การเติบโตของเศรษฐกิจจีน ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกได้ชะลอตัวลงเเล้วในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา จากตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำเเละการปราบปรามด้านกฎระเบียบ ทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องปรับเป้าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของปี 2022 ‘ต่ำสุดในรอบหลายสิบปี’
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บอกกับสำนักข่าว AFP ว่า เป้าหมายจีดีพีที่ 5.5% ตามที่ประกาศออกมานั้น ถือว่าเป็นเรื่องยาก หากรัฐยังมีคำสั่งล็อกดาวน์ให้ประชาชนอยู่เเต่ในบ้าน พร้อมระงับการผลิต เเละการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในหลายเมืองก็ออยู่ในระดับต่ำ
ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจาก 12 สถาบันการเงิน คาดการณ์ว่า ในปี 2022 จีดีพีจีนจะเติบโตที่ระดับ 5.0% โดยไตรมาสแรกจะโต 4.3% สูงกว่า 4.0% ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีไตรมาสเเรกอย่างเป็นทางการกำลังจะเผยแพร่ในวันที่ 18 เม.ย.นี้
Gene Ma หัวหน้าฝ่ายวิจัยของจีน สถาบันการเงินระหว่างประเทศ ระบุว่า ปีนี้เศรษฐกิจจีนเริ่มต้นได้ในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ภาคพลังงานตึงตัวน้อยลงเเละอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัว พร้อมมาตรการกระตุ้นทางการคลังเเละการส่งออกยืดหยุ่น
แต่ยอดติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้นในเดือน มี.ค. จนต้องล็อกดาวน์นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและซัพพลายเชนอย่างรุนแรง
นักวิเคราะห์หลายราย มองว่าสถาณการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน จะเป็นจุดที่พลิกผันต่อการเติบโตของจีนเคยทำได้ช่วงต้นปี
เหล่าผู้ผลิตรถยนต์ มีความกังวลถึงปัญญาห่วงโซ่อุปทานและอาจถึงขั้นหยุดการผลิตโดยสิ้นเชิง หากการล็อคดาวน์เซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจยังคงดำเนินต่อไป
นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง กล่าวว่า รัฐจะเพิ่มการสนับสนุนและเครื่องมือช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งรวมถึงการลดอัตรากันเงินสำรองของธนาคาร เพื่อนำมาช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด
เมืองใหญ่อื่นๆ ในจีนต่างได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดเช่นเดียวกัน อย่างเช่น เซินเจิ้น ศูนย์กลางเทคโนโลยีทางภาคใต้ก็ถูกสั่งล็อกดาวน์เกือบหนึ่งสัปดาห์ในเดือน มี.ค.
รายงานล่าสุดจาก Goldman Sachs ระบุว่า ผลกระทบต่อยอดค้าปลีกอาจจะมากกว่านี้ เนื่องจากการรับประทานอาหารนอกบ้าน ซึ่งคิดเป็นกว่า 10% ของยอดค้าปลีก ถูกระงับชั่วคราวในหลายมณฑล
โดยผลกระทบจากการล็อกดาวน์จะรุนเเรงขึ้นกว่านี้ ในเดือน เม.ย.ซึ่งจะกดดันตัวเลขการเติบโตให้ลดลง
ด้านการสำรวจของ Nomura ต่อการต่ออายุล็อกดาวน์ไปทั่วประเทศจีน พบว่า หากเจาะลึกไปที่จังหวัดที่มีการล็อกดาวน์เต็มตัวหรือบางส่วน จังหวัดเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนถึง 40% ของจีดีพีประเทศจีน ซึ่ง “เซี่ยงไฮ้” ถือเป็นเมืองที่การระบาดและการล็อกดาวน์หนักที่สุดในขณะนี้
ที่มา : AFP
]]>หญิงสาวชาวออสเตรเลีย วัย 24 ปี ให้สัมภาษณ์กับ AFP ว่า เธอได้ซื้อใบรับรองปลอมทางออนไลน์ แล้วตระเวนไปทานอาหารตามร้านต่างๆ ทั่วเมือง เเม้ที่จริงเเล้วเธอจะยังไม่ได้ฉีดวัคซีนก็ตาม พร้อมบอกว่า “เธอไม่ได้ต่อต้านวัคซีน แต่ต่อต้านการบังคับฉีด”
AFP พบว่า มีการสืบค้นใน Google เรื่องหาใบรับรองการฉีดวัคซีนปลอมเพิ่มมากขึ้น หลังรัฐบาลออสเตรเลียประกาศกฎสำหรับผู้ยังไม่ฉีดวัคซีน เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เเละเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อมีการบังคับใช้จริง
โดยเว็บไซต์แห่งหนึ่ง มีการเสนอขายใบรับรองของหลายประเทศ อย่างออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และปากีสถาน ในราคาใบละ 500 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.6 หมื่นบาท)
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกังวลว่าใบรับรองปลอมเหล่านี้ จะทำให้ผู้ครอบครองตกอยู่ในความเสี่ยงติดเชื้อ เเละอาจทำให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้น และยากต่อการติดตามผู้มีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อ
ปัจจุบัน ออสเตรเลียกำหนดโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี และปรับ 7,400 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.4 เเสนบาท) สำหรับผู้ใช้ใบรับรองปลอม
ถึงกระนั้น ก็ยังหาใบรับรองปลอมหลายประเภทได้ง่ายบน Dark Web ที่มีราคามีตั้งแต่ 100-1,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 2,400-24,000 บาท) ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ชื่อเสียงของผู้ขาย เเละการรีวิวจากลูกค้าที่บอกต่อกัน
เเม้จะเสี่ยงจากโทษทางกฎหมายที่หนัก เเต่ชาวออสเตรเลียบางคนก็ยังซื้อใบรับรองปลอมหรือทำขึ้นมาเอง
เเหล่งข่าววัย 27 ปีบอกว่า เขาได้ทำวัคซีนพาสปอร์ตปลอมขึ้นมาเองโดยใช้ชื่อจริงของเพื่อน จากนั้นเข้าก็ใช้บริการในร้านอาหาร โรงยิมและร้านเสริมสวยต่างๆ ได้
“ผมถูกบังคับให้ทำเช่นนี้ เพราะฉันไม่มีทางเลือก ฉันไม่ได้ปล้นธนาคาร ฉันไม่ได้ทำร้ายใคร” เขากล่าวกับ AFP เเละยังรู้ว่าคนรอบตัวอย่างน้อย 10 คนใช้ใบฉีดวัคซีนปลอม
ด้านทางการ เริ่มมีการแก้ปัญหานี้ ด้วยการเพิ่มมาตรการป้องกันการปลอมแปลงเข้าไปใบรับรองการฉีดวัคซีนเข็มแรก เช่น ใช้เทคโนโลยีโฮโลแกรมดิจิทัล หรือคิวอาร์โค้ด โดยหวังว่าการปลอมเเปลงจะลดลง
ขณะที่ประชาชนในนครซิดนีย์รวมตัวกันประท้วงรัฐบาล เพื่อต่อต้านคำสั่ง ‘บังคับฉีดวัคซีน’ สอดคล้องกับการประท้วงที่เกิดขึ้นในหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ออสเตรเลีย ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนที่อายุ 16 ปีขึ้นไปครบทั้งสองโดสแล้วมากกว่า 80% เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุดในโลก
ที่มา : straitstimes
]]>จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์ เเถลงถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ ว่าจากสถานการณ์โรคระบาดในครั้งนี้ ที่มีโควิด ‘สายพันธุ์เดลตา’ เป็นตัวแปรสำคัญ ทำให้เเผนการที่จะคุมยอดผู้ป่วยโควิดให้เป็นศูนย์นั้นทำได้ยากมาก
โดยนิวซีเเลนด์ เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลก ที่สามารถทำให้จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ลดลงเหลือศูนย์ได้ในปีที่แล้ว จนกระทั่งเมื่อช่วงกลางเดือนส.ค. ที่ผ่านมา มีการการระบาดระลอกใหม่ของสายพันธุ์เดลตาที่เเพร่เชื้อได้ง่ายเเละรวดเร็วกว่าเดิม
ดังนั้น เวลานี้รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่ต้อง ‘เปลี่ยนแนวทาง’ การควบคุมโรคที่ดำเนินมายาวนาน โดยจะมี ‘วัคซีน’ ป้องกันโควิดมาเป็นตัวสนับสนุนแนวทางใหม่
เเละเป็นที่เเน่ชัดเเล้วว่า การที่รัฐใช้มาตรการคุมเข้มเป็นเวลานานนั้น ไม่สามารถทำให้ยอดผู้ป่วยติดเชื้อเป็นศูนย์ได้อีกต่อไป
ในปีที่แล้ว นโยบายการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดในเเต่ละพื้นที่ของนิวซีแลนด์ เพื่อควบคุมไวรัสโคโรนา ประสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจ เเละมีส่วนช่วยทำให้อาร์เดิร์น ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสมัยที่ 2 แต่การจัดหาวัคซีนที่ล่าช้าและการระบาดของเดลตาที่มีอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ทำให้ความนิยมของเธอเริ่มลดลง
โดยผู้นำนิวซีเเลนด์ ระบุว่า “การล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดจะสิ้นสุดลงเมื่อ 90% ของประชากรได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสเเล้ว”
จากปัจจุบัน ที่มีชาวนิวซีแลนด์ประมาณ 2 ล้านคนได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว หรือคิดเป็น 48% ของประชากรที่อยู่ในเกณฑ์
สำหรับการผ่อนคลายมาตรการในโอ๊คแลนด์ เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์มาตั้งแต่กลางเดือนส.ค.ที่ผ่านมา เเละมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 1.7 ล้านคน จะได้รับการผ่อนคลายเป็นระยะๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค.นี้
โดยประชาชนในเมืองโอ๊คแลนด์ จะสามารถออกนอกบ้านเพื่อพบปะครอบครัวหรือเพื่อนฝูงได้ไม่เกิน 10 คน ไปชายหาดและสวนสาธารณะได้ ส่วนโรงเรียนเด็กปฐมวัยจะได้รับอนุญาตให้เปิดสอนได้ เเละร้านที่ให้บริการซื้อกลับบ้าน สามารถกลับมาเปิดต่อได้ เเต่ต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยที่จำเป็น
สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในนิวซีเเลนด์วันนี้ (4 ต.ค.) เพิ่มขึ้น 29 ราย ทำให้ยอดสะสมของระลอกครั้งล่าสุดที่ 1,357 ราย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเมืองโอ๊คแลนด์ที่ล็อกดาวน์มาเกือบ 50 วันแล้ว โดยรวมนิวซีแลนด์มียอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสะสม นับตั้งเเต่เกิดโรคระบาดราว 4,300 คน และผู้เสียชีวิตเพียง 27 คนเท่านั้น
]]>
ชาวญี่ปุ่น ‘ครึ่งประเทศ’ หรือกว่า 63 ล้านคน ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบ 2 เข็มแล้ว นับเป็นอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังเพิ่งเริ่มฉีดไปเมื่อช่วงกลางเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
เเม้ว่าญี่ปุ่นจะเริ่มโครงการฉีดวัคซีนโควิด ‘ตามหลัง’ บรรดาประเทศพัฒนาเเล้วอื่นๆ เเต่ตอนนี้อัตราการฉีดวัคซีนของญี่ปุ่น ขยับเข้าใกล้กับสหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสเเล้ว
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้กระบวนการฉีดวัคซีนของญี่ปุ่นนั้นล่าช้ากว่าประเทศร่ำรวยอื่นๆ มาจากกฎระเบียบการตรวจสอบความปลอดภัยและการอนุมัติที่ ‘ใช้เวลานานกว่า’
อีกทั้งยังเพิ่งเริ่มฉีดให้กลุ่มผู้สูงอายุในเดือนเม.ย. เพราะเจอปัญหาวัคซีนที่นำเข้าจากต่างชาติล่าช้า ขณะที่ประชาชนอีกจำนวนมาก ลังเลในการฉีดวัคซีน เพราะต้องการ ‘ความชัวร์’ เเต่หลังจากที่สถานการณ์โรคระบาดรุนเเรงขึ้น ผู้คนก็ออกมาฉีดวัคซีนกันมากขึ้น
ในเดือนพ.ค. ญี่ปุ่นเริ่มฉีดวัคซีนได้ต่อเนื่องเเละทั่วถึงมากขึ้น เฉลี่ยวันละ 1 ล้านโดส เเละหากความเร็วในการฉีดวัคซีนยังคงเดิม ประเมินว่าภายในสิ้นเดือนนี้ ชาวญี่ปุ่นมากกว่า 60% จะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ซึ่งเป็นระดับเดียวกันกับชาติในยุโรป ทั้งนี้ ชาวอเมริกันกว่า 53% ได้รับวัคซีนครบโดสเเล้ว ส่วนชาวสิงคโปร์ฉีดวัคซีนครบโดสมากกว่า 80%
“หากอัตราการฉีดวัคซีนของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 80% คาดว่าจะส่งผลให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ”
เมื่อผ่านเป้าหมายฉีดวัคซีนครอบคลุมประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเเล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นวางเเผนจะผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ใน ‘ช่วงเดือนพ.ย.’ เช่น ผู้ที่มีผลตรวจเป็นลบจะได้รับอนุญาตให้เดินทางท่องเที่ยวได้ หรือเปิดให้มีการจัดงานที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากได้
อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ ไวรัสโควิดกลายพันธุ์ ยังมีการระบาดเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในกลุ่ม ‘คนหนุ่มสาวที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน’ ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องประกาศขยายเวลาประกาศภาวะฉุกเฉินที่กรุงโตเกียวและอีก 18 พื้นที่ไปจนถึงวันที่ 30 ก.ย. โดยร้านอาหารต้องปิดเร็วกว่าปกติ เเละห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สำหรับยอดผู้ติดเชื้อโควิดสะสมของญี่ปุ่น ล่าสุดอยู่ที่ราว 1.65 ล้านคน เสียชีวิต 16,700 คน จากประชากรทั้งหมด 125.4 ล้านคน
ด้านความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น ช่วงไตรมาส 3 (ก.ค-ก.ย.) เริ่มกลับเป็น ‘บวก’ ได้ครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส เนื่องจากฉีดวัคซีนมีความคืบหน้า ทำให้มีความหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
]]>
Reuters เสนอประเด็นวิเคราะห์ที่น่าสนใจในการผ่อนปรนมาตรการสกัดโควิด-19 ครั้งนี้ว่า ช่วงปีที่ผ่านมา อาเซียนสามารถคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ เเต่ในปีนี้ กลับกลายเป็นศูนย์กลางของการเเพร่ระบาด จากการมาของ ‘สายพันธุ์เดลตา’
ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วภูมิภาค อินโดนีเซียและไทย ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ในอาเซียน ได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการนั่งรับประทานอาหารในร้านและห้างสรรพสินค้าเพื่อช่วยบรรเทาความเสียหายด้านเศรษฐกิจ
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (31 ส.ค.64) อินโดนีเซียมียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 10,534 คน ต่ำกว่าเมื่อช่วงกลางเดือนก.ค. ถึง 5 เท่า ขณะที่ไทยมียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 14,802 คนเมื่อวันพุธ (31 ก.ย 64) ลดลง 37% จากระดับสูงสุดในช่วงกลางเดือนส.ค.
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญ มองว่า การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ครั้งนี้ ‘มีความเสี่ยง’ เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดยังต่ำและมีการตรวจหาเชื้อน้อย
ที่สำคัญคือ อินโดนีเซียมีอัตราผู้ตรวจพบเชื้อไวรัสโควิดที่ 12% ส่วนไทยอยู่ที่ 34% สูงกว่าอัตราที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำไว้ที่ 5%
Abhishek Rimal ผู้ประสานงานฉุกเฉินภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ กล่าวกับ Reuters ว่า “ตัวเเปรสำคัญอย่างไวรัสสายพันธุ์เดลตา ที่สามารถแพร่เชื้อได้เร็ว และอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ ทำให้เราอาจได้เห็นการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า“
ด้าน Tri Yunis Miko Wahyono นักระบาดวิทยาของมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ให้ความเห็นว่า “การเฝ้าระวังที่มีอยู่ยังไม่ได้ดีขนาดนั้น เรายังคงต้องระวัง”
ล่าสุด อินโดนีเซียมีจำนวนผู้ป่วยโควิดสะสมมากกว่า 4 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 133,000 ราย นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด ส่วนประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมที่ราว 1.2 ล้านราย รายงานผู้เสียชีวิต 11,841 ราย
ทั้งสองประเทศ มีอัตราการฉีดวัคซีนให้ประชาชน ‘เข็มเเรก’ ที่ประมาณ 30% โดยอินโดนีเซีย มีการฉีดวัคซีนครบโดสไปแล้ว 17% และไทยอยู่ที่ 11% ที่น่าสนใจคือ พื้นที่เมืองหลวงอย่างจาการ์ตาและกรุงเทพฯ มีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงกว่าต่างจังหวัดมาก
ในกรุงจาการ์ตาและพื้นที่อื่นๆ ในเกาะชวา ที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า สามารถเปิดให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านได้ 50% ห้างสรรพสินค้าเปิดทำการได้ถึงเวลา 21.00 น. ขณะที่โรงงานได้รับอนุญาตให้เปิดทำการได้เต็มรูปแบบ 100%
ในพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่สีเเดงที่มีการระบาด 28 จังหวัด รัฐมีการผ่อนคลายให้ร้านอาหาร สามารถเปิดให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านได้ 50 – 75% ร้านอาหารและห้างสรรพสินค้าเปิดทำการได้ถึงเวลา 20.00 น.
ลูกค้าที่กำลังต่อคิวซื้ออาหารในกรุงเทพฯ รายหนึ่งบอกว่า “รู้สึกว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้น เพราะคนจำนวนมากได้รับการฉีดวัคซีนและพวกเขาก็ระมัดระวังตัวมากขึ้น”
Dale Fisher ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดของ National University Hospital สิงคโปร์ ระบุว่า ประโยชน์ที่ได้ทางเศรษฐกิจจากการคลายล็อกดาวน์ ‘เป็นเรื่องที่เข้าใจได้’ แต่รัฐก็ต้องเร่งฉีดฉีดวัคซีนให้ประชาชนเร็วขึ้นด้วย
ที่มา : Reuters
]]>เราสามารถเห็นได้ว่าอัตราผู้เสียชีวิตต่อวันได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าภายในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ สิ่งนี้เป็นสัญญาณอันตรายว่าการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยในครั้งนี้ มีความรุนแรงกว่าครั้งก่อนๆ มาก ในขณะนี้คณะผู้เขียนเชื่อว่าทุกภาคส่วนได้มีความตระหนักอย่างแท้จริงถึงความรุนแรงของการระบาดในครั้งนี้ และพยายามที่จะช่วยกันลดการระบาด “เท่าที่กำลังของตนหรือฝ่ายตน” จะสามารถทำได้ (ในบริบทของแต่ละคน)
คนไทยทุกคน ทุกฝ่ายควรร่วมแรงร่วมใจ ใช้พลังเชิงบวกในการแก้ปัญหา โดยรัฐต้องเป็นศูนย์กลางในการกำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างเร่งด่วน และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต้องสื่อสารให้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยของ Kavakli (2020) พบว่ามีหลายประเทศในโลกที่เริ่มใช้การล็อกดาวน์ในระดับที่มีความเข้มข้นน้อย แล้วค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นเมื่อสถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น โดยสาเหตุหลัก เป็นเพราะประเทศเหล่านี้ไม่อยากให้การล็อกดาวน์ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ (ที่บอบช้ำอยู่แล้ว)
จึงหวังว่าการใช้มาตรการในระดับเบานั้น อาจจะเพียงพอ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจที่อาจจะรุนแรงเกินความจำเป็นได้ และไม่อยากให้ประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการทั้งเล็กและใหญ่ได้รับความลำบาก และไม่พอใจกับการบริหารประเทศ
อย่างไรก็ดี การตัดสินใจจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคนั้น ได้ถูกกระทบจากความกลัวในสถานการณ์ของการระบาดอยู่แล้ว ซึ่งบทความของ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)(2020) แสดงให้เห็นว่าการล็อกดาวน์แบบเข้มข้น และเข้มงวดดีกว่าการล็อกดาวน์แบบเบาๆ และไม่เข้มงวด ทั้งในด้านการควบคุมการระบาด และในด้านเศรษฐกิจ
เนื่องจากการล็อกดาวน์แบบเบาๆ ไม่เข้มงวดทำให้ระดับจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเองเพราะยังมีความเสี่ยงด้านสุขภาพอยู่ ในขณะที่การล็อกดาวน์แบบเข้มงวดจะใช้เวลาควบคุมโรคที่สั้นกว่าโดยจะมีต้นทุนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากกรณีไม่เข้มงวดเพียงเล็กน้อย แต่จะทำให้การติดเชื้อลดลงอย่างมากและเร็ว จะนำไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วขึ้น
ก่อนที่จะมีการประกาศล็อกดาวน์ รัฐต้องมีมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมที่ชัดเจน เพื่อให้การล็อกดาวน์มีประสิทธิภาพสูงสุด ประชาชนปฏิบัติตามได้และพร้อมให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการในด้านสภาพคล่องของประชาชน รวมทั้งผู้ประกอบการทั้งเล็กและใหญ่ ซึ่งได้ทำในหลายๆ ประเทศ อาทิ ประเทศเยอรมนี ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการที่รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน และโปร่งใส รวมถึงมีหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจนซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
องค์ประกอบหนึ่งที่หลายๆ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ชัดเจน คือ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ หากอ้างอิงงานวิจัยของ Hyland-Wood และคณะ (2021) ที่ได้ทำการศึกษาและรวบรวมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในภาวะวิกฤตของรัฐบาล โดยสามารถสรุปเป็นประเด็นหลักๆ ดังนี้
ในด้านการสื่อสาร รัฐต้องตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารที่ชัดเจนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกนโยบายใดๆ จะต้องมีมาตรการรองรับที่ชัดเจนต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ บทความของ IMF (2020) พบว่าการที่ประชาชนรับทราบถึงภาวะวิกฤต จะช่วยให้ประชาชนตระหนักและเพิ่มความระมัดระวังตนเองมากยิ่งขึ้น ลดการเคลื่อนที่ และให้ความร่วมมือกับมาตรการต่างๆ มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลดการระบาด
ดังนั้นการนำเสนอข่าวที่เป็นความจริง แม้ว่าจะทำให้เกิดความหวาดกลัว แต่ความหวาดกลัวที่เกิดจากความจริง เป็นสิ่งที่ดี ไม่ควรห้าม สุดท้ายนี้ ฝ่ายที่มีหน้าที่หาวัคซีน ควรเร่งหาวัคซีนเพื่อให้ประชาชนคนไทยได้วัคซีนอย่างทั่วถึง มีวัคซีนดีกว่าไม่มี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนแบบไหนก็ควรฉีดไปก่อนเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
อ้างอิง
Hyland-Wood, B., Gardner, J., Leask, J. et al. Toward effective government communication strategies in the era of COVID-19. Humanit Soc Sci Commun8, 30 (2021). https://doi.org/10.1057/s41599-020-00701-w
Caselli, F., Grigoli, F., Lian, W., & Sandri, D. (2020). “Chapter 2 The Great Lockdown: Dissecting the Economic Effects”. In World Economic Outlook, October 2020. USA: International Monetary Fund. Retrieved Jul 19, 2021, from https://www.elibrary.imf.org/view/books/081/29296-9781513556055-en/ch002.xml
บทความนี้เขียนโดย
จากมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้น เพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อวานนี้ (20 ก.ค.64) รัฐบาลได้มีข้อกำหนด ‘เพิ่มเติม’ ควบคุมการปิดและเปิดให้บริการในสถานที่ต่างๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าเเละคอมมูนิตี้มอล ทั้ง 13 จังหวัด ‘พื้นที่สีแดงเข้ม’ เป็นเวลา 14 วันตามประกาศ หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
โดยอนุญาตให้ห้างฯ เปิดให้บริการได้เพียงแค่ 3 กิจการเท่านั้น คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านยา/เวชภัณฑ์ และสถานที่ฉีดวัคซีน
ดังนั้น ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 กิจการดังกล่าว จะต้อง ‘ปิดให้บริการ’ ชั่วคราว รวมไปถึง “ร้านอาหารในห้างฯ” ที่ก่อนหน้านี้ยังเปิดให้บริการได้เเต่ต้องขายเเบบซื้อกลับบ้านและฟู้ดเดลิเวอรี่ “เเต่จากมาตรการล่าสุดนั้น ร้านอาหารในห้างฯ จะไม่สามารถขายได้เลยแม้แต่ช่องทางเดลิเวอรี่”
หลังปรับตัวรับวิกฤตโควิดมาหลายรอบ บรรดาร้านอาหารต้อง ‘ดิ้นรน’ อีกครั้งเพื่อให้ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้เเละต้องระบายวัตถุดิบที่มีอยู่
เเบรนด์ต่างๆ จึงตัดสินใจเเก้เกมนี้ ด้วยการประกาศ ’หาพื้นที่เช่า’ ที่มีทำเลอยู่นอกห้างสรรพสินค้า หลากหลายโซนในกรุงเทพฯ เพื่อทำเป็น ‘ครัวเเห่งใหม่’ เนื่องจากตอนนี้ หากเป็นร้านอาหารที่ตั้งอยู่ ‘นอกห้าง’ ยังสามารถเปิดขายเดลิเวอรี่ได้ถึงเวลา 20.00 น.
เริ่มจาก Zen Group เชนร้านอาหารรายใหญ่ ที่มีเเบรนด์ในมืออย่าง ZEN, On The Table และ AKA ระบุว่า
“ท่านใดมีร้านอาหารนอกห้าง ที่มีครัวและอุปกรณ์ครัว โดยไม่ได้เปิดร้าน สนใจอยากให้เช่า โซนดังต่อไปนี้ ลาดพร้าว อนุสาวรีย์ ทองหล่อ สาทร สีลม เพลินจิต พระราม 3 สาธุประดิษฐ์ รามอินทรา (แฟชั่นไอซ์แลนด์) เจริญนคร บางกะปิ สยาม พร้อมพงษ์ รัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน ปิ่นเกล้า บางแค บางนา พระราม 9 สามารถติดต่อที่ [email protected] หรือโทร 084-675-7553”
ตามมาด้วย อัจฉรา บุรารักษ์ ผู้ก่อตั้ง iberry group เจ้าของร้านอาหารอย่าง กับข้าวกับปลา ทองสมิทธ์ เจริญแกง ฟ้าปลาทาน เบิร์นบุษบา โรงสีโภชนา เเละ รส’นิยม โพสต์ข้อความหาพื้นที่เช่าเเห่งใหม่ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า
“สืบเนื่องมาจาก การถูกสั่งปิดร้านอาหารในห้างทั้งหมด เพื่อนคนไหนมีร้านอาหารนอกห้าง โซนดังต่อไปนี้ มีอุปกรณ์ครัวแต่ไม่ได้เปิดร้าน สนใจอยากให้เช่าระยะสั้นบ้างไหมคะ ทองหล่อ เอกมัย ลาดพร้าว เรียบด่วนเอกมัย–รามอินทรา ราชพฤกษ์ บางจาก รบกวน ติดต่อ line add @iberrygroup นะคะ ขอบพระคุณค่ะ”
ด้าน ดุษิตา สถิรเศรษฐ รองประธานกรรมการ Sukishi Inter Group ร้านอาหารเกาหลีและญี่ปุ่นชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ตามหาพื้นที่เช่าทำครัวอาหารนอกห้างเช่นกัน โดยมองหาโซนใกล้ๆ ย่านพระราม 2 พระราม 3 ปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพลาซ่า เวสต์เกต แฟชั่น ไอส์แลนด์ พระราม 9 บางกะปิ รังสิต รวมทั้ง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี หาดใหญ่ ติดต่อ inbox ไปโดยตรงได้ที่ https://www.facebook.com/dusita.satiraseth
Shinkanzen sushi ร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีสาขาหลายเเห่งในห้างฯ ออกประกาศว่า ทางร้านยังมีพนักงานอีกหลายคนที่ต้องดูเเล เพื่อให้พนักงานยังมีงานและรายได้ จึงขอประกาศตามหาพื้นที่เช่า (ระยะสั้น) ทำครัวชั่วคราวสำหรับขายเดลิเวอรี่ ไม่ว่าจะเป็น ตึกเเถว ร้านอาหารเก่า cloud kitchen หรือเป็นครัวโรงเเรมที่หยุดดำเนินการในช่วงนี้ โดยพื้นที่ที่ต้องการคือ
ส่งรายละเอียด มาที่ line@: @shinkanzensushi หรือ inbox มาที่เพจ Shinkanzen sushi
Potato Corner เเบรนด์เฟรนช์ฟรายส์ปรุงรส ก็ประกาศว่า ต้องการหาพื้นที่เช่าด่วน ในช่วง 14 วันนี้ (20 ก.ค. – 2 ส.ค.) โดยไม่จำเป็นต้องมีครัว หรือเป็นร้านอาหาร เพียงแค่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 15 ตร.ม. ขึ้นไป ในโซนต่างๆ อย่าง ลาดพร้าว เอกมัย ศรีนครินทร์ บางนา บางใหญ่ ท่าพระ ห้วยขวาง บางกะปิ พระราม 3 เลียบทางด่วนรามอินทรา รังสิต ดอนเมือง รังสิต ปทุมธานี พระราม 2 บางแค คันนายาว ตลิ่งชัน แจ้งวัฒนะ งามวงศ์วาน สำโรง รัตนาธิเบศร์ สุขสวัสดิ์ ทุ่งครุ
คุณสมบัติของพื้นที่ ที่จำเป็นต้องมี
คุณสมบัติที่อาจจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
-อยู่ชั้น 1 และติดถนนใหญ่
-มีระบบระบายอากาศ
-มีตู้แช่สินค้า (หากมีรบกวนระบุจำนวนและขนาด)
-มีระบบ Internet
ส่งข้อมูลได้ที่อีเมล [email protected] และ [email protected] หรือ แชทตรงมาที่ @PotatoCornerTH >> https://lin.ee/b3zbp9R
ติดต่อเข้ามายัง inbox ของทางเพจ Boon Tong Kee – Thailand หรือโทร.083-096-0530 (ฝ่ายสรรหาสถานที่) โดยหากพื้นที่มีอุปกรณ์ครัว หรืองานระบบสำหรับร้านอาหารแล้ว จะพิจารณาเป็นพิเศษ
เรือนเพชรสุกี้ระบุว่า ขณะนี้ทางร้านมีความจำเป็นต้องหาสถานที่นอกศูนย์การค้า เพื่อเปิดให้บริการแบบเพิ่มเติม
เพราะมีพนักงานที่ต้องดูแล มีค่าใช้จ่ายที่ยังเดินไม่หยุด และมีวัตถุดิบที่ถ้าไม่คิดแก้ปัญหาจะเน่าเสียทั้งหมด
โดยมองหาอาคารพาณิชย์ที่ต้องการปล่อยให้เช่าชั่วคราว หรือระยะยาว ที่สามารถใช้ประกอบอาหารได้
หรือพื้นที่ร้านอาหารที่ปิดตัวลงชั่วคราวและสามารถปล่อยให้ทางร้านเช่าเปิดบริการได้ หรือเปิดครัวร้านอาหารอยู่แล้วต้องการลดต้นทุนโดยการหาผู้เช่าร่วม หรือแบ่งพื้นที่ให้เช่าร่วม ในโซนบางนา อ่อนนุช อุดมสุข นนทบุรี เเจ้งวัฒนะ จรัญสนิทวงศ์ พระราม 3 หรือพื้นที่อื่นๆ
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่น่าสนใจอย่างร้าน Ramenga ราเมงอะ ラーメン เมื่อต้องปิดร้านชั่วคราว 7 สาขาในห้างฯ ต้องหาทางระบายสต๊อกวัตถุดิบที่เตรียมไว้เพื่อทำราเมงถึง 1,600 ชาม
โดยทางร้านจะนำไปบริจาคให้องค์กรต่างๆ เพื่อดูแลจิตอาสาและผู้เดือดร้อน ซึ่งหากองค์กรไหน หรือที่ไหนต้องการ ราเมงไปสนับสนุน สามารถแจ้งมาทาง inbox เพจ เฟซบุ๊ก หรือ Line Ramenga https://lin.ee/fTeAHcM โดยเริ่มต้นด้วยการเเจกที่ศูนย์เอราวัณ ที่จัดหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด 200 ชาม
ด้าน Kouen Group ก็ออกประกาศชวนผู้ที่มีความสนใจอยากเพิ่มรายได้จากธุรกิจอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องทำอาหารเป็น ซึ่งทางร้านจะมีทีมงานช่วยเทรนให้ทุกขั้นตอน แค่มีบ้านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย ณ ตอนนี้ กำลังอยู่ระหว่างการวางเเผนรายละเอียดต่างๆ สามารถติดต่อมาได้ตามอีเมล [email protected] , [email protected]
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของร้านอาหารจำนวนมากที่ต้อง ‘หาทางรอด’ ต่างๆ เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงมาตรการล็อกดาวน์เเละวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ไปให้ได้
19 ก.ค. 64 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถาการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เเถลงตอนหนึ่งโดยกล่าวถึง ผลการศึกษาเเละประเมิน ‘ความเป็นไปได้’ ของการติดเชื้อโควิด-19 ในไทย โดยมีการคาดการณ์ 2 รูปเเบบ ดังต่อไปนี้
1) งานวิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.นวลจันทร์ สิงห์คราญ โดยใช้ข้อมูลถึง ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 มีการคาดการณ์โรคระบาดถึงช่วงสิ้นเดือนต.ค. ว่า
สถานการณ์แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้น หากไม่มีการทำอะไร หรือหรือไม่มีมาตรการไม่ได้ช่วยกันและปล่อยให้การติดเชื้อไปเรื่อยๆ คาดว่า การติดเชื้อสูงสุดจะอยู่ที่ 31,997 รายต่อวัน
เเละเเม้ว่าจะดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เเละทุกคนช่วยกัน กรณีดีที่สุด ก็ยังจะอยู่ที่ 9,018-12,605 รายต่อวัน ส่วนค่ากลางจะอยู่ที่ 9,695 – 24,204 รายต่อวัน
2) การคาดการณ์ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้นำไปอ้างอิง ซึ่งประเมินโดยอิงจากเเนวโน้มการฉีดวัคซีนที่จะเกิดขึ้นถึงช่วงปลายปีนี้ ระบุว่า
ถ้าหากฉีดวัคซีนได้ดี เเละวัคซีนมาได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด ในไตรมาสที่ 4 ‘Best case’ กรณีที่ดีที่สุด จำนวนยอดผู้ติดเชื้อจะค่อยๆ ลดลง ตั้งเเต่ช่วงเดือนส.ค.เเละก.ย. จากที่ ณ ตอนนี้ กำลังไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ เเละจะสูงกว่า 15,000 รายต่อวัน
แต่ถ้าในกรณีที่เเย่ที่สุด เเละมีการฉีดวัคซีนน้อย คาดว่ายอดผู้ติดเชื้อรายใหม่จะสูงถึงถึง 22,000 รายในเดือนส.ค.และก.ย.
โดยโฆษก ศบค. กล่าวว่า “วันนี้เราไปแตะหมื่นอยู่หลายวันแล้ว สิ่งที่เราอยากจะเห็นคือลดลงไปกว่านี้ได้ไหม คนใดคนหนึ่งทำไม่ได้ ทุกคนต้องช่วยกัน เป็นอย่างนี้ทุกประเทศ ความสามัคคีเท่านั้นที่จะช่วยกันได้ เราจะผ่านความทุกข์ยากนี้ไปด้วยกัน”
ทั้งนี้ ณ วันที่ 19 ก.ค. 64 ผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย ที่ยังรักษาตัวอยู่ มีจำนวน 122,097 ราย เป็นการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 71,635 ราย รพ.สนาม 50,462 ราย ในจำนวนนี้อาการหนัก 3,595 ราย และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 856 ราย
ส่วนผู้รับการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 18 ก.ค. 64 มีเข็มที่ 1 จำนวน 69,667 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 5,167 ราย และระหว่างวันที่ 28 ก.พ. – 18 ก.ค. 64 มีผู้รับวัคซีนสะสมทั้งหมด จำนวน 14,298,596 โดส “คิดเป็นราว 21.6% ของสัดส่วนประชากร”
ด้านความเห็นจาก ‘หอการค้าไทย’ ระบุว่า หากมาตรการล็อกดาวน์ 14 วันเอาไม่อยู่ อาจจะต้องขยายล็อกดาวน์เพิ่มเติม จะทำให้ ‘เศรษฐกิจเสียหาย’ คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท โดยปรับการประเมินผลกระทบเศรษฐกิจสูญเสีย ‘ต่อวัน’ เพิ่มจาก 3,000 ล้านบาท เป็น 4,000 ล้านบาท จากการล็อกดาวน์เพิ่ม 13 จังหวัดซึ่งมองว่ามาตรการเยียวยาในปัจจุบันนั้นยังไม่เพียงพอ
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 2564 ของไทย เหลือเพียง 1.0% จากเดิมที่ 1.8% หลังการระบาดรุนเเรงกว่าที่คาด ซึ่งมาตรการ ‘ล็อกดาวน์’ ที่เกิดขึ้น กระทบธุรกิจเเละจ้างงานต่อเนื่อง พร้อมฉุด ‘กำลังซื้อ–ความเชื่อมั่นผู้บริโภค’ ให้ลดลง โดยประเมินว่านักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้จะมีเเค่ 2.5-6.5 แสนคน ส่วนเงินบาทนั้นจะอ่อนค่ายาว
“แม้มีมาตรการเยียวยา แต่ชดเชยผลกระทบเศรษฐกิจไม่ได้ ฉีดวัคซีนอาจต่ำกว่าเป้าหมาย”
]]>
“แม้มีมาตรการเยียวยา แต่ชดเชยผลกระทบเศรษฐกิจไม่ได้ ฉีดวัคซีนอาจต่ำกว่าเป้าหมาย”
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 อยู่ที่ 1.0% จากประมาณการเดิมที่ 1.8% เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 มีความ ’รุนแรงกว่าที่เคยประเมิน’ ส่งผลกระทบให้ระบบสาธารณสุขของไทยเผชิญข้อจำกัด
ความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมีมากขึ้น และผลกระทบต่อเนื่องไปยังกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ทรุดตัวไปกว่าเดิม
ขณะที่มาตรการเยียวยาจากทางภาครัฐ คาดว่าจะช่วยประคองการดำรงชีพที่จำเป็นของประชาชน “แต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม”
ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสและจำนวนผู้ติดเชื้อที่กลับมาเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับลดกรอบประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 ลงมาอยู่ที่ 2.5-6.5 แสนคน จากกรอบประมาณการเดิมที่ 2.5 แสน-1.2 ล้านคน
แม้ว่าจะมีการเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยโครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” และโครงการ “สมุย พลัส โมเดล” ก็ตาม
ส่วนแผนการเปิดประเทศในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในไทย จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการเร่งฉีดวัคซีนเป็นหลัก ขณะที่ในต่างประเทศก็ยังเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
ด้าน ‘เศรษฐกิจโลก’ มีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่าที่คาด ส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองการส่งออกไทยปี 2564 จะขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นมาอยู่ที่ 11.5%
ทั้งนี้ ประมาณการส่งออกนี้ได้มีการคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงเชิงลบจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระวางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดในประเทศที่อาจจะส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม
ทิศทาง ‘เศรษฐกิจไทย’ ในช่วงที่เหลือของปี 2564 ยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังคงเผชิญความเสี่ยงสูง ทั้งจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ ประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงการเร่ง ‘ฉีดวัคซีนที่อาจต่ำกว่าเป้าหมาย’
หากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศยังไม่คลี่คลายลง คาดว่าภาครัฐอาจจำเป็นต้องมีมาตรการดูแลผลกระทบเพิ่มเติม
ขณะเดียวกัน หากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง คาดว่าภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ มีแรงส่งมากขึ้น โดยใช้งบประมาณภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท
ยังต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศที่ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ๆ เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้าได้
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ในการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยแล้ว และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวได้ 1.0%”
เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสัญญาณความเสี่ยงที่ชัดเจนมากขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกสามที่มีแนวโน้มยากควบคุม เพราะต้องรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์
โดยเงินบาททำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 15 เดือน ที่ 32.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายในวันที่ 9 ก.ค. 64 ความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อยังเพิ่มแรงกดดันต่อสถานะดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยให้ขาดดุลมากขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เป็นสัญญาณที่ตอกย้ำว่า ปัจจัยพื้นฐานของค่าเงินบาทกำลังอ่อนแอลง พร้อมกับความเสี่ยงต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะที่เหลือของปี
โดยเงินบาท มีความเป็นไปได้ที่จะอ่อนค่าต่อเนื่องไปทดสอบระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนสิ้นปี 2564 หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศยังไม่ลดระดับความเสี่ยงลงมา และเฟดสามารถเริ่มทยอยส่งสัญญาณเตรียมคุมเข้มนโยบายการเงินได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ตามที่ตลาดประเมินไว้
อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ไม่แรง หรือเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อีกระลอก ก็อาจส่งผลทำให้ตลาดต้องกลับมาประเมินการคาดการณ์ในเรื่องจังหวะการปรับนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ใหม่อีกครั้ง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า และอาจช่วยหนุนให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าได้ โดยเฉพาะหากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลง
]]>
วันนี้ (9 ก.ค.2564) ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. เเถลงว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบตามข้อเสนอยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา ดังนี้
นอกจกานี้ การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของ ศบค.ที่ได้มีประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้ เเละกำกับดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล (DMHTTA) อย่างสูงสุด
โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.64 เป็นต้นไป และให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ระดับ สถานการณ์ต่าง ๆ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 24, 25, 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้
ส่วนหน่วยงานด้านความมั่นคงจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเข้มงวด ให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. 64 เวลา 06.00 น.เป็นต้นไป (เจ้าหน้าที่เริ่มตั้งด่าน)
ทั้งนี้ กรณีตรวจพบผู้ฝ่าฝืนให้บังคับใช้บทลงโทษตามแห่ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558
]]>