ปรับโครงสร้างองค์กร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 05 Jul 2023 14:16:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ธนูลักษณ์” หลังปรับโครงสร้างธุรกิจแตกไลน์สู่วงการ “การเงิน-อสังหาฯ” ตั้งเป้ารายได้ปี’66 โต 20-30% https://positioningmag.com/1436653 Wed, 05 Jul 2023 08:50:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436653 “ธนูลักษณ์” หนึ่งในบริษัทเครือสหพัฒน์ ผู้ผลิต “เสื้อผ้าเครื่องหนัง” แบรนด์ดัง เช่น ARROW, ELLE, ERA-WON ปรับโครงสร้างธุรกิจและผู้ถือหุ้นขนานใหญ่ไปเมื่อปี 2565 แตกไลน์สู่วงการ “การเงินอสังหาฯ” เพื่อช่วยเร่งผลกำไร พร้อมต้อนรับ “BTS” เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คาดการณ์ปี 2566 รายได้พุ่ง 20-30% โดยไตรมาส 1 เห็นอัตรากำไรที่ดีขึ้น 3 เท่า

บมจ.ธนูลักษณ์ (TNL) เป็นหนึ่งในบริษัทเก่าแก่ของเครือสหพัฒน์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2518 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2530 รายได้หลักของบริษัทมาจากการเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย เสื้อผ้า สิ่งทอ เครื่องหนัง แยกเป็นกลุ่มแบรนด์ที่บริษัทได้รับลิขสิทธิ์การผลิตจำหน่าย เช่น ARROW, ELLE, DAKS, Guy Laroche และกลุ่มแบรนด์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทเอง เช่น ERA-WON เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์ตัวเดียวในการโล้คลื่นลมเศรษฐกิจยุคนี้อาจไม่เพียงพอ ทำให้เมื่อปี 2565 ธนูลักษณ์มีการเปลี่ยนแปลงภายในครั้งใหญ่ ทั้งการปรับโครงสร้างองค์กร/ผู้ถือหุ้น และปรับโครงสร้างธุรกิจ มีการแตกไลน์ไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ

“สุธิดา จงเจนกิจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ธนูลักษณ์ (TNL) ขึ้นเวทีภายในงาน “นักวิเคราะห์ นักลงทุนพบกลุ่มสหพัฒน์” สรุปการดำเนินงานในปี 2565 ของธนูลักษณ์ทั้งสองส่วน และผลสำเร็จที่เริ่มจะมองเห็นได้ในไตรมาส 1/2566

ธนูลักษณ์
เสื้อผ้าแบรนด์ ARROW

ในส่วนการปรับโครงสร้างองค์กรนั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมปีก่อน ธนูลักษณ์มีการขายหุ้นเพิ่มทุนซึ่งเปิดให้ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนูลักษณ์จึงเป็น บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง หรือ SPI ถือหุ้น 42% และ BTS ถือหุ้น 42%

ส่วนการปรับโครงสร้างธุรกิจของธนูลักษณ์ คือการเพิ่มเครื่องยนต์ใหม่ 3 ธุรกิจในกลุ่มการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่

  • ธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกัน – บริษัท ออกซิเจน แอสเซ็ท จำกัด (Oxygen) มุ่งเน้นการให้สินเชื่อกลุ่มลูกค้าบุคคลและองค์กรรายใหญ่
  • ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขาย – บริษัท บริหารสินทรัพย์ ออกซิเจน จำกัด (OAM) ซื้อพอร์ตสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย – บริษัท ทีเอ็นแอล อัลไลแอนซ์ จำกัด (TNLA) ซึ่งจะอาศัยความเชี่ยวชาญของ BTS ผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ช่วยในการลงทุน
ธนูลักษณ์
โครงสร้างธุรกิจ TNL หลังปรับเปลี่ยนแตกไลน์

 

“ธนูลักษณ์” ตั้งเป้ารายได้ปี’66 เติบโต 20-30%

ย้อนไปช่วงปี 2562 ธนูลักษณ์ทำรายได้รวม 1,779 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 89 ล้านบาท กระทั่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทั้งรายได้และกำไรต่างลดต่ำลง ขณะที่ปี 2565 บริษัทกลับมาฟื้นตัวทำรายได้รวม 1,960 ล้านบาท กำไรสุทธิ 111 ล้านบาท

สุธิดากล่าวว่า ปี 2566 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทปรับโครงสร้างองค์กรและธุรกิจแล้วเต็มปี คาดว่าจะทำรายได้เพิ่มขึ้น 20-30%

โดยการดำเนินงานของเครื่องยนต์ใหม่ทั้ง 3 บริษัทมีความคืบหน้า ดังนี้

  • “Oxygen” ณ ไตรมาส 1/2566 มีพอร์ตสินเชื่อขึ้นไปแตะ 4,200 ล้านบาท และตั้งเป้าจะเพิ่มขนาดพอร์ตอีก 20% ภายในสิ้นปีนี้
  • “OAM” ตั้งเป้าการประมูลซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินไว้ที่ 1,500-2,000 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้
  • “TNLA” เข้าร่วมลงทุนกับ บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ ทั้งหมด 7 โครงการ ได้แก่ นิว โนเบิล รัชดา-ลาดพร้าว, โนเบิล เคิร์ฟ, โนเบิล คิวเรท, โนเบิล ครีเอท, นิว คอร์ คูคต สเตชั่น, นิว ไฮป์ สุขสวัสดิ์ และนิว ริเวอร์เรสต์ ราษฎร์บูรณะ
ธนูลักษณ์
นิว ริเวอร์เรสต์ ราษฎร์บูรณะ หนึ่งในโครงการที่ธนูลักษณ์ร่วมลงทุนผ่านบริษัทลูก TNLA

จากผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรากฏว่าธนูลักษณ์ทำรายได้รวม 622 ล้านบาท และทำกำไรสุทธิ 106 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 17%

ที่ผ่านมาธนูลักษณ์มักจะมีอัตรากำไรสุทธิวิ่งอยู่ที่ 4-5% เสมอมา ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกจึงส่งสัญญาณว่าการปรับโครงสร้างธุรกิจได้ทำให้บริษัทมีอัตรากำไรที่สูงขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เท่า

ทั้งนี้ รายได้ในไตรมาสแรกของปีนี้ยังไม่มีรายได้จาก OAM เข้ามา เพราะยังอยู่ในช่วงประมูลซื้อสินทรัพย์ จึงน่าสนใจว่าเมื่อเครื่องยนต์ธุรกิจเดินครบแล้วจะทำให้ “ธนูลักษณ์” เติบโตไปอย่างไร

—————

Tips: ทำไม “ธนูลักษณ์” จึงเลือกร่วมลงทุนกับ BTS? ข้อมูลประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ BTS จากข่าวการร่วมลงทุนกับธนูลักษณ์ระบุว่า เครือสหพัฒน์กับ BTS นั้นมีความผูกพันกันยาวนาน 60 ปีตั้งแต่ รุ่น 1’ ของธุรกิจ เพราะ “ดร.เทียม โชควัฒนา” และ “มงคล กาญจนพาสน์” ต่างก็เป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่มาเปิดธุรกิจในย่านเก่าแก่แถบถนนเยาวราช ราชวงศ์ และทรงวาด โดยสมัยนั้น ดร.เทียมทำธุรกิจร้านค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนเถ้าแก่มงคลเป็นช่างซ่อมนาฬิกาและเอเย่นต์นำเข้านาฬิกาจากญี่ปุ่น

ความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองถูกส่งต่อให้ ‘รุ่น 2’ คือ “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” และ “คีรี กาญจนพาสน์” และยังสนิทชิดเชื้อกันจนถึงลูกๆ รุ่น 3 ของทั้งสองครอบครัวเช่นกัน

]]>
1436653
LPN ยกเครื่ององค์กรระยะ 5 ปี ปรับโครงสร้าง-ปรับแบรนด์ให้ทันสมัย https://positioningmag.com/1373151 Tue, 08 Feb 2022 05:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373151 สถานการณ์ธุรกิจเปลี่ยน ทำให้ LPN ต้องปรับ วางแผนระยะ 5 ปี (2565-2569) มุ่งเป้าปี 2569 ต้องทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 16,000 ล้านบาท วางกลยุทธ์ปรับโครงสร้างองค์กร แยกบริษัท LPP ออกเป็นเอกเทศ และแยกการบริหารโครงการอสังหาฯ ตามเซ็กเมนต์ พร้อมเปิดแบรนด์ใหม่ทันสมัยโดนใจคนเจนวาย

“โอภาส ศรีพยัคฆ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN กล่าวว่า บริษัทมีการปรับแผนยุทธศาสตร์ใหม่จากเดิมวางระยะ 3 ปี (2564-66) เพิ่มเป็นระยะ 5 ปี (2565-2569)

โดยมีเป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืน สามารถโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 10% และทำให้ในปี 2569 บริษัทจะทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 16,000 ล้านบาท (ทั้งนี้ รอบ 9 เดือนแรกปี 2564 บริษัทมีรายได้ 3,983 ล้านบาท)

LPN
“โอภาส ศรีพยัคฆ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

การจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าว บริษัทวางกลยุทธ์ไว้ 5 ประเด็น ดังนี้

1.เปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจ

ปี 2565 บริษัทมีการแยก บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) ออกไปเป็นอิสระ ส่งมือบริหาร “สุรวุฒิ สุขเจริญสิน” เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LPP

โดย LPN ยังคงถือหุ้นในบริษัท LPP 100% แต่การแยกบริษัทกันจะทำให้การบริหารชัดเจนขึ้น LPN ดูแลงานด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการขาย ส่วน LPP ดูแลงานบริการ จัดการโครงการหลังขาย ซึ่งการแยกบริษัทจะทำให้ LPP ขยายขอบเขตงานและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น

2.เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร

จากเดิม LPN แบ่งโครงสร้างตามหน้าที่การทำงาน (Functional Organization) ต่อมามีการปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะหน่วยธุรกิจ (Business Unit) มาตั้งแต่ปี 2564 โดยแบ่ง BU ออกเป็น 3 หน่วย คือ หน่วยธุรกิจอาคารชุดพักอาศัย, หน่วยธุรกิจบ้านพักอาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และ หน่วยธุรกิจบ้านพักอาศัยราคามากกว่า 10 ล้านบาท

การแบ่งตามเซ็กเมนต์ทำให้แต่ละหน่วยธุรกิจคล่องตัวกว่าในการออกแบบและพัฒนาโครงการ สามารถปรับให้ตรงความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้เร็วขึ้น

3.เปลี่ยนแปลงการพัฒนาโครงการ

ระยะ 5 ปีนี้ LPN มีเป้าหมายพัฒนาโครงการใหม่สะสมไม่ต่ำกว่า 70 โครงการ มูลค่ารวมสะสมไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มียอดขายสะสมไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท

เฉพาะปี 2565 บริษัทตั้งเป้าพัฒนาโครงการ 16 โครงการ มูลค่ารวม 11,000 ล้านบาท เป้ายอดพรีเซล 13,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46% เทียบกับปี 2564 ซึ่งทำยอดขายได้ 8,900 ล้านบาท

4.เปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี

ตั้งแต่ปลายปี 2562 บริษัทเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน ลดค่าใช้จ่าย และเริ่มรวบรวมข้อมูลลูกค้ามาใช้เพื่อพัฒนาสินค้า ต่อยอดถึงปี 2565 มีการเริ่มใช้ดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการตลาด การขาย เช่น การเยี่ยมชมโครงการแบบ Virtual 360 องศา และเริ่มนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมจนเป็นบิ๊กดาต้ามาใช้วิเคราะห์เพื่อหาความต้องการของลูกค้า

5.ปรับภาพลักษณ์แบรนด์
ลุมพินี เพลส รัชดา-สาธุ

ปี 2565 นี้ LPN จะให้ความสำคัญกับการรับรู้แบรนด์ในกลุ่มคนเจนวายอายุ 25-34 ปี ซึ่งคนกลุ่มนี้มีตั้งแต่กลุ่มวัยเริ่มทำงาน, ผู้ประกอบการ และสตาร์ทอัพ ซึ่งทำให้บริษัทจะมีการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ทั้งในกลุ่มคอนโดฯ และบ้านแนวราบเพื่อให้สอดคล้องกับคนรุ่นใหม่

โอภาสกล่าวว่า ปีนี้มีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบต่อภาคอสังหาฯ ปัจจัยบวกเช่นการผ่อนคลายเพดานอัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) เพิ่มขึ้นเป็น 100% จนถึงสิ้นปีนี้ และอัตราดอกเบี้ยยังต่ำ แต่ขณะเดียวกันปัจจัยลบได้แก่หนี้ครัวเรือนสูงกระทบกำลังซื้อ และความไม่แน่นอนของการระบาดของโรค COVID-19 ยังคงมีอยู่ แต่ LPN เชื่อว่าการปรับองค์กรที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2564 จะทำให้องค์กรเติบโตได้ตามเป้าหมาย

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1373151
British Airways เล็งขายตึก ‘สำนักงานใหญ่’ ตามเทรนด์ลดขนาดออฟฟิศ ทำงานที่บ้านมากขึ้น https://positioningmag.com/1324275 Sat, 20 Mar 2021 09:27:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324275 หนึ่งในสายการบินใหญ่ที่สุดในยุโรปอย่าง British Airways กำลังพิจารณาจะขายตึกสำนักงานใหญ่เนื่องจากในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 มีปรับการทำงานให้เป็นเเบบ Work from Home หรือทำงานที่บ้านเพิ่มมากขึ้น ทำให้บริษัทไม่ต้องการใช้พื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่อีกต่อไป

Financial Times รายงานว่า การประกาศขายอาคารสำนักงานดังกล่าว อาจจะเข้ามาช่วยพยุงด้านการเงินของสายการบินที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาด โดยสำนักงานใหญ่ของ British Airways มีมาตั้งเเต่ปี 1998 ใช้ค่าก่อสร้างราว 200 ล้านปอนด์ (ราว 8.6 พันล้านบาท) อยู่ใกล้สนามบินฮีทโธรว์ ในกรุงลอนดอน 

วิถีการทำงานที่เปลี่ยนไป ผู้คนต้องทำงานที่บ้านในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้บรรดาบริษัทใหญ่ในอังกฤษ เริ่มหันมาปรับเปลี่ยนรูปแบบสำนักงานของตัวเอง

ยกตัวอย่างเช่น Lloyds ธนาคารยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ มีเเผนจะปรับลดพื้นที่สำนักงานลง 20% ภายใน 3 ปีนี้ และสถาบันการเงินอย่าง HSBC เล็งจะปรับลดพื้นที่สำนักงานลง 40% เช่นกัน

British Airways ระบุในแถลงการณ์ว่า จากการสำรวจความเห็นพนักงาน พบว่า หลายคนชอบทำงานจากที่บ้าน ดังนั้นนโยบายของบริษัทในอนาคต จึงมีแนวโน้มที่ยืดหยุ่นขึ้นโดยจะผสมผสานระหว่างการทำงานที่บ้านและการทำงานที่ออฟฟิศ

เรากำลังปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤต และกำลังพิจารณาว่ายังจำเป็นต้องมีพื้นที่สำนักงานที่ใหญ่ขนาดนี้อยู่หรือไม่

(Photo by Ekaterina Bolovtsova from Pexels)

ในปีที่ผ่านมา British Airways รัดเข็มขัดประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ รวมไปถึงการปลดพนักงานกว่า 1 หมื่นตำเเหน่ง ทำให้ยอดปัจจุบันเหลืออยู่ที่ 3 หมื่นคน ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงานที่สำนักงานใหญ่ แต่เป็นนักบิน ลูกเรือ วิศวกรเเละเจ้าหน้าที่สนามบิน

อย่างไรก็ตาม เเม้การทำงานแบบเข้าออฟฟิศอาจจะค่อย ๆ ลดลง เเต่ทางฝั่งบริษัทเทคโนโลยีอย่าง ‘Google’ (กูเกิล) ซึ่งก็ให้พนักงาน Work from Home ได้ยาว ๆ กลับกำลังทุ่มเงินขยายพื้นที่สำนักงานให้มากขึ้น

Sundar Pichai CEO ของ Google บอกว่า ในอนาคตบริษัทมีแนวคิดที่จะทดสอบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยอาจจะให้พนักงานทำงานอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ในออฟฟิศเพื่อการทำงานร่วมกันกับเพื่อนพนักงาน ส่วนวันที่เหลือให้ทำที่บ้าน

ดูเหมือนว่าการทำงานในองค์กรของ Google จะเน้นทำงานที่บ้าน แต่ล่าสุดกลับมีแผนที่จะลงทุน ‘7 พันล้านดอลลาร์’ ในการขยายพื้นที่สำนักงานและศูนย์ข้อมูลในสหรัฐอเมริกา และเตรียมจ้างงานพนักงานประจำเพิ่มอย่างน้อย 10,000 ตำแหน่งในปีนี้

โดย Google เตรียมจะลงทุนมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ในรัฐแคลิฟอร์เนียบ้านเกิดบริษัทในปีนี้ และได้วางแผนที่จะขยายสำนักงานอื่น ๆ รวมถึงการเพิ่มตำแหน่งงานหลายพันตำแหน่งในแอตแลนตา, วอชิงตัน ดี.ซี., ชิคาโก และนิวยอร์ก

ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์ว่า ขณะที่บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งเติบโตขึ้นในช่วงที่มีการระบาดใหญ่และกำลังเพิ่มคนงานหลายพันคน แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน บริษัทอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจำต้องปลดพนักงานหรือแม้กระทั่งปิดตัวลง เเละเทขายอาคารสำนักงาน ทำให้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถที่จะ ฉวยโอกาส ในการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์โดยไม่คำนึงว่าพวกเขามีแผนระยะยาวสำหรับการเปลี่ยนไปทำงานระยะไกลมากขึ้นในอนาคตหรือไม่

อ่านต่อ : Google เล็งเพิ่มพื้นที่สำนักงานเป็น ‘สองเท่า’ แม้จะมีนโยบาย Work from Home ก็ตาม

 

ที่มา : Financial Times , Reuters 

]]>
1324275
Dentsu เอเยนซีโฆษณา เจ้าใหญ่ของญี่ปุ่น ปรับโครงสร้างสู้วิกฤต ปลดพนักงานทั่วโลก 6,000 คน https://positioningmag.com/1309898 Wed, 09 Dec 2020 13:55:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309898 โรคระบาดกระทบธุรกิจโฆษณา ล่าสุด Dentsu เอเยนซีเจ้าใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศเเผนปรับโครงสร้างบริษัท ควบรวมกิจการระหว่างประเทศ พร้อมปลดพนักงานอีก 6,000 คน หลังประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง

Dentsu Group มีแผนจะรวมธุรกิจในต่างประเทศกว่า 160 แบรนด์เข้าไปใน 6 แบรนด์ใหญ่ระดับโลกให้ได้ภายใน 2 ปีนี้ เเละหวังว่าการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทในปีหน้าได้ราว 530 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.59 หมื่นล้านบาท)

ขณะเดียวกัน เเผนการปลดพนักงาน 6,000 คนดังกล่าว คิดเป็น 12.5% ของพนักงานทั้งหมด ซึ่งจะทยอยปรับลดพนักงงานไปจนถึงสิ้นปี 2021 เเต่มาตรการทั้งสองก็อาจจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายถึง 820 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.4 หมื่นล้านบาท) เลยทีเดียว

ปัจจุบัน Dentsu มีพนักงานที่ทำงานอยู่นอกประเทศญี่ปุ่นราว 4.7 หมื่นคน โดยการปรับลดพนักงานนั้นอาจแตกต่างกันตามนโยบายของแต่ละประเทศ เช่น ในญี่ปุ่นมีการเปิดโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยสมัครใจ สำหรับพนักงานที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เเละกำลังพิจารณามาตรการลดค่าใช้จ่ายในญี่ปุ่นเพิ่มเติม ซึ่งจะประกาศเร็วๆ นี้

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เเบรนด์ต่างๆ หันมาตัดค่าใช้จ่ายด้านการตลาด เเละเมื่อสถานการณ์ในญี่ปุ่นกลับมารุนเเรงอีกครั้งก็ยิ่งทำให้อุตสาหกรรมโฆษณาทรุดลงไปอีก

Dentsu Group คาดว่า รายได้ของบริษัทจะลดลง 11% ในปีนี้ อยู่ที่ 928,700 ล้านเยน (ราว 2.6 เเสนล้านบาท) และคาดว่าจะขาดทุนจากการดำเนินงาน 11,400 ล้านเยนในปีนี้ (เทียบกับยอดขาดทุน 3.3 พันล้านเยนในปีที่แล้ว)

โดยก่อนที่จะเกิดโรคระบาด Dentsu ได้รับงานใหญ่เป็นเอเยนซีหลักดูเเลงานมหกรรมโตเกียวโอลิมปิก 2020 เเต่เมื่อต้องเลื่อนจัดงานไปปี 2021 เเละตอนนี้ยังไม่มีความเเน่นอน ทำให้รายได้ก้อนใหญ่ที่บริษัทตั้งเป้าไว้ลดลงไปเช่นกัน

 

ที่มา : Nikkei, Reuters

]]>
1309898
สยามพิวรรธน์ เสริมทัพปรับองค์กร สู่การนำเสนอสุดยอดประสบการณ์ดิจิตอล เชื่อมโลกทุกมิติ https://positioningmag.com/1306282 Tue, 17 Nov 2020 04:00:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306282 บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา)

  1. คุณอริยะ พนมยงค์ ผู้นำทัพการเปลี่ยนแปลงด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (นั่ง)
  2. คุณ มยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายส่งเสริมการตลาดและองค์กรสัมพันธ์ (นั่ง)
  3. คุณอุสรา ยงปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจค้าปลีก สยามพิวรรธน์  (ยืน)
  4. คุณ อัมพร โชติรัชสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่สายสนับสนุนธุรกิจ (นั่ง)
  5. คุณ แคโรไลน์ เมอร์ฟีย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการขายและธุรกิจสัมพันธ์ (ยืน)
  6. คุณ นางกนกลดา ฤกษ์เกษม กรรมการผู้จัดการใหญ่สายพัฒนาธุรกิจและบริหารการเงิน (นั่ง)
  7. คุณ ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์  (นั่ง)

  • ดึงบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี “อริยะ พนมยงค์” สร้างประสบการณ์ดิจิทัล (Digital Experience) ที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร ผ่านช่องทางออมนิชาแนล (Omni Channel) แบบไร้รอยต่อ
  • ปรับโครงสร้างองค์กร ประกาศแต่งตั้ง 2 แม่ทัพหญิงดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เดินหน้ากลยุทธ์ “สร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่ายสู่ความยั่งยืน”
  • ดึงคนรุ่นใหม่ สร้างทีมงานขับเคลื่อนธุรกิจอย่างรวดเร็ว ร่วมกับพันธมิตร คู่ค้า พร้อมตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลก

สยามพิวรรธน์ก้าวข้ามการแข่งขันจากภายในประเทศสู่เวทีโลก จากการคว้ารางวัลชนะเลิศหลายสาขาของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกของโลกติดต่อกันหลายปี

จนได้รับการยอมรับจากพันธมิตรทางธุรกิจ องค์กรชั้นนำระดับสากล โครงการทั้งหมดของสยามพิวรรธน์สร้างความประทับใจให้แก่ผู้คนที่เดินทางมาจากทั่วโลกจนกลายเป็นจุดหมายปลายทางในสิบอันดับแรกที่มีคนมาเช็คอินบนเฟสบุค และอินสตาแกรมมากที่สุดแห่งหนึ่ง  

ในวันนี้ สถานการณ์โควิด-19 มิใช่อุปสรรค แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนและขับเคลื่อนให้เร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิมเพื่อขยายการขายและบริการครอบคลุมถึงลูกค้าปัจจุบันที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศและทั่วโลก  

 นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์

กรุงเทพฯ (16 พฤศจิกายน 2563) – บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ “ไอคอนสยาม” และสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต  ตอกย้ำตำแหน่งผู้นำความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำสมัย ประกาศปรับโครงสร้างองค์กร ดึงบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อยกระดับการสร้างประสบการณ์ดิจิทัล (Digital Experience) ที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร ผ่านช่องทางออมนิชาแนล (Omni Channel) แบบไร้รอยต่อ พร้อมเดินหน้ากลยุทธ์ “สร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่ายสู่ความยั่งยืน” แต่งตั้ง 2 แม่ทัพใหญ่ ผนึกกำลังคู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมกันขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จที่มากกว่าเดิม และดึงคนรุ่นใหม่จากหลากหลายสายงานมาสร้างทีมงานย่อยที่เน้นกระบวนการคิดและทำงานรวดเร็วอย่างมีอิสระเสรี (Agile Team) พร้อมปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัว และเร็วต่อการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ

นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ กล่าวว่า การทำธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 คือ การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเรื่องความต้องการของลูกค้าของเราทั้งในประเทศและที่เคยเดินทางมาเยี่ยมเยือนโครงการของเราจากทั่วโลก (Global Citizen) บริหารความคาดหวังจากบรรดาร้านค้า และพันธมิตรทางธุรกิจที่เราจะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความสำเร็จในรูปแบบใหม่ๆร่วมกัน  จึงนับเป็นโอกาสที่ทำให้เราเร่งปรับและพัฒนาองค์กรให้สำเร็จในปีนี้ เพื่อให้บรรดาบุคลากรทั้งหมดสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ  เราเชื่อว่าในที่สุดสถานการณ์โควิด-19 จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ที่ทุกคนจำเป็นต้องออกมาใช้ชีวิตตามปกติอย่างมีวินัย  และผู้คนจากทั่วโลกยังต้องเชื่อมโยงเข้าหากัน  สยามพิวรรธน์จึงต้องเร่งปรับเปลี่ยนองค์กร เพื่อทำให้เกิดผลงานได้อย่างรวดเร็วในทุกสถานการณ์

ท่ามกลางความท้าทายนี้ สยามพิวรรธน์ได้พัฒนาโครงสร้างสู่การเป็นองค์กรที่นำเสนอประสบการณ์ดิจิทัล (Digital Experience) ที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร ผ่านช่องทางออมนิชาแนล (Omni Channel) ที่ขยายเครือข่ายบนแพลทฟอร์มต่างๆให้เข้าถึงตัวลูกค้าทั่วประเทศและทั่วโลกแล้วเชื่อมโยงกลับมาที่สินค้าและบริการในศูนย์การค้า  รวมทั้งการพัฒนาระบบอัตโนมัติ (Automation)  ในการบริหารจัดการและการให้บริการ  โดยได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกแห่งหนึ่งมาจัดแผนงานเรื่องนี้โดยเฉพาะ อีกทั้งเสริมทีมงานโดยมีผู้เชี่ยวชาญชั้นแนวหน้าด้านเทคโนโลยี ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย คือ นายอริยะ พนมยงค์ อดีต Head ของ Google ประเทศไทย , อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท  LINE  ประเทศไทย และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO และผู้ก่อตั้งบริษัท Transformational  ที่จะเข้ามาเป็นผู้นำทัพการเปลี่ยนแปลงด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital transformation) ให้กับสยามพิวรรธน์ในครั้งนี้

นางชฎาทิพ กล่าวว่า  “บริษัทที่ปรึกษาดังกล่าวจะนำความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลออมนิชาแนลและประสบการณ์จากการให้คำแนะนำแก่บริษัท Fortune Global 500 มากมาย มาสนับสนุนให้สยามพิวรรธน์บรรลุเป้าหมายการเป็นผู้นำออมนิชาแนลที่โดดเด่นในประเทศไทย และภูมิภาคในอนาคต และในส่วนของ คุณอริยะ พนมยงค์ ซึ่งเคยเป็นผู้นำในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก รวมทั้งมีประสบการณ์ที่กว้างขวาง เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและโซเชียล จะมาสนับสนุนสยามพิวรรธน์ในการขับเคลื่อน และสร้างมิติใหม่ในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

นายอริยะ พนมยงค์ กล่าวว่า “ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส และในเวลานี้ สยามพิวรรธน์พร้อมที่จะเริ่มสร้าง และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ผมรู้สึกตื่นเต้นมาก และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในครั้งนี้  ยังมีโอกาสอีกมากมายสำหรับการเติบโตในตลาดการค้า และ E-Commerce  ที่มีพื้นที่เพียง 6 % ของอุตสาหกรรมค้าปลีก แต่ทั้งนี้เป้าหมายหลักของเรายังคงเป็นการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างและไม่ซ้ำใคร การปรับเปลี่ยนของสยามพิวรรธน์ในครั้งนี้จะนำไปสู่ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบเพื่อสร้างสุดยอดประสบการณ์ดิจิทัลแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ด้วยการนำนวัตกรรม และ Data Powered Marketing เพื่อการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ลึกขึ้น  มาสร้างเป็นแพลตพอร์มใหม่ที่จะตอบโจทย์ คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้คนจากทั่วโลก

นางอัมพร โชติรัชสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เสริมว่า “ใน 3 ปีที่ผ่านมา สยามพิวรรธน์ ได้ใช้เงินไปประมาณ 900 ล้านบาท ในการพัฒนาระบบนวัตกรรม Digital Platform และระบบบริหารฐานข้อมูลอย่างครบวงจร โดยมีแผนที่จะลงทุนต่อเนื่องในปี 2564 เพื่อพัฒนาระบบอัตโนมัติ 30 โครงการ (Automation) เพื่อลดขั้นตอนการทำงานของพนักงานในการให้บริการเรื่องต่างๆ ลดขั้นตอนการอนุมัติที่ซับซ้อน ผลักดันให้ทุกคนทำงานได้สำเร็จเร็วขึ้น”

กลยุทธ์สำคัญในการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลของสยามพิวรรธน์ คือการทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจหลายรายที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลต่างๆ ให้เกิดธุรกิจโมเดลใหม่ๆ อีกทั้งทำงานร่วมกับ Global Partners ที่เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ค้าปลีกในประเทศต่างๆในการร่วมกันขยายเครือข่าย Omni Channel ให้ครอบคลุมทุกมิติได้ทั่วโลก อีกทั้งมุ่งสร้างช่องทางของการจัดจำหน่ายใหม่ๆ ที่จะสร้างประสบการณ์ที่น่าสนุก แตกต่างและประทับใจ ร่วมกับบรรดาคู่ค้าและร้านค้าที่มีอยู่ในศูนย์การค้าของสยามพิวรรธน์ อย่างไร้พรมแดน

นอกจากนี้ สยามพิวรรธน์ ยังได้ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลตามกลยุทธ์ พร้อมประกาศแต่งตั้ง นางมยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์  รับตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ (President) สายส่งเสริมการตลาดและองค์กรสัมพันธ์  รับผิดชอบในการมอบประสบการณ์ที่เหนือระดับให้กับลูกค้าทั่วโลก พร้อมสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและนอกประเทศเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่จะประสานประโยชน์ร่วมกันได้ในหลากหลายวิถีทาง และได้แต่งตั้ง นางแคโรไลน์ เมอร์ฟีย์ รับตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ (President)   สายการขายและธุรกิจสัมพันธ์ รับผิดชอบในการยกระดับการขายเชื่อมโยงออฟไลน์สู่ออนไลน์ให้กับบรรดาร้านค้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยจากฐานลูกค้าของสยามพิวรรธน์ที่มีอยู่แล้วทั่วโลก ซึ่งทั้ง 2 ท่านจะเสริมทัพผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลด้านอื่นๆ อยู่แล้ว ได้แก่ นางอัมพร โชติรัชสกุล ซึ่งรับผิดชอบหน่วยงานสนับสนุนทั้งหมดของสยามพิวรรธน์ และทำ Digital Transformation นางกนกลดา ฤกษ์เกษม รับผิดชอบในเรื่องบริหารการเงินและการขยายการลงทุน  และ นางอุสรา ยงปิยะกุล  ที่รับผิดชอบในการดำเนินการและบริหารกลุ่มธุรกิจค้าปลีกของบริษัทในเครือรวมถึงการขายออนไลน์

เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการบริหารจัดการในยุคที่ความเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สยามพิวรรธน์ได้จัด Agile Team  คนรุ่นใหม่ และสร้างหน่วยงาน Think Tank เข้าทำงานร่วมกับผู้บริหารระดับสูง ให้เป็นทีมงานที่จะรับผิดชอบหลากหลายโปรเจ็คในการพัฒนาธุรกิจของบริษัท และทำงานร่วมกับบรรดาร้านค้า พันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสร้างโมเดลในการขายใหม่ๆให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้แสดงศักยภาพเต็มที่เพื่อช่วยขับเคลื่อนองค์กร และส่งผลให้รายได้เติบโตในเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย

การจัดโครงสร้างใหม่ภายใต้การบริหารของกรรมการผู้จัดการใหญ่ทั้ง 5 ท่าน ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในวงการค้าปลีกจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจในเครือของสยามพิวรรธน์ทั้งหมดมีความแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืน  ส่วน Agile Team คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถหลากหลาย มีความยืดหยุ่นสูง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทีมนี้จะทำหน้าที่มองหาโอกาส และนำแนวความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่เกิดในโลกดิจิทัล มาช่วยพัฒนาและต่อยอดให้องค์กรสามารถมอบประสบการณ์ที่แปลกใหม่เหนือความคาดหมาย ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าจากทั่วโลกได้อย่างเต็มที่”  นางชฎาทิพ กล่าวปิดท้าย

 สยามพิวรรธน์ยังมีแผนที่จะปรับปรุง 3 ศูนย์การค้าในเครือ ได้แก่ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ ในปี 2564-2565  ด้วยการปรับคอนเซ็ปต์การนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัล (Digital Experience) ที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร ผ่านช่องทางออมนิชาแนลทั่วทุกอาคาร เพื่อสร้างสุดยอดประสบการณ์ และทำให้ผู้คนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงประสบการณ์ต่างๆได้ตลอดเวลา

]]>
1306282
Airbnb ลดไซส์องค์กร! ปลดพนักงาน 1,900 คน ประเมิน COVID-19 ทำรายได้หาย 50% https://positioningmag.com/1277008 Wed, 06 May 2020 07:07:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277008 ธุรกิจท่องเที่ยวสะเทือนหนักจาก COVID-19 เมื่อผู้คนทั่วโลกต้องจำกัดการเดินทาง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ Airbnb เเพลตฟอร์มเเบ่งปันที่พัก หนึ่งในสตาร์ทอัพดาวรุ่งเเห่งทศวรรษ ที่เคยสร้างปรากฏการณ์ใหม่ของวงการท่องเที่ยว

ล่าสุด Airbnb สั่งปลดพนักงาน 25% หรือ 1,900 คน จากจำนวนพนักงานทั้งหมด 7,500 คน ที่มีอยู่ทั่วโลก พร้อมปรับลดขนาดบริษัทให้เล็กลง เลิกทำธุรกิจที่ไม่จำเป็นเเละกลับมาโฟกัสเเต่เรื่องที่พัก เหมือนช่วงเริ่มต้นธุรกิจใหม่

Brian Chesky ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Airbnb เเจ้งต่อพนักงานว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่บอบช้ำที่สุด ผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกต้องหยุดชะงัก ขอขอบคุณพนักงานทุกคนที่ร่วมฝ่าฟันไปด้วยกัน เเละนี่ไม่ใช่ความผิดของพนักงานเเต่อย่างใด โดยหวังว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะกลับมาดีขึ้นหลังจากผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปเเต่คงจะไม่รุ่งโรจน์เหมือนปีก่อนๆ

“หลังวิกฤตการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ธุรกิจท่องเที่ยวจะเปลี่ยนเเปลงไปอย่างมาก ผู้คนจะเลือกไปเที่ยวใกล้บ้าน เที่ยวในสถานที่ปลอดภัยเเละจ่ายเงินน้อยลง”

กลุ่มพนักงานที่จะต้องออกจากตำเเหน่งจะกระจายทั่วโลก โดยทีมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ Airbnb Studios หน่วยงานผลิตวิดีโอท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจด้านการเดินทาง รวมถึงกลุ่มธุรกิจโรงแรมและที่พักหรูที่จำเป็นต้องหยุดไปก่อน โดยบริษัทจะกลับไปโฟกัสในธุรกิจที่เป็นรากฐาน คือการให้เช่าบ้านหรือห้องพักที่เจ้าของบ้านเป็นผู้ปล่อยเช่าเอง

โดยพนักงานที่ถูกปลดจะได้รับเงินชดเชยขั้นต่ำ 14 สัปดาห์ และบวกเพิ่มตามอายุงาน ส่วนพนักงานที่เคยมีสิทธิได้หุ้นก็จะยังคงได้สิทธินั้น เเละเเม้จะว่าจะสิ้นสภาพพนักงานไปแล้ว บริษัทก็ยังคงจะให้สิทธิประโยชน์ด้านประกันสุขภาพต่อไปอีก 12 เดือน

การปรับโครงสร้างของ Airbnb ครั้งนี้เป็นไปเพื่อลดค่าใช้จ่าย ประคองธุรกิจให้อยู่รอดจนพ้นวิกฤต หลังประเมินว่าว่าในปี 2020 รายได้ของบริษัทจะลดลงจากปี 2019 ถึง 50% จากปีที่ผ่านมามีรายได้ราว 4,800 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.55 แสนล้านบาท)

ก่อนหน้านี้ Airbnb พยายามเเก้ไขสถานการณ์ด้วยการระดมเงินลงทุนเพิ่มราว 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐเเละตัดค่าใช้จ่ายลง โดยเฉพาะในส่วนของ “งบการตลาด” ของปีนี้ที่เคยตั้งไว้ที่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านผู้ก่อตั้งบริษัทประกาศว่าจะไม่รับเงินเดือน 6 เดือนเเละผู้บริหารระดับสูงจะลดเงินเดือนลง 50%

ในช่วงที่ผ่านมา Airbnb แก้เกมด้วยการเปิดตัว Airbnb Experience ให้เจ้าของบ้านพาลูกค้าทำกิจกรรมเเบบเสมือนจริง รวมถึงพยายามเข้าถึงลูกค้าทางออนไลน์มากขึ้น เเต่ไม่ได้ช่วยในธุรกิจภาพรวมมากนัก ขณะเดียวกันก็ต้องเจอปัญหาการร้องเรียนเรื่องการคืนเงินให้กับลูกค้าที่ยกเลิกการจองห้อง เเละการช่วยเหลือเจ้าของห้องพักที่ขาดรายได้ในช่วง COVID-19 รวมถึงการออกกฎให้เว้นระยะเวลาการเข้าพักของเเขกเเต่ละคน อย่างน้อย 24 ชั่วโมงตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐฯ

ที่มา : Airbnb , Reuters , techcrunch

 

]]>
1277008
ที่มา ทรูปรับโครงสร้างองค์กร ดันลูกหม้อ นั่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) https://positioningmag.com/1217215 Fri, 01 Mar 2019 09:27:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1217215 ค่ายทรู ถือเป็นอีกหนึ่งในค่ายโทรคมนาคม ที่ล่าสุดได้ปรับโครงสร้าง ตั้งผู้บริหารใหม่ นั่ง ”กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม)” ขึ้นมาใหม่ พร้อมกับขยับ วิเชาวน์ รักษ์พงษ์ไพโรจน์ ขึ้นรองประธานคณะกรรมการบริหาร มีผล 1 มีนาคม 2562

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “การปรับเปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มทรูในครั้งนี้เป็นไปตามแผนงาน Succession Plan ที่วางไว้ โดยได้แต่งตั้ง วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ ขึ้นเป็น รองประธานคณะกรรมการบริหาร โดยจะยังคงสนับสนุนงานด้านกฎหมาย รัฐกิจสัมพันธ์ และงานด้านการจัดซื้อ

พร้อมแต่งตั้ง ศิริพจน์ คุณากรพันธุ์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) รับผิดชอบงานสายปฏิบัติการ ขณะที่ ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ยังคงดูแลงานบริหารงานด้านธุรกิจพาณิชย์ การเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และทำให้กลุ่มทรูสามารถสร้างเสริมประสิทธิภาพทั้งด้านโครงข่ายและการให้บริการลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น   

สำหรับ ศิริพจน์ คุณากรพันธุ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 โดยจะรับผิดชอบบริหารงานด้านปฏิบัติการ ครอบคลุมถึงระบบงานปฏิบัติการเครือข่าย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานบริหารกลุ่มพันธมิตรและผู้ให้บริการระหว่างประเทศ รวมทั้งดูแลหน่วยงานสนับสนุนองค์กร

นายศิริพจน์ ได้ทำงานร่วมกับกลุ่มทรูมานานกว่า 27 ปี เคยดำรงตำแหน่ง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ ธุรกิจโมบายล์ และ ผู้อำนวยการบริหารกลุ่ม ด้านการบริหารจัดการระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในความสำเร็จด้านการทำการตลาด เจาะในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ.


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง  

ทรูประกาศ Co President คนใหม่ ดันลูกหม้อ “ศิริพจน์” รับตำแหน่งใหญ่ ลุยงานขายทั่วประเทศ

]]>
1217215
กสิกรไทยไม่รอช้า เขย่าโครงสร้างสายงานธุรกิจ ตั้ง 4 สายงานใหม่ เข้าสู่ยุค Data Driven Bank มีผล 1 ก.พ. 62 https://positioningmag.com/1212344 Tue, 05 Feb 2019 06:29:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1212344 ต้องเรียกว่า เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ของธนาคารพาณิชย์ของไทย ที่ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขันและการมาของเทคโนโลยี ที่ทำให้สภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจเปลี่ยนไป หลังจากธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศปรับโครงสร้างองค์กร ตั้ง 4 ผู้จัดการใหญ่

ทางด้าน ธนาคารกสิกรไทย ได้ใช้โครงสร้างองค์กร ด้วยการตั้ง 4 กรรมการผู้จัดการใหญ่ มาตั้งแต่ปี 2553  ล่าสุด ได้ “ปรับโครงสร้าง”ต่อเนื่อง  ภายใต้ วางยุทธศาสตร์มุ่งสู่ Customer’s Life Platform of Choice โดยให้ความสำคัญกับการดูแลลูกค้าทั้งด้านการบริการและการขาย ครอบคลุมความต้องการ”ส่วนบุคคลและการทำธุรกิจของลูกค้า”ได้แบบไร้รอยต่อรวมทั้งการเป็น Data Driven Bank เพื่อพัฒนาขีดความสามารถใหม่ๆ

ธนาคารจึงได้ปรับโครงสร้างสายงาน เปลี่ยนจากสายงานบริหารยุทธศาสตร์องค์การ(CSM) สายงานธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ (SME) สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ (RBS) และสายงานผลิตภัณฑ์บรรษัทและผู้ประกอบการ (CSP) เป็น 4 สายงานใหม่ ดังนี้

]]>
1212344
ดีแทค ปรับโครงสร้าง รวมกลุ่มดิจิทัลเข้ากับการตลาด หลัง “สิทธิโชค CMO” ลาออก https://positioningmag.com/1155169 Wed, 31 Jan 2018 16:43:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155169 ปัญญา เวชบรรยงรัตน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ (ซ้าย)

ยังอยู่ในช่วงของการปรับองค์กรครั้งใหญ่ หลังการลาออกของ สิทธิโชค นพชินบุตร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด มีผลในวันที่ 1 มีนาคม 2561 ดีแทค ได้ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรอีกคร้งรวมกลุ่มงานดิจิทัลและการตลาดเข้าด้วยกันพร้อมกับได้แต่งตั้ง แอนดริว กวาลเซท รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานดิจิทัล เข้าดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด แทน

สิทธิโชค นพชินบุตร

ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า  การรวมกลุ่มดิจิทัลเข้ากับกลุ่มการตลาด เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการด้านดิจิทัลแก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ตอบสนองลูกค้าได้ตรงกับความต้องการในรายบุคคล (Personalization) และในช่วงเวลาที่ต้องการได้ทันที

รวมบริการเติมเงินรายเดือน

นอกจากนี้ ดีแทคยังได้ปรับโครงสร้างกลุ่มงานพาณิชย์ ด้วยการรวมสายงานบริหาร ผลิตภัณฑ์การตลาด ทั้งดีแทคเติมเงินและดีแทครายเดือน เข้ากับช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อให้กลุ่มงานพาณิชย์ สามารถบริหารงานการสร้างรายได้ครบวงจร

ตั้งแต่เริ่มจนถึงจบกระบวนการขาย โดยมี ปัญญา เวชบรรยงรัตน์ ดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์

“การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสะท้อนถึงการทำตลาดรูปใหม่ที่มุ่งเน้นด้านดิจิทัลมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในปัจจุบัน โดยเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยเสริมศักยภาพให้ดีแทคสามารถพัฒนาสินค้าและบริการอย่างตรงจุด ตลอดจนบริการหลังการขายและการดูแลลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นต่อไป” ลาร์ส กล่าว.

]]>
1155169
ทีวีดิจิทัลหืดขึ้นคอ “วอยซ์ทีวี” เลย์ออฟ 127 คน หั่นรายการข่าวเหลือ 2 ช่วง มุ่งเน้นออนไลน์ ทำคลิปวิดีโอลงเว็บ https://positioningmag.com/1151448 Fri, 22 Dec 2017 11:25:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151448 ทีวีดิจิทัล วอยซ์ทีวี เลิกจ้างพนักงาน 127 คน เพื่อปรับโครงสร้างองค์กร พร้อมลดรายการข่าวลงเหลือ 2 ช่วงเวลา และเน้นสื่อออนไลน์ ทำคลิปวิดีโอลงเว็บ หลังได้รับผลกระทบทางธุรกิจและคำสั่งหน่วยงานรัฐบ่อยครั้ง

เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล วอยซ์ ทีวี ช่อง 21 เรียกพนักงานทั้งหมดชี้แจงการปรับโครงการสร้างองค์กร พร้อมกับออกแถลงการณ์ดังนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 .. 2561 จะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับผังรายการทีวี และพัฒนาการนำเสนอผ่านทุกช่องทางออนไลน์ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลให้เป็นไปตามแผนธุรกิจและเป้าหมายของบริษัทฯ ปี 2561

ผลกระทบจากการเมืองทีวีดิจิทัลแข่งเดือด

ต้องทำงานภายใต้สถานการณ์การเมืองที่มีข้อจำกัดมาเกือบ 4 ปี ได้รับผลกระทบทางธุรกิจอันเนื่องมาจากคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ควบคุมการเสนอข้อมูลข่าวสารอยู่บ่อยครั้ง แต่บริษัทฯ ได้พยายามรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และข้อจำกัดทางการเมืองที่ต้องให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่เท่าที่ทำได้ จึงยังทำให้ยังยืนหยัดอยู่ได้

นอกจากนี้ สถานการณ์ของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล เป็นอีกปัจจัยที่มีผลกระทบแทบทุกช่องอย่างถ้วนหน้า รวมถึงวอยซ์ ทีวีด้วยเช่นกัน ความจำเป็นในการปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องต่อความเป็นจริงในอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

หั่นข่าวเหลือ 2 ช่วง เน้นออนไลน์

วอยซ์ทีวีได้ปรับโครงสร้างองค์กรและธุรกิจดังนี้

ปรับสัดส่วนการผลิตรายการทีวีใหม่ เน้นรายการวิเคราะห์ข่าวคุณภาพ 2 ช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ด้วยการลดจำนวนรายการลง แต่เพิ่มช่วงเวลาการออกอากาศมากขึ้น

มุ่งเน้นการนำผ่านทางสื่อออนไลน์มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีออโต้เมทต่าง ๆ รวมถึงการปรับระบบ Progressive Web Applications เพื่อรองรับการส่งวิดีโอคอนเทนต์ เพื่อรองรับผู้ชมรายการได้ทันทีทุกช่วงเวลา

เลิกจ้างพนักงาน 127 คน ผลจากการปรับสัดส่วนการผลิตรายการลง ทำให้ต้องปรับลดจำนวนพนักงานลง ด้วยการเลิกจ้างพนักงานจำนวน 127 คน โดยจะได้รับเงินค่าชดเชยไม่น้อยกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด แต่ส่วนหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างยังคงร่วมงานในรูปแบบ Outsource กับบริษัทฯ

ทั้งนี้จากการจัดอันดับเรตติ้ง 25 อันดับทีวีดิจิทัล ระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม-17 ธันวาคม 2560 พบว่า ช่องวอยซ์ทีวี อยู่ในอันดับสุดท้าย ด้วยเรตติ้ง 0.020.

ที่มา : mgronline.com/onlinesection/detail/9600000128846

]]>
1151448