Tag: พรรคไทยรักไทย
ประชานิยมรถคันแรกแคมเปญนี้ “ปู” จัดให้
สำหรับแนวทางของมาตรการคืนเงิน 1 แสนบาทในการซื้อรถคันแรก ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะออกมาในลักษณะใด แต่หลักการที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ คืนเงินให้กับผู้ซื้อไม่เกินคันละ 1 แสนบาท แต่กำลังพิจารณาราคารถยนต์ว่าจะใช้ตัวเลขที่ 7 แสนบาท หรือ 1 ล้านบาท พร้อมกับกำหนดประเภทรถกระบะ และรถยนต์ประหยัดพลังงาน เป็นรถยนต์ที่ได้รับสิทธิพิเศษนี้ ความหมายก็คือ นโยบายรัฐเล็งไปที่ตลาดรถกระบะและรถอีโค่คาร์ รถยนต์ประเภทอื่นไม่เข้าหลักเกณฑ์ ส่วนวิธีการลดภาษีมี 2 แนวทาง คือการลดภาษีสรรพสามิต...
สงครามชิง First Voter ปชป.-เพื่อไทย เปิดศึกหา Like
สนามการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี 2554 มีปรากฎการณ์ของ “โซเชี่ยลมีเดีย” อย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ที่พรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคกำลังแข่งกันอย่างหนัก แย่งเซ็กเมนต์เดียวกัน จนทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีสีสันชวนติดตามว่ากระบวนการสร้าง Like ดึง Follower...
คนรุ่นใหม่เพื่อกลยุทธ์ Like
พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยต่างมีทีมงานเพื่อปฏิบัติการบนโซเชี่ยลมีเดียโดยเฉพาะ ซึ่งจะดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์แคมเปญหาเสียงในระดับภาพรวม อย่างที่เห็นคือการคุมโทนตัวตนบุคคลิกของพรรค ผู้สมัครแต่ละคนพูดคุยในเรื่องราวเนื้อหานโยบายพรรค เพราะนอกจากป้องกันการผิดกฎหมายเลือกตั้งแล้ว เพื่อให้สื่อสารแบรนด์ของพรรคและผู้สมัครได้อย่างไม่วอกแวก พรรคประชาธิปัตย์นำทีมโดย ”อภิรักษ์ โกษะโยธิน” และได้มือดีทางการตลาดอย่าง ”ดร.การดี เลียวไพโรจน์” และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานของสมาชิกอาวุโสของพรรคดีกรีระดับ ...
ไทยรักไทย มาร์เก็ตติ้ง…สูตรสำเร็จสินค้าการเมือง
ได้ชื่อว่า “แจ้งเกิด”ในแวดวงการเมือง เพราะใช้เครื่องมือ “การตลาดทางการเมือง” เป็นคัมภีร์สร้างแบรนด์มาตั้งแต่ยุคก่อตั้งของอดีตผู้นำ ทักษิณ ชินวัตร รณรงค์หาเสียง กระทั่งเป็นรัฐบาล 2 สมัย รวมเวลา 5 ปี มาวันนี้แบรนด์พรรคไทยรักไทย ยุคผู้นำคนใหม่ “จาตุรนต์ ฉายแสง” มาถึง “จุดท้าทาย” ครั้งสำคัญกับความพยายาม “รีแบรนด์” ครั้งใหญ่...
คัมภีร์การตลาดทรท. ตามรอยแดนมะกัน-ถิ่นผู้ดี
คัมภีร์ “การตลาดทางการเมือง”(Political Marketing) ที่พรรคไทยรักไทยใช้สร้างตราสินค้าและโปรดักส์ทางการเมืองจนประสบความสำเร็จมาแล้วนั้น “ไม่ใช่เรื่องใหม่ ” เพราะโมเดลนี้คิดค้นโดยเจ้าของทฤษฎีชาวอเมริกันชื่อ “Bruce I. Newman” อีกทั้งยังถูกใช้อย่างแพร่หลายประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ยุโรป มาแล้ว การใช้แนวคิดนี้ช่วยทำให้ “พรรคการเมือง นักการเมือง” เปรียบเหมือน “ผู้ผลิตสินค้า” ขณะที่ผู้เลือกตั้งเปรียบเสมือน “ลูกค้า” นโยบายของพรรค...
“ตุลาชิน” ฐานกำลังไทยรักไทย
ในหลายๆ ขุมกำลังที่ทักษิณรวบรวมมาจัดตั้งไทยรักไทยในต้นทศวรรษ 2540 นับว่ากลุ่ม “คนเดือนตุลา” เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญลำดับแรกๆ ทั้งในบทบาทการลงท้องที่วิจัยค้นหาความต้องการของคนในระดับ “รากหญ้า” และความเป็นเครือข่ายที่โยงได้ถึงทั้งแวดวงวิชาการ เอ็นจีโอ ธุรกิจ และการเมืองในทุกรูปแบบ "คนเดือนตุลา" เป็นชื่อฉายาที่ใช้เรียกคนรุ่น 48-60 ในปัจจุบัน ที่เคยมีบทบาททางการเมืองในยุค พ.ศ. 2516 ถึง 2519 โดยอาจแบ่งได้หลักๆ เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ...
ปั้นพรรคโตแบบ Takeover
นับจากวันก่อตั้งพรรคเพียง 7 ปี พรรคก่อตั้งใหม่อย่างไทยรักไทยชนะเลือกตั้งแบบที่จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในไทย หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จนอกจากการ "ดูด" นักเลือกตั้งมาเข้าพรรคจำนวนมากแล้ว ยังมีการ "ควบ" หรือ Takeover หรืออาจเรียกเป็น Merger & Acquisition ในภาษาอังกฤษธุรกิจตามแบบของ "ซีอีโอ" ทักษิณ ชินวัตร ย้อนไปก่อนก่อตั้งไทยรักไทย ทักษิณเคยเข้าไปเทกโอเวอร์พรรคพลังธรรมของ จำลอง ศรีเมือง...
รีแบรนด์ไทยรักไทย จุดเปลี่ยนบนวิกฤตผู้นำ
เมื่อแบรนด์พรรคไทยรักไทยต้องสะดุดกับวิกฤตปัญหาขาดผู้นำของพรรค เพราะปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน และคอรัปชั่น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ทำให้ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งพรรคต้องประกาศลาออกในที่สุด พรรคไทยรักไทยวันนี้เดินทางมาถึง “จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ” กับความพยามยาม “รีแบรนด์” ภายใต้รักษาการหัวหน้าพรรคคนใหม่ “จาตุรนต์ ฉายแสง” ที่ต้องสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ ให้ปราศจากภาพกลุ่มอำนาจเก่า พร้อม Positioningใหม่ เน้นแนวทางการเป็นพรรค “สถาบันการเมือง” Re-Positioning มุ่งเป็น “สถาบันการเมือง”...
ต่อยอดสื่อสาร IMC ไทยรักไทยยุคจาตุรนต์
นอกเหนือจากการรู้จักใช้ “กลยุทธ์การตลาดการเมือง” เป็นอย่างดีแล้ว พรรคไทยรักไทยภายใต้ผู้นำพรรค 2 ยุค ตั้งแต่ยุคทักษิณ ชินวัตร กระทั่งยุคจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรค ยัง “ช่ำชอง” ในเรื่องการใช้กลยุทธ์สื่อสารครบวงจร หรือที่เรียกกันว่า IMC : Integrated Marketing Communication โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ที่พรรคไทยรักไทยต้องเผชิญกับ “กฎเหล็กของ คมช.”...