ไรเดอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 23 Jun 2022 11:25:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองตลาด ‘Food Delivery’ ยุค ‘น้ำมันแพง’ เพิ่มโจทย์ใหม่ ‘มัดใจไรเดอร์’ ให้อยู่กับแพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1389897 Thu, 23 Jun 2022 10:02:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389897 ถือเป็นธุรกิจที่เติบโตสูงแต่ก็มีการแข่งขันที่สูงเช่นกันสำหรับ Food Delivery และหลังจากที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 แต่หลังจากที่การระบาดคลี่คลายลง ปัญหาใหม่ที่ทั่วโลกกำลังเจอก็คือ เงินเฟ้อ และ น้ำมันแพง ทำให้แต่ละแพลตฟอร์มต้องเจอ โจทย์ใหม่ เพราะจำนวนการสั่งที่น้อยลง และ ไรเดอร์ที่ต้องแบกต้นทุนมากขึ้น

ตลาดโตไม่เกิน 5%

จากเครื่องชี้วัดธุรกิจจัดส่งอาหาร หรือ Food Delivery ของ LINE MAN Wongnai พบว่าในเดือนพ.ค. 65 จำนวนผู้สมัครเป็นไรเดอร์ในระบบเพิ่มสูงขึ้นกว่า 4.7 เท่า เมื่อเทียบกับเดือนม.ค. 63 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด แต่การเพิ่มขึ้นของไรเดอร์ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ขยายตลาดและพื้นที่บริการครอบคลุมทั่วประเทศจากเดิมที่มีการให้บริการเพียงไม่กี่จังหวัด

อย่างไรก็ตาม จากการระบาดที่ลดลง ส่งผลให้การใช้ชีวิตเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ หลายคนเริ่มกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ส่งผลให้ไรเดอร์ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากปริมาณงานต่อวันเฉลี่ยที่ลดลง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า Food Delivery น่าจะขยายตัว 1.7-5% หรือมีมูลค่าประมาณ 7.7 – 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งชะลอลงจากที่เติบโตถึง 46.4% ในปี 2564 และ

Photo : Shutterstock

น้ำมันแพงและจำนวนไรเดอร์ 2 ปัญหาใหญ่

ในส่วนของรายได้จากค่าจัดส่งอาหารของไรเดอร์ในช่วงระหว่างปี 2563-2565 คาดว่ามีหมุนเวียนในระบบเฉลี่ยประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่ตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ให้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พักเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น จากแนวโน้มการสั่งอาหารไปยังที่พักที่ชะลอลง ปริมาณไรเดอร์ในระบบที่มีจำนวนสูง และราคาน้ำมันที่เร่งตัวขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของไรเดอร์ส่วนใหญ่

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจมุมมองและการปรับตัวของไรเดอร์ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน โดยมีมุมมองที่น่าสนใจ ดังนี้

  • ปัญหาน้ำมันแพง และ จำนวนไรเดอร์ที่เพิ่มขึ้น นับเป็น ปัญหาใหญ่สุด รองลงมา คือ การกลับไปทำงานและการกลับไปเรียนตามปกติ การแข่งขันที่รุนแรงระหว่างแพลตฟอร์ม ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มอื่น และการใช้โปรแกรมช่วยเหลือในการรับงาน
  • 94% ของไรเดอร์ระบุว่า ตนเองได้รับผลกระทบจาก ปริมาณออเดอร์ต่อวันเฉลี่ยลดลง จากผลสำรวจ พบว่า ออเดอร์เฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ประมาณ 11–15 งานต่อคน (38%) รองลงมาอยู่ที่ 5–10 งานต่อคน (32%)
  • ปัจจุบัน ราคาน้ำมันเบนซินที่ปรับตัวสูงขึ้นไปแล้วกว่า 54% (เทียบกับราคาเฉลี่ยทั้งปี 2564) ส่งผลให้ไรเดอร์ 42% มีค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันเพิ่มขึ้น 50-70 บาทต่อวัน (ขึ้นอยู่กับจำนวนเที่ยวส่ง ระยะทาง และอัตราการกินน้ำมันของรถแต่ละรุ่น)
Photo : Shutterstock

ไรเดอร์โหมรับงาน แพลตฟอร์มแข่งเพิ่มสิทธิพิเศษ

จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ให้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พักจำเป็นต้องหาวิธีการรับมือ โดยกลุ่มตัวอย่างกว่า 70% ใช้เวลาทำงาน รับออเดอร์ให้มากขึ้น เพื่อให้รายได้กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้า รวมถึงการเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นแทน หรือหาอาชีพเสริม ขณะที่บางส่วนเลือกลงทะเบียนในแพลตฟอร์มอื่นเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งาน

ด้านแพลตฟอร์ม Food Delivery สัญชาติไทยอย่าง โรบินฮู้ด (Robinhood) ยอมรับว่า นอกจากการแข่งขันเรื่องการทำโปรโมชันเพื่อดึงดูดผู้ใช้แล้ว อีกส่วนที่ผู้บริโภคไม่รู้ก็คือ การเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อแย่งชิงไรเดอร์ เนื่องจากไรเดอร์เป็นอาชีพฟรีแลนซ์ สามารถรับงานได้กับทุกแพลตฟอร์ม ทำให้ทุกแพลตฟอร์มต้องหาทางมัดใจไรเดอร์ อย่างไรก็ตาม โรบินฮู้ดมีจุดแข็งที่ ไม่คิดคอมมิชชั่นจากไรเดอร์ นอกจากนี้กำลังเร่งพัฒนาฟีเจอร์ ทิป เพื่อเป็นรายได้อีกทาง

“เราไม่คิดคอมมิชชั่นไรเดอร์เลย ส่วนแพลตฟอร์มอื่นไรเดอร์ต้องเสีย 15% ดังนั้น เราไม่ได้มีสิทธิพิเศษอะไรให้ไรเดอร์ เพราะผลตอบแทนเราดีกว่าคู่แข่ง” สีหนาท ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

ส่วน แกร็บ (Grab) มีการมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อย่าง GrabBenefits จะให้บัตรกำนัลส่วนลดค่าน้ำมันสำหรับไรเดอร์ และมีการให้โบนัสพิเศษ และ การจัดโปรแกรมสินเชื่อ เป็นต้น เช่นเดียวกันกับ ไลน์แมน (LINE MAN) ที่จับมือกับพันธมิตรในการมอบบัตรเติมน้ำมันฟรีรายเดือนสำหรับไรเดอร์ที่ขับเป็นประจำและเข้าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ส่วน ลาล่ามูฟ (Lalamove) นอกจากจะมีส่วนลดเงินคืนกับพันธมิตรปั๊มน้ำมันแล้ว จะมีการปรับอัลกอริทึมการรับงาน เพื่อให้ไรเดอร์สามารถรับงานได้คุ้มค่ามากที่สุด เป็นต้น

(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

เสนอ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แก้ปัญหาระยะยาว

อีกส่วนที่หลายแพลตฟอร์มเริ่มหาทางออกให้ไรเดอร์ก็คือ รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า อย่างโรบินฮู้ดก็พยายามผลักดันให้ไรเดอร์ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เนื่องจากช่วยประหยัดต้นทุนได้ 10 เท่า ซึ่งตั้งแต่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ก็เห็นความต้องการใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่นเดียวกันกับ แกร็บ ที่ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพาร์ตเนอร์คนขับ-ผู้จัดส่งอาหารที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้ได้ 10% ของจำนวนพาร์ตเนอร์คนขับทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 ปี

“ตอนนี้เรามีให้ไรเดอร์ผ่อนซื้อเป็นรายวันตกวันละ 120 บาท ปัจจุบันมีไรเดอร์ที่ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าราว 400 คัน มียอดจอง 1,900 คัน จากไรเดอร์ทั้งหมด 28,000 ราย ปัญหาตอนนี้คือ พาร์ตเนอร์ทั้ง 2 รายของเราผลิตไม่ทัน เราเองก็ต้องมองหาเพิ่มอีกราย ซึ่งเรามองว่าการใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจะช่วยไรเดอร์ในระยะยาว” สีหนาท กล่าว

แนะปรับระบบกระจายงาน

นอกจากสิทธิพิเศษแล้ว ทางศูนย์วิจัยกสิกรได้แนะนำว่าควร ปรับระบบการกระจายงานมาใช้ระบบยิงงาน (Auto assign) ซึ่งเป็นระบบสากลที่ทำให้มีความเท่าเทียมในการกระจายงานให้กับไรเดอร์มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็อยู่ระหว่างจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. … เพื่อเข้ามาช่วยกำกับดูแลผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ของธุรกิจดังกล่าว

หรือ การคิดคำนวณค่าธรรมเนียมควรมีความยืดหยุ่น เช่น ในต่างประเทศผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์จัดส่งอาหารนำรูปแบบ FuelSurcharge ตามระยะทางมาปรับใช้ในช่วงที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูง และเมื่อราคาน้ำมันปรับลดลงก็อาจมีการยกเลิกวิธีการคิดดังกล่าว นอกจากการแก้ไขปัญหาเชิงระบบแล้ว ต้องพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการรับงานมากขึ้นและลดปริมาณการยกเลิกออเดอร์ในช่วง Peak Hour การลดระยะเวลาในการรอรับอาหารที่ร้านอาหาร

ในระยะถัดไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องคงจะต้องช่วยกันออกแบบ และสร้างระบบนิเวศของธุรกิจ ภายใต้กฎระเบียบและกฎเกณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวสามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการต่าง ๆ อาทิ การเปิดรับลงทะเบียนไรเดอร์เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงการได้รับสิทธิต่าง ๆ จากภาครัฐ เป็นต้น

]]>
1389897
จาก #เเบนfoodpanda สู่ผลกระทบต่อ ‘ไรเดอร์’ เสียงสะท้อนในวิกฤต งานยิ่งน้อย รายได้ยิ่งลด https://positioningmag.com/1343796 Thu, 22 Jul 2021 13:07:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343796 กระเเส #เเบนfoodpanda สั่นสะเทือนฟู้ดเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่จากเยอรมนี ที่เข้ามาทำตลาดในไทย ทั้งในเเง่เเบรนด์ดิ้ง กลุ่มลูกค้าเเละพาร์ตเนอร์ร้านอาหารที่ลดลง จากการลบบัญชีถอนตัวจากเเพลตฟอร์ม ที่สำคัญผลกระทบครั้งนี้ ได้ส่งผลโดยตรงไปยังไรเดอร์ที่ทำหน้าที่รับส่งอาหาร ซ้ำเติมรายได้ที่หดหายไปในช่วงวิกฤตโรคระบาด

ย้อนกลับไป foodpanda (ฟู้ดเเพนด้า) เป็นผู้เล่นรายแรกๆ ที่ทำตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยมาตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งตอนนั้นกระเเสเดลิเวอรี่ไม่ได้บูมเช่นปัจจุบัน โดยเริ่มรุกตลาดต่างจังหวัดไปที่เชียงใหม่’ พร้อมกระจายไปตามหัวเมืองต่างๆ จนครบ 77 จังหวัด ครองตลาดภูธรได้อย่างเหนียวเเน่น ด้วยกลยุทธ์ ‘Hyperlocalization’  

ปัจจุบัน มีร้านอาหารที่แอคทีฟบนแพลตฟอร์ม (มีออเดอร์ทุกวัน) มากกว่า 140,000 กว่าแห่ง เเละมีจำนวนไรเดอร์มากกว่าเเสนราย

หากเเบ่งเป็นสัดส่วนจะเห็นว่า กว่า 90% เป็นร้านอาหารรายย่อยแบบสแตนด์อะโลน ส่วนอีก 10% เป็นร้านอาหารของเชนแบรนด์ใหญ่ เเละมีคำสั่งซื้อจากต่างจังหวัดสูงถึง 50% ของออเดอร์ทั้งหมด

นั่นเเสดงว่า ผลกระทบครั้งนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เเค่ไรเดอร์ในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น เเต่ยังกระจายไปยังไรเดอร์ในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศด้วย

ในต่างจังหวัด ปกติออเดอร์ต่อวันก็น้อยอยู่แล้ว หลังมีกระแสแบนก็ยิ่งน้อยลงไปอีกไรเดอร์รายหนึ่ง บอกกับ Positioningmag

โดยไรเดอร์ foodpanda อีกคนกล่าวว่า ก่อนหน้านี้เขาเคยได้รับออเดอร์วันละ 20 ครั้งขึ้นไป เเต่เมื่อวานนี้ได้รับงานเเค่ออเดอร์เท่านั้น จากรายได้ 700-1,000 บาทต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือไม่เกิน 300-400 บาท ซึ่งถือว่าน้อยลงเท่าตัว เเละไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในชีวิตประจำวัน

เมื่อยอดสั่งซื้อจากลูกค้าลดลงตามกระเเสบอยคอต ประกอบกับร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ 13 จังหวัดควบคุมสูงสุด ต้องปิดให้บริการ (พร้อมงดเดลิเวอรี่) ตามคำสั่งมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล ก็มีส่วนทำให้ยอดรับงานของไรเดอร์ลดลงตามไปด้วย ซ้ำเติมไรเดอร์รายใหม่ที่เพิ่งเข้ามา ยังไม่ได้เริ่มทำงาน เเละยังไม่มีรายได้ 

จากยอดว่างงานที่พุ่งสูง หลายคนหันมาประกอบอาชีพไรเดอร์ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ เเต่การ ลงทุนเริ่มต้น ก็ไม่ได้ราคาถูกเท่าไหร่นัก นอกจากจะต้องมียานพาหนะเเล้ว ก็ต้องลงทุนซื้อเสื้อ กระเป๋าอุปกรณ์เริ่มต้นที่ 850 -กว่าพันบาทเลยทีเดียว

ย้าย หรือ ไม่ย้าย ? 

บางส่วนมองว่า หากกระเเส #เเบนfoodpanda ส่งผลกระทบวงกว้างเเละยาวนานกว่าที่คิด ก็จำเป็นต้องย้ายค่าย ไปทำกับเเบรนด์อื่น ขณะที่หลายคนก็รับงานหลายเจ้าอยู่เเล้ว เพื่อกระจายความเสี่ยง

เเหล่งข่าวไรเดอร์รายหนึ่ง อธิบายถึงจุดเด่นจุดด้อย’ จากมุมมองของคนขับในการร่วมงานกับ foodpanda เมื่อเทียบกับฟู้ดเดลิเวอรี่รายอื่นๆ ให้ Positioningmag ฟัง โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น

[จุดเด่น]

ระบบจ่ายงานของ foodpanda จะวิ่งเข้ามาที่แอปฯ ของคนขับโดยตรง ไม่ต้องเเย่งชิงเเละจ้องจอมือถือตลอดเวลา ทำให้สามารถทำอย่างอื่นระหว่างรองานได้ ต่างจากบางบริษัทที่จะเป็นระบบกดแย่งงานที่มีการเเจ้งเตือนไปหาคนขับหลายคนใครกดไวกว่าถึงจะได้งานซึ่งเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดมากเเละต้องกดรับงานให้ทันในเสี้ยววินาที

ดังนั้นไรเดอร์ที่มีข้อได้เปรียบอย่าง ใช้โทรศัพท์สเปกสูง อินเทอร์เน็ตเเรง เเละอยู่หน้าจอตลอด ก็มีโอกาสได้งานมากกว่า

โดย foodpanda ยังมีระบบการทำงานที่คล้ายๆ งานประจำคือ ต้องมีการจอง ‘shift’ จอง ‘zone’ บริเวณที่จะวิ่งงานล่วงหน้า และต้องทำงานให้เต็มเวลาของ shift ที่ตัวเองเลือกไว้ ต่างจากบางเเบรนด์ที่พอมีเวลาว่างค่อยมาเปิดแอปฯ ก็ได้ ซึ่งเรื่องนี้จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของเเต่ละคน

ข้อดีคือได้รับงานค่อนข้างสม่ำเสมอกว่าแอปฯ อื่นๆ เพราะการจอง shift จอง zone ทำให้จำนวนคนที่ได้เข้ามาวิ่งงานอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับจำนวนงานเเหล่งข่าวระบุ

Photo : Shutterstock

[จุดด้อย]

ค่าตอบเเทนต่อเที่ยวของ foodpanda นั้นน้อยกว่าเจ้าอื่น โดยเฉลี่ยที่ประมาณ ‘ 30 บาทนิดๆและไม่ได้รับเงินทันทีหลังจบงาน แต่ต้องรอรับตามรอบที่บริษัทจ่ายให้

อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการย้ายไม่ย้ายค่ายนั่นก็คือ การเปิดรับของบริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่ ว่าช่วงนี้รับคนอยู่หรือไม่ซึ่งโดยปกติอาชีพไรเดอร์ก็มักจะไม่ได้ยึดติดกับการทำงานที่ใดที่หนึ่งอยู่แล้ว

ผมว่าไรเดอร์ส่วนมากก็มีไอดีหลายค่าย ค่ายไหนผลตอบแทนดี หรือช่วงไหนมีโบนัสก็ไปวิ่งค่ายนั้น เเต่เมื่อตลาดบูม จำนวนคนขับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่สัมพันธ์กับจำนวนงาน ทำให้ได้งานน้อยลง รายได้ก็ลดลง เพราะมีคนมาหารมากขึ้น

ตอนนี้ใครยังวิ่งงานให้เเค่เเอปฯ เดียว อาจจะต้องรีบหาแผนสำรองเตรียมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ หากเกิดกรณีเช่นนี้อีก

จากที่ผ่านมาบริษัทจะเปิดรับไรเดอร์เเบบไม่จำกัด’ เเต่ตอนนี้เริ่มจำกัดจำนวนไรเดอร์บ้างแล้ว บางเเห่งยังเปิดรับต่อเนื่องเเต่ก็ใช้เวลารับเข้าระบบนานกว่าเดิม

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องนโนบายการคัดกรองไรเดอร์ก่อนรับงานที่เเต่ละบริษัทจะมีกฎระเบียบ ‘เข้มงวดหละหลวม’ ไม่เหมือนกันด้วย เช่น เรื่องการตรวจประวัติอาชญากรรม ระยะเวลาสิ้นสุดคดีความ กรณีต้องเอาใบบริสุทธิ์มายื่น เป็นต้น

กลุ่มไรเดอร์ ร้องเเบรนด์รับผิดชอบที่เป็นรูปธรรมมากกว่าคำขอโทษ 

ด้านความเคลื่อนไหวของ foodpanda หลังกระเเสบอยคอต ได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ โดยเน้นย้ำว่าบริษัทเคารพสิทธิและเสรีภาพทางความคิด จะไม่ปลดไรเดอร์ให้พ้นสภาพ พร้อมเดินหน้าตรวจสอบหาข้อเท็จจริง เเละจะไม่ตอบความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมบนทุกสื่ออีก

ในขณะที่ทางกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าสหภาพไรเดอร์ ตอบโต้ว่า เเม้ foodpanda จะออกแถลงการณ์มาขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ผลกระทบที่ทางไรเดอร์ได้รับนั้นยังคงดำรงอยู่และต้องมีไรเดอร์จำนวนมากเข้ามาร่วมรับชะตากรรมจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดของบริษัทในครั้งนี้ รวมถึงร้านค้าต่างๆ ที่เป็นคู่สัญญากับบริษัทด้วย

บริษัทจำเป็นต้องมีการประกาศการเคารพเสรีภาพการแสดงออกทางการเมือง และมีการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานในการทำงานของไรเดอร์

สหภาพไรเดอร์ ได้เรียกร้องให้ foodpanda ปรับเปลี่ยนสัญญา สภาพการจ้าง การทำงาน ให้เกิดความเป็นธรรมกับไรเดอร์ และร้านค้า เพื่อแสดงความรับผิดชอบที่เป็นรูปธรรมมากกว่าคำขอโทษ โดยมีข้อเสนอ ดังนี้

  • ขอให้บริษัทจ่ายค่าตอบแทนให้กับไรเดอร์ไม่ต่ำกว่า ออเดอร์ละ 25 บาท ทั่วประเทศ
  • ขอให้บริษัทยกเลิกการเก็บเงินค่าอุปกรณ์การทำงาน ได้แก่ ชุดทำงานและกล่องใส่อาหาร โดยไรเดอร์สามารถนำชุดทำงานเก่าและกล่องใส่อาหารที่ชำรุด มาแลกของใหม่จากบริษัทได้ ปีละ 1 ชุด
  • ขอให้บริษัท ลดราคา ค่า GP จากเดิม 30% ให้เหลือ 15% และงดเก็บค่า GP กับร้านค้าเป็นเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 สิงหาคม 2564

งานน้อยลง = รายได้น้อยลง

เมื่อถามถึงโอกาสเเละความท้าทายของการทำงานของไรเดอร์ในช่วงวิกฤตโรคระบาด

ไรเดอร์รายหนึ่ง ตอบว่า งานนี้มันไม่ได้ซับซ้อนมาก เเต่หัวใจหลักคือจัดส่งของให้ถึงผู้รับในสภาพสมบูรณ์ ให้รวดเร็วที่สุด ส่วนรายได้ก็เป็นไปตามปริมาณงานที่ทำ คนไหนทำมากก็ได้มาก ซึ่งความท้าทายที่สุดก็คงจะเป็นความกดดันจากงานที่น้อยลง ซึ่งก็คือรายได้ที่น้อยลงไปด้วย

โดยสิ่งที่อยากจะฝากให้เเบรนด์ฟู้ดเดลิเวอรี่ต่างๆ คำนึงถึงไรเดอร์มากขึ้น เป็นมีเเนวทางกว้างๆ อย่างเช่น เพิ่มสวัสดิการเเละการดูเเลจากต้นสังกัดมากขึ้น บางคนต้องการมีชั่วโมงการทำงานที่ชัดเจน เเละมีประกันรายได้ ฯลฯ

ขณะที่อีกด้านก็มีไรเดอร์บางส่วน มองว่า การนำอาชีพนี้เข้าสู่ระบบอาจจะทำให้อิสระในการทำงานหายไป เช่น อาจจะเลือกวันและเวลาทำงานตามความสะดวกไม่ได้เท่าที่ควร หรืออาจจะไม่สามารถวิ่งหลายเจ้าพร้อมกันได้เหมือนเดิม

เหล่านี้ เป็นนานาทัศนะจากไรเดอร์หนึ่งในอาชีพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงวิกฤตโควิด-19 เป็นเหมือนฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำหน้าที่สำคัญๆ ในยามล็อกดาวน์

การกระทำขององค์กร ควรไตร่ตรองให้ดีก่อน เพราะนั่นคือสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อมาถึงพวกเราทุกคน…

 

 

 

]]>
1343796
รู้จัก ‘Swap & Go’ สถานีสลับ ‘แบตเตอรี่’ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ไม่ต้องรอชาร์จ จากปตท. https://positioningmag.com/1341031 Tue, 06 Jul 2021 12:51:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341031 เจ้าเล็กเจ้าใหญ่ลงสนาม ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ คึกคัก ล่าสุดบิ๊กพลังงานอย่าง ปตท. เเละ OR เปิดตัว ‘Swap & Go’ สถานีสลับ ‘แบตเตอรี่’ ไม่ต้องรอชาร์จ นำร่อง 22 แห่ง ทั่วกรุงเทพฯ จับลูกค้ากลุ่ม ‘ไรเดอร์’ ส่งของเดลิเวอรี่

Swap & Go (สวอพ แอนด์ โก) เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม โครงสร้างพื้นฐาน และเครือข่าย Battery Swapping หรือการสลับแบตเตอรี่แก่ผู้ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาด โดยจะนำร่องในกลุ่มธุรกิจบริการรับ-ส่งอาหารหรือสิ่งของ (Delivery Service)

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การใช้รถมอเตอร์ไซค์กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ Delivery Service และแนวโน้มการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยก็เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง พร้อมเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม

เหล่านี้ เป็นที่มาของแนวคิดการออกแบบธุรกิจ เพื่อเป็นต้นแบบนวัตกรรมด้านพลังงานให้กับประเทศ อย่าง ‘Swap & Go’ บริษัทในเครือ ปตท. ที่ให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แบบไม่ต้องรอชาร์จ

สำหรับปีนี้ ‘Swap & Go’ จะเปิดให้บริการสถานีสลับแบตเตอรี่ จำนวน 22 แห่งทั่วกรุงเทพฯ แบ่งเป็นภายในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station จำนวน 19 แห่ง และพื้นที่ภายนอก PTT Station อีก 3 แห่ง เบื้องต้นจะเน้นเจาะลูกค้าในกลุ่ม Delivery Service และมีแผนขยายการให้บริการในกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ ในระยะถัดไป

ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ได้วางเครือข่ายสถานีชาร์จ EV Station ในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน PTT Station แล้วกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ และมีแผนจะขยายเป็น 100 แห่งครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ ภายในปี 2564 พร้อมตั้งเป้าเพิ่มเป็น 300 แห่งในปี 2565 เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล ตอบสนองความต้องการในการเดินทางทุกรูปแบบ

ที่ผ่านมา Swap & Go ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมของผู้ขับขี่ให้บริการ Delivery หรือ ‘ไรเดอร์’ พบว่า พวกเขาต้องการใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่สามารถรองรับการให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำรายได้สูงสุด

โดยปัญหาหลักๆ ที่ทำให้ยังไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้ คือแบตเตอรี่ที่ต้องใช้เวลานานในการรอชาร์จ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง

จากความคิดเห็นดังกล่าว Swap & Go จึงพัฒนารูปแบบธุรกิจการให้บริการสลับแบตเตอรี่ ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นออกแบบกระบวนการใช้งานให้ ‘ง่าย สะดวก และทันสมัย’

 

สำหรับขั้นตอนการใช้งาน สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Swap & Go เเละเชื่อมต่อกับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่รองรับ เพื่อตรวจสอบปริมาณแบตเตอรี่ ค้นหาตำแหน่งสถานีสลับแบตเตอรี่ จองแบตเตอรี่ใหม่ล่วงหน้า และมีระบบนำทางไปยังสถานี

เมื่อไปถึงสถานีแล้ว สามารถสแกน ‘QR code’ ซึ่งรองรับทั้งระบบ iOS และ Android ทำการสลับแบตเดิมที่หมดกับแบตใหม่ ที่พร้อมใช้งานภายในตู้ชาร์จด้วยตัวเอง ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

Swap & Go มีเป้าหมายมุ่งสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยนำร่องการพัฒนาตู้แบตเตอรี่ ระบบการชาร์จไฟ และการเชื่อมต่อเครือข่ายกับผู้ผลิตและให้บริการแบตเตอรี่สวอพชั้นนำจากประเทศจีน

รวมทั้งจัดหารถมอเตอร์ไฟฟ้าที่สามารถสลับแบตเตอรี่ได้ มาให้บริการในระบบด้วย โดยจะเป็นรถจักรยานยนต์ จากแบรนด์ Molinks รุ่น B-Swap ของค่าย Xiaomi และกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานในอนาคต

ตามรายงานจาก สำนักข่าวไทย ระบุว่า ปัจจุบัน Swap & Go มีมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่สามารถสลับแบตเตอรี่ได้ ซึ่งนำเข้าจากประเทศจีน 40 คัน และเตรียมนำเข้าเพิ่มอีก 40 คันภายในปีนี้ ในส่วนของค่าใช้จ่าย ‘เริ่มต้น’ 60 บาทต่อวัน ครอบคลุมค่าเช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและการสวอพแบตเตอรี่

ก่อนหน้านี้ ‘โรบินฮู้ด’ เเอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ เพิ่งเปิดให้เช่า ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ วันละ 120 บาท ประเดิม 200 คันเเรกทั่วกรุงเทพฯ เเละตั้งเป้าสิ้นปีนี้ให้บริการ 1,500 คัน จุดเปลี่ยนเเบตฯ 100 เเห่ง ตามสาขาใกล้ชุมชนของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยร่วมมือกับ 2 เเบรนด์ไทย ให้เลือกเช่าตามใจชอบ ได้เเก่ ETRAN และ H SEM

]]>
1341031
Grab เดินเกมรุก ‘ไฟเเนนซ์’ ให้สินเชื่อร้านค้า-ไรเดอร์ ผ่อน 0% ขยายจับ ‘บุคคลทั่วไป’ ในอนาคต https://positioningmag.com/1337959 Mon, 21 Jun 2021 11:53:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337959 เป็นที่ทราบกันดีว่า แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่อย่าง ‘Grab’ (เเกร็บ) วางโพสิชันตัวเองไว้เป็น ‘Super App’ รวมบริการหลายอย่างไว้ในที่เดียว หนึ่งในนั้นก็คือบริการทางการเงินเเละในปีนี้ก็ได้เห็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนด้านสินเชื่อเด่นชัดขึ้น พร้อมเตรียมขยายจับ ‘บุคคลทั่วไปในอนาคต

วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย เล่าว่า ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของผู้ประกอบการร้านอาหารเเละพาร์ตเนอร์คนขับอย่างมาก เมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจทำให้รายได้ลดลง ขาดเงินทุนพยุงธุรกิจ เหล่านี้ทำให้ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แม้ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะมีการชะลอตัวของยอดสินเชื่อใหม่

Grab มีไรเดอร์ (คนขับ) ผู้จัดส่งอาหารและพัสดุ และพาร์ตเนอร์ร้านค้า รวมกว่า 4 แสนราย ในจำนวนนี้ใช้บริการสินเชื่อ แกร็บไฟแนนซ์ รวมกัน 1 เเสนราย ประมาณ 80% เป็นพาร์ตเนอร์คนขับ ผู้จัดส่งอาหารและพัสดุ และอีก 20% เป็นพาร์ตเนอร์ร้านค้า

โดยสินเชื่อที่ Grab นำเสนอให้พาร์ตเนอร์คนขับและร้านค้า เป็นสินเชื่อเงินสดระยะสั้นระยะเวลาผ่อนชำระ 3-6 เดือน มีวงเงินสูงสุด 1 เเสนบาท อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกสูงสุด 33% ต่อปี ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับรายละเอียดและเงื่อนไขการกู้ของพาร์ตเนอร์ร้านค้า

ปัจจุบัน Grab ให้บริการสินเชื่อใน 2 รูปแบบ ได้เเก่

  • สินเชื่อเงินสดสำหรับร้านค้า

ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดกู้เฉลี่ย 7 หมื่น – 1 เเสนบาท พิจารณาวงเงินผ่าน Credit Scoring จากข้อมูลใน Grab เริ่มเปิดให้บริการในเดือนม.. 64 โดยร้านค้าสามารถเลือกว่าจะผ่อนเป็นรายวัน หรือจะผ่อนเป็นรายเดือนก็ได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า มีหลายร้านเลือกผ่อนรายวันเพราะเป็นเงินจำนวนไม่มาก พอหมุนได้ในหลักร้อย

“เรากำลังเตรียมนำเสนอบริการผ่อนชำระสินค้ารายวัน 0% แก่พาร์ตเนอร์ร้านค้าภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อสนับสนุนร้านอาหารในการต่อยอดธุรกิจ แบ่งเบาภาระการลงทุนอุปกรณ์ต่างๆ”

  • สินเชื่อรายย่อยสำหรับไรเดอร์

จุดเด่นของสินเชื่อนี้ คือจะคล้ายกับการผ่อน 0%’ ของบัตรเครดิต เเต่จะเจาะกลุ่มไรเดอร์โดยเฉพาะ เพราะหลายคนมีความต้องการอยากซื้อสินค้าต่างๆ เเต่เข้าถึงบัตรเครดิตยาก เพราะไม่มีสลิปเงินเดือน เเต่ Grab มีข้อมูลรายได้ของไรเดอร์ช่วยประเมินสถานะการกู้ได้

เป็นสินเชื่อผ่อนของที่ไรเดอร์สามารถซื้อมือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อต่างๆ ที่ Grab หามาให้บริการ โดยคิดดอกเบี้ย 0% ระยะเวลาการผ่อน 3-6 เดือน ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดกู้เฉลี่ย 1-2 หมื่นบาทตามราคาสินค้า โดยไรเดอร์นิยมซื้อเครื่องปรับอากาศ สมาร์ทโฟนเเละทีวี

ใช้ AI คำนวณสินเชื่อ 

ข้อได้เปรียบของ Grab นอกจากมีจำนวนไรเดอร์เเละร้านค้าจำนวนมากเเล้ว นั่นก็คือ การคำนวณวงเงินสินเชื่อด้วย AI วิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ เป็น ‘Data Driven Lending’ อุดช่องว่างของธนาคารที่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันหรือหลักฐานยืนยันรายได้ที่เเน่นอน 

โดย Credit Scoring เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อ รวมไปถึงชั่วโมงการทำงาน พฤติกรรม และรายได้ที่ได้จากบริษัท เพื่อหาวงเงินสูงสุดที่เหมาะสมให้ผู้กู้ เป็นระบบที่ช่วยให้คนทําดี ได้ดี

เมื่อถามถึงความเสี่ยงด้านการชำระหนี้ เขามองว่าไรเดอร์หลายคนไม่ได้ทำงานนี้เป็นประจำก็จริง เเต่ยอดเงินกู้ไม่ได้สูงมาก ไม่คุ้มที่จะสูญเสียช่องทางรายได้ ถ้าวงเงินเป็นล้าน เราคงไม่ได้ปล่อยกู้

แกร็บไฟแนนซ์ เตรียมจะขยายบริการครอบคลุมทุกจังหวัดที่ Grab ให้บริการจากที่ผ่านมากระจุกในจังหวัดใหญ่เเละจะทยอยเพิ่มสินค้าในรายการผ่อนให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า

ปีนี้เราไม่ได้ตั้งเป้าเป็นตัวเลขว่าคนจะเข้ามาใช้บริการสินเชื่อเท่าไหร่ เเต่หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

สร้าง Loyalty ภายใน เตรียมขยายสู่ ‘ภายนอก’ 

สำหรับ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ปเป็นกลุ่มธุรกิจที่แกร็บตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 มีเป้าหมายให้บริการด้านการเงินเเบบครบวงจร ผ่าน 4 บริการหลัก ได้แก่

Grab Pay – ระบบจ่ายเงินให้ไรเดอร์ ร้านอาหาร เเละอีวอลเล็ตของผู้ใช้
Grab Insure – ให้บริการประกันต่างๆ เป็น micro insurance
Grab Finance – ให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เเละ Credit Score
Grab Invest – บริการเงินฝากการลงทุน

ในปีหน้า Grab เราจะขยายไปด้านเงินฝาก เเละการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน เพื่อให้ครอบคลุมบริการทางการเงินทุกด้าน

โดยรายได้จากดอกเบี้ยต่างๆ มีเเนวโน้มจะเติบโตเรื่อยๆ จากตลาดที่เติบโตขึ้น ความต้องการบริการทางการเงินที่มากขึ้น ซึ่งในอนาคตจะกลายมาเป็นหนึ่งในรายได้หลักของ Grab 

นอกจากนี้ การออกสินเชื่อให้ไรเดอร์เเละร้านอาหาร ยังเป็นการสร้าง  ‘Loyalty’ ต่อเเบรนด์ กระตุ้นให้คนต้องขยันทำงานมากขึ้น สร้างรายได้มากขึ้น พร้อมทั้งยังต้องมีพฤติกรรมที่ดียกระดับบริการให้ถูกใจลูกค้า เพื่อไม่ให้เสียเครดิตเพื่อยื่นกู้เงิน

แกร็บไฟแนนซ์ ยังคงให้บริการเฉพาะกับไรเดอร์และร้านค้าในระบบ แต่ในอนาคตหวังว่าจะให้บริการกับบุคคลทั่วไปภายนอกได้

ต้องจับตามองว่าธุรกิจไฟแนนซ์ของ Grab จะขยายไปในทิศทางใด เเม้ทางผู้บริหารจะยืนยันว่า ตอนนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมุ่งเเข่งขันในตลาดสินเชื่อ Non-Bank ก็ตาม….

 

]]>
1337959
ฟู้ดเดลิเวอรี่ ‘โรบินฮู้ด’ ให้เช่า ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ วันละ 120 บาท รวมประกัน-เปลี่ยนเเบตให้ (ไม่ต้องชาร์จเอง) https://positioningmag.com/1337594 Thu, 17 Jun 2021 08:53:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337594
ฟู้ดเดลิเวอรี่ ‘โรบินฮู้ด’ ให้เช่า ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ เพียงวันละ 120 บาท รวมทั้งค่าประกัน-เปลี่ยนเเบตฯ ให้ (ไม่ต้องชาร์จเอง) ประเดิม 200 คัน ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ให้บริการ 1,500 คัน มีจุดเปลี่ยนเเบตฯ 100 เเห่ง ตามสาขาใกล้ชุมชนของธนาคารไทยพาณิชย์

พร้อมประกาศเพิ่มรายได้ให้ ‘ไรเดอร์’ ปรับอัตราค่ารอบใหม่ 2 กิโลเมตรแรกเพิ่มขึ้น 7.5% เริ่มต้นที่ 43 บาท (จากเดิม 40 บาท) ไม่หักเปอร์เซ็นต์

Robinhood EV Bike จะมีรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสัญชาติไทย 2 เเบรนด์ให้เลือกตามความชอบ ได้เเก่ ETRAN และ H SEM ในราคาวันละ 120 บาท เบื้องต้นให้บริการ 200 คัน จุดเปลี่ยนแบตเตอรี่ 18 จุดทั่วกรุงเทพฯ กรณีรถมีปัญหาหรือเเบตฯ หมดกลางทาง ต้องการความช่วยเหลือ จะมีทีมลงพื้นที่ไปซ่อมให้

สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ETRAN รุ่น MYRA ออกเเบบมาเพื่อการขนส่งโดยเฉพาะ เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม เน้นขนาดเล็กเเต่วิ่งได้เร็ว โดยทำความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางสูงสุด 180 กิโลเมตร/การชาร์จ

รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ETRAN รุ่น MYRA

ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า H SEM รุ่น MOBILA G มีการเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ให้เหมาะกับไรเดอร์มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุด 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางสูงสุด 140 กิโลเมตร/การชาร์จ

โดยจุดเปลี่ยนเเบตเตอรี่นั้น จะกระจายตามสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ นำร่องเเล้วที่ SCB สำนักงานใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่จอดรถ มีระบบรักษาความปลอดภัย ไรเดอร์ไม่ต้องรอชาร์จไฟเอง เพียงมาเปลี่ยนเเบตฯ ซึ่งใช้เวลาเพียง 3-5 นาที (ค่าเช่า 120 บาท เปลี่ยนเเบตฯ กี่ครั้งก็ได้ในหนึ่งวัน)

รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า H SEM รุ่น MOBILA G

นอกจากนี้ ยังมีสิทธิพิเศษสำหรับผู้เช่า ’Robinhood EV Bike’ เกิน 1,000 วัน จะสามารถซื้อรถมาเป็น ‘ของตัวเอง’ ได้ในราคาหลักพันเท่านั้น (เงื่อนไขการเปลี่ยนเเบตฯ ขึ้นอยู่กับเเบรนด์ผู้ผลิต)

ปัจจุบัน ‘โรบินฮู้ด’ มีร้านค้าในเเพลตฟอร์ม 97,000 ร้าน ยอดผู้ใช้ 1 ล้านคน มีไรเดอร์ทั้งหมดประมาณ 15,000 คน เเอคทีฟวันละ 5,000-6,000 คน จากผลสำรวจพบว่า ไรเดอร์ที่มีรถเป็นของตัวเอง มีค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเเละค่าบำรุงรักษาต่างๆ เฉลี่ยประมาณเดือนละ 8,000 บาท ซึ่งบริษัทประเมินไว้ว่าหากเช่ารถ EV Bike ในราคาดังกล่าว จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงราว 4,000 บาทต่อเดือน

โดยในปีนี้ ตั้งเป้าว่าไรเดอร์จะมาใช้บริการ Robinhood EV Bike ราว 1,500-2,000 คน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด เเละอัตราการผลิต โดยมุ่งเจาะกลุ่มผู้ที่สนใจทำอาชีพส่งอาหาร ทั้งที่มีหรือไม่มีรถจักรยานยนต์เป็นของตนเอง ช่วยสร้างงานในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

พร้อมกันนั้น ได้เปิดตัว “โรบินฮู้ด ไรเดอร์ แอปพลิเคชัน” แพลตฟอร์มใหม่สำหรับคนส่งอาหารโดยเฉพาะ (Google Play เปิดให้ดาวน์โหลดเเล้ว – App Store รออีก 1-2 เดือน ) เพื่อเเก้ปัญหาการกระจายงานให้ทั่วถึง เพิ่มฟีเจอร์ ‘ให้ทิป’ เเละอื่นๆ เตรียมขยายบริการสู่ธุรกิจรับ-ส่งของ (Express Services) และบริการด้านสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ต (Mart Service) เพิ่มรายได้ให้ไรเดอร์ในช่วงนอกเวลาขายดีของการรับส่งอาหาร

]]>
1337594
บทเรียนก้าวเเรกของ ‘Robinhood’ ได้ใจร้านเล็ก กับเส้นทางอนาคต เมื่อจะไม่เก็บค่า GP ‘ตลอดไป’ https://positioningmag.com/1319725 Fri, 19 Feb 2021 08:20:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319725 เป็นเวลาร่วม 3 เดือนกว่าเเล้วที่ ‘Robinhood’ น้องใหม่ฟู้ดเดลิเวอรี่ฝีมือคนไทยจากค่ายเเบงก์ SCB เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ท่ามกลางความลุ้นระทึกว่าจะ ‘รอด’ หรือจะ ‘ร่วง’ 

จากเป้าหมายเล็กๆ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส หวังจะช่วยร้านอาหารไทยที่กำลังประสบปัญหาอ่วมค่า GP’ ให้เหลือรายได้เพิ่มขึ้น จนมาถึงวันนี้ที่ Robinhood ‘สอบผ่าน’ มีกระเเสตอบรับอย่างดี เเละพร้อมประกาศจะไม่เก็บค่า GP ตลอดไป

อะไรคือสิ่งที่ ‘Robinhood’ ได้เรียนรู้ เป้าหมายที่เเท้จริงเเละเส้นทางธุรกิจต่อไปจะเป็นเช่นไร จะมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เเบบไหนที่กำลังจะปล่อยออกมาลองของในตลาดอีกบ้าง Positioning จะพามาหาคำตอบกัน

อินไซต์น่าสนใจของ Robinhood

ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการอัปเดตตัวเลขสถิติผู้ใช้เเอปพลิเคชัน Robinhood ออกมาให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยรวมถือว่าเกินคาดจากเป้าหมายที่ทีมงานวางไว้

  • มีลูกค้าทะเบียนในระบบกว่า 580,000 ราย
  • ร้านอาหารในระบบกว่า 55,000 ร้านค้า
  • ไรเดอร์ที่พร้อมให้บริการกว่า 11,500 ราย
  • ยอดสั่งอาหารออเดอร์เดียวสูงสุด 3,528 บาท
  • ลูกค้าสั่งอาหารไกลที่สุด 45 กิโลเมตร
  • มีลูกค้าคนเดิมสั่งอาหารสูงสุดถึง 18 ออเดอร์ใน 1 สัปดาห์
  • รายการอาหารทั้งหมดในระบบ 1.6 ล้านรายการ
  • มีร้านอาหารกว่า 8,200 ร้าน เข้าร่วม LS ที่ให้ส่วนลดกับลูกค้า
  • มีปลาแซลมอนรวมกว่า 5 ตันถูกสั่งจากเเอป Robinhood
  • ไรเดอร์คนหนึ่งเคยรับงานสูงสุดถึง 44 งานต่อวัน
  • 74% ของไรเดอร์ เลือกทำ Robinhood เป็นงานเสริม
10 ร้านอาหารยอดนิยมบน Robinhood 
  • มนต์นมสด (สาขา เสาชิงช้า)
  • รุ่งเรืองตั๋ง ก๋วยเตี๋ยวหมูสุขุมวิท 26 (เจ้าเก่า) ห้องหัวมุม
  • Oba San 168
  • หน่องริมคลอง
  • ไก่ทอดเจ๊กี (โปโล)
  • โจ๊กสามย่าน บรรทัดทอง
  • ข้าวหมูแดงสีมรกต
  • ประจักษ์เป็ดย่าง
  • ซ้งเป็ดพะโล้
  • ไข่หวานบ้านซูชิ จามจุรีแสควร์

คำค้นหายอดนิยมสูงสุด ได้เเก่ แซลมอน, โจ๊ก, ก๋วยเตี๋ยว, ข้าวมันไก่เเละส้มตำ

พื้นที่ที่มีการสั่งออเดอร์เยอะที่สุด ได้เเก่ จตุจักร, ห้วยขวาง คลองเตย

โดยไรเดอร์มีช่วงเวลาในการรับงานเฉลี่ย 12 วินาทีต่อการสั่ง เเละมีรายได้จากการให้บริการรับส่งอาหารเฉลี่ยรอบละ 40-50 บาท 

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

‘ไม่มีคนชมว่าเราถูก เเต่ก็ไม่มีใครด่าว่าเราแพง’ 

คำกล่าวของ โจ้-ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด บริษัทลูกของ SCB ที่พัฒนา Robinhood ขึ้นมาเป็นหนึ่ง CSR Project ของธนาคาร ที่ได้รับเงินทุนเพื่อช่วยสังคมราว 150 ล้านบาทต่อปี

การฉีกเเนวธุรกิจเเบงก์ มาลงทุนในศึกฟู้ดเดลิเวอรี่’ เมืองไทยของ SCB ครั้งนี้ สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย จี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง

ท่ามกลางศึกฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เเข่งขันกันดุเดือดเลือดพล่าน ‘เผาเงิน’ เเจกโปรโมชันกันเป็นว่าเล่น เเม้ตอนเเรก Robinhood บอกว่าจะไม่ทุ่มงบการตลาดเเบบเจ้าอื่น เพราะในงบร้อยกว่าล้านต่อปีนั้น เป็นงบที่รวมทุกอย่าง’ ทั้งการจัดการ พนักงาน ระบบหลังบ้านและเครือข่าย ซึ่งจะมีงบด้านการตลาดเหลืออยู่ไม่ถึง 20 ล้านบาท จึงเลือกจะไม่นำไปใช้เพื่ออัดโปรโมชัน

เเต่ตอนนี้หลังได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากๆ ก็จำเป็นต้อง ‘ขอทุนเพิ่ม’ จากบอร์ดบริหารเพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโต

ปัจจุบัน Robinhood รั้งอันดับ 4 ในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่เมืองไทย (ไม่ได้เป็นตัวเลขทางการ) เเต่ทางทีมประมาณการจากสถิติการสั่งออเดอร์ โดยอันดับ 1 เป็นของเจ้าใหญ่อย่าง GrabFood รองลงมาคือ FoodPanda ส่วนอันดับ 3 เป็นของ LINE MAN เเละตามมาด้วย Robinhood

LS is Key : เพราะไม่มีค่า GP จึงมีส่วนลดจาก ‘ร้านค้า’ 

กลยุทธ์การตลาดหลักๆ ที่ Robinhood จะนำมาทำโปรโมชันคือ LS ส่วนลดจากร้านค้าเอง ซึ่งเกิดจากการที่ทีมงานได้เข้าไปพูดคุยกับร้านค้าว่า เมื่อไม่เสียค่า GP ราว 30-35% (คอมมิชชันที่ต้องจ่ายให้เเพลตฟอร์ม) เเล้ว พอจะให้ ‘ส่วนลดเพิ่มเติม’ กับลูกค้าได้หรือไม่ ซึ่งร้านค้าจำนวนมากก็มีความสนใจเเละให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ปัจจุบันมีร้านค้าเลือกให้ส่วนลดกับผู้ใช้ราว 15% จากจำนวนร้านค้าทั้งหมด มีโปรโมชันส่วนลดเฉลี่ยราว 8-20% ต่อรายการ นอกจากนี้ยังถือเป็นการโปรโมตร้านขึ้นบนหน้าเเอปฯ ให้เห็นได้ง่ายไปในตัวด้วย

ก้าวเเรกเเละสิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ธนา เล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังเปิดให้บริการ Robinhood มาได้ 3 เดือนกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเเก้ไขเเละนำไปพัฒนาต่อไป หลักๆ ได้เเก่

  • ‘ออเดอร์หลอก’ ของร้านค้าและไรเดอร์ 

ในช่วงการเปิดตัวของ Robinhood บริษัทได้เเจก ‘โค้ดส่วนลดโดยไม่จำกัดการซื้อ’ ทำให้ร้านค้าและไรเดอร์ จำนวน 4 ร้านร่วมมือกับไรเดอร์ไม่กี่คน สั่งออเดอร์โดยใช้โค้ดส่วนลดผ่านระบบ และให้ไรเดอร์ที่ร่วมมือซึ่งอยู่ใกล้ร้านที่สุดเป็นคนกดรับออเดอร์ ร้านค้าจึงได้รับเงินจากโค้ดส่วนลด และไรเดอร์ได้รับค่าส่ง เเม้ไม่มีการซื้อขายจริงเกิดขึ้น ซึ่งทางทีมงานเห็นความเป็นไปที่เกิดขึ้น เพราะมีการมอนิเตอร์ข้อมูลตลอด

กรณีนี้ทำให้ Robinhood เสียหายราว 1 เเสนบาท จากนั้นทีมงานจึงเเก้ไขด้วยการมียอดซื้อขั้นต่ำก่อนใช้ส่วนลด

  • ต้องมัดใจร้านค้าเล็กๆ ให้ได้ก่อนเชนใหญ่

จากการประสานงานต่างๆ พบว่า ร้านค้าเชนใหญ่ เเม้จะเป็นเป้าหมายที่สร้างรายได้กว่าครึ่งหนึ่งบนฟู้ดเดลิเวอรี่ทั่วไป เเต่การติดต่อเพื่อให้เข้ามาในระบะมีความยากลำบากมาก เเละมี ‘ต้นทุน’ ที่ต้องเสียเยอะ จึงหันไปหา ‘ร้านเล็ก’ ให้ได้มากที่สุด เรียกได้ว่ามากกว่า 90% ของเเพลตฟอร์ม

เมื่อมีเสียงตอบรับดี กลายเป็นว่าร้านอาหารเชนใหญ่ มองเห็นโอกาสลูกค้าเเละเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรเองมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็มีร้านดังในเครือไมเนอร์ , CRC , The Mall และสยามพิวรรธน์

  • เเอปพลิเคชั่น SCB ระบบล่ม

โดยเฉพาะในช่วงวันเงินเดือนออก ส่งผลให้การสั่งซื้ออาหารผ่าน Robinhood ก็ล่มตามไปด้วย เพราะมีช่องทางการชำระเงินผ่านระบบ SCB Easy และบัตรเครดิต ซึ่งจะมีการประสานงานระบบหลังบ้านกันต่อไป พร้อมขยายช่องทางชำระเงินอื่นๆ

  • มารยาทดี คือจุดขาย 

หลังจากเปิดตัวมาได้สักพัก ฟีดเเบ็กที่ได้รับมากที่สุดคือการบอกว่าไรเดอร์ ‘มารยาทดี’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรียนรู้ว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับการบริการมาก อย่างการ ‘พูดเพราะ-ยกมือไหว้’ ก็เป็นสิ่งเล็กๆ ที่ลูกค้าประทับใจ โดยทางธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้จัด ‘อบรมไรเดอร์’ เอง หลังจับมือกับ Skootar สตาร์ทอัพไทยที่ให้บริการส่งเอกสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีคนขับในสังกัดประมาณ 10,000 ราย

Robinhood จะทำอะไรต่อไป ?

สำหรับเเผนในปี 2564 ของ Robinhood ตั้งเป้ามีจำนวนผู้ใช้งาน 1 ล้านราย เพิ่มจำนวนร้านค้าให้ได้ 150,000 ร้าน มีไรเดอร์ 20,000 ราย จำนวนออเดอร์มากกว่า 25,000 รายการต่อวัน และมียอดธุรกรรมที่เกิดขึ้นราว 1.6 พันล้านบาท

พร้อมขยายบริการไป ‘ต่างจังหวัด’ เบื้องต้นที่วางไว้มี 5 จังหวัดคือ เชียงใหม่, ภูเก็ต, พัทยา, นครราชสีมา และขอนแก่น เเต่เนื่องจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ทำให้ต้องเลื่อนเมืองท่องเที่ยวออกไป เเละเริ่มที่นครราชสีมา และ ขอนแก่น ก่อน

สีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการของ เพอร์เพิล เวนเจอร์ส บอกว่า กลยุทธืการเพิ่มจำนวนร้านอาหารในเเพลตฟอร์ม ทำควบคู่กันไปทั้ง ‘ออนไลน์-ออฟไลน์’ มีการโปรโมททางโซเชียลมีเดีย เเละให้พนักงานตามสาขาของธนาคารออกไปหาร้านค้าที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียง เข้าไปช่วยทั้งการดาวน์โหลด ถ่ายรูปภาพอาหาร เเละให้คำเเนะนำต่างๆ รวมถึงนำเสนอเเอปฯ กับผู้ที่มาใช้บริการในสาขาด้วย

โดยปีนี้จะเริ่มเปิดรับร้านอาหาร ‘แบรนด์ดัง’ ต่างๆ เข้ามาเพื่อขยายฐานผู้ใช้ให้กว้างขึ้น มีเเคมเปญการตลาดกระตุ้นการใช้จ่าย ไปพร้อมๆ กับการออก ‘ฟีเจอร์’ ใหม่ พัฒนาเเอปพลิเคชั่นให้เท่าทันตลาด เช่น

  • มีระบบแผนที่ ติดตามตำแหน่งของไรเดอร์
  • ระบบการจ่ายเงินผ่านบริการเงินดิจิทัลอื่น ๆ นอกเหนือจาก SCB
  • สามารถสั่งอาหารหลายออเดอร์พร้อมกันได้
  • บันทึกร้านที่ลูกค้าชื่นชอบ
  • ระบบรีวิวร้านค้า-ไรเดอร์
  • นำแต้มบัตรเครดิตมาจ่ายโดยตรงได้
  • จัด ‘เพลย์ลิสต์’ ร้านอาหารตามสไตล์ของผู้ใช้ อารมณ์เหมือนเพลย์ลิสต์ในเเอปฯ ฟังเพลง
  • ส่วนร้านค้าจะมีระบบจัดการร้านเเละสาขาง่ายขึ้น ล็อกอินพร้อมกันได้หลายเครื่องเเละใช้งานร่วมกับ POS ได้

นอกจากนี้ Robinhood จะเปิดให้บริการ ‘ซื้อสินค้าในตลาดสด’ โดยจะนำร่องที่ตลาดเสนีย์ ฟู้ดมาร์เก็ต, ตลาดมีนบุรี , ตลาดถนอมมิตรเเละตลาดบางใหญ่ ก่อนจะขยายให้ครบ 9 ตลาด ตามข้อตกลงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

-สีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการของ เพอร์เพิล เวนเจอร์ส

เปิดให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์ EV ร้อยกว่าบาทต่อวัน

ในส่วนของ ‘ไรเดอร์’ Robinhood โปรเจ็กต์ใหม่ที่น่าสนใจมาก นั่นก็คือการ ให้เช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารายวัน เริ่มเเรกจะทดลองราว 200-400 คัน ส่วนราคานั้นประมาณไว้อยู่หลัก ‘ร้อยกว่าบาท’ เพื่อให้คนขับมีรายได้เหลือในการทำงาน หรือชาร์จไฟเองที่บ้านได้

โดยวางเเผนจะมีจุดชาร์จแบตเตอรี่ประมาณ 500 จุดทั่วกรุงเทพฯ เน้นใช้พื้นที่ใน ‘ตึกสาขา’ ของไทยพาณิชย์ที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี หรือจะชาร์จไฟเองที่บ้านก็ได้ คาดว่าจะเริ่มเปิดตัวได้ในช่วงปลายเดือนมี.ค.นี้ หลังจากทำข้อตกลงกับพาร์ทเนอร์เรียบร้อย

เป้าหมายรายได้ที่เเท้จริงคือ B2B

ธนา ย้ำว่าจุดมุ่งหมายของ Robinhood ยังคงเป็นการช่วยเหลือ ‘คนตัวเล็ก’ ฉะนั้นการไม่เรียกเก็บ ‘ค่า GP’ จะคงอยู่ตลอดไป

เเต่เมื่อลงมือทำธุรกิจก็ต้องมีรายได้เป็นธรรมดา ซึ่งในปี 2565 เเอปฯ จะเริ่มสร้างรายได้ด้วยการเป็น B2B Platform ที่มีข้อได้เปรียบจากการมีฐาน ‘ร้านอาหาร SMEs’ หลายเเสนร้านในระบบ 

“ฟู้ดเดลิเวอรี่ส่วนใหญ่อยากโตไปเป็นเเบงก์ อยากโตเเล้วปล่อยกู้ เเต่เรามีเเต้มต่อคือเป็นเราเเบงก์อยู่เเล้ว”

เเละการเข้ามาเเบบ Late Comer ยิ่งต้องกลับหัวตีลังกา กลยุทธ์ไม่เรียกเก็บค่า GP สวนทางกับเจ้าอื่น เป็นหัวใจหลักที่ทำให้ Robinhood ได้ใจร้านค้า พอ ‘ได้ใจ’ กันเเล้วก็ไปต่อยอดทำธุรกิจอื่นได้ง่าย

โดยสเต็ปต่อไปจะเป็นการเข้าไปช่วยจัดการ Financial Service ช่วยการจัดการต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ เป็นตัวกลางระหว่างร้านค้ากับซัพพลายเออร์ เเละจะเข้าไปช่วยในด้าน Business Service พร้อมๆ กับการช่วยทำมาร์เก็ตติ้ง จากข้อมูลดาต้าผู้ใช้ที่มีอยู่

นี่คือทิศทางการหารายได้ต่อไปของ Robinhood ที่นอกเหนือจากการปล่อยสินเชื่อ ให้ครอบคลุมทุกการทำธุรกิจ เเละจะทำให้ร้านค้าได้ประโยชน์มากขึ้น

เป็น ‘ก้าวเเรก’ ของฟู้ดเดลิเวอรี่ของคนไทย ที่ต้องติดตามกันต่อไป…

 

 

 

]]>
1319725