เศรษฐีจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 09 Jul 2024 06:15:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ฮ่องกง’ ปูพรมแดงรอรับ ‘เศรษฐีจีน’ กลับประเทศ หลัง ‘สิงคโปร์’ เริ่มตรวจสอบเงินชาวต่างชาติจากคดีการ ‘ฟอกเงิน’ https://positioningmag.com/1481939 Tue, 09 Jul 2024 05:51:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481939 จากที่รัฐบาลจีนกำลังเข้มงวดกับการปราบปรามการ หนีภาษี ของบรรดา เศรษฐี รวมถึงการป้องกันทรัพย์สินจากนโยบาย Common Prosperity เพื่อลดความไม่เท่าเทียม ทำให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐีจีนจึงย่องออกนอกประเทศ โดย สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในปลายทางยอดนิยม

โดยจากรายงานของ Henley & Partners บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนและการย้ายถิ่นฐาน เผยว่า ในปีที่ผ่านมา เศรษฐีจีน ที่มีรายได้อย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36.7 ล้านบาท) อพยพออกนอกประเทศถึง 13,800 คน ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนเศรษฐีไหลออกนอกประเทศมากสุดในโลก และในปี 2024 นี้ คาดว่าจะพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 15,200 คน

โดย สิงคโปร์ ถือเป็นปลายทาง Top 3 ที่เศรษฐีจีนย้ายไปอยู่มากที่สุด นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เนื่องจากรัฐออกมาตรการดึงดูดหลายประการ เช่น การลดหย่อนภาษีสำนักงานครอบครัว, โปรแกรมวีซ่าและจัดหาถิ่นที่อยู่ นอกจากนี้ ประชากรส่วนใหญ่ของสิงคโปร์ยังเป็นคนเชื้อสายจีนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคดีฟอกเงินมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และมีความผิดฐานพัวพันกับการพนันออนไลน์ ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับสำนักงานธุรกิจครอบครัว (Family Office) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของครอบครัวที่สิงคโปร์ในอนาคต ทำให้มีมาตรการคุมเข้มเพื่อป้องกันการฟอกเงิน ส่งผลให้ลูกค้าบางส่วนไม่อยากมาใช้บริการสำนักงานธุรกิจครอบครัว เพราะหงุดหงิดกับกระบวนการและคำถามที่ถูกถาม

“สำหรับมหาเศรษฐีบนแผ่นดินใหญ่หลายคน เพราะพวกเขาไม่ชอบการแทรกแซงของรัฐบาลตามอำเภอใจ การตรวจสอบของรัฐบาล หรือการคุกคามต่อความมั่งคั่งส่วนบุคคลของพวกเขา นั่นคือเหตุผลที่พวกเขาต้องการย้ายเงินออกจากจีน หากสิงคโปร์จะตรวจสอบและกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นเช่นเดียวกับแผ่นดินใหญ่ แล้วทำไมพวกเขาถึงอยากไปที่นั่น?” Zhiwu Chen ศาสตราจารย์ด้านการเงินของมหาวิทยาลัยของฮ่องกง กล่าว

ส่งผลให้คาดว่า ฮ่องกง จะได้อ้าแขนรับเศรษฐีจีนกลับมาประมาณ 200 คนในปีนี้ เนื่องจาก ธุรกิจในฮ่องกงกำลังฟื้นตัว โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา สินทรัพย์ภายใต้การบริหารของฮ่องกงเติบโต 2.1% เป็น 31 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง (5.4 ล้านล้านดอลลาร์สิงคโปร์)

“ผมเริ่มเห็นมหาเศรษฐีที่เริ่มเข้าไปสร้างธุรกิจสำนักงานครอบครัวในฮ่องกงมากขึ้น หลังธุรกิจของธนาคารเอกชนในจีนฟื้นตัวขึ้น ในขณะที่การเติบโตของกลุ่มเดียวกันในสิงคโปร์ชะลอตัวลง ซึ่งหมายความว่าเงินจะย้ายไปสิงคโปร์น้อยลง”

อีกจุดที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าเงินของเศรษฐีจีนที่จะไปสิงคโปร์ตอนนี้มุ่งหน้าไปยังฮ่องกงก็คือ ยอดขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ยอดนิยมของชาวจีนผู้มั่งคั่งจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเพิ่มขึ้น 63% เป็น 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023

ขณะที่ พอล ชาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยในเดือนนี้ว่า ในปีที่ผ่านมา กระแสเงินไหลเข้าสุทธิของกองทุนพุ่งสูงขึ้น มากกว่าสามเท่า เป็นเกือบ 3.9 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง จากที่ในปี 2022 กระแสเงินไหลเข้าของกองทุนความมั่งคั่งและธนาคารส่วนตัวลดลงประมาณ 80%

 

Source

]]>
1481939
อัปเดต 10 รสนิยมแบบใหม่ของ “เศรษฐีจีน” เจนวาย นิยามความลักชัวรีในสไตล์ที่ต่างจากรุ่นพ่อแม่ https://positioningmag.com/1474600 Tue, 21 May 2024 09:18:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474600 “เศรษฐีจีน” รุ่นใหม่ “เจนวาย” ในวัย 20 ปลายๆ จนถึง 40 ต้นๆ เริ่มขึ้นมาเป็นกำลังซื้อสำคัญในโลกสินค้าและบริการลักชัวรี แต่คนจีนรุ่นนี้มีรสนิยมและไลฟ์สไตล์ที่ต่างจากคนจีนรุ่นพ่อแม่ที่เป็นรุ่นสร้างตัว 10 รสนิยมของคนรวยจีนรุ่นเจนวายจะมีอะไรบ้าง ติดตามได้ที่นี่

1.เลิกใส่เสื้อผ้าแบรนด์เนมแบบตะโกน

เสื้อผ้าพิมพ์ลายโลโก้ Gucci หรือ Louis Vuitton พร้อยไปทั้งตัวเริ่มไม่ใช่เสื้อผ้าที่คนรวยจีนต้องการเป็นอันดับแรกๆ อีกต่อไป

Daniel Langer ศาสตราจารย์ด้านสินค้าลักชัวรีที่ Pepperdine University เปิดเผยกับ Business Insider ว่า คนจีนรุ่นใหม่มองหาสินค้าและประสบการณ์ที่สะท้อนสไตล์และแรงบันดาลใจส่วนตัว ลูกค้าจะต้องการไอเทมที่เป็นตัวเองมากกว่าอะไรที่ใช้กันเกร่อทั่วไปเพียงเพื่อบ่งบอกว่ามีฐานะ

2.“Quiet Luxury” กำลังเป็นกระแส

จากข้อแรกนำมาสู่ข้อที่สอง เทรนด์การแต่งตัวแบบ “Quiet Luxury” จึงเริ่มได้รับความนิยมในจีนเช่นกัน เทรนด์นี้หมายถึงการแต่งตัวให้ “ดูรวย” แบบไม่ต้องพยายาม ให้ลุคที่ดูเหมือนเศรษฐีเก่าจากยุโรป ด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ไม่วิ่งตามแฟชั่นใหม่ เน้นไปที่ความเรียบง่าย ใส่สบาย แต่มีรายละเอียด

เราจะได้เห็นเศรษฐีจีนยุคใหม่หันมาใส่เสื้อยืดและสนีกเกอร์แบบสบายๆ แต่เป็นของมีราคา ผสมไปกับเสื้อผ้าแบรนด์เนมแบบดั้งเดิมมากขึ้น

3.ยอมรับสินค้าแบรนด์เนมมือสอง

สินค้าแบรนด์เนมมือสองเป็นที่ยอมรับในโลกตะวันตกมานานแล้วเพราะถือว่าดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า แต่ในจีนสินค้ามือสองมักจะมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี เพราะมีความเชื่อที่ส่งต่อกันมาว่าของมือสองจะนำมาซึ่งโชคร้าย

อย่างไรก็ตาม คนจีนรุ่นใหม่เริ่มยอมรับสินค้ามือสองมากขึ้น และมองในแง่บวกว่าแบรนด์เนมมือสองมักจะมีของ “วินเทจ” ที่มีเอกลักษณ์พิเศษมาให้ช้อปและเลือกใช้

4.เลิกไปเที่ยวกับทัวร์ ชอบเที่ยวคนเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก

สำหรับคนรวยเจนวายชาวจีนจะเปลี่ยนรสนิยมการท่องเที่ยวจากรุ่นพ่อแม่ เพราะหลายคนเคยไปเรียนเมืองนอกหรือเคยเดินทางมามากแล้ว ทำให้ไม่กังวลเรื่องความปลอดภัยหรือความสะดวกเหมือนพ่อแม่ พวกเขาจึงเลือกที่จะไม่ไปกับกรุ๊ปทัวร์ แต่ไปเที่ยวคนเดียวหรือไปเป็นกลุ่มเล็กมากกว่า

นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวที่เศรษฐีจีนรุ่นใหม่เลือกก็มักจะเป็นสถานที่แปลกใหม่ที่คนไม่ค่อยไปกัน เช่น แคมป์ปิ้งหรูในซาฟารีแอฟริกา เที่ยวขั้วโลกเหนือ ล่าแสงเหนือที่ไอซ์แลนด์ เป็นต้น

แสงออโรร่าเหนือภูเขาเคิร์กจูเฟล ประเทศไอซ์แลนด์

5.ซื้อสินค้าที่มาพร้อมประสบการณ์

ผู้บริโภคชาวจีน(และเอเชีย)รุ่นใหม่มักจะต้องการประสบการณ์เสริมพิเศษเข้าไปในตัวสินค้าหรูด้วย ถึงจะเป็นการแสดงฐานะได้อย่างแท้จริง

ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารจาก Diageo ระบุว่าบริษัทมีการเปิดโรงกลั่นแห่งใหม่ที่ Port Ellen ที่สก็อตแลนด์ เพื่อให้โรงนี้เป็นพื้นที่จัด “วิสกี้ทัวร์” ได้โดยเฉพาะ เพราะลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่ซื้อเหล้าสก็อตวิสกี้ชั้นดีเท่านั้น แต่อยากจะมีเรื่องเล่าด้วยว่าพวกเขาได้บินข้ามโลกเพื่อไปเห็นวิธีการทำ และได้ลองชิมวิสกี้มาแล้วมากมายจากแหล่งกำเนิด

6.ทานอาหารระดับ “มิชลินสตาร์” และ “แบล็กเพิร์ล”

กิจกรรมใหม่ของเศรษฐีจีนเจนวายคือการไปลิ้มรสร้านอาหารระดับไฟน์ไดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นร้านระดับ “มิชลินสตาร์” หรือ “แบล็กเพิร์ล” (*Black Pearl เป็นการแนะนำร้านอาหารชั้นดีแบบเดียวกับมิชลินสตาร์ แต่จัดทำโดย Meituan ยักษ์ใหญ่เดลิเวอรีอาหารของจีน)

ลูกค้ามีฐานะของจีนมักจะต้องการเก็บร้านอาหารไฟน์ไดนิ่งในเมืองของตัวเองให้ครบ และไปเยือนร้านเหล่านี้ในแต่ละเมืองที่พวกเขาไปท่องเที่ยว

Photo : Shutterstock

7.วางแผน “ไม่มีลูก”

เกิดความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในจีน นั่นคือแม้แต่เศรษฐีจีนรุ่นใหม่เองก็ไม่อยากจะมีลูกหรือบางคนไม่แม้แต่จะแต่งงาน

เหตุเพราะหลายคนมองว่าการมีลูกเป็น ‘การลงทุนที่แย่’ และเจนเนอเรชันนี้ต้องการจะเป็นอิสระ เน้นเรื่องความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และหาความสุขส่วนตัวมากกว่าความสุขจากการสร้างครอบครัว

8.แต่ถ้าคิดจะมีลูก ไลฟ์สไตล์สุดหรูจะต้องยังอยู่เหมือนเดิม

สำหรับเศรษฐีจีนเจนวาย แม้จะมีลูกก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องประหยัดเพื่อใช้เงินเลี้ยงลูก พวกเขาจะยังคงปรนเปรอตัวเองต่อไปในฐานะพ่อแม่

ตัวอย่างเช่น “แพ็กเกจหลังคลอด” เป็นกิจกรรมที่ฮิตมากในหมู่คนจีนเจนวายที่มีฐานะ แพ็กเกจเหล่านี้อาจมีราคาสูงถึง 200,000 หยวน (ประมาณ 1 ล้านบาท) ต่อเดือน โดยเป็นแพ็กเกจที่จะพาคุณแม่ชาวจีนบินไปยังสถานฟื้นฟูหลังคลอดในสิงคโปร์

ในสถานฟื้นฟูที่คุณแม่จะเข้ามาพักต่อเนื่องหลายเดือน จะมีเจ้าหน้าที่ พี่เลี่ยงเด็ก และเชฟคอยดูแลเรื่องจำเป็นที่เกี่ยวกับคุณแม่และทารกตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมบุตร การอาบน้ำสมุนไพร กายภาพบำบัด และแน่นอนว่าคุณแม่จะได้รับการปรนนิบัติด้วยอาหารหรูทุกมื้อ ขณะที่มีพยาบาลคอยดูแลทารกให้

9.แต่งบ้านแบบสุดหรู

คนจีนเจนวายมักจะลงทุนกับการแต่งบ้านเพื่อยกระดับการอยู่อาศัยและคุณภาพชีวิต ทุกห้องในบ้านจะต้องมีดีไซน์อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ การจัดไฟ หรือเครื่องประดับเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม

10.สนใจด้าน “เวลเนส” มากขึ้น

ชาวจีนรุ่นใหม่สนใจการบริการด้าน “เวลเนส” ในระดับลักชัวรีและสินค้าที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เช่น สกินแคร์ อาหารเสริม เสริมความงาม เป็นสินค้าที่ขายดีในจีนตั้งแต่เกิดโควิด-19 ขึ้น

คนจีนที่มีฐานะรุ่นเจนวายถือว่าการไปคลินิกเวลเนสต่างๆ มีความสำคัญลำดับแรกๆ ไม่ใช่แค่เพื่อความงาม แต่ยังหมายถึงการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีด้วย

 

Source

]]>
1474600
COVID-19 ดันความรวย ประเทศจีน มีจำนวน ‘เศรษฐีพันล้าน’ เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1321490 Tue, 02 Mar 2021 09:38:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321490 โรคระบาดไม่ได้ฉุดความรวยของเศรษฐีจีน’ เเต่กลับเป็นตัวส่งเสริม’ ทรัพย์สินของพวกเขาให้เพิ่มพูนมากขึ้น สวนทางเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนคนรวยร้าวลึก

ในปี 2020 ที่ผ่านมา ประเทศจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ-Billionaire’ (ราว 3 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 259 คน ด้วยอานิสงส์ธุรกิจดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ เเละเกมออนไลน์ที่ความนิยมพุ่งกระฉูด รวมถึงตลาดหุ้นที่เฟื่องฟูเเละการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของหลายบริษัท ช่วยชดเชยหายนะจาก COVID-19

จากรายงานของ Hurun Global Rich List พบว่า จำนวนของเศรษฐีของจีนในปี 2020 รวมกันเเล้วมากกว่าของทั้งโลกรวมกัน โดยจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านกว่า 1,058 คน นับเป็นประเทศแรกในโลกที่มีตัวเลขเกิน 1,000 คน ทั้งห่างอันดับ 2 อย่างสหรัฐอเมริกา ที่มีจำนวนมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นอีก 70 คน รวมเป็น 696 คน

โดยผู้ครองเเชมป์มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีนตามรายงานนี้ คือจง สานส่านเจ้าของกิจการน้ำดื่มหนงฟู สปริง’ (Nongfu Spring) ที่เพิ่งโค่นมูเกช อัมบานีนักธุรกิจอินเดียไปหมาดๆ ด้วยทรัพย์สินรวม 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีรวยที่สุดในเอเชีย เเละติด 1 ใน 10 ของโลกไปหมาดๆ

จง สานส่าน เจ้าของน้ำดื่ม Nongfu Spring

เขาได้รับว่าฉายาว่าหมาป่าเดียวดายเนื่องจากเป็นคนชอบเก็บตัว ต่างจากผู้นำธุรกิจรายใหญ่อื่นๆ ของจีน และเขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนในจีน ที่สามารถสร้างบริษัทมูลค่ามากกว่าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ถึง 2 บริษัท

ความรุ่งเรืองของจง สานส่านในปีที่ผ่านมา สวนทางกับเศรษฐีจีนชื่อก้องโลกอย่างแจ็ค หม่าที่อันดับความรวยลดลง หลังมีข้อขัดเเย้งกับรัฐบาลจีนในประเด็นผูกขาดทางการค้า อีกทั้งยังโดนสกัดการเสนอขายหุ้นครั้งแรกแก่ประชาชน (IPO) ของบริษัทฟินเทคในเครืออย่าง Ant Group ซึ่งเคยถูกประเมินว่าจะเป็นหุ้น IPO ที่ระดมทุนได้สูงสุดในโลก 

ในการสำรวจนี้ ยังพบว่า มหาเศรษฐี Elon Musk ซีอีโอของ Tesla , Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งของ Amazon และ Colin Huang จาก Pinduoduo หนึ่งในอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเร็วที่สุดของจีน มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปีเดียว

Elon Musk ซีอีโอของ Tesla / Photo by Kevork Djansezian/Getty Images

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เเซงหน้าหลายประเทศ อีกทั้งในปีที่ผ่านมาก็สกัดความเสียหายจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้รวดเร็วทำให้มีจำนวนมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ด้านรายงานขององค์การ Oxfam ระบุว่า เกือบทุกประเทศในโลก มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

เมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาด พบว่ามีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

 

 

ที่มา : AFP

]]>
1321490
ชาวเน็ตถามหา “เเจ็ค หม่า” หายไปไหน? ท่ามกลางมรสุม Ant Group กับรัฐบาลจีน https://positioningmag.com/1312991 Tue, 05 Jan 2021 11:27:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312991 การหายหน้าหายตาไปนานกว่า 2 เดือนของมหาเศรษฐีจีนชื่อก้องโลกอย่างเเจ็ค หม่ากลายเป็นประเด็นร้อนที่ชาวเน็ตเเละสำนักข่าวทั่วโลกกำลังถามหา

เเจ็ค หม่า สร้างชื่อจากการปลุกปั้นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ “Alibaba” เรื่องราวชีวิตของเขา เป็นเเรง
บันดาลใจให้ผู้คน จากครูยากจนสู่คนรวยระดับท็อป 20 ของโลก มีทรัพย์สินกว่า 1.5 ล้านล้านบาท

แม้ในปี 2019 เขาจะลาออกจากตำแหน่งประธานบริหารของ Alibaba ไปแล้ว พร้อมทยอยเทขายหุ้นเรื่อยๆ เพื่อเดินหน้าไปทำงานการกุศล เเต่ก็ยังไม่ได้วางมือจากการดูเเล Ant Group ฟินเทคเจ้าของ ‘Alipay’ แอปพลิเคชันชำระเงินและบริการออนไลน์สุดฮิตของคนจีนที่มีผู้ใช้งานหลายร้อยล้านคน

อนาคตของ Ant Group (เเอนท์ กรุ๊ป) ดูเหมือนจะไปได้สวย เคยถูกประเมินว่าจะดมทุนได้ถึง 3.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา จนกระทั่งกลายเป็น “IPO ตกสวรรค์หลังถูกรัฐบาลจีน “เบรก” กะทันหันก่อนเปิดขายหุ้นให้เเก่สาธารณชนเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุว่ามีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน

ความชุลมุนวุ่นวายระหว่าง Ant Group เเละรัฐบาลจีนภายใต้การนำของสีจิ้นผิงจุดประเด็นข้อสงสัยในการไม่ปรากฏตัวของเเจ็ค หม่าในตอนนี้

Ant Group กับการหายตัวของตัวแจ็ค หม่า 

สำนักข่าวต่างประเทศโยงเหตุการณ์ IPO ตกสวรรค์ เข้ากับ “คำพูด” ของแจ็ค หม่า ที่ได้เเสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์บนเวทีการประชุมในเมืองเซี่ยงไฮ้ เกี่ยวกับ “ระบบธนาคารจีน” อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียโอกาสรับทรัพย์มหาศาลไปในพริบตา

โดย แจ็ค หม่า บอกว่าระบบการเงินและกฎระเบียบด้านการเงินของทางการจีนในปัจจุบัน ขัดขวางการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงินของประเทศ ที่จำเป็นต้องมีการ “ปฏิรูป” เพื่อให้มีการเติบโตไปได้

เขายังบอกอีกว่า ธนาคารจีนเป็นเหมือน “โรงรับจำนำ” ที่ต้องใช้หลักประกันมูลค่าสูง ผลคือบางบริษัทต้องตัดสินใจลงทุนให้ใหญ่เกินและต้องห้ามล้มเหลว

มีข่าวลือว่าประธานาธิบดีสีจิ้นผิงไม่ค่อยพอใจที่เเจ็ค หม่าพูดในแง่ลบถึงระบบการเงินของประเทศจีน

เเต่หลายสื่อเห็นว่าคำพูดของเเจ็ค หม่า “ไม่ได้เกินจริง” เพราะธนาคารจีนมักไม่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้รายย่อย ทำให้ SMEs จีนไม่ค่อยมีโอกาสลงทุนแบบสมตัวนัก 

นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ความเคลื่อนไหวของทางการจีน ตีความได้ว่าเป็นการ “สั่งสอน” มหาเศรษฐีแจ็ค หม่า ให้รู้ว่าอำนาจรัฐในการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ  ซึ่งข่าวนี้กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนไม่น้อย เเละอาจมีผลต่อการพิจารณาซื้อหุ้นทั้งของ Ant Group เเละ IPO อื่นๆ ของจีนด้วย เพราะเกรงว่าต่อไปทางการจีนก็อาจเข้ามาเเทรกเเซงเช่นนี้ได้อีก 

โดยความคืบหน้าตอนนี้ Ant Group เพิ่งเริ่มต้นปรับโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับฯ ซึ่งมีกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจด้านฟินเทค อย่างการให้สินเชื่อส่วนบุคคล 

งานหินของ Ant Group คือการต้องเจรจากับหน่วยงานที่รัฐบาลจีนจัดตั้งขึ้นเพื่อดูเเลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทั้งผู้ควบคุมระบบการเงิน หน่วยงานของธนาคารกลาง และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่จะเข้ามาอัปเดตเเละรวมรวบข้อมูลต่างๆ ของบริษัท เพื่อนำไปสู่การร่างกฎระเบียบอื่นๆ ในอุตสาหกรรมฟินเทค

Bloomberg เคยคาดการณ์ว่า ร่างกฎระเบียบสำหรับผู้ให้กู้รายย่อย ที่ทางการจีนเพิ่งประกาศออกมาเมื่อเดือนพ.อาจเป็นการบังคับให้ Ant Group ต้องเพิ่มเงินทุนถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บริษัทผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด

นอกจากนี้ Ant Group ยังต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่สำหรับแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมขนาดย่อม เบื้องต้นอีก 2 แพลตฟอร์ม อย่าง Huabei และ Jiebei ซึ่งคาดว่าหน่วยงานกำกับฯ ไม่น่าจะอนุมัติใบอนุญาตทั้ง 2 ใบให้กับบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าใหญ่เช่นนี้

ยังไม่หมด Ant Group ยังจะต้องยื่นขอใบอนุญาตบริษัทโฮลดิ้งทางการเงินแยกต่างหากจากธนาคารกลาง เพราะมีการทำงานครอบคลุมส่วนงานการเงินมากกว่า 2 ส่วน ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ

อุปสรรคมากมายเหล่านี้ ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ไม่ได้เป็นเเผนการใหญ่ลำดับต้นๆ ของ Ant Group อีกต่อไป (อย่างน้อยก็ในช่วง 2 ปีนี้)

ก่อนสิ้นปี 2020 ยังไม่วายที่ Ant Group จะถูกรัฐบาลจีนซัดอีกรอบ เมื่อรายงานหน่วยงานการเงิน ต้องการจะมากำกับธุรกิจ Ant Group โดยอาจจะถึงขั้นยกเลิกบริการให้เงินกู้และอื่นๆ ให้เหลือเพียงธุรกิจรับชำระเงินเท่านั้น

เมื่อ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีนประกาศสอบสวนบริษัทเเม่ของ Ant Group อย่าง Alibaba ในข้อกล่าวหาว่ามีแนวโน้มผูกขาดอีคอมเมิร์ซในจีน เเละการปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกันผ่านระบบออนไลน์ของ Ant Group อาจส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารจีน 

ด้าน Ant Group ยืนยันว่ากำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยกับทางหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของจีน เพื่อให้ธุรกิจทำตามหลักการ และเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ในอนาคต

การหายตัวไปจากพื้นที่สาธารณะของเเจ็ค หม่าถูกจุดประเด็นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม หลังเขาไม่ได้ไปเข้าร่วมรายการธุรกิจที่เป็นหนึ่งในกรรมการตัดสิน ตามกำหนดออกอากาศเดิม

โดยโฆษกของ Alibaba ชี้แจ้งกับสำนักข่าว Reuters ถึงกรณีที่ไม่ได้มาออกรายการนั้นว่า เป็นเพราะมีปัญหาด้านตารางงานที่ไม่ตรงกัน

หลายคนมองว่า การหายไปของมหาเศรษฐีจีนผู้นี้ อาจเป็นการเก็บตัวเงียบเพื่อต่อรองอะไรบางอย่างกับรัฐบาลจีน หรืออาจจะมีอะไรที่พูดไม่ได้ หรืออาจไม่ได้มีอะไรมากกว่านั้น

และนี่คือคืออัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับมหาเศรษฐีเเจ็ค หม่าที่กำลังเป็นปริศนาอยู่ตอนนี้

 

 

ที่มา : Aljazeeranytimes , Reuters , ibtimes 

 

]]>
1312991
รวยเเล้วรวยอีก! วิกฤต COVID-19 ดัน “มหาเศรษฐีจีน” มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1302773 Thu, 22 Oct 2020 05:19:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302773 มหาเศรษฐีจีนรวยขึ้นสวนเศรษฐกิจโลก รับอานิสงส์ความมั่งคั่งจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซเกมออนไลน์ที่ความนิยมพุ่งกระฉูด ในช่วงล็อกดาวน์สกัด COVID-19

Huran Report จัดอันดับความร่ำรวยของเศรษฐีจีนล่าสุด พบว่า เหล่ามหาเศรษฐีจีน มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ  (ราว 47  ล้านล้านบาท) ในปี 2020 มากกว่าตัวเลขรายได้จาก 5 ปีที่ผ่านมารวมกัน

ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ยังทำให้เกิดมหาเศรษฐีจีนหน้าใหม่ ที่มีความมั่งคั่งระดับพันล้านเพิ่มขึ้นอีก 257 คน เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากจำนวนเศรษฐีพันล้านรายใหม่ไม่เพิ่มขึ้นมา 2 ปีติดกัน

จีนเป็นชาติมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ปัจจุบันมีมหาเศรษฐีพันล้านอยู่ 878 คน ขณะที่สหรัฐฯ มีมหาเศรษฐีพันล้านอยู่ที่ 626 คน ตามจัดอันดับมหาเศรษฐีพันล้านทั่วโลก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

อีกประเด็นที่น่าสนใจใน Huran Report ฉบับล่าสุด คือชาวจีนราว 2,000 คนมีทรัพย์สินส่วนตัวมากกว่า 2,000 ล้านหยวน (ราว 9,450 ล้านบาท) โดยทรัพย์สินของคนกลุ่มนี้รวมกันจะอยู่ที่ราว 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 126 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

Photo : Shutterstock

แจ็ค หม่าผู้ก่อตั้งอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ “Alibaba” กลับมาคืนตำเเหน่งอันดับ 1 อีกครั้ง โดยมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นถึง 45% มาอยู่ที่ 5.88 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หลังการระบาดของ COVID-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมาช้อปปิ้งออนไลน์กันอย่างคึกคัก

อันดับ 2 ตามมาติดๆ คือโพนี หม่าเจ้าของอาณาจักรเทคโนโลยี “Tencent” บริษัทเกมรายใหญ่และเเอปพลิเคชัน Wechat มีทรัพย์สินอยู่ที่ 5.74 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ รวยขึ้นไปอีก 50% เเม้จะมีความกังวลกับกรณีการถูกเเบนในสหรัฐฯ หลังถูกรัฐบาลทรัมป์กล่าวหาว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติก็ตาม 

หม่า ฮั่วเถิง หรือ โพนี หม่า ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Tencent

ขณะที่อันดับ 3 เป็นการติดอันดับครั้งเเรกของ “จง ชานชานผู้โด่งดังมาจากน้ำดื่มบรรจุขวดตราหนงฟู่หลังจากทำไอพีโอที่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อเดือน ก.. ทำให้ความมั่งคั่งของเขาพุ่งอยู่อันดับ 3 ทันที ด้วยสินทรัพย์ราว 5.37 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

“จง ชานชาน” ผู้ก่อตั้งบริษัท “หนงฟู่ สปริง” น้ำแร่บรรจุขวดในประเทศจีน

เมื่อเหล่าเศรษฐีกำลังรวยขึ้นไปอีกจากสถานการณ์ COVID-19 เเต่ปัญหาการว่างงานเเละเศรษฐกิจที่หดตัว ทำให้ธนาคารโลกเตือนว่าการระบาดใหญ่ อาจเพิ่ม “ความไม่เท่าเทียมกัน” ของรายได้ และผลักดันให้ผู้คนมากถึง 115 ล้านคนเข้าสู่ความยากจนในปีนี้

โดยเศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวได้ดี รอดพ้นภาวะถดถอย ขณะที่หลายประเทศทั่วโลก ยังคงต้องหาทางออกจากความวุ่นวายของผลกระทบจาก COVID-19 โดย GDP ในไตรมาส 3 เติบโต 4.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากไตรมาส 2/2020 ขยายตัว 3.2% เเต่ในไตรมาสแรกของปีนี้ติดลบ 6.8% ทำให้ GDP โดยรวมงวด 9 เดือนแรกของปีนี้ เศรษฐกิจจีนขยายตัวอยู่ที่ 0.7%

อย่างไรก็ตาม การขยายตัว 4.9% ของ GDP จีน ก็เป็นการขยายตัวที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของเหล่านักวิเคราะห์ที่ประเมินไว้ว่าจะขยายตัว 5.2% ในไตรมาส 3 สะท้อนว่าจีนยังต้องจัดการกับปัญหาที่ท้าทายเเละมีปัจจัยไม่แน่นอนจำนวนมาก

โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า จีนจะเป็นเศรษฐกิจใหญ่ของโลกเพียงแห่งเดียวที่ GDP เป็นบวกได้ในปีนี้ โดยประเมินว่าจะขยายตัวที่ 1.9% ก่อนที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 26.8% ในปี 2021

 

ที่มา : CNBC , AFP

 

]]>
1302773
“หม่า ฮั่วเถิง” แห่ง Tencent แซง “แจ็ค หม่า” ขึ้นเป็นเศรษฐีที่รวยที่สุดของจีน https://positioningmag.com/1285423 Fri, 26 Jun 2020 16:41:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285423 หม่าหนึ่งขึ้นอีกหม่าหนึ่งลง! “หม่า ฮั่วเถิง” ซีอีโอและผู้ก่อตั้งอาณาจักร Tencent ขึ้นเป็นเศรษฐีที่รวยที่สุดของจีน จากการจัดอันดับโดย Bloomberg Billionaires Index แทนที่ “แจ็ค หม่า” ผู้ก่อตั้ง Alibaba ยักษ์อีคอมเมิร์ซจากแดนมังกร

ล่าสุด หม่า ฮั่วเถิง หรือ โพนี หม่า ซีอีโอ Tencent ได้รับการประเมินสินทรัพย์ไว้ที่ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แซงหน้า แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้ง Alibaba ซึ่งมีสินทรัพย์ 4.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ฝั่งเจ้าของบริษัทอินเทอร์เน็ตกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีนแทนที่แชมป์เก่า

สาเหตุที่สินทรัพย์ของหม่า ฮั่วเถิงพุ่งสูง เกิดจาก ราคาหุ้นของ Tencent ที่ทะยานขึ้นในสัปดาห์นี้ หลังจากที่เคยหล่นไปสู่ราคาต่ำสุดเมื่อปี 2018 จากวันนั้นถึงวันนี้หุ้นของ Tencent ขยับขึ้นมาเกือบ 2 เท่า เฉพาะปี 2020 หุ้นของบริษัทนี้ปรับขึ้นถึง 31% เทียบกับ Alibaba ที่ขึ้นมาเพียง 6.9% อย่างไรก็ตาม บริษัท Pinduoduo ของ โคลิน หวง เศรษฐีอันดับ 3 ของจีนก็มาแรงไม่แพ้กัน โดยหุ้นของ Pinduoduo ปรับขึ้นไปแล้วเท่าตัวในปีนี้

หม่า ฮั่วเถิงนั้นยังคงถือหุ้น 7% ในบริษัท ดังนั้นเมื่อหุ้น Tencent ทะยาน มูลค่าสินทรัพย์ของเขาก็ทะยานตามไปด้วย

แจ็ค หม่า มหาเศรษฐีอันดับ 2 ของจีน

นอกจากนี้ บริษัทเพิ่งจะรายงานเมื่อเดือนก่อนว่า รายได้ไตรมาสแรกของ Tencent สูงขึ้น 26% เทียบกับปีก่อน โดย Bloomberg Intelligence วิเคราะห์ว่า เป็นเพราะโรคระบาด COVID-19 ไม่กระเทือนรายได้ของ Tencent และยังส่งให้ธุรกิจเกมของบริษัทเติบโตแข็งแรงขึ้น

ประวัติของมหาเศรษฐี หม่า ฮั่วเถิง ก่อนหน้าที่จะก่อตั้งบริษัท Tencent ขึ้นในปี 1998 เขาเรียนจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และวิศวกรรมประยุกต์ จากมหาวิทยาลัยเสิ่นเจิ้น และเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับระบบเพจจิ้งของบริษัท China Motion Telecom Development Limited ซึ่งให้บริการโทรคมนาคมและอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องในประเทศจีน

สำหรับ Tencent นั้น มีบริการที่เป็นแกนหลักและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือแอปพลิเคชันแชท WeChat จากนั้นจึงขยายอาณาจักรไปสู่สินค้า “ดิจิทัล คอนเทนต์” อื่นๆ เช่น เกมออนไลน์ สตรีมมิ่งวิดีโอ ไลฟ์สตรีมมิ่ง ข่าว สตรีมมิ่งดนตรี ฯลฯ ในกลุ่มเกมอออนไลน์นั้น Tencent มีเกมดังๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น PUBG Mobile, League of Legends หรือ Honour of Kings

Source: Business Insider, Times of India

]]>
1285423
คนไทยเงินไม่ถึง ก็พึ่ง “เศรษฐีจีน” แทน ผ่าเทรนด์ร้อนอสังหาฯ ทุนมังกรหอบเงินลงทุนพัฒนา-ซื้อคอนโด “บิ๊กล็อต” https://positioningmag.com/1166456 Thu, 19 Apr 2018 09:45:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1166456 สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2560 ด้าน “ดีมานด์” และ “ซัพพลาย”  ไม่ได้โตหวือหวา เพราะยังเป็นปีที่เผชิญเศรษฐกิจ กำลังซื้อชะลอตัว แต่ปี 2561 อสังหาฯ เห็นสัญญาณ “ขาขึ้น” ทั้งจำนวนที่อยู่อาศัยที่พัฒนาขึ้น และผู้ซื้อเองก็ขนเงินมาลงมากขึ้น และยุคนี้ถ้า “พึ่ง” เศรษฐีไทย คนมีเงินหนามาซื้ออสังหาฯ ในประเทศไม่ได้  “เศรษฐีจีน” ยังเป็นคำตอบขุมทองทำให้ดีเวลลอปเปอร์ทำเงิน และถือเป็น ใน เทรนด์ร้อนของอสังหาฯ ปี 2561

พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่ซื้ออสังหาฯ นอกจากตอบโจทย์ปัจจัย คือเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีการซื้อเพื่อลงทุนหรือเก็งกำไรด้วย แต่หลายปีที่ผ่านมา “ทุนแดนมังกร” กลับเข้ามามีบทบาทในการซื้ออสังหาฯ ในไทยมากขึ้น และไม่ได้ซื้อกันแค่ห้องสองห้องเท่านั้น แต่กลับซื้อเป็น “บิ๊กล็อต” ยกตึกตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด 49%

“นลินรัตน์ เจริญสุพงษ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ให้เหตุผลที่ทุนจีนบุกหนักยึดลงทุนซื้อคอนโดในไทยเกือบยกตึก เพราะต้องการตอบโจทย์ชาวจีนที่เดินทางมาเที่ยวไทยมากขึ้นหลัก 10 ล้านคนต่อปี จึงต้องใช้ที่อยู่เหล่านั้นเป็นทั้งบ้านหลังที่ และแหล่งพักผ่อนช่วงฮอลิเดย์นั่นเอง            

นอกจากนี้ ถ้าเทียบราคาที่อยู่อาศัยในไทย ต้องยอมรับว่ายัง “ถูก” กว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งในฮ่องกง สิงคโปร์ จึงทำให้มีการเข้ามาซื้อเพื่อตอบโจทย์การลงทุน และเมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุน “จีน” ไม่ปักหลักเทเงินในประเทศเดียวแต่ต้องกระจายความเสี่ยงไปหลายๆ ตลาด และหากอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำก็ต้องโยกเงินไปยังตลาดที่ดอกเบี้ยดีกว่าแทน

ไม่ใช่แค่ทุนจีนที่ขนเงินมาซื้อคอนโดในไทย แต่ยังมีทั้งฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่นด้วย ส่วนโปรเจกต์ที่ “เนื้อหอม” จนเตะตาผู้ซื้อรายใหญ่ได้แก่ โครงการ “พาร์ค 24 ของออริจิ้น และ “ฮาร์เบอร์ เรสซิเดนซ์” ส่วนปีก่อนๆ โครงการที่ขายยกล็อตมีทั้ง

โครงการคอนโดมิเนียมที่ถูกทุนต่างชาติซื้อบิ๊กล็อตมีทุกเซ็กเมนต์ ตั้งแต่ลักชัวรี ไฮเอนด์ และระดับกลางบน ส่วนใหญ่เป็นยูนิตขนาด 1-2 ห้องนอน เพราะปล่อยง่าย

“นลินรัตน์ เจริญสุพงษ์”กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

ขนเงินมาซื้อไม่พอเพราะทุนข้ามชาติยังเข้ามาพัฒนาโครงการด้วย เป็นอีก “เทรนด์ฮอต” ไม่แพ้กัน เช่นเดิมจีนยังเป็น “ขาใหญ่” ระดมเงินมาลงทุนพัฒนาโครงการเองโดยไม่พึ่งบริษัทไทยชื่อดังเพื่อร่วมทุนอีกต่อไป โดยไตรมาสแรกเทเงินแล้วกว่า หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นห้องชุดราว 20% ของตลาด เรียกว่าเข้ามาไม่นาน แต่แย่งแชร์ไปได้ไม่น้อยทีเดียว  

ขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งเคยเป็นยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาลงทุนอสังหาฯ ก็ยังคงร่วมทุนผุดโปรเจกต์ที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ไม่ต่ำกว่า 4-5 โครงการ

“เดิมทุนญี่ปุ่นเมื่อเข้ามาลงทุในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานหรืออินฟราสตรัคเจอร์ ก็ทำให้คุ้นเคยตลาดและลงทุนพัฒนาอสังหาฯ ต่อ เช่นเดียวกับทุนจีนที่ได้เข้ามาลงทุนด้านอินฟราสตัคเจอร์ เมื่อเห็นโอกาสก็เข้าไปพัฒนาที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม”

4 ทุนข้ามชาติบุกลงทุน-ซื้ออสังหาฯ ในไทย เฉพาะจีนลงทุนคอนโดจนกินสัดส่วนตลาด 20%

ส่วนเทรนด์ที่ 3 ทุนไทยที่พัฒนาโครงการอสังหาฯ ปีนี้เห็นผู้ประกอบการ “รายกลาง” และ “หน้าใหม่” ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้ามาแบ่งเค้กคอนโดได้ 38% จากเดิม “บิ๊กเนม” ในตลาดฯครองตลาดถึง 70% แต่ไตรมาสแรกลดเหลือ 62% โดยกลยุทธ์ที่รายกลางลุยอสังหาฯ จะเน้นพัฒนาคอนโด เพราะขึ้นโครงการและรับรู้รายได้เร็ว ปิดปุ๊บมูฟต่อโครงการใหม่ได้เลย ซึ่งสวนทางกับรายใหญ่ที่ปีนี้เน้นพัฒนาโครงการแนวราบทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และหารายได้ประจำ (Recurring Income) ด้วยการพัฒนาโรงแรมและอาคารสำนักงานมากขึ้น รวมถึงการลงทุนในต่างประเทศ

เทรนด์ที่ หน้าใหม่ที่เข้ามาลงทุน เพราะมีแบ็กดีมีเงินถุงเงินถังจากธุรกิจครอบครัว จึงพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวใหม่ ทั้งโฮสเทล บูทีคโฮเทล คอนโดและบ้านพักระดับหรู ตลอดจน Co-working space และ Lifestyle Retail เพื่อตอบโจทย์ตลาดใหม่ๆ และสร้างความคล่องตัวในการลงทุน ต้นทุนการบริหารจัดการต่ำ

เทรนด์ที่ 5 บรรดาบริษัทอสังหาฯ มีการนำเทคโนโลยีมาสร้าง Platform ตอบสนองไลฟ์สไตล์และอำนวย “ความสะดวก” ให้ผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะป็นแสนสิริ อนันดา ที่นำแอปพลิเคชั่นมาใช้สั่งงานช่างซ่อมต่างๆ มีหุ่นยนต์รับของแทนคน เป็นต้น

เทรนด์ที่ 6 สถานการณ์ตลาดคอนโดมิเนียมไตรมาส ปี 2561 มีโครงการเกิดใหม่ 31 โครงการ จำนวน 14,094 ยูนิต ส่วนทั้งปีคาดว่าจะมีโครงการใหม่เพิ่มกว่า หมื่นหน่วย ส่งผลให้มีจำนวนคอนโดสะสมอยู่ที่ 564,000 ยูนิต และมีอัตราการดูดซับไปแล้ว 90%

จำนวนคอนโดในไตรมาส 1 และแนวโน้มทั้งปี

ทั้งนี้ จากราคาที่ดินใจกลางเมืองพุ่งปรี๊ด ส่งผลให้ผู้พัฒนาหาที่ดินพัฒนาโครงการใหม่ยากขึ้น คอนโดที่ผุดใหม่ดังกล่าวจึงกระจายตัวอยู่ในโซนสุขุมวิทตอนปลาย ตั้งแต่สุขุมวิท 71 จนถึงแบริ่งราว 29% โซนพญาไท-รัชดาภิเษก-พระราม 9 ราว 23% โซนตากสิน เพชรเกษม 17%

ส่วนครึ่งปีหลังคาดว่าจะเห็นโครงการใหม่เกิดขึ้นบริเวณแจ้งวัฒนะ และ รามอินทรามากขึ้น เพราะการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น 

ที่น่าสนใจคือราคาที่ดินที่ซื้อแพง และทุบสถิติกันตั้งแต่ตารางวางละ ล้านบาทไปจนถึง ล้านบาทแล้ว ทำให้สิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า ราคาคอนโดมิเนียมในกลุ่มซูเปอร์ลักซัวรีกลางเมืองที่เปิดตัวราคาตารางเมตรละ 400,000 บาท จะมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ เรีกยว่าขยับขึ้นราว 10% ในขณะที่ตลาดซิตี้คอนโดซึ่งขยายตัวบริเวณส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ราคายังนิ่งไม่พุ่งขึ้นแรงนัก เพราะราคาที่ดินยังไม่สูงเว่อร์

ส่วนเทรนด์ที่ ตลาดที่อยู่อาศัยใน “ครึ่งปีหลัง” ยังคงเห็นความเติบโต โดยเฉพาะ “ทุนข้ามชาติ” ยังเข้ามามีบทบาทเกลื่อนตลาด ส่วน “ราคา” ที่อยู่อาศัยยังคงเห็นการปรับตัวสูง ตามต้นทุนราคาที่ดิน และทำเลทอง “ทองหล่อ” ที่ฮิต ก็จะถูกขยับไปยังเอกมัยมากขึ้น ยิ่งถ้าทำเลทองสุขุมวิท 31-49 ราคาแพง ผู้ประกอบการจะขยับเข้าในซอยมากขึ้น และพัฒนาคอนโดมิเนียมขนาดเล็ก เป็นอาคารโลว์ไรส์สูง 7 – 8 ชั้น และหน้าใหม่ยังคงเข้ามาเล่นเกมในเรียลเซ็กเตอร์ต่อเนื่อง.

]]>
1166456