ธุรกิจสตรีมมิ่ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 15 Jun 2022 11:36:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ลือหึ่ง! Baidu เตรียมขายหุ้นทั้งหมดใน iQIYI สตรีมมิ่งรายใหญ่อันดับ 2 ของจีน https://positioningmag.com/1388822 Wed, 15 Jun 2022 10:28:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388822 ยักษ์ใหญ่เสิร์ชเอ็นจิ้นของจีน “Baidu” (ไป่ตู้) เตรียมขายหุ้นทั้งหมดใน iQIYI (อ้ายฉีอี้) สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มอันดับ 2 ในแดนมังกร เนื่องจากต้องการมุ่งเน้นธุรกิจหลัก เช่น AI, ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ให้มากขึ้น คาดว่าผู้สนใจซื้อจะเป็นบริษัทไพรเวทอิควิตี้ PAG และบริษัทยักษ์โทรคมนาคม China Mobile

แหล่งข่าววงในให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่า บริษัท Baidu กำลังเจรจาขายหุ้นทั้งหมดที่มีใน iQIYI โดยปัจจุบัน Baidu ถือหุ้น 53% ใน iQIYI และมีสิทธิออกเสียงในกลุ่มผู้ถือหุ้นถึง 90%

ระหว่างที่ประเทศจีนต้องล็อกดาวน์เพราะ COVID-19 ตลาดสตรีมมิ่งและวิดีโอออนไลน์กลายเป็นธุรกิจที่เบ่งบานอย่างมาก โดยบริษัทที่ปรึกษา Zhiyan คาดการณ์ว่ารายได้ในตลาดสตรีมมิ่งจีนจะก้าวขึ้นไปแตะ 1.63 แสนล้านหยวน (ประมาณ 8.5 แสนล้านบาท) ในปี 2022 นี้ หรือเท่ากับโตขึ้น 17% จากปีก่อน

ด้าน iQIYI นั้นเป็นสตรีมมิ่งเบอร์ 2 ของจีน รองจาก Tencent Video ของค่าย Tencent Holdings บริษัท iQIYI จดทะเบียนอยู่ใน Nasdaq ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดที่ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท) แต่การขายหุ้นของ Baidu ที่คาดว่าจะตั้งราคาขาย 8.13 เหรียญต่อหุ้น จะทำให้บริษัทถูกตีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปแตะ 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.45 แสนล้านบาท)

Apollo Park ศูนย์การพัฒนารถยนต์ไร้คนขับในเขตอี้จวง ชานเมืองปักกิ่ง

แหล่งข่าววงในสองรายกล่าวว่า บริษัท Baidu นั้นต้องการจะขายหุ้น iQIYI ออกจากพอร์ตบริษัท เพราะต้องการมุ่งเน้นกับธุรกิจหลักให้มากขึ้น ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ แผนกยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากทั้งคู่

การเปิดขายหุ้น iQIYI ได้รับความสนใจจากหลายบริษัทมาก ตั้งแต่บริษัทด้านการเงินจนถึงบริษัทที่ดำเนินการโดยรัฐบาลจีน โดยมีสองบริษัทที่เป็นตัวเก็ง คือ PAG บริษัทไพรเวทอิควิตี้จากฮ่องกง และเบอร์ 1 ด้านโทรคมนาคมในจีนอย่าง China Mobile ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาสตรีมมิ่งของตัวเองอยู่แล้วด้วยในชื่อ Migu Video

ทั้ง Baidu, PAG และ China Mobile ยังไม่มีความคิดเห็นตอบกลับผู้สื่อข่าวในขณะนี้

หากว่า Baidu สามารถปิดราคาขายได้ถึง 8.13 เหรียญต่อหุ้นจริง จะทำให้บริษัทได้กำไรมากกว่า 100% เนื่องจากราคาหุ้นเฉลี่ยในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาของ iQIYI นั้นอยู่ที่ 3.97 เหรียญต่อหุ้นเท่านั้น โดยราคาหุ้นของ iQIYI เป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากกระแสการเทขายหุ้นเทคจีนในรอบ 12 เดือนก่อน ทำให้ราคาหุ้นตกไปกว่า 70%

ด้านบริษัท iQIYI ตอบกลับ Reuters ผ่านทางอีเมลอย่างสั้นๆ ว่า “นี่เป็นข่าวลือในตลาดหุ้นชัดๆ”

ในตลาดจีนนั้น มี 3 อันดับสตรีมมิ่งและวิดีโอแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดคือ Tencent Video, iQIYI และ Youku (เป็นของ Alibaba Group) ทั้งหมดต่างนำเสนอคอนเทนต์ประเภทภาพยนตร์ ซีรีส์ และเรียลลิตี้โชว์ มีทั้งการผลิตออริจินอล คอนเทนต์และการซื้อคอนเทนต์จากผู้ผลิตหลายราย

สำหรับ iQIYI มีการผลิตคอนเทนต์สุดฮิตหลายเรื่อง เช่น ซีรีส์ The Long Night (ความจริงที่หลับใหล), The Wind Blows From Longxi (สายลมแห่งหล่งซี) รวมถึงเรียลลิตี้โชว์อย่าง The Rap of China, The Big Band ซึ่งเป็นตัวจุดกระแสร้อนแรงบนโซเชียลมีเดีย หากเป็นในประเทศไทยก็จะมีคอนเทนต์ดังคือรายการ Youth With You ซึ่งมี ‘ลิซ่า Blackpink’ เป็นเมนเทอร์

ในแง่การเงิน บริษัทที่ก่อตั้งมา 12 ปีมีโอกาสทำกำไรน้อยมาก รอบล่าสุดที่ทำกำไรคือเมื่อไตรมาสแรกของปีนี้ แต่ก็เป็นการทำกำไรครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 โดยไตรมาสแรกปี 2022 บริษัทมีกำไร 169 ล้านหยวน (ประมาณ 880 ล้านบาท) แต่เมื่อไตรมาสแรกปี 2021 บริษัทเคยขาดทุนถึง 1,300 ล้านหยวน (ประมาณ 6,800 ล้านบาท) นับว่าเป็นธุรกิจที่ยัง ‘เผาเงินทุน’ มากในตลาดที่แข่งขันสูงอย่างสตรีมมิ่ง

Source

]]>
1388822
“Spotify” ซื้อบริษัท “หนังสือเสียง” อีกหนึ่งก้าวใหญ่เพื่อ “เป็นทุกอย่างที่คุณอยากฟัง” https://positioningmag.com/1363092 Fri, 19 Nov 2021 15:58:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363092 สัปดาห์ก่อน Spotify เข้าซื้อกิจการ Findaway ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย “หนังสือเสียง” รายใหญ่ เป็นอีกหนึ่งก้าวบนหนทางเพื่อ “เป็นทุกอย่างที่คุณอยากฟัง” หวังขึ้นแท่นแอปฯ ทรงพลังเมื่อนึกถึงการฟังในทุกๆ เรื่อง

การเข้าซื้อ Findaway ของ Spotify ไม่ได้เปิดเผยเม็ดเงินลงทุน แต่ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของบริษัทถือว่าเป็นก้าวใหญ่มาก เพราะจะเข้าสู่ธุรกิจที่แตกต่างจากเดิม เนื่องจาก หนังสือเสียง (audiobook) ไม่เหมือนกับพอดคาสต์ ในตลาดนี้มักจะมีผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรายใหญ่ มีโมเดลการแบ่งรายได้ที่แตกต่างกับพอดคาสต์ และจะต้องดูแลสัญญาลิขสิทธิ์จำนวนมาก

ความต่างของหนังสือเสียงกับพอดคาสต์ คือในขณะที่พอดคาสต์อาจจะเริ่มจากการอัดเสียงบนโทรศัพท์มือถือ ตัดต่อใส่ซาวด์และดนตรีประกอบสักหน่อย เท่านี้ก็ได้พอดคาสต์แล้ว แต่หนังสือเสียงมักจะมีผู้บรรยายมืออาชีพ หรือกระทั่งนักแสดงอาชีพที่มาให้เสียง รวมถึงมีการอัดในห้องอัดอย่างเป็นกิจจะลักษณะ

โมเดลธุรกิจที่ Findaway ทำอยู่คือการจัดแพลตฟอร์มชื่อ “Voices” ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างนักเขียนกับผู้บรรยายที่แพลตฟอร์มคัดกรองมาให้แล้วว่าจะอัดหนังสือเสียงได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้ฝั่งนักเขียนจะยอมเสียค่าบริการให้กับ Findaway เพื่อการจัดหาผู้บรรยายคุณภาพ จากโมเดลธุรกิจนี้ Spotify จะเข้าไปสร้างโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีของแพลตฟอร์มให้ดีขึ้น

Spotify พอดคาสต์

ไม่เพียงแต่จัดหาผู้บรรยาย Findaway ยังเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายในตัวเองด้วย ซึ่งทำให้มีส่วนแบ่งรายได้ ปกติสำนักพิมพ์มักจะให้ความเชื่อมั่นต่อ Findaway ในการจัดจำหน่ายหนังสือเสียงต่อไปยังแพลตฟอร์มสำหรับการฟัง ห้องสมุด หรือแพลตฟอร์มรีเทลขายหนังสือเสียง เช่น Audible, Apple Books, Kobo, Libro.fm เป็นต้น จุดนี้จะแตกต่างจากผู้ผลิตพอดคาสต์ที่มักจะเผยแพร่งานของตัวเองด้วยตนเอง

เหตุที่ต้องผ่านคนกลางอย่าง Findaway เพราะการนำไฟล์ที่ซับซ้อนของหนังสือเสียงลงเผยแพร่ตามแพลตฟอร์มแตกต่างกันหลายแห่งไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้หนังสือเสียงลงบนหน้าแอปฯ ต่างๆ อย่างถูกต้อง

สำหรับรายได้ของธุรกิจตัวแทนจัดจำหน่าย คาดว่า Spotify น่าจะรอรับรายได้ก็เพียงพอ เพราะ Findaway มีความแข็งแรงในตัวเองอยู่แล้ว

ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 2020 แอปฯ Spotify มีผู้ใช้ active users จำนวน 345 ล้านคนต่อเดือน และมีสมาชิกพรีเมียม 155 ล้านคน

ข้อสุดท้ายที่น่าสนใจเกี่ยวกับดีลนี้คือ Spotify น่าจะเพิ่มฟังก์ชันใหม่ของตัวเอง เป็นแพลตฟอร์ม “จำหน่ายหนังสือเสียง” ด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องย้ายแอปฯ ไปฟังหนังสือเสียงที่แอปฯ อื่น แต่กดฟังใน Spotify ได้เลย ตามกลยุทธ์ของ Spotify ที่ต้องการเป็นทุกอย่างที่คุณอยากจะฟัง

หาก Spotify จะจำหน่ายหนังสือเสียงแบบแยกเป็นเรื่องๆ ไป มาร์จิ้นที่ได้จะสูงกว่าพอดคาสต์มาก โดยคาดว่าแอปฯ จะเก็บค่าผ่านทางในการเข้าฟังหนังสือเสียงได้ถึงเรื่องละ 15 เหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

เมื่อรวมทั้งซัพพลายเชนแล้ว จะเห็นได้ว่า Spotify จะได้รายได้ตลอดเส้นทาง หาก Findaway เข้าไปมีส่วนในขั้นตอนใดก็ตาม ตั้งแต่การผลิต การเป็นตัวแทนจัดจำหน่าย และการเป็นผู้ขายเองด้วย

สำนักข่าว The Verge คาดการณ์ว่าในอนาคต Spotify น่าจะเริ่มแยกฟังก์ชันสมัครสมาชิกออกเป็นหลายระดับ เช่น มีแพ็กเกจสมาชิกระดับที่สามารถดาวน์โหลดหนังสือเสียงได้เดือนละเล่มร่วมกับการฟังเพลง หรืออาจจะมีแพ็กเกจดาวน์โหลดหนังสือเสียงได้ไม่จำกัด และถ้าหาก Spotify สามารถดึงตลาดให้นักฟังหนังสือเสียงมาใช้บริการแพลตฟอร์มเป็นหลักได้ เมื่อนั้นสำนักพิมพ์ก็จะต้องการลงหนังสือบนแอปฯ นี้มากขึ้น และจะให้ราคาที่ดีขึ้นด้วย

ย้อนกลับไปในช่วงที่ Spotify โหมบุกตลาดพอดคาสต์ บริษัทนี้ใช้เวลาแค่ 2 ปีเพื่อเคลมตัวเองว่าเป็นเบอร์ 1 ของวงการพอดคาสต์ แล้วบริษัทจะทำได้อีกหรือไม่กับการตะลุยวงการหนังสือเสียง? ต้องรอติดตามกันต่อไป

Source

]]>
1363092
รอชม! เจ้าชายแฮร์รี่-เมแกน ตกลงเซ็นสัญญาผลิตรายการให้ “Netflix” https://positioningmag.com/1295471 Thu, 03 Sep 2020 13:33:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295471 เจ้าชายแฮร์รี่และเมแกน มาร์เคิล พระชายา บรรลุข้อตกลงกับ Netflix ยักษ์ใหญ่เเห่งวงการสตรีมมิ่ง เพื่อผลิตรายการต่างๆ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างคอนเทนต์เพื่อความรู้เเละสร้างความหวังให้ผู้คน โดยบางรายการจะมีการปรากฏตัวของทั้งสองพระองค์ด้วย

ในฐานะพ่อแม่มือใหม่ การทำรายการเกี่ยวกับครอบครัวที่สร้างแรงบันดาลใจ ก็เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญเช่นกัน

Ted Sarandos ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเนื้อหาของ Netflix เปิดเผยว่า บริษัทรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่คู่รักราชวงศ์อังกฤษ ได้วางใจให้ Netflix เป็นบ้านที่สร้างสรรค์ผลงานของทั้งสอง

โดยข้อตกลงดังกล่าวจะมีระยะเวลาหลายปี ครอบคลุมทั้งสารคดี สารคดีชุด ภาพยนตร์ขนาดยาวปานกลาง รายการตามบท และรายการสำหรับเด็ก รวมถึงสารคดีชุดที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และซีรีส์แอนิเมชั่น ที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติกับผู้หญิงที่ให้แรงบันดาลใจ ซึ่งบางส่วนกำลังยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเเล้ว

นับเป็นเวลาเกิดขึ้น 6 เดือนเเล้ว หลังจากดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ ทรงประกาศถอยออกจากการเป็นสมาชิกราชวงศ์ระดับสูงของอังกฤษ และย้ายไปอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย เพื่อใช้ชีวิตให้ห่างจากสปอตไลท์ของสื่อ

เจ้าชายแฮร์รี่และพระชายา ระบุในเเถลงการณ์ว่า รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมงานกับ Netflix โดยหวังว่าจะมีส่วนช่วยแบ่งปันคอนเทนต์ที่สร้างแรงกระเพื่อมให้สังคม สามารถช่วยสร้างความยืดหยุ่นและเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้ชมในทุกๆ ที่ทั่วโลก นอกจากนี้ ทั้งสองพระองค์ยังจะมีรายการเป็นของตัวเองด้วย แต่ตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยว่าบริษัทผู้ผลิตจะใช้ชื่อว่าอะไร

ก่อนหน้านี้ ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ ได้แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ Finding Freedom ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของทั้งสองพระองค์ในราชวงศ์อังกฤษ โดยโฆษก เผยว่า ทั้งสองพระองค์จะไม่ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ที่บรรยายถึงความตึงเครียดระหว่างดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์กับสมาชิกราชวงศ์พระองค์อื่นๆ

ทั้งนี้ Netflix ได้หันมาใช้กลยุทธ์สร้างคอนเทนต์ใหม่เอาใจผู้ชม ด้วยการร่วมงานกับเซเลบริตี้ชื่อดัง เช่น ได้เซ็นสัญญากับบริษัท Higher Ground Productions ของบารัก และ มิเชล โอบามา เมื่อปี 2018 เพื่อสร้างออริจินัลคอนเทนต์ต่างๆ โดยสารคดีเรื่องแรกอย่าง American Factory ก็คว้ารางวัลออสการ์เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาด้วย

 

ที่มา : BBC

]]>
1295471
หมดช่วงนาทีทอง! Netflix คาดการณ์ “ยอดสมัครสมาชิก” Q3 หล่นฮวบหลังเลิกล็อกดาวน์ https://positioningmag.com/1288278 Fri, 17 Jul 2020 06:08:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288278 Netflix ประกาศยอดสมัครสมาชิกช่วง Q2/2020 ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10.1 ล้านราย แต่แจ้งเตือนนักลงทุนด้วยว่าช่วง Q3 ปีนี้น่าจะไม่ได้เห็นตัวเลขที่สูงถึงขนาดนี้อีกแล้ว โดยคาดว่าจะมีผู้สมัครสมาชิกเพิ่มเพียง 2.5 ล้านราย เนื่องจากทั่วโลกต่างคลายล็อกดาวน์ ทำให้ความต้องการสื่อบันเทิงในบ้านลดน้อยลง

Netflix แถลงผลประกอบการช่วง Q2/2020 มียอดสมัครสมาชิกเพิ่ม 10.1 ล้านรายระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ผ่านมา โดยเป็นจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นสูงสุดเทียบกับช่วงไตรมาส 2 ของทุกปีที่เปิดบริการมา ทั้งนี้ ยังต่ำกว่าสถิติ Q1/2020 ที่บริษัทโกยสมาชิกไปถึง 15.77 ล้านราย สูงสุดเป็นประวัติการณ์

ตัวเลข 10.1 ล้านรายนี้ถือว่าสูงกว่าที่กลุ่มนักวิเคราะห์จากบริษัทใน Wall Street เคยคาดการณ์ไว้ว่า Netflix จะมีสมาชิกเพิ่ม 7.5 ล้านรายในไตรมาส 2

เมื่อปี 2019 Netflix มียอดสมัครสมาชิกเพิ่ม 27.83 ล้านราย ขณะที่เพียงช่วงครึ่งปีแรก 2020 มีสมาชิกใหม่เพิ่มแล้วถึง 25.87 ล้านราย รวมแล้วบริษัทมีสมาชิกทั่วโลก 193 ล้านราย ณ ขณะนี้

อย่างไรก็ตาม Netflix ก็ยังย้ำอีกครั้งว่า บริษัทตระหนักดีว่าการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของยอดสมาชิกในช่วงการล็อกดาวน์เพื่อคุมโรคระบาด COVID-19 เป็นการเติบโตชั่วคราว โดยคาดการณ์ว่าช่วงไตรมาส 3 หรือเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2020 จะมีสมาชิกใหม่ประมาณ 2.5 ล้านรายเท่านั้น และบริษัทยังมองภาพรวมครึ่งปีหลัง 2020 ว่าจะเติบโตลดลงเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพราะมีการเติบโตล่วงหน้าไปแล้วตั้งแต่ครึ่งปีแรกนั่นเอง

ช่วงการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันโรคระบาดที่ผ่านมา เป็นโอกาสดีที่ Netflix จะรีบดันยอดสมาชิกใหม่หนีสารพัดคู่แข่งที่เพิ่งเข้าตลาด เนื่องจากการล็อกดาวน์ทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกออกไปไหนไม่ได้ เมื่อไม่มีสิ่งบันเทิงนอกบ้าน เช่น โรงภาพยนตร์ สนามกีฬา ทำให้ยอดสมาชิกสตรีมมิ่งบันเทิงพุ่งทะยาน

แต่นาทีทองเช่นนี้ได้จบลงแล้ว “แพทริซ คูซิเนลโล” ผู้อำนวยการ Fitch Rating แสดงความกังวลด้วยว่า ไม่เพียงแต่สมาชิกใหม่จะเติบโตลดลง แต่สมาชิกเดิมอาจจะยกเลิกบริการ เพราะหมดช่วงล็อกดาวน์อยู่กับบ้าน รวมถึงคู่แข่งหน้าใหม่ก็เริ่มชิงส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Disney+ ที่เริ่มเปิดบริการเดือนพฤศจิกายน 2019 หรือ HBO Max ที่เพิ่งเปิดบริการเดือนพฤษภาคม 2020

Source: Reuters, Statista

]]>
1288278
Netflix รุ่งเรืองช่วงล็อกดาวน์ คนเเก้เหงาดูสตรีมมิ่ง สมาชิกใหม่พุ่ง 2 เท่า เกือบ 16 ล้านราย https://positioningmag.com/1274834 Wed, 22 Apr 2020 09:58:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274834 ธุรกิจสตรีมมิ่ง ได้อานิสงส์ช่วงการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไปเต็มๆ เมื่อผู้คนทั่วโลกต้องกักตัวอยู่เเต่ในบ้านเพื่อลดความเสี่ยงต่อติดเชื้อ กิจกรรมบันเทิงหลักที่พอจะทำได้ก็คือการ “ดูหนัง” ส่งผลให้ Netflix แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งรายใหญ่ของสหรัฐฯ มีผู้ใช้ใหม่พุ่งพรวด 15.77 ล้านราย เพิ่มขึ้นถึง 22.8% โดยมียอดผู้ใช้บริการทั่วโลกรวม 182.86 ล้านรายเเล้ว

ด้านผลประกอบการในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 ของ Netflix มีรายได้รวมที่ 5,768 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตขึ้นราว 27.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เเละมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 709 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่ายังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับยอดผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นด้วยปัจจัยการเเข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับสมาชิก “หน้าใหม่” สมัครเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นในช่วงนี้มีถึง 15.77 ล้านราย เพิ่มขึ้น 22.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน เเละเพิ่มเป็น 2 เท่าตัวจากจำนวนผู้ใช้งานรายใหม่ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2019 อันเป็นผลมาจากมาตรการ “ล็อกดาวน์” ในหลายประเทศที่เริ่มประกาศตั้งเเต่ช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา

โดยจำนวนผู้ใช้รายใหม่ในไตรมาส 1/2020 นี้ ส่วนใหญ่มาจาก “กลุ่มประเทศ EMEA” (ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา) ที่มีจำนวนเพิ่มถึง 7 ล้านคน รองลงมาคือ “เอเชีย-แปซิฟิก” ที่มีผู้ใช้ใหม่ราว 3.6 ล้านคน ตามมาด้วยโซน “ละตินอเมริกา” ราว 2.9 ล้านคน และในอเมริกาเหนืออย่าง สหรัฐฯ กับแคนาดา มีผู้ใช้ใหม่ราว 2.3 ล้านคน

ธุรกิจมีขึ้นก็มีลง Netflix ไม่ชะล่าใจเเม้จะมีจำนวนสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพราะบริษัทมองว่าเป็นเรื่องเเค่ “ชั่วคราว” เท่านั้น เพราะยอดการใช้บริการที่เพิ่มขึ้นนี้ ไม่สามารถยืนยันได้ถึงความสำเร็จของกลยุทธ์ของบริษัทได้
หากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 “คลี่คลาย” ผู้คนก็จะกลับมาใช้ชีวิตปกติ ทำงานในออฟฟิศได้ ตัวเลขดังกล่าวก็จะมีเเนวโน้มชะลอตัวลงอย่างเเน่นอน

Netflix ระบุในเเถลงการณ์ว่า จำนวนสมาชิกและยอดการรับชมคอนเทนต์ในช่วงนี้จะเพิ่มขึ้นแบบชั่วคราว เหมือนกับผู้ให้บริการความบันเทิงออนไลน์เจ้าอื่นๆ ซึ่งบริษัทคาดว่ายอดการรับชมและการเติบโตของสมาชิกใหม่จะเริ่มชะลอตัว เมื่อมาตรการล็อกดาวน์สิ้นสุดเเละสถานการณ์ COVID-19 เริ่มดีขึ้น โดยหวังว่าจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้

ทั้งนี้ Netflix ประเมินว่าช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้จะมีสมาชิกผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น 7.5 ล้านราย เเละคาดว่ายอดผู้ใช้บริการทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 190.36 ล้านราย

 

ที่มา : TechCrunch , Netflix , campaignasia

 

]]>
1274834