สายการบินโลว์คอสต์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 04 Dec 2020 00:10:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 EasyJet จะเก็บค่า “สัมภาระเหนือศีรษะ” จุดกระเเสวิจารณ์ “เพิ่มค่าตั๋ว” จากลูกค้าในยามวิกฤต https://positioningmag.com/1309058 Thu, 03 Dec 2020 17:06:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309058 EasyJet สายการบินราคาประหยัดของอังกฤษ ประกาศกฎใหม่ จะเริ่มเก็บค่าบริการสำหรับสัมภาระที่ผู้โดยสารนำติดตัวขึ้นไปบนเครื่องบินที่ช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะ

ประเด็นนี้ กำลังถูกพูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ของอังกฤษ หลายคนมองว่าเป็นข้ออ้างที่สายการบินจะเอาเปรียบลูกค้าด้วยการเพิ่มค่าตั๋วเพื่อหารายได้ในยามวิกฤต COVID-19 ส่วนฝ่ายสนับสนุน มองว่าจะช่วยเพิ่มพื้นที่สัมภาระให้เพียงพอ และลดปัญหาการขนสัมภาระเกินความพอดีได้ 

ขณะที่ EasyJet ระบุว่า นโยบายเก็บค่าสัมภาระดังกล่าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้โดยสารเอง เพราะจะทำให้เที่ยวบินตรงเวลามากขึ้น เนื่องจากหนึ่งในสาเหตุทำให้เครื่องบินดีเลย์ก็มาจากการจัดสัมภาระ

โดยผู้โดยสารที่ต้องการจะนำสัมภาระติดตัวขึ้นเครื่องบิน (ไม่ได้โหลดใต้เครื่อง) ที่มีขนาดไม่เกิน 56 x 45 x 25 เซนติเมตร จะต้องจ่ายค่าตั๋วเพิ่มขึ้น จากเดิมไม่คิดค่าบริการ ซึ่งราคาใหม่จะแพงกว่าค่าตั๋วโดยสารสำหรับเที่ยวบินปกติประมาณ 7.99-29.99 ปอนด์ (ราว 345 บาท) ไปจนถึง 29.99 ปอนด์ (ราว 1,200 บาท) สำหรับเที่ยวบินทางไกล

อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วเเบบ Flexi Fare หรือลูกค้าประจำผู้เป็นสมาชิกที่ใช้บริการของสายการบินบ่อย จะยังคงสามารถหิ้วกระเป๋าขนาดเล็กขึ้นไปบนห้องโดยสารของเครื่องบินได้

โดยจะเตรียมบังคับใช้นโยบายนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ปี 2021 เป็นต้นไป ขณะที่ผู้โดยสารจะยังคงโหลดกระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่ลงใต้เครื่องบิน ได้ฟรี 1 ใบตามปกติ

ด้านคู่เเข่งในธุรกิจการบินอังกฤษอย่าง Ryanair ยังอนุญาตให้ผู้โดยสารถือกระเป๋าถือขนาดเล็กขึ้นเครื่องได้ 1 ใบโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ส่วนตั๋วโดยสารราคาถูกที่สุดของสายการบิน British Airways อนุญาตให้นำกระเป๋าถือขนาดใหญ่และขนาดเล็กขึ้นเครื่องได้อย่างละ 1 ใบ

EasyJet มีผลกระกอบการประจำปีนี้ (ถึงวันที่ 30 กันยายน) “ขาดทุนเป็นครั้งเเรกในรอบ 25 ปี จากผลกระทบการเเพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีการขาดทุนราว 1.27 พันล้านปอนด์

Johan Lundgren ซีอีโอของ EasyJet กล่าวว่า ในช่วงฤดูหนาวนี้ สายการบินจะลดเที่ยวบินลงกว่า 80% ท่ามกลางข้อจำกัดในการเดินทางภายใต้มาตรการควบคุมโรคระบาดของรัฐบาลอังกฤษเเละประเทศอื่นๆ ส่วนการพัฒนาของวัคซีนที่ใกล้ได้ใช้จริงนั้นมองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจการบินกลับมาฟื้นตัวเเละเเข็งเเกร่งได้อีกครั้ง

 

ที่มา : BBC , the guardian

]]>
1309058
ต่อลมหายใจ AirAsia เตรียมรับเงิน 7.5 พันล้านบาท จากรัฐบาลมาเลเซีย จ่อปลดพนักงานรอบ 2 https://positioningmag.com/1301297 Wed, 14 Oct 2020 05:41:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301297 สายการบิน AirAsia ต่อลมหายใจเพื่อดิ้นรนจากวิกฤต COVID-19 เตรียมรับเงินกู้ช่วยเหลือจากรัฐบาลมาเลเซียจำนวน 1,000 ล้านริงกิต (ราว 7.5 พันล้านบาท) พร้อมวางเเผนปรับลดขนาดฝูงบิน หลังเพิ่งยุติกิจการในญี่ปุ่น เเละเตรียมปลดพนักงานรอบ 2

Nikkei Asian Review รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว ระบุว่า AirAsia จะได้รับเงินกู้จำนวน 1,000 ล้านริงกิต ที่ดำเนินการโดยกลุ่มธนาคารท้องถิ่น ภายใต้โครงการของรัฐบาล เพื่อช่วยบริษัทเเละผู้ประกอบการต่างๆ สู้กับสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVId-19 โดยกระทรวงการคลังของมาเลเซียจะค้ำประกันให้ 80% 

เงินกู้ 1,000 ล้านริงกิตสำคัญมากกับ AirAsia เพราะจะได้นำไปใช้ชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นและเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจแหล่งข่าวใกล้ชิดกับกระทรวงฯ รายหนึ่งกล่าวกับ Nikkei โดยคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ในเดือนหน้า

นอกจากนี้ แหล่งข่าวในสายการบินยังบอกกับ Nikkei ว่า บริษัทมีเเผนจะปรับลดพนักงานอีกรอบในเดือนหน้านี้ โดย AirAsia ได้ปลดพนักงานไปแล้ว 2,400 คน จากจำนวนก่อน COVID-19 ที่มีอยู่ราว 2 หมื่นคน เเละกำลังจะเตรียมปลดพนักงานอีกรอบ ซึ่งครั้งนี้จะมีจำนวนราว 400 คน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่บริษัทจะปลดลูกเรือและนักบิน เเต่ครั้งนี้จะรวมหน่วยงานทั้งหมด

เมื่อ Nikkei สอบถามไปยัง AirAsia เพื่อขอความเห็น แต่ทาง AirAsia บอกว่ายังไม่มีอะไรจะประกาศในเวลานี้ และปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น ขณะที่แถลงการณ์ของกระทรวงการคลังของมาเลเซียระบุว่ายังไม่ได้อนุมัติการจัดหาเงินทุนของรัฐบาลหรือการค้ำประกันให้กับสายการบินใดๆ

สถานการณ์ของ AirAsia กำลังสั่นคลอนเช่นเดียวกันกับสายการบินทั่วโลก ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ที่ทำให้การเดินทางลดลงอย่างมาก เเม้จะกลับมาบินในประเทศได้บ้างเเล้ว เเต่ก็ไม่สามารถทดเเทนรายได้จากการบินระหว่างประเทศได้

(Photo by Ezra Acayan/Getty Images)

AirAsia ภายใต้การนำของซีอีโอเเละผู้ก่อตั้งอย่าง Tony Fernandes ต้องปรับลดพนักงานไปเเล้วกว่า 10% เเละมีเเผนจะลดขนาดฝูงบินเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต้องเเบกรับ

เมื่อเดือนกรกฎาคม Fernandes ได้ให้สัมภาษณ์กับ Nikkei ว่า AirAsia จำเป็นต้องได้รับเงินทุน 2 พันล้าน
ริงกิต (ราว 1.5 หมื่นล้านบาทในอีก 6 เดือนข้างหน้า เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถไปต่อได้เเบบ “สบายๆ

ถ้าได้ 1 พันล้านริงกิต เราก็สบายเเล้ว เเต่ถ้าเราหาเงินได้ 2 พันล้านริงกิต เราจะอยู่ในสถานะที่สบายมาก” 

โดยสายการบิน AirAsia ตั้งเป้าที่จะระดมทุนครั้งใหญ่ ส่วนหนึ่งมาจากการออกหุ้น ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วง 4 เดือนต่อจากนี้

ก่อนหน้านี้ จากรายงานของ Reuters ระบุว่า ผู้ก่อตั้งสายการบิน AirAsia กำลังหารือกับ Airbus เพื่อลดคำสั่งซื้อที่รอดำเนินการของเครื่องบิน A320 และ A321 ตลอดจน A330 โดย AirAsia ต้องการลดฝูงบินให้เหลือ 180 ลำ ภายในปี 2021 จากปัจจุบันที่มีอยู่ 245 ลำ

ในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ AirAsia รายงานผลขาดทุนสุทธิ 1.8 พันล้านริงกิต เทียบกับกำไรสุทธิ 111.78 ล้านริงกิตในช่วงเดียวกันของปี 2019 ทำให้รายได้ลดลงมากกว่าครึ่งเป็น 2.43 พันล้านริงกิต จาก 5.65 พันล้านริงกิต เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา สายการบินยังได้ประกาศหยุดให้บริการ AirAsia Japan หลังจากดำเนินการมา 3 ปี

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซีย ยังไม่มีนโยบายสนับสนุนสายการบิน มาเลเซีย แอร์ไลน์ (Malaysia Airlines) หลังจากล่าสุดได้ให้เงินสนับสนุนไป 1.5 พันล้านริงกิต (ราว 1.1 หมื่นล้านบาท) ในช่วงที่เครื่องบินประสบอุบัติเหตุ เมื่อปี 2014 เเละตอนนี้รัฐบาลยังไม่มีแผนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมกับสายการบินประจำชาติ ในวิกฤต COVID-19

 

ที่มา : Nikkei Asian Review , Asian Aviation

]]>
1301297
AirAsia หาทางฝ่าวิกฤต COVID-19 เตรียมปิดกิจการร่วมทุนใน “ญี่ปุ่น” https://positioningmag.com/1299468 Thu, 01 Oct 2020 05:01:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299468 Nikkei Asian Review รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวว่า สายการบิน AirAsia Group ของมาเลเซีย กำลังจะปิดกิจการร่วมทุนในญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้านี้ หลัง AirAsia Japan ประสบปัญหาผู้โดยสารลดฮวบจากพิษ COVID-19 ที่สะเทือนธุรกิจการบินทั่วโลก

AirAsia สายการบินยักษ์ใหญ่ในอาเซียน ภายใต้การนำของผู้ก่อตั้งอย่างโทนี เฟอร์นันเดสยังต้องฝ่าฟันมรสุมใหญ่ เมื่อพรมแดนระหว่างประเทศยังคงปิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เเม้หลายประเทศจะคลายล็อกดาวน์บ้างเเล้วก็ตาม

แหล่งข่าวให้ข้อมูลกับ Nikkei Asian Review ว่า กรรมการของ AirAsia มีการนัดประชุมกันเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ที่สำนักงานใหญ่ของสายการบินใกล้สนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ โดยได้ตัดสินใจยุติการดำเนินงานของ AirAsia Japan ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง AirAsia และพันธมิตรญี่ปุ่น

ขณะที่ AirAsia Japan ได้เเจ้งต่อรัฐบาลท้องถิ่นของญี่ปุ่น ให้ทราบถึงความตั้งใจที่จะยกเลิกดีลการร่วมทุนครั้งนี้ โดยปัจจุบันมีเครื่องบิน 2 ลำประจำอยู่ที่สนามบินนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ ที่เมืองนาโกย่า

ตามการยื่นของตลาดหลักทรัพย์ฯ ของสายการบิน AirAsia Japan เมื่อเดือนที่แล้ว พบว่า AirAsia Group ถืออยู่หุ้น 66.91% ขณะที่อีกหุ้นอีก 33% เป็นของพันธมิตรในญี่ปุ่นที่เป็นบริษัทชั้นนำอย่าง Rakuten ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น, กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน Octave Japan, ผู้ผลิตเครื่องสำอาง Noevir Holdings และผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬา Alpen

ที่ผ่านมา ความพยายามในการสร้างสายการบินราคาประหยัดในญี่ปุ่นของ AirAsia ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก โดยการร่วมทุนกับสายการบิน All Nippon Airways ของ ANA Holdings ก็ล้มเหลวภายในเวลาเพียง 1 ปีหลังจากที่ AirAsia Japan เปิดตัวในปี 2012

ก่อนหน้านี้ โทนี เฟอร์นันเดส ผู้ก่อตั้ง AirAsia ได้ให้สัมภาษณ์กับ Nikkei Asian Review ว่า AirAsia จำเป็นต้องได้รับเงินทุน 2 พันล้านริงกิต (ราว 1.5 หมื่นล้านบาท) ในอีก 6 เดือนข้างหน้า เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถไปต่อได้เเบบ “สบายๆ

ถ้าได้ 1 พันล้านริงกิต เราก็สบายเเล้ว เเต่ถ้าเราหาเงินได้ 2 พันล้านริงกิต เราจะอยู่ในสถานะที่สบายมาก” 

โดยสายการบิน AirAsia ตั้งเป้าที่จะระดมทุนครั้งใหญ่ ส่วนหนึ่งมาจากการออกหุ้น ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วง 4 เดือนต่อจากนี้

ล่าสุดมีการอัพเดตว่า AirAsia Japan ออกแถลงการณ์ประกาศปิดกิจการอย่างเป็นทางการเเล้ว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค. 2020 เป็นต้นไป โดยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการติดต่อทางอีเมลพร้อมข้อมูลเพิ่มเติมภายใน 7 วันถัดไป

ทั้งนี้ การปิดกิจการดังกล่าวมีผล เฉพาะเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดย AirAsia Japan ในญี่ปุ่นที่มีรหัสตัวอักษร DJ เท่านั้น และไม่ส่งผลกระทบต่อเที่ยวบินอื่น ๆ ที่เข้าและออกจากญี่ปุ่นที่ดำเนินการโดยสายการบินอื่นใน AirAsia Group

 

 

ที่มา : Nikkei Asian Review , the edge markets

]]>
1299468
ยื้อไม่ไหว ! สายการบินราคาประหยัด “Tigerair Australia” ประกาศเลิกกิจการ หลังเจอมรสุม COVID-19 https://positioningmag.com/1291362 Thu, 06 Aug 2020 07:45:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291362 โบกมือลาอุตฯการบินไปอีกราย เมื่อสายการบินราคาประหยัดอย่าง “Tigerair Australia” ประกาศหยุดกิจการหลังดำเนินธุรกิจมากว่า 13 ปี สาเหตุหลักมาจากผลกระทบของ COVID-19 ที่สะเทือนการเดินทางของคนทั่วโลก

Tigerair Australia ระบุในเเถลงการณ์ว่า นับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว ด้วยผลกระทบอย่างรุนเเรงจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สายการบินมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ หลังเปิดให้บริการมานาน 13 ปี ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้นำเสนอทางเลือกของการเดินทางราคาประหยัดให้กับลูกค้ามากกว่า 30 ล้านคน เเละขอขอบคุณทุกคนที่คอยให้การสนับสนุนตลอดมา

ความต้องการในการเดินทางของผู้คนลดลงอย่างมาก จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อการเปิดให้บริการต่อได้ โดยคู่เเข่งรายสำคัญอย่าง Jetstar ก็กำลังประสบปัญหานี้เช่นกัน ทั้งนี้ Tigerair Australia ต้องหยุดบินมาตั้งเเต่เดือนมี..

สำหรับสายการบินโลว์คอสต์ Tigerair Australia เป็นบริษัทลูกของสายการบินใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลียอย่าง Virgin Australia ที่กลายเป็นสายการบินแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิก ที่เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย” ในช่วงวิกฤต COVID-19 ตั้งเเต่เดือนเม.. ที่ผ่านมาจึงต้องมีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่

โดยเเผนการฟื้นฟูกิจการในเครือ Virgin ภายใต้เข้าของใหม่ bain capital จะมีการปลดพนักงานออกราว 1 ใน 3 ของทั้งหมดราว 3,000 คน รวมถึงการยุบธุรกิจย่อยอย่าง Tigerair Australia ด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยังคงเก็บใบอนุญาตทำการบินไว้ เผื่อในอนาคตจะสามารถกลับมาฟื้นกิจการได้อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์โลกเข้าสู่ภาวะปกติ เเละการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่

ยังคงมีอีกหลายสายการบินที่ยังมีความเสี่ยงจะล้มละลายเเละปิดกิจการในช่วงนี้ โดยทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 กว่าที่จำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโรคระบาด โดยการฟื้นตัวของการเดินทางระยะสั้น จะฟื้นตัวเร็วกว่าการเดินทางระยะไกล เเละคาดว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั่วโลกจะลดลง 55% เมื่อเทียบกับปี 2019 เเย่กว่าที่คาดไว้ในเดือนเมษายนที่ 46%

ขณะที่ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทราฟฟิกของผู้โดยสารลดลง 86.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าดีขึ้นจากการหดตัวถึง 91% ในเดือนพฤษภาคม หลังได้รับอานิสงส์การเดินทางที่เพิ่มขึ้นบ้างในตลาดจีน เเละเเม้อัตราการเดินทางทางอากาศได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้ว เเต่อุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละยังถือว่าอ่อนแออยู่มาก

 

ที่มา : Tigerair Australia  , flightglobal

]]>
1291362
“ไลอ้อน แอร์” อินโดฯ ปลดพนักงาน 2,600 ตำแหน่ง ปรับโครงสร้างองค์กร รับวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1286705 Tue, 07 Jul 2020 09:46:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286705 วิกฤต COVID-19 ยังเล่นงานอุตสาหกรรมการบินต่อเนื่อง ล่าสุดสายการบินโลว์คอสต์ของอินโดนีเซีย อย่าง ไลอ้อน แอร์” (Lion Air GroupX) เตรียมปลดพนักงาน 2,600 ตำแหน่ง คิดเป็น 9% ของพนักงานทั้งหมด 

ไลอ้อน แอร์สายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศว่า จะไม่ต่อสัญญาจ้างกับบุคลากร 2,600 ตำแหน่ง คิดเป็นประมาณ 9% ของพนักงานทั้งหมดราว 29,000 คน โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบในจำนวนนี้ล้วนเป็นพนักงานสัญญาจ้าง ส่วนพนักงานประจำจะไม่ได้ถูกปลดจากงานในครั้งนี้

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สายการบินไลอ้อน แอร์ต้องลดเที่ยวบินจำนวนมาก โดยตอนนี้เหลือเที่ยวบินที่เปิดให้บริการแก่ผู้โดยสารน้อยกว่า 15% 

รัฐบาลอินโดนีเซีย ยังคงไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ ตามมาตรการสกัดการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา อย่างไรก็ตาม เเม้จะมีการผ่อนคลายการบินในประเทศเเล้ว เเต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก นอกจากไลอ้อนแอร์เเล้ว สายการบินในอินโดนีเซีย ทั้ง Garuda Indinesia Group และ Susi Air ก็จำเป็นต้องปลดพนักงานเช่นกัน

โฆษกของสายการบินไลอ้อน แอร์ เเถลงว่า บริษัทกำลังอยู่ในช่วงเวลายากลำบากและมีความท้าทาย จากผลกระทบของ COVID-19 ซึ่งการปลดพนักงานครั้งนี้ถือป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่ก็นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยพยุงให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางการปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและปรับโครงสร้างองค์กรต่อไป

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการบินของอินโดนีเซีย กำลังเผชิญกับปัญหาการลดลงของผู้โดยสารถึง 49% และส่งผลให้รายได้ที่อาจลดลงถึง 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.5 เเสนล้านบาท) ในปีนี้เมื่อเทียบกับปี 2019

 

ที่มา : CNAch-aviation

]]>
1286705