Friday, April 26, 2024
Home Tags ไวรัสสายพันธุ์เดลตา

Tag: ไวรัสสายพันธุ์เดลตา

“ไม่ฉีดวัคซีน งดให้บริการ” กระแสใหม่ “ร้านอาหาร-บาร์” ในสหรัฐฯ ผวาเดลตาระบาด

หลังไวรัสกลายพันธุ์เดลตาระบาดหนักขึ้นในสหรัฐฯ ทำให้ “ร้านอาหาร-บาร์” จำนวนมากทยอยออกกฎของร้าน หากลูกค้า “ไม่ฉีดวัคซีน งดให้บริการ” ก่อกระแสทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางร้านถึงกับได้รับคำข่มขู่จากกลุ่ม “ต่อต้านวัคซีน”

ป้องกันเดลตา! จีนเข้มงดต่ออายุ “พาสปอร์ต” ให้ประชาชน สกัดเดินทางเข้าออก

รัฐบาลจีนเข้มงวดงดต่ออายุ “พาสปอร์ต” ให้กับประชาชน ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น ศึกษาต่อ ทำงาน เดินทางเพื่อธุรกิจ รวมถึงเข้มงวดการให้ “วีซ่า” ชาวต่างชาติที่ไม่อยู่ในประเทศ เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลตาไม่ให้ข้ามกำแพงเมืองจีนเข้ามาได้

“ฟิลิปปินส์” ห้ามผู้เดินทางจาก “ไทย-มาเลเซีย” เข้าประเทศชั่วคราว ผวาเดลตาระบาด

ฟิลิปปินส์งดรับชาวต่างชาติที่เดินทางจาก "ไทย" และ "มาเลเซีย" เข้าประเทศเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 25 – 31 ก.ค. เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์เดลตา

ดีใจได้วันเดียว! “อังกฤษ” เคาะไม่ฉีดวัคซีนห้ามเข้า “สถานบันเทิง” เริ่มสิ้นเดือนกันยา

อังกฤษประกาศลูกค้าเข้า “สถานบันเทิง” และงานอีเวนต์รวมคนขนาดใหญ่ใดๆ ต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว เริ่มสิ้นเดือนกันยายนนี้ กฎใหม่นี้ออกมาในเวลาเพียงวันเดียวหลังจากอังกฤษอนุญาตเปิดธุรกิจสถานบันเทิงเป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือน ผู้ประกอบการโอดรัฐทำร้ายธุรกิจฮอสพิทาลิตี้อีกครั้ง

Goldman Sachs ลดเป้าจีดีพีไทย เหลือ 1.4% ‘สายพันธุ์เดลตา’ ทำอ่วมทั้งอาเซียน เเถมฉีดวัคซีนช้า

Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ ปรับลดคาดการณ์ ‘จีดีพี’ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงไทย หลังเจอวิกฤตโรคระบาดครั้งใหม่ จาก ‘สายพันธุ์เดลตา’ ยอดติดพุ่งเเต่ฉีดวัคซีนได้ช้า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา ทำให้ยอดผู้ป่วยในอินโดนีเซียมาเลเซียและไทย พุ่งทำสถิติสูงสุดในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นำไปสู่การยกระดับมาตรการล็อกดาวน์เเละข้อจำกัดต่างๆ ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น เเนวโน้มที่ ‘ฟิลิปปินส์’ จะผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ในปีนี้ “ไม่น่าเป็นไปได้มากขึ้น” ไวรัสกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหม่เรื่อยๆ เเละกระจายได้อย่างอย่างรวดเร็ว พร้อมกับมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด มีผล กระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงครึ่งหลังของปี ‘มากกว่าที่เคยประเมินไว้” โดย...

เคราะห์ซ้ำ! มาเลเซียปิด 1 จุดฉีดวัคซีนหลังจนท.ติดเชื้ออื้อ ผู้ป่วยใหม่ทะลุ 11,000 รายต่อวัน

ข่าวร้ายมาในวันเดียวกันสำหรับ “มาเลเซีย” โดยต้องปิดจุดฉีดวัคซีน 1 แห่งหลังพบเจ้าหน้าที่ติดเชื้อ 204 ราย ผู้รับการฉีดวัคซีนระหว่างวันที่ 9-12 ก.ค.ได้รับคำแนะนำให้กักตัวเอง ทั้งนี้ มาเลเซียยังคงอยู่ในวิกฤตระบาดระลอก 3 โดยวันนี้ (13 ก.ค. 2021) มีผู้ติดเชื้อ 11,079 ราย สูงสุดตั้งแต่เกิดการระบาด

WHO เตือน เลี่ยงฉีด ‘วัคซีนผสมสูตร’ จับคู่ต่างชนิด เพราะเสี่ยงอันตราย ยังไม่มีข้อมูลมากพอ

WHO เตือน ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เเบบ ‘ผสมสูตร’ หรือจับคู่วัคซีนต่างชนิด ที่กำลังเป็นกระเเสในหลายประเทศ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตราย เเละยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพที่เพียงพอ พร้อมเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยช่วยบริจาควัคซีน Soumya Swaminathan หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า การฉีดเเบบ ‘ผสมสูตร’ จับคู่ฉีดวัคซีนจากผู้ผลิตหลายรายให้กับประชาชน ซึ่งหลายประเทศกำลังจะดำเนินการอยู่นั้น ถือเป็น ‘dangerous trend’ เพราะตอนนี้มีข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนแบบผสมสูตรอยู่น้อยมากไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่เเน่ชัดเเละอาจเกิดผลกระทบในการฉีดวัคซีนครั้งต่อๆ ไป "การจับคู่ผสมวัคซีนต่างชนิดเข้าด้วยกัน เป็นกระแสนิยมที่ค่อนข้างอันตราย...

ไฟเซอร์ กำลังพัฒนาวัคซีน ‘เข็ม 3’ สู้สายพันธุ์ ‘เดลตา’ โดยเฉพาะ เตรียมขออนุมัติใช้ในสหรัฐฯ

ผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลกอย่าง ‘ไฟเซอร์’ (Pfizer) กำลังพัฒนาวีคซีนป้องกันโควิด ‘เข็มที่ 3’ หรือ Booster Shot กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับ ‘สายพันธุ์เดลตา’ โดยเฉพาะ เตรียมขออนุมัติใช้งานกับทางการสหรัฐฯ ภายในเดือนหน้า เชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา (Delta) หรือ B.1.617.2 ซึ่งตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย ตอนนี้กำลังแพร่ระบาดหนักในกว่า 98 ประเทศ รวมถึงไทย ก่อนหน้านี้ ‘ไฟเซอร์’ ได้ร่วมมือกับ ‘ไบโอเอ็นเทค’ ของเยอรมนี พัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพป้องกันอาการป่วยหนักได้ประมาณ 95% เเต่ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอล เปิดเผยเมื่อ...

WHO เตือน COVID-19 สายพันธุ์เดลตา เตรียมระบาดหนักครอง “ยุโรป” ส.ค. นี้

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ฮันส์ คลูเกอ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคยุโรปขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการพบปะคนต่างครัวเรือน การเดินทาง การรวมตัวกัน และการผ่อนปรนข้อจำกัดทางสังคม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ยอดผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในยุโรปเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 สัปดาห์