ราคาอาหาร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 07 Jan 2024 12:14:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ดัชนีราคาอาหารของ FAO ปรับตัวลดลงเกือบ 14% แต่นักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่าราคาอาหารอาจไม่ได้ปรับตัวลดลงตาม https://positioningmag.com/1457856 Sat, 06 Jan 2024 05:33:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457856 ดัชนีราคาอาหารขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในปี 2023 นั้นปรับตัวลดลงเกือบ 14% ในปี 2023 ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นความคลี่คลายของราคาอาหารทั่วโลก อย่างไรก็ดีนักเศรษฐศาสตร์กลับชี้ว่าราคาอาหารอาจไม่ได้ปรับตัวลดลงตาม เนื่องจากต้นทุนอื่นๆ

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติ ได้รายงานดัชนี Food Price Index ที่รวบรวมราคาอาหารสำคัญๆ ซึ่งในปี 2023 ดัชนีดังกล่าวได้ปรับตัวลดลง 13.7% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อของราคาอาหารทั่วโลก

ดัชนี Food Price Index ของ FAO ซึ่งติดตามสินค้าโภคภัณฑ์อาหารที่มีการซื้อขายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาล เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ไปจนถึงน้ำมันพืช นั้นตัวเลขในเดือนธันวาคมของปี 2023 อยู่ที่ 143.7 จุด ลดลง 13.7% เมื่อเทียบกับปี 2022 ซึ่งดัชนีดังกล่าวนั้นอยู่ที่ 124 จุด

นอกจากนี้ถ้าเทียบตัวเลขดัชนีในเดือนธันวาคมกับเดือนพฤศจิกายน ตัวเลขของดัชนีดังกล่าวก็ลดลงเช่นกัน

ราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดในดัชนีคือราคาน้ำมันพืช ซึ่งปรับตัวลดลงมากถึง 32.7% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา ราคาน้ำตาลปรับตัวลดลง 16.6% ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์นมปรับตัวลดลง 16.1% อย่างไรก็ดีราคาข้าวขาวกลับปรับตัวสูงขึ้นมากถึง 21%

สาเหตุหลักที่ทำให้ราคาอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นมาจากการบุกยูเครนโดยรัสเซียนับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา และความกังวลในดังกล่าวทำให้หลายประเทศ เช่น อินเดีย หรือแม้แต่ไทย ได้งดส่งออกสินค้าทางการเกษตร หลายชนิด เพื่อที่จะทำให้ความต้องการในการบริโภคของประชาชนเพียงพอ

ดัชนีดังกล่าวนั้นมีท่าทีคลี่คลายเพิ่มมากขึ้น หลังจากในปี 2023 ราคาพลังงานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของต้นทุนทางการเกษตร หรือแม้แต่ราคาปุ๋ย นั้นปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ดี Bruno Parmentier นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอาหารได้กล่าวกับ RTE สื่อของไอร์แลนด์ว่า “ดัชนีราคาสินค้าอาหารที่ลดลงไม่ได้หมายความว่าราคาอาหารจะลดลงเสมอไป” โดยเขาชี้ว่าราคาอาหารนั้นมีต้นทุนอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเช่นกันมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรง ราคาพลังงาน ฯลฯ

ที่มา – RTE

]]>
1457856
พายุเศรษฐกิจลูกใหม่กำลังก่อตัวจาก “เอลนีโญ” เตรียมรับมือราคา “อาหาร” พุ่งสูง https://positioningmag.com/1436590 Tue, 04 Jul 2023 10:05:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436590 หลังจากทั่วโลกเผชิญภาวะเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จนถึงจุดที่หลายฝ่ายเชื่อว่าน่าจะเข้าสู่จุดสูงสุดแล้ว แต่พายุเศรษฐกิจลูกใหม่กำลังก่อตัวจากความแปรปรวนทางภูมิอากาศ ปีนี้ทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะ “เอลนีโญ” ซึ่งจะทำให้บางส่วนของโลกเกิดฝนตกหนักและน้ำท่วม ขณะที่บางส่วนเกิดภัยแล้งและไฟป่า แต่ผลร่วมกันคือพืชพันธุ์ทางการเกษตรจะเสียหาย และราคา “อาหาร” จะพุ่งสูง

หลายสำนักพยากรณ์และผู้เชี่ยวชาญทางภูมิอากาศเห็นตรงกันว่าโลกเรากำลังเผชิญ “เอลนีโญ” แห่งปี 2023 ไม่ว่าจะเป็นกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย หรือสำนักงานวิจัยทางทะเลและชั้นบรรยากาสแห่งชาติสหรัฐฯ ต่างเห็นว่าเอลนีโญกำลังทำให้เกิดภาวะอากาศแปรปรวนไปทั่วโลก และจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย ซัพพลายวัตถุดิบอาหารขาดตลาด ราคาพุ่ง เป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจ

“เอลนีโญ” ปี 2023 อาจจะเป็นปีที่ร้ายแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้น ตามการคาดการณ์ของ กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย พบว่าอุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิกปรับสูงขึ้นมาแล้ว 0.5 องศาเซลเซียส และเป็นไปได้ว่าจะเพิ่มขึ้นไป 3.2 องศาเซลเซียสภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ หากเกิดขึ้นจริง นั่นหมายความว่าเอลนีโญปีนี้จะทำให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นสถิติใหม่ หลังจากน้ำทะเลเคยร้อนขึ้นสูงสุด 2.6 องศาเซลเซียสในปี 2016

นาข้าว

ในส่วนอื่นของโลกก็เริ่มเห็นผลกระทบแล้ว Annalisa Bracco ศาสตราจารย์ด้านมหาสมุทรและกลศาสตร์ภูมิอากาศ Georgia Institute of Technology พบว่า อุณหภูมิมหาสมุทรพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 40 ปีมาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2023 มหาสมุทรที่ร้อนขึ้น มีผลต่อความร้อนบนแผ่นดิน และความแปรปรวนทางภูมิอากาศ

ปัจจุบันทวีปยุโรปในบริเวณประเทศสเปน ฝรั่งเศส อังกฤษ และกลุ่มสแกนดิเนเวีย มีฝนตกน้อยกว่าปกติ ทำให้ประเทศนอร์เวย์เข้าสู่ภาวะภัยแล้งเช่นเดียวกับที่เคยเผชิญในปี 2018

เช่นเดียวกับในมหาสมุทรอินเดีย อุณหภูมิเริ่มร้อนขึ้นมาตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งทำให้ฤดูมรสุมที่ควรเริ่มมีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมในเขตเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันกลับมีฝนตกเบาบางกว่าที่ควร และจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเสียหาย ในพื้นที่ป่ามีโอกาสเกิดไฟป่าสูงขึ้น รวมถึงเกิดคลื่นความร้อนในทะเล

ในทางกลับกัน พื้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะเผชิญกับฝนตกหนักและพายุ ทำให้เกิดอุทกภัย แต่สร้างความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรมเช่นกัน

 

ข้าว กาแฟ น้ำตาล ถั่วเหลือง เตรียมตัวรับผลกระทบ

ปัจจุบันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ด้านการเกษตรบางชนิดเริ่มปรับราคาขึ้นแล้ว เช่น “ข้าว” ทำราคาสูงสุดเป็นสถิติใหม่ในรอบ 15 ปีไปเมื่อเดือนมิถุนายน เพราะผู้ผลิตข้าวแหล่งสำคัญของโลก ได้แก่ อินเดีย ไทย และเวียดนาม ต่างอยู่ในเขตที่จะได้รับผลกระทบภัยแล้งจากเอลนีโญทั้งหมด โดยรัฐบาลไทยได้ให้คำแนะนำกับชาวนาไทยไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมว่าปีนี้ควรจะ ‘ทำนาเพียงรอบเดียว’ เนื่องจากภัยแล้ง หมายความว่าผลผลิตข้าวของไทยปีนี้จะลดน้อยลง

ในกรณีเวียดนาม มีสินค้าโภคภัณฑ์อีกชนิดที่จะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งคือ “กาแฟ” โดยเวียดนามเป็นแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้าซึ่งนิยมนำไปผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป เมื่อสัปดาห์ก่อนราคาสัญญาซื้อล่วงหน้าของกาแฟโรบัสต้าพุ่งขึ้นไปแตะสถิติสูงสุดในรอบ 15 ปีแล้วเช่นกัน และเป็นการปรับขึ้นสูงถึง 60% ภายในรอบปีเดียว

ฟากประเทศอินเดียเริ่มเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารในประเทศแล้ว โดยอินเดียออกคำสั่งห้ามส่งออก “น้ำตาล” ไปจนถึงครึ่งปีแรกของปี 2024 เนื่องจากความกังวลเรื่องเอลนีโญจะมีผลต่อการปลูกอ้อย และจะทำให้ราคาน้ำตาลในประเทศสูงขึ้น โดยอินเดียถือเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก เมื่ออินเดียงดส่งออกไปจนถึงปีหน้า จึงมีแนวโน้มสูงที่ราคาน้ำตาลโลกจะพุ่งขึ้น

ขณะที่ในฝั่งสหรัฐฯ ดังที่กล่าวไปว่าเอลนีโญจะทำให้มีฝนตกหนัก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของสหรัฐฯ เช่น ถั่วเหลือง จะมีความเสี่ยงขาดแคลนซัพพลายในปีนี้

นี่เป็นเพียงตัวอย่างสินค้าเกษตรบางชนิดเท่านั้น และจากกรณีของอินเดียที่ห้ามส่งออกน้ำตาลเพราะเกรงซัพพลายใช้ไม่เพียงพอในประเทศหรือราคาในประเทศสูงเกินไป จึงมีความเป็นไปได้ที่ประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่อื่นๆ อาจจะใช้มาตรการเดียวกันกับสินค้าชนิดอื่น จนเกิดซัพพลายวัตถุดิบอาหารบางชนิดขาดแคลนหรือราคาพุ่งขึ้น ยังผลต่อราคาอาหารโดยรวมของคนทั้งโลก

การคาดการณ์เหล่านี้มองไปเพียงรอบ 1 ปีข้างหน้า แต่องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกประเมินว่าภาวะ “เอลนีโญ” จะไม่จบลงในปีเดียว เพราะมีโอกาสถึง 98% ที่โลกเราอาจต้องเผชิญกับสภาวะอุณหภูมิโลกร้อนผิดปกติไปอีก 5 ปี เนื่องจากในยุคนี้ปัจจัยความร้อนโลกไม่ได้มีแค่เอลนีโญแต่ยังผสมกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สะสมมานาน ซึ่งทำให้ผู้นำด้านนโยบายของประเทศต่างๆ ต้องเร่งจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการใช้ถ่านหิน

ที่มา: Reuters, FastCompany

]]>
1436590
เรือขนส่ง “ธัญพืช” ลำแรกเดินทางออกจาก “ยูเครน” ความหวังกอบกู้วิกฤตอาหารโลก https://positioningmag.com/1394621 Tue, 02 Aug 2022 07:33:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394621 นับตั้งแต่รัสเซียเริ่มเปิดฉากบุกทางการทหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เรือลำนี้เป็นเรือขนส่งลำแรกที่ได้ออกจากท่าเรือโอเดสซา ประเทศยูเครน โดยบรรทุก “ข้าวโพด” หนัก 26,000 ตันออกจำหน่าย ถือเป็นความสำเร็จเป็นรูปธรรมนับตั้งแต่ UN เข้าไกล่เกลี่ยเจรจาทุกฝ่าย เพื่อเปิดทางให้ยูเครนได้ส่งออกอาหาร กู้วิกฤตโลก

สหประชาชาติ (UN) และตุรกีเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยระหว่างรัสเซียและยูเครนเมื่อเดือนก่อน เพื่อให้มีการส่งออกธัญพืชทางเรือได้ตามปกติ และเมื่อวานนี้ (1 ส.ค. 2022) นับได้ว่าเกิดความสำเร็จขั้นแรกแล้ว เมื่อเรือลำแรกเริ่มออกเดินทางจากท่าเรือโอเดสซา ประเทศยูเครน

กระทรวงกลาโหมแห่งประเทศตุรกีรายงานว่า เรือชื่อ Razoni ซึ่งเป็นเรือสัญชาติเซียร์รา-ลีโอนที่ประกอบในประเทศจีน ออกเดินทางจากท่าเรือโอเดสซาแล้วในเวลา 06:00 GMT บนเรือบรรทุก “ข้าวโพด” หนัก 26,000 ตัน เพื่อนำไปส่งที่ท่าเรือเมืองตริโปลี ทางเหนือของเลบานอน

เรือ Razoni จะต้องแล่นไปอย่างช้ามากๆ เพราะในทะเลดำซึ่งเป็นทางผ่านไปยังเลบานอนนั้น ยังเต็มไปด้วยทุ่นระเบิดของกำลังทหารฝ่ายยูเครนซึ่งใช้ป้องกันการบุกรุกทางทะเลของทหารเรือฝ่ายรัสเซีย ทั้งนี้ การเดินทางและการขนถ่ายสินค้าของเรือลำนี้จะได้รับการสังเกตการณ์ร่วมทั้งจากประเทศยูเครน รัสเซีย ตุรกี และเจ้าหน้าที่ UN

 

ทำไมการขนส่งข้าวโพดของเรือลำนี้จึงสำคัญต่อโลก?

ยูเครนและรัสเซียนั้นเป็นผู้ส่งออกธัญพืชที่ใหญ่ที่สุดของโลก แต่สงครามระหว่างกันทำให้พื้นที่ทะเลดำกลายเป็นเขตหวงห้ามไปโดยปริยาย ยูเครนจึงส่งออกธัญพืชได้ยากมากจนปริมาณการส่งออกธัญพืชของปีนี้ลดลงเหลือเพียง 1 ใน 6 ของช่วงเวลาปกติ

ข้าวสาลี
ทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีและธัญพืชรายใหญ่

เมื่อซัพพลายธัญพืชลดลงกะทันหัน ราคาในตลาดโลกจึงปรับสูงขึ้น ผู้ได้รับผลกระทบจึงเป็นผู้มีรายได้ต่ำทั่วโลก ตามการรายงานของ World Food Programme โดย UN พบว่าปัจจุบันมีคน 47 ล้านคนทั่วโลกที่อยู่ในภาวะ “หิวโหยรุนแรง”

UN จึงเข้าไปเจรจาและเกิดผลสำเร็จ มีการลงนามในสัญญาเมื่อเดือนก่อนเพื่อเปิดทางให้การขนส่งธัญพืชและสินค้าเกษตรทำได้ผ่านทะเลดำเช่นเดิม เพื่อช่วยเหลือให้คนทั่วโลกพ้นจากภาวะอดอยาก ด้วยการส่งข้าวสาลี น้ำมันดอกทานตะวัน ปุ๋ย ฯลฯ เข้าสู่ตลาดโลก โดยสัญญานี้คาดหวังว่าจะทำให้มีการส่งออกธัญพืชได้เฉลี่ย 5 ล้านตันต่อเดือน

ฟากยูเครนก็จะได้รับประโยชน์เช่น “Oleksandr Kubrakov” รัฐมนตรีกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานยูเครน กล่าวว่า การขนส่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศเกิดรายได้อย่างน้อย 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 36,000 ล้านบาท) เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างโอกาสให้ภาคเกษตรกรรมในปีหน้า

 

สัญญานี้จะมีผลยาวนานแค่ไหน?

ยูเครนระบุว่า มีเรืออีก 16 ลำที่รอคิวออกจากท่าเรือโอเดสซาแล้ว ณ ขณะนี้ ส่วนสัญญาที่ลงนามกันเมื่อเดือนก่อน จะมีผลยาว 120 วัน แต่จะต่อสัญญาอัตโนมัติออกไปเรื่อยๆ ยกเว้นว่าสงครามจะสิ้นสุดลงแล้ว

เส้นทางขนส่งธัญพืชทางเรือจากยูเครนสู่เลบานอน จะต้องผ่านประเทศตุรกี และจะเป็นจุดแวะพักเพื่อตรวจตราความเรียบร้อยจากทุกฝ่าย

ฝั่งเพื่อนบ้านอย่างตุรกี โฆษกรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2022 เชื่อว่า ข้อตกลงฉบับนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นกรุยทางไปสู่สันติภาพระหว่างสองฝ่ายได้

แต่ก็ใช่ว่าการขนส่งจะทำได้แบบสะดวกโยธิน เพราะแม้รัสเซียจะเซ็นสัญญาไม่โจมตีเรือขนส่งสินค้าเกษตร แต่ก็ยังมีการทำสงครามในน่านน้ำทะเลดำและเขตท่าเรือของยูเครนต่อไป นับตั้งแต่มีการเซ็นสัญญาดังกล่าว รัสเซียโจมตีพื้นที่รอบท่าเรือโอเดสซาไปแล้ว 3 ครั้ง จึงต้องจับตาดูต่อไปว่าข้อตกลงจะมีเสถียรภาพแค่ไหน

ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากการปิดน่านน้ำทะเลดำเช่นกัน เพราะเรามีการนำเข้าธัญพืชจากยูเครนมากกว่า 10% ของการนำเข้าธัญพืชทั้งหมด เมื่อซัพพลายลด ราคาสูงขึ้น ส่งผลต่อเนื่องถึงราคาอาหารสัตว์ ดันราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น และอาหารคนบางประเภทที่ใช้ข้าวสาลี เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมปัง ก็ปรับสูงขึ้นด้วย

source

]]>
1394621
อินโดฯ ห้ามส่งออก ‘น้ำมันปาล์ม’ ทุกประเภท สะเทือนตลาดโลก https://positioningmag.com/1383375 Thu, 28 Apr 2022 12:10:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383375 รัฐบาลอินโดฯ สั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มทุกประเภทหลังเกิดปัญหาขาดเเคลนในประเทศ สร้างความวิตกต่อตลาดโลกที่ราคาพุ่งแตะจุดสูงสุดแล้ว

อินโดนีเซีย กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันสำหรับประกอบอาหารภายในประเทศ จนทำให้ราคาขายในตลาดพุ่งสูงขึ้น ผู้บริโภคในหลายเมืองต้องรอนานเป็นชั่วโมงเพื่อต่อคิวซื้อสินค้าจำเป็น

โดยรัฐบาลจะขยายมาตรการระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม เป็นห้ามการส่งออกผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มทุกประเภท ทั้งน้ำมันปาล์มดิบ (CPO), น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (RPO), น้ำมันปาล์มโอเลอิน (RBD), น้ำมันทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม (POME) และน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว รวมถึงปาล์มดิบด้วย หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยประกาศว่าจะระงับการส่งออกเฉพาะผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มโอเลอินเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สอดคล้องกับการตัดสินใจของประธานาธิบดี หลังจากได้พิจารณาข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากประชาชนเเล้ว” 

โดยรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการจัดสรรปริมาณน้ำมันพืชให้เพียงพอต่อประชากร 270 ล้านคนเป็นลำดับแรก

ประธานาธิบดี Joko Widodo กล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก เเต่กลับประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหาร

โดยรัฐบาลวางแผนกลับมาส่งออกน้ำมันปาล์มอีกครั้ง หากราคาน้ำมันปาล์มในประเทศลดลงเหลือลิตรละ 14,000 รูเปียห์ จากที่ตอนนี้ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศพุ่งขึ้นไปที่ลิตรละ 26,000 รูเปียห์ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มคิดเป็น 60% ของปริมาณทั้งหมดในตลาดโลก โดยมีอินเดีย จีน สหภาพยุโรปและปากีสถาน เป็นประเทศนำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่จากอินโดนีเซีย

AFP รายงานว่า ปัญหาขาดแคลนน้ำมันปาล์มในอินโดนีเซีย ยืดเยื้อมานานหลายเดือน อันเป็นผลมาจากกฎหมายที่ไม่รัดกุมและความไม่เต็มใจของผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม ที่ไม่อยากนำสินค้าวางขายในประเทศ เเต่ไปเน้นส่งออกไปขายต่างประเทศแทน เพราะเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันพืชในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ผลิตได้กำไรมากกว่า

ขณะเดียวกัน วิกฤตรัสเซียยูเครนก็มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันพืชพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้

โดยธนาคารโลก ได้เตือนถึงวิกฤตราคาอาหารเเละพลังงานพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ซึ่งครัวเรือนยากจนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพวกเขาต้องแบ่งรายได้มาใช้สำหรับค่าอาหารและพลังงานมากขึ้น

 

ที่มา : Reuters , AFP 

]]>
1383375
ธนาคารโลกเตือน ราคาอาหาร-พลังงาน พุ่งครั้งใหญ่สุดรอบ 50 ปี กลุ่มยากจนกระทบหนัก https://positioningmag.com/1383142 Wed, 27 Apr 2022 10:50:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383142 ธนาคารโลก เตือนผลกระทบสงครามรัสเซียยูเครน จะทำให้เกิดวิกฤตราคาอาหารพลังงานพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970

โดยการหยุดชะงักในภาคการผลิตจากในพื้นที่ความขัดแย้ง จะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ก๊าซธรรมชาติ ข้าวสาลี น้ำมันพืชเเละฝ้าย

การปรับขึ้นของราคา กำลังเริ่มส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและด้านมนุษยธรรมอย่างมหาศาล ครัวเรือนทั่วโลกต่างกังวลถึงวิกฤติค่าครองชีพ Peter Nagle นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกระบุ

ครัวเรือนยากจนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพวกเขาต้องแบ่งรายได้มาใช้สำหรับค่าอาหารและพลังงานมากขึ้น

ธนาคารโลก คาดการณ์ว่า ราคาพลังงานอาจจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 50% ในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชนทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ

โดยราคาพลังงานที่จะเพิ่มมากที่สุด คือราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรป ซึ่งอาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เเละคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องในปีหน้าและปี 2024 แต่ก็ยังจะสูงกว่าระดับราคาในปี 2021 ถึง 15% ซึ่งจะนำไปสู่การขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อในวงกว้าง

สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวม คาดว่าราคาจะสูงสุดในปี 2021 แต่ก็ยังคงสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้มากโดยสินค้าเกษตรและโลหะ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 20% ในปีนี้ ก่อนจะค่อยๆ ลดลงในปีถัดไป

รัสเซียและยูเครน นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชหลักของโลก โดยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์หลักหลายรายการ อย่างเช่น ข้าวสาลี น้ำมันพืช และข้าวโพด

 

ที่มา : BBC 

]]>
1383142
เงินเฟ้อทำต้นทุนพุ่ง ‘เนสท์เล่’ ขึ้นราคาสินค้าทั่วโลก 5% เเละมีเเนวโน้มจะปรับขึ้นอีก https://positioningmag.com/1382465 Fri, 22 Apr 2022 09:21:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382465 เนสท์เล่ (Nestlé) บริษัทอาหารเเละเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก มีการปรับขึ้นราคาสินค้ามากกว่า 5% ในช่วง 3 เดือนเเรกของปีนี้หลังต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น จากปัญหาเงินเฟ้อส่งผลต่อภาระผู้บริโภค

ในรายงานผลประกอบการไตรมาสแรก ระบุว่ากลุ่มผู้บริโภคในอเมริกาเหนือได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมีราคาสินค้าของเนสท์เล่เพิ่มขึ้น 8.5% ตามมาด้วยผู้บริโภคโซนลาตินอเมริกาที่ราคาปรับเพิ่มขึ้น 7.7%”

Mark Schneider ซีอีโอของเนสท์เล่ ส่งสัญญาณว่าบริษัทมีแนวโน้มจะปรับขึ้นราคาสินค้าอีก ตามอัตราเงินเฟ้อโลกที่พุ่งสูงขึ้น

โดยระบุในเเถลงการณ์ว่า การปรับขึ้นราคาสินค้าจะต้องคำนึงถึงผู้บริโภค โดยอัตราเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องมีการปรับราคาเพิ่มเติม รวมออกมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบตลอดทั้งปีนี้

อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก โดยเงินเฟ้อสหรัฐฯ แตะ 8.5% ในเดือนมีนาคม สูงที่สุดในรอบ 40 ปี ส่วนในยุโรปอยู่ที่ 7.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่สหภาพยุโรปเริ่มรวบรวมข้อมูลเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว

ราคาของสินค้าที่ผลิตจากโรงงานในเยอรมนีเมื่อเข้าสู่ราคาขายปลีกได้ปรับเพิ่มขึ้น 30% ในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 73 ปี

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หลักๆ มาจากราคาพลังงานขณะเดียวกัน ราคาอาหารที่เเพงขึ้นก็กดดันเงินเฟ้อเช่นเดียวกัน

เนสท์เล่รายงานยอดขายรวมเพิ่มขึ้น 5.4% ในไตรมาสนี้และคาดว่ายอดขายจะเติบโต 5% ตลอดทั้งปี โดยได้เเบรนด์ต่างๆ อย่าง Purina PetCare, Nescafé และ KitKat เป็นตัวหนุนการเติบโต

อย่างไรก็ตาม การเเบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น อาจทำให้ผลกำไรของบริษัทลดลง โดยคาดการณ์อัตรากำไรขั้นต้นในปีนี้จะอยู่ระหว่าง 17% ถึง 17.5% เทียบกับ 17.4% ในปี 2021

ราคาอาหารโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงต้นปีนี้ จากวิกฤตโรคระบาด สภาพอากาศที่ย่ำแย่ การรุกรานยูเครนของรัสเซียที่ทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก โดยเฉพาะสินค้าหลักอย่างข้าวสาลี และ น้ำมันพืช

David Malpass ประธานธนาคารโลก เตือนว่าการพุ่งขึ้นของราคาอาหาร มีความเสี่ยงจะเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ของของมนุษยชาติ เเละราคาอาจเพิ่มขึ้นมากถึง 37% อันเป็นผลมาจากสงครามในยูเครน

 

ที่มา : CNN

]]>
1382465
สงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ ดัน ‘ราคาอาหารโลก’ พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ https://positioningmag.com/1381139 Fri, 08 Apr 2022 17:19:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381139 ราคาอาหารโลก แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมีนาคม จากผลกระทบสงครามรัสเซียยูเครนที่ส่งผลต่อตลาดสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิด โดยเฉพาะธัญพืชและน้ำมันพืช

รายงานล่าสุดขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เปิดเผยว่า การหยุดชะงักของภาคการส่งออกและการคว่ำบาตรจากนานาชาติต่อรัสเซีย กระตุ้นให้เกิดความกังวลต่อวิกฤตความอดอยากทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งตอนนี้ผลกระทบดังกล่าวยังดำเนินอยู่ต่อเนื่อง

รัสเซียและยูเครน นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชหลักของโลก โดยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์หลักหลายรายการ อย่างเช่น ข้าวสาลี น้ำมันพืช และข้าวโพด

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาหารโลกพุ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในเดือนมีนาคม แตะระดับสูงสุดเท่าที่เคยมีมา หลังความตึงเครียดของสงคราม สร้างความวิตกไปทั่วตลาด” FAO ระบุในแถลงการณ์

ดัชนีราคาอาหารของ FAO รายงานสถิติสูงสุดในเดือนก.. พุ่งขึ้น 12.6% เมื่อเดือนที่แล้ว เเละเป็นการขึ้นเเบบก้าวกระโดดครั้งใหญ่สู่ระดับสูงสุดใหม่ นับตั้งแต่ FAO ก่อตั้งมาในปี 1990

โดยดัชนีราคาอาหาร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงรายเดือนของสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายมากสุดทั่วโลก เฉลี่ยที่ 159.3 จุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาปรับขึ้นทำสถิติใหม่เป็นประวัติการณ์ ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันพืช ธัญพืช และเนื้อสัตว์ ขณะที่ราคาน้ำตาลและผลิตภัณฑ์จากนม ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมากเช่นกัน

ทั้งนี้ รัสเซียและยูเครน มีการส่งออกข้าวสาลีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอันดับต้นๆ ของโลก คิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของการบริโภคข้าวสาลี และ 20% ของการบริโภคข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั่วโลก

ขณะที่เเหล่งเพาะปลูกข้าวสาลีแห่งอื่นอย่างสหรัฐฯ ก็เจอผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ ทำให้ราคาข้าวสาลีในสหรัฐฯ พุ่งขึ้นเกือบ 20%

ด้านดัชนีราคาน้ำมันพืชของ FAO เพิ่มขึ้น 23.2% โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันเมล็ดทานตะวันที่สูงขึ้น เนื่องจากยูเครนเป็นชาติผู้ส่งออกหลัก ผลกระทบด้งกล่าวทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในยุโรปต้องจำกัดการซื้อน้ำมันพืชเพื่อไม่ให้เกิดปัญญาการกักตุนสินค้า

นอกจากวิกฤตทางด้านอาหารเเล้ว ความขัดแย้งรัสเซียยูเครน ยังส่งผลต่อราคาน้ำมันและก๊าซ ซึ่งมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นไปทั่วโลก และอาจทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก หลังเพิ่งฟื้นตัวได้จากโควิด-19

 

ที่มา : AFP 

]]>
1381139
ความตึงเครียด ‘รัสเซีย-ยูเครน’ กระทบอาหารโลก ราคาข้าวสาลี-ข้าวโพด อาจพุ่งสูงขึ้น https://positioningmag.com/1374148 Tue, 15 Feb 2022 16:32:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374148 เหล่านักวิเคราะห์ เเสดงความกังวลต่อความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตร อย่างข้าวสาลีเเละข้าวโพด ซ้ำเติมราคาอาหารโลกที่เเพงใกล้เเตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี

รัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่ยูเครนก็เป็นหนึ่งในเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีและข้าวโพดรายสำคัญ

Peter Meyer นักวิเคราะห์จาก S&P Global Platts กล่าวว่า การแทรกแซงการขนส่งข้าวสาลีเเละข้าวโพดจากรัสเซียและยูเครน อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อด้านอาหารแย่ลงไปอีก โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างๆ ของโลกที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบเหล่านี้

จากรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า ราคาอาหารโลกเพิ่มขึ้นมากถึง 28% ในปี 2021 และคาดว่าจะพุ่งขึ้นอีกในปีนี้ เนื่องจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานจากวิกฤตโรคระบาดยังคงมีอยู่

ยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีและข้าวโพดรายใหญ่ และหากการส่งออกหยุดชะงัก อาจทำให้ราคาโลกพุ่งสูงขึ้นOphelia Coutts นักวิเคราะห์ชาวรัสเซียจากบริษัทที่ปรึกษา Verisk Maplecroft กล่าว

เเละมองว่า เมื่อราคาอาหารและพลังงานเเพงขึ้นพร้อมกัน ตอกย้ำถึงวิกฤตค่าครองชีพและอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดความไม่สงบในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในแอฟริกาและตะวันออกกลาง

อีกความกังวลหลักในหมู่นักลงทุนและนักวิเคราะห์ตลาดคือ การที่รัสเซียอาจจะปิดกั้นท่าเรือของยูเครนในทะเลดำเพื่อสร้างแรงกดดันระหว่างการบุกโจมตีทางทหาร

Michael Magdovitz นักวิเคราะห์จาก Rabobank มองว่า มีความเคลื่อนไหวในฝ่ายกองทัพเรือของรัสเซีย ซึ่งอาจเป็นปัญหาในการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรอย่างข้าวสาลี

ขณะเดียวกัน เกษตรกรในยูเครน ก็อาจจะไม่สามารถรับผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการเพาะปลูก อย่างเช่น ปุ๋ย ก่อนฤดูปลูกที่จะมาถึงนี้ได้

ยิ่งไปกว่านั้น หากกรณีที่ประเทศตะวันตกตัดสินใจคว่ำบาตรรัสเซียก็จะเกิดปัญหาใหญ่ ที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดแม้ว่าสินค้าเกษตรจะไม่ใช่เป้าหมายในการคว่ำบาตรโดยตรงก็ตาม เนื่องจาก รัสเซียเป็นผู้ครองสัดส่วนการค้าข้าวสาลีทั่วโลกกว่า 20% เเละมีประเทศคู่ค้าที่ซื้อเป็นอันดับต้นๆ อย่างตุรกีและอียิปต์

อย่างไรก็ตาม Magdovitz มองว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะจะสร้างความเสียหายอย่ามหาศาลให้กับกลุ่มประเทศยากจนด้วย

 

ที่มา : CNN

]]>
1374148