สำหรับโครงการ ‘7 GO Green’ นั่นเริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อหวังลดและเลิกใช้ ‘ถุงพลาสติก’ ที่ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น โดยปล่อยเเคมแปญ “ลดวันละถุง…คุณทำได้” ออกมาในปีช่วงปลายปี 2561
โดยในปีนี้บริษัทจะสานต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เป็น ‘รูปธรรม’ มากขึ้น ผ่าน 4 ด้านหลักๆ ประกอบด้วย Green Building , Green Store , Green Logistic และ Green Living เพื่อลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีนี้รวม 128,426 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tC02e) หรือเปรียบเทียบการปลูกต้นไม้ยืนต้นจำนวน 347,648 ต้น
ทั้งนี้ เซเว่น-อีเลฟเว่น เปิดให้บริการกว่า 12,400 สาขา โดยในปี 2564 นี้ จะมีการทุ่มงบลงทุนในร้านสะดวกซื้ออีก 1.2 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายให้ได้เป็น 13,000 สาขา เเละก้าวสู่เป้าหมาย 20,000 สาขาให้ได้ต่อไป
ซีพี ออลล์ จะเน้นออกแบบและบริหารจัดการผ่านคอนเซ็ปต์ ‘ร้านเพื่อสิ่งแวดล้อม’ ลดใช้พลังงานต่างๆ เช่น ปรับปรุงคอยล์เย็น สำหรับตู้แช่เย็นขนาดใหญ่ , เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเป็นประเภท Inverter , ใช้หลอดไฟ LED, ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, โครงการปรับปรุงระบบทำความเย็นของตู้แสดงสินค้า ชนิดไร้บานประตูเป็นแบบรวมศูนย์, โครงการ Knockdown Store นำวัสดุเปลือกอาคารกลับมาใช้ใหม่ และ โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
จะเน้นไปที่การออกแบบ ‘บรรจุภัณฑ์’ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีในร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ลดปริมาณขยะพลาสติก ผ่านแนวคิด “ลด และ ทดแทน” เช่น พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง, โครงการเสื้อพนักงานที่ผลิตจากขวดพลาสติกรีไซเคิล
นอกจากนี้ จะประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกค้า ALL member ที่มีอยู่ราว 10 ล้านคน หันมาใช้ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดประมาณการใช้กระดาษ
“ปัจจุบันมียอดใช้จ่ายมากถึง 150 ล้านใบเสร็จต่อเดือน เมื่อนำมาต่อกันคิดเป็นความยาวรอบโลกได้ราว 3 รอบ เป็นขยะกระดาษจำนวนมาก”
จะเน้นไปที่การรณรงค์สร้างจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม เชิญชวนลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง โดยล่าสุดจะจัดให้มี “ถังคัดแยกขยะ” ในทุกสาขาของเซเว่น-อีเลฟเว่น ค่อยๆ สร้างการรับรู้ให้ให้คนไทยช่วยกันคัดแยกขยะพลาสติก เพื่อนำขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy
จะเน้นไปที่การขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศที่มีอยู่ทั้งหมด 20 แห่งใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ และได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
ล่าสุด ซีพี ออลล์กำลัง ‘ศึกษาพัฒนารถขนส่งด้วยรถยนต์ไฟฟ้า’ โดยเจรจากับผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในการขนส่งของบริษัท จากปัจจุบันที่มีรถขนส่งอยู่กว่า 7,000 คัน ใช้วิ่งรับส่งสินค้าอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน
นอกจากนี้ บริษัทตั้งเป้าจะติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า(EV) หน้าร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นที่มีพื้นที่จอดรถให้ลูกค้า จำนวน 100 สาขาภายในปีนี้ โดยจะมีให้บริการทั้งเเบบ ‘ชาร์จเร็ว’ (Quick Charge) ใน 30 นาที หรือเเบบชาร์จช้าที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง เพื่อรองรับเทรนด์พลังงานสะอาดที่ผู้บริโภคหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
เป็นที่น่าจับตาว่า การกระจายสถานีชาร์จรถไฟฟ้าให้แพร่หลายผ่านร้านสะดวกซื้อ จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทยได้ดีทีเดียว โดยก่อนหน้านี้ บริษัทพลังงานอย่าง ‘เชลล์’ ก็จับมือกับ BMW เปิดตัว Shell Recharge จุดชาร์จ EV แห่งแรกในไทย
ขณะที่เจ้าใหญ่อย่าง ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เผยว่า บริษัทมีแผนจะเปิดประมูลจัดหาอุปกรณ์ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ในปีนี้เพิ่มเป็น 100 แห่งทั่วประเทศเน้นหัวเมืองหลักในแต่ละจังหวัด ในรูปแบบ Quick Charge ซึ่งจะใช้เวลาชาร์จประมาณ 20-25 นาทีต่อคัน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 ล้านบาทต่อสาขา และจะขยายปั๊มชาร์จไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 300 แห่งภายในปี 2565 จากปัจจุบันมีการติดตั้งแล้ว 30 สาขา
]]>
โดยจะเชื่อมเครือข่ายร้านอาหาร 16 แบรนด์ทำ Shop in Shop & Cross Sale ไปพร้อมๆ กับการมองหาพาร์ตเนอร์ ‘สตรีทฟู้ด-SMEs’ ทุ่มพันล้านขยายสาขา-รีโนเวตระบบหลังบ้าน ลุ้นเปิดร้านอาหารใหม่เพิ่มอีก 2-3 แบรนด์ พร้อมลงสนาม ‘กัญชา-กัญชง’
ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) เล่าว่า เเม้ธุรกิจอาหารจะปรับตัวโดยการส่งเดลิเวอรี่ เเต่วิกฤตโรคระบาดกระทบธุรกิจไม่น้อย เพราะต้องขาดนักท่องเที่ยวเเละต้องปิดร้านชั่วคราวตามมาตรการรัฐ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปวิธีคิดเเละเเผนธุรกิจต่างๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย
ในปี 2020 CRG ทำยอดขายรวมได้ราว 10,100 ล้านบาท ลดลง 17% เมื่อเทียบกับปีที่เเล้ว ส่วนยอดขายออนไลน์อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นถึง 150%
โดยมองธุรกิจอาหารในไทยจะกลับมาฟื้นได้ในปีนี้ เเละหวังจะทำยอดขายให้ทะลุ 1.2 หมื่นล้านบาท เติบโต 18-20% เพิ่มจำนวนสาขาอีก 200 เเห่งเป็น 1,300 สาขา เน้นเปิด ‘สาขาเล็กๆ’ เเละโปรโมตผ่านออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง
ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา CRG ปรับกลยุทธ์ในการขยายโมเดลร้านค้ารูปแบบใหม่ๆ หาช่องทางการขายอื่นๆ นอกเหนือหน้าร้าน กลายเป็น ‘โมเดลร้านนอกห้าง’ เพื่อกระจายความเสี่ยง ลดการพึ่งพิงศูนย์การค้า
สำหรับมูลค่าตลาดธุรกิจร้านอาหารในไทย ล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 3.7 เเสนล้านบาท ลดลงราว 10% จากระดับ 4 เเสนล้านบาทในช่วงก่อนโรคระบาด โดยตลาดใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มร้านคาเฟ่ที่ราว 3 หมื่นล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่นราว 2.5 หมื่นล้านบาท เเละร้าน Hot-Pot ปิ้งย่างที่ราว 2 หมื่นล้านบาท
กลยุทธ์หลักๆ ของ CRG ในปีนี้ ยังเดินหน้าไปที่การ ‘ขยายสาขา’ เช่นเคย เเต่จะใช้รูปแบบร้านแนวใหม่ ‘Shop in Shop’ นำร่องเปิดเคาน์เตอร์อาริกาโตะร่วมกับร้านมิสเตอร์ โดนัท และใช้กลยุทธ์ Cross Sales ของทุกแบรนด์ในเครือ
ยกตัวอย่างเช่น การนำเมนูจาก บราวน์ คาเฟ่ (Brown Café) มาขายในร้านคัตสึยะ เพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่และตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะขยายสาขาที่มีบริการเเบบ Cross Sales เช่นนี้ได้มากกว่า 400 สาขา
ปัจจุบัน CRG มีเครือข่ายร้านอาหารทั้ง 16 แบรนด์ จำนวนสาขามากกว่า 1,100 สาขา พนักงานมากกว่า 10,000 คน และเมนูที่มีมากกว่า 800 เมนู เจาะลูกค้าทุกกลุ่มอายุ ทุกไลฟ์สไตล์
ภาคธุรกิจกระโดดลงมาชิงเค้กตลาด ‘กัญชา–กัญชง’ กันคึกคัก CRG เองก็ขานรับนโยบายปลดล็อกกัญชาเช่นกัน เปิดตัวอาหารไทย 10 เมนู ที่ปรุงจาก ‘ใบกัญชาออร์แกนิก’ โดยสั่งซื้อมาจากวิสาหกิจชุมชนผัก พืชสมุนไพรและพืชพลังงาน ตำบลพนมรอก จ.นครสวรรค์
ประเดิมวางขายในร้านของแบรนด์ไทยเทอเรส และ อร่อยดี ด้วยคอนเซ็ปต์ต้มยำทำเเกงเเบบ ‘เมนูรื่นรมย์’ มีเมนูที่น่าสนใจอย่าง ยำเชิญยิ้มวุ้นเส้น เเกงรัญจวนชวนยิ้ม ซุปไก่ซดเพลิน เเกงเลียงกุ้งสดอารมณ์ดี ฯลฯ
“ตอนนี้เราไม่ได้โปรโมตมากนัก เพราะห่วงกลุ่มลูกค้าที่ยังเป็นเยาวชน โดยถือเป็นตลาดที่น่าสนใจเเละคาดว่าจะได้รับความนิยมอย่างดีในระยะสั้น เเต่อย่างไรก็ต้องจับตาดูในระยะยาว ซึ่งจะมีการวางแผนขยายไปยังแบรนด์อื่นๆ ในเครือ CRG ต่อไป”
CRG จะรุกเข้าหาลูกค้าผ่านพื้นที่ชุมชนต่างๆ โดยปีนี้เตรียมเปิดตัว ‘Mobile Box Model’ ในสถานีบริการน้ำมันและมินิคีออส (Mini Kiosk) ต่อจากโมเดลร้านเดลโก้ (Delco) ที่เปิดตัวก่อนหน้านี้และขยายสาขาได้คล่องตัว
นอกจากนี้ จะต่อยอดโมเดล ‘แฟรนไชส์’ ที่เริ่มทำมาเเล้วกับแบรนด์ ‘อร่อยดี’ ที่มีทำเลเป้าหมาย คือ Non Mall, Residential Area, Stand alone
โดยในปีแรก มีจำนวนสาขาของบริษัท 25 สาขา และจำนวนสาขาแฟรนไชส์ 1 สาขา รวม 26 สาขา หลังจากนี้ปีที่ 2- 5 ตั้งเป้าหมายจำนวนสาขาของบริษัทต้องมีปีละ 10 สาขา
ส่วนจำนวนสาขาแฟรนไชส์ที่เปิดให้ผู้สนใจมาร่วมธุรกิจ ‘อร่อยดี’ ปีแรกตั้งเป้าที่ 35 สาขา ปีที่ 2-4 จำนวน 45 สาขา และปีที่ 5 จำนวน 54 สาขา รวมทั้งหมดจะเปิดให้ได้ 300 สาขาทั่วประเทศ แบ่งเป็น CRG 75 สาขาแฟรนไชส์ 225 สาขา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักของอร่อยดีนั้น กว่า 60% เป็นพนักงานออฟฟิศและทำธุรกิจส่วนตัว อายุระหว่าง 25 – 45 ปี
เเม้สงครามเดลิเวอรี่จะเเข่งขันดุเดือด เเต่ก็คุ้มค่า CRG วางเป้าหมายจะขยายจุดบริการให้ครอบคลุมมากที่สุดพร้อมกับการจับมือกับพาร์ตเนอร์รายใหม่ๆ โดยชูจุดเด่นเรื่องความสะอาด บริการเร็วเเละตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ตั้งเป้ายอดขายผ่านเดลิเวอรี่ปีนี้ อย่างน้อย 3,000 ล้านบาท (จากปี 2020 อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท)
ส่วนเป้าหมายของ ‘คลาวด์คิทเช่น’ (Cloud Kitchen) นั้น คาดว่าปีนี้จะขยายครบ 15 แห่งเเละกระจายไปทั่วประเทศให้ได้อย่างน้อย 50 แห่ง ภายในปี 2023
นอกจากนี้ จะลุยกลยุทธ์รุกช่องทางออนไลน์ ผ่านกลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมากขึ้น เน้นไปที่ O2O หรือ Online to Offline ผสานให้เป็น Omnichannel รวมไปถึงเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เช่น JD Central, Shopee และ LAZADA
CRG จะมีแบรนด์ร้านอาหารใหม่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2-3 แบรนด์ เเต่ยังไม่เปิดเผยว่าจะเป็นประเภทไหน โดยบอกเพียงว่า “เปิดกว้างเพื่อพาร์ตเนอร์รายใหม่ โดยเฉพาะ SMEs ที่หาโอกาสจะขยายธุรกิจให้ win-win ทั้งสองฝ่าย” ซึ่งมองว่าตอนนี้ ร้านอาหารเเนวสุขภาพก็มีเเนวโน้มเติบโตไปดี
ในปีที่ผ่านมา CRG เริ่มจับมือกับ ‘สลัดแฟคทอรี่’ (Salad Factory) เเละสามารถทำยอดขายผ่านช่องทางเดลิเวอรี่เติบโตถึง 400% เเละปีนี้ ตั้งเป้าผลักดันยอดขายรวมเติบโต 2 เท่า
ขณะเดียวกันก็จับมือกับ ‘โออาร์’ (OR) ขยายเครือข่ายร้านกาแฟ ‘คาเฟ่อะเมซอน’ ในประเทศเวียดนาม ล่าสุดเปิดสาขาแล้ว 5 แห่ง ภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน นับจากสาขาแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2020
CRG วางเเผนจะปรับพอร์ตธุรกิจ New Business ให้เพิ่มขึ้น จากสัดส่วน 7% ในปี 2019 ขยับมาที่ 22% ในปี 2020 จากอานิสงส์ COVID-19 เเละหวังว่าจะขยายให้เป็น 30% ได้ในปี 2030
สำหรับเเผนการลงทุนในปีนี้ CRG วางงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 1,000 ล้านบาท เเบ่งเป็นราว 600-700 ล้านบาทเพื่อใช้ในการขยายสาขา เเละอีกราว 300 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงเเละรีโนเวตระบบหลังบ้านใหม่ ส่วนอีกราว 3-4% จะเป็นงบการตลาด
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา CRG วางงบลงทุนไว้ที่ 1,300 ล้านบาท เเต่ด้วยวิกฤต COVID-19 ทำให้บริษัทใช้งบฯ ไปเพียง 470 ล้านบาทเท่านั้น ด้วยปีนี้มองว่าธุรกิจร้านอาหารในไทยจะกลับมาได้อีกครั้ง จึงตัดสินใจเพิ่มการลงทุน
สำหรับทิศทางการเเข่งขันใน ‘ธุรกิจร้านอาหาร’ คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้น ต่อสู้กันด้วยเดลิเวอรี่เเละขายออนไลน์ นอกจากเชนร้านอาหารรายใหญ่ เเละผู้ประกอบการรายย่อยเเล้ว ตอนนี้ยังมีกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ ‘นอกธุรกิจอาหาร’ เข้ามาเเจมสมรภูมินี้ด้วย ถือเป็นการดิสรัปต์วงการที่ทุกเจ้าต้องปรับตัว ‘ตามให้ทัน’
]]>
Starbucks (สตาร์บัคส์) เชนร้านกาเเฟรายใหญ่ของโลกจากสหรัฐฯ ระบุในเเถลงการณ์ว่า บริษัทตั้งใจจะเข้าถึงความเป็นท้องถิ่นในลาว ที่มีวัฒนธรรมการกินกาเเฟที่น่าตื่นเต้นเเละมีชีวิตชีวา เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติเเละประชาชนชาวลาว รวมไปถึงการเพิ่มโอกาสในการสร้างงานให้คนท้องถิ่นด้วย
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Starbucks เริ่มขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องในเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน นอกเหนือจากจีนแล้ว Starbucks เปิดตัวร้านแรกในอินเดีย เมื่อปี 2012 ตามมาด้วยไทย เวียดนาม บรูไน กัมพูชา เมียนมา เเละในที่สุดก็ถึงคิวเจาะตลาดลาว ในปี 2021
โดย Starbucks ในลาวจะดำเนินการโดย Coffee Concepts (Laos) Ltd. บริษัทในเครือ Maxim’s Caterers Ltd. ที่บริหารสาขาในฮ่องกง
“เรายินดีที่จะนำเสนอเเบรนด์ Starbucks ในลาว โดยเป็นการต่อยอดความสัมพันธ์ 20 ปีกับ Starbucks เพื่อขยายธุรกิจกาแฟไปทั่วเอเชีย” Michael Wu ประธานและกรรมการผู้จัดการ Maxim’s Caterers Limited กล่าว
สปป.ลาว มีประชากรราว 7.2 ล้านคน ส่วนใหญ่นิยมดื่มกาแฟที่มีส่วนผสมของนมและน้ำตาล โดยมักจะมีโรงคั่วกาแฟเพื่อส่งออก และเปิดร้านกาเเฟประจำท้องถิ่นของตัวเอง
ก่อนการเเพร่ระบาดของ COVID-19 การท่องเที่ยวในลาวกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น โดยสามารถดึงดูดชาวต่างชาติได้มากกว่า 4 ล้านคนในปี 2018 รายได้ในท้องถิ่นกำลังเพิ่มสูงขึ้น เเต่ยังอยู่ที่ประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (ราว 9,300 บาท)
อย่างไรก็ตาม ทั่วโลกยังคงต้องเผชิญกับวิกฤตไวรัสโคโรนา ที่ต้องถูกจำกัดการเดินทาง ทำให้ Starbucks ต้องประเมินสถานการณ์ในลาวอย่างใกล้ชิด เเต่ตอนนี้ก็ยังคงยึดเเนวการขยายสาขาตามเดิมว่าจะเปิดให้บริการในปีหน้า
โดยล่าสุด มีรายงานผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสมในลาวอย่างน้อย 24 คน เเละยังไม่มียอดผู้เสียชีวิต เเต่ก็มีการคาดการณ์ว่าอาจมีผู้ติดเชื้อที่ไม่เเสดงอาการจำนวนมากกว่านั้น
ที่มา : Marketwatch , Starbucks
]]>