เครื่องบิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 21 Aug 2024 04:34:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “โบอิ้ง” หยุดการทดสอบเครื่องบินรุ่นใหม่ “777X” หลังพบชิ้นส่วนโครงสร้างเสียหาย https://positioningmag.com/1486994 Tue, 20 Aug 2024 11:48:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486994 “โบอิ้ง” ประกาศหยุดการทดสอบเครื่องบินรุ่นใหม่ “777X” ไปก่อน หลังพบว่าชิ้นส่วนโครงสร้างเกิดความเสียหาย โดยเครื่องบินรุ่นนี้ส่งมอบให้ลูกค้าล่าช้าจากกำหนดการเดิมมาแล้ว 4 ปี และความเสียหายนี้ยังไม่แน่ว่าจะกระทบกับกำหนดการส่งมอบใหม่ในปี 2025 หรือไม่

บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน “โบอิ้ง”​ แถลงว่าบริษัทพบความเสียหายของชิ้นส่วนโครงสร้างเครื่องบินรุ่น 777X เครื่องบินรุ่นใหม่ที่ยังอยู่ระหว่างทดสอบ โดยความเสียหายที่พบเกิดขึ้นบริเวณระหว่างตัวเครื่องกับเครื่องยนต์ และพบในช่วงการซ่อมบำรุงตามตารางปกติ

หลังจากนั้นโบอิ้งจึงสั่งหยุดทดสอบการบินของเครื่องบิน 777X ทั้งฝูงบินซึ่งมีทั้งหมด 4 ลำ ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องบินลำไหนในฝูงนี้ที่มีกำหนดการทดสอบการบิน

“ทีมงานของเรากำลังเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหาย และถอดบทเรียนจากชิ้นส่วนดังกล่าว รวมถึงจะกลับไปทดสอบการบินอีกครั้งเมื่อพร้อม” โบอิ้งประกาศในคำแถลงการณ์ และยังบอกด้วยว่า บริษัทได้แจ้งองค์การบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ​ (FAA) และลูกค้าที่ได้สั่งซื้อเครื่องบินรุ่น 777X เรียบร้อยแล้ว

สำหรับเครื่องบินรุ่น 777X เป็นเครื่องบินแบบลำตัวกว้างที่มีผู้สั่งซื้อสะสมแล้ว 481 ลำ ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ของโบอิ้งพบผู้สั่งหลักของเครื่องบินรุ่นนี้คือ Emirates รองลงมาคือ Qatar Airways ตามด้วย Singapore Airlines

ยังไม่แน่ชัดว่าการค้นพบชิ้นส่วนเสียหายในเครื่องบินทดสอบครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อกำหนดการส่งมอบหรือไม่ โดยเครื่องรุ่นนี้ถือว่าส่งมอบช้ากว่ากำหนดการมานานแล้ว เพราะกำหนดการแรกที่ประกาศคือจะส่งมอบภายในปี 2020 แต่เมื่อการพัฒนาและผลิตไม่ทันกำหนด ทำให้โบอิ้งเปลี่ยนกำหนดการใหม่เป็นส่งมอบภายในปี 2025

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวจากสำนักข่าว The Air Current ว่า ซีอีโอใหม่ของโบอิ้งอย่าง “เคลลี่ ออร์ตเบิร์ก” กำลังพยายามกู้วิกฤตเรื่อง “ความปลอดภัย” ของบริษัทอย่างสุดความสามารถ จากเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อต้นปีนี้ที่เครื่องบินของบริษัทเกิดประตูหลุดกลางอากาศมาแล้ว

Source

]]>
1486994
Airbus อาจผลิตเครื่องบินไม่ได้ตามเป้า สาเหตุสำคัญมาจากชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินยังขาดแคลนจากปัญหา Supply Chain https://positioningmag.com/1476158 Sun, 02 Jun 2024 08:20:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476158 แหล่งข่าวของสำนักข่าว Reuters รายงานว่าแอร์บัส (Airbus) ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากทวีปยุโรปนั้นอาจผลิตเครื่องบินได้ล่าช้ากว่าเดิม ปัญหาสำคัญนั้นมาจากชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินยังขาดแคลน ซึ่งเป็นผลจาก Supply Chain และยังรวมถึงปัญหาแรงงานขาดแคลน

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากทวีปยุโรป อาจผลิตเครื่องบินไม่ได้ตามเป้า นั้นมาจากสาเหตุสำคัญคือชิ้นส่วนสำหรับประกอบเครื่องบินยังขาดแคลน ขณะเดียวกันปัญหาการขาดแคลนแรงงานก็ซ้ำเติมปัญหาดังกล่าวด้ว

แหล่งข่าวของสื่อรายดังกล่าวได้ชี้ว่า Airbus นั้นยังมีการดำเนินงานล่าช้ากว่าเป้าหมายราวๆ 1.5 เดือน ในการส่งมอบเครื่องบิน คาดว่าเครื่องบินจำนวนหนึ่งที่จะต้องส่งมอบในครึ่งปีแรกของปี 2024 นั้นกลับกลายเป็นว่าอาจต้องส่งมอบในครึ่งปีหลัง

ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากทวีปยุโรปได้แก้ปัญหาดังกล่าว โดยพูดคุยกับเหล่าซัพพลายเออร์ที่ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินที่มีจำนวนมาก ซึ่งชิ้นส่วนของเครื่องบินนั้นถ้าหากมีคำสั่งซื้อแล้วจะต้องใช้เวลารอชิ้นส่วนนานถึง 12-13 เดือนด้วยกัน และถ้าหากเป็นชิ้นส่วนที่ต้องการผลิตแบบพิเศษอาจต้องรอนานถึง 2 ปี

ปัญหาของชิ้นส่วนที่ผลิตไม่ทันนั้นมาจากทั้งผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด ขณะเดียวกันความต้องการชิ้นส่วนเครื่องบินเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการนำชิ้นส่วนมาเปลี่ยนให้กับเครื่องบินที่จอดไว้ในช่วงการแพร่ระบาด และยังรวมถึงชิ้นส่วนที่ต้องนำไปผลิตเครื่องบินลำใหม่

โฆษกของ Airbus กล่าวได้ปฏิเสธความคิดเห็นเพิ่มเติมกับ Reuters และยังย้ำเป้าหมายการส่งมอบเครื่องบินปี 2024 ที่ 800 ลำเช่นเดิม โดยตัวเลขการส่งมอบเครื่องบินล่าสุดจนถึงเดือนเมษายน Airbus ส่งมอบเครื่องบินไปแล้ว 204 ลำด้วยกัน

ก่อนหน้านี้สายการบินหลายแห่ง หรือแม้แต่บริษัทให้เช่าเครื่องบินได้กล่าวถึงปัญหา Supply Chain ส่งผลกระทบทั้งอุตสาหกรรมการบิน โดยคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายลงไปได้อาจใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี

นอกจากชิ้นส่วนขาดแคลนแล้วนั้น Airbus เองยังประสบปัญหาแรงงานขาดแคลน ยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้หนักมากขึ้นกว่าเดิม ผลดังกล่าวยังทำให้การส่งมอบเครื่องบินนั้นอาจล่าช้าต่อไปได้อีก กระทบต่อสายการบินที่เป็นลูกค้าทั่วโลกที่ยังต้องใช้เครื่องบินรุ่นเดิมต่อไปอีกระยะ

]]>
1476158
วิศวกร “Boeing” แฉต่อหน้าสภาคองเกรส บริษัท “ข่มขู่” ให้ปิดเงียบเรื่องเครื่องบิน “ไม่ปลอดภัย” https://positioningmag.com/1470283 Thu, 18 Apr 2024 07:43:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470283 วิศวกรบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน “Boeing” ขึ้นให้การต่อหน้าสภาครองเกรส ยืนยันตนเองถูกเจ้านาย “ข่มขู่” หลังจากที่เขาแสดงความกังวลเรื่องความปลอดภัยของเครื่องบินของบริษัท

“Sam Selehpour” วิศวกรและเป็นผู้แจ้งเบาะแสคนสำคัญเกี่ยวกับการทำงานที่หละหลวมและไม่ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของ Boeing ขึ้นให้การต่อหน้าสภาคองเกรสเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2024 ว่า เขาถูกเจ้านายโทรศัพท์มาต่อว่ายาว 40 นาที และรถยนต์ของเขาถูกเจาะยางด้วยตะปู หลังจากเขาแสดงความกังวลในบริษัทว่าขั้นตอนการดำเนินการผลิตเครื่องบิน “ไม่ปลอดภัย”

หลังจากการไต่สวนโดยสภาคองเกรสครั้งนี้ Boeing มีการออกแถลงการณ์ว่า “พวกเราทราบดีว่าเรายังมีงานต้องทำอีกมาก และเรากำลังลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ไขทั้งบริษัท”

Boeing เริ่มเผชิญวิกฤตหลังจากเครื่องบินรุ่นใหม่ของบริษัท “737 Max 8” เกิดเหตุ “เครื่องบินตก” ถึง 2 ครั้งในปี 2018 และปี 2019 รวมมีผู้เสียชีวิตถึง 346 คน

หลังจากนั้นเมื่อเดือนมกราคม 2024 เครื่องบินรุ่น “737 Max 9” ของสายการบิน Alaska Airlines มาเกิดเหตุไม่คาดฝันอีก เมื่อชิ้นส่วนของเครื่องบินหลุดออกระหว่างทำการบิน เป็นโชคดีที่ไม่มีผู้โดยสารคนใดได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต แต่เมื่อเหตุมาเกิดซ้ำทำให้บริษัทถูกจับจ้องและตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง

การตรวจสอบครั้งนี้มีการนำตัวพยานผู้แจ้งเบาะแสทั้งหมด 3 คนมาให้การต่อสภาคองเกรส หนึ่งในนั้นคือ Sam Salehpour ซึ่งเป็นวิศวกรที่ทำงานกับ Boeing มานาน 17 ปี เขากล่าวว่าเขาได้แจ้งความกังวลต่อหัวหน้าเรื่องการใช้ “ทางลัด” ในการผลิตเครื่องบิน และเขาได้แจ้งเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาตลอด 3 ปีนับตั้งแต่ปี 2020 แต่เขาถูกโต้กลับจากหัวหน้าว่าให้ “หุบปาก”

“ผมถูกละเลย ผมได้รับคำตอบแค่ว่าอย่าทำให้การส่งมอบล่าช้า” Salehpour กล่าว พร้อมเสริมว่าเวลาต่อมาเขาถูกย้ายงานไปทำตำแหน่งอื่น “นี่ไม่ใช่วัฒนธรรมการทำงานที่ปลอดภัยเลย เพราะคุณจะถูกข่มขู่เมื่อพูดเรื่องที่ขัดแย้งขึ้นมา”

 

จับตา Boeing 787 อีกหนึ่งรุ่นที่อาจไม่ปลอดภัย

ความกังวลของ Salehpour ในเวลานี้คือ เครื่องบินรุ่น Boeing 787 ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบลำตัวกว้าง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุวิกฤต Alaska Airlines หรือวิกฤตปี 2018-19 แต่มีปัญหาเรื่องการผลิตเช่นเดียวกัน

เขากล่าวว่า ชิ้นส่วนที่ใช้ผลิตเครื่องบินรุ่นนี้ไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะผิดพลาดได้ในอนาคต

เขาได้แจ้งเรื่องนี้กับทางองค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) ไปแล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และเผยตัวพร้อมๆ กับ FAA เมื่อหน่วยงานแจ้งเรื่องนี้ต่อสาธารณะเมื่อต้นเดือนเมษายน

FAA ระบุว่าพวกเขากำลังสืบสวนเรื่องนี้อยู่ ส่วนบริษัท Boeing ปฏิเสธข้อกล่าวหา

Salehpour ยังเล่ารายละเอียดระหว่างการไต่สวนว่า เขารู้สึกมีแรงบังคับภายในให้ต้องออกมาพูด เพราะเขาเคยมีเพื่อนคนหนึ่งที่ทำงานโครงการกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ เพื่อนคนนั้นไม่ได้รับการตอบสนองเมื่อแจ้งข้อกังวลในการทำงานเช่นกัน และสุดท้ายกระสวยชาเลนเจอร์ก็ระเบิดออกระหว่างขึ้นบินเมื่อปี 1986

เขากล่าวว่า หลังเขาแจ้งเรื่องข้อกังวลต่างๆ ไปแล้ว บริษัทตอบกลับเขาด้วยแรงกดดันต่างๆ เช่น ทำให้เขาลางานไปพบแพทย์ยากขึ้น ระหว่างการให้การ Salehpour ถึงกับหลั่งน้ำตา และยอมรับว่าเขา “ไม่มีหลักฐาน” ว่าตะปูในยางล้อรถของเขานั้นเกี่ยวกับกรณีนี้หรือไม่ แต่เชื่อว่าเขาถูกเจาะยางระหว่างอยู่ที่ทำงาน พร้อมบอกว่าเขารู้สึก “เหมือนอยู่ในนรก”

“Richard Blumenthal” วุฒิสมาชิกผู้นำการไต่สวนในครั้งนี้ กล่าวว่าเขาและคณะกรรมการจะสืบสวนประเด็นนี้ต่อไป และแค่เพียงการประกาศว่าจะมีการไต่สวนก็ได้กระตุ้นให้ผู้แจ้งเบาะแสอีกหลายคนกล้าที่จะออกมาให้ข้อมูล

“เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจัง ถึงระดับที่น่าตกใจ” Blumenthal กล่าว “มีรายงานข้อกล่าวหาหนักเข้ามาเป็นกองพะเนินว่า Boeing มีการละเมิดวัฒนธรรมความปลอดภัย และมีระเบียบการทำงานที่ยอมรับไม่ได้” พร้อมกับบอกว่าการไต่สวนครั้งต่อไปจะเรียกตัวผู้บริหารจากบริษัทมาให้การด้วย

ทาง Boeing เองแจ้งว่า การกลั่นแกล้งจากการแจ้งเบาะแสเป็นเรื่องที่ “ต้องห้ามโดยเด็ดขาด” และบอกว่าบริษัทได้รับรายงานจากพนักงาน “เพิ่มขึ้นมากกว่า 500%” นับตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา “ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเกิดความคืบหน้าในการสร้างวัฒนธรรมการรายงานเรื่องราวในบริษัทโดยไม่ต้องหวั่นเกรงหรือเกิดการกลั่นแกล้งเอาคืน”

 

พยานแฉอีก บริษัทช่วยกัน “กลบเกลื่อน”

ส่วนการสืบสวนเบื้องต้นโดยรัฐบาลสหรัฐฯ พบว่า เที่ยวบินของ Alaska Airlines ที่มีชิ้นส่วนหลุดออก เกิดจากสลักบางส่วนหายไป ขณะนี้บริษัท Boeing กำลังถูกสืบสวนสอบสวนและมีคดีความตามมาอีกมาก

นอกจากวิศวกร Salehpour แล้ว พยานอีกคนที่เข้ามาแจ้งเบาะแสคือ “Ed Pierson” ซึ่งเป็นอดีตผู้จัดการในบริษัท Boeing แต่ขณะนี้เป็นผู้อำนวยการบริหารให้กับมูลนิธิเพื่อความปลอดภัยการเดินอากาศ Pierson กล่าวหาบริษัทว่ามีการ “กลบเกลื่อนการสร้างอาชญากรรม” และบอกด้วยว่าตัวเขาเองให้เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสลักที่หายไปของ 737 Max 9 กับหน่วยงานสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) เรียบร้อยแล้ว

เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2024 วันเดียวกันกับการไต่สวนที่คองเกรส สายการบิน United Airlines ดำเนินการยื่นฟ้องร้องต่อ Boeing ขอให้บริษัทจ่ายค่าชดเชยแก่สายการบิน หลังจากเหตุ Alaska Airlines มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของ United Airlines

United Airlines ถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ของ Boeing พวกเขามีฝูงบินที่ใช้เครื่องบินรุ่น 737 Max 9 เช่นกัน ทำให้เมื่อเกิดเหตุกับ Alaska Airlines ฝูงบินนี้ของ United Airlines ถูกระงับสั่งห้ามขึ้นบินไปด้วยและกระทบยาว 3 สัปดาห์ ทางสายการบิน United Airlines ออกมาตำหนิผ่านสื่อเมื่อไม่นานมานี้ว่า ผลกระทบต่อเนื่องนี้ทำให้บริษัทสูญรายได้ไปกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 7,300 ล้านบาท) เมื่อไตรมาสแรกของปี 2024

Source

]]>
1470283
อัพสกิล “การขาย” สารพัดอย่าง ฉบับ “การบินไทย” ไม้จิ้มฟันยันเรือบิน พยุงกิจการฝ่าวิกฤต https://positioningmag.com/1307066 Mon, 23 Nov 2020 11:20:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307066 ธุรกิจการบินสะเทือนอย่างเเสนสาหัสจากพิษ COVID-19 ซ้ำเติมเเผลเก่าปัญหารุมเร้าที่สะสมมานาน หลายบริษัทต้องปลดพนักงาน รัดเข็มขัด ลดค่าใช้จ่าย บางเจ้าถึงขั้นต้องยื่นล้มละลาย เเละคาดว่ากว่าที่อุตฯ การบินจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ ก็ต้องรอกันยาวถึงปี 2024

สายการบินเเห่งชาติอย่างการบินไทยหนีไม่พ้นวิกฤตนี้ เพราะเดิมทีก่อนโรคระบาด ก็มีผลประกอบการที่ย่ำเเย่เอาการอยู่เเล้ว

ย้อนกลับไปเมื่อ 14 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวสำคัญที่หลายคนไม่เเปลกใจนักคือการที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งศาลล้มลาย นำมาสู่การเปลี่ยนเเปลงครั้งใหญ่ เเละการปรับตัวหลายด้าน เพื่อเพิ่มช่องทางการหารายได้ใหม่

การที่การบินไทยพยายามคิดกลวิธีต่างๆ เพื่อพยุงกิจการครั้งนี้ สร้างเสียงฮือฮาไม่น้อย ทั้งการเปิดตัวปาท่องโก๋สังขยามันม่วงเปิดห้องอาหารอร่อยล้นฟ้าฯ ขายสินค้าของแบรนด์การบินไทยทั้งมือ 1 และ มือ 2 คืนชีพแพยาง เสื้อชูชีพสู่กระเป๋าดีไซน์เก๋ หรือสร้างมิติใหม่เเห่งการท่องเที่ยวอย่างทัวร์ 99 วัด แบบบินวนไม่ลงจอด

เรียกว่างานนี้ การบินไทยขยับมาหารายได้ ตามแคมเปญ ไม้จิ้มฟันยันเรือบินของจริง Positioning จะพามาดูว่า สายการบินเเห่งชาติของเราปรับธุรกิจมาขายอะไรไปเเล้วบ้าง ?

ครัวลอยฟ้า…สู่ภาคพื้น 

ประเดิมด้วยการนำ “ครัวการบินไทย” มาเป็นไฮไลต์ดึงดูดลูกค้าสายกิน ทำเป็นภัตตาคารที่จำลองบรรยากาศการให้บริการบนเครื่องบิน มาไว้ “ภาคพื้นดิน” ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังนั่งรับประทานอาหารของการบินไทยขณะที่กำลังทำการบินอยู่

การตกเเต่งมีความพิเศษ อย่างการนำยางและแกนของล้อเครื่องบินมาเป็นโต๊ะ นำที่นั่งบนเครื่องมาใช้ นำอะไหล่ของเครื่องบินที่หมดอายุการใช้งานแล้วมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ นำรถบันไดสำหรับขึ้นเครื่องบินมาทำเป็นทางขึ้น ฯลฯ

ให้บริการเสิร์ฟเมนูอาหารในชั้น Business Class และ First Class รวมถึงสินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร ก็มีการนำวางขายด้วยเช่นกัน 

ภัตตาคาร Royal Orchid Dining Experience มาพร้อมกับแคมเปญ อร่อยล้นฟ้า ไม่ต้องบินก็ฟินได้ เอาใจผู้คนที่คิดถึงการเดินทางด้วยเครื่องบิน บรรยากาศของการไปท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจาก
สถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19

สำหรับ Royal Orchid Dining Experience เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 14.00 น. ที่ อาคาร 2 ชั้น 2 ของการบินไทย สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต ไปลองชิมกันได้

Photo : THAI Catering

ปาท่องโก๋…กู้วิกฤต  

เป็นกระเเสที่ไม่พูดถึงไม่ได้ สำหรับ “ปาท่องโก๋-สังขยามันม่วง” เปิดตัวมาได้รับการตอบรับล้นหลาม คนเเห่ไปต่อคิวซื้อ จนต้องขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพฯ เเล้วกว่า 5 สาขา ได้เเก่

  • Puff&Pie บ.การบินไทย สำนักงานใหญ่
  • บ.การบินไทย สาขาสีลม
  • ตลาด อตก. (บริเวณตลาดน้ำ)
  • Puff&Pie อาคารรักคุณเท่าฟ้า (ติดเจ๊เล้ง)
  • อาคารฝ่ายครัวการบิน ดอนเมือง (ทางเข้าฐานทัพอากาศ)

มีการตั้งเป้าว่าภายในไตรมาส 1 ปี 2564 จะแตกไลน์ธุรกิจแฟรนไชส์ “ปาท่องโก๋” ไปทั่วประเทศให้ได้ 200 สาขา หวังฟันรายได้ถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี (ต้องลุ้นกันว่าจะทำได้หรือไม่)

โดยตอนนี้ อยู่ระหว่างลงทุนเครื่องจักรเตรียมกระบวนการการผลิต เพื่อรองรับการขนส่งและการคงคุณภาพ ซึ่งทางการบินไทย บอกว่า ในส่วนของแฟรนไชส์ ยังต้องขอเวลาอีกสักนิด บริษัทกำลังเร่งดำเนินการอยู่ เเละไม่นานเกินรอ…

เปิดคอร์สสานฝัน “นักบิน-แอร์โฮสเตส” 

เเม้ช่วงนี้อาชีพในธุรกิจการบินจะอยู่บนความเสี่ยง เเต่ก็เป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน การบินไทยจึงได้โอกาสเปิดคอร์สเรียนเเบบเอ็กซ์คลูซีฟ ให้เเฟนคลับได้ลองประสบการณ์การทำงานบนเครื่องบิน โดย Thai Flight Training Academy เปิดโครงการ We miss you สานฝันคนอยากเป็นนักบิน ให้เข้ามาลอง ฝึกบินในเครื่องฝึกบินจำลอง (Flight Simulator)

รวมไปถึงเปิดคอร์สอบรม พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ที่ครอบคลุมทั้งการให้บริการ เเละการเอาตัวรอดในภาวะฉุกเฉิน เเละยังเปิดให้ลองเป็น เชฟทำอาหาร ของสายการบินด้วย

โดยจะเป็นคอร์สระยะสั้น มีให้เลือกตั้งเเต่ 4 ชั่วโมง ไปจนถึง 4 วัน ส่วนราคานั้นมีตั้งเเต่ระดับ 2,900-19,900 บาท

ส่งต่อ “เครื่องบินมือสอง” 

อีกหนึ่งการชิมลางของการบินไทย คือการสำรวจตลาดเพื่อหาผู้สนใจซื้อ “เครื่องบินมือสอง” ผ่านเว็บไซต์ thai aircrafttrading.com เตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการขายทรัพย์ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ

โดยการบินไทย ประเดิมประกาศขายเครื่องบินล็อตใหญ่ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว 34 ลำ ทั้งยี่ห้อแอร์บัสเเละโบอิ้ง ซึ่งเครื่องบินส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยเกินกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดยังสามารถใช้งานได้ และจะมีสัญญาขายที่ไม่มีประกันหลังการขาย

แค่บินโฉบก็โอบบุญ “สวดมนต์บนฟ้า” บินผ่าน 99 วัด 

แคมเปญหารายได้ใหม่ของสายการบิน “ทัวร์เอื้องหลวง” ที่สร้างกระเเสฮือฮาอีกอย่าง คือ การออกโปรแกรมทัวร์แบบใหม่ “สวดมนต์บนฟ้า” บินวนไม่ลงจอด ในระยะเวลา 3 ชั่วโมง รับมงคล 99 วัดทั่วไทย พร้อมสวดมนต์ไปกับ อ.คฑา ชินบัญชร ก่อนลงจอดที่เดิม งานนี้น่าจะถูกใจสายมู มิติใหม่แห่งการทำบุญ

โดยไฟลต์ดังกล่าวได้ขึ้นบินจากสนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ วนลงใต้ผ่านทางชลบุรีสู่สุราษฎร์ธานี บินกลับขึ้นมาทางเพชรบุรี ไล่เรื่อยขึ้นไปถึงพระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สุโขทัย วนขวาผ่านเพชรบูรณ์ นครราชสีมา สระบุรี และกลับมาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิเช่นเดิม รวมทั้งหมด 31 จังหวัด 99 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

ระหว่างการบินไม่ใช่แค่บินเฉยๆ แต่จะมีการ “สวดมนต์บนฟ้า เทวดาอำนวยพร” ไปกับ อ.คฑา ชินบัญชร พร้อมรับของที่ระลึกเป็นหนังสือสวดมนต์ และพระพุทธปฏิมาสุวรรณภูมิสิริโชค ภปร. เนื้อผง เพื่อร่วมสวดมนต์ไปพร้อมๆ กัน รับบุญระหว่างบิน

ราคาชั้นธุรกิจเริ่มต้นที่ 9,999 บาทต่อท่าน และราคาชั้นประหยัดเริ่มต้นที่ 5,999 บาทต่อท่าน ซึ่งหลังจากเปิดจองไปไม่นาน ก็ขายดีจองเต็มไปอย่างรวดเร็ว เรียกว่าเป็นการทำการตลาดกระตุ้นเที่ยวในประเทศ ที่ตีตลาดเจาะกลุ่มสายทำบุญคนไทยได้ดีทีเดียว

 Re-Life Collection รุกธุรกิจ…เเฟชั่น 

นอกจากสายกิน ท่องเที่ยว สายอาชีพ สายทำบุญเเล้ว การบินไทยเจาะลูกค้าใหม่ใน “สายเเฟชั่น” โดยได้นำอุปกรณ์ที่หมดอายุการใช้งาน อย่างเสื้อชูชีพ (Life Vest) และผ้าใบแพยาง (Slide Raft) ที่เป็นอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารออกจากอากาศยาน เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน มาทำเป็น “กระเป๋าสุคชิค” ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่หันมาใช้สินค้ารีไซเคิลรักษ์โลกมากขึ้น

กระเป๋ารุ่น Re-Life Collection มีทั้งหมด 6 แบบ ทั้งแบบสะพาย แบบหิ้วข้าง และกระเป๋าแบบซิปรูดไว้ใส่ของขนาดเล็ก เน้นเป็นโทนสีเหลือง-ดำ มีลวดลายที่สะท้อนความเป็นสายการบิน อย่างภาพกราฟิกเเนะนำความปลอดภัยบนเครื่องบิน มีโลโก้การบินไทย ฯลฯ

เปิดโกดัง เทขายไม้จิ้มฟัน…ยันเรือบิน

จับกระเเสช้อปปิ้งออนไลน์บูม การบินไทยถือฤกษ์วันคนโสด 11.11 จัดโครงการ TG Warehouse Sale ประกาศขายสินค้าตั้งเเต่ ไม้จิ้มฟันยันเรือบิน ขนสินค้าที่ให้บริการในเที่ยวบินมาจำหน่ายแบบยกโหล

หลังหยุดให้บริการผู้โดยสารเนื่องจากวิกฤต COVID-19 และมีแนวโน้มว่าการใช้พัสดุที่ให้บริการในเที่ยวบินจะลดลงในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า

โดยสินค้าที่นำมาวางจำหน่าย มีตั้งเเต่ ไม้จิ้มฟัน จาน ชาม แก้วพลาสติก ถ้วยชาญี่ปุ่น กระดาษเย็น กระดาษเช็ดปาก ของใช้ต่างๆ รวมไปถึงฟอยล์สำหรับอุ่นอาหาร

โครงการนี้ เป็นการทำงานร่วมกันกับพนักงานจิตอาสาหลายกลุ่ม อาทิ นักบิน ลูกเรือ ในการจัดทำรายการ การถ่ายภาพสินค้า มีการคัดสรรสินค้ากว่า 400 รายการ ซึ่งเป็นสินค้ามือหนึ่ง จัดเก็บไว้ที่คลังสินค้าสุวรรณภูมิ ต.หนองปรือ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งหลังจากเปิดขายสินค้าก็ได้รับความสนใจอย่างมาก จนขายหมดภายใน “วันเดียว”

การบินไทยได้ตั้งทีมสำรวจทรัพย์สินที่มีอยู่ใน “สต๊อก” เพื่อนำมาขาย ทั้งยางล้อเครื่องบิน ที่มีสภาพดีและใช้งานแล้ว ขายแกนล้อเครื่องบิน เพื่อมาดัดแปลงเป็นโต๊ะ ตู้โชว์ อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน (เหมือนกับภัตตาคาร Royal Orchid Dining Experience) นอกจากนี้ ยังมีสินค้าต่างๆ อีกมากมาย ที่เปิดขายผ่านเว็บไซต์ thaishop.thaiairways 

เเม้จะมีการยกระดับอัพสกิล “การขาย” สารพัดอย่าง เเต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยการขาดทุนในเที่ยวบินที่เสียไปของ “การบินไทย” ได้

โดยผลประกอบการของการบินไทยในไตรมาส 3 ของปี 2563 ยังขาดทุนกว่า 21,500 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่เเล้วถึง 12,806 ล้านบาท

ผลกระทบหลักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สะเทือนอุตสาหกรรมการบินของโลก ทำให้ในไตรมาส 3 การบินไทยและบริษัทย่อย มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ลดลง 95% ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 97.8% ด้านอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 34.9% ต่ำกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 80%

สำหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 19,375 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 28,483 ล้านบาท สาเหตุหลักๆ เกิดจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานผันแปรลดลงจากปริมาณการผลิต ปริมาณการขนส่ง และจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง

ก่อนหน้านี้ การบินไทย พยายามลดต้นทุนเเละปรับลดขนาดองค์กร ด้วยการลดจำนวนบุคลากร ผ่านโครงการ “จากกันด้วยดี” เเต่ก็ยังไม่ได้ผลมากนัก เเม้ว่าจะมีพนักงานเข้าร่วมเกือบ 5,000 คน จากราวๆ 20,000 คน

โดยสายการบินเเห่งชาติขอย้ำว่าจะดำเนินมาตรการ ลดค่าใช้จ่ายอย่างเข้มข้น และยังคงให้บริการขนส่งสินค้าในบางเส้นทาง มีกลยุทธ์เปิดเที่ยวบินพิเศษ เพื่อนำคนไทยกลับบ้าน มุ่งหารายได้เพิ่มจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขนส่งผู้โดยสาร เน้นเจาะลูกค้า “ภาคพื้น” ให้มากขึ้น เเละผลักดันบริษัทลูกอย่าง “ไทยสมายล์” รุกเที่ยวบินในประเทศ เเละเปิดเส้นทางข้ามภาคเพื่อเอาใจลูกค้าคนไทย

ศึกสาหัสครั้งนี้ คงไม่ผ่านไปได้ง่ายๆ เเละต้องใช้เวลา ต้องติดตามว่าการบินไทยจะงัดสารพัดวิธี การขายอะไรมาให้เราเซอร์ไพรส์อีก

 

 

]]>
1307066
ขายเท! “การบินไทย” เปิดโกดัง TG Warehouse Sale “ขายไม้จิ้มฟันยันเรือบิน” https://positioningmag.com/1305505 Wed, 11 Nov 2020 06:36:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305505 การบินไทยถือฤกษ์วันคนโสด จัดโครงการ TG Warehouse Sale ขายไม้จิ้มฟันยันเรือบิน ขนสินค้าที่ให้บริการในเที่ยวบินมาจำหน่ายแบบยกโหล หลังหยุดให้บริการผู้โดยสารเนื่องจากวิกฤต COVID-19 และมีแนวโน้มว่าการใช้พัสดุที่ให้บริการในเที่ยวบินจะลดลงในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า

ฝ่ายบริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ถือฤกษ์ 11.11 หรือทางการตลาดเรียกว่า “วันคนโสด” จัดโครงการที่ชื่อว่า “ทีจี แวร์เฮาส์ เซล” (TG Warehouse Sale) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พัสดุที่ให้บริการในเที่ยวบิน อาทิ จาน ชาม ของใช้ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับจำนวนเที่ยวบินที่จะคาดว่าจะลดลงอย่างมาก ในช่วง 1-2 ปีจากนี้ หลังหยุดให้บริการผู้โดยสารเนื่องจากวิกฤต COVID-19 กว่า 6 เดือนที่ผ่านมา

โดยผ่านการทำงานร่วมกันกับพนักงานจิตอาสาหลายกลุ่ม อาทิ นักบิน ลูกเรือ ในการจัดทำรายการ การถ่ายภาพสินค้า ปัจจุบันมีการคัดสรรสินค้ากว่า 400 รายการ เพื่อเตรียมจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งเป็นสินค้ามือหนึ่ง จัดเก็บไว้ที่คลังสินค้าสุวรรณภูมิ ต.หนองปรือ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

สำหรับสินค้าที่นำมาจำหน่ายจะสกรีนหรือมีโลโก้การบินไทย ซึ่งเตรียมไว้ให้บริการแก่ผู้โดยสาร ประกอบด้วย

  • แก้วพลาสติก 720 ใบ 390 บาท (เฉลี่ยใบละ 0.541 บาท)
  • ถ้วยชาญี่ปุ่น 12 ใบ 828 บาท (เฉลี่ยใบละ 69 บาท)
  • ถ้วยกาแฟเมลามีน 144 ใบ 1,990 บาท (เฉลี่ยใบละ 13.81 บาท)
  • ถ้วยทรงรี สำหรับชั้นธุรกิจ (BC) 10 ใบ 550 บาท (เฉลี่ยใบละ 55 บาท)
  • กระดาษเย็น 500 ชิ้น 250 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 0.50 บาท)
  • ถ้วยกระเบื้องไม่มีหู 10 ใบ 1,290 บาท (เฉลี่ยใบละ 129 บาท)
  • ชามใหญ่ สำหรับชั้นธุรกิจ (BC) 30 ใบ 1,790 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 59.66 บาท)
  • ถ้วยกาแฟเอสเปรสโซ 12 ใบ 490 บาท (เฉลี่ยใบละ 40.83 บาท)
  • กระดาษเช็ดปาก 3,000 ชิ้น 350 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 0.11 บาท)
  • ไม้จิ้มฟันเดนทัลฟลอส 300 ชิ้น 330 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 1.10 บาท)
  • ฟอยล์สำหรับอุ่นอาหาร 500 ชิ้น 760 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 1.52 บาท)

โดยสินค้าที่จะนำมาจำหน่ายได้นำมาลงในเฟซบุ๊กเพจ TG Warehouse Sale สั่งซื้อสินค้าโดยกรอกแบบฟอร์ม รออีเมลตอบกลับเพื่อตรวจสอบ ยืนยันการสั่งซื้อ และแจ้งยอดชำระเงิน ก่อนโอนเงินเข้าบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แล้วตอบกลับอีเมล โดยแจ้งรหัสการสั่งซื้อพร้อมแนบหลักฐานการชำระเงิน ซึ่งการการรับสินค้า สามารถนัดรับสินค้าได้ที่คลังสินค้าสุวรรณภูมิ หรือให้จัดส่งตามที่อยู่ที่ระบุไว้

ก่อนหน้านี้กองจัดหาสินค้าและวัตถุดิบ ฝ่ายครัวการบิน การบินไทย ก็เคยนำสินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร หรือให้บริการบนเที่ยวบินมาจำหน่าย ภายในภัตตาคาร “อร่อยล้นฟ้า ไม่ต้องบินก็ฟินได้” ที่สำนักงานใหญ่วิภาวดี เช่น กาแฟ น้ำแร่ น้ำผลไม้ รวมทั้งเครื่องปรุงต่างๆ ทั้งที่ผลิตในประเทศไทย และนำเข้าจากต่างประเทศ ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด

]]>
1305505
คู่ปรับ “Boeing – Airbus” ร่วมชะตากรรม ขาดทุนยับกว่าที่คาด ลดผลิตเครื่องบิน ปลดพนักงานเพิ่ม https://positioningmag.com/1290404 Fri, 31 Jul 2020 12:16:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290404 สองยักษ์ใหญ่เเห่งวงการผลิตเครื่องบิน ที่ฟาดฟัดกันมาหลายยุคหลายสมัยอย่าง Boeing เเละ Airbus กำลังตกที่นั่งลำบากร่วมกันหลังต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 โดยทั้งสองบริษัทมีผลประกอบการขาดทุนมากกว่าที่คาดไว้ จำเป็นต้องปรับลดพนักงานเพิ่ม เเละลดการผลิตเครื่องบินรุ่นหลักลงอีก

ธุรกิจการบินฟื้นตัวช้าเเละต้องรออีกหลายปี ล่าสุด Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติสหรัฐฯ รายงานผลประกอบการในไตรมาสขาดทุนถึง 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.4 หมื่นล้านบาท) และรายได้ในช่วงเวลาเดียวกันลดลง 25% เหลือ 11,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.6 เเสนล้านบาท)

Dave Calhoun ซีอีโอของ Boeing บอกว่า ตัวเลขในไตรมาส 2 “ย่ำแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้มาก สะท้อนให้เห็นว่าการเเพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นส่งผลกระทบอย่างรุนเเรงต่ออุตสาหกรรมการบิน เเละสถานการณ์นี้ยังจะต้องคงอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

คงต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี กว่าที่อุตสาหกรรมการบินจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อน COVID-19”

ด้วยปัจจัยความต้องการเดินทางที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงข้อจำกัดพรมเเดนเเละมาตรการควบคุมโรคในเเต่ละประเทศ ทำให้สายการบินชะลอการซื้อเครื่องบินใหม่ ทำให้ผู้ผลิตต้องเลื่อนการส่งสินค้าและบริการซ่อมบำรุงหลายด้าน

ก่อนหน้านี้ ทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 กว่าที่จำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโรคระบาด เเละเเม้อัตราการเดินทางทางอากาศได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้ว เเต่อุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละยังถือว่าอ่อนแออยู่มาก

Boeing ประกาศว่า จะลดการผลิตเครื่องบินตระกูล 777 และ 787 และเลื่อนการเปิดตัวเครื่องบินรุ่นใหม่อย่าง 777X ได้อย่างเร็วที่สุด คือภายในปี 2022

นอกจากนี้ Boeing ยืนยันอย่างเป็นทางการเเล้วว่าจะเลิกผลิตเครื่องบินเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 จัมโบ้เจ็ต เจ้าของฉายาราชินีเเห่งท้องฟ้าสัญลักษณ์ของการเดินทางระยะไกล ภายในปี 2022 นี้ จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การเดินทางทั่วโลกต้องหยุดชะงัก เเละปัจจุบันสายการบินต่างๆ ก็หันมาใช้เครื่องบินรุ่นประหยัดเชื้อเพลิงกันมากขึ้น ตามเทรนด์ของยุคสมัย

ขณะเดียวกัน Boeing ก็ต้องรีบปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด เนื่องจากคำสั่งซื้อเครื่องบินที่ลดฮวบ ด้วยการปลดพนักงานภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งพนักงานของบริษัทราว 19,000 คน จากพนักงานทั่วโลกราว 1.6 เเสนคน จะต้องถูกเลิกจ้างก่อนกำหนด เเละล่าสุดก็เพิ่งมีการส่งข้อความถึงพนักงานว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดการจ้างงานเพิ่มเติมอีก

Photo : Shutterstock

ด้านคู่ปรับตลอดกาลอย่าง Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ สัญชาติฝรั่งเศส เปิดเผยผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า ขาดทุน 1,900 ล้านยูโร (ราว 7 หมื่นล้านบาท) รายได้ในช่วงเวลาเดียวกันลดลง 39% เหลือ 18,900 ล้านยูโร (ราว 6.9 เเสนล้านบาท) โดยอัตราการส่งมอบเครื่องบินในช่วงเวลานี้ลดลง 50% เหลือเพียง 196 ลำ ต่ำสุดในรอบ 16 ปี

Guillaume Faury ซีอีโอของ Airbus มองว่าวิกฤต COVID-19 คือปัจจัยที่ส่งผลกระทบรุนเเรงมากที่สุดตอนนี้ ซึ่งบริษัทได้ปรับลดการผลิตลงเเล้ว 40% รวมถึงการลดการผลิตเครื่องบินรุ่น A 350 ลงอีก เหลือเพียง 5 ลำต่อเดือน

สำหรับเเผนปรับโครงสร้างองค์กรของ Airbus จะมีการปลดพนักงานราว 15,000 คนภายในกลางปีหน้า ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในฝรั่งเศสและเยอรมนี จากพนักงานกว่า 1.35 เเสนคนทั่วโลก

ด้านสหภาพแรงงานฝรั่งเศส เรียกร้องให้ Airbus ชะลอการปรับโครงสร้างบริษัทออกไปก่อน โดยมองว่าการปลดพนักงานในครั้งนี้รุนแรงเกินไปและอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงกับอุตสาหกรรมการบินของยุโรปในอนาคต รวมถึงอาจทำให้ธุรกิจซัพพลายเออร์ขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบอย่างรุนเเรง หาก Airbus ลดการผลิตลงในช่วง 2 ปีต่อจากนี้

ทั้งนี้ Boeing เเละ Airbus ครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องบินพาณิชย์ทั่วโลกไปแล้ว 91% โดย Boeing ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ 45.69% และ Airbus ครองส่วนแบ่งอยู่ 45.35%

 

ที่มา : Reuters , Airbus.com

]]> 1290404 ปิดฉาก “ราชินีแห่งท้องฟ้า” เลิกผลิต Boeing 747 ในปี 2022 จากพิษไวรัส-เทรนด์ประหยัดพลังงาน https://positioningmag.com/1290152 Thu, 30 Jul 2020 09:44:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290152 หลังมีกระเเสการเลิกผลิตเครื่องบินเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 “จัมโบ้เจ็ตสัญลักษณ์ของการเดินทางระยะไกล มาสักระยะหนึ่ง ล่าสุดทาง Boeing ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการเเล้วว่าจะยุติการผลิตภายในปี 2022 นี้ จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การเดินทางทั่วโลกต้องหยุดชะงัก เเละปัจจุบันสายการบินต่างๆ ก็หันมาใช้เครื่องบินรุ่นประหยัดเชื้อเพลิงกันมากขึ้น ตามเทรนด์ของยุคสมัย

ธุรกิจการบินกำลังเผชิญวิกฤตครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ เมื่อยอดผู้โดยสารลดฮวบเเละต้องปลดพนักงานเพื่อความอยู่รอด บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินก็ได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างมาก เรียกได้ว่าสะเทือนไปทั้งอุตสาหกรรม

โดยผลประกอบการไตรมาส 2 ในปีนี้ของ Boeing ขาดทุนไปกว่า 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่รายได้ดิ่งลง 25% เหลือ 11,800 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการผลิตเครื่องบินลดลงในหลายรุ่น รวมถึง Boeing 787 และ 777 ด้วย

เเม้ช่วงนี้การเดินทางท่องเที่ยวจะซบเซา เเต่อุปสงค์สำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ไม่มีคำสั่งซื้อ Boeing 747-8F เข้ามาเลย นับตั้งเเต่มีการส่งมอบเครื่องบินรุ่น 747 ให้สายการบินลุฟต์ฮันซา ตั้งเเต่เดือนเมษายน ปี 2015 โดยตอนนี้ Boeing ยังเหลือเครื่องบิน 747-8F ที่ยังค้างอยู่ในสต๊อกถึง 15 ลำ

สำหรับ Boeing 747 เป็นตำนานจัมโบ้เจ็ต ที่มีอายุนานกว่า 50 ปี รองรับผู้โดยสารได้ถึง 400 คน มีฉายาว่าราชินีแห่งท้องฟ้า และครองตำแหน่งเจ้าการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ

ก่อนจะถูกซ้ำเติมด้วย COVID-19 เครื่องบิน Boeing 747 ก็เริ่มไม่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายสายการบิน เริ่มปลดระวางเเละนำไปใช้เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าหรือคาร์โกเเทน

ขณะเดียวกัน การมาของเทรนด์ประหยัดพลังงาน ทำให้สายการบินส่วนใหญ่หันไปใช้เครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่าเเละประหยัดเชื้อเพลิงกว่าอย่าง Boeing 787 Dreamliner, Boeing 737 เเละ Airbus A350

Boeing ระบุในแถลงการณ์ว่า บริษัทจะยังคงให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานและซ่อมบำรุงเครื่องบิน 747 ต่อไปในอนาคต โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากสายการบินใหญ่อย่าง British Airways เเละ Qantas ได้ประกาศยุติการใช้งาน Boeing 747 เป็นที่เรียบร้อย  

Photo : Shutterstock

เหล่าผู้ผลิตเครื่องบินต้องปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อพยุงธุรกิจ โดยล่าสุด Boeing ได้ส่งข้อความที่ส่งถึงพนักงานว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดการจ้างงานเพิ่มเติม หลังช่วงต้นปี เคยประกาศว่าจะลดพนักงานลง 10% พร้อมลดกำลังผลิต Boeing 787 และ 777 ส่วน 737 Max แม้จะปรับเพิ่มการผลิต แต่ก็เป็นการปรับขึ้นอย่างช้าๆ กว่าแผนเดิมที่เคยวางเอาไว้

ด้านสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 กว่าที่จำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโรคระบาด

โดยการฟื้นตัวของการเดินทางระยะสั้น จะฟื้นตัวเร็วกว่าการเดินทางระยะไกล เเละคาดว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั่วโลกจะลดลง 55% เมื่อเทียบกับปี 2019 เเย่กว่าที่คาดไว้ในเดือนเมษายนที่ 46% สำหรับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทราฟฟิกของผู้โดยสารลดลง 86.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าดีขึ้นจากการหดตัวถึง 91% ในเดือนพฤษภาคม หลังได้รับอานิสงส์การเดินทางที่เพิ่มขึ้นบ้างในตลาดจีน

เเม้อัตราการเดินทางทางอากาศได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้ว เเต่อุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละยังถือว่าอ่อนแออยู่มาก

 

ที่มา : Aerotime , BBC

]]> 1290152 ใกล้ปิดตำนาน “จัมโบ้เจ็ต” British Airways เลิกใช้งานเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 ทั้งหมดเเล้ว https://positioningmag.com/1288345 Fri, 17 Jul 2020 09:21:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288345 British Airways สายการบินใหญ่เเห่งสหราชอาณาจักร ประกาศยุติการใช้งานเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 “จัมโบ้ เจ็ตซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการเดินทางระยไกล ท่ามกลางวิกฤตการท่องเที่ยวซบเซาที่สะเทือนสายการบินทั่วโลก

British Airways ระบุในเเถลงการณ์ว่า สายการบินจะปลดระวางเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 “จัมโบ้เจ็ตที่มีอยู่ทั้งหมดทันทีหลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งทำให้ต้องระงับเส้นทางการบินระหว่างประเทศเกือบทั้งหมด

เเม้จะไม่ได้เปิดเผยว่าปัจจุบันทางสายการบินมีเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 อยู่จำนวนเท่าใด เเต่ก็เป็นที่ทราบกันดีในวงการอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ว่า British Airways เป็นสายการบินที่ครอบครองเครื่องบินโดยสารตระกูล 747 มากที่สุด โดยสำนักข่าวบางสำนักรายงานว่าสายการบินมีจัมโบ้เจ็ตมีอยู่ประมาณ 24-28 ลำ

สำหรับ Boeing 747 เป็นตำนานจัมโบ้เจ็ตที่มีอายุนานกว่า 50 ปี รองรับผู้โดยสารได้ถึง 400 คน และครองตำแหน่งเจ้าการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ

ก่อนจะถูกซ้ำเติมด้วย COVID-19 เครื่องบิน Boeing 747 ก็เริ่มไม่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายสายการบิน เริ่มปลดระวางเเละนำไปใช้เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าหรือคาร์โกเเทน

Bloomberg รายงานอ้างแหล่งข่าวว่า Boeing กำลังยุติสายการผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่แบบ Boeing 747 ในอีก 2 ปีข้างหน้า หลังความต้องการในลดฮวบลงอย่างมาก เพราะสายการบินส่วนใหญ่หันไปใช้เครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่าเเละประหยัดเชื้อเพลิงกว่าอย่าง Boeing 787 Dreamliner, Boeing 737 เเละ Airbus A350

ความเคลื่อนไหวของ British Airways เกิดขึ้นหลัง Boeing เปิดเผยในสัปดาห์นี้ว่า มีลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อเครื่องบินโดยสาร 737 MAX ไปกว่า 60 ลำในเดือนมิ..ที่ผ่านมา ทำให้ยอดรวมการยกเลิกคำสั่งซื้อเครื่องบินรุ่นนี้เป็นอย่างน้อย 355 ลำแล้ว นับตั้งแต่ต้นปีนี้ที่มีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเดือนที่ผ่านมา Boeing ส่งมอบเครื่องบินให้ลูกค้าไปเพียง 10 ลำ เเละส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินคาร์โกและเครื่องบินทหาร

การระบาดใหญ่ทำให้ภาคการขนส่งทางอากาศซบเซา ล่าสุดสายการบินยักษ์ใหญ่เเห่งอเมริกาอย่าง United Airlines ก็เพิ่งปลดพนักงานไปมากถึง 36,000 คน ส่วนผลประกอบการของ British Airways ก็ขาดทุนขาดทุนสุทธิ 1.68 พันล้านยูโร (ราว 5.7 หมื่นล้านบาท) ในช่วง 3 เดือนเเรกของปีนี้ พร้อมประกาศเเผนลดค่าใช้จ่ายเเละปลดพนักงานอีก 12,000 คน

ขณะที่ Boeing ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ปี จากความต้องการเดินทางทางอากาศยังชะลอตัว โดยบริษัทได้ประกาศเเผนปรับโครงสร้างองค์กร เเละปรับลดพนักงานทั่วโลกลงกว่า 16,000 ตำแหน่ง

 

ที่มา : AFP , Bloomberg , Reuters

]]> 1288345 “แอร์บัส” มั่นใจระบบกรองอากาศบนเครื่องบินปลอดภัย ลดเสี่ยง COVID-19  https://positioningmag.com/1285353 Sun, 28 Jun 2020 06:53:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285353 “แอร์บัส” มั่นใจระบบฟอกอากาศภายในห้องโดยสารเครื่องบิน ลดความเสี่ยง COVID-19 ชี้ทุกส่วนในอุตสาหกรรมการบินร่วมมือกำหนดมาตรการและข้อกำหนด เชื่อเรียกเชื่อมั่นผู้โดยสาร กระตุ้นเดินทาง

อานันท์ สแตนลีย์ ประธานบริษัท แอร์บัส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการเดินทางโดยเครื่องบินในช่วงที่ผ่านมา โดยขณะนี้ สถานการณ์เริ่มผ่อนคลาย และหลายสายการบินเริ่มกลับมาให้บริการอีกครั้ง ซึ่งการสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสารในเรื่องความปลอดภัยในการใช้บริการ และมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 จึงเป็นสิ่งสำคัญ”

ในฐานะผู้ผลิตเครื่องบิน ยืนยันถึงการออกแบบและการใช้อุปกรณ์ที่ทำให้คุณภาพอากาศในห้องโดยสาร สะอาดเทียบเท่ากับห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล ซึ่งเชื้อไวรัสจะแพร่กระจายได้น้อยมากเนื่องจากอากาศภายในห้องโดยสารจะผ่านการฟอกครบทุกขั้นตอน และหมุนเวียนใหม่ในทุกๆ 2-3 นาที

โดยอากาศที่เข้าสู่ห้องโดยสารจะผ่านช่องระบายอากาศที่อยู่ใกล้กับช่องสัมภาระเหนือศีรษะ และไหลลงที่ต่ำในแนวดิ่งที่อัตรา 1 เมตรต่อวินาที ทิศทางการไหลของอากาศที่ลงต่ำในแนวดิ่งนี้จะช่วยเลี่ยงไม่ให้อากาศภายในห้องโดยสารเคลื่อนที่ในแนวขวาง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนซึ่งกันและกัน

โดยอากาศจะถูกนำออกจากห้องโดยสารโดยผ่านช่องระบายอากาศที่ระดับพื้นทางเดินผู้โดยสารและผ่านแผงกรองอากาศชนิดประสิทธิภาพสูง (HEPA) โดยขั้นตอนนี้จะช่วยกำจัดอนุภาคต่างๆ ภายในห้องโดยสารรวมถึงไวรัสและแบคทีเรียเช่นโคโรนาไวรัสที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ได้มากกว่า 99.9% จากนั้นอากาศที่ผ่านกระบวนการกรองแล้วจะถูกผสมกับอากาศบริสุทธิ์ที่ดึงมาจากภายนอกเครื่องบินก่อนจึงจะนำเข้ามาสู่ห้องโดยสาร ซึ่งเทคโนโลยีการฟอกอากาศนี้ได้รับยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ เพราะผ่านสถานการณ์โรคซาร์ส โคโรนาไวรัส และไวรัสเมอร์สมาแล้ว

นอกจากนี้ สายการบินเองมีมาตรการเพิ่มข้อปฏิบัติการดูแลรักษาความสะอาดเครื่องบิน ทำความสะอาดจะครอบคลุมทั้งห้องโดยสาร ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์บริเวณรอบเก้าอี้โดยสารในแต่ละที่นั่ง ห้องเตรียมอาหาร และห้องสุขา และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้ในการทำความสะอาดฆ่าเชื้อสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ยาวนานขึ้นสูงถึง 5 วัน นอกจากนี้ ในระหว่างเที่ยวบิน ผู้โดยสารและลูกเรือจะต้องสวมหน้ากากอนามัย และการจัดระเบียบการรักษาระยะห่างกัน

อานันท์กล่าวว่า การเดินทางจะกลับมาเร็วหรือช้า อยู่ที่การสร้างความเชื่อมั่น ซึ่งทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมการบิน สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (ACI) ที่จับมือร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแล สายการบิน ท่าอากาศยาน และผู้ผลิตอากาศยานจะต้องร่วมมือกัน

เนื่องจากความปลอดภัยในการเดินทาง จะเริ่มตั้งแต่ที่สนามบิน ขั้นตอนในการเข้าอาคารผู้โดยสาร การตรวจเช็กอุณหภูมิร่างกาย และลดการสัมผัสกับผู้อื่นให้น้อยลงในทุกขั้นตอนเช็กอินไปจนถึงขึ้นเครื่อง

Source

]]>
1285353
เช็กให้ชัวร์ ! เตรียมตัวอย่างไร…ก่อนขึ้นเครื่องบินในประเทศ ช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1277553 Fri, 08 May 2020 11:15:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277553 ทอท. แจ้งเตือนผู้โดยสารที่จะเดินทางโดยเครื่องบินเส้นทางภายในประเทศในช่วงการระบาดของ COVID-19 ให้ตรวจสอบประกาศ/คำสั่งของจังหวัดปลายทางก่อนการเดินทางทุกครั้ง

ปัจจุบันมีท่าอากาศยาน 5 แห่งของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้เเก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีสายการบินเปิดให้บริการเส้นทางภายในประเทศ จำนวน 4 สายการบิน ได้แก่ สายการบินนกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ ไทยเวียตเจ็ท

เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 จึงมีมาตรการกำหนดให้ผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออกท่าอากาศยาน จะต้องผ่านจุดตรวจเช็กอุณหภูมิร่างกาย และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในพื้นที่ท่าอากาศยาน

“หากการคัดกรองพบว่าผู้โดยสารมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.3 องศาเซลเซียส หรือไม่สวมหน้ากากอนามัย เจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานมีสิทธิปฏิเสธการให้เข้าพื้นที่ท่าอากาศยานได้”

นอกจากนี้ขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งตรวจสอบประกาศ/คำสั่งของจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เพื่อปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

เดินทางมาจากจังหวัดเสี่ยงลง “เชียงใหม่-เชียงราย” ต้องกักตัว 14 วัน

สำหรับจังหวัดที่ท่าอากาศยานของ ทอท.ตั้งอยู่ และมีประกาศ/คำสั่งที่ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตาม ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดเชียงราย

โดยจังหวัด เชียงใหม่ กำหนดให้ผู้โดยสารขาเข้าที่เดินทางมาถึงท่าอากาศยานเชียงใหม่ จะต้องกรอกข้อมูลสำหรับติดตามตัวในเอกสาร ชม.1 รวมทั้งรับแจกเอกสารคำแนะนำการเฝ้าสังเกตอาการหรือกักตัวในที่พักเป็นเวลา 14 วันส่วนผู้โดยสารชาวต่างชาติต้องกักตัวในที่พักหรือโรงแรมที่จังหวัดกำหนดเป็นเวลา 14 วัน โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

ในส่วนของจังหวัด เชียงราย ผู้โดยสารขาเข้า ณ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย จะต้องกรอกเอกสารผ่าน QR code ของฝ่ายปกครองร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดมาตรการคัดกรองต่อเป้าหมายผู้เดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดเชียงรายทุกคน

หากผู้โดยสารมีภูมิลำเนา และวิถีชีวิตประจำวันในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล จังหวัดภูเก็ต รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มากกว่า 1 วัน และเดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดเชียงราย เมื่อถึงที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือโรงแรม ต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคในพื้นที่พำนักอาศัย เพื่อดำเนินการตามมาตรการกักตัวที่บ้าน 14 วัน (Home Quarantine) โดยเคร่งครัด ห้ามออกนอกเคหสถานโดยไม่มีเหตุอันควร

หากตรวจสอบพบการฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย กรณีผู้ที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ แต่ไม่มีประวัติภูมิลำเนาตามที่กล่าวข้างต้น หรือเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อการเดินทางเฉพาะวันเดินทางเท่านั้น ให้ถือแนวทางปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังตนเอง (Self Quarantine) คือ ไม่ต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคภายในพื้นที่พำนัก แต่ต้องสังเกตอาการตนเอง 14 วัน หากมีไข้หรืออาการผิดปกติเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคให้ไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

สำหรับผู้เดินทางมาจากจังหวัดภูเก็ต ต้องมารายงานตัวที่โรงแรมเวียงอินทร์ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ทและกักตัว 14 วัน (Local Quarantine)

ส่วนจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานอื่นๆ ของ ทอท.มิได้มีเงื่อนไขเพิ่มเติมของจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและการดำเนินงานของท่าอากาศยาน สำหรับท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งท่าอากาศยานของ ทอท.นั้น ยังคงระงับการให้บริการตามคำสั่งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยที่ 103/2563 จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เวลา 23.59 น.

ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานของ ทอท.สามารถสอบถามเกี่ยวกับเที่ยวบินและการให้บริการได้ที่ AOT Contact Center 1722 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

]]>
1277553