ความงาม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 28 Sep 2021 08:29:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สวยผ่อนได้! Konvy x Atome เปิดบริการ buy now pay later สวยก่อน จ่ายทีหลัง https://positioningmag.com/1353711 Tue, 28 Sep 2021 07:29:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353711 Konvy ค้าปลีกออนไลน์ด้านผลิตภัณฑ์ความงามในประเทศไทย จับมือกับ Atome ให้บริการระบบชำระเงินแบบ buy now pay later ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง รองรับการใช้งานทั้งบนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันบนมือถือ ผ่อนได้แบบไม่มีดอกเบี้ย

ผ่อนได้ ไม่มีดอกเบี้ย

Konvy เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรบสินค้าความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสกินแคร์ เครื่องสำอาง เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2012 ปัจจุบันมีทั้งรูปแบบเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน มีสินค้ากว่า 1,000 แบรนด์

บริการ buy now pay later นี้ นักช้อปสามารถแบ่งชำระยอดซื้อสินค้าออกเป็น 3 ครั้ง ครั้งละเท่าๆ กัน โดยไม่มีดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม ผ่านช่องทางชำระสินค้าของ Konvy สามารถเริ่มต้นใช้งานครั้งแรก เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Atome และลงทะเบียนสมัครสมาชิก จากนั้นสามารถเลือกชำระกับ Atome ที่หน้าตัวเลือกการชำระเงิน

คิงก้วย หวง ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอนวี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า

“ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถซื้อและเข้าถึงสินค้าเพื่อความสวยความงามและเครื่องสำอางจากแบรนด์ชั้นนำกว่า 1,000 แบรนด์ที่ขายบนเว็บไซต์ Konvy ได้สะดวกมากขึ้น นับเป็นการเพิ่มทางเลือกการชำระเงินที่หลากหลาย และมีความยืดหยุ่นให้แก่ลูกค้าของเรา พร้อมยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งและชำระเงินขึ้นไปอีกขั้น และเราหวังว่าจะได้ผสานความร่วมมือกับ Atome ให้แข็งแกร่งขึ้นอีกในอนาคต”

ทางด้าน ภูมิพงษ์ หรือ คุณแน่น ผู้จัดการทั่วไป Atome ประจำประเทศไทย กล่าวว่า

“หลังจาก Atome ได้เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเดือนที่ผ่านมา เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะประกาศความร่วมมือกับแบรนด์ Konvy ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้เป็นอีกข้อพิสูจน์ถึงความน่าดึงดูดของตัวเลือกการชำระเงินของ Atome ที่ช่วยให้แบรนด์พาร์ตเนอร์ของเราอย่าง Konvy สามารถเพิ่มยอดขาย ยอดซื้อต่อครั้ง รวมถึงดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ได้ เราพร้อมให้การสนับสนุนพาร์ตเนอร์ของเราในการปรับตัวและเปลี่ยนโฉมธุรกิจให้พร้อมรับพฤติกรรมการช้อปปิ้งและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และโดยเฉพาะในปัจจุบันที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมค้าปลีกกำลังเผชิญกับความท้าทายและกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงสิ้นปีที่เป็นเทศกาลช้อปปิ้งประจำปี”

Atome (อาโตมี่) แบรนด์ผู้นำด้านบริการซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (buy now pay later) ในเอเชีย ได้ร่วมมือกับธุรกิจค้าปลีกทั้งออนไลน์และออฟไลน์กว่า 5,000 ร้านค้า ใน 9 ประเทศ โดยแบรนด์พาร์ตเนอร์สำคัญ อาทิ Sephora, Agoda, ZALORA, SHEIN, ZARA, Marks & Spencer, Charles & Keith, Aldo, และ Pandora โดย Atome ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในตลาดประเทศไทยครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่าน ภายใต้การดูแลของบริษัทแม่อย่าง Advance Intelligence Group (แอดวานซ์ อินเทลลิเจนซ์ กรุ๊ป) ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้สามารถระดมเงินทุนรอบ Series D ได้มากกว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ปัจจุบันกิจการมีมูลค่าประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นแท่นหนึ่งในสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอิสระที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์

]]>
1353711
คิวต่อไป! จีนเล็งจัดระเบียบธุรกิจ ‘เสริมความงาม’ โฆษณาเกินจริง ทำให้คนกังวลรูปลักษณ์ https://positioningmag.com/1352103 Thu, 16 Sep 2021 11:08:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352103 รัฐบาลจีน กำลังเข้าจัดระเบียบธุรกิจต่างๆ เป็นวงกว้างทั้งสายเทคโนโลยี การศึกษา อสังหาฯ เกมออนไลน์ ไปจนถึงวงการบันเทิง เเละคิวต่อไปจะเป็นธุรกิจเสริมความงาม

สัญญาณเตือนนี้ มาจาก People’s Daily สื่อที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลจีน ที่เพิ่งตีพิมพ์บทความล่าสุด เรียกร้องให้มีการออกกฎควบคุมโฆษณาเกี่ยวกับการทำศัลยกรรมความงาม ขั้นตอนและการรักษาต่างๆ โดยปัจจุบันมีคลินิกเสริมความงามในจีนหลายเเห่ง กล่าวอ้างเกินจริงหรือนำเสนอข้อมูลเท็จ

โฆษณาเสริมความงาม ถูกเผยเเพร่ในทุกช่องทาง ตั้งแต่โปสเตอร์ที่ป้ายรถเมล์ สถานีรถไฟใต้ดิน ไปจนถึงโซเชียลมีเดีย เเทรกอยู่ในคอนเทนต์ต่างๆ ทั้งรายการวาไรตี้ทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เเละการโปรโมตผ่านไลฟ์สตรีม

ในบทความของ People’s Daily ระบุว่า โฆษณาบางชิ้นได้เชื่อมโยงการมีรูปลักษณ์ที่ดูดีกับคุณภาพชีวิตที่ดี” “ความพยายามเเละความสำเร็จอีกทั้งยังมีการสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศัลยกรรมเสริมความงามที่เกินความจริง อย่างความสวยเปลี่ยนโชคชะตาและบิดเบือนแนวความคิดเกี่ยวกับความสวยความงาม

โดยการวิพากษ์วิจารณ์ธุรกิจศัลยกรรมเสริมความงามครั้งนี้ เกิดขึ้นในระหว่างที่รัฐบาลจีนกำลังเข้ามาจัดระเบียบธุรกิจต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจเทคโนโลยี การศึกษา ไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเสริมสร้างการควบคุมเศรษฐกิจและสังคมหลังจากปล่อยให้ธุรกิจเหล่านี้ทำเงินมหาศาลมาหลายปี

การเข้ามากำกับดูแลภาคเอกชนอย่างเข้มงวดของทางการจีน สร้างความกังวลอย่างมากในหมู่นักลงทุน เเละยังต้องจับตามองว่าวธุรกิจไหนจะเป็นรายต่อไปที่รัฐบาลจะเข้ามาจัดระเบียบ

ในช่วงเดือน ส..ที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับดูแลตลาดของจีน ได้ร่างแนวทางควบคุมการโฆษณาของธุรกิจเสริมความงาม โดยระบุว่าโฆษณาเหล่านี้ ทำให้ผู้คนเกิดวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอก

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ เทรนด์ความนิยมทำศัลยกรรมความงามในจีน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทำตาให้โตขึ้นและเสริมจมูก ซึ่งธุรกิจเสริมความงามก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาตลอดว่าไม่ยอมเตือนผู้บริโภคว่ามีความเสี่ยงใดบ้าง

โดยในเดือนก.. อินฟลูเอนเซอร์ออนไลน์วัย 33 ปี เสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนหลังการดูดไขมันที่ไม่ปลอดภัย จนเป็นข่าวดังในประเทศจีน เเละจุดกระเเสการควบคุมธุรกิจศัลยกรรมความงามขึ้นมาอีกครั้ง

 

 

ที่มา : Reuters , straitstimes 

]]>
1352103
‘Sephora’ สวนกระเเสตลาด ‘เครื่องสำอาง’ วูบ เตรียมขยายสาขาอีก 260 เเห่ง มากสุดในรอบ 21 ปี https://positioningmag.com/1321401 Mon, 01 Mar 2021 13:37:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321401 เเม้ธุรกิจเครื่องสำอางจะได้รับผลกระทบสาหัสจากพิษโรคระบาด เเต่ก็ไม่อาจฉุดร้านมัลติเเบรนด์ชื่อดังอย่าง ‘Sephora’ ได้ ล่าสุดประกาศขยายสาขาเพิ่มอีก 260 เเห่งทั่วอเมริกา นับเป็นการขยายสาขาครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 21 ปี ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ

‘Sephora’ เป็นธุรกิจในเครือ LVMH ยักษ์สินค้าลักชัวรีจากฝรั่งเศส ที่กำลังกว้านซื้อเเบรนด์ต่างๆ เข้าพอร์ต โดยเมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งเข้าซื้อหุ้น 50% ในแชมเปญหรู ‘Ace of Spades’ ของ Jay-Z เจ้าพ่อแรปเปอร์

การขยายสาขาครั้งนี้ จะเเบ่งเป็นร้านของ Sephora เอง (freestanding stores) 60 สาขา ในจำนวนนี้กว่า 85% จะตั้งอยู่นอกห้างสรรพสินค้า ส่วนอีก 200 สาขาจะเป็นร้านขนาดเล็ก’ (mini shops) ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า Kohl’s

ธุรกิจความงามกำลังอยู่ในช่วงการปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ เมื่อการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ลูกค้ามาช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าลดลง เเละอัตราว่างงานในตำเเหน่งที่ทำในห้างฯ พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 10.5%

ขณะเดียวกัน ความจำเป็นที่ต้องสวมหน้ากากอนามัย เเละการทำงานที่บ้านเเบบ Work from Home ก็ทำให้ยอดขายเครื่องสำอางลดลงอย่างมาก เพราะผู้บริโภคไม่ต้องเเต่งหน้าเพื่อออกสังคม อีกทั้งยังบำรุงรักษาผิวหน้าน้อยลง

รายงานของบริษัทวิจัยตลาด NPD ระบุว่า ยอดขายเครื่องสำอางลดลง 34% ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปีก่อน

Photo : SEPHORA

เเม้ตลาดโดยรวมจะไม่เอื้ออำนวย เเต่ ‘Sephora’ ขอลุยต่อ โดยจะเริ่มทยอยเปิดสาขาใหม่ในเมืองต่างๆ เช่น ดัลลัส, ฮูสตัน, ลอสแองเจลิส และเท็กซัส

Sephora ระบุในอีเมลถึง CNNBusiness ว่า การเลือกทำเลเปิดสาขาใหม่เหล่านี้ ผ่านพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ โดยมุ่งเน้นที่การเติบโตในพื้นที่ชานเมืองและนอกห้างสรรพสินค้า ช่วยให้สามารถเข้าถึงผู้ซื้อสินค้าความงามทั่วประเทศได้มากขึ้น

พร้อมกันนี้ ยังเป็นการเพิ่มช่องทางการขายเเบบ Omnichannel สั่งออนไลน์เเละรับได้ที่สาขา หรือพ่วงโปรโมชันจัดส่งฟรีและการเสนอคืนสินค้าที่ง่ายดาย โดยยอดขายออนไลน์ของ Sephora ในอเมริกาเหนือ ช่วงโรคระบาด เพิ่มขึ้นใกล้แตะระดับ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

การขยายสาขานี้ คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อห้างสรรพสินค้า Kohl’s เพราะการมีผลิตภัณฑ์ความงามระดับไฮเอนด์ที่หลากหลาย จะช่วยดึงดูดลูกค้าคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้นด้วย

 

ที่มา : CNN , Forbes , Yahoo 

]]>
1321401
ไวรัสทำหยุดสวย! “ลอรีอัล” ปี 63 รายได้ลดลง 4.1% แต่กลุ่มเวชสำอางโตทุบสถิติ https://positioningmag.com/1320739 Wed, 24 Feb 2021 14:41:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320739 อุตสาหกรรมความงามได้รับผลกระทบไม่แพ้อุตสาหกรรมอื่นๆ “ลอรีอัล” ได้ประกาศปลประกอบการปี 2563 ด้วยยอดขายมูลค่า 27,990 ล้านยูโร ลดลง 4.1% ส่วนใหญ่มาจากจุดจำหน่ายสินค้าต้องปิดตัวจากล็อกดาวน์ แต่ผู้บริโภคดูแลตัวเองมากขึ้น ทำให้กลุ่มเวชสำอางเติบโตแบบทุบสถิติ

อีคอมเมิร์ซโตพุ่ง 62%

การแพร่ระบาดไปทั่วโลกของ COVID-19 ในปี 2563 ก่อให้เกิดวิกฤตด้านอุปทาน เนื่องจากจุดจำหน่ายสินค้าส่วนใหญ่ต้องปิดให้บริการ ส่งผลให้ตลาดผลิตภัณฑ์ความงามมียอดขายที่ตกต่ำลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

แม้ภาพรวมรายได้ทั้งปีจะลดลง 4.1% แต่เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น ยอดขายในไตรมาส 4 เพิ่มขึ้น 4.8% และสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ เป็นการสร้างการเติบโตในช่วงครึ่งปีหลัง

ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา ทำให้ต้องหันมาพึ่งพาช่องทางดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซมากขึ้น นอกจากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้บริโภคไว้ได้ ยังสามารถชดเชยยอดขายจากการปิดจุดจัดจำหน่ายสินค้าได้เป็นจำนวนมาก โดยยอดขายส่วนอีคอมเมิร์ซพุ่งขึ้นถึง 62% โดยเพิ่มขึ้นทุกแผนก และทุกภูมิภาค และมีขนาดเป็น 26.6% ของยอดขายของทั้งบริษัทในปีที่แล้วซึ่งมากเป็นประวัติการณ์

เวชสำอางฮีโร่! โตสูงเป็นประวัติการณ์

ในปีที่แล้วแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางมียอดขายโตเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีพลวัตอย่างมาก และแบรนด์ต่างๆ ประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัดด้วยคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง

ในส่วนแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคสามารถฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบในกลุ่มผลิตภัณฑ์เมคอัพ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในผลิตภัณฑ์หลักอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน ส่วนแผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากการปิดร้านทำผมในช่วงครึ่งปีแรกนั้น สามารถดีดตัวกลับมาได้อย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีหลัง และยังเติบโตได้อย่างโดดเด่นกว่าตลาดโดยรวมอย่างชัดเจนตลอดปี

และท้ายสุด แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง สามารถเติบโตได้ดีกว่าตลาดโดยรวม แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ลำบากยิ่ง และกลับมาเติบโตได้ในไตรมาสสุดท้าย

ฌอง-ปอล แอกง ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลอรีอัล กรุ๊ป บอกว่า

“ในช่วงต้นปี 2021 สถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน แต่กลุ่มผู้บริโภคทั่วทุกมุมโลกก็ยังคงมีความต้องการในเรื่องความสวยความงาม เราจึงมั่นใจในศักยภาพที่จะเติบโตอย่างโดดเด่นเหนือกว่าตลาดอีกครั้งในปีนี้ ตลอดจนประสบความสำเร็จในการเติบโตยอดขายและผลกำไรได้อีกปี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของวิกฤตโรคระบาดด้วยเช่นกัน” 

สรุปยอดขายแบ่งตามแผนก

  • แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ ยอดขายลดลง -6.4%
  • แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภค ยอดขายลดลง -4.7%
  • แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง ยอดขายลดลง -8.1% ในขณะที่ตลาดผลิตภัณฑ์ความงามขั้นสูงทั่วโลกหดตัวลงประมาณ 14% ลอรีอัลได้ส่วนแบ่งตลาดในแผนกนี้เพิ่มขึ้นเกือบทุกภูมิภาค
  • แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ยอดขายเติบโต +18.9% สูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีมูลค่ายอดขายทะลุ 3,000 ล้านยูโรเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

สรุปยอดขายแบ่งตามภูมิภาค

  • ยุโรปตะวันตก ยอดขายลดลง -10.3%
  • อเมริกาเหนือ ยอดขายลดลง -7.4%

กลุ่มตลาดใหม่

  • ละตินอเมริกา ยอดขายลดลง -1.5%
  • ยุโรปตะวันออก ยอดขายลดลง -4.9%
  • แอฟริกา และตะวันออกกลาง ยอดขายลดลง -3.3%
  • เอเชียแปซิฟิก ยอดขายเพิ่มขึ้น +3.5% โดยยอดขายในไตรมาส 4 พุ่งขึ้น +16.6%
  • จีน มียอดขายเพิ่มขึ้น +27.0%

ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย แปซิฟิก สถานการณ์ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยประเทศที่ยอดขายได้รับผลกระทบน้อยกว่าจากการแพร่ระบาด อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเวียดนามนั้น ทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น ในกลุ่มตลาดผลิตภัณฑ์เมคอัพยังคงตกต่ำอยู่ แต่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำตลาดโดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ดูแลผม และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวนั้น ทำให้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาส

ฌอง-ปอล แอกง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลอรีอัล กรุ๊ป

อีคอมเมิร์ซเป็นช่องทางที่ผลักดันการเติบโต ผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงและผลิตภัณฑ์เวชสำอางมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมากในตลาดหลักทุกแห่ง โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิว แบรนด์ลา โรช-โพเซย์ และเซราวี ช่วยผลักดันกลุ่มผลิตภัณฑ์เวชสำอางให้เติบโตขึ้น ส่วนแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคมียอดขายผลิตภัณฑ์ดูแลผิวปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากยอดขายที่ดีของแบรนด์การ์นิเย่

เมื่อเดือน พ.ย. ลอรีอัล กรุ๊ป ได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการจัดพื้นที่ภูมิภาคใหม่บางพื้นที่ ได้แก่ โซนเอเชียเหนือ โซน SAPMENA (South Asia, Pacific, Middle East, North Africa) และโซนแอฟริกาใต้ซาฮารา โดยในโซนเอเชียเหนือประกอบด้วยจีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่วนในโซน SAPMENA เป็นโซนที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งประกอบด้วยเอเชียใต้ แปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ

]]>
1320739
สะเทือนวงการ “บิวตี้บล็อกเกอร์” อังกฤษสั่งห้ามใส่ “ฟิลเตอร์” เมื่อรีวิวเครื่องสำอาง https://positioningmag.com/1318226 Sat, 06 Feb 2021 12:09:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318226 หน่วยงาน ASA ของอังกฤษสั่งห้ามมิให้การโฆษณา “เครื่องสำอาง” ทางโซเชียลมีเดียใช้ “ฟิลเตอร์” ในภาพหรือวิดีโอ มีผลกระทบโดยตรงกับอาชีพ “บิวตี้บล็อกเกอร์” ที่มักจะปรับแต่งรูปเพื่อความสวยงาม โดยการเพิ่มกฎหมายครั้งนี้เป็นผลมาจากการรณรงค์ #filterdrop ที่ดำเนินมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีก่อน

หน่วยงานกำกับมาตรฐานการโฆษณาของอังกฤษ หรือ ASA เข้าตรวจสอบตัวอย่างการใช้ฟิลเตอร์ในวิดีโอโฆษณาสองชิ้นที่จัดทำโดยอินฟลูเอนเซอร์สองราย โดยเป็นโฆษณาผลิตภัณฑ์ทำสีผิวแทนสองยี่ห้อ คือ Skinny Tan Ltd และ Tanologist Tan ต่อมา ASA มีคำสั่งแบนการใช้ฟิลเตอร์ในโฆษณาทั้งสองชิ้น

ไม่ใช่แค่โฆษณาสองชิ้นนี้ที่ถูกสั่งห้าม ASA ยังขยายผลให้กฎข้อนี้ถูกใช้กับแบรนด์สินค้า อินฟลูเอนเซอร์ และเซเลบในสหราชอาณาจักรทุกราย

ใจความของกฎข้อนี้คือการสั่งห้ามแบรนด์สินค้า อินฟลูเอนเซอร์ และเซเลบใช้ฟิลเตอร์ในรูป หากเป็นรูปที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ความงามและการใช้ฟิลเตอร์จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้สินค้าเกินความเป็นจริง และถึงแม้ว่าฟังก์ชันของ Instagram Story จะมีการระบุว่าใช้ฟิลเตอร์อยู่แล้ว แต่ ASA เห็นว่าคอนเทนต์เหล่านี้จะยังชี้นำผู้บริโภคอย่างผิดๆ ได้

แคมเปญ #filterdrop รณรงค์ชวนคนงดใช้ฟิลเตอร์ เผยผิวจริงในภาพ ลดความกดดันมาตรฐานความงามที่ทำจริงได้ยาก

สำหรับโทษของการฝ่าฝืนกฎ คือโฆษณาชิ้นนั้นๆ จะถูกลบจากอินเทอร์เน็ตและห้ามมิให้มีการโพสต์ใหม่ โดย ASA คาดว่าจะทำให้นักการตลาดของแบรนด์นั้นและอินฟลูเอนเซอร์ที่ถูกลบภาพ/วิดีโอเสียชื่อเสียง

“จุดมุ่งเน้นในการทำงานของเราต่อจากนี้ในประเด็นนี้ คือการสร้างความตระหนักรู้ถึงกฎดังกล่าว และสนับสนุนอินฟลูเอนเซอร์ด้วยคำแนะนำและเครื่องมือของเราเพื่อให้พวกเขาสร้างสรรค์โฆษณาที่ถูกต้อง” โฆษก ASA กล่าว “เรายังทำงานใกล้ชิดกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เพื่อให้พวกเขาบังคับใช้กฎที่เราตั้งขึ้น ถ้าหากนักโฆษณาไม่ต้องการหรือไม่สามารถจะทำตามกฎที่เราตั้งไว้ได้”

 

จากแคมเปญรณรงค์ สู่การบังคับใช้กฎหมาย

จุดตั้งต้นของเรื่องนี้ เริ่มจากผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ “ซาซ่า พัลลารี” ช่างแต่งหน้าอายุ 29 ปี เธอเริ่มรณรงค์แคมเปญ #filterdrop มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020 โดยหวังว่าจะได้เห็น “การเผยผิวจริง” มากขึ้นบน Instagram เนื้อหาของการรณรงค์ของเธอคือต้องการให้บรรดา “บิวตี้บล็อกเกอร์” ต้องระบุด้วยว่ามีการใช้ฟิลเตอร์ในภาพ/วิดีโอ หากเป็นการโฆษณาสินค้าเครื่องสำอาง

หลังจากนั้น การใช้ฟิลเตอร์แต่งรูปบนโซเชียลมีเดียกลายมาเป็นประเด็นถกเถียงร้อนแรงในสังคม ไม่เพียงแต่กลุ่มเซเลบหรืออินฟลูเอนเซอร์ แต่ยังถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนำไปกล่าวถึงด้วย

ซาช่า พัลลารี ทดสอบให้เห็นว่าผิวจริงกับผิวที่ใส่ฟิลเตอร์หน้าเนียนมาแล้วต่างกันแค่ไหน (Photo : IG@sashalouisepallari)

เมื่อแคมเปญของเธอพัฒนาจนกลายเป็นกฎหมาย พัลลารีกล่าวว่าเธอ “ยินดีเป็นอย่างยิ่ง”

“ฉันรู้สึกว่า ในที่สุดผลกระทบอันตรายที่กำลังเกิดขึ้นกับผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้ถูกพิจารณาอย่างจริงจังเสียที และนี่จะเป็นก้าวอันยิ่งใหญ่ในทิศทางที่ถูกต้อง สำหรับวิธีการใช้ฟิลเตอร์กับโฆษณาเครื่องสำอางออนไลน์” พัลลารีกล่าว

การออกกฎของ ASA เป็นความสำเร็จของเธอ แต่พัลลารียังมีเป้าหมายใหญ่กว่านั้นคือการต่อสู้เพื่อให้ Instagram ลบฟิลเตอร์ประเภทที่ “เปลี่ยนรูปหน้า” ออกไปจากระบบถาวร

 

ภาพเกินจริงบน IG คือมาตรฐานความสวยที่กดดัน

พัลลารีกล่าวด้วยว่า ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่เธอสนใจมาอย่างยาวนาน และเธอได้รับข้อความ “ทุกวัน” จากผู้หญิงที่กำลังดิ้นรนเพื่อให้ตนเองสวยตามมาตรฐานความงามที่พวกเธอเห็นบนโลกออนไลน์

“มอลลี นัทท์” วัย 20 ปี ซึ่งคอยติดตามแคมเปญของพัลลารีมาตลอด กล่าวว่าเธอยินดีที่มีการบังคับใช้กฎหมายนี้

“ฟิลเตอร์ที่ใช้ชื่ออย่าง ‘สาวน่ารัก’ จะเปลี่ยนคุณเป็นผู้หญิงตาฟ้า ริมฝีปากหนา จมูกเล็ก ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่สื่่อว่าคุณควรจะมีหน้าตาแบบนี้ ทั้งที่จริงๆ ไม่ใช่ทุกคนที่มีหน้าตาแบบนี้ได้” นัทท์กล่าว “ไม่ใช่ทุกคนที่เชี่ยวชาญการแต่งหน้า และยิ่งมีฟิลเตอร์เข้าช่วยด้วย…ฉันไม่สามารถจะทำตามความสวยของพวกเธอใน Instagram ได้เลย”

“ส่วนใหญ่แล้วฉันออกจากบ้านไม่ได้เลยถ้ายังไม่แต่งหน้า แต่ตอนนี้ฉันไม่ค่อยแคร์แล้ว…ซาช่าทำให้ฉันรู้สึกสบายใจกับสิ่งที่ฉันเป็น และฉันไม่ใช่คนแปลกประหลาดเพราะหน้าตาของตัวเอง” นัทท์กล่าวเสริม

เจสซี เนลสัน อดีตสมาชิกวง Little Mix (Photo : IG@jesynelson)

ไม่เฉพาะคนทั่วไปที่ออกมาพูดเรื่องนี้ เซเลบคนดังเช่น “เจสซี เนลสัน” อดีตสมาชิกวง Little Mix ซึ่งมีคนติดตามใน IG มากถึง 7.6 ล้านคน ก็ออกมาพูดถึงประเด็นนี้เหมือนกันว่า แม้ว่าเธอจะชอบฟิลเตอร์เบาๆ ของ IG ที่ทำให้ผิวเธอดูแทนขึ้นหรือใสขึ้นบ้าง แต่เธอไม่เข้าใจเลยว่าทำไมฟิลเตอร์ส่วนใหญ่ถึงต้องเปลี่ยนรูปหน้าเธอให้เป็นแบบเดียวกันคือ “จมูกเล็กกับริมฝีปากหนา”

“ฉันไม่เข้าใจว่าทำไม Instagram ถึงรู้สึกว่ามันจำเป็นที่จะต้องทุบจมูกคุณและทำให้มันดูเรียวยาว จมูกไซส์มาตรฐานมันผิดตรงไหนเหรอ?” เนลสันกล่าว “ฉันล่ะงงกับคนที่สร้างฟิลเตอร์พวกนี้ขึ้นมาว่า นี่น่ะหรือคือนิยามความงาม”

 

ขอความชัดเจนว่าอะไรคือ “ฟิลเตอร์” ที่ผิดกฎ

ขณะที่เสียงข้อกังวลจากอีกมุมหนึ่ง “ราฮี ชัดดา” นายแบบและอินฟลูเอนเซอร์ดังที่มีผู้ติดตามกว่า 9 แสนคน กล่าวว่าเขา “เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง” กับการออกกฎครั้งนี้ แต่เขากังวลเรื่องว่า ขอบเขตการบังคับใช้จะเป็นอย่างไร อินฟลูเอนเซอร์ส่วนใหญ่จะต้องกังวลว่านิยามของการใช้ “ฟิลเตอร์” คืออะไร

“เมื่อเราพูดถึงฟิลเตอร์ เรากำลังพูดถึงการจัดแสง เอฟเฟกต์พิเศษ การแต่งหน้า ก่อนที่จะถ่ายรูปโฆษณาสินค้าด้วยหรือเปล่า? เพราะถ้านับรวมสิ่งเหล่านั้นด้วย รูปส่วนใหญ่บนโซเชียลมีเดียก็มีฟิลเตอร์กันทั้งนั้น” ชัดดากล่าว

เขามองว่าหน่วยงานจะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนมากกว่านี้ว่าการใช้ฟิลเตอร์คืออะไร และเส้นแบ่งขอบเขตอยู่ที่ไหน

Source

]]>
1318226
จับตา New Normal วงการความงาม “ลอรีอัล” รุกเทรนด์ใหม่ Beauty Behind Mask https://positioningmag.com/1278749 Fri, 15 May 2020 12:20:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278749 ธุรกิจความงามได้รับผลกระทบไม่น้อยจาก COVID-19 เเต่ดูจะมี “ความหวัง” ที่จะกลับมาฟื้นอีกครั้ง มากกว่าธุรกิจที่กำลังทรุดหนักอย่างภาคท่องเที่ยวหรือการบิน เพราะความงามล้วนเป็นสิ่งใกล้ตัวผู้คนมากกว่า มีผลต่อการใช้ชีวิตเเละจิตใจ

ในเมืองไทย เราเริ่มสวมใส่หน้ากากอนามัยกันมาตั้งเเต่ช่วงปัญหาฝุ่น PM 2.5 เเละกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในช่วงการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เเม้การเเต่งหน้าภายใต้หน้ากากจะดูยุ่งยากขึ้น เเต่เราก็ยังเเต่งหน้ากันอยู่ ก็เพราะเป็นเรื่องของ “ความมั่นใจ” นั่นเอง

สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิด New Normal ของวงการความงามที่เหล่าเเบรนด์ต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทัน นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองวีถีชีวิตใหม่ของผู้คน

“อินเนส คาลไดรา” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นถึงประเด็น New Normal อุตสาหกรรมความงามเเละกลยุทธ์ฝ่าวิกฤต COVID-19 ที่เธอยอมรับว่าหนักหนาสาหัสที่สุดในชีวิตการทำงาน 19 ปีของเธอเลยทีเดียว

ความงามเเบบใหม่ : New Beauty Behind Mask 

เเม่ทัพใหญ่เเห่งลอรีอัล (ประเทศไทย) มองโอกาสการเจาะตลาดความงามที่เปลี่ยนเเปลงในมุมที่น่าสนใจว่า การที่ผู้คนต้องต้องใส่หน้ากากในที่สาธารณะทำให้เกิด New Normal เป็นรูปแบบความงามใหม่ อาจเรียกได้ว่า “New Beauty Behind Mask” หรือความงามใหม่ภายใต้หน้ากาก ซึ่งคนจะหันมาให้ความสำคัญกับการดูเเลความสะอาดของผิวพรรณ บำรุงผิวมากขึ้นเพราะความเสี่ยงจากแบคทีเรียสะสมกระทบผิวหน้า

โดยในตอนนี้ กลุ่มสินค้าที่ตกแต่งดวงตาอย่างพวกอายไลเนอร์ มาสคาร่า กำลังมาแรง ลอรีอัลกำลังวางเเผนที่จะคิดค้น “ลิปสติกแบบใหม่” รวมถึงกลุ่มสินค้าเมคอัพดวงตาเเละคิ้ว เเละเน้นพัฒนาสินค้าดูแลเเละทำความสะอาดผิวภายใต้การสวมหน้ากาก

อินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด

เธอเชื่อว่าความงาม ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจ เพราะความงามไม่ใช่เเค่เรื่องภายนอกเท่านั้น เเต่เครื่องสำอางมีผลต่อจิตใจ ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้เเต่ละบุคคล ถึงเเม้จะไม่ได้เดินทางไปข้างนอกหรือพบเจอผู้คน เราก็ยังเเต่งหน้าเพื่อความสบายใจ คนที่ต้อง Work from Home เมื่อมีประชุมออนไลน์ ก็ยังต้องการความดูดีอยู่

“ความสวยไม่เพียงทำให้ผู้บริโภครู้สึกดี เเต่ยังเปลี่ยนอารมณ์ของผู้คนได้ด้วย ยิ่งในช่วงเกิดโรคระบาด คนต้องการกำลังใจ ดังนั้นสินค้าความงามจึงมีบทบาทพิเศษ มากกว่าการตกเเต่งใบหน้า เเต่เป็นการการมองเห็นคุณค่าในตัวเองหรือ Self Esteem ด้วย”

เหล่านี้เป็นเหตุผลหลักๆ ที่ธุรกิจความงามจะฟื้นกลับมาได้ หากปรับตัวให้ทันเเละเหมาะสม เเม้ต้องเจอวิกฤตหนักเเค่ไหนก็ตาม

สำหรับภาพรวมตลาดความงามไทยที่มีมูลค่ากว่า 2 เเสนล้านบาท อินเนส ประเมินว่าธุรกิจความงามจะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในเดือน เม.ย. ตลาดยังอยู่ใน “แดนลบ” เพราะสถานการณ์ยังไม่เอื้อกับการขายสินค้า เช่นกลุ่มสินค้ากันเเดด ก็จะไม่เติบโต เเม้จะเป็นหน้าร้อนเเต่คนต้องอยู่บ้าน เเละธุรกิจกลุ่มเส้นผมของลอรีอัล อย่างเเบรนด์ L’Oréal Professionnel เเละ KERASTASE ที่เคยเติบโต 2.5% ในปีนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะเติบโตต่ำกว่าเดิม

โดยผลประกอบการของ “ลอรีอัล กรุ๊ป” ประจำไตรมาส 1 ปี 2020 ยอดขายทั่วโลกลดลง 4.8% สวนทางกับยอดขายตลอดปี 2019 ที่เติบโตถึง 8% ทุบสถิติในรอบทศวรรษ เรียกได้ว่ากำลังไปได้สวย เเต่มาสะดุดมรสุม COVID-19 นั่นเอง

ซาลอนฟื้นง่าย คนโหยหาร้านทำผม

แผนการตลาดระยะสั้นที่ลอรีอัลกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ คือมาตรการช่วยเหลือ “ร้านซาลอน” หรือร้านทำผม หลังต้องปิดทำการในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ เเละเพิ่งจะได้กลับมาเปิดร้านได้ เเต่ยังคงจำกัดบริการเเค่ตัด-สระ-ไดร์

โดยลอรีอัลมีเครือข่ายผู้ประกอบการร้านซาลอนทั่วประเทศราว 1,200 ราย จากภาพรวมธุรกิจร้านซาลอนในไทยมีประมาณ 1.2 แสนร้าน มูลค่าตลาดราว 6 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่รายได้ 70% ของร้านมาจากการทำสีผม ดัดผม ซึ่งตอนนี้ยังให้บริการไม่ได้

สำหรับโปรแกรม Salon Solidarity Program จะช่วยให้ช่างทำผมได้พัฒนาตัวเองทั้งเรื่องของทักษะทางวิชาชีพ มีการจัดสอนเทคนิคผ่านช่องทางไลฟ์สตรีมมิ่ง ส่งเสริมความปลอดภัยทางสุขภาพที่เพิมเติมขึ้นมาในช่วงนี้ รวมทั้งเสริม Digital Skill การตลาดออนไลน์ของร้านตัดผมเพื่อช่วยผลักดันธุรกิจ

โดยเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาทางลอรีอัลได้ “พักชำระหนี้” ให้กับร้านค้าในเครือข่าย รวมถึงเป็นตัวกลางติดต่อแอปพลิเคชัน “จองคิว” เพื่อทำให้ร้านทำผมสามารถจัดคิวลูกค้าได้เหมาะสมตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

“ในฐานะที่ลอรีอัลเป็นบริษัทใหญ่ที่มีอายุกว่า 110 ปี มีผลิตภัณฑ์เเรกเป็น “น้ำยาเปลี่ยนสีผม” ดังนั้นจึงต้องเข้ามาช่วยเหลือพาร์ตเนอร์ของเราเหล่าร้านซาลอน ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องขาดรายได้ ต้องช่วยให้เขาสามารถอยู่รอดไปได้เพราะมีผู้คนอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ถึง 5 เเสนคน มีผู้เกี่ยวข้องกว่า 2 ล้านคน ซึ่งมีผลอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ”

ภาพเปรียบเทียบการจัดอบรมช่างผมของลอรีอัลในสมัยก่อน ปี 1952 เเละการสอน E-Training ในปี 2020 ที่มีการเเพร่ระบาดของ COVID-19

จากผลสำรวจของลอรีอัล ที่สอบถามความเห็นผู้บริโภคชาวไทย 1,060 คน ระหว่างวันที่ 3 เม.ย. – 4 พ.ค. พบว่า กว่า 85% ของผู้ตอบแบบสำรวจรู้สึกถึงความจำเป็นในการใช้บริการทำผมที่ร้านในช่วงล็อกดาวน์ตามด้วย 70% รู้สึกว่าการไม่สามารถรับบริการจากช่างผมได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะและความมั่นใจของตนเอง เเละกว่า 40% ของผู้ชายรู้สึกว่าการไม่สามารถรับบริการจากช่างผม กระทบความมั่นใจและสุขภาวะตนเอง

ส่วนบริการที่ต้องการมากที่สุด 38% คือทำสีและไฮไลต์ ตามด้วย 27% อยากดัดผม หลังร้านเปิดเต็มรูปแบบ

โดย 41% รู้สึกมั่นใจที่จะได้ใช้บริการตัดผม เสริมสวยอีกครั้ง และ 78% อยากกลับไปใช้บริการซาลอนในสัปดาห์แรกที่เปิด เเละ 44% จะไปใช้บริการทันทีที่ร้านเปิดบริการเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ผู้บริโภค 2 ใน 3 เชื่อว่าร้านจะปฏิบัติตามมาตรการรัฐอย่างถูกต้อง เช่น รักษาระยะห่าง สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

“ในช่วงกักตัว จะเห็นว่าบัตตาเลี่ยนตัดผม ขายดีในออนไลน์ เพราะคนจำเป็นต้องตัดผมเองที่บ้าน เเต่มองว่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะไม่ว่าอย่างไรผู้คนยังเชื่อใจที่จะตัดผมกับช่างผมมืออาชีพมากกว่า”

โดยผู้บริหารลอรีอัล เชื่อว่าเมื่อร้านซาลอนกลับมาเปิดได้เต็มรูปแบบ จะมีลูกค้ามาใช้บริการทำสีผม ดัดผมหรือตัดผมทรงใหม่อย่างเนืองเเน่น เพราะคนมีความอึดอัดเเละรอมานาน ดังนั้นร้านซาลอนเองก็ต้องปรับตัวเเละหาวิธีรองรับเรื่องความปลอดภัยให้ลูกค้าอย่างดีที่สุด

อยากอยู่รอด ต้องปรับตัวเร็ว 

ดังที่เกริ่นไว้ข้างต้นว่าวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้เป็นงานหินที่หนักสุดในชีวิตการทำงาน 19 ปีของ “อินเนส คาลไดรา” ก่อนเข้ามานั่งเเท่นนำทัพลอรีอัล ประเทศไทยได้ 2 ปี เธอเคยผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง อย่างวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ช่วงปี 2007-2008 เเต่ครั้งนั้นเป็นผลกระทบด้านการเงินมากกว่าที่จะกระทบผู้บริโภคทั่วไปอย่าง COVID-19

เธอมองว่าธุรกิจความงามในช่วงนี้ “จะทำแบบเดิมไม่ได้ ต้องมีการปรับเเผนเเละดูสถานการณ์สัปดาห์ต่อสัปดาห์มาตรการรัฐก็เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง”

โดยลอรีอัล มีการปรับตัวในวิกฤติครั้งนี้ ทั้งในแง่ยอดขายและการทำงานภายในองค์กร เช่น เริ่มจากการทำงาน Work from Home และปรับการดำเนินงานตามความต้องการของคู่ค้า อย่างการเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย E-Commerce ทีมฝ่ายขายที่เคยต้องไปเยี่ยมลูกค้า ก็เปลี่ยนเป็น E-Visit มีการทำ E-Training เป็นต้น

“ธุรกิจมี 2 ทางเลือกไม่ตายก็ต้องอยู่รอด ซึ่งผู้ที่อยู่รอดต้องปรับตัวให้เร็วที่สุด นี่คือสิ่งที่ทำให้ลอรีอัลยังคงเป็นผู้นำความงามโลกเรื่อยมา”

]]>
1278749
ล้มเเล้วลุก! “ธุรกิจเครื่องสำอาง” ในจีนเริ่มฟื้นตัว หลังเจอ COVID-19 เเบรนด์บุกขายออนไลน์ https://positioningmag.com/1273014 Mon, 13 Apr 2020 12:09:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273014 ธุรกิจเครื่องสำอางในจีนกำลัง “ฟื้นตัว” อย่างรวดเร็ว เมื่อผู้คนเริ่มกลับมาทำงานเเละผู้ค้าปลีกเริ่มกลยุทธ์บุกตลาดออนไลน์เต็มที่ หลังรัฐบาลจีนผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

Anne Ling นักวิเคราะห์ของธนาคารเพื่อการลงทุน Jefferies เปิดเผยว่ายอดขายเครื่องสำอางในจีน “ปรับตัวดีขึ้น” เเม้จะยังลดลงประมาณ 20% เมื่อเทียบกับยอดค้าปลีกอื่นๆ เเต่ถือว่าดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือน ก.พ. ที่ยอดขายลดลงถึง 60-80% เนื่องจากผู้คนต้องอาศัยอยู่เเต่ในบ้าน ไม่มีกิจกรรมสังสรรค์ ทำให้ความต้องการใช้เครื่องสำอางก็ลดลงตามไปด้วย

ยกตัวอย่างบริษัทเครื่องสำอางที่เกือบจะต้องปิดกิจการ เเต่ก็ฟื้นตัวขึ้นมาได้คือเเบรนด์ Lin Qingxuan ที่ตอนนี้มียอดขายพุ่งขึ้นถึง 120% หลังจากติดลบกว่า 90% ในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ซึ่งเคยเป็นช่วงที่ทำยอดขายได้สูงสุดในทุกปี

Sun Laichun ผู้ก่อตั้ง Lin Qingxuan แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอางที่มีสาขากว่า 300 แห่งทั่วประเทศจีน ให้สัมภาษณ์กับ scmp ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้เขากำลังจะ “ล้มละลาย” จากยอดขายหน้าร้านในเดือน ม.ค.ที่ลดลงกว่า 90% จึงต้องปรับกลยุทธ์ไปขายสินค้าออนไลน์เเละทุ่มการโปรโมทบนแพลตฟอร์มสตรีมมื่งและโซเชียลมีเดีย

ผลออกมาดีเกินคาด บริษัทของเขาสามารถขายน้ำมันดอกคามิเลีย ซึ่งเป็นสินค้าหลักของแบรนด์ได้ถึง 400,000 ขวด ภายในเวลา 2 ชั่วโมงในวันวาเลนไทน์ และในวันที่ 1-8 มี.ค. ซึ่งเป็นวันสตรีสากล ยอดขายในออนไลน์
ยังเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า

ขณะที่ยอดขายของ “มาสก์หน้า” และ “คลีนซิ่งล้างเครื่องสำอาง” บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังของจีนอย่าง Pinduoduo ก็เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่าในเดือน มี.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

“ยอดขายลิปสติก อายแชโดว์ เเละดินสอเขียนคิ้ว ก็มีอัตราการเติบโตที่ดีเช่นกัน แต่จำนวนการสั่งซื้อยังไม่มากนัก ส่วนสินค้าในกลุ่มราคาระดับกลางมียอดขายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว” Pinduoduo ระบุ

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2020 ยอดขายเครื่องสำอางในจีนลดลง 14.1% อยู่ที่ 3.87 หมื่นล้านหยวน ( ราว 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมือเทียบกับยอดค้าปลีกโดยรวมที่ลดลง

ด้านข้อมูลของ ECdataway ผู้ให้บริการข้อมูลอีคอมเมิร์ซในเซี่ยงไฮ้ พบว่ายอดขายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบนแพลตฟอร์ม T-mall เพิ่มขึ้น 89.5% ในเดือน มี.ค. ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น 56%
ส่วนอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เพิ่มขึ้น 46%

Chen Ke นักวิเคราะห์ของ Roland Berger ให้ความเห็นว่า ผลกระทบของ Covid-19 ที่มีต่อยอดขายเครื่องสำอาง “น่าจะเป็นระยะสั้น”

สำหรับตลาดความงามและการดูแลตัวเองของจีน มีมูลค่าสูงถึง 4.7 เเสนล้านหยวนในปี 2019 เพิ่มขึ้น 9% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยค่าใช้จ่ายในการซื้อ “เครื่องสำอาง” ของชาวจีน เฉลี่ยอยู่ที่คนละ 30 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 น้อยกว่าชาวญี่ปุ่นที่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 202 ดอลลาร์ต่อคน เเละชาวอเมริกันที่มีการใช้จ่ายอยู่ที่120 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน

ที่มา : China cosmetics sales rebound in March as coronavirus outbreak proves to be a temporary setback

]]>
1273014
เปิดเทรนด์ความงาม 2020 สาวไทย “ไม่ทำสวยเพื่อแฟน แต่อยากดูดีในโซเชียล” https://positioningmag.com/1261566 Wed, 22 Jan 2020 15:41:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261566 ภาพรวมตลาด ‘หัตถการความงาม’ หรือธุรกิจความงามที่ไม่ต้องผ่าตัดของไทยในปี 2019 มีมูลค่าตลาดแตะ 5,200 ล้านบาท เติบโตประมาณ 9-10% ต่อเนื่องตลอดทุกปี สะท้อนให้เห็นว่า ความสวยความงามกับผู้หญิงเป็นของคู่กัน แม้ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนัก แต่ก็สามารถเจียดเงินเพื่อทำสวยได้

เภสัชกรหญิงกิตติวรรณ รัตนจันทร์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ไทยแลนด์

“ในทุก ๆ เลเวลก็มีความต้องการ ทั้งคนฐานะปานกลางหรือรวย แต่ในสภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ เขาก็ไม่ใช่ใช้เงินไม่คิด แต่มีความวิเคราะห์ในการใช้เงินมากขึ้น ไม่ได้แปลว่าไม่ทำ แต่อาจจะดูส่วนลดต่าง ๆ อีกทั้งยังหาข้อมูลประกอบให้มากสุด เพราะต้องการความปลอดภัย” เภสัชกรหญิงกิตติวรรณ รัตนจันทร์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ไทยแลนด์ กล่าว

ตลาดหัตถการความงามเริ่มบูมเมื่อ 15 ปีก่อน เพราะเทรนด์เกาหลี แต่เทรนด์การเสริมสวยในปัจจุบันไม่ใช่สวยแบบ ‘พิมพ์นิยม’ หรือสวยแบบดารา แต่ผู้หญิงยุคนี้ต้องการสวยในแบบที่เป็น ‘ตัวเอง’ (Individual Beauty) หรือ The best version of me นอกจากนี้ แนวโน้มการทำสวยก็เริ่มเด็กลง อดีตจะเริ่มเมื่ออายุประมาณ 30 เพราะเริ่มเห็นริ้วรอย แต่ปัจจุบันอายุ 18-20 ปีก็เริ่มเข้ามาปรับรูปหน้า เพื่อให้คงความเด็กตลอดไป

“ผู้หญิงไม่ได้ทำสวยเพื่อแฟน แต่ทำสวยเพื่อตัวเอง เพราะอยากดูดีในโซเชียล ทำเพื่อสร้างความมั่นใจ อย่างกลุ่มอายุ 30-45 ปี ทำสวยแล้วมีโอกาสได้งาน ความรัก รู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ส่วนกลุ่มอายุ 45-60 ปี ทำสวยแล้วเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง”

จากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งลูกค้าเดิมที่ใช้บริการต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีลูกค้าใหม่ที่เด็กลง ส่งผลให้คลินิกความงามมีมากกว่า 1,500 แห่งทั่วประเทศ (ไม่นับจำนวนสาขา) ส่วนตลาดหัตถการความงามมีมูลค่า 5,200 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง 9-10% และหากแบ่งประเภทหัตถการต่าง ๆ พบว่าเดอร์มัล ฟิลเลอร์ (การฉีดสารเติมเต็มฟิลเลอร์) มีการเติบโต 9% โบทูไลนุม ท็อกซิน หรือการฉีดโบท็อกลดเลือนริ้วรอยโต 7% และเครื่องยกกระชับต่าง ๆ (ยกกระชับหน้า V shape X shape) โต 9%

“คอสส่วนใหญ่อยู่ที่ 5,000-15,000 บาท ทำทุก ๆ 4-6 เดือน แต่ เทรนด์คือ สวยให้ครบ ดังนั้นลูกค้าไม่ได้ทำแค่อย่างเดียว แต่ทำทุกอย่างเลยไปคลินิกทุกเดือน อย่างเทรนด์ตอนนี้ คือ การทำให้รูขุมขนเล็ก หน้าใส ไม่ต้องแต่งหน้า พร้อมฉีดฟิลเลอร์ปรับโครงหน้า แต่ตอนนี้ไม่ใช่วีเชป แต่เป็น X เชป คือไม่ใช่แค่หน้าเรียว แต่ทำให้คอดูยาวสูง”

นอกจากนี้ตลาด ผู้ชาย (ไม่ใช่ LGBTQ) ก็เป็นโอกาสใหม่ที่หลายคนมองข้าม โดยภาพรวมทั่วโลกมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ถือเป็นเป็นบลูโอเชียน โดยเฉพาะผู้ชายวัยทำงาน อายุ 30 ปีขึ้นไปเริ่มใช้บริการเพราะอยากดูเด็ก โดยคาดว่าในปี 3-5 ปี กลุ่มผู้ชายที่ใช้บริการจะเริ่มมีอายุน้อยลงเหมือนกลุ่มผู้หญิง

สำหรับ เมิร์ซฯ เป็นผู้ผลิตสินค้าเวชภัณฑ์สัญชาติเยอรมันเบอร์ 3 ของโลก มียอดขายกว่า 20,000 ล้านบาท โดยได้เข้ามาทำตลาดในไทยแล้วประมาณ 5 ปี โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศยุทธศาสตร์ เพราะสร้างยอดขายเติบโตเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชียแปซิฟิก รองจากฟิลิปปินส์ เกาหลี ปีที่ผ่านมาเมิร์ซฯ มีรายได้กว่า 500 ล้านบาท เติบโตกว่า 20-25% ต่อปี ปัจจุบันมีพาร์ตเนอร์คลินิกกว่า 900 แห่ง

ทั้งนี้ เมิร์ซฯ ตั้งเป้าทำรายได้ 1,000 ล้านบาทในอีก 3 ปี รวมทั้งชิงส่วนแบ่งตลาดเป็น 20% เพื่อก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของผู้นำตลาดสินค้าหัตถการความงาม จากปัจจุบันอยู่ท็อป 5 ซึ่งปัจจุบันมีผู้เล่นในตลาด 8-9 แบรนด์ จากสหรัฐฯ สวีเดน เกาหลีใต้ และจีน โดยเมิร์ซฯ ยังคงเน้นเจาะตลาดพรีเมียม

“ตลาดที่เติบโตมากขึ้น ส่งผลต่อการแข่งขันเช่นกัน แต่เราจับตลาดพรีเมียม ด้วยจำนวนคู่แข่งที่น้อย ส่งผลให้การแข่งขันยังไม่สูงมาก อีกทั้งผู้บริโภคก็มีกำลังซื้อ สภาวะเศรษฐกิจไม่มีผล”

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของตลาด มองว่าเป็นนวัตกรรมที่เป็นโฮมยูส หรือใช้งานได้เองที่บ้าน แต่ปัจจุบันยังไม่มีนวัตกรรมไหนที่ได้ผลตามที่โฆษณา ดังนั้นตลาดหัตถการความงามยังคงสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง

 

]]>
1261566