เอสเอ็มอี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 17 Nov 2021 12:17:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ttb business one ต่อยอดฟีเจอร์ใหม่ จาก Pain Point ชาวเอสเอ็มอี จัดการธุรกิจผ่าน ‘มือถือ’  https://positioningmag.com/1362565 Wed, 17 Nov 2021 09:55:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362565 SMEs ไทยปรับตัวเข้าหาดิจิทัล ttb business one จับโอกาสเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ รับโมบายแอปพลิเคชัน เเก้ Pain Point ผู้ประกอบการ จัดการธุรกิจผ่านมือถือได้ในระบบเดียว 

ปัจจุบันธุรกิจ SMEs’ (เอสเอ็มอี) ในไทย มีผู้ประกอบการมากถึง 3 ล้านราย คิดเป็นกว่า 99% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อ GDP ถึง 42% มีการจ้างงานเเละกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคต่างๆ

เเต่เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดลากยาวมาเกือบ 2 ปี ผู้ประกอบการรายย่อยรับผลกระทบหนัก ต้องปรับตัวให้อยู่รอด ดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนเเปลงไป

ในช่วงโควิด SMEs ส่วนใหญ่ยังต้องการความช่วยเหลือ โดย 52% ยังพอประคองตัวไปได้ อีก 10% ไปได้ดี เเต่อีกกว่า 38% อยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง

ต่อยอดเทคโนโลยีจาก Pain Point ผู้ประกอบการ 

จุดนี้เป็นโอกาสของ ทีเอ็มบีธนชาต ที่จะพัฒนาดิจิทัลโซลูชันttb business one’ มาจับกลุ่มตลาดลูกค้า SMEs โดยเฉพาะ โดยเน้นไปที่การเเก้ Pain Point ของผู้ประกอบการ SMEs ที่มักจะทำธุรกิจผ่านมือถือต้องเจอบ่อยๆ อย่าง

  • การทำธุรกรรมหลายประเภทต้องเข้าหลายระบบ หรือลืมรหัสผ่านเพราะมีหลายอัน
  • ดิจิทัลเเบงก์กิ้งบนคอมพิวเตอร์กับมือถือ ‘เเยกโปรไฟล์กัน’ ทำให้สับสน ใช้งานเฉลี่ย 7 คลิกต่อ 1 ธุรกรรม
  • ไม่รู้ว่าเงินโอนรับเข้ามานั้นมาจากคู่ค้ารายใด ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
  • ไม่รู้วิธีการจ่ายหรือการโอนเงินแบบไหนเร็วที่สุด หรือประหยัดที่สุด
  • โอนจ่ายโดยไม่รู้จำนวนเงินสำรองที่เหลือ
  • ไม่สามารถตั้งเมนู Personalize ได้ตามความต้องการของเเต่ละเเผนกได้

ปัจจุบัน ทีเอ็มบีธนชาต มีลูกค้าธุรกิจและเอสเอ็มอีที่ทำธุรกรรมบนดิจิทัลแบงก์กิ้ง ทั้งโมบายแอปพลิเคชัน และอินเทอร์เน็ต รวมเกือบ 200,000 ราย

หากเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประกอบการ SMEs หันมาใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 60% และลูกค้าธุรกิจทั้งหมดมีจำนวนรายการที่ทำผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว หรือเพิ่มขึ้น 160% ขณะที่สัดส่วนการทำธุรกรรมของลูกค้าระหว่างช่องทางดิจิทัลกับช่องทางสาขาเปลี่ยนจาก 40% ต่อ 60% เป็น 80% ต่อ 20% เเล้ว

การออกแบบโมบายแอปพลิเคชันในครั้งนี้ล้วนมาจากความคิดเห็นของลูกค้าจริง ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานให้มากที่สุด” สุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาต กล่าว 

ฟีเจอร์ใหม่ คุมธุรกิจได้ผ่าน ‘มือถือ’ 

ผ่านมาได้ 11 เดือน หลังทีเอ็มบีธนชาต เปิดตัวบริการ ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ครั้งนี้ก็ถึงเวลาขยายฟีเจอร์ใหม่ๆ ผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน อย่างเต็มรูปเเบบ อิงตามความต้องการของลูกค้า 

โดยคอนเซ็ปต์หลักๆ ของ ttb business one คือการวางจุดเด่นเป็น One Platform ระบบเดียวเข้าได้จากทุกอุปกรณ์ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์เดียวกันทั้งหมด เห็นทุกอย่างในโปรไฟล์เดียวกัน

One to Control คือระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม ซื้อ ขาย รับ จ่าย ทั้งในและต่างประเทศ ควบคุมธุรกิจได้จากที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายแอป จำหลาย user password เช่น โอนเงินในประเทศ ต่างประเทศ เรียกดูวงเงิน OD 

เเละ One to Command ระบบเดียว มองเห็นภาพรวมและข้อมูลสรุปทางการเงินภายในบริษัท ด้วย Dashboard ที่เรียกดูง่ายและเข้าใจง่าย สามารถสั่งการต่อได้เลย พร้อมระบบมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

“ฟีเจอร์บนมือถือ จะมีทั้งการอนุมัติรายการ ทำรายการที่ง่ายขึ้นไม่ต้องกดหลายครั้ง การเรียกดูรายงานต่าง ๆ ได้ในหน้าจอเดียว พร้อมการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายงานตามที่ต้องการ สามารถควบคุมทุกเรื่องธุรกิจได้จากมือถือ” 

รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัลลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต บอกว่า จากตัวเลขการใช้ธุรกรรมช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยืนยันว่า ttb business one มาถูกทางแล้ว ฟีเจอร์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางดิจิทัลได้เต็มที่ 100% มีข้อมูล Data Insightful ช่วยคาดการณ์กระแสเงินสดเข้า-ออก ภายในบริษัทได้ล่วงหน้า ทำให้บริหารจัดการกระแสเงินสดได้ ซึ่งตอนนี้ไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม

“ttb ตั้งเป้าว่าด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีลูกค้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น 60% ภายในสิ้นปี” 

 

]]>
1362565
‘GoDaddy’ ลุยตลาดไทยเต็มสูบ เจาะ SMEs ขยับขายออนไลน์ ช่วยทำเว็บไซต์ DIY ได้เอง https://positioningmag.com/1351152 Fri, 10 Sep 2021 10:42:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351152 ‘GoDaddy’ ยกทีมบุกตลาดไทย หลังมองอีคอมเมิร์ซเติบโตดี ไม่กลัวตลาดโดเมนท้องถิ่นเเข่งดุ ชูจุดเด่นเป็น ‘one-stop-shop’ โซลูชันครบวงจร เจาะกลุ่ม SMEs ให้ทำเว็บไซต์ DIY ได้เองง่ายๆ กลยุทธ์การตลาดเฟสเเรกขอเน้นสร้าง Brand Awareness ให้เป็นที่รู้จักก่อน

หลายคนคงได้ยินชื่อของ Go Daddy ผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนที่ใหญ่ที่สุดในโลกสัญชาติอเมริกัน มาหลายปี เเต่ยังไม่มีทีมงานมาดูเเลตลาดไทยเเบบเต็มที่ 100% สักที

จนกระทั่งปีนี้ GoDaddy ตัดสินใจขยายสู่ตลาด 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยได้เปิดฝ่ายบริการลูกค้าด้วยภาษาไทยเป็นครั้งเเรก เมื่อเดือนพ..ที่ผ่านมา

“GoDaddy เล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของผู้ประกอบการรายย่อยในไทย และอยากสร้างการรับรู้ว่าการเริ่มทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลในยุคนี้นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและมีต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สูง

ปัจจุบัน GoDaddy มีลูกค้ากว่า 20 ล้านราย และมีชื่อโดเมนกว่า 82 ล้านชื่อในมือ ดำเนินธุรกิจใน 50 ตลาดทั่วโลก มีลูกค้าอยู่ใน 100 ประเทศ 

ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ในปี 2020 บริษัทมียอดลูกค้าใหม่ทั่วโลกเกือบ 1.4 ล้านคน นับเป็นอัตราการเติบโตของจำนวนลูกค้าสุทธิประจำปีสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งมา สะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจต่างๆ หันมาขยายช่องทางการสื่อสารเเละสร้างเเบรนด์ผ่านเว็บไซต์มากขึ้น

SMEs ไทยขยับสู่ดิจิทัล 

สายทิพย์ (นิกกี้เชวงทรัพย์ ผู้อำนายการฝ่ายการตลาด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกว่า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของ Go Daddy คือผู้ประกอบการ SMEs’ ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ รวมถึงบุคคลทั่วไป เเบ่งง่ายๆ ให้เห็นภาพเป็น 3 กลุ่มได้เเก่

  • กลุ่มที่มีสินค้าและบริการที่ต้องการจะขาย
  • กลุ่มที่ต้องการขายงานบริการระดับมืออาชีพ เช่น สถาปนิก ออกเเบบเเละตกเเต่งภายใน ศิลปินนักวาด นักบัญชี ฯลฯ
  • ผู้ประกอบการที่ต้องการหาโซลูชันอีคอมเมิร์ซเเบบครบวงจร

Go Daddy มีลูกค้าคนไทยที่ใช้บริการอยู่แล้วราว 60,000 ราย ในส่วนนี้คิดเป็นผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 60-70% เลยทีเดียว

จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ปี 2020 ระบุว่า ไทยมีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ 63,340 ราย มีการคาดการณ์ว่าในปี 2564 จะมีการลงทะเบียนธุรกิจใหม่ เพิ่มขึ้นราว 64,000 – 66,000 ราย

โดยการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย 2% ต่อปี เเละมีจำนวนร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนสะสมจนถึงปี 2020 ทั้งหมดถึง 58,423 ราย

ในปีที่ผ่านมาเพียงปีเดียว ไทยมีการจดทะเบียนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 12,883 ราย และคาดว่าในปีนี้ จะมีการจดทะเบียนอีคอมเมิร์ซใหม่ในจำนวนที่สูงขึ้นอีก

ชูจุดขายโซลูชัน one-stop-shop สร้างเว็บไซต์ได้เอง

เมื่อถามถึงการเเข่งขันในตลาดโดเมนเเละโฮสติ้งในไทย Go Daddy มองว่า มีผู้เล่นทั้งบริษัทใหญ่จากต่างชาติ เเละบริษัทเล็กๆ ท้องถิ่นในไทยจำนวนมาก มีการตัดราคากันค่อนข้างสูง

โดยกลยุทธ์ที่บริษัทจะนำมาใช้เป็นจุดเเข็งในการตีตลาดไทย ก็คือการเป็น ‘one-stop-shop’ ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อธุรกิจออนไลน์แบบครบวงจร จบในที่เดียว มีตัวเลือกมากกว่า น่าเชื่อถือเเละให้บริการดูแลลูกค้าจากเจ้าหน้าที่คนไทย

“GoDaddy ต้องการเป็นที่รู้จักมากกว่าการเป็นแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ เเต่เป็นเเหล่งที่มีเครื่องมือแบบครบวงจรให้ลูกค้า ในการสร้างธุรกิจออนไลน์ ทั้งการแสดงสินค้าและบริการ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ส่งเสริมการขายเเบบ Websites + Marketing”

หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของ GoDaddy คือ ‘Website Builder’ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อย ทำเว็บไซต์ของตัวเองได้เเบบ DIY ไม่ต้องมีประสบการณ์เชิงเทคนิคเพียงกดตามขั้นตอนง่ายๆ

โดย Website Builder จะมีระบบป้องกันความปลอดภัยเว็บไซต์ SSL Certification ที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์มือถือ พร้อมเชื่อมต่อโซเชียลมีเดียและ Google My Business เข้ากับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นได้

นอกจากนี้ ยังมีบริการหลักๆ อย่างบริการจดทะเบียนชื่อโดเมนและโฮสติ้ง การสร้างเว็บไซต์และการตลาด บริการ Professional Email และ GoDaddy Guides ให้ความช่วยเหลือลูกค้าแบบตัวต่อตัวทั้งทางเเชทเเละโทรศัพท์จากทีมงานคนไทย 

เว็บไซต์คู่โซเชียลมีเดีย 

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยส่วนใหญ่มักนิยมการขายเเละซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียมากกว่าทางเว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของที่จะเข้ามาตีตลาดนี้

ผู้บริหาร GoDaddy ตอบว่า คนไทยนิยมใช้โซเชียลมีเดียเพราะไม่มีค่าใช้จ่าย เชื่อมต่อลูกค้าได้เร็ว เเต่การมีเว็บไซต์นั้นจะช่วยในเรื่องความน่าเชื่อถือ เพิ่มช่องทางการขาย เเละสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เเบรนด์ได้ เเละที่สำคัญคือค้นหาทาง กว่าโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายมากนัก เพียงหลักพันบาทขึ้นไป อีกทั้งยังได้เป็นเจ้าของเเพลตฟอร์มเอง ค้นหาทาง search engine ได้ง่ายกว่า เเละกระจายความเสี่ยงออกจากโซเชียลมีเดีย

โดยหัวใจสำคัญของการสร้างเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จ คือ ชื่อต้องจำได้ง่าย , ดีไซน์ให้สื่อถึงความเป็นเเบรนด์ , คอนเทนต์ต้องมีคุณภาพเเละสม่ำเสมอ , เชื่อมต่อโซเชียลมีเดียได้ง่าย , ติดต่อลูกค้าได้รวดเร็ว เเละมีขั้นตอนการชำระเงินที่สะดวก เป็นต้น

ต้องยอมรับว่าตลาดไทย ไม่ใช่ตลาด DIY เหมือนในอเมริกาหรือยุโรป คนส่วนใหญ่ยังคิดว่าการจะทำเว็บไซต์ต้องมีความรู้ด้านเทคนิค ต้องเขียนโค้ดเป็น หรือมองว่าเป็นเรื่องยาก ต้องไปจ้างคนอื่นทำ GoDaddy จึงต้องเข้ามาสร้างความเข้าใจตรงนี้ เเละทำให้ตลาดขยายขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา GoDaddy มีการโปรโมตโฆษณาด้วยดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งต่างๆ โดยเน้นไปที่สร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์เเละบริการที่มีอยู่

รวมไปถึงการจัดสัมมนาออนไลน์เป็นภาษาไทย เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการ SMEs เป็นกลุ่มย่อยในทุกๆ เดือน เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้ตรงเป้าหมายให้มากขึ้น 

การบุกไทยอย่างเต็มรูปแบบของยักษ์ใหญ่อย่าง GoDaddy จะกระตุ้นให้ตลาดธุรกิจออนไลน์โตเเค่ไหน เเละจะงัดกลยุทธ์อะไรมาดึงดูดผู้ใช้อีกบ้าง ต้องติดตาม…

 

 

]]>
1351152
KBank ห่วงไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน โรงแรม 40% เสี่ยงหายจากตลาด https://positioningmag.com/1320011 Thu, 18 Feb 2021 13:11:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320011 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ห่วงเศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน เหตุพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติสูง จับตาเร่งกระจายวัคซีน วิกฤตยื้อยาวอาจทำโรงเเรม 30-40% ‘ไม่รอด’ หายออกจากตลาด หนี้ครัวเรือนพุ่ง ฉุดเศรษฐกิจ SMEs อ่วมสารพัดปัญหาไม่สามารถจ่ายหนี้ได้

‘วัคซีน’ คือตัวเเปรสำคัญของเศรษฐกิจไทย 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ให้ข้อมูลว่า KBank ยังคงคาดการณ์เป้าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 2.6%

มีหลายประเด็นที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัวช้า’ ตามหลังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวคิดเป็นกว่า 10% ของ GDP

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดการคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2564 มาอยู่ที่ประมาณ 2-4.5 ล้านคน จากเดิมที่คาดไว้ 4.5-7 ล้านคน

ตัวเเปรหลักของเศรษฐกิจไทยคือ ‘วัคซีน’ ต้องติดตามการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ตลอดจนการ
กระจายวัคซีนในประชากรหมู่มากจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดแนวทางการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยว ณ ขณะนี้มองไว้ว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2564

Photo : Shutterstock

ณัฐพร คาดว่า กว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับไปเท่าที่ระดับก่อนโรคระบาดได้คงใช้เวลาจนถึงปี 2565-2566 เพราะปัญหาจาก COVID-19 ในรอบนี้ กระทบภาคธุรกิจจริงตรงๆ ต่างจากปี 2540 ที่มีจุดกำเนิดจากธุรกิจการเงิน

“การฟื้นตัวของธุรกิจหลังผ่านพ้นช่วง COVID-19 คงไม่ทั่วถึง และยังมีโจทย์เชิงโครงสร้างที่รออยู่ อีกทั้งสังคมสูงอายุ ตลาดผู้บริโภคเล็กลง ปัญหาหนี้ครัวเรือน และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ”

โรงแรม 40% เสี่ยงหายออกจากตลาด

ด้าน เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เสริมว่า ภาคท่องเที่ยวในไทยเป็นอุตสาหกรรมที่ ‘เปราะบางที่สุด’ ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมในจังหวัดที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติมาก เช่นใน 6 จังหวัดอย่าง ภูเก็ต, กระบี่, พังงา, สุราษฎร์ธานี, ชลบุรี เเละกรุงเทพฯ ที่ต้องติดตามเป็นพิเศษ ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลง และการปิดพื้นที่ชั่วคราว

“ปัญหาโควิดในครั้งนี้คงทำให้โรงแรม 30-40% อาจต้องออกจากตลาดไป เน้นไปที่โรงแรมในกลุ่มราคาประหยัด (Budget) หรือราคาระดับกลาง (Midscale) รวมไปถึงธุรกิจค้าปลีก อย่างร้านค้า SMEs ในห้างที่มีสัดส่วนกว่า 30% ของผู้ประกอบการรายย่อยไทยในภาคการค้าทั่วประเทศ” 

เเม้ช่วงที่ผ่านมา คนไทยจะหันมา ‘เที่ยวในประเทศ’ กันมากขึ้น โดยคาดว่า ปี 2564 จะอยู่ที่ราว 90-120 ล้านคนต่อครั้ง แต่ยังไม่สามารถทดแทนการหายไปของรายได้ที่พึ่งพิงจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เคยสร้างรายได้ให้ธุรกิจในภาคโรงเเรมไทยถึง 5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นกว่า 70%

Photo : Shutterstock

สำหรับประเด็นเรื่อง ‘Vaccine Passport’ มองว่า ยังไม่อาจคาดหวังได้มากในขณะนี้ เพราะยังไม่มีหลักฐานการศึกษาว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว จะไม่ติดเชื้อหรือแพร่เชื้ออีกครั้ง ประโยชน์ในเรื่องนี้คงเกิดกับเฉพาะบางประเทศที่รับความเสี่ยงได้ มากกว่าจะเป็นประโยชน์ในระดับโลก

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ‘โจทย์เฉพาะหน้าคือ การดูแลปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจและครัวเรือน’

“ภาคการเงินต้องติดตามสภาพคล่องภาคธุรกิจ SMEs มีปัญหาไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ แม้ว่าตอนนี้ตัวเลขหนี้เสีย (NPL) จะยังไม่สะท้อนมาก เพราะยังอยู่ในช่วงมาตรการผ่อนปรนการจัดชั้นหนี้ของธปท.ก็ตาม” 

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าว เห็นได้จากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินที่คงไต่ระดับขึ้นจากปลายปี 2563 ที่ 27.6% และ 14.7% ของสินเชื่อสำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีและลูกค้าบุคคลรายย่อยตามลำดับ

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางนั้น คาดว่าภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น Asset Warehousing แต่อาจไม่เร็วพอ เพราะยังต้องรอรายละเอียดในหลายประเด็น ด้านลูกค้าหากมีสัญญาณปัญหาการชำระหนี้ ก็แนะนำให้รีบคุยกับสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องรอให้เป็น NPL ก่อน

“ธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไป เเต่คาดว่าตลาดจะเล็กลง จากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากปีก่อนที่ 86% ปีนี้น่าจะแตะ 90-91% ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อลดลง เเละการเข้าสู่สังคมสูงอายุของไทยที่กำลังใกล้เข้ามา ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่มองข้ามไม่ได้”

 

 

]]>
1320011
รู้จัก ‘Funding Societies’ เเพลตฟอร์มระดมทุนเจ้าใหญ่ รุกหา SMEs ไทย ให้ ‘เงินทุน’ เเบบไม่มีหลักประกัน https://positioningmag.com/1318596 Mon, 15 Feb 2021 13:29:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318596 การไม่เข้าถึงเเหล่งเงินทุน เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของ SMEs เเละสตาร์ทอัพสัญชาติไทยเรื่อยมา เเละยิ่งเพิ่มมากขึ้นในยามเศรษฐกิจตกต่ำ เหล่านี้เป็นช่องว่างธุรกิจที่ดึงดูดให้แพลตฟอร์มระดมทุนจากต่างประเทศ เริ่มเข้ามาคว้าโอกาสนี้ในไทยกันมากขึ้น

ล่าสุดFunding Societies’ แพลตฟอร์มเงินทุนดิจิทัลสำหรับ SMEs รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน เป็นอีกเจ้าที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในบ้านเรา หลังได้รับใบอนุญาตการเป็นผู้ให้บริการระบบ Crowdfunding หรือแพลตฟอร์มระดมทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (...) 

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับFunding Societiesเเพลตฟอร์มระดมทุนที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างนักลงทุนเเละผู้ประกอบการรายย่อยให้มาพบกัน

ทำไม Funding Societies ถึงมาไทย ?

Funding Societies คือแพลตฟอร์มเงินทุนดิจิทัล ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย เปิดกิจการมาตั้งเเต่ปี 2015 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการระดมทุนอย่างถูกต้องทั้งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เเละล่าสุดในไทย

ที่ผ่านมามีการระดมทุนรวมมากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.5 หมื่นล้านบาท) ได้สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มาแล้วจำนวน 65,000 ราย มีนักลงทุนทั้งหมดบนแพลตฟอร์มราว 200,000 ราย 

มีบริษัทนักลงทุนใหญ่ๆ เข้าร่วมระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มของ Funding Societies อย่าง Sequoia India, Softbank Ventures Asia Corp, Qualgro, LINE Ventures ฯลฯ โดยได้รับการระดมทุน Series C 1,300 ล้านบาท (ราว 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา

เรามองเห็นศักยภาพของ SMEs และสตาร์ทอัพที่มีอยู่หลายล้านรายในประเทศไทย พวกเขาควรได้รับโอกาสทางการเงินที่เท่าเทียม วารุน บันดารี กรรมการผู้จัดการใหญ่ Funding Societies ประเทศไทย กล่าว

จากข้อมูลของบริษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) ระบุว่า แม้ประเทศไทยจะมีผู้ประกอบการ SMEs มากกว่า 3 ล้านราย แต่มากกว่าครึ่งกำลังประสบปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ โดยเฉพาะเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น

วารุน บันดารี กรรมการผู้จัดการใหญ่ Funding Societies ประเทศไทย

ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เกิดช่องว่างทางการเงินแก่ธุรกิจ SMEs มากกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.2 ล้านล้านบาท) เเละภาวะขาดแคลนเงินทุนยิ่งทวีความเลวร้ายมากขึ้นในวิกฤตโรคระบาด เพราะสถาบันการเงินต่างพยายามลดอัตราการปล่อยสินเชื่อให้น้อยลงเพื่อลดความเสี่ยง

วารุนบอกว่า ธุรกิจ SMEs มีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยมากกว่า 40% ทำให้เกิดอัตราการจ้างงานถึง 78.5% แต่กลับต้องเผชิญปัญหานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินรูปแบบเดิมเนื่องจากขาดแคลนหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันรวมถึงข้อกำหนดการยื่นเอกสารที่ยุ่งยากและขั้นตอนการอนุมัติที่ใช้เวลานาน

…นี่จึงเป็นโอกาสของ Funding Societies ที่จะเข้ามาทำธุรกิจในไทย

ตามหา SMEs โปรไฟล์ดี 

Funding Societies จะให้บริการ ‘Debt Crowdfunding’ หลักๆ ได้เเก่ ช่วยเหลือ SMEs ขนาดเล็ก โปรไฟล์ดี ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ต้องการเงินลงทุนตั้งแต่ 5-30 ล้านบาท ขณะที่ในเว็บไซต์ระบุว่าเงินทุนสูงสุด 50 ล้านบาท

โดยเป็นเเพลตฟอร์มเชื่อมระหว่าง SMEs และนักลงทุน ให้สามารถลงทุนได้ ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายบุคคล ซึ่งแพลตฟอร์มจะประเมินความเสี่ยงด้านสินเชื่อเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน

การพิจารณาการให้ทุน จะมีการตรวจสอบเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ รายการเดินบัญชีจากธนาคาร เบื้องต้นในบางกรณีจะสามารถอนุมัติเงินทุนได้ภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนปกติจะสามารถอนุมัติเงินทุนให้คุณได้เร็วสุดภายใน 3 วันหลังได้รับเอกสารครบถ้วน

เงินทุนเพื่อธุรกิจนี้เหมาะสำหรับนิติบุคคลในไทย ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ดำเนินธุรกิจมาแล้ว 12 เดือน เเละไม่มีประวัติค้างชำระหนี้เกิน 3 เดือน ซึ่งจะทำการพิจารณาคำขอระดมทุนเป็นรายกรณีไป 

สำหรับเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้น สืบพงศ์ ชัยวนนท์ รองประธานฝ่ายเครดิต Funding Societies ประเทศไทยให้ข้อมูลกับ Positioningmag ว่า จะคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2% ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเเต่ละกรณี เเละมีระยะการผ่อนชำระตั้งเเต่ระยะสั้น 3 เดือนไปจนถึงสูงสุด 24 เดือน

เมื่อถามว่า หากไม่มีการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเเล้ว หากมีการผิดชำระขึ้นมาจะจัดการอย่างไร ผู้บริหาร Funding Societies ตอบว่า จะดำเนินการตามตามสัญญากู้เงินที่ระบุไว้ตามข้อตกลง ซึ่งบริษัทพยายามจำกัดอัตราการผิดชำระหนี้ให้ต่ำกว่า 2% ซึ่งต่ำกว่าในตลาดที่อยู่ราว 5%

ด้านนักลงทุนสามารถเริ่มต้นลงทุนได้ตั้งแต่ 10,000 บาท เป็นการร่วมสนับสนุน SMEs ไทยที่นักลงทุนชื่นชอบให้สามารถขยายกิจการหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปได้ รวมถึงเป็นช่องทางในการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบเเทนเป็นที่พอใจ ซึ่งนักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ

โดยจะมีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยทำให้สามารถนำแสนอรูปแบบการระดมทุนแบบใหม่ๆ ที่รวดเร็วสะดวก และไม่แพงจนเกินไป

ผู้บริหาร Funding Societies กล่าวว่า การการันตีผลตอบแทนนั้น ขณะนี้อาจจะยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เเต่อ้างว่ามีอัตราสูงกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นกู้ชนิดอื่น ๆ 

Funding Societies บอกถึงเผนธุรกิจในในช่วง 1-2 ปีแรกของการรุกตลาดไทย ว่า ไม่ได้ตั้งเป้าหมายเป็นตัวเลข  ในช่วงเริ่มต้นเรายังไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า จะมีการระดมทุนให้ SMEs ไทยได้เท่าไหร่ และมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนผ่านแพลตฟอร์มของเราเท่าไหร่

เเต่ทิศทางธุรกิจจะเน้นไปที่การทำความเข้าใจความต้องการในตลาดเเละธุรกิจ SMEs ในไทยมากกว่า ว่าพวกเขาขาดอะไร ต้องการอะไร ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการ

ผู้เล่นในตลาด ‘ระดมทุน’ ไทย 

การระดมทุน แบบ Crowdfunding มีมานานมากเเล้วในต่างประเทศ เเต่ในไทยยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก หลักๆ ซึ่งเป็นที่นิยม จะมีอยู่ 2 ประเภท ได้เเก่ 1) Debt Crowdfunding 2) Equity Crowdfunding 

โดย Debt Crowdfunding ประเภทธุรกิจผู้ขอเงินทุน กลุ่ม SMEs หรือสตาร์ทอัพที่ต้องการเงินทุนเพื่อหมุนเวียนธุรกิจ จ่ายดอกเบี้ยต่ำ และความเสี่ยงของผู้ลงทุนต่ำกว่า โดยบริษัทที่เป็นผู้ขอเงินทุน จะอยู่ในสถานะลูกหนี้

Equity Crowdfunding คือ การระดมทุนจากบุคคลทั่วไป โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็น หุ้น (Equity) หรือ สิทธิความเป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งเจ้าของกิจการจะเป็นผู้ควบคุม และกำหนดนโยบายได้ว่าจะจ่ายผลตอบแทนเป็น กำไร เงินปันผล หรือ หุ้นให้กับผู้ลงทุน ประเภทธุรกิจผู้ขอเงินทุนจะเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ที่ต้องการเงินลงทุนในช่วงเริ่มต้น หรือ ช่วงขยายกิจการ

ปัจจุบัน แพลตฟอร์มระดมทุนที่เปิดให้บริการในประเทศไทยอย่าง

  • Taejai.com เทใจดอทคอม มุ่งให้ทุนเเก่ชกลุ่มที่อยากจะทำเรื่องดีดีเพื่อสังคม
  • DURIAN CORP Where Angle Meet Unicorns แพลตฟอร์มสร้างนวัตกรรมครบวงจรเสนอแหล่งเงินทุนเพื่อสตาร์ทอัพผลักดันให้บริษัทไทยเป็นยูนิคอร์น
  • Sinwattana สินวัฒนา เปิดตัวมาตั้งเเต่ปี 2013 จากเเนวคิดที่ว่า อยากให้เกิดแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิงในเอเชีย และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (...) เปิดให้บริการระดมทุนแบบครบวงจร
  • XUXU หรือสู้สู้แพลตฟอร์ม Crowfunding ของไทยให้เงินทุนกับธุรกิจใหม่ๆ ที่มีไอเดียเจ๋งๆ
  • Dreamaker Equity Crowdfunding เป็นการระดมทุนแบบ Investment-based Crowdfunding ผ่านทางเว็บไซต์ เน้นให้เงินทุนเเก่บริษัทที่มีเเนวโน้มจะเติบโต

นอกจากนี้ ยังมีแพลตฟอร์ม Crowdfunding ของต่างประเทศที่มาตีตลาดไทย อย่าง Kickstarter, Indiegogo เเละ StartEngine

ต้องจับตาดูว่าธุรกิจ Crowdfunding ที่เจาะตลาด SMEs ขนาดเล็กในไทยจะเป็นไปอย่างไร หลังมีเจ้าใหญ่กระโดดเเย่งชิงโอกาสทองนี้

 

]]> 1318596 “โลตัส” เปิดตัว “เทศกาลมะม่วงและผองเพื่อน” รับซื้อมะม่วง 3,200 ตัน สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร https://positioningmag.com/1325361 Sat, 30 Jan 2021 07:00:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325361 โลตัส ร่วมกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดตัว “เทศกาลมะม่วงและผองเพื่อน” สนับสนุนให้ลูกค้าและประชาชนบริโภคมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ ส่งตรงจากเกษตรกรไทย พร้อมด้วยเครื่องเคียงต่าง ๆ ผลิตโดยเอสเอ็มอี ตลอดทั้งเดือนมีนาคมและเมษายนนี้ โดยโลตัสเดินหน้ารับซื้อมะม่วงกว่า 3,200 ตัน จากกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ เพิ่มช่องทางการระบายสินค้าให้กับเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด

นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบุคคลและความยั่งยืน โลตัส กล่าวว่า

“โลตัส มีนโยบายสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาอย่างต่อเนื่อง โดยโลตัสเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่เข้าถึงฐานลูกค้าทั่วประเทศ ที่ผ่านมา โลตัส เพิ่มปริมาณการรับซื้อสินค้าเกษตรโดยตรงจากกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนโดยไม่ผ่านคนกลางมาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี โดยในปีนี้ โลตัสมีเป้าหมายรับซื้อผักและผลไม้เพิ่มขึ้น 10,000 ตันจากปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน เกษตรกรจำนวนมากประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบให้ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศลดน้อยลง ดังนั้น ในช่วงฤดูกาลมะม่วง โลตัสจึงได้ซื้อมะม่วงจากกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศจำนวนกว่า 3,200 ตัน เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรสวนมะม่วง และเพื่อเชิญชวนให้ลูกค้าและประชาชนร่วมกันสนับสนุนพี่น้องเกษตรกร จึงได้ร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในการจัดกิจกรรม “เทศกาลมะม่วงและผองเพื่อน” ที่โลตัสทุกสาขาทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 6 เมษายน 2564 โดยมีโปรโมชั่นต่าง ๆ ทั้งมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สุก กิโลกรัมละ 39 บาท , ข้าวเหนียวมูน น้ำปลาหวาน มาจัดจำหน่าย”

นอกจากนั้นพิเศษที่โลตัส สาขารามอินทรา ได้จัดตลาดนัดจำหน่ายมะม่วงและผลิตภัณฑ์จากมะม่วงนานาชนิด อาทิ ยำมะม่วง เค้กมะม่วงครีมสด และข้าวเหนียวสังขยามะม่วง โดยให้ผู้ประกอบการเข้ามาจำหน่ายสินค้าโดยไม่มีค่าเช่าตลอดระยะเวลาโครงการ

 

]]>
1325361
มองธุรกิจ SMEs ไทย หลังวิกฤต COVID-19 ส่วนใหญ่ “ปรับตัวได้” เเต่กำไรหายไปมาก https://positioningmag.com/1303092 Mon, 26 Oct 2020 13:28:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303092 ธุรกิจ SMEs นับเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย ทั้งในแง่รายได้และการจ้างงาน โดย SMEs ไทยมีจำนวนกว่า 3 ล้านราย จ้างงานกว่า 12 ล้านคน 

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมาก ทั้งรายได้ที่หดหายไป การขาดสภาพคล่องทางการเงิน เเม้สถานการณ์จะดีขึ้นบ้างเเล้ว เเต่ธุรกิจจำนวนมากก็ยังมีความเสี่ยงจะปิดกิจการ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินธุรกิจ SMEs หลังสถานการณ์ COVID-19 บรรเทาลง โดยเเบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม Slow คือ ธุรกิจที่ปรับตัวได้ช้า มีความจำเป็นต้องเร่งปรับโครงสร้างเพื่อความอยู่รอด ได้แก่ ธุรกิจขนส่งผู้โดยสาร ค้าปลีกเสื้อผ้า สถานบันเทิง ประดับยนต์ และโรงแรม

กลุ่ม Viable คือ ธุรกิจที่พอปรับตัวได้ แต่ยังมีความเสี่ยงอยู่ ต้องดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังเพื่อประคองกิจการ ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ร้านอาหาร ขายเครื่องจักร บริการทางธุรกิจ และธุรกิจที่ปรึกษา

กลุ่ม Swift คือ ธุรกิจที่มีความพร้อมในการปรับตัวค่อนข้างรวดเร็ว ได้แก่ ธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค บริการคอมพิวเตอร์ ร้านขายยา/เวชภัณฑ์ ร้านสะดวกซื้อ และสถานพยาบาล

เศรษฐกิจ ประเทศไทย
Photo : Shutterstock

โดยวิเคราะห์แนวโน้มการฟื้นตัวตามลักษณะของธุรกิจ (V, U, L Shape Recovery) ว่าจะส่งผลกระทบไปยังผลการดำเนินงานของธุรกิจส่งผ่านไปยังกำไรก่อนหักภาษีของกิจการ (Earning Before Tax: EBT) โดยใช้ข้อมูลงบการเงินของธุรกิจ SMEs จำนวนกว่า 3 แสนราย ที่ดำเนินธุรกิจอยู่และส่งงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผลศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ 65.7% อยู่ใน “กลุ่ม Viable” ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ กำไรลดลง แต่ผลการดำเนินงานยังเป็นบวกมี 92.9% และขาดทุน 7.1%

ลำดับต่อมา 21.7% เป็น “กลุ่ม Slow” ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ กำไรลดลงแต่ผลการดำเนินงานยังเป็นบวกมี 73.7% และขาดทุน 26.3%

ส่วนอีก 12.6% เป็น“กลุ่ม Swift” ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ กำไรลดลงแต่ผลการดำเนินงานยังเป็นบวกมี 96.1% และมีขาดทุนเพียง 3.9%

เมื่อประเมินผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว พบว่า “กลุ่ม Swift” เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ผลการดำเนินงานของกิจการลดลงบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ยังพอมีกำไรอยู่ จึงเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีความพร้อมในการปรับตัวได้ค่อนข้างดี

ส่วน “กลุ่ม Viable” เป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่รายได้ลดลงเป็นบางส่วน ตลาดยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ทำให้กำไรของกิจการลดลงค่อนข้างมาก ธุรกิจในกลุ่มนี้จึงยังมีความเสี่ยงอยู่ ต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง เพื่อประคองกิจการให้ข้ามผ่านไป

ในขณะที่ “กลุ่ม Slow” หนักสุดเป็นกลุ่มที่ส่วนใหญ่ รายได้ยังไม่ฟื้นตัวและรายจ่ายไม่สามารถลดลงได้ และกำลังซื้อที่ชะลอตัว ผลกำไรที่ลดลงมากจึงทำให้ผลการดำเนินงานขาดทุนมาก เป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับโครงสร้าง เพื่อความอยู่รอดในระยะต่อไป

สุขภาพการเงิน SMEs ใครยังไหวอยู่?

TMB Analytics ได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงสุขภาพทางการเงินของ SMEs เพื่อให้ทราบว่า ผู้ประกอบการ SMEs กิจการมีความสามารถทำกำไรอยู่ในระดับใด และภาวะสภาพคล่องทางการเงินยังไหวหรือไม่ ด้วยการประเมินสุขภาพการเงินว่า สามารถรองรับวิกฤตและอยู่รอดข้ามผ่าน COVID-19 ได้ดีเพียงใด ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางที่ช่วยให้ธุรกิจมีศักยภาพดีขึ้นสำหรับดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยนำข้อมูลทางการเงิน 2 ด้านมาประเมินร่วมกันคือ 1. ความสามารถในการทำกำไร 2. สภาพคล่องธุรกิจ

ด้วยวิธีการประเมินสุขภาพการเงินที่กล่าวมาข้างต้น จากจำนวน 3 แสนรายที่ดำเนินธุรกิจอยู่ และส่งงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดย TMB Analytics จัดลักษณะธุรกิจออกมาเป็น 4 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ‘พร้อมโต’ เป็นกลุ่มที่สุขภาพทางการเงินดีที่สุด จากความสามารถในการทำกำไรสูง และมีสภาพคล่องธุรกิจที่แข็งแรง จากการวิเคราะห์พบว่า มี SMEs ที่อยู่ในกลุ่มนี้ 27% ของธุรกิจ SMEs ทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต่ำ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค

“กลุ่มนี้มีศักยภาพการเติบโตสูง หากสามารถวางแผนการลงทุนและการตลาดล่วงหน้าได้ เพื่อทำการขยายธุรกิจและรองรับการเติบโตในอนาคต”

กลุ่มที่ 2 ‘พร้อมฟื้น’ เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพทางการเงินรองลงมา โดยมีความสามารถในการทำกำไรที่สูง แต่ยังมีสภาพคล่องธุรกิจที่เปราะบาง จากการวิเคราะห์พบว่า มีสัดส่วนธุรกิจอยู่ในกลุ่มนี้ 27% จากธุรกิจ SMEs ทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ค่อนข้างต่ำ เช่น ค้าปลีกสินค้ายา เครื่องจักร เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 ‘รอฟื้น’ เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพทางการเงินพอไปได้ ด้วยธุรกิจยังมีสภาพคล่องธุรกิจที่แข็งแรง สามารถประคองธุรกิจให้ไปต่อ แต่มีความสามารถในการทำกำไรที่ต่ำลง พบว่ามีสัดส่วนจำนวนธุรกิจที่ 19% โดยส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจขนส่งผู้โดยสาร งานบริการทางธุรกิจ เช่น รับเหมาก่อสร้าง ที่ปรึกษา เป็นต้น

กลุ่มที่ 4 ‘รอรักษา’ เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพทางการเงินอ่อนแอกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรค COVID-19 อย่างหนักจากรายได้ที่หดหายไปมาก กระทบต่อสภาพคล่องธุรกิจ ส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรและสภาพคล่องธุรกิจไม่ดี ในกลุ่มนี้มีจำนวนกระจุกตัว 34% ส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจโรงแรมที่พัก บริการท่องเที่ยว ค้าปลีกเสื้อผ้า เป็นต้น

 

 

]]>
1303092
SME ฮ่องกง ชะตากรรมเเขวนอยู่บนเส้นด้าย เกือบครึ่งคาดอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน หากรัฐไม่ช่วย https://positioningmag.com/1293733 Fri, 21 Aug 2020 15:04:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293733 ผู้ประกอบการรายย่อยในฮ่องกง กำลังเจอมรสุมหนัก ทั้งผลกระทบจาก COVID-19 เเละสถานการณ์ความขัดเเย้งทางการเมือง โดยผลสำรวจล่าสุดชี้ว่า SME เกือบครึ่งคาดว่าจะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ไม่เกิน 6 เดือน หากรัฐไม่ช่วยให้การสนับสนุนครั้งใหม่

จากการศึกษาของหอการค้าฮ่องกง พบว่า องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด จากผลกระทบของ COVID-19

ยิ่งไปกว่านั้น ฮ่องกงมี SME ทั้งหมด 340,000 ราย คิดเป็น 98% ของธุรกิจทั้งหมด ขณะที่การจ้างงานกว่า 45% ของฮ่องกงอยู่ในภาคเอกชน

หอการค้าฯ สอบถามไปยังสมาชิกราว 4,000 ราย ที่มีทั้ง SME และธุรกิจใหญ่ โดยผู้ประกอบการรายย่อยกว่าครึ่งหนึ่ง บอกว่า ผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังต่อเนื่อง อาจทำให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน โดย SME กว่า 60% เเละธุรกิจใหญ่อีก 29% ยอมรับว่ามีสถานการณ์ไม่สู้ดีนัก เพราะต้องสูญเสียรายได้ไปถึงครึ่งหนึ่ง

โดยผู้ตอบแบบสำรวจดังกล่าว ได้เรียกร้องให้รัฐบาลฮ่องกงเร่งออกมาตรการช่วยเหลือครั้งใหม่ เเละประกาศมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน ในการแถลงนโยบายเดือนต..นี้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เร็วเเละชัดเจนขึ้น

ส่วนมาตรการต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมานั้น ผู้ประกอบการมองว่า โครงการสนับสนุนการจ้างงาน มูลค่า 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 3.2 เเสนล้านบาท) ที่รัฐบาลช่วยจ่ายเงินเดือนครึ่งหนึ่งให้พนักงานสูงสุดเดือนละ 9,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 3.6 หมื่นบาท) ระหว่างเดือนมิ..-.. เป็นโครงการที่ให้ประโยชน์มากที่สุด รองลงมากคือการแจกเงินสดให้แก่ผู้ใหญ่ชาวฮ่องกงที่พำนักอยู่ถาวร รายละ 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 4 หมื่นบาท) และการอุดหนุนอุตสาหกรรมอื่น ๆ

สำหรับสถานการณ์ COVID-19 ในฮ่องกงนั้นยังน่าเป็นห่วง หลังจากช่วงเดือนมิ.. ต้องเผชิญกับการระบาดระลอก 3 เเละทางการต้องกลับมาเข้มงวดมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอีกครั้งในเดือนก.ค. โดยร้านอาหารต่างๆ ต้องถูกจำกัดเวลาให้บริการ ขณะที่ธุรกิจบันเทิงและกีฬา เช่น โรงยิม คลินิกเสริมความงาม และโรงภาพยนตร์ ถูกสั่งให้ปิดชั่วคราวในช่วงนั้น

ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของฮ่องกง กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค โดยตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 ติดลบ 9% จากไตรมาสเเรกของปีนี้อยู่ที่ 9.1% ซึ่งถือเป็นการลดลงอย่างเร็วที่สุดในช่วงไตรมาส นับตั้งแต่มีการบันทึกในปี 1974

 

ที่มา  : SCMP 

]]>
1293733