Plant-based Meat – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 23 Sep 2021 10:07:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยักษ์ใหญ่บุกไทย! “Cargill” เปิดตัวนักเก็ตจากพืช “PlantEver” ขายออนไลน์ https://positioningmag.com/1353160 Thu, 23 Sep 2021 09:20:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353160 ตลาดเนื้อทำจากพืช (Plant-based Meat) ในไทยยิ่งเดือดขึ้นอีก เมื่อยักษ์เกษตรโลก Cargill เปิดตัวนักเก็ตทำจากพืชแบรนด์ “PlantEver” ลุยขายบนออนไลน์

นักเก็ตจากพืช PlantEver สูตรเทมปุระ จะจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ คือ Facebook และ Instagram “Cargill Protein Lover” รวมถึงมาร์เก็ตเพลซ Lazada และ Shopee

ข้อมูลจาก Cargill ไม่ได้ระบุว่านักเก็ตนี้ทำจากวัตถุดิบใดบ้าง แต่เมื่อปีก่อน Cargill มีความร่วมมือกับ KFC ผลิตนักเก็ตเลียนแบบเนื้อไก่ ซึ่งผลิตจากถั่วลันเตา ถั่วเหลือง และข้าวสาลี

นักเก็ตจากพืชของ Cargill จะมุ่งเป้าหมายกลุ่ม “Flexitarian” หรือผู้ที่ทานมังสวิรัติเป็นบางวัน ซึ่งกำลังมาแรงในไทย

วัชรพล ประสพเกียรติโภคา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจคาร์กิลล์โปรตีน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า คนส่วนใหญ่มักคิดว่าผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพนั้นมักจะไม่อร่อย แต่เราเชื่อว่าเรื่องของรสชาติต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้นเราจึงใส่ใจรสชาติพอๆ กับคุณค่าทางโภชนาการ กลุ่มผู้บริโภคคนไทยสามารถช่วยกันเปลี่ยนโลกใหม่ อร่อยด้วยมื้อเบาๆ เพียงแค่รับประทานผลิตภัณฑ์ของ PlantEver™

นักเก็ตจากพืช PlantEver

บริษัท Cargill โหมตลาด Plant-based Meat อย่างหนักมาตั้งแต่ปีก่อน โดยมีความร่วมมือทั้งกับ KFC และกับร้านสะดวกซื้อ Lawson ก่อนหน้านั้นบริษัทเทงบลงทุน 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.32 แสนล้านบาท) มาตลอด 5 ปี เพื่อวิจัยผลิตภัณฑ์เนื้อทำจากพืช

ศูนย์วิจัย Krungthai Compass เคยประเมินไว้ว่า ตลาดสินค้า Plant-based Meat จะเติบโตปีละ 10-35% ไปจนถึงปี 2567 ซึ่งจะทำให้มูลค่าตลาดขึ้นไปแตะ 45,000 ล้านบาท

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์ Plant-based เข้าทำตลาดแล้วไม่ต่ำกว่า 10 แบรนด์ ทั้งบริษัทไทยเทศหรือบริษัทเล็กใหญ่ต่างต้องการส่วนแบ่งในธุรกิจที่กำลังเติบโต โดยกุญแจสำคัญที่จะเป็นผู้ชนะในตลาดนี้ยังคงเป็นเรื่อง “รสชาติ” ที่ต้องอร่อยและคล้ายกับเนื้อสัตว์จริงมากที่สุด

#Cargill #เนื้อจากพืช #มังสวิรัติ #Positioningmag

]]>
1353160
เปรียบเทียบเนื้อ Plant-based ในไทย มีเจ้าไหนให้เลือกบ้าง? https://positioningmag.com/1329046 Fri, 23 Apr 2021 10:01:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329046 รอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื้อ Plant-based Meat ได้รับความนิยมสูงขึ้นจนมีสารพัดแบรนด์ที่ลงมาลุยตลาด ทั้งที่ผลิตในไทยและนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงเชนร้านอาหารที่สนใจจับลงเมนู โดย “ศูนย์วิจัยกรุงไทย COMPASS” ประเมินเมื่อปี 2563 ว่า ตลาดเนื้อทำจากพืชจะเติบโตได้ 10-35% ต่อปีไปจนถึงปี 2567 แตะมูลค่าตลาด 4.5 หมื่นล้านบาท! 

Positioning รวบรวมแบรนด์เนื้อ Plant-based ที่มีในตลาดไทยขณะนี้มาให้ที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติและราคาของแต่ละแบรนด์ โดยมีทั้งวัตถุดิบสำหรับทำอาหารและอาหารสำเร็จรูป

นอกจากนี้ ยังมีเชนร้านอาหารในไทยที่เลือกพัฒนาเมนู Plant-based ตอบรับกระแสลดทานเนื้อสัตว์ด้วย เช่น Sizzler, Starbucks, ฌานา

รู้หรือไม่? 

1.เนื้อ Plant-based แข่งขันกันเพื่อทำให้เนื้อมีรสชาติและสัมผัสเหมือนจริงที่สุด รวมถึงวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตก็สำคัญ เพราะบนโลกนี้ยังมีหลายคนที่แพ้ถั่วโดยเฉพาะถั่วเหลือง ทำให้แล็บวิจัยต่างๆ กำลังพยายามทำเนื้อ Plantbased จากวัตถุดิบอื่น เช่น สาหร่าย แมลง เป็นต้น 

2.เนื้อ Plant-based แตกต่างจาก “โปรตีนเกษตร” หรือไม่? ด้วยคอนเซ็ปต์แล้วไม่ต่างกันเพราะเป็นการแปลงพืชให้คล้ายกับเนื้อสัตว์ แต่ชื่อโปรตีนเกษตรฟังแล้วผู้บริโภคจะนึกถึงรสชาติที่ไม่อร่อย ขณะที่เนื้อ Plantbased ถูกปรุงแต่งให้คล้ายเนื้อสัตว์จนแทบเหมือนจริง จึงเหมาะกับการทำตลาดในภาพลักษณ์ใหม่มากกว่า 

]]>
1329046
มาแรงจริง! McDonald’s ฮ่องกง-มาเก๊า 400 สาขา เริ่มเสิร์ฟ 6 เมนู Plant-based Meat https://positioningmag.com/1301253 Tue, 13 Oct 2020 08:01:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301253 กระแส “เนื้อทำจากพืช” หรือ Plant-based Meat กำลังมาแรงทั่วโลก ล่าสุด McDonald’s ฮ่องกงและมาเก๊ารวมมากกว่า 400 สาขาก็เริ่มจับกระแสนี้ด้วย โดยจำหน่าย 6 เมนูที่ผลิตด้วยเนื้อทำจากพืช ถือเป็นการขยับครั้งสำคัญเมื่อโปรตีนทดแทนเข้าไปอยู่ในร้านฟาสต์ฟู้ด

เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2020 ร้าน McDonald’s รวมกว่า 400 สาขาบนเกาะฮ่องกงและมาเก๊า จะเปิดจำหน่าย 6 เมนูใหม่ที่ผลิตจากเนื้อทำจากพืช (Plant-based Meat) แบรนด์ OmniPork สินค้าจากบริษัทเทคโนโลยีอาหาร OmniFoods

วัตถุดิบหลักที่นำมาใช้จะเป็นเนื้อบดสับละเอียด (luncheon meat) จากนั้นนำมาประกอบเป็นเมนูหลากหลาย
ตั้งแต่เบอร์เกอร์ไส้เนื้อบดกับไข่กวน, เมนูอาหารเช้าเนื้อบดทานคู่กับแพนเค้กและไข่กวน, เมนูอาหารเช้าเนื้อบดทานคู่กับมัฟฟินแบบอังกฤษและแฮชบราวน์, เมนูอาหารเช้าเนื้อบดทานคู่กับไข่ดาวและซุปพาสต้า รวมถึงมีเมนูที่จำหน่ายกับ McCafe คือแซนด์วิชเนื้อบดกับไข่และชีส และเมนูขนมปังเซียบัตตากับเนื้อบดราดซอสไข่มายองเนส

เมนูอาหารเนื้อทำจากพืช OmniPork ในร้าน McDonald’s ฮ่องกง-มาเก๊า

ราคาอาหารจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสาขา แต่โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 20-28.5 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 80-115 บาท)

“นี่ไม่ใช่เมนูชั่วคราวหรือโปรโมชัน แต่เป็นเมนูระยะยาวที่จะอยู่ในทุกสาขาของฮ่องกงและมาเก๊า” David Yeung ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง OmniFoods กล่าว “ผมคงต้องบอกว่า นี่เป็นหมุดหมายสำคัญของโปรตีนจากพืชที่ได้ร่วมงานกับร้านอาหารจานด่วน (QSR) ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และแน่นอนว่าเป็นหนึ่งในความร่วมมือครั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นการปฏิวัติวงการ”

อีกสองเมนู Plant-based Meat ที่จำหน่ายใน McCafe

ตัว Yeung เองซึ่งเป็นมังสวิรัติมานาน 20 ปีกล่าวว่า เขาไม่ค่อยได้ทานอาหารในร้าน McDonald’s เพราะเมนูที่เขาทานได้จะมีแค่เฟรนช์ฟรายและแฮชบราวน์ แต่ต่อจากนี้เขาจะทานได้ทั้งมื้อเช้า กลางวัน เย็น ในร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแห่งนี้

“ก่อนเกิด COVID-19 ร้าน McDonald’s ฮ่องกงและมาเก๊าให้บริการลูกค้าถึงวันละ 1 ล้านคน เป็นตัวเลขที่สูงมาก” Yeung กล่าว “ถึงแม้ว่าบางคนเข้ามาในร้านแล้วไม่สั่งเมนูนี้ในวันนี้ พวกเขาก็จะเห็นว่ามีเมนูอยู่ และสามารถสั่งซื้อได้ในวันพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้”

หน้าตาอาหารจริงที่จำหน่าย (Photo : OmniPork)

เขายังเล่าถึงเบื้องหลังดีลครั้งนี้ว่าไม่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เขารู้จักกับผู้บริหาร McDonald’s มานานกว่า 5 ปี และในที่สุดก็มีโอกาสพาผู้บริหารไปชมและชิมอาหารที่ทำด้วยเนื้อจากพืชที่ร้าน Green Common ทำให้ผู้บริหารเกิดความสนใจ และตกลงร่วมพัฒนาเมนูอาหารชนิดนี้เข้าไปอยู่ในเชนฟาสต์ฟู้ด

“สโลแกนของบริษัทเราคือ ‘ทำให้ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ทำให้กระแสสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องธรรมดา’ เรามีการเปิดร้าน Green Common อยู่แล้วเพื่อเป็นโชว์เคสให้ทุกคนสัมผัส แต่เราเชื่อเสมอมาว่า เราต้องแตะตลาดแมสให้ได้ และถ้าความร่วมมือครั้งนี้ไม่ใช่การไปสู่ตลาดแมส ผมก็ไม่รู้ว่าอะไรที่ใช่ นี่คือตัวอย่างขั้นสูงสุดของการไปสู่ตลาดแมส” Yeung กล่าว

Source

]]>
1301253
รอชิม! Starbucks ส่งเมนูอาหาร-เครื่องดื่ม “Plant-based” เจาะใจคนรักสุขภาพในเอเชียเเละไทย https://positioningmag.com/1296308 Thu, 10 Sep 2020 09:42:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296308 เทรนด์อาหาร “Plant-based” ที่มีส่วนผสมจากพืชและไม่มีเนื้อสัตว์เจือปน กำลังได้รับความนิยมทั่วโลกในช่วง 2-3 ปีนี้ เชนธุรกิจอาหารจำนวนไม่น้อย กำลังมองหาโอกาสตีตลาด ด้วยการนำมาสร้างสรรค์เมนูใหม่

เมื่อช่วงต้นปีนี้ Starbucks เชนร้านกาแฟรายใหญ่ ประกาศเตรียมเพิ่มเมนูอาหารและเครื่องดื่มที่เป็น Plant-based เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค สอดรับพฤติกรรมการทานอาหารวีแกนของคนรักสุขภาพ ไปพร้อมๆ กับการยกระดับผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายภายในร้านให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตีตลาดในแคนาดา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และเริ่มให้บริการในประเทศจีน ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ล่าสุด Starbucks ได้เริ่มขยายเจาะกลุ่มลูกค้าในภูมิภาค “เอเชียเเปซิฟิก เเล้ว โดยตั้งเเต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป บริษัทจะมีการปรับเเผนเเละเพิ่มเมนูอาหารและเครื่องดื่มที่เป็น Plant-based ซึ่งผลิตจากบริษัท Impossible Foods , Oatly และ Beyond Meat Inc เพื่อตอบโจทย์คนรักสุขภาพที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

Starbucks มองว่า เป็นโอกาสสำคัญที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดในฮ่องกง สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ไต้หวันและไทย ตามรสนิยมและความชื่นชอบของกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่หันมาสนใจอาหารที่ผลิตจากพืชเป็นหลัก

โดยจะเริ่มทดลองตลาด Plant-based ในรูปแบบเครื่องดื่มตามฤดูกาล 2 เมนูก่อน คือ Oatmilk Cocoa Macchiato และ Almondmilk Hazelnut Latte วางจำหน่าย 8 พื้นที่ ได้แก่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย

Photo : Starbucks เมนู Oatmilk Cocoa Macchiato

ส่วนเมนูอาหารจะวางขายใน 5 พื้นที่ โดยมีเมนูที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ฮ่องกง :  Maize Impossible Sandwich, the Spiced Impossible Puff เเละ vegan chocolate bread stick
  • นิวซีเเลนด์ : Mince & Cheese Pie
  • สิงคโปร์ : Impossible Wrap
  • ไต้หวัน : Beyond Meat Bolognese Penne, the Beyond Meat Sausage Sandwich เเละ the Beyond Meatball Sandwich
  • ไทย : Beyond Meat Sandwich
Photo : Starbucks เมนู Impossible Wrap ที่จะวางขายในสิงคโปร์

Starbucks  เปิดเผยว่า เมนู Plant-based ของแบรนด์จะมุ่งไปที่การพัฒนารสชาติให้ถูกปากคนในพื้นที่และใช้พืชในท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบ

อย่างไรก็ตาม การออกเมนู Plant-based ในเอเชียแปซิฟิก ถือเป็นความท้าทายของ Starbucks ที่จะต้องเอาใจผู้บริโภคที่ต้องการรสชาติและตัวเลือกใหม่ในวิถีการกินดื่มของผู้คนในเอเชียที่มีความหลากหลาย โดยจากข้อมูลของ Euromonitor ระบุว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ นม Plant-based” เพราะเป็นตัวเลือกที่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมอาหารอยู่แล้ว

สำหรับตลาด Plant-based Food ในประเทศไทย ก็เริ่มมีเชนร้านอาหารนำเนื้อทำจากพืชมาปรุงเป็นเมนูหลัก เช่น Sizzler ในเครือไมเนอร์ หรือร้านฌานาในเครือฟู้ดแพชชั่น รวมถึงมีนำเข้าจากต่างประเทศมาวางจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งด้วย

ปัจจุบัน Plant-based Food มีมูลค่ารวมทั่วโลก 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปี เนื่องจากผู้บริโภคเห็นข้อดีของวัตถุดิบอาหารรูปแบบนี้มากขึ้น

 

ที่มา : Reuters , Inside Retail , Starbucks

]]>
1296308
ยักษ์เกษตรโลก “Cargill” ลงแข่งขันธุรกิจ plant-based food ประเดิมด้วยเนื้อบดทำจากถั่ว https://positioningmag.com/1265826 Tue, 25 Feb 2020 09:52:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265826 Cargill เตรียมเปิดตัวสินค้าเนื้อบดทำจากพืช (plant-based) สำหรับทำแฮมเบอร์เกอร์ในเดือนเมษายนนี้ การรุกตลาดของยักษ์ใหญ่เกิดขึ้นท่ามกลางสนามแข่งขันที่มีบริษัทหน้าใหม่ออกนำไปก่อนแล้ว ที่โดดเด่นในตลาดได้แก่ Beyond Meat และ Impossible Foods โดยบริษัทหวังว่าจะสามารถรุกตลาดได้ทั้งในกลุ่มร้านค้าและร้านอาหาร

การบุกตลาดของ Cargill หนึ่งในบริษัทเอกชนนอกตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและมีอายุถึง 155 ปี สะท้อนให้เห็นว่าการเติบโตในธุรกิจ plant-based มีมากเพียงใด และอาจกลายเป็นคู่แข่งของบริษัทสตาร์ทอัพอย่าง Beyond Meat และบริษัทเอกชน Impossible Foods นอกจาก Cargill แล้ว ก่อนหน้านี้บริษัทปศุสัตว์หลักๆ เช่น Tyson Foods และ Smithfield Foods ก็เริ่มขายเนื้อทำจากพืชไปบ้างแล้วเช่นกัน

เนื้อทำจากพืชมีดีมานด์ในตลาดที่สูงขึ้น หลังจากผู้บริโภคพยายามหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์จริงจากเหตุผลด้านสุขภาพ รวมถึงแนวคิดเรื่องสวัสดิภาพและสิ่งแวดล้อมของสัตว์ที่เลวร้ายในฟาร์ม ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นหันมารับประทานอาหาร plant-based แทน

“เราเชื่อว่าเราอยู่ในจุดที่พิเศษในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในซัพพลายเชนการผลิต” Elizabeth Gutschenritter กรรมการผู้จัดการทีมโปรตีนทดแทนของ Cargill กล่าว

ตัวอย่างกระแสอาหาร plant-based ซึ่งปรากฏในเมนูบนสายการบินคาเธย์ แปซิฟิก

สำหรับผลิตภัณฑ์แรกนี้ Cargill จะแบ่งเนื้อออกเป็น 2 ประเภทคือ กลุ่มเนื้อ plant-based ที่ผลิตจากถั่วเหลือง และกลุ่มที่ผลิตจากถั่วลันเตา โดยบริษัทแนะนำว่าสามารถนำไปใช้ทำอาหารได้หลากหลาย เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือใส่ในซอสสปาเก็ตตี้ Cargill ยังจะใช้วิธีจัดจำหน่ายโดยอนุญาตให้ร้านค้ารีเทลสามารถจำหน่ายผ่านแบรนด์ของตนเองได้

การเลือกผลิตออกมาทั้งเนื้อที่ทำจากถั่วเหลืองและที่ทำจากถั่วลันเตาเป็นการปะทะกับเจ้าตลาดทั้งสอง เพราะ Beyond Meat ขณะนี้ผลิตสินค้าจากถั่วลันเตาอยู่ และ Impossible Foods ผลิตจากถั่วเหลือง

Beyond Meat รุกตลาดไปก่อนแล้ว โดยปีก่อนมีการจับมือผลิตเนื้อบดทำแฮมเบอร์เกอร์ให้กับ McDonald’s

การปะทะดังกล่าวไม่ใช่แค่ในแง่ของผู้ซื้อ แต่ยังปะทะในแง่ซัพพลายเชนด้วย เพราะซัพพลายวัตถุดิบต้นทางของการผลิตนั้นมาจากแหล่งเดียวกัน

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ Puris บริษัทผู้ผลิตโปรตีนจากถั่วลันเตา เป็นซัพพลายเออร์ให้กับทั้ง Cargill และ Beyond Meat และบริษัท Cargill ได้ทุ่มลงทุนในบริษัท Puris มูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2018 ซึ่งบริษัทนำมากล่าวอ้างถึงการ ‘ควบคุมซัพพลายเชน’ จากการลงทุนดังกล่าว เนื่องจากซัพพลายโปรตีนถั่วลันเตามีจำนวนจำกัด

“Cargill เป็นองค์กรขนาดยักษ์ ดังนั้นการดีลธุรกิจกับใคร เราจึงสามารถเป็นได้ทั้งซัพพลายเออร์และคู่แข่งในพื้นที่ธุรกิจที่ต่างกัน” Gutschenritter กล่าว “ความสามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบจะเป็นประโยชน์กับเราอย่างมากแน่นอน”

บริษัท Cargill นั้นเป็นที่รู้จักในฐานะผู้จัดจำหน่ายสินค้าเกษตร เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ไปทั่วโลก รวมถึงเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว บริษัทมีการลงทุนสะสมถึง 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ แต่กลุ่มเนื้อจากพืชซึ่งเป็นกลุ่มโปรตีนทางเลือก ยังมีสัดส่วนใช้งบวิจัยพัฒนาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เพียง ‘หลักหน่วย’ ในระดับต่ำ

Source

]]>
1265826
ฮิตจัด! KFC สหรัฐฯ เพิ่มสาขาจำหน่ายเมนู “เนื้อจากพืช” หลังสาขาแรกขายหมดใน 5 ชั่วโมง https://positioningmag.com/1262747 Fri, 31 Jan 2020 07:36:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262747 หลัง KFC ร่วมมือกับ Beyond Meat ทดลองจำหน่ายเมนูเนื้อไก่ทำจากพืชที่แอตแลนตาเมื่อเดือนสิงหาคมปีก่อน ผลตอบรับจากลูกค้าดีเยี่ยม มีคนต่อคิวยาวเหยียดและขายหมดภายใน 5 ชั่วโมง ทำให้บริษัทตัดสินใจทดลองขยายพื้นที่จำหน่ายไปอีก 2 เมืองคือ ชาร์ลอตต์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา และเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี รวม 66 สาขาที่จะทดลองจำหน่ายเมนูพิเศษ Beyond Fried Chicken ในวันที่ 3-23 กุมภาพันธ์นี้

กระแสมังสวิรัติเป็นเทรนด์ที่แม้แต่ร้านฟาสต์ฟู้ดยังต้องตามให้ทัน โดยเมื่อเดือนสิงหาคมปีก่อน KFC สหรัฐฯ ออกจำหน่ายนักเก็ตไก่ที่ทำจากพืช ผลิตโดยบริษัท Beyond Meat ในชื่อ Beyond Fried Chicken เปิดขายเพียง 1 สาขาในเมืองแอตแลนตาเพื่อทดลองตลาด ผลปรากฏว่าลูกค้าให้ความสนใจล้นหลามทำให้เมนูนี้ขายหมดภายใน 5 ชั่วโมง

ในที่สุด KFC ตัดสินใจขยายตลาดเนื้อจากพืช (plant-based meat) ต่อในปีนี้ เป็นการขยายทั้งจำนวนสาขาที่ขายและช่วงเวลาจำหน่าย โดยจะเปิดจำหน่ายเมนูพิเศษ Beyond Fried Chicken ใน 2 เมืองคือ ชาร์ลอตต์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา และเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี รวม 66 สาขา ระหว่างวันที่ 3-23 กุมภาพันธ์นี้
KFC ถือเป็นเชนร้านฟาสต์ฟู้ดเจ้าแรกๆ ที่ประกาศจำหน่ายเมนูเนื้อจากพืชซึ่งเป็นกลุ่มอาหารทางเลือกในสเกลใหญ่เช่นนี้

“การทดลองตลาดที่แอตแลนตาทำให้เราตกตะลึง” แอนเดรีย ซาฮูเมนสกี้ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด KFC สหรัฐฯ กล่าวกับสำนักข่าว Business Insider “เราไม่ได้คาดการณ์เลยว่าจะขายหมดภายใน 5 ชั่วโมง ถึงขนาดที่เราต้องเรียกตำรวจจราจรมาช่วยดูแลรอบๆ ร้าน การทดลองตลาดแสดงให้เราเห็นว่า เทรนด์เนื้อจากพืชในตลาดขณะนี้คือกระแสที่ผู้บริโภคต้องการจริงๆ”

KFC-Beyond-Meat
เมนูไก่ไม่มีกระดูก Beyond Fried Chicken ที่จะจำหน่ายใน KFC สหรัฐฯ (photo: Beyond Meat)

สำหรับเมนู Beyond Fried Chicken ครั้งนี้จะแตกต่างจากรอบก่อน โดยเปลี่ยนจากนักเก็ตไก่ซึ่งปกติทำจากเนื้อไก่บด มาเป็นไก่ไม่มีกระดูก ที่ปกติทำจากเนื้ออก มีให้เลือกเป็นเซตแบบ 4 ชิ้นถึง 12 ชิ้น คลุกในซอสที่มีให้เลือก 3 แบบ บาร์บีคิวฮันนี่ บัฟฟาโล หรือซอสเผ็ดแนชวิลล์

อีธาน บราวน์ ซีอีโอของ Beyond Meat กล่าวว่า การหาทางผลิตในระดับแมสสำหรับเมนูไก่ที่ต้องได้สัมผัสแบบกล้ามเนื้อของไก่จริงๆ นั้นคือโจทย์ที่ยากที่สุด

“หนึ่งในกุญแจสำคัญของการผลิตเนื้อในกลุ่มสัตว์ปีกคือคุณจะต้องทำให้โครงสร้างกล้ามเนื้อถูกต้อง” บราวน์กล่าว “ถ้าเป็นเนื้อบดนั้น คุณไม่ต้องสร้างโครงสร้างให้เหมือนจริง แต่ถ้าเป็นเนื้อไก่ ผู้บริโภคต้องการรับรู้โครงสร้างกล้ามเนื้อของไก่ ที่จริงคุณจะทำเป็นก้อนเนื้อเลยก็ได้ แต่ผมคิดว่าคุณจะสูญเสียการรับสัมผัสของเนื้อไก่จริงซึ่งเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมของการทานไก่”

เนื้อจากพืชนั้นเป็นอาหารทางเลือก โดยทำมาจากการสกัดโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว ข้าว นำมาขึ้นรูป แต่งรสและกลิ่นให้เหมือนกับเนื้อสัตว์ ตอบสนองตลาดผู้บริโภคที่รับประทานมังสวิรัติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านศาสนา รักสัตว์ หรือรักสุขภาพ สามารถทานเนื้อจากพืชได้

ปัจจุบันเนื้อจากพืชยังอยู่ระหว่างพัฒนาแข่งขันของหลายเจ้าในตลาดเพื่อทำให้เหมือนเนื้อสัตว์จริงมากที่สุด ผลิตได้ปริมาณมาก และราคาถูกลง ส่วนในไทยมีเชนร้านอาหารที่นำร่องลงเมนูเนื้อจากพืชแล้วคือ Sizzler ในเครือไมเนอร์

Source

]]>
1262747
Pizza Hut ทดลองกล่องพิซซ่าแบบกลม รักษ์โลกขึ้น แถมประหยัดที่ในตู้เย็นมากขึ้น https://positioningmag.com/1255958 Thu, 05 Dec 2019 17:13:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255958 Pizza Hut ได้ทดลองแพ็กเกจจิ้งใหม่มาในรูปแบบถาดกลม แถมยังเปิดตัวเมนูจาก Plant-based Meat ซื้อพิซซ่าถาดเดียว ได้รักษ์โลกหลายต่อ ทั้งงดเนื้อสัตว์ และขยะจากแพ็กเกจจิ้ง

เรียกว่าเป็นความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของ Pizza Hut ที่ลงมาเขย่าวงการอาหาร อย่างแรกเลยก็คือการจับกระแสของ Plant-based Meat เทรนด์ร้อนแรงแห่งปีสำหรับเมนูเนื้อไร้เนื้อ โดยที่ Pizza Hut ได้เปิดตัวเมนู Garden Specialty Pizza สร้างทางเลือกแก่คนที่ต้องการทดลองเนื้อไร้เนื้อ

เมนูนี้ทาง Pizza Hut ได้จับมือร่วมกับ MorningStar Farms ที่มีเมนู “Incogmeato” เป็นไส้กรอกอิตาเลียน มีส่วนประกอบของหัวหอม เห็ด และพริกไทย ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์

แต่อีกหนึ่งความน่าสนใจก็คือ Pizza Hut ได้ทดลองแพ็กเกจจิ้งใหม่ เป็นกล่องพิซซ่าแบบกลม ได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง Zume เป็นบริษัทที่พัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ สำหรับวงการอาหาร

ความพิเศษของกล่องพิซซ่าแบบกลมนี้จะมีการใช้วัสดุที่น้อยกว่าแบบกล่องสี่เหลี่ยมที่เห็นโดยทั่วไป ทำให้การจัดส่งง่ายขึ้นด้วย อีกทั้งยังช่วยประหยัดพื้นที่ในตู้เย็นมากขึ้นไปอีก (สำหรับใครที่ชอบนำไปแช่เย็น) อีกทั้งยังช่วยในเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะสลายได้ง่าย

แต่เดิม Pizza Hut ได้วางจำหน่ายพิซซ่าพิเศษนี้ไว้ที่สาขาเดียวที่เมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา หวังว่าจะมีแผนในการขยายสาขาในอนาคต

Source

]]>
1255958