โดยเฉลี่ยแล้ว สินค้าใหม่ๆ ถูกเพิ่มในสินค้าสี่ประเภทนี้
สินค้าที่จัดอยู่ในประเภทสินค้
สินค้าอัจฉริยะหรือที่เรียกว่
ทั้งนี้ สินค้าอัจฉริยะที่เพิ่งจดทะเบี
สินค้าอัจฉริยะดังกล่าวยั
แม้กระทั่งช่วงก่อนเกิ
สินค้าไลฟ์สไตล์ที่จัดว่าเป็
ความต้องการทางธุรกิจสำหรับสิ
นอกจากนี้ สินค้าหมวดไลฟ์สไตล์ที่เพิ่
เทรนด์ทั่วโลกที่มีความสนใจในกิ
อุปกรณ์ทำความสะอาดอัจฉริยะก็
นอกเหนือจากความสนใจที่เพิ่มขึ้
จากรายงานร่วมที่เผยแพร่เมื่
จากข้อมูลของ ไพรซ์ซ่า พบว่าในปี 2021 ช่องทางอีคอมเมิร์ซที่มีความนิยมสุดของผู้บริโภคไทย ได้แก่
แน่นอนว่าที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หันไปเปิดร้านในอีมาร์เก็ตเพลสก็เพราะขายง่าย โดยแต่ละแพลตฟอร์มก็มีโปรโมชันกระตุ้นตลาดตลอด ส่วนโซเชียลมีเดียก็เป็นพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากอยู่แล้ว อีกทั้งยังตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าไทยที่ชอบ แชท คุยกับร้านเพื่อซื้อของ
อย่างไรก็ตาม ไม่มีแพลตฟอร์มหรือช่องทางไหนจะดีที่สุด อย่างอีมาร์เก็ตเพลสในไทยไม่ได้มีรายเดียว ถ้าขายทุกแพลตฟอร์มก็ต้องบริหารจัดการเยอะ ขณะที่จำนวนร้านค้าที่ขายสินค้าเหมือน ๆ กันก็มีมหาศาล การที่จะให้ลูกค้ามาซื้อซ้ำร้านเดิมหรือจดจำชื่อแบรนด์บนอีมาร์เก็ตเพลสก็ยาก หรือการขายผ่านโซเชียลมีเดียแม้จะง่าย แต่ก็มีการปรับอัลกอริทึมใหม่ จนทำให้โพสต์ของร้านถูกลดการมองเห็นลงอย่างมาก
ส่วนข้อดีของการมี เว็บไซต์ ก็คือ ความน่าเชื่อถือ สามารถ แสดงตัวตนของแบรนด์ได้ชัดเจน สามารถ เก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้ประโยชน์ ได้ง่ายกว่า แถมหน้าเว็บไซต์มีโอกาสคงอยู่ใน Google Search มากกว่าอีกด้วย ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าคนไทยชอบค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า
ในช่วงแรก LnwShop เป็นเหมือน Welove Shopping หรือ Talad.Com คือ เป็นแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ออนไลน์ให้ร้านค้าที่ต้องการขายของ แต่ตั้งแต่มีโซเชียลมีเดียมีอีมาร์เก็ตเพลสเข้ามา ทำให้ผู้ที่จะเริ่มต้นขายของก็จะเริ่มกับสิ่งที่คุ้นเคย ขณะที่มองว่าเว็บไซต์เป็นเรื่องยุ่งยาก ทำให้ตอนนี้ เว็บไซต์ไม่ใช่ตัวเลือกแรกที่จะสร้าง
“ข้อจำกัดที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่เปิดเว็บไซต์ของตัวเองก็เพราะหน้าที่ของเว็บยังเป็นแบบ Passive หรือซื้อขายแบบต้อนรับ เช่นเดียวกับอีมาร์เก็ตเพลส แต่เพราะเขามีส่วนลดคนเลยเข้าเรื่อย ๆ ดังนั้น คนที่จะทำเว็บเองต้องมั่นใจว่ามีลูกค้า สามารถขายได้ด้วยตัวเอง”
ดังนั้น LnwShop ต้องการปรับภาพไม่ใช่แค่ เว็บไซต์ ที่แต่ต้องเป็นบริการ ฟูลฟิลล์เมนท์ หรือระบบการจัดการร้านค้าออนไลน์ครบวงจร โดยล่าสุด ได้เปิดตัว LnwShop Pro ซึ่ง LnwShop ได้เป็นพันธมิตรกับหลาย ๆ แพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee, JD Central, Facebook Shop Instagram Shopping และ Google Shopping ในการเชื่อมต่อกับหลังบ้านให้สามารถบริหารจัดการผ่านเว็บไซต์ได้ โดยที่ข้อมูลทุกช่องทางจะเชื่อมถึงกันหมด และอัพเดทถึงกันทุกช่องทางอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย, สต็อกสินค้า, การขนส่ง, การทำบัญชี และการชำระเงิน เป็นต้น
“LnwShop Pro จะเหมาะกับร้านระดับองค์กรที่มียอดขายเยอะ มีหลากหลายช่องทาง เพราะนี่จะช่วยให้แบรนด์บริหารจัดการการขายได้ง่ายขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกให้ร้านค้า”
แน่นอนว่าการที่อีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างมาก เพราะทุกแบรนด์ปรับตัวจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ และสิ่งที่ตามมาก็คือ คู่แข่งจากต่างประเทศ อาทิ SHOPLINE ผู้ให้บริการแบบ Total Solution ทั้งการทำเว็บไซต์และการจัดการโซเชียลคอมเมิร์ซจากฮ่องกง หรือ GoDaddy ผู้ให้บริการเว็บไซต์จากอเมริกา
ซึ่งความน่ากลัวของคู่แข่งจากต่างประเทศคือ เงินทุน ในการทำตลาด แต่ LnwShop มองว่าจุดแข็งของแพลตฟอร์มคืคือความเป็นโลคอลแบรนด์ทำให้สามารถ เข้าใจความต้องการลูกค้าได้อย่างแท้จริง และสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด
ที่ผ่านมา LnwShop เห็นการเปลี่ยนแปลงแทบในตลาดแทบจะทุกไตรมาส โดยเฉพาะ พฤติกรรมผู้บริโภค และ การตลาด ที่เปลี่ยนไป แต่ที่ LnwShop ยังสามารถทำตลาดได้ตลอด 11 ปีเป็นเพราะมีความ ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจจนปัจจุบันไม่ใช่แค่ผู้ให้บริการเว็บไซต์ แต่เป็น ระบบการจัดการร้านค้าออนไลน์ครบวงจร
“ที่ผ่านมาเราดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด ทำให้เราเห็นปัญหาจริง ๆ ของเขา เราจึงรู้และเข้าใจว่าทิศทางของบริษัทต้องไปทางไหน และออกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงใจจริง ๆ”
ปัจจุบัน LnwShop มีลูกค้ากว่า 850,000 ร้านค้า จากทุกภูมิภาค โดยภายใน 3 ปีจากนี้ LnwShop ตั้งเป้าที่จะเพิ่มลูกค้าเฉพาะส่วนของ LnwShop Pro ให้ได้ 10,000 ราย
]]>KKP Research โดยกลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่า ตลาดค้าปลีกออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ในไทยหลังวิกฤตโควิด-19 จะขยายตัวเฉลี่ย 20% ต่อปีตลอดช่วง 5 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากระดับ 3 แสนล้านบาท เป็น 7.5 แสนล้านบาทในปี 2568 หรือคิดเป็น 16% ของตลาดค้าปลีกรวม
โดยในปี 2563 ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยขยายตัวก้าวกระโดดถึง 80% สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาสู่ช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ท่ามกลางข้อจำกัดการเดินทางเเละมาตรการล็อกดาวน์
สำหรับสินค้าที่มีเเนวโน้ม ‘ขยายตัวได้ดี’ จะอยู่ในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อาหารและสุขภาพ สวนทางกับยอดใช้จ่ายเพื่อการจองโรงแรมและการเดินทางท่องเที่ยวที่หดตัวลงอย่างรุนแรง
ปัจจุบัน ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย แต่ในแง่มูลค่าใช้จ่ายต่อผู้ใช้ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ชี้ให้เห็นโอกาสในการเติบโตได้ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้นโดย 3 ปัจจัยหลักๆ ที่จะทำให้อีคอมเมิร์ซในไทยเเละอาเซียน สามารถเติบโตได้สูงต่อเนื่อง ได้แก่
1. การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต : เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปัจจุบันที่เฉลี่ยราว 80% ของประชากร
2. การใช้โทรศัพท์มือถือและเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเข้มข้น : โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z โดยกลุ่มประเทศในอาเซียนมีจำนวนบัญชี Facebook ต่อประชากรสูงที่สุดในโลกและเป็นโอกาสทางการตลาดที่สำคัญ
1.การส่งสินค้าถึงบ้าน (home delivery)
2. คะแนนรีวิวและยอดขาย (online reputation)
3. การสอบถามและบริการผ่านการสนทนาออนไลน์ (online support) บนอีคอมเมิร์ซ
ธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีหน้าร้านควรเริ่มสร้างรอยเท้าดิจิทัล (Digital footprint) บนช่องทางและแพลตฟอร์มที่หลากหลายเพื่อเพิ่มการมองเห็น (visibility) และเพื่อกระจายความเสี่ยงหากบางแพลตฟอร์มต้องปิดตัวลง
KKP Research มองว่า ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่นห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าประเภทที่มีผู้ให้คำแนะนำ (Specialist Shops) มีข้อได้เปรียบในด้านความน่าเชื่อถือของผู้ขายเป็นทุนเดิมและมีบริการหลังการขายที่ดี สามารถนำช่องทางออนไลน์มาหลอมรวมกับหน้าร้านเพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้บริโภค (omnichannel experience) หรืออาจสร้างช่องทางออนไลน์แยกจากช่องทางหน้าร้าน (multichannel) และเน้นการส่งสินค้าอย่างรวดเร็วถึงบ้าน เช่น การส่งสินค้าถึงบ้านใน 3 ชั่วโมงในเขตกรุงเทพฯ
แม้ฐานลูกค้า E-commerce ของธุรกิจค้าปลีกเดิม จะมีไม่สูงนักเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มรายใหญ่ แต่จำนวนผู้เข้าใช้บริการสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
“ธุรกิจหน้าร้านยังคงมีข้อเสียเปรียบในด้านโครงสร้างต้นทุน โดยเฉพาะค่าเช่าพื้นที่และค่าจ้างพนักงาน จึงจำเป็นต้องปิดจุดอ่อนผ่านการบริหารต้นทุนของช่องทางหน้าร้าน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อรักษาอัตรากำไรในระยะต่อไป”
การขยายตัวธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ยังส่งเสริมให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้รับประโยชน์ไปด้วย ได้แก่ ธุรกิจคลังสินค้า (Warehouse) บรรจุภัณฑ์ (Packaging) และขนส่ง (Logistics) รวมถึงโฆษณาออนไลน์
ขณะที่มีบางธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ธุรกิจค้าปลีกที่อาศัยหน้าร้าน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการขายหรือให้เช่าพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ หรือร้านอาหารขนาดใหญ่ที่ถูกแย่งส่วนแบ่งจากบริการส่งอาหาร (Food Delivery)
กลยุทธ์การปรับตัวไปสู่ภาวะปกติใหม่ (New Normal) จะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะอยู่รอดต่อไป และเป็นโอกาสในการสร้างการเติบโตใหม่ของธุรกิจได้
KKP Research วิเคราะห์ว่า ภาครัฐสามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจค้าปลีกออนไลน์และเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ เพื่อยกระดับผลิตภาพในภาคบริการ สร้างงานในภาคธุรกิจใหม่ และสร้างการเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมแก่ธุรกิจรายย่อย ผ่านการส่งเสริมด้านโครงสร้างพื้นฐานและลดขั้นตอนและกฎระเบียบใน 3 ด้าน ได้แก่
(1) ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพโลจิสติกส์ในประเทศ ทั้งการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนการจัดตั้งคลังสินค้าสมัยใหม่แบบครบวงจร (Fulfillment center)
2) สนับสนุนการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์และการจัดเก็บภาษีบนธุรกิจออนไลน์อย่างโปร่งใสและเป็นระบบ เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกรรมค้าปลีกออนไลน์ในอนาคต
3) ขยายตลาดค้าปลีกออนไลน์ ให้ไปไกลกว่าตลาดในประเทศผ่านการลดขั้นตอนและกฎระเบียบระหว่างแดน เพื่อให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทยสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต 470 ล้านคนในอาเซียนได้
]]>
ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ หรือ Last-mile delivery เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ขยายตัวตามการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคกังวลในเรื่องของความปลอดภัยและงดทำกิจกรรมนอกบ้าน มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายและหันมาซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น จึงหนุนให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย
เเต่จากการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น จนทำให้ปัจจุบันมีพนักงานขนส่งสินค้าออนไลน์ของหลายบริษัทและในหลายพื้นที่ติดเชื้อโควิด โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สีแดงเข้ม เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี อยุธยา ชลบุรี ประกอบกับการขยายมาตรการล็อกดาวน์ออกไปอีกอย่างน้อย 14 วันในเดือนสิงหาคม 2564 (อาจมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนมาตรการอีกครั้ง) จนส่งผลให้ศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญในบางพื้นที่ รวมถึงสาขาที่รับ-ส่งสินค้าบางแห่ง ทั้งที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าและนอกห้างสรรพสินค้าต้องปิดทำการชั่วคราว
“บางสาขาที่ยังคงเปิดให้บริการได้นั้น ก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่ปลายทางที่นานขึ้นกว่าช่วงปกติ”
เหล่านี้ ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์อาจได้รับผลกระทบและทำให้การจัดส่งสินค้าออนไลน์ติดขัดเป็นการชั่วคราว ประกอบกับการแข่งขันของธุรกิจที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันเรื่องราคาค่าขนส่งสินค้า
“ธุรกิจขนส่งในภาพรวมปีนี้ แม้คาดว่ารายได้จะยังคงเติบโต แต่ก็เผชิญความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ”
การจัดส่งสินค้าออนไลน์ในกลุ่มอาหาร (Food) น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าสินค้าในกลุ่มที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่เน่าเสียง่าย ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารแห้ง ผัก ผลไม้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มสินค้าจำเป็นที่คาดว่าผู้บริโภคน่าจะยังคงมีการวางแผนใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในช่วงที่โควิดระบาด
แต่เมื่อขนส่งไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ หรือใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ รวมถึงยานพาหนะที่ใช้ในการจัดส่งสินค้ากลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เอื้อต่อการจัดเก็บหรือควบคุมคุณภาพได้นาน สินค้ามีความเน่าเสียได้ง่าย จึงทำให้ได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างมาก จนผู้ประกอบการบางราย บางพื้นที่ต้องงดรับการจัดส่งสินค้าในกลุ่มนี้เป็นการชั่วคราว
ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) หรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง ของตกแต่งบ้าน เนื่องจากยอดขายได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดตัว และใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้
ดังนั้น สถานการณ์ดังกล่าว ก็อาจจะกระทบต่อการจัดส่งสินค้ากลุ่มนี้ในระดับที่น้อยกว่า หรือหากมีคำสั่งซื้อมองว่าผู้บริโภคบางรายก็อาจจะรอสินค้าได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าว น่าจะเป็นปัญหาชั่วคราว และจากการเร่งแก้ปัญหาและการปรับตัวของผู้ประกอบการ ส่งผลให้สาขาในบางพื้นที่ที่ปิดทำการชั่วคราวเริ่มกลับมาเปิดทำการได้บ้าง แต่ยังคงต้องรอสินค้าที่นานกว่าช่วงปกติ
ส่วนรายได้ของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ ในภาพรวมปี 2564 ยังคงขยายตัวได้จากการระบาดของโควิดที่ยังคงหนุนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น แต่การเติบโตคาดว่าจะชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า ปัจจัยหลักๆ มาจากการแข่งขันด้านราคาค่าส่งสินค้า อีกทั้งยังต้องเผชิญกับต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น
แม้ว่าการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น จนส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่งสินค้าให้หยุดชะงักลงเป็นการชั่วคราวในบางพื้นที่ แต่เนื่องจากผู้บริโภคยังคงกังวลกับการออกไปใช้จ่ายหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน การประกาศล็อกดาวน์ของภาครัฐ อีกทั้งผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ มีการอัดโปรโมชันกันอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้บริโภคยังคงใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ
“ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ในปัจจุบันที่แข่งขันกันรุนแรงจากจำนวนผู้เล่นในตลาดมากราย โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคาค่าขนส่งของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ต้องปรับตัวตาม และท้ายที่สุดหากผู้ประกอบการรายใดไม่สามารถแบกรับหรือบริหารจัดการต้นทุนได้ ก็อาจจะเผชิญการแข่งขันที่ยากลำบากขึ้น”
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า แม้ว่ารายได้ของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ (Last-mile delivery) ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 71,800 ล้านบาท ขยายตัว 19.0% ซึ่งเป็นการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 31.3%
แต่หากพิจารณาในส่วนของต้นทุนในการบริหารจัดการคาดว่าน่าจะปรับเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการโควิดเพื่อสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและพนักงาน ต้นทุนจากการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น (ทดแทนพนักงานที่ติดโควิด และรองรับกับคำสั่งซื้อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น)
รวมถึงต้นทุนในการบริหารจัดการเส้นทางการส่งสินค้าใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางเดิมที่มีปัญหา ในขณะที่ต้องลดราคาค่าขนส่งให้ถูกลง เพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าผลประกอบการของผู้ประกอบการบางรายยังคงประสบภาวะขาดทุน
การเติบโตของรายได้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ในภาพรวมที่อัตรา 2 หลัก อาจจะไม่ได้สะท้อนถึงผลประกอบการสุทธิที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการได้ทุกราย และเมื่อมองไปข้างหน้า ด้วยสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่คลี่คลาย ความเสี่ยงต่างๆ ยังคงเกิดขึ้นได้ ก็น่าจะทำให้ต้นทุนในการบริหารจัดการโควิดของผู้ประกอบการยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยจากโรค การกระจายศูนย์กระจายสินค้าไปยังพื้นที่ศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงการให้บริการเรื่องของสินค้าที่ครบวงจร
หากผู้บริโภคมีความกังวลและไม่มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยจนทำให้มีการสำรองสินค้ามากขึ้นเพื่อลดจำนวนครั้งในการสั่งซื้อ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการจัดส่งที่น้อยลงและส่งผลต่อผลประกอบการของธุรกิจตามมา
โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดในเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุน เงินทุน และการปรับตัวที่ไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ทัน ซึ่งน่าจะยังคงเผชิญความยากลำบากในการแข่งขัน
]]>
สำหรับ ‘คลาวด์ คอมพิวติ้ง’ (Cloud computing) ถูกมองว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะมาทำกำไรให้อาลีบาบาในระยะยาว ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้ทุ่มเงินทุนเเละผลักดันให้ธุรกิจนี้ขยายเชิงรุกออกไปยังต่างประเทศ
อาลีบาบา เพิ่งประกาศแผนการเปิดศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ในฟิลิปปินส์ภายในสิ้นปีนี้ และกำลังจะเปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งที่ 3 ในอินโดนีเซีย เพื่อสามารถเพิ่มประสิทธิภาพเเละบริการในระดับภูมิภาค
ล่าสุดมีการออกโซลูชันใหม่ เพื่อเจาะกลุ่มร้านค้าออนไลน์โดยเฉพาะ ด้วยการเปิดตัว ‘บริการไลฟ์สตรีมมิ่ง’ สำหรับร้านค้าในอีคอมเมิร์ซ ให้สามารถสตรีมบนเว็บไซต์หรือเเอปพลิเคชันของตัวเองบนคลาวด์ของอาลีบาบา มีฟีเจอร์หลากหลาย เพื่อรองรับการนำเสนอสินค้า แสดงตัวหนังสือข้อความระหว่างไลฟ์ เเละเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การซื้อขายต่างๆ
โดยเทรนด์การสตรีมมิ่งหรือ ‘ไลฟ์สด’ ได้รับความนิยมอย่างมากในจีนเเละประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ส่วนใหญ่จะเป็นไปในรูปเเบบที่มี โฮสต์ (ผู้ขาย) พูดคุยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าสามารถกดซื้อได้โดยตรงผ่านการถ่ายทอดสด
ในปี 2020 โมเดลการไลฟ์สตรีมมิ่งเพื่อขายของออนไลน์ ดึงดูดผู้ใช้ชาวจีนมากกว่า 388 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจีน
อาลีบาบา หวังว่าบริการใหม่นี้จะสร้างความเเตกต่างจากผู้บริการคลาวด์รายอื่นของสหรัฐฯ อย่าง Microsoft และ Amazon
ตามข้อมูลของ IDC อาลีบาบานับเป็นเบอร์หนึ่งเป็นในตลาดคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีส่วนแบ่ง 19.2% ณ สิ้นปี 2020 จากแรงหนุนจากความนิยมในจีน ตามมาด้วยอันดับสองอย่าง Amazon ที่มีส่วนแบ่ง 10.5% เเต่ในตลาดโลกเเล้ว ‘อาลีบาบา’ ยังเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่มีส่วนเเบ่งเป็นอันดับ 4 เป็นรองจาก Amazon, Microsoft และ Google ตามลำดับ
ความเคลื่อนไหวของอาลีบาบาที่ขยับมาดันธุรกิจคลาวด์ครั้งนี้มีขึ้นหลัง บริษัท ‘ขาดทุน’ จากการดำเนินงาน 7.66 พันล้านหยวนในไตรมาส 4 ของปีการเงินล่าสุด นับเป็นครั้งแรกที่อาลีบาบาขาดทุนจากการดำเนินงานในฐานะบริษัทมหาชน หลังรัฐบาลจีนสั่งปรับเป็นเงินกว่า 1.8 หมื่นล้านหยวนในข้อหาผูกขาดตลาดเมื่อเดือนที่ผ่านมา
การหันมาหารายได้จาก ‘ธุรกิจใหม่’ จึงกลายมาเป็นกลยุทธ์สำคัญของบริษัทในปีงบประมาณปัจจุบัน ท่ามกลางการเเข่งขันในตลาดที่ดุเดือดขึ้น โดยอาลีบาบากำลังเผชิญกับคู่เเข่งที่เป็นยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีในจีนอย่าง Huawei และ Tencent ที่เพิ่งประกาศเพิ่มลงทุนด้านคลาวด์ คอมพิวติ้งไปเมื่อเร็วๆ นี้
]]>
สาวสวยวัย 28 ปี คนนี้สามารถทำเงินอย่างถล่มทลายจากการขายเครื่องสำอางออนไลน์ เพียงเพราะเธอหน้าตาดูคล้ายนางเอกคนดังอย่าง ฟ่านปิงปิง มีคนแซวว่าเธออาจจะทำเงินได้มากกว่า ฟ่านปิงปิง ที่ตอนนี้ถูกแบนงานเพราะปัญหาภาษีซะอีก
โดย ฟ่านปิงปิง ตัวปลอมคนนี้ชื่อว่า “เหอเจิ้งสี” และใช้ชื่อในวงการว่า “ฟ่านเย่อปิง” ซึ่งเป็นการผสมกับระหว่างชื่อ “ปิงปิง” ของนางเอกคนดัง กับฉายา “ฟ่านเย่อ” ที่แปลว่า “อาจารย์ฟ่าน” อย่างที่บรรดาทีมงาน และแฟนๆ ใช้เรียกตัวของ ฟ่านปิงปิง ข่าวบอกว่าเธออายุประมาณ 27 ปี และผ่านการทำศัลยกรรมมาหลายรอบจนหน้าตาแทบจะเหมือนนางเอกชื่อดังของจีนแผ่นดินใหญ่
ตามข่าวเธอสามารถขายของได้สูงถึงมากกว่า 1 แสนหยวน หรือ 4.5 แสนบาท ในทุกๆ คืน และทำได้ติดต่อกันมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว รวมรายได้ถึงปัจจุบันเธอน่าจะหาเงินได้มากกว่า 10 ล้านบาทไปแล้ว
มีคนแซวกันว่าเธอน่าจะหาเงินจากการขายเครื่องสำอางพวกนี้ได้มากกว่า ฟ่านปิงปิง ตัวจริงด้วยซ้ำไป โดยนางเอกสาววัย 38 ปี โดนดำเนินคดีเกี่ยวกับเรื่องการหนีภาษี จนสุดท้ายต้องจ่ายค่าปรับ, สูญงานไปมหาศาล จนแทบจะต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
แต่ในเวลาเดียวกันก็มีคนตำหนิ ฟ่านปิงปิง ตัวปลอมคนนี้มีพฤติกรรมเข้าข่าย “หลอกลวง” และไม่ได้มีคุณสมบัติความสามารถใดๆ นอกจากการ “ลอกเลียนใบหน้าของ ฟ่านปิงปิง” มีคนเรียกร้องถึงขั้นให้เธอคืนเงินลูกค้าที่นึกว่าเธอคือ ฟ่านปิงปิง กันเลยทีเดียว “หยุดขโมยหน้า ฟ่านปิงปิง ได้แล้ว เธอก็แค่คนโกหก” ชาวเน็ตจีนบอก
]]>ความเคลื่อนไหวของ Tencent ครั้งนี้เป็นไปเพื่อดึงลูกค้าเเละผู้ขายในตลาดอีคอมเมิร์ซจีนให้เข้ามาร่วมในเเพลตฟอร์ม WeChat มากขึ้น
โดย WeChat เป็นแอปพลิเคชันเเชทยอดนิยม ที่มีผู้ใช้งานมากกว่าพันล้านคน นับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวจีนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ WeChat ยังถูกขนานนามว่าเป็น “Super-App” ด้วยฟังก์ชันที่หลากหลาย ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของผู้คน เช่น ผู้ใช้สามารถซื้อเที่ยวบินและทำการชำระเงินต่างๆ ได้ด้วยแอปฯ เดียว
ก่อนหน้านี้ Tencent มีบริการอีคอมเมิร์ซบน WeChat ที่มีชื่อว่า mini-program” มาสักระยะหนึ่งเเล้ว เเต่ WeChat Minishop จะเป็นการให้ร้านค้ามาเปิดหน้าร้านโดยใช้เครื่องมือของ Tencent เเบบไม่ต้องพึ่งพานักพัฒนาซอฟต์แวร์ เเละไม่ต้องลงทุนสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง อีกทั้งยังไม่เป็นระบบรวมศูนย์แบบ JD.com หรือ Taobao ของ Alibaba
Tencent หวังว่าจะสามารถดึงดูดธุรกิจขนาดเล็กให้ออกห่างจากแพลตฟอร์มคู่เเข่งเหล่านี้ได้ ด้วยการไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม สำหรับการเปิดร้านค้าออนไลน์บน WeChat Minishop ขณะที่เเพลตฟอร์มของ Alibaba ยังมีการเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ขายอยู่
ข้อได้เปรียบของ WeChat คือการมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่เเละมีการใช้งานทุกวัน ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกที่จะนำมาพัฒนาด้านอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ยังมีบริการ WeChat Pay เพื่อชำระค่าสินค้าบนเว็บไซต์อื่นๆ เเละฟังก์ชัน “Moments” ให้ผู้ใช้สามารถโพสต์รูปภาพ วิดีโอและลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของธุรกิจได้
อย่างไรก็ตาม Tencent ยังต้องเผชิญความท้าทายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทั้งคู่เเข่งที่มีความเเข็งเเกร่งเเละติดตลาดเเล้วอย่าง Alibaba และ JD อีกทั้งยังต้องสร้างความเชื่อมั่นกับทางการจีนว่าสินค้าปลอมต่างๆ จะไม่ได้วางขายอยู่มากมายบนเเพลตฟอร์มนี้
ที่มา : CNBC
]]>
เห็นได้ชัดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤต COVID-19 ตลอดช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคเกิดการปรับตัวและหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้นในช่วงที่มีการกักตัวและทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from Home)
ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการค้าปลีกแต่ละราย ต่างก็ต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรุกเข้าสู่ตลาดค้าปลีกออนไลน์เพื่อหาช่องทางสร้างรายได้ ซึ่งแน่นอนว่า ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของการออกไปใช้จ่ายนอกบ้าน ความกังวลในเรื่องของสุขภาพ ส่งผลให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์มีการขยายตัวสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การดำเนินธุรกิจค้าปลีกภายใต้สภาวะ New Normal แม้ว่าส่วนหนึ่งจะกระตุ้นให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตขึ้น แต่ถึงกระนั้น ผู้ประกอบการค้าปลีกต่างก็เผชิญการแข่งขันที่รุนแรงและยากลำบากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ E-Market Place ต่างชาติ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบและเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น
ภายหลังจากการเกิดวิกฤต COVID-19 ทำให้ E-Market Place ต่างชาติ ซึ่งเน้นจำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าไม่จำเป็น (Non-food) เช่น สินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์ไอที ของใช้ในครัวเรือน เผชิญความท้าทายและแรงกดดันรอบด้าน เช่น
จากปัจจัยดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดว่า ภายหลังจากการเกิดวิกฤต COVID-19 บทบาทของ E-Market Place ต่างชาติ ในตลาดรวมของ E-Commerce น่าจะเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่คาดว่าจะมีความได้เปรียบและมีบทบาทมากขึ้นในระยะข้างหน้า ก็อาจจะเผชิญการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจากปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น และยังต้องทำการอัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มของตนเอง
“คาดว่าผลประกอบการจะยังคงขาดทุนต่อเนื่อง ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงนี้ โดยผลประกอบการของ E-Market Place ต่างชาติ น่าจะยังคงขาดทุนต่อเนื่องร้อยละ 30-40 ต่อปี เมื่อเทียบกับรายได้ในปี 2563-2565 และถือเป็นการขาดทุนมาโดยตลอดเฉลี่ยร้อยละ 46 ต่อปี เมื่อเทียบกับรายได้ นับตั้งแต่ปีที่ผู้ประกอบการ E-Market Place กลุ่มดังกล่าวเริ่มเข้ามาลงทุนแพลตฟอร์มและทำตลาดค้าปลีกออนไลน์ในไทย”
ด้านผู้ประกอบการที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Social Commerce ไม่ว่าจะเป็นรายเล็ก-รายใหญ่ รวมถึงผู้เล่นที่เดิมไม่ได้ทำธุรกิจค้าปลีก ที่ต่างก็เข้ามาเพื่อหาทางสร้างรายได้นั้น โดยเฉพาะผู้เล่นรายใหม่ที่อยู่ในกลุ่มสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นรายย่อยที่เน้นขายสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เช่น อาหารพร้อมทาน อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่ม สินค้าเกษตร เช่น ผลไม้ เป็นต้น
ในระยะสั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ผลกระทบจาก COVID-19 น่าจะทำให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีโอกาสทำรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการซื้อขายบน Social Commerce ของกลุ่มสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งถือเป็นสีสันที่เกิดขึ้นในช่วงกักตัวหรือ Work from Home มีการซื้อขาย ช่วยเหลือและอุดหนุนกันภายในกลุ่มพี่น้องร่วมสถาบัน หรือแม้แต่การช่วยเหลือและอุดหนุนสินค้าของกลุ่มเกษตรกรที่เกิดขึ้นในระยะสั้น
ในระยะกลางถึงยาว ผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านี้ น่าจะต้องเผชิญความท้าทายมากขึ้นจากคู่แข่งที่มีจำนวนมากราย บวกกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีจำกัด หากสินค้าและบริการไม่แตกต่างหรือปรับตัวไม่ทันตามความต้องการของผู้บริโภค ก็จะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงและยากลำบาก โดยผู้ประกอบการที่สร้างรายได้สุทธิไม่เพียงพอหรือไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้เล่นรายย่อย สุดท้ายอาจต้องออกจากธุรกิจไป
ทั้งนี้ แม้ว่าส่วนหนึ่งปัจจัยทางด้าน COVID-19 จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์โตขึ้นจากการเข้าสู่สภาวะ New Normal แต่อีกส่วนหนึ่งก็กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดตัว และคาดว่าจะไม่กลับมาฟื้นตัวได้เร็วนัก จึงทำให้ผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและประหยัด เพราะไม่มั่นใจรายได้ของตนเองในอนาคต
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินว่า ตลาดค้าปลีกออนไลน์ B2C E-Commerce (เฉพาะสินค้า) ในปี 2563 แม้ว่าจะยังคงขยายตัวราวร้อยละ 8-10 แต่ก็เป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ขยายตัวราวร้อยละ 20 หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 3.0-3.2 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.7 ของมูลค่าตลาดค้าปลีกรวม
โดยกลุ่มสินค้าอาหารและของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน น่าจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากสภาวะ New Normal ส่วนสินค้าที่ไม่จำเป็นหรือสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างกลุ่มแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า น่าจะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่อ่อนแรง และคงใช้เวลาในการฟื้นตัวที่นานกว่าสินค้ากลุ่มอาหารและของใช้จำเป็น
“ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เข้าสู่สภาวะ New Normal ผู้ประกอบการค้าปลีกทุกรายจะเผชิญความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ E-Commerce ที่ยากลำบากขึ้น และอาจจะต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าที่คาดในการกลับมาฟื้นตัวของธุรกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว ให้สามารถตอบโจทย์หรือสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและอยู่รอดได้”
]]>รหัสส่วนลดที่มีธีมเกี่ยวกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ หากแต่ถ้าทำอย่างถูกต้องจะช่วยให้บริษัทได้สื่อสารกับผู้บริโภค และอาทำให้ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นได้ ช่วยแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าคุณเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันและต้องการรักษาหรือให้รางวัลลูกค้าในช่วงเวลานี้ เช่น โมเต็ลขนาดเล็กในเบอร์ลินผู้ ที่จะมอบส่วนลด 20% ของเบียร์และกาแฟไนโตรด้วยรหัส STAYINGHOME แทนที่จะเลือกใช้โค้ดอย่าง COVID19 พวกเขาไปเพื่อสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าของพวกเขาดังก้องมากขึ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่แยกตัวเองในปัจจุบัน
ยิ่งช่วงต้องอยู่แต่บ้านและลูกค้าพยายามจะเซฟเงิน การจูงใจด้วยโปรโมชั่นส่งฟรีจะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น หรือซื้อได้มากขึ้นโดยการสร้างขั้นต่ำของตะกร้า ซึ่งการจัดส่งฟรีเป็นวิธีง่าย ๆ ในการให้โบนัสแก่ลูกค้า และร้านอาจจะดึงดูดง่าย ๆ โดยทำแบนเนอร์ในหน้าแรกหรือบนหน้าผลิตภัณฑ์ของคุณ
ในอเมริกามีการทำชุดผลิตภัณฑ์หรือชุดผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น ‘Emergency TACO Kit’ ที่เป็นเมนูสำหรับส่ง Delivery โดยเฉพาะของร้าน guerrilla tacos ที่ขายในราคา 150 เหรียญ หรือประมาณ (4,950 บาท) ที่ไม่ได้ขายแต่ Taco ชุดใหญ่ไว้ทำกินเองได้หลายมื้อ แต่ยังรวมไข่ กระดาษทิชชู และของอื่น ๆ ที่ผู้บริโภคต้องการ ช่วยให้ขายได้ในราคาสูง แทยที่จะสั่งเมนูละไม่กี่สิบเหรียญ ขณะที่ค่าส่งอาจจะแพงกว่า ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคไม่อยากสั่งเพราะกลัวไม่คุ้ม
พ่อค้าจำนวนมากก็เริ่มให้การสนับสนุนท้องถิ่น นี่เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการยกระดับผู้อื่น และแสดงให้เห็นว่าคุณห่วงใยชุมชนของคุณมากแค่ไหน อย่างในไทยก็มีร้าน ‘หมูทอดเจ๊จง’ ที่ให้คนสามารถเอา ‘ข้าวกล่อง’ ไปขายก่อน ขายได้ค่อยเอาเงินมาให้ โดยเจ๊จงจะแบ่งกำไร 3 บาท ส่วนผู้ขายได้กำไร 7 บาท ซึ่งวิธีนี้ไม่เพียงแค่ช่วยให้คนในชุมชนมีรายได้ แต่ยังช่วยให้เจ๊จงมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่ง Win ทั้ง 2 ฝ่าย
ไม่ใช่แค่ช่วยคนในชุมชน แต่การบริจาครายได้สู่การกุศลก็ช่วยสร้างแบรนด์ในวิกฤตินี้ได้ อาทิ เพจ GroundControl ที่ขายขายหน้ากากผ้ารุ่น Limited COVID Edition ที่ออกแบบโดยนักออกแบบ 19 คน ที่ได้แรงบันดาลใจจากเพลงของ 19 ศิลปิน เพื่อนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งก็ถูกจองหมดอย่างรวดเร็ว
อาจเป็นวิธีที่ร้านค้าที่ตรงไปตรงมาที่สุด ในการปรับให้เข้ากับช่วงเวลาเหล่านี้ เพียงแค่ยอมรับสถานการณ์บนโซเชียลมีเดีย โดยสร้างเนื้อหาทำให้ลูกค้ารู้ว่ามีมนุษย์จริงอยู่เบื้องหลังแบรนด์ อย่างโรงเบียร์ Motel ได้พูดคุยเกี่ยวกับความบ้าคลั่งของการใช้ชีวิตในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็อ้างอิงผลิตภัณฑ์ของพวกเขาในหน้าโซเชียลมีเดีย พวกเขายังใช้โอกาสเตือนผู้ติดตามเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กด้วยการใช้แฮชแท็ก
หลายตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจออนไลน์ขนาดกลางและเล็ก สามารถเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าได้ดีมากขึ้นกว่าช่วงปกติด้วยซ้ำ ถือเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสอย่างแท้จริง
]]>ในปี 2019 Facebook มีการใช้งาน 57 ล้านคน/เดือน แต่ด้วยความที่ Facebook Group เป็นเหมือน Community ที่ย่อยลงมาอีกของ Facebook ซึ่งจะรวบรวมคนที่มีความสนใจ ความชอบ หรืองานอดิเรกที่เหมือน ๆ กันมาไว้รวมกัน ซึ่งแปลว่า หากเรามีสินค้าที่เป็นที่ตรงตามความสนใจของ Community นั้น ๆ ร้านก็จะได้ลูกค้าจำนวนมหาศาลดีกว่าไปเปิดเพจแบบหว่านแหซะอีก เพราะแม้ว่า 57% ของคนไทยจะพบแบรนด์ใหม่ผ่านโซเชียล แต่ปัจจุบัน page ถูกลดการมองเห็นลง
ด้วยความที่ Facebook ปรับอัลกอริทึมใหม่ให้ผู้ใช้มองเห็น ‘โฆษณา’ ลดลง เพื่อให้ความสำคัญกับเพื่อน ครอบครัวมากขึ้น ซึ่งรวมถึง Facebook Group ดังนั้น ผู้ใช้งานจะเห็นโพสต์ในกลุ่มบนฟีดข่าวมากกว่าเพจ โดยปัจจุบัน Facebook Group มีจำนวนผู้ใช้กว่า 1.4 พันล้านคน ในกลุ่มทั้งหมด 10 ล้านกลุ่ม ทั่วโลก และบางกลุ่มมีสมาชิกถึงหลักล้านคน
เมื่อเราเจอกลุ่มที่มีความสนใจตรงกับสินค้าเราแล้ว เราอาจจะไปโพสต์ขายของ เพื่อทดสอบตลาดได้ว่าสินค้ามีคนสนใจแค่ไหน และราคาเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงทำกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ได้อีกด้วย จากนั้นจะโปรโมตเพจหรือร้านออนไลน์ในแพลตฟอร์มไหน ๆ ก็ทำได้ ซึ่งดีกว่าการเปิดเพจแล้วเสียค่าโฆษณาเพื่อให้คนเห็นเสียอีก เมื่อเพจมีความแข็งแรงและน่าเชื่อถือแล้ว จากนี้ก็สามารถหารายได้ทั้งในกลุ่มที่มีกลุ่มลูกค้าเดิมและได้ลูกค้าใหม่จากเพจอีกด้วย
และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายหรือทำตลาด ผู้ใช้ควรศึกษาพฤติกรรมสมาชิก เช่น ช่วงเวลาที่มีการใช้งาน เทรนด์สินค้าที่มาแรง เทคนิคการขาย รวมถึงเครื่องมือไหนที่ใช้งานได้ อาทิ ไลฟ์, โพล เป็นต้น อย่างการไลฟ์เป็นอะไรที่มาแรงมาก แต่การไลฟ์แบบเดิม ๆ ยอดอาจจะตก ดังนั้นต้องรีเฟรชตัวเองตลอดเวลา ต้องสร้างคาแร็กเตอร์ มีการวางแผนล่วงหน้า เนื้อหาในการไลฟ์ต้องน่าสนใจ พยายามทักทายผู้ชม เพื่อให้มีอารมณ์ความรู้สึกร่วม และมีโปรโมชั่น กระตุ้นให้เขาซื้อ
หากใครที่อยากจะเริ่มขายของออนไลน์ แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน Facebook Group น่าจะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด อาจจะลองสร้างเพจและค้นหากลุ่มที่ตรงกับสินค้าของเราแล้วโพสต์ขายดูสักครั้ง เพื่อทำความรู้จักกับสมาชิกในกลุ่มและศึกษาตลาด พฤติกรรม ความต้องการ ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ก่อนที่จะขยับขยายกลุ่มลูกค้าออกมานอกกลุ่ม ซึ่งการขายของในกลุ่มนั้นไม่มีค่าใช้จ่าย เหมาะมากสำหรับมือใหม่ต้องการขายสินค้าโดยที่ไม่ต้องมีต้นทุน
]]>