เเบรนด์เนม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 Oct 2021 13:17:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กระเป๋า Louis Vuitton ยอดขายพุ่ง นักช้อปเอเชียเริ่มกลับมาซื้อเครื่องประดับหรูมากขึ้น https://positioningmag.com/1356627 Thu, 14 Oct 2021 12:02:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356627 สินค้าเเบรนด์เนมไฮเอนด์ขายดีต่อเนื่อง ความนิยมกระเป๋า ‘Louis Vuitton’ พุ่ง หลังคลายล็อกดาวน์ ขณะที่นักช้อปชาวเอเชีย ก็เริ่มกลับมาซื้อเครื่องประดับสุดหรูมากขึ้นเรื่อยๆ 

LVMH ยักษ์ใหญ่ธุรกิจลักชัวรี ที่มีเเบรนด์ในเครือกว่า 70 เเบรนด์ เเถลงว่า ยอดขายสินค้าแฟชั่นและเครื่องหนังต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงไตรมาสของปีนี้ หลังร้านค้ากลับมาเปิดทำการตามปกติได้อีกครั้ง

โดยสินค้าหมวดแฟชั่นและเครื่องหนัง รวมถึงกระเป๋า ซึ่งมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมดในเครือ LVMH มียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 24% จากพลังความนิยมของเเบรนด์ Louis Vuitton และ Dior

LVMH มั่นใจว่าการเติบโตของบริษัทในปัจจุบัน จะดำเนินต่อไปตามเเนวโน้มการเติบโตโดยรวมของอุตสาหกรรมที่ยังคงเป็นไปในทางที่ดี ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดค่อยๆ คลี่คลายลง

เเบรนด์หรูต่างๆ ฟื้นตัวกลับมาได้รวดเร็วจากวิกฤตโควิด เเม้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเเละการเดินทางต่างประเทศจะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ ระบุว่า ยังมีความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ที่อาจหยุดชะงักในตลาดใหญ่ๆ อย่างจีน เเละการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ รวมไปถึงนโยบายความรุ่งเรืองร่วมกัน” หรือ Common Prosperity ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างคนรวยเเละคนจน จัดระเบียบธุรกิจเพื่อกระจายรายได้ซึ่งอาจกระทบถึงการใช้สินค้าหรูหราด้วย

เเต่ทาง LVMH มองว่านโยบายใหม่ของจีนนี้ ไม่ได้ส่งผลเสียต่อชนชั้นกลางระดับบนที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของเเบรนด์ในจีนมากนัก

Jean-Jacques Guiony ประธานเจ้าหน้าที่การเงินของ LVMH ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีนี้ว่า อาจเป็นผลดีต่อยอดขายด้วยซ้ำ เเละเราไม่ได้กังวลอะไรเป็นพิเศษ

Louis Vuitton เมืองเฉิงตู ประเทศจีน ภาพเมื่อเดือนมี.ค. 2019 (Photo : Shutterstock)

ตลาดเอเชีย ไม่รวมญี่ปุ่น นับเป็นภูมิภาคที่ทำเงินมากใหญ่ที่สุดให้เเบรนด์ในเครือ LVMH คิดเป็นกว่า 36% ของยอดขาย (ณ สิ้นเดือนกันยายน) ส่วนตลาดสหรัฐฯ ครองอันดับ 2 โดยมีสัดส่วนทำให้รายได้ราว 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมด

ส่วนตลาดตลาดยุโรป ถือว่ามีการฟื้นตัวที่ดีมาก ในช่วงไตรมาสที่ 3 จากการเที่ยวในประเทศในช่วงฤดูร้อน แม้จะไม่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชียไปช้อปปิ้งก็ตาม

โดยแผนกแฟชั่นและเครื่องหนัง เติบโตขึ้นกว่า 38% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสที่ 3 หลังจากเติบโต 40% ในไตรมาสก่อนหน้า

ส่วนสินค้าประเภทนาฬิกาและเครื่องประดับ ซึ่งรวมถึงเเบรนด์ดังอย่าง tiffany & co.ในตลาดเอเชียนั้น อ่อนตัวลงมาในช่วงเดือนมการาคมสิงหาคม จากข้อจำกัดโรคระบาด แต่เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ในเดือนกันยายนเป็นต้นมา สะท้อนให้เห็นว่าชาวเอเชียกระเป๋าหนัก เริ่มกลับมาช้อปปิ้งหลังผ่อนคลายมาตรการโควิด-19

ทั้งนี้ ยอดขายโดยรวมในเครือ LVMH เพิ่มขึ้น 20% เป็น 17,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 3 (ณ สิ้นเดือนกันยายน)

 

ที่มา : Bloomberg , livemint 

 

]]>
1356627
เพียง 3 เดือนเเรกของปีนี้ ยอดขาย ‘Hermes’ พุ่งเกือบ 44% คนรวยเอเชียทุ่มช้อปเเบรนด์หรู https://positioningmag.com/1329060 Fri, 23 Apr 2021 11:45:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329060 ‘Hermes’ เเบรนด์เเฟชั่นหรูจากฝรั่งเศส เจ้าของกระเป๋า Birkin สุดโด่งดัง ทำยอดขายในไตรมาสแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบ 44% จากพลังช้อปของเหล่าคนรวยในเอเชีย โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน หลังมีการผ่อนคลายมาตรการสกัดโรคระบาดเเละกลับมาเปิดร้านค้าได้อีกครั้ง

ความนิยมซื้อของหรูของกลุ่มคนมั่งคั่ง ไม่เเผ่วลงในช่วงวิกฤต COVID-19 โดยผลประกอบการของ Hermes ประจำไตรมาส 1/2021 เพิ่มขึ้น 43.7% ในอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จากปี 2020 โดยสามารถรายได้รวมถึง 2,083 ล้านยูโร (ราว 7.8 หมื่นล้านบาท) ในช่วงเเค่ 3 เดือนแรกของปีนี้เท่านั้น เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ว่าคาดจะเพิ่มขึ้น 24%

ปัจจัยที่ส่งเสริมรายได้ของ Hermes ในช่วงนี้ก็คือยอดขายในเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถึงถึง 93.6% เมื่อเทียบกับจากไตรมาสแรกของปี 2020 โดยเฉพาะยอดขายในจีน ที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว บวกกับยอดขายที่ทรงตัวในเกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย 

ญี่ปุ่นยังเป็นตลาดสำคัญที่เติบโตได้ดีของ Hermes โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น 20% ส่วนยอดขายฝั่งอเมริกาก็เพิ่มขึ้นกว่า 24% ช่วยชดเชยยอดขายที่ลดลงในตลาดยุโรป ที่เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 4.4% เพราะยังต้องเผชิญกับการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกใหม่

โดยสินค้าขายดีที่สุดของเเบรนด์ Hermes เป็นกลุ่มเครื่องหนัง , เสื้อผ้า Ready-to-Wear และผ้าไหม 

Eric du Halgouët ผู้บริหารระดับสูงของ Hermes ยืนยันว่า การเติบโตของยอดขายในไตรมาสดังกล่าวไม่ใช่แรงหนุนจาก ‘ราคาที่เเพงขึ้นเพราะบริษัทมีการปรับราคาขึ้นเพียง 1.4%ในปีนี้

ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 100% หรือมากกว่านั้นในทุกภูมิภาค และมีแนวโน้มที่จะเกิน 1 พันล้านยูโรในไม่ช้า

ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นไฮเอนด์ต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณการกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งของกลุ่มสินค้าลักชัวรี โดยคู่แข่งอย่าง LVMH และ Kering ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในวิกฤตนี้ เช่นในญี่ปุ่นที่ COVID-19 กำลังกลับมาระบาดรุนเเรงอีกครั้ง

 

 

ที่มา : Reuters , wwd 

]]>
1329060
อังกฤษ ยกเลิกคืนภาษีขาช้อปต่างชาติ ปลายปีนี้ เเบรนด์ดัง หวั่นกระทบ “ท่องเที่ยว-ค้าปลีก” https://positioningmag.com/1298212 Tue, 22 Sep 2020 12:45:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298212 อังกฤษ เตรียมยกเลิก VAT-free shopping การช้อปปิ้งสินค้าปลอดภาษีสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในช่วงปลายปีนี้ ภาคธุรกิจหวั่นกระทบ “ท่องเที่ยว-ค้าปลีก” ทำให้ประเทศเสียรายได้หลายพันล้านปอนด์ต่อปี 

กระทรวงการคลังของอังกฤษ ระบุว่า หากข้อตกลง Brexit สำเร็จลุล่วงในช่วงปลายปีนี้ ทางสหราชอาณาจักรมีเเผนจะยกเลิกมาตรการ VAT-free shopping เนื่องจากผลประโยชน์ในหลายส่วนของสหราชอาณาจักรที่ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานระหว่างประเทศ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูงและเสี่ยงต่อการฉ้อโกง

ด้านบรรดายักษ์ใหญ่ค้าปลีกเเละเเบรนด์หรูต่างๆ อย่าง Marks & Spencer, Heathrow และ Selfridges ร่วมส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีอังกฤษว่า การยกเลิกดังกล่าว จะสร้างความเสี่ยงกับเเรงงานกว่า 7 หมื่นคน โดยขายสินค้าปลอดภาษีสำหรับนักท่องเที่ยวนอกสหภาพยุโรปนั้น สามารถทำรายได้กว่า 3.5 พันล้านปอนด์ (ราว 1.4 เเสนล้านบาท) ในเเต่ละปี 

สำหรับโครงการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือ VAT Retail Export Scheme (VAT RES) เป็นสิทธิพิเศษให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ซื้อสินค้าในเเหล่งท่องเที่ยว อย่างในกรุงลอนดอนและเอดินเบอระ รวมถึงย่านช้อปปิ้งยอดนิยมอย่าง Bicester Village เเต่ไม่ได้นำมาใช้หรือบริโภคในสหราชอาณาจักรสามารถขอคืนภาษีได้โดยเป็นโครงการที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของชาวต่างชาติ

(Photo by Sergei BobylevTASS via Getty Images)

สมาคมการค้าปลีกระหว่างประเทศ (AIR) ที่ร่วมลงนามในจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีอังกฤษดังกล่าว มองว่า การยกเลิกมาตรการนี้ จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเเละธุรกิจค้าปลีกที่กำลังเจอมรสุม COVID-19 ยิ่งไปกว่านั้น สหราชอาณาจักรจะกลายเป็นประเทศเดียวในยุโรป ที่จะไม่มีการช้อปปิ้งสินค้าปลอดภาษี

ตอนนี้มาดริด มิลานและปารีส กำลังยินดีกับสิ่งที่รัฐบาลอังกฤษทำ เพราะถ้านักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเเพงกว่าในสินค้าประเภทเดียวกัน พวกเขาก็คงไม่ลังเลที่จะเปลี่ยนใจไปประเทศอื่น

ด้าน Thierry Andretta ผู้บริหารเเบรนด์หรูอย่าง Mulberry ที่ได้ร่วมลงนามในจดหมายร้องเรียนดังกล่าว บอกว่า การตัดสินใจของรัฐบาลอังกฤษ จะทำลายความสามารถการแข่งขันกับประเทศอื่นในยุโรป ทำให้เสียเปรียบทั้งด้านการจ้างงานและการผลิตในภาคอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Visit Britain ระบุว่า ในปี 2018 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติใช้เงินราว 6 พันล้านปอนด์ (ราว 2.4 แสนล้านบาท) เพื่อช้อปปิ้งในสหราชอาณาจักรโดยในส่วนนี้กว่า 3.5 พันล้านปอนด์ เป็นการขายแบบไม่ต้องเสียภาษี เเต่มีนักท่องเที่ยวขอคืนภาษีเพียง 2.5 พันล้านปอนด์เท่านั้น

 

ที่มา : BBC , the guardian

]]>
1298212
เคลียร์กันไม่ได้ Tiffany & Co. ยื่นฟ้อง LVMH ส่อ “ล้มดีล” ซื้อกิจการ หลังเเบรนด์หรูยอดขายร่วง https://positioningmag.com/1296386 Thu, 10 Sep 2020 12:25:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296386 ดีลนี้จะล้มไม่ล้มเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เเบรนด์หรูยอดขายลดฮวบจากพิษไวรัส สะเทือนข้อตกลงทางธุรกิจ ล่าสุด Tiffany & Co. แบรนด์อัญมณีชื่อดัง เตรียมยื่นฟ้อง LVMH กลุ่มบริษัทแบรนด์เนมยักษ์ใหญ่ของโลก หลังส่อจะผิดนัดล้มดีลเข้าซื้อกิจการ มูลค่ากว่า 5 เเสนล้านบาท

ก่อนหน้านี้ LVMH ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลฝรั่งเศส ให้ชะลอการเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ของ Tiffany & Co. จากปัญหาอัตราภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯ ทำให้ขั้นตอนพิจารณาถึงข้อตกลงในการซื้อกิจการมูลค่า 1.62 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 5 แสนล้านบาท) ในราคา 135 เหรียญต่อหุ้น ต้องหยุดชะงัก ก่อนจะเกิดวิกฤตการเเพร่ระบาดของ COVID-19

เเต่เมื่อเกิดโรคระบาดที่กระทบต่อธุรกิจทั่วโลก มีกระเเสข่าวว่า เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ ซีอีโอเครือ LVMH กำลังต่อรองกับ Tiffany & Co. ให้ยอมลดราคาต่อหุ้นลงมาจากเดิม เเต่ทาง LVMH ยืนยันว่าบริษัทไม่มีการพิจารณาซื้อหุ้นของ Tiffany ตามเเถลงการณ์ ณ วันที่ 4 มิ.. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นก็ยังมีข่าวลือว่า LVMH จะกลับลำไม่เข้าเทกโอเวอร์กิจการออกมาต่อเนื่อง

จากความไม่เเน่นอนดังกล่าว ทำให้ Tiffany & Co. ตัดสินใจเตรียมที่จะยื่นฟ้องต่อ LVMH ว่ามีความจงใจหลีกเลี่ยงที่จะทำให้ข้อตกลงซื้อกิจการให้สำเร็จลุล่วง รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับราคาที่เสนอขายกิจการ และความโปร่งใสในการดำเนินกิจการของ LVMH ที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาษี

Roger Farah ประธานของ Tiffany & Co. กล่าวว่า LVMH พยายามหาวิธีหลีกเลี่ยงที่จะจัดทำข้อตกลงเพื่อถือครองกรรมสิทธิ์ ตามเงื่อนไขที่เคยตกลงกันไว้

เดิมที ความต้องการซื้อ Tiffany & Co. เกิดจากวิสัยทัศน์การขยายกิจการของ LVMH ที่ต้องการบุกตลาดสหรัฐฯ อย่างเต็มที่และเพิ่มแบรนด์เครื่องประดับเข้าพอร์ต มีการคาดการณ์ว่าจะปิดดีลได้เรียบร้อยภายในกลางปี 2020 แต่กลับมาเกิดวิกฤต COVID-19 เสียก่อน ทำให้บริษัทต้องหันมาบริหารความเสี่ยงและทำให้บริษัทอยู่รอดให้ได้

ด้านแถลงการณ์ของ LVMH ที่เป็นเจ้าของแบรนด์หรูกว่า 75 แบรนด์อย่าง Louis Vuitton , Christian Dior เเละ Dom Perignon ระบุว่า คณะกรรมการของบริษัทต้องทบทวนถึงสถานการณ์นี้ เพราะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจกลุ่มลูกค้าสายแฟชั่นรุ่นใหม่

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบให้รายได้ในกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม โดยผลประกอบการของ LVMH ในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 18,393 ล้านยูโร ลดลง -27% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่กำไรจากการทำธุรกิจอยู่ที่ 1,671 ล้านยูโร ลดลง -68% ส่วนยอดขายของ Tiffany & Co. ลดลงถึง 36% ในช่วงครึ่งปีแรกซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงไปถึงปัญหาการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้

โดยสถานการณ์ตลาดแฟชั่นหรูจนถึงสิ้นปี 2020 ทาง McKinsey บริษัทที่ปรึกษารายใหญ่ ประเมินไว้ว่าน่าจะหดตัว -35% ถึง -39% เพราะเหตุผลหลายประการทำให้ผู้บริโภคจะใช้จ่ายน้อยลงกับสินค้าลักชัวรี

 

ที่มา : BBC , Forbes

]]>
1296386