายเป็น Generic Name ในการส่งข้อความต่างๆ หนึ่งในฟีเจอร์ที่ถูกจริตคนไทยอย่างแรงกล้าก็คือ “สติกเกอร์ไลน์” นั่นเอง เรียกว่าถูกใจตั้งแต่กลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุ

ในช่วงแรกทางไลน์ได้มีสติกเกอร์เซตทั้งแบบฟรี หรือเรียกว่า Official Account ทางสปอนเซอร์ผลิตสติกเกอร์ไลน์เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค และเซตสติกเกอร์การ์ตูนทั่วไป มีทั้งคาแร็กเตอร์ไลน์ และคาแร็กเตอร์ลิขสิทธิ์ต่างๆ

ความนิยมของสติกเกอร์ไลน์สูงขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2557 ทางไลน์ได้เปิดตัวโครงการ Sticker Creator เปิดโอกาสให้ “คนทั่วไป” ส่งสติกเกอร์เข้าไปขายในแพลตฟอร์มไลน์ได้ เรียกว่าเป็นการบุกเบิกอาชีพ “นักออกแบบสติกเกอร์ไลน์” ในทันที บางคนส่งสติกเกอร์ไปเพื่อหวังรายได้เสริมเล็กๆ น้อยๆ บางคนส่งสติกเกอร์ไปเพื่ออยากใช้สติกเกอร์ที่ออกแบบเอง หรือบางคนรับจ้างออกแบบสติกเกอร์ไลน์เลยก็ยังมี

“ต้นไม้-มนันห์ตชัย ไพรสินธ์” เจ้าของคาแร็กเตอร์ “นายต้นไม้” เป็นหนึ่งในผู้ออกแบบสติกเกอร์ หรือครีเอเตอร์ในยุคบุกเบิกเลยก็ว่าได้ ได้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปีแรกที่เปิดโครงการ ปัจจุบันได้ออกแบบสติกเกอร์ออกมาให้ดาวน์โหลดแล้วกว่า 30 ชุด สร้างรายได้รวมถึงหลักล้านบาท สติกเกอร์ที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จัก และสร้างรายได้ให้เขาอย่างมาก คือ สติกเกอร์ “นายต้นไม้ ver.2”

ต้นไม้ ครีเอเตอร์หนุ่มวัย 30 ปี อาศัยอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นคนชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก รักการ์ตูนเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อจะเข้ามหาวิทยาลัย ตอนแรกต้นไม้อยากเรียนสายนิเทศศิลป์ แต่ด้วยทุนทรัพย์ที่ไม่พร้อมเท่าไหร่นัก จึงต้องเบนเข็มมาเรียนคณะ “จิตรกรรม” ม.ขอนแก่น

จุดเริ่มต้นของการวาดคาแร็กเตอร์นายต้นไม้นั้น เริ่มตั้งแต่ช่วงตอนเรียนปี 3 ได้เริ่มทำเพจ นายต้นไม้ ปัจจุบันมีผู้ติดตามกว่า 1.6 ล้านยูสเซอร์ ภายในเพจส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพวาดการ์ตูน พร้อมกับคอนเทนต์แนวคู่รัก รวมถึงคอนเทนต์ที่อิงกับสถานการณ์ในปัจจุบันด้วย ทำให้มีคนชื่นชอบ และแชร์กันเยอะ

จากนั้นก็เริ่มมีแฟนเพจเสนอความคิดเห็นว่าให้ทำสติกเกอร์ไลน์ได้ ประกอบกับเจอพี่ที่รู้จักคนหนึ่งก็ให้คำแนะนำเรื่องการทำสติกเกอร์ไลน์ จึงได้เริ่มทำอย่างจริงจัง ในตอนแรกนั้นยังไม่มีทีมงานในประเทศไทยในการอนุมัติสติกเกอร์ของคนไทยด้วยซ้ำ แต่ก็เริ่มมีกลุ่มไลน์ครีเอเตอร์ที่แลกเปลี่ยนความรู้กัน

“นายต้นไม้” คาแร็กเตอร์ผู้ชายธรรมดา

ต้นไม้ได้วาดคาแร็กเตอร์นายต้นไม้ที่สะท้อนตัวตนของตัวเอง เป็นเด็กผู้ชายผมตั้ง มีเครา ซึ่งตรงกับคาแร็กเตอร์ของตัวเขาเอง ต้นไม้บอกว่าตอนนั้นตั้งใจวาดการ์ตูนไปจีบสาว เลยทำเป็นคาแร็กเตอร์ตัวเอง

ถ้าถามว่าความนิยม หรือความสำเร็จอของคาแร็กเตอร์นี้เกิดจากอะไร ต้นไม้ตอบอย่างซื่อๆ ว่า “ความเป็นผู้ชายธรรมดา” นั่นเอง

ต้นไม้เริ่มเล่าถึงกระบวนการในการวาดสติกเกอร์ไลน์ในช่วงแรกว่า “หลังจากที่สมัครโครงการ ก็เริ่มวาดวันนั้นเลย ใช้เวลาวาด 2-3 สัปดาห์ ได้การ์ตูน 40 ตัว ชุดแรกชื่อว่านายต้นไม้กับนายโดโด้ คำว่าครีเอเตอร์จะต่างจากนักวาดรูป นักวาดรูปจะวาดอะไรก็ได้ แต่สติกเกอร์ต้องสื่อสาร มีความหมาย จะใช้คำไหนอะไรยังไง ตอนนั้นยังไม่มีอินไซต์อะไรด้วย ส่งไปตรวจครั้งแรกเกือบ10 เดือน แล้วโดนตีกลับมา พอแก้แล้วส่งไปใหม่ก็รออีก 5-6 เดือน จนได้วางขาย”

หลังจากที่วางขายเดือนแรกมียอดขาย 14,000 บาท จากนั้นเลยทำชุดที่ 2 คาแร็กเตอร์โดโด้ เดือนแรกมียอดขายแค่ 3,000 บาท จึงเกิดอาการท้อ ไม่อยากทำแล้ว จากนั้นก็เลยเป็นจุดเปลี่ยนที่ว่าสติกเกอร์ต้องมีอะไรบางอย่างที่แตกต่าง และเป็นตัวเอง

จากนั้นจึงได้ทำสติกเกอร์นายต้นไม้กับแฟน ซึ่งต้นไม้บอกว่าตอนนั้นถือเป็นคนแรกที่ทำสติกเกอร์คู่รัก พร้อมกับใส่ข้อความสำหรับคู่รัก เช่น “ยอมแล้วค้าบ” หรือง้อ งอน เป็นต้น ทำให้สติกเกอร์เป็นไวรัล มีดารานำมาใช้ คนแชร์ 60,000-70,000 ครั้ง

ส่วนชุดที่สร้างชื่อ และดังเปรี้ยงที่สุดก็คือ นายต้นไม้ Ver.2 มียอดขายขึ้นอันดับ 1 อยู่ 2 เดือน มีข้อความ คาแร็กเตอร์ที่ถูกจริตคนไทยมากขึ้น กล้าใส่แอคชั่นต่างๆ เช่น หอมแก้ม บีบแก้ม เขย่าตัว ทำให้คนใช้งานได้ในหลายโอกาส

“การวาดสติกเกอร์ไลน์มีความยากตรงที่ จะสร้างคาแร็กเตอร์ยังไงให้เป็นตัวเรามากที่สุด หลายคนเปลี่ยนแนวไปเรื่อย ต้องเกาะตามกระแส พอขายไม่ได้จะไปหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ บางคนก๊อบปี้เลย ทำให้คาแร็กเตอร์ไม่ชัด มันก็ขายยาก ถ้าเรามีคาแร็กเตอร์ชัดเจน แข็งแรง ยังไงคนก็จำได้ ขายได้”

ลงทุนหลักพัน รายได้หลักแสน!

หลายคนอาจจะสงสัยว่า การที่จะออกแบบสติกเกอร์ไลน์ต้องลงทุนอะไรบ้าง แล้วต้องมีอุปกรณ์เยอะหรือไม่ ลงทุนแล้วคุ้มค่ามั้ย ต้นไม้บอกว่าแรกเริ่มเขาลงทุนซื้อแค่ “เมาส์ปากกา” ในงบ 2,000-3,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้าใครมีงบขึ้นมาหน่อยก็ถอย iPad สักเครื่องก็ยังได้ แต่สำหรับต้นไม้นั้น การลงทุนหลักพัน แต่ได้ผลตอบแทนหลักแสนต่อเดือนทีเดียวเชียว!

ปัจจุบันต้นไม้มีสติกเกอร์วางขายทั้งหมด 30-40 ชุด รายได้เฉลี่ย 100,000-200,000/เดือน เซตนายต้นไม้ Ver.2 ยังคงติดท็อปอยู่ ต่อไปตั้งเป้าว่าจะออกสติกเกอร์นายต้นไม้ปีละ 1 เซต

“แต่การวาดสติกเกอร์ก็คาดเดาไม่ได้เหมือนกัน บางชุดบทจะมาก็มา บทจะไม่มาก็ไม่มา ต้องรู้คำในกระแส บางทีนึกคำอะไรได้จะพิมใส่โน้ตไว้ก่อน หรือจะใช้วิธีตั้งโพสต์ถามแฟนเพจ”

ไม่ใช่งานอดิเรก แต่คืออาชีพหลัก

ในตอนนี้ต้นไม้พูดได้เต็มปากเต็มคำเลยว่า การเป็นนักออกแบบสติกเกอร์ไลน์ เป็นอาชีพหลักที่ใช้เลี้ยงชีพ และเลี้ยงครอบครัว ไม่ได้เป็นแค่งานอดิเรก หรืองานเสริมอีกต่อไป

แต่เดิมต้นไม้ค่อนข้างมีฐานะยากจน สมัยเรียนมหาวิทยาลัยมีไปนั่งสเก็ตช์รูปตามถนนคนเดินเพื่อหารายได้เสริม และเป็นนักดนตรีกลางคืนได้รายได้ชั่วโมงละ 300 บาท พอเล่นดนตรีเสร็จก็กลับมาวาดสติกเกอร์ต่อ จนถึงตอนนี้ได้เลิกเล่นดนตรีมา 4 ปีแล้ว

“แต่ก่อนผมเล่นดนตรีกลางคืนได้ชั่วโมงละ 300 บาท เล่นเสร็จตี 2 กลับมาวาดสติกเกอร์ต่อถึง 6 โมงเช้า ถ้าคนอื่นเดิน ผมจะวิ่ง ไม่เคยทิ้งอะไรเลย ดนตรีก็ไม่ทิ้ง วาดสติกเกอร์ก็ไม่ทิ้ง จนตอนนี้เลิกเล่นดนตรีได้ 4 ปี เพราะมีครอบครัว”

แต่ช่วงของวิกฤต COVID-19 ที่กระทบไปทุกอาชีพ ทุกสายงาน ต้นไม้ที่ทำอาชีพหลักคือนักออกแบบสติกเกอร์ไลน์ ก็ทำอาชีพเสริมด้วยการขายอาหาร ต้นไม้บอกว่า ถ้าไม่ได้วาดสติกเกอร์ ตอนนี้คงเป็น “พ่อครัว” อยู่

“ครีเอเตอร์เป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ ขอแค่ทำให้สำเร็จ ต้องสม่ำเสมอ อาจจะยากในช่วงชุดแรก เราทุกคนหวังที่จะดังในชุดแรกเสมอ แต่ถ้าเริ่มทำแล้วอย่าท้อ จริงๆ อาชีพนักวาดในเมืองไทยมันไม่ค่อยรุ่งเท่าไหร่ด้วยซ้ำ เพราะคนไทยไม่ค่อยเสพงานศิลปะ มันไม่เห็นทาง แต่ครีเอเตอร์เป็นช่องทางสำคัญสร้างรายได้ให้คนออกแบบ คงไม่รวยใน 1-2 ชุด แต่เป็นค่าขนมได้”

สุดท้ายต้นไม้ได้ฝากถึงคนที่อยากเป็นครีเอเตอร์ อยากให้ลงมือทำเลย อย่ากลัว ไม่มีอะไรน่ากลัว ซื่อสัตย์กับสิ่งที่ทำ กับตัวเอง ทำมันถึงที่สุด วันนึงผลผลิตดอกไม้จะเบ่งบาน ทำจนกว่างานจะไม่ต้องการเราแล้ว วาดจนกว่าร่างกายจะบอกว่าไม่ไหว เกาะกระแสในบางคำ ตามคีย์เวิร์ดให้ทัน ใช้คำที่ใช้ได้ ต้องวางแผนให้ดีด้วย รวมถึงคำนึงเรื่องวัฒนธรรมแต่ละประเทศ อย่างคำว่าอ้วน คนไทยจะชอบ ดูน่ารัก แต่ในต่างประเทศจะไม่ค่อยชอบกัน

]]>
1348880